Mud Volcano สัญญาณอันตราย? หรือ ลายแทงขุมทรัพย์?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 21 ธันวาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    [​IMG]


    สร้างความตระหนกและสับสนอยู่หลายวัน เมื่อ *ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา* ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรม การเปลี่ยนแปลงของโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาให้ข่าวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ว่า

    ศูนย์เครือข่ายฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญทางธรณีทางทะเลแห่งชาติ เมืองคีธ ประเทศเยอรมนี ทำการสำรวจเสถียรภาพของชั้นตะกอนและการเกิดดินถล่มใต้ทะเลบริเวณไหล่ทวีปและทะเลอันดามัน ในพื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะไทย ครอบคลุมประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตร จากเกาะภูเก็ต

    ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม 2549 และพบสิ่งที่สันนิษฐานว่าเป็น "ตะกอนภูเขาไฟ" ที่เรียกว่า Volcano Mud จำนวน 4 ลูก

    ซึ่งพอคนเห็นคำว่า Volcano ก็ตกใจคิดว่าเป็น "ภูเขาไฟใต้น้ำ" ส่งผลให้วันรุ่งขึ้นต้องมีการออกมาชี้แจงกันวุ่นวายจากนักวิชาการธรณีวิทยาทั้งหลาย รวมทั้ง ดร.อานนท์ ต้นตอของข่าวด้วย

    อย่างไรก็ตาม บทสรุปของเรื่องนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ส่งที่คณะสำรวจค้นพบนั้น มีคำตอบชัดเจนว่าคืออะไรกันแน่

    ขณะที่ ดร.อานนท์ เองนั้นออกมายอมรับว่าด่วนสรุปเร็วเกินไป จนสุดท้ายให้เปลี่ยนจากคำว่า "โคลนภูเขาไฟ" เป็นคำว่า "เนินโคลนผุด" โดยบอกว่าจะตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Volcanic Mud" ที่แปลว่าโคลนเหลวที่เกิดขณะมีการปะทุของภูเขาไฟ หรือเปลี่ยนมาเป็นชื่อที่บอกถึงลักษณะของการเกิด แทนคำเดิม เพื่อลดความตื่นตระหนกลง

    สภาพทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้น ในอีกด้าน *ดร.สมบัติ อยู่เมือง* ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย (Geo-informatics center for Thailand : GISTHAI) ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเพิ่มเติม ว่า

    *การศึกษาสำรวจพบของ ดร.อานนท์ และทีมงานนั้น วิธีการสำรวจเป็นการใช้คลื่นสะท้อนลงไปแล้วแปลความหมายโดยประมวลผลจำลองเป็นภาพเป็น 2 มิติ ไม่ได้เห็นรูปร่างของตะกอนชัดเจน จึงยังคงสรุปไม่ได้ว่าเป็น Mud Volcano จริงๆ หรือไม่*

    พร้อมกันนั้นได้แนะนำว่า "ศัพท์ทางเทคนิค ควรดูความหมายจากทางต่างประเทศที่ทำการศึกษามามากกว่า เพราะต่างประเทศมีการเกิดตะกอนแบบนี้ขึ้นมาจริงๆ และมีการจดบันทึกไว้ตลอด เพราะฉะนั้นความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ"

    ดร.สมบัติ อธิบายถึง Mud Volcano ในเว็บไซด์วิกิพีเดีย ซึ่งเป็นฟรีเอนไซโคพิเดีย ให้ความหมายไว้ค่อนข้างละเอียด ว่า

    Mud Volcano หรือ Mud Dome คือโคลนที่มีรูปร่างคล้ายรูปโดม เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา เนื่องจากของไหลหรือก๊าซที่อัดอยู่ข้างใต้เปลือกโลกถูกดันขึ้นมาพร้อมกับมวลของตะกอน ซึ่งอาจจะเป็นโคลน เม็ดทราย หรือเม็ดทรายละเอียดก็ได้

    "เมื่อมันดันขึ้นมาก็เกิดการทับซ้อนจนเกิดเป็นรูปโดมขึ้น ซึ่งเกิดได้ทั้งบนแผ่นดิน และใต้ทะเล ที่เคยพบแล้วในทะเลลึกทั่วโลกมีมากกว่า 10,000 แห่ง เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เคยค้นพบและทำการศึกษามานานแล้ว"

    ส่วนที่มีการเปรียบเทียบสิ่งที่ ดร.อานนท์ และคณะ ศึกษาและสำรวจพบในไทยกับ Mud Volcano ที่เกิดขึ้นในประเทศแม็กซิโก

    ดร.สมบัติ บอกว่า Mud Volcano ในประเทศเม็กซิโก ที่พบนั้นเป็นการสำรวจของบริษัทน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยขั้นแรกจะทำการสำรวจจากดาวเทียมก่อน ทำให้เห็นพื้นที่ในแบบกว้าง จากนั้นจึงลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม แล้วจำลองออกมาเป็นรูป 3 มิติ เห็นรูปร่างของวัตถุชัดเจนกว่า

    *"มีการจำแนกเป็น Mud Volcano ในรูปร่างต่างๆ เช่น ปล่องภูเขาไฟ น้ำพุ ฯลฯและการศึกษาที่ละเอียดมากของเขาสามารถสรุปได้ว่าเป็นแหล่งปิโตรเลียม เพราะตะกอนที่ค้นพบออกมาตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ได้รับแรงกดดัน และมีโครงสร้างซับซ้อน มีบริเวณที่กักเก็บน้ำมัน และมีตะกอนหนามาก คือมีการสะสมวัสดุของทางชีวภาพที่สามารถแปลงเป็นน้ำมันได้"*



    maquinna-mud-volcano.jpg

    Mud Volcano มีการเกิด 3 ลักษณะ คือ


    1.เกิดจากแหล่งสะสมของตะกอนหนา ทับถมกันเป็นร้อยเป็นพันปี จนกลายเป็นแหล่งปิโตรเลียม เหมือนกับการเกิด Mud Volcano ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งน้ำมัน

    2.เกิดจากแผ่นดินเคลื่อนตัวมาชนกัน แล้วพาแรงดันหรือสิ่งที่กดอยู่ข้างล่างให้ปูดขึ้นมาจนกลายเป็นภูเขา เหมือนกับการเกิดภูเขาหิมาลัย

    ในกรณีนี้หากสำรวจพบเร็ว จะสามารถป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะแผ่นดินที่ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ จะสร้างความเสียหายกับแท่นขุดเจาะน้ำมันที่อยู่ในทะเล

    3.เกิดจากการมุดตัวของแผ่นดิน เมื่อใต้ผิวโลกเกิดการสะสมของดินที่มุดตัวลงไปมากๆ จนต้องหาทางระบาย ก็จะเกิดแรงดันขึ้นมาจากใต้เปลือกโลก เหมือนที่เกาะนิโคบาร์ มีการเกิด Mud Volcano บนพื้นดินหลายจุด ในบางจุดมีเปลวไฟปะทุขึ้นมาด้วย

    "ถ้าเราจะศึกษาเปรียบเทียบกับที่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้กับการค้นพบ Mud Vocano ในประเทศไทย ปี ค.ศ.2003 มีการพบ Mud Volcano บนพื้นดินมากมาย ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยความร้อนตามรอยแตกของเปลือกโลกในแนวภูเขาไฟ มีภูเขาไฟขนาดเล็กๆ ที่ยังแอ๊คทีฟอยู่ในบริเวณ 10-20 กิโลเมตร ส่วนของประเทศไทยบริเวณที่ค้นพบค่อนข้างห่างไกลจากแนวภูเขาไฟถึง 100-200 กิโลเมตร ซึ่งตามหลักแล้วส่วนใหญ่การเกิด Mud Volcano ในบริเวณแนวภูเขาไฟ จะไม่กระจายออกไปกว้างมากนัก"

    *หากจะมีการสรุปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใต้ทะเลไทย เป็น ภูเขาไฟ ก็ต้องมีข้อมูลประกอบมากกว่านี้ และถ้าเกิดขึ้นจริงคงถือเป็นการค้นพบใหม่ที่ต้องทำการศึกษาต่อไป*

    ดร.สมบัติย้ำฝากไว้เป็นข้อคิด และว่า สิ่งที่คนส่วนใหญ่ควรทำมากกว่าการตื่นตระหนก

    *คือ การค้นพบนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น*

    พร้อมทั้งอธิบายว่า ที่เกาะนิโคบาร์ ในปี ค.ศ.2003 มีการพบการเกิด Mud Volcano พอปีต่อมาก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในบริเวณแนวรอยเลื่อนนั้น

    ฉะนั้น Mud Volcano ที่เกิดขึ้นอาจแสดงว่ากระบวนการใต้ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ หากเราศึกษาจริงจัง ก็ยังตั้งหลักรับทัน

    ที่สำคัญควรเริ่มจากการศึกษาและเปรียบเทียบกับทั่วโลกที่ทำกันก่อนหน้านี้ และต้องหาข้อมูลพื้นฐาน มีการสำรวจภาพถ่ายดาวเทียม ภาพรวม และเจาะเป็นรายละเอียดปลีกย่อยลงไป และต้องทำเป็นขั้นตอน

    "สำหรับผม เอาเป็นว่าจะเป็น Mud Volcano หรือไม่ต้องดูข้อมูลพื้นฐาน ว่ามันสัมพันธ์กับสิ่งใด ต้องมีการค้นคว้าข้อมูลที่เรียกว่าข้อเท็จจริงมาประกอบการวิจัยด้วย จากนั้นจึงวิเคราะห์และตั้งสมมติฐานถึงจะใช้เป็นทฤษฎีได้

    ในประเทศไทยยังมีการศึกษาเรื่องนี้น้อยมาก เป็นเพราะบ้านเราไม่เคยพบการเกิดในลักษณะนี้มาก่อน จึงเรียนรู้แต่ในตำรา และศึกษาจากต่างประเทศ เหมือนกรณีการเกิดสึนามิ พอมีเหตุเกิดขึ้นเราถึงเพิ่งมาเริ่มศึกษากันอย่างจริงจัง"

    สภาพของการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้น จะเป็น "โคลนภูเขาไฟ" หรือ "เนินโคลนผุด" ก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามันคืออะไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจะยุติลงเพียงเท่านี้ แต่น่าจะเป็นเรื่องที่นักวิชาการทางด้านธรณีวิทยาทั้งหลายต้องศึกษากันต่อ

    มิเช่นนั้นอาจจะเป็นเช่นที่ ดร.สมบัติว่าไว้ว่าเหมือนกับกรณีการเกิดสึนามิ เราไม่เคยพบ ไม่เคยรู้จัก จึงไม่มีการศึกษา แต่พอมีเหตุเกิดขึ้นถึงเพิ่งมาเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง

    จึงน่าติดตามผลว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะคำตอบของ Mud Volcano ใต้ทะเลไทย จะมีแน่นอนในกลางปี 2550 ว่าเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย
    "Mud Valcano" หรือ "Mud Dome"



    [​IMG]

    เกิดขึ้นจากการก่อตัวทางภูมิศาสตร์ของของเหลวและก๊าซ รวมถึงมีปัจจัยอื่นเกื้อหนุนด้วย "Mud Valcano" ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมามีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 10 กิโลเมตร และมีความสูง 700 เมตร

    ประเมินว่า Mud Valcano จำนวนราวๆ 1,100 ลูก อยู่บนพื้นดินและน้ำตื้น และประมาณว่า Mud Valcano ราว 10,000 ลูกอาจพบได้บริเวณไหล่ทวีป

    สำหรับแถบเอเชียและยุโรป ซึ่งอยู่ใกล้กับประเทศไทย พอสรุปได้ว่า Mud Valcano พบได้น้อยในทวีปยุโรป

    *แต่พบได้หลายลูกบนคาบสมุทรเคิร์ช ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศยูเครน และยังพบได้ทางเหนือของ Apennines และใน Sicily*

    "Mud Valcano" หลายลูกยังพบได้บริเวณชายฝั่งของทะเลดำและทะเลแคสเปียน บางลูกอยู่ที่อาเซอร์ไบจัน อิหร่านและปากีสถาน

    ส่วนจีนมี "Mud Valcano" ในซินเจียง ที่ประเทศพม่าก็มี "Mud Valcano" ด้วย ทางฝั่งทะเล Arakan

    พื้นที่บางส่วนในประเทศอินโดนีเซีย เช่น Sidoarjo ก็มี "Mud Valcano" เกาะบาราตัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอันดามัน

    มหาสมุทรอินเดีย ก็มีหลายพื้นที่ที่บ่งสัญญาณว่ามี "Mud Valcano"

    ส่วนที่อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

    "Mud Valcano" พบได้ในอลาสก้า หรือหลายพื้นที่ในแคลิฟอร์เนีย ประมาณ 800 เมตรใต้พื้นผิวของมหาสมุทรแปซิฟิก และมีหลายลูกพบที่ตรินิแดดแอนด์โทแบโก และพื้นที่ทางด้านตะวันออกของเวเนซุเอลา



    ที่มา : http://www.matichon.co.th
     
  2. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    ความแตกต่าง "เนินพุโคลน" และ "ภูเขาไฟ"



    [​IMG]
    ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงความแตกต่างของเนินพุโคลนจากภูเขาไฟแท้ในหลายประเด็น ซึ่งโดยทั่วๆ ไปอาจจะสรุปได้ ดังนี้

    1.ไม่มีพลังมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการปะทุหรือการระเบิดอย่างรุนแรง ซึ่งแตกต่างจากภูเขาไฟมาก เนินพุโคลนในทะเลนั้น ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดคลื่น "สึนามิ" หรือทำให้เกิดน้ำเดือดเป็นบริเวณกว้างดังเช่นที่บางคนจินตนาการ

    จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องตกใจหรือกังวลในเรื่องของเนินพุโคลนทั้งบนบกและในทะเล เนินพุโคลนในทะเลก็เปรียบเสมือนบ่อน้ำร้อนในทะเลที่ห่างจากฝั่งกว่า 200 กิโลเมตร

    2.เนินหรือภูเขาในทะเลที่พบจะเป็นเนินพุโคลนได้หรือไม่? ข้อมูลสำคัญที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน คือข้อมูลการตรวจวัดชั้นตะกอนโดยใช้คลื่นเสียงสะท้อน

    อย่างไรก็ตาม เนินที่ตรวจพบมีขนาดกว้างที่สุดเพียงประมาณ 700 เมตร และที่เหลืออีก 3 ลูกก็ล้วนมีขนาดเล็กกว่า 500 เมตร ในขณะที่ระยะห่างระหว่างแนวสำรวจแต่ละแนวคือประมาณ 3,000 เมตร

    โอกาสที่แนวสำรวจชั้นตะกอนจะพาดผ่านตรงกลางเนินซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สำคัญโดยเฉพาะตำแหน่งของการพุของโคลนที่ยอดเนินพอดีนั้น จึงเป็นการยากมากที่จะด่วนสรุป จะต้องเก็บตัวอย่างตะกอนจากเนินเขาเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพิ่มเติม

    3.ไม่ว่าเนินหรือเขาใต้น้ำที่พบจะเป็นเนินพุโคลนหรือเป็นเนินประเภทอื่น เช่น สันหรือกองหินโผล่ (outcrop) หรือเป็นการสะสมของเศษซากจากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ เป็นต้นก็ตาม คงต้องมีการศึกษาและสำรวจพื้นที่ทะเลลึกเหล่านี้เพิ่มเติม ทั้งในด้านธรณีวิทยาและด้านอื่นๆ ทางกายภาพและชีวภาพ

    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02211249&day=2006/12/21
     
  3. sacrifar

    sacrifar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,221
    สิ่งนี้ไม่เที่ยง ขนาดไดโนเสายังสูญพันธุ์มาแล้ว แล้วนับปะสาอะไรกับมนุษย์ที่ชอบทำลายธรรมชาติกัน เมื่อถึงวันธรรมชาติก็ลงโทษครับ
     
  4. thejirayu

    thejirayu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2006
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +2,088
    ถ้าเป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหม่ประเทศของเราก็จะมีเศรษฐ์กิจที่ดีขึ่นเหมือนพวกตะวันออกกลางคนไทยจะใช้น้ำมันถูกลง......ลองคิดอีกมุมนึงนะครับสำหรับผมถ้ามันเป็นแหล่งบ่อน้ำมันแห่งใหม่....ผมคิดว่าโลกเรามีสิ่งที่ช่วยทำลายบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ่นอีกแล้ว บรรยากาศจะถูกทำลายเร็วขึ่น(ซึ่งตอนนี้ก็โดนทำลายอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว)โลกจะร้อนขึ่นเร็วกว่าเดิม น้ำจะท้วมเร็วกว่าเดิม.....ผมคิดมากไปไหมเนี้ย....
     
  5. [{เด็กใฝ่ธรรม}]

    [{เด็กใฝ่ธรรม}] เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +341
    เฮ่อออ ในโลกมันไม่มีอะไรที่ไม่เป็นอนิจจังซักอย่างหรอกครับ
     
  6. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,865
    อ่านแล้วงง !!!!
     
  7. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    ถ้าไม่มีอันตรายจริงๆก็คงดี เกรงแต่ว่าจะพัฒนาตัวเป็นภูเขาไฟในอนาคตนะสิ หากแผ่นดินเคลื่อนตัวไปอีกก็อาจเป็นไปได้หรือเปล่า อันนี้เดาเอาไม่มีหลักวิชาการอะไร
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    อ่านแล้วไม่ต้องงง ครับ คือในการออกข่าวครั้งแรกนั้น ประกาศว่าอาจเป็นภูเขาไฟใต้ทะเล เสร็จแล้ว ผู้ใหญ่ท่านกลัวประชาชน แตกตื่นหวาดกลัว เลย ออกข่าวใหม่ออกมาแก้ข่าวเดิมครับ ซึ่งผมเห็นกรณีแบบนี้เป็นปรกติของประเทศไทยครับ รวมทั้งการเกิดคลื่นจากพายุพัด 4 จังหวัดภาคใต้ก็ด้วย มีผู้ที่ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าครับ

    มีน้องคนหนึ่ง ทำงานอยู่ตึก อับดุลราฮิมเมื่อศุกร์ที่แล้ว 15 ธ.ค. มีการซ้อมหนีไฟของตึก มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรับมือกับอุบัติภัย ได้เตือนสตาฟของอาคารว่า

    "ช่วงนี้ถ้าจะไปเที่ยวชายทะเล ให้ระวังคลื่นยักษ์และพายุ ถ้าเกิดเจอจริงๆให้หนีโดยใช้เส้นทางที่ห่างจากถนนเลียบทะเล เช่น ถ้าถ้าไปเที่ยวหัวหิน ก็อย่าใช้สายเก่า ที่ผ่านชะอำ เลียบใกล้ทะเล ให้ใช้ทางบายพาสสายใหม่ที่ห่างทะเลมากกว่า "

    น้องเค้าก็มาเล่าให้ผมฟัง ตอนแรกก็คาดว่าจะเป็นประมาณ ปีใหม่ แต่ที่ไหนได้เกิดเร็วกว่าที่คาดไว้ครับ

    ผมถึงได้บอกว่าที่จริงถ้าจะเตือนก็เตือนได้ครับ แต่
    1. กลัวประชาชนแตกตื่น
    2. กลัวเสียรายได้จากการท่องเที่ยว
    3.ไม่กลัว ประชาชนตาย เพราะเป็นภัยธรรมชาติ ไม่เป็นความผิดของใครทั้งสิ้น
    4.ไม่รู้จักนโยบายเชิงรุกและเชิงป้องกัน ซึ่ง ใช้งบประมาณน้อยกว่า

    ก็เลยเป็นข่าวให้ประชาชนสับสนเล่นด้วยประการฉะนี้ ครับ
     
  9. npassmall

    npassmall Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +50
    น่ากลัวจัง
     
  10. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    ตอนอ่านข่าวตอนแรกก็ตกใจเหมือนกัน เพราะจากที่เคยเรียนมา ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในโซนของแนวภูเขาไฟ แล้วจะมีภูเขาไฟไปได้ยังไง??? ภูเขาไฟมักจะเกิดบริเวณแนวรอยเลื่อนซึ่งยัง Active อยู่ (แนวรอยเลื่อนนั้นจะมีทั้งประเภทที่ตายแล้วกับยัง Active อยู่) ทำให้มวล magma ร้อนใต้พื้นดินสามารถประทุออกมาจากแนวรอยเลื่อน ออกมาบริเวณปล่องภูเขาไฟ และบริเวณที่เจอเนินโคลนผุดนั้น ก็มีลักษณะเป็นแอ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติของแอ่งจะทำให้ตะกอนจากบริเวณอื่นมาทับถมกันได้ง่าย โดยเฉพาะพวก mud marine จะมีลักษณะการทับถมคล้ายปล่องภูเขาไฟ ทำให้เวลาสำรวจ ซึ่งมีวิธีสำรวจเป็นการใช้คลื่นสะท้อนลงไปแล้วแปลความหมายโดยประมวลผลจำลองเป็นภาพเป็น 2 มิติ ไม่ได้เห็นรูปร่างของตะกอนชัดเจน แปลความหมายออกมาให้หลายๆคนเป็นกังวลกัน นั้นก็คือแปลความหมายตามรูปร่างที่เห็นเท่านั้น ส่วนจากข่าวที่ว่ามีอุณหภูมิ 100 องศา บริเวณนั้น นั้นอาจเป็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายๆน้ำพุร้อนผุดบริเวณนั้น เพราะถ้าเป็นภูเขาไฟจริงจะต้องมีอุณหภูมิหลายร้อยองศาค่ะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลค่ะ ข้อมูลนี้ได้สอบถามจากเพื่อนที่อยู่กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนปริญญาโท อยู่ที่ภาควิชาธรณี จุฬา ก้อค่อนข้างจะเชื่อถือได้ เห็นเพื่อนบอกว่าอีกไม่นานเกินรอ คงจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับเรื่องนี้ หลังจากที่ได้ลงมือสำรวจกันจริงจังค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...