คนที่ยังไม่เตรียมพร้อมอาจเป็นเพราะว่า ยังไม่มี ' เป้ ' ซักที

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 2 พฤษภาคม 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    หลายคนตั้งใจว่าจะต้องเตรียมเป้สำหรับเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
    แต่ก็ยังไม่ได้ลงมือซักที
    หากลองวิเคราะห์ดูอาจเป็นเพราะว่า ยังไม่มี ' เป้ ' ซักที

    เทคนิคที่อยากแนะนำสำหรับคนที่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หรือยังผลัดวันประกันพรุ่งคือ

    ให้ลองหาเป้เหมาะ ๆ หรือคว้าเป้ใกล้ ๆ ตัวที่มีอยู่ จับโน่นนี่นั่นที่มีอยู่ในบ้านยัดใส่ลงไป
    แม้ไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้น
    จากนั้นกระบวนการต่าง ๆ จะ ค่อย ๆ พัฒนาปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ นำไปสู่การเตรียมพร้อมที่ดีเท่าที่เราจะทำได้
    เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติที่อาจกำลังมาถึงตัวเราและครอบครัวในเวลาอันใกล้นี้


    คลิปวีดีโอ : การเลือก 'เป้'


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=tokADJtlzac"]YouTube - Choosing Backpack[/ame]


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=8DP3OcfA1Zk&feature=related"]YouTube - ชมไทยทริก 5[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=ajgXwbrlN9Y&feature=mfu_in_order&list=UL"]YouTube - แนะนำการเลือกซิ้อเป้เดินทาง 2[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=oEaJmaPk5CA&feature=related"]YouTube - การเลือกซิ้อ ใช้งานเป้ ตอน 3[/ame]



    คู่มือการใช้เป้สะพายหลัง (Used to Backpack)
    <table id="table61" border="0" cellpadding="0" cellspacing="10" width="100%"> <tbody><tr> <td> [​IMG]
    สมัยยุคเริ่มแรกของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเป้ฯ ของทหาร ซึ่งเป็นเป้ฯ ที่ผลิตผ้าใบที่มีกระเป๋าช่องเล็กๆเพื่อใส่ของกระจุกกระจิกหลายช่อง และสามารถกันน้ำได้ดี แต่ข้
    อเสียก็คือมีน้ำหนักมาก และเมื่อบรรจุสัมภาระลงในเป้ฯ น้ำหนักจะตกไปอยู่ที่สะโพกและมีแรงกด ทำให้ผู้ใช้เป้ฯ ดังกล่าวรู้สึกหนักและปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ แผ่นหลัง และสะโพก ต่อมามีการพัฒนารูปแบบโดยเสริมโครงนอกเพื่อช่วงรองรับน้ำหนัก แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถช่วยกระจายการแบกรับน้ำหนักได้ดีพอ เมื่อการท่องเที่ยวแนวแค้มปิ้งเริ่มแพร่หลายก็ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงเป้ฯ อย่างไม่หยุดยั้ง ส่วนใหญ่เป้ฯ ในปัจจุบันจะถูกผลิตมาจากผ้าทอโพลีเอสเตอร์ที่มีขนาดเส้นด้ายแตกต่างกันไป ยิ่งมีขนาดเส้นด้ายโตมากเท่าไรก็ยิ่งมีความเหนียวและแข็งแรงทนทานมากขึ้น ผ้าชนิดนี้มีลักษณะเป็นผ้าเนื้อเรียบ ไม่ก่อเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีน้ำหนักเบา แข็งแรงและทนทานต่อการขูดขีด และสามารถรับน้ำหนักสัมภาระได้มาก ส่วนรูปแบบเป้ฯ จะแตกต่างกันไปก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ สรีระร่างกายผู้ใช้ สภาพภูมิประเทศที่จะไปเดิน และความต้องการปริมาตร (หรือการบรรจุสัมภาระ) ภายในเป้
    เราสามารถแบ่งประเภทของเป้ฯ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ เป้ฯ ไม่มีโครง เป้ฯ โครงใน และเป้ฯ โครงนอก
    </td> </tr> </tbody></table> <table class="text2" id="table62" border="0" cellpadding="0" cellspacing="10" width="100%"> <tbody><tr> <td> <table class="text2" id="table64" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td> <table class="text2" id="table65" border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="180"> [​IMG]</td> <td width="100%">
    <table class="text2" id="table66" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr> <td> 1. เป้ฯ ไม่มีโครง</td> </tr> <tr> <td> เป็นเป้ฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่มีโครง เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวระยะสั้น ๆ ประมาณ 1 - 3 วัน </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table class="text2" id="table67" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="100%">
    <table class="text2" id="table68" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr> <td> 2. เป้ฯ โครงใน </td> </tr> <tr> <td> เป็นเป้ฯ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีโครงบรรจุอยู่ภายในตัวเป้ฯ บริเวณแผ่นหลัง ลักษณะโครงคล้ายแหนบมีจำนวน 2 อัน เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวระยะยาวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่ต้องการความคล่องตัวสูงในสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่ารกทึบ และเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันหรือขรุขระสูง </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> <td width="255">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> <tr> <td> <table class="text2" id="table69" border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="180"> [​IMG] </td> <td width="100%">
    <table class="text2" id="table70" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr> <td> 3. เป้ฯ โครงนอก</td> </tr> <tr> <td> เป็นเป้ฯ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีโครงติดกับตัวเป้ฯ บริเวณแผ่นหลังอยู่ภายนอก เหมาะสำหรับการเดินทางระยะยาวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ในสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าโปร่ง ไม่รก และเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันหรือขรุขระน้อย</td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> <tr> <td> ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ซิป หรือเชือกรูดเป็นตัวปิดเปิดเป้ฯ</td> </tr> <tr> <td> การใช้ซิปเป็นตัวปิดเปิดเป้ฯ ทำให้เราสามารถบรรจุสัมภาระและปิดเปิดเป้ได้สะดวก แต่ไม่สามารถรับแรงอัดหรือบรรจุสัมภาระได้มาก ส่วนการใช้เชือกรูดเป็นตัวปิดเปิดเป้ฯ สามารถบรรจุสัมภาระได้มาก แต่เวลาบรรจุหรือต้องการหยิบฉวยสัมภาระกระทำได้ยากและวุ่นวายไม่น้อย โดยปกติมักจะใช้ซิปกับเป้ฯ ที่ไม่มีโครง ส่วนเชือกรูดจะใช้กับเป้ฯ ที่มีโครง (ทั้งโครงในและโครงนอก)</td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    <table class="text2" id="table71" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="205"> [​IMG]</td> <td width="371">
    ลักษณะของเป้ฯ ที่ดี
    ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเป้ฯ โครงใน ซึ่งเป็นเป้ฯ ที่มีนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมใช้มากที่สุด เพราะมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศในเมืองไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td> <table class="text2" id="table72" border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="201"> [​IMG] </td> <td> <table class="text2" id="table73" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top"> 1. </td> <td> ตัวเป้ฯ ควรมีลักษณะแคบและยาวตามรูปร่างแผ่นหลังของผู้ใช้ ทำให้น้ำหนักสัมภาระกระจายไปทั่วแผ่นหลัง </td> </tr> <tr> <td valign="top"> 2.</td> <td> โครงอลูมิเนียมคล้ายแหนบจำนวน 2 อัน ที่บรรจุอยู่ภายในเป้ฯ บริเวณที่ติดกับแผ่นหลังของผู้สวมสะพาย ซึ่งโครงทั้ง 2 อันควรวางตัวอยู่แต่ละข้างของกระดูกสันหลัง ตัวโครงจะต้อง สามารถดัดเว้าเข้ากับแผ่นหลังตั้งแต่ไหล่ลงมาถึงกระดูกสะโพกของผู้ใช้ได้อย่างแนบเนียน ทำให้สะดวกในการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว มีความสมดุลย์ในการทรงตัวได้ดี และช่วยกระจายการแบกรับน้ำหนักไปทั่วแผ่นหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจาก นี้ตัวโครงควรสามารถถอดออกได้เพื่อสะดวกแก่การทำความสะอาด</td> </tr> <tr> <td valign="top"> 3.</td> <td> ควรมีสายปรับความยาวของแผ่นหลังจำนวน 3 สาย เพื่อให้ผู้ใช้ แต่ละคนสามารถปรับให้เข้ากับสรีระร่างกายของตนเองได้อย่างเหมาะสม </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td> <table class="text2" id="table74" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="15"> 4. </td> <td> ควรมีแผ่นรองหลังช่วงบนและช่วงล่าง ซึ่งภายในบรรจุด้วยโฟมสังเคราะห์พิเศษที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อป้องกันสัมภาระและโครงอลูมิเนียมกระแทกหรือเสียดสีกับแผ่นหลัง โดยเฉพาะช่วยป้องกันน้ำหนักสัมภาระกดทับกระดูกสันหลัง และช่วยกระจายน้ำหนักไปทั่วแผ่นหลัง</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 5. </td> <td> ควรมีสายสะพายไหล่ขนาดใหญ่และหนา ซึ่งภายในบรรจุด้วยโฟมสังเคราะห์พิเศษที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจากไหล่ลงสู่เอว และสามารถปรับสายสะพายไหล่เลื่อนเข้าออกให้กระชับแก่ร่างกายได้อย่างแนบเนียน</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 6. </td> <td> ควรมีสายรั้งเป้ฯ เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนให้เกิดความสมดุลย์ขณะเดินขึ้นเขาหรือลงเขา โดยดึงสายรั้งเป้ฯ ให้ตึงขณะเดินขึ้นเขาเพื่อให้ตัวเป้ฯ แนบชิดกับแผ่นหลังและป้องกันไม่ให้ตัวเป้ฯ แกว่งไปมาขนเสียศูนย์หรือขาดความสมดุลย์ขณะเคลื่อนไหว และใช้วิธีการคลายสายรั้งเป้ฯ ให้หย่อนขณะเดินลงเขาเพื่อให้สัมภาระภายในเป้ฯ เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก นอกจากนี้ยังช่วยให้มีอากาศถ่ายเทผ่านระหว่างแผ่นหลังกับตัวเป้ฯ เพื่อขจัดเหงื่อได้อย่างสะดวกสบายอีกด้วย</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td> วิธีการบรรจุสัมภาระลงในเป้ฯ (โครงใน)</td> </tr> <tr> <td> ควรเริ่มจากบรรจุถุงนอนไว้ในก้นเป้ฯ แล้วนำเสื้อผ้าและสัมภาระใส่ลงในเป้ฯ โดยให้เสื้อผ้าอยู่รอบ ๆ สัมภาระที่หนักและแข็ง โดยเฉพาะบริเวณแผ่นหลัง เพื่อป้องกันการเสียดสีหรือการกระแทกกับแผ่นหลัง อีกทั้งยังช่วยไม่ให้สัมภาระเคลื่อนไหวไปมาจนเสียศูนย์ ส่วนเต็นท์หรือแผ่นรองนอนก็ให้ผูกไว้กับสายรัดเป้ฯ ด้านนอกหรือด้านข้าง สำหรับอุปกรณ์จำเป็นที่จะต้องหยิบฉวยอยู่เสมอหรือทันท่วงทีควรบรรจุไว้บริเวณหัวเป้ฯ หรือช่องกระเป๋าเล็ก ๆ ทางด้านหน้าหรือด้านข้างของเป้ฯ</td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td> หลักการเลือกซื้อเป้ฯ</td> </tr> <tr> <td> <table class="text2" id="table75" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="15"> 1.</td> <td> นำเป้ฯ สวมสะพายหลัง แล้วลองปรับสายรัดอก สายรัดเอว และสายสะพายไหล่ดูว่ากระชับกับร่างกายเราหรือไม่ รวมทั้งลองก้ม หน้าเงยหน้า หันซ้ายหันขวา และลองแบกเป้ฯเดินดูภายในร้านจำหน่ายอุปกรณ์แค้มปิ้ง หากเป้ฯ นั้นพอเหมาะกับตัวเราก็จะต้องสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวและกระชับ ที่สำคัญจะต้องไม่รู้สึกเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 2. </td> <td> ขนาดความยาวของเป้ฯควรพอดีกับผู้ใช้ เพราะหากมีขนาดยาวเกินไป..สายคาดเอวจะไปคาดที่สะโพกทำให้เดินได้ไม่สะดวกและเวลานั่งยอง ๆ ตัวเป้ฯ ก็จะค้ำดันสะโพกจนนั่งไม่ได้หรือไม่สะดวกเท่าที่ควร แต่ถ้าขนาดเป้ฯ สั้นเกินไป สายคาดเอวก็จะลอยขึ้นมาอยู่ระหว่างเอวและกระดูกซี่โครง ทำให้เดินได้ไม่สะดวกเช่นกัน</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 3.</td> <td> ขนาดความกว้างของเป้ฯ ควรพอดีกับผู้ใช้ เพราะหากมีขนาดกว้างเกินไป เวลาเดินผ่านไปตามป่ารก ตัวเป้ฯ จะระกิ่งไม้ต้นไม้หรืออาจติดขัดจนทำให้เราเสียศูนย์และหกล้มจนได้รับอันตรายได้</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 4. </td> <td> สายสะพายไหล่ควรอ่อนนุ่มและอยู่ห่างจากต้นคอพอสมควร เพื่อจะได้ไม่ไปกดชีพจรบริเวณต้นคอเมื่อแบกสัมภาระ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 5.</td> <td> เป้ฯ จ ะมีโครงหรือไม่มีโครงก็ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศที่เราจะเดินทางไปท่องเที่ยว ส่วนรูปแบบและสีสันขึ้นอยู่กับจิตใจที่ชื่นชอบของแต่ละคน</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td> การดูแลรักษาและทำความสะอาด</td> </tr> <tr> <td> <table class="text2" id="table76" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="15"> 1. </td> <td> สัมภาระที่ใส่ลงในเป้ฯควรมีลักษณะเล็ก เบา และบรรจุได้มาก ไม่ควรที่จะแบกของหนักหรือใหญ่ เกินกว่าเป้ฯใบนั้นจะรับน้ำหนักได้</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 2.</td> <td width="585"> หากเป้ฯ เปื้อนฝุ่นก็ให้ใช้แปรงขนอ่อนปัด</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 3. </td> <td> ถ้าเป้ฯ สกปรกไม่มากก็ให้ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาด ๆ แล้วเช็ดถู แต่ถ้าสกปรกมากก็ให้ใช้น้ำเปล่าล้าง หากคราบสกปรกไม่ออกก็ให้ ใช้ยาสระผมหรือสบู่อ่อน ๆ ถูเบา ๆ อย่าใช้ผงซักฟอกหรือสบู่ที่มีกรดมาก ๆ อย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สารเคมีที่เคลือบเนื้อผ้าเพื่อป้องกันน้ำเสื่อมสภาพได้ จากนั้นนำไปผึ่งลมในที่ร่มหรือกึ่งร่มกึ่งแดดให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันกลิ่นอับและเชื้อรา อย่าตากแดดจัด ๆ และควรใช้แป้งทาตัว (อย่างอ่อน) โรยบริเวณซอกมุมของเป้เพื่อช่วยขจัดความชื้นให้หมดไป</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 4. </td> <td width="585"> ควรระมัดระวังอย่าให้น้ำมันเชื้อเพลิงกรดใส่เป้ฯ เพราะจะทำให้เนื้อผ้าเป้เสียหายได้</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 5.</td> <td> ถ้านำเป้ฯ ไปท่องเที่ยวตามชายทะเล นอกจากทำความสะอาดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังต้องทำความสะอาดบริเวณซิปเป็นพิเศษด้วยการใช้น้ำฉีดพ่นบริเวณซิป เพื่อขจัดกรวดทรายและคราบไอทะเลที่เกาะอยู่ให้หลุดไป รวมทั้งเป็นการป้องกันฟันของซิปสึกหรอหรือฝืดจนใช้การไม่ได้ นอกจากนี้ควรนำเศษผ้าจุ่มขึ้ผึ้งหรือใช้เทียนไขก็ได้มาขัดถูบริเวณซิปเพื่อยืดอายุการใช้งานของซิป </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 6. </td> <td> ควรเก็บเป้ฯ ไว้ในสถานที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อบอ้าวจนเกินไป และไม่ควรวางไว้กับพื้น โดยเฉพาะพื้นปูน เพราะบริเวณนั้นจะมีความชื้นสูง และทำให้เป้ฯ เกิดเชื้อราได้ง่าย</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="15"> 7. </td> <td width="585"> นาน ๆ ครั้งควรนำเป้ฯออกมาตากแดดอ่อน ๆ เพื่อขจัดกลิ่นอับ

    ข้อมูลจาก http://www.e-travelmart.com/used_backpack.html






    ติดตามทาง Facebook กาขาว

    [FONT=&quot]--------------------------------------------------------------------------------------------[/FONT]


    [FONT=&quot]ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของการเกิดภัยพิบัติและการเตรียมการ

    [/FONT]
    คลิกที่นี่...สารคดี 2011 : 100 วันแห่งความหายนะ

    คลิกที่นี่...สติและการตัดสินใจแก้ปัญหาในยามเกิดภัยพิบัติ

    [/COLOR]คลิกที่นี่...การเตรียม 'ใจ' รับภัยพิบัติ (ในวัฏฏะอันน่าสงสาร)

    คลิกที่นี่...ทำไมผู้รอดจากภัยพิบัติจึงเรียกว่าเป็นผู้มีความดี

    คลิกที่นี่...ปากกาตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วในบริเวณที่น้ำท่วม[/B][/SIZE]

    คลิกที่นี่...มาม่าเกลี้ยง น้ำดื่มขาด มีเงินก็ซื้อไม่ได้ยามเกิดภัยพิบัติ

    คลิกที่นี่...ภัยพิบัติกับคนดีชื่อ 'ตัน' และพระโสดาบันชื่อ 'อนาถบิณฑิกะ'

    คลิกที่นี่...รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง


    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2011
  2. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ส่วนประกอบของเป้

    เรื่องโดย หญิงเหล็ก , สิงหาคม 2002

    ในส่วนนี้จะขอเน้นในเรื่องของส่วนประกอบของเป้ โครงใน เพราะถึงแม้จะมีข้อเสียอยู่บ้างบางประการ แต่เนื่องจากความคล่องตัวที่มีมากกว่าเป้โครงนอก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเดินป่าในเมืองไทย เป้โครงในจึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น และผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศก็ยังมีการค้นคว้าเพื่อพัฒนาการผลิตเป้โครงใน ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
    สำหรับบางคน อาจจะเห็นว่าเป้โครงในมักจะมีสายรัดต่างๆ มากมาย ซึ่งบางครั้งอาจจะมองว่าเกะกะ แต่จริงๆ แล้ว สายรัดต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินป่า มากที่สุด เช่น

    • สายปรับระดับตัวเป้ (Upper Straps) ซึ่งใช้สำหรับปรับยึดที่สะพายบ่ากับตัวเป้ให้กระชับมากที่สุดขณะเดิน
    • สายรัดอก (Sternum Straps) ซึ่งยึดที่สะพายบ่าทั้งสองข้าง ทำให้เป้ไม่เหวี่ยงไปมาเวลาเดิน
    • สายรัดเป้ (Compression Straps) ซึ่งอยู่ด้านข้างทั้งสองข้างของตัวเป้ ช่วยรัดให้เป้มีขนาดเล็กและกระชับ หรือสามารถรัดของเบาๆ ไว้ด้านนอกตัวเป้ได้ด้วย
    อย่างไรก็ดี ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่สำคัญกว่าสายรัดต่างๆ เหล่านี้อีกมาก เวลาเลือกซื้อเป้ เราควรจะพิจารณาที่ส่วนประกอบสำคัญเหล่านี้เป็นพิเศษ ซึ่งได้แก่

    <table align="center" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>1.สายรัดสะโพก (Hipbelt) สายรัดสะโพกที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับเป้เดินป่านั้น จะแตกต่างจากสายรัดเอวของเป้ที่ใช้ธรรมดาที่ไม่มีโครงทั่วๆ ไป ที่เป็นเพียงเส้นบางๆ สายรัดสะโพกสำหรับเป้เดินป่าจะมีลักษณะหนาและนุ่มกว่ามาก โดยมีการบุข้างในด้วยวัสดุหลายชั้น เช่น โฟมที่มีความแข็งขึ้นรูป และโฟมอีกชนิดที่มีความนุ่มกว่าและให้ความยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งเอาไว้รองรับการกระแทกระหว่างน้ำหนักของเป้กับสะโพกของเรา สายรัดสะโพกที่พอดีควรจะสามารถรัดได้ในระดับสะโพกตรงบริเวณกระดูกเชิงกราน ซึ่งจะเป็นจุดที่ช่วยในการถ่ายน้ำหนักได้ดีที่สุด เวลาเลือกซื้อเป้ควรจะให้ความสำคัญในส่วนของสายรัดสะโพกให้มาก เพราะหากวัสดุที่บุด้านในนิ่มหรือบางเกินไป อาจจะใช้ช่วยในการรองรับแรงกระแทกได้ไม่มากนัก ซึ่งจะทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเป็นแผลบริเวณสะโพกได้ หรือหากวัสดุที่บุด้านในสายรัดสะโพกแข็งเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดบาดแผลกับสะโพกได้เช่นกัน
    เป้เดินป่าบางรุ่น จะออกแบบมาให้สามารถจะเปลี่ยนสายรัดสะโพกได้ตามความต้องการของเรา หรือบางรุ่นอาจจะสามารถปรับมุมของสายรัดให้เข้ากับเราได้มากที่สุดอีกด้วย เมื่อคาดสายรัดสะโพก ควรจะปรับให้พอดีกับสะโพก ไม่หลวมเกินไปจนไม่ช่วยในการกระจายน้ำหนักลงที่สะโพก หรือไม่แน่นจนเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการเสียดสีสะโพกมากจนเกินไปได้
    2. สายสะพายบ่า (Shoulder straps)
    ที่สะพายบ่าสำหรับเป้โครงในรุ่นใหม่ มักจะมีความหนานุ่ม และบุด้วยวัสดุที่คล้ายคลึงกับวัสดุที่บุในสายรัดสะโพกเช่นกัน เพื่อช่วยลดแรงกดกระแทกกับบ่าของเรา ไม่ทำให้เกิดการเสียดสี หรือเกิดความเจ็บปวดมากจนทำให้การเดินป่ากลายเป็นความทรมานไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเหงื่อออกมากๆ ในเป้รุ่นใหม่ๆ บางรุ่น (ส่วนมากมักจะเป็นของต่างประเทศ) จะสามารถปรับระดับของที่สะพายบ่าได้ตามความสูงของผู้สะพายอีกด้วย
    3. แผ่นรองหลัง (Framesheet)
    เป้โครงในจะมีแผ่นรองหลังเพิ่มเติม ซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกแข็งๆ บางๆ กั้นระหว่างตัวเป้กับแผ่นหลังของเรา โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดการกระแทกระหว่างของที่อยู่ในเป้กับหลังของเรา เป้บางรุ่นอาจจะมีผ้าตาข่ายหรือแผ่นโฟมบางๆ ติดอยู่ที่เป้บริเวณใกล้กับกึ่งกลางหลังของเรา เพื่อช่วยให้เกิดการระบายอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย
    4. ตัวเป้ (Packbags)
    ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่จะพิจารณาก็คือเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ใช้ทำเป้ ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมใช้เนื้อผ้าที่เป็นไนล่อน เนื่องจากมีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน และส่วนมากแล้วจะสามารถต้านทานการขีดข่วนได้ในระดับหนึ่ง และบางรุ่นยังกันน้ำได้อีกด้วย (ที่ว่ากันน้ำได้นั้น น่าจะหมายถึงตัววัสดุที่ใช้มีสารเคลือบกันน้ำได้ ในกรณีที่ฝนตกปรอยๆ หรือโดนน้ำกระเซ็นใส่เล็กน้อย ... แต่ถ้าเป้ตกน้ำหรือวางตากฝนทิ้งไว้ ก็คงจะไม่สามารถกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แน่ๆ เพราะน้ำสามารถจะเข้าไปตามรอยต่อหรือฝากระเป๋า หรือซิปต่างๆ ได้)
    ส่วนมากแล้วข้อเสียของเป้โครงในก็คือการมีช่องเก็บของในตัวเป้ เพียงช่องเดียว ซึ่งทำให้การค้นหาของระหว่างการเดินทางทำได้ลำบาก แต่เป้โครงในรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้มักจะออกแบบให้มีช่องเก็บถุงนอนแยกต่าง หากอยู่ด้านล่างของตัวเป้ และอาจจะเชื่อมกับช่องเก็บของใหญ่ของตัวเป้โดยมีชั้นกั้นเอาไว้และสามารถรูด ซิปเปิดปิดได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไปได้เหมือนกัน เพราะถุงนอนเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะต้องการพื้นที่เก็บมากพอสมควร
    5. อุปกรณ์เสริม
    เป้โครงในรุ่นใหม่ๆ มักจะมีการเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากขึ้น เช่น

    • กระเป๋าลูก (Detachable pocket)
      เป้โครงในหลายรุ่น ออกแบบมาโดยการเพิ่มกระเป๋าลูกใบเล็กแปะไว้ด้านหน้าของตัวเป้อีกชั้น ซึ่งจะสามารถแยกชิ้นส่วนออกมาเป็นเป้ใบเล็กที่เหมาะสำหรับการเดินเที่ยวใน ระยะสั้นๆ หรือเดินสำรวจรอบบริเวณ เมื่อเราไปถึงที่พักแล้ว
    • กระเป๋าเก็บขวดน้ำ (Water-bottle holders/hydration pockets)
      เป้โครงนอกส่วนใหญ่จะมีกระเป๋าข้างมากกว่าเป้โครงใน ซึ่งสะดวกสำหรับการเก็บขวดน้ำหรืออุปกรณ์จำเป็นต่างๆ แม้เป้โครงในส่วนใหญ่จะไม่มีกระเป๋าด้านนอกมากนัก แต่เป้โครงในรุ่นใหม่ๆ ก็เริ่มมีการพัฒนาเพิ่มที่เก็บขวดน้ำด้านนอกตัวเป้ เช่น ทำกระเป๋าตาข่ายที่เป็นยางยืดไว้ด้านข้าง ซึ่งสามารถจะเก็บขวดน้ำเล็กๆ ไว้ได้ หรือบางรุ่นได้มีการพัฒนาให้มีที่เก็บน้ำติดกับตัวเป้ไว้เลย โดยเราสามารถจะดื่มน้ำได้จากหลอดที่ต่อท่อยาวออกมาจากที่เก็บน้ำนั้นได้ (คล้ายๆ กระเป๋าน้ำของนักปั่นจักรยานเสือภูเขา)
    ข้อมูลจาก http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_10.html
     
  3. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ชนิดและประเภทของเป้

    เรื่องโดย หญิงเหล็ก , สิงหาคม 2002

    ปัญหาสำคัญข้อหนึ่งที่ผู้เริ่มต้นเดินป่าแทบทุกคน ประสบก็คือ "การเลือกเป้" ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการเดินป่าเลยทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะไม่แน่ใจว่าควรจะใช้เป้แบบใด ขนาดไหน เวลาจะซื้อต้องดูที่อะไรบ้าง หรือแม้แต่จะซื้อยี่ห้ออะไรดี สำหรับผู้เคยมีประสบการณ์เดินป่ามาก่อนแล้ว และอยากจะได้เป้ใบใหม่ ก็อาจจะพอทราบความต้องการของตัวเอง โดยอาศัยประสบการณ์จากการใช้เป้ใบเก่าว่ามีข้อเสียตรงไหนบ้าง แต่สำหรับมือใหม่ จะเลือกยังไงดีล่ะ?
    วิธีที่ง่ายที่สุดก็คงจะเป็นการถามไถ่ผู้รู้ หรือผู้ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่หลายคนก็คงหลายความคิด ความชอบก็คงจะต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อเป้ก็คือ ควรจะต้องลองแบกดูก่อน เพื่อกะขนาดน้ำหนัก และความพอดีกับตัวของเรา เพราะในการเดินป่านั้น ความคล่องตัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง บางครั้งอาจจะต้องมีทั้งการปีนป่าย มุด ลอด โหน กระโดด ฯลฯ จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกเป้ที่คิดว่าพอดี สะดวกสบาย และให้ความคล่องตัวกับเรามากที่สุด
    เป้ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในการเดินป่าระยะไกลที่จำเป็นจะต้อง เข้าไปนอนค้างแรมในป่า หรือการเดินป่าตั้งแต่สองวันขึ้นไปนั้น จะเป็นเป้มีโครง ซึ่งออกแบบโดยช่วยให้มีการถ่ายเทน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยแบ่งน้ำหนักของเป้ไปตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อไม่ให้บ่ารับน้ำหนักมากเกินไป เป้มีโครงจะมีอยู่สองประเภท คือ เป้โครงนอก และเป้โครงใน
    1. เป้โครงนอก

    <table align="right" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">เป้โครงนอก</td></tr></tbody></table> เป้ ที่ใช้กันในสมัยแรกๆ คือเป้โครงนอก ซึ่งจะมีลักษณะที่ค่อนข้างใหญ่กว่าเป้โครงใน บางคนอาจจะเห็นว่าค่อนข้างใหญ่และเทอะทะ ตัวโครงของเป้โครงนอกส่วนมากจะทำจากท่ออลูมิเนียมและอยู่ด้านนอกของตัวเป้ ส่วนใหญ่เป้โครงนอกจะออกแบบให้มีการถ่ายน้ำหนักทั้งหมดลงไปที่สะโพกของผู้ สะพาย

    ข้อดีของเป้โครงนอกคือ ระหว่างตัวเป้กับแผ่นหลังของผู้สะพาย พอจะมีช่องว่างให้อากาศถ่ายเทได้มากกว่าเป้โครงใน ทำให้มีการระบายอากาศดีกว่า และไม่รู้สึกอบหรือร้อนมากนัก เป้โครงนอกส่วนใหญ่จะมีช่องเล็กช่องน้อยสำหรับเก็บของมากกว่าเป้โครงใน ทำให้สามารถแยกเก็บของเป็นสัดเป็นส่วนและสะดวกต่อการค้นหาและนำมาใช้งาน ข้อสำคัญ เป้โครงนอกมักจะราคาถูกกว่าเป้โครงใน

    แต่เป้โครงนอกก็ยังมีจุดอ่อนสำคัญที่น่าจะต้องคำนึงถึงคือ เป้โครงนอกไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นมากนัก เนื่องจากตัวโครงที่ค่อนข้างแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และไม่กระชับพอดีกับแผ่นหลัง ทำให้เวลาสะพายเดินป่า เราจะรู้สึกไม่ค่อยคล่องตัวนัก เหมือนกับต้องเดินหลังแข็งไปตลอดทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาจำเป็นต้องเดินบุกป่าฝ่าดงที่รกๆ ซึ่งป่าเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้ เนื่องจากเป้เหล่านี้ออกแบบมาจากต่างประเทศ และการเดินป่าในต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะมีการจัดเตรียมเส้นทางเพื่ออำนวย ความสะดวกให้นักท่องเที่ยวไว้แล้ว และมีทางเดินที่ค่อนข้างกว้างจึงไม่เป็นอุปสรรคมากเท่ากับการเดินป่าในไทย

    จากคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียของเป้โครงนอก จึงพอจะสรุปแนะนำได้คร่าวๆ ว่า เป้โครงนอกนั้น อาจจะเหมาะสำหรับการเดินป่าในเส้นทางที่ค่อนข้างสบาย ไม่ยากลำบากหรือรกมากเกินไปนัก และอาจจะเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเดินป่าใหม่ๆ ที่อาจจะยังไม่แน่ใจตัวเองนักว่าชอบการเดินป่าจริงๆ หรือไม่ เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างจะถูกกว่ามาก เพราะหากลองเดินป่าครั้งแรกแล้วรู้สึกไม่ชอบหรือไม่ประทับใจอย่างที่คิดจะ ได้ไม่เสียดายมากนัก 2. เป้โครงใน

    <table align="right" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">เป้โครงใน</td></tr></tbody></table> เป้ โครงในจะมีลักษณะเพรียวกว่าเป้โครงนอก วัสดุที่ใช้เป็นโครงส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุประเภทอลูมิเนียมหรือไฟเบอร์ มักจะกว้างประมาณ 1 นิ้ว และไม่หนามาก ตัวโครงจะหุ้มด้วยโฟมอีกชั้นหนึ่งและซ่อนไว้ในตัวเป้ด้านที่สัมผัสกับหลัง ของผู้สะพาย และบางแบบจะสามารถปรับระดับความสูงให้เข้ากับลำตัวของผู้สะพายได้ โครงสร้างของเป้โครงในนั้น จะออกแบบให้ช่วยในการกระจายน้ำหนักของเป้ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งได้แก่ ไหล่ หลัง และสะโพก

    ข้อดีของเป้โครงในมีหลายประการด้วยกัน ประการแรกคือ มีความยืดหยุ่นสูงเพราะถึงแม้ว่าตัวโครงจะแข็งแรงทนทาน แต่ไม่ถึงกับแข็งกระด้างเหมือนโครงของเป้โครงนอก ประการที่สอง เป้โครงในช่วยรักษาสมดุลและความมั่นคงในการเดินให้กับผู้สะพายได้เป็นอย่าง ดี เนื่องจากเป้โครงในทั่วไปมักจะออกแบบให้มีสายสำหรับรัดอุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากที่สุด จึงทำให้สามารถเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างรัดกุม ไม่ส่ายไปมาระหว่างการเดิน นอกจากนี้ เป้โครงในยังให้ความคล่องตัวสูงเนื่องจากรูปแบบที่ค่อนข้างจะเล็กและกระชับ กว่าเป้โครงนอก และเป้โครงในยังสามารถปรับให้เข้ากับผู้ใช้ได้ดีกว่าเป้โครงนอกด้วย เช่น การปรับสายรัดที่สะโพก และการปรับระดับของที่สะพายไหล่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ข้อเสียของเป้โครงในก็ยังมีบางประการเช่นกัน อย่างแรกคือ เป้โครงในส่วนมากมักจะมีช่องเก็บของด้านในตัวเป้เพียงช่องเดียว เป้รุ่นใหม่อาจจะมีชั้นแยกที่เก็บถุงนอนกั้นไว้ด้านล่างของตัวเป้ แต่นอกนั้น ของต่างๆ จะเก็บรวมกันในช่องใหญ่เพียงช่องเดียว ซึ่งบางครั้ง จะทำให้ลำบากเวลาต้องการค้นหาของบางอย่าง แต่ปัญหานี้ก็อาจจะไม่หนักหนามาก หากคุณมีประสบการณ์ในการเดินป่ามากขึ้น ก็จะทำให้พอจะรู้เทคนิคในการแพ็คของว่าควรจะวางอะไรไว้ตรงไหนบ้าง ข้อเสียประการถัดมาก็คือ เป้โครงในส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้กระชับพอดีกับแผ่นหลังของผู้สะพาย ทำให้ไม่ค่อยมีที่สำหรับการระบายอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้คุณรู้สึกร้อน และอาจจะเกิดความระคายเคืองได้หากคุณเป็นคนขี้ร้อนและแพ้เหงื่อง่าย ประการสุดท้ายคือ เป้โครงในส่วนใหญ่มักจะมีราคาแพงกว่าเมื่อเทียบกับเป้โครงนอกขนาดเท่ากัน



    ข้อมูลจาก http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_9.html
     
  4. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    วิธีการเลือกซื้อเป้

    เรื่องโดย หญิงเหล็ก , มีนาคม 2003

    ในตลาดทั่วไปมีเป้ดีๆ อยู่หลายยี่ห้อ ผู้ผลิตแต่ละรายก็ล้วนแล้วแต่ทุ่มเท ค้นคว้า ออกแบบและผลิตเป้ที่มีคุณภาพออกมาทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ว่าเป้แต่ละใบนั้น ต่างก็เหมาะสำหรับผู้ใช้แต่ละคนแตกต่างกันออกไปนั่นเอง ดังนั้น เป้ที่ดีคือเป้ที่เราสะพายแล้วรู้สึกสบายที่สุด นอกจากเราควรจะต้องลองสะพายเป้ด้วยตัวเองในเวลาเลือกซื้อ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความเหมาะสมกับตัวเราแล้ว นอกจากนี้ยังมีข้อควรพิจารณาอื่นๆ อีกหลายอย่าง ดังนี้
    1. ความจุของตัวเป้ (Capacity of the Pack)
    ก่อนอื่นควรจะต้องรู้ว่าคุณมักจะเดินทางท่องเที่ยวลักษณะใด เดินป่าระยะสั้นหรือเดินป่าครั้งละเป็นสัปดาห์ สภาพอากาศหนาวหรือร้อน จำเป็นต้องเอาอุปกรณ์กันหนาวหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ ติดตัวไปด้วยหรือไม่ หรือว่าคุณต้องแบกอุปกรณ์ทำครัวหรือของส่วนกลางมากน้อยเพียงใด แต่ข้อสำคัญอย่างหนึ่งคือ ไม่ควรซื้อเป้ที่มีขนาดใหญ่เกินความต้องการ เพราะโดยทั่วๆ ไปแล้ว ธรรมชาติของคนเรา หากมีที่เหลือก็มักจะใส่ของเพิ่มเข้าไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะเต็ม ซึ่งอาจจะทำให้คุณต้องแบกสัมภาระหนักเกินไปทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นมากมายเลยก็ได้

    <table align="center" bgcolor="#000000" cellpadding="1"> <tbody> <tr> <td bgcolor="#ffffff" width="70">30-50 ลิตร</td> <td bgcolor="#ffffff">เป้ขนาดนี้เหมาะสำหรับการเดินป่าท่องเที่ยวในระยะ สั้นๆ เช่น การท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือการท่องเที่ยวไปในเส้นทางที่ไม่จำเป็นต้องแบกอุปกรณ์พิเศษอะไรเข้าไปมาก นัก นอกจากถุงนอนใบเล็กๆ เต็นท์หรือเปล และอุปกรณ์ทำอาหารทั่วๆ ไป</td></tr> <tr> <td bgcolor="#ffffff">50-70 ลิตร</td> <td bgcolor="#ffffff">สำหรับคนที่ต้องการเดินป่ามากกว่าในระยะเวลาประมาณ 2-4 วัน ควรจะลองพิจารณาเป้ขนาดนี้ดูเพราะเพียงพอที่จะใส่อุปกรณ์ทุกอย่างที่จำเป็น สำหรับการเดินป่าในช่วงเวลานั้นๆ ได้ และเป้ไซส์นี้ก็เป็นที่นิยมสำหรับผู้หญิงที่จะใช้ในการเดินป่าหลายๆ วันด้วยเช่นกัน</td></tr> <tr> <td bgcolor="#ffffff">70-100 ลิตร</td> <td bgcolor="#ffffff">เป้ขนาดใหญ่นี้ เหมาะสำหรับที่จะใช้บนเส้นทางที่ยาวนานเป็นสัปดาห์ขึ้นไป หรือสำหรับผู้ที่ต้องเตรียมถุงนอนใบใหญ่หรือเสื้อกันหนาวหนาๆ ไปด้วย แต่สำหรับอากาศในบ้านเราอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เป้ขนาดใหญ่ขนาดนี้ก็ได้</td></tr></tbody></table> <table align="center" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">ความจะของเป้ขึ้นกับการใช้งาน</td></tr></tbody></table>
    2. ระบบช่วยในการสะพายและโครงของเป้ (Suspensions and Frames)

    <table align="right" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">เป้บางรุ่นจะสามารถปรับระดับได้</td></tr></tbody></table> ระบบ ที่ช่วยในการสะพายเป้นี้ประกอบไปด้วยบริเวณที่สำคัญสองส่วนคือสายสะพายบ่า (Shoulder Straps) และสายรัดสะโพก (Hip Belts) เป้ธรรมดาทั่วๆ ไปหรือเป้เดินป่าสมัยก่อนมักจะมีสายสะพายบ่ากับสายรัดสะโพกที่ตายตัว แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิตได้ก้าวหน้าไปมาก ผู้ผลิตต่างก็พยายามพัฒนาเป้เดินป่าของตนให้ล้ำหน้าและเหมาะกับการใช้งานมาก ขึ้น มีผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตเป้เดินป่าที่สามารถปรับระดับสายสะพายบ่าและสายรัด สะโพกให้เหมาะกับผู้ใช้ได้ดีมากขึ้น ระบบที่สามารถปรับสายสะพายบ่าได้นี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
    • เป้ที่สามารถปรับระดับได้เต็มที่ (Fully Adjustable Suspension) ซึ่งเราจะสามารถเลื่อนระดับสายสะพายบ่าขึ้นลงในระดับใดก็ได้ให้พอเหมาะกับ ขนาดลำตัวของเราได้เป็นอย่างดี โดยมักจะปรับระดับลำตัวได้ตั้งแต่ 14 – 21 นิ้ว
    • เป้ที่สามารถปรับระดับได้ตามช่วงที่กำหนดไว้ (Certain Size Ranges) ซึ่งมักจะแบ่งออกเป็นขนาดเล็ก (14-16 นิ้ว) กลาง (17-19 นิ้ว) และใหญ่ (20 นิ้วขึ้นไป)
    นอกจากนี้ ผู้ผลิตบางรายยังได้มีการผลิตเป้แบบพิเศษสำหรับคนที่มีขนาดลำตัวไม่มาตรฐาน โดยอาจจะมีความยาวลำตัวมากกว่าคนปกติหรือน้อยกว่าคนปกติมากๆ ด้วยเช่นกัน

    3. ขนาดความยาวของลำตัว (Torso Size)
    เหตุที่เราจำเป็นจะต้องพิจารณาเรื่องขนาดความยาวของลำตัวของ เราในเวลาเลือกซื้อเป้ด้วยนั้น ก็เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ผลิตมักจะออกแบบเป้มาให้ช่วยในการผ่อนแรงและอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้มาก ขึ้นเรื่อยๆ หากเราใช้เป้ที่มีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้สายรัดสะโพกไม่อยู่ในระดับที่ควรจะเป็น คือจะอยู่ต่ำกว่าสะโพกเรามากเกินไป ซึ่งจะทำให้ไม่ช่วยในการผ่อนน้ำหนักได้เลย และอาจจะยังทำให้เป้กระแทกหลังเราตลอดเวลาที่เดินอยู่ด้วย หากเป้มีขนาดเล็กเกินไป สายสะพายบ่าก็อาจจะรัดช่วงบ่าเนื่องจากความกว้างช่วงบ่าอาจจะเล็กเกินไปจนทำ ให้เกิดการบาดเจ็บได้ และเป้อาจจะรั้งและถ่วงไปด้านหลังมากเกินไปอีกด้วย
    โดยปรกติแล้วความยาวของลำตัวตามมาตรฐานของเป้ที่มีจำหน่ายจะมีอยู่ 3 ขนาดคือ

    • ขนาดเล็ก ไม่เกิน 17.5 นิ้ว
    • ขนาดกลาง 18-19.5 นิ้ว
    • ขนาดใหญ่ มากกว่า 20 นิ้ว
    เป้หลายยี่ห้อจะมีขนาดให้เลือกตามความยาวของลำตัว แต่เป้ที่ผลิตในบ้านเรายังไม่ค่อยจะมีให้เลือกขนาดสักเท่าไหร่ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเดียวในเป้แต่ละรุ่น ส่วนเป้ที่นำเข้าจากต่างประเทศและมีขนาดให้เลือกก็พอจะมีให้เห็นบ้างแต่ไม่ มากนัก

    <table align="center" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">การวัดความยาวลำตัว</td></tr></tbody></table>

    4. ทดลองปรับระดับการสะพายเป้ (Adjusting the Suspension)

    <table align="right" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">ตำแหน่งสายรัดสะโพก</td></tr></tbody></table> เมื่อ คุณไปเลือกซื้อเป้ที่ร้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องทดลองสะพายดูด้วย ร้านที่ดีจะต้องอนุญาตให้ลูกค้าทดลองสะพายเป้และต้องมีหมอนหรืออุปกรณ์ บางอย่างมาทดลองใส่เป้ให้เราได้ทดสอบกับน้ำหนักที่ใกล้เคียงกับเวลาเดินป่า จริงด้วย สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องทดสอบก็คือสายรัดสะโพก เป้ที่เหมาะกับตัวเราจะต้องมีสายรัดสะโพกที่สามารถรัดได้พอดีกับระดับกระดูก เชิงกราน ซึ่งจะทำให้น้ำหนักของเป้ได้ถ่ายเทมาที่สะโพกของเรา ไม่ไปตกเป็นภาระหนักอยู่ที่บ่าของเราเพียงที่เดียว หากระดับของสายรัดสะโพกอยู่สูงหรือต่ำเกินไปก็จะเกิดผลเสียดังที่ได้กล่าวไป แล้วในข้อ 3 5. สายสะพายบ่า (Shoulder Straps)
    ส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือสายสะพายบ่า ควรจะเลือกเป้ที่เมื่อลองสะพายดูแล้ว สายสะพายแต่ละข้างอยู่ในระดับกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้าพอดี หากเป้มีช่วงกว้างที่แคบเกินไปจะทำให้เมื่อสะพายแล้วสายสะพายบ่าจะอยู่ชิด กับคอมากเกินไป จะรู้สึกรำคาญในขณะเดินและยังทำให้ปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าอีกด้วย หากเป้มีช่วงกว้างมากเกินไปก็อาจจะทำให้เป้มักจะเลื่อนหลุดได้ง่ายๆ และยังไม่ช่วยรับน้ำหนักได้อีกด้วย

    6. วัสดุที่ใช้ทำเป้ (Materials)
    วัสดุที่ใช้ผลิตเป้ส่วนใหญ่มักจะเป็นวัสดุที่กันน้ำ และจะต้องเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีน้ำหนักเบาอีกด้วย ที่นิยมกันมากคือ Cordura และ Ripstop ซึ่งแบบ Ripstop นี้ หลายๆ คนลงความเห็นว่ามีความแข็งแรงทนทานต่อการขีดข่วนได้มาก สำหรับในบริเวณที่คาดว่าจะมีการขีดข่วนหรือเสียดสีมากๆ ก็จะเปลี่ยนไปใช้ไนล่อนที่มีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นไปอีก เช่น Ironcloth, Spectra และ Pack Cloth นอกจากนี้ เป้ส่วนใหญ่ยังมีบางบริเวณที่ทำจากตาข่ายยืดหรือโฟมที่มีการระบายอากาศสูง เพื่อช่วยให้แผ่นหลังของเรามีการระบายอากาศได้ดีขึ้น
    ข้อพึงระวัง

    ในการเลือกซื้อเป้ทุกครั้ง คุณควรจะต้องได้ลองสะพายและสัมผัสด้วยตนเอง หากเป็นไปได้ไม่ควรจะซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตโดยยังไม่ได้ลองสะพายดูก่อน แต่หากคุณจะซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตก็ควรจะแน่ใจด้วยว่าร้านนั้นมีนโยบายที่จะ ให้ลูกค้าคืนสินค้าหรือเปลี่ยนได้


    ข้อมูลจาก http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_34.html




    การดูแลรักษาเป้

    เรื่องโดย หญิงเหล็ก , มีนาคม 2003

    หากต้องการให้เป้ใบเก่งอยู่กับเรานานๆ เราควรจะรู้จักใช้เป้อย่างถูกวิธี และรู้จักดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ดังนี้

    • <table align="right" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">ของมีคมควรห่อให้มิดชิด
      เพื่อป้องการเป้เสียหาย
      </td></tr></tbody></table>เวลาใช้งาน หากจะต้องใส่ของที่มีความคม เช่น มีด เตา หรืออุปกรณ์ทำครัว ก็ควรจะมีกล่องหรือถุงห่อหุ้มเอาไว้ให้มิดชิด มิฉะนั้น อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะทิ่มทะลุเป้ออกมาทำให้เกิดความเสียหายกับตัวเป้หรือ แม้กระทั่งทิ่มโดนตัวคุณเองด้วยก็ได้
    • เมื่อกลับจากการเดินป่าทุกครั้ง ไม่ควรจะทิ้งถุงอาหารหรือเศษอาหารใดๆ ไว้ในเป้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับในเป้ และยังเป็นตัวเชิญชวนให้สัตว์ไม่พึงประสงค์เข้าไปอาศัยในเป้เราได้อีกด้วย
    • ทำความสะอาดเป้ทุกครั้งหลังจากการใช้งานในแต่ละทริป โดยการเอาของออกจากช่องและกระเป๋าต่างๆ ให้หมด และสะบัดเพื่อให้เศษดิน เศษทราย หรือเศษขยะเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ หลุดออกมา หากเป้ของคุณสกปรกมากจริงๆ ก็อาจจะใช้ฟองน้ำชุบน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดได้ หลังจากนั้นก็ให้วางผึ่งลมเอาไว้จนแห้ง ไม่ควรจะวางตากแดดตรงๆ เพราะแสงแดดและรังสียูวีจะทำลายเนื้อผ้าไนล่อนได้ในเวลาอันสั้น
    • คอยดูแลรักษาเป้อยู่เสมอ หากขาดที่ใดก็คอยเย็บซ่อมแซมให้ดีเหมือนเดิม และหากสายหรือเชือกไนล่อนหลุดลุ่ยในตอนปลายก็สามารถซ่อมได้โดยการเอาไฟลน ด้านปลาย

      <table align="center" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">ชุดซ่อมแซมเป้ ชิ้นส่วนต่าง ๆ หากเสียหายสามารถเปลี่ยนได้</td></tr></tbody></table>
    • หมั่นตรวจสอบเป้อยู่เสมอ ว่าในบริเวณที่ใช้งานหนักๆ เช่น บริเวณช่วงต่อของสายสะพายบ่ากับตัวเป้ทั้งด้านบนและด้านล่าง บริเวณช่วงต่อของสายรัดสะโพกกับตัวเป้ หรือบริเวณซิป มีปัญหาอะไรหรือไม่ หากเริ่มมีรอยขาดเพียงเล็กน้อยก็ควรจะรีบซ่อมแซมก่อนที่รอยขาดเหล่านั้นจะ บานปลาย เพราะจุดที่สำคัญต่างๆ เหล่านี้มามีปัญหาหรือขาดเอาตอนที่เราเดินอยู่กลางป่าก็คงจะเป็นเรื่องที่ ไม่น่าสนุกนัก
    • เก็บเป้ไว้ในที่ๆ แห้ง ไม่โดนแดด และมีอากาศถ่ายเทที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดราน้ำค้าง เพราะราพวกนี้จะทำลายสารกันน้ำที่เคลือบตัวเป้เอาไว้
    ข้อมูลจาก http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_35.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  5. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    วิธีการจัดเป้

    เรื่องโดย หญิงเหล็ก , ตุลาคม 2002

    ก่อนอื่น เราควรจะคิดถึงสิ่งที่ควรจะเอาใส่เป้ไปด้วยเวลาไปเดินป่า ว่าควรจะมีอะไรไปบ้าง ซึ่งของใช้จำเป็นในการเดินป่าทุกครั้ง พอจะแบ่งออกได้ตามประเภทต่างๆ ดังนี้

    • ถุงนอน
    • เต็นท์หรือเปล
    • เสื้อผ้า (ปกติเวลาเดินอยู่ในป่าเรามักจะต้องการแค่ชุดที่ใส่ตอนนอนอีกเพียงชุดเดียว ส่วนตอนกลางวันที่เดินป่าก็มักจะใส่ชุดเดิม แต่สำหรับบางคนที่ทนกลิ่นตัวเองไม่ไหว อาจจะเอาเสื้อสำรองเข้าไปเปลี่ยนในแต่ละวันด้วยก็ได้ – นอกจากนี้ ควรจะเตรียมชุดต่างหากอีกชุดเอาไว้ใส่ในวันกลับ)
    • อาหาร อุปกรณ์ทำครัว และเชื้อเพลิง
    • ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว ผ้าถุง ผ้าขาวม้า และยาแก้แพ้ต่างๆ
    • ของใช้อื่นๆ เช่น ไฟฉาย เสื้อกันฝน น้ำดื่ม ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น เข็มทิศ ถุงพลาสติกหรือถุงดำใบใหญ่ๆ นกหวีด (มีประโยชน์มากในกรณีที่หลงทาง) และของขบเคี้ยวระหว่างทาง (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนิยมช็อกโกแล็ตหรือขนมที่ช่วยให้พลังงาน)
    • อาหารสำรอง ซึ่งอาจจะเป็นขนมปังหรืออะไรเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่ให้รับประทานในขณะที่ยังอยู่ในป่า ควรจะเก็บเอาไว้จนถึงวันสุดท้ายของการเดินทาง ที่เราแน่ใจว่าจะกลับออกมาข้างนอกได้แล้ว เผื่อเอาไว้หากมีกรณีฉุกเฉินที่ทำให้ไม่สามารถออกจากป่าได้ตามที่กำหนดไว้ และอาหารที่เตรียมไปอาจจะหมดก่อนที่จะสามารถออกจากป่าได้ เช่น หลงป่า หรือมีน้ำป่าทำให้ต้องอยู่ในป่าเกินเวลาที่กำหนดไว้
    เมื่อรู้ว่าควรจะนำอะไรติดตัวเข้าไปในป่าแล้ว เราก็มาดูวิธีการจัดเป้กันว่าควรจะวางอะไรไว้ตรงไหนบ้าง หลักการง่ายๆ อย่างแรกก็คือ วางของที่คิดว่าจะใช้ทีหลังสุดไว้ล่างสุด สำหรับนักเดินป่ามือใหม่ก็คงจะสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจะใช้อะไรตอนไหน ลองจินตนาการดูง่ายๆ โดยไล่ไปตั้งแต่เช้าจรดเย็น สิ่งที่เราจะใช้เป็นสิ่งสุดท้ายก็ควรจะเป็นถุงนอน เพราะกว่าจะนอนได้ก็ต้องเดินไปถึงจุดหมายที่ตั้งแค้มป์แล้ว ถุงนอนจึงเป็นสิ่งที่มักจะวางไว้ส่วนล่างสุดของเป้ และเป้โครงในรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็มักจะมีช่องแยกต่างหากไว้ให้เก็บถุงนอนไว้ ด้านล่างด้วยเช่นกัน
    ข้อควรจำอีกอย่างสำหรับการเดินป่าในเมืองไทยคือ ทุกครั้งที่จัดของลงเป้ เพื่อความปลอดภัย เราควรจะใส่ของทุกอย่างในถุงพลาสติกอีกชั้นก่อนที่จะใส่ลงในเป้ เพราะสมัยนี้ เมืองไทยฝนตกแทบทั้งปี ไม่ว่าจะเดินป่าฤดูไหน หรือถึงแม้จะไม่มีฝนตก บางครั้งการเดินป่าก็จำเป็นจะต้องมีการเดินข้ามน้ำ หรือปีนป่ายตามน้ำตกบ้าง หรือแม้กระทั่งน้ำค้างในตอนเช้า การห่อหุ้มของใช้ต่างๆ ในถุงพลาสติกอีกชั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น และไม่ได้ทำให้น้ำหนักของกระเป๋าหนักขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้าม หากไม่ได้ใส่ของต่างๆ ในถุงพลาสติกแล้ว เกิดกระเป๋าของเรามีอันเป็นไป แอบหนีไปนอนเล่นในน้ำ หรือมีฝนตกระหว่างเดิน ทั้งเป้ทั้งของในเป้ก็คงเปียกหมด ทีนี้ล่ะ คงจะได้น้ำหนักส่วนเกินเพิ่มขึ้นมาอย่างหลีกไม่ได้แน่นอน

    <table align="center" border="0"> <tbody> <tr> <td align="middle">[​IMG]</td></tr> <tr> <td align="middle">ตัวอย่างการจัดของในเป้</td></tr></tbody></table> อุปกรณ์ต่อมาก็คือ เต็นท์หรือเปลและฟรายชีท ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นถุงยาวๆ โดยปรกติเราจะนำเปลและฟรายชีทใส่รวมกันและนำมาวางไว้ในเป้ต่อจากเสื้อผ้า ส่วนเต๊นท์บางครั้งเราอาจจะแยกพวกโครงของเต๊นท์ออกมาและมัดเอาไว้ด้าน นอกกระเป๋า ซึ่งควรจะมัดให้สมดุลและแน่น ไม่โคลงเคลงไปมาทำให้เป็นอุปสรรคในการเดินได้
    จากนั้นก็ควรจะเก็บอุปกรณ์ทำครัวต่างๆ เอาไว้ในบริเวณกลางเป้ และเป็นตำแหน่งที่ใกล้กับส่วนหลังของเรา โดยอาจจะหุ้มไว้ด้วยเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์เบาๆ อื่นๆ เพื่อป้องกันการกระแทกอีกด้วย เพราะการจัดเป้ที่ดีนั้น ควรจะวางของที่มีน้ำหนักมากไว้บริเวณที่ใกล้กับกลางหลังของเราหรือค่อนไปทาง ด้านบนของเป้ ซึ่งจะเป็นจุดที่รับน้ำหนักได้ดี และไม่ทำให้เสียการทรงตัวหรือกระเป๋าส่ายไปมาในระหว่างเดิน
    ต่อมา ก็คือการเก็บอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น พวกเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว สบู่ และแชมพู เป็นต้น ส่วนของใช้อื่นๆ นั้น อาจจะจำเป็นต้องหยิบขึ้นมาใช้ระหว่างการเดินทาง เช่น ไฟฉาย เสื้อกันฝน หรือชุดปฐมพยาบาล ควรจะเก็บไว้ด้านบนที่สามารถหยิบออกมาได้ง่าย เป้ส่วนใหญ่จะมีช่องเก็บของบริเวณฝากระเป๋าด้านบน จึงสามารถจะใส่ของจุกจิกพวกนี้ไว้ได้ สำหรับน้ำดื่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นตลอดการเดินทาง ก็ควรจะแยกเก็บไว้ที่กระเป๋าด้านนอกหรือบริเวณที่สามารถหยิบออกมาได้ง่าย เช่นกัน
    สำหรับขั้นตอนในการสะพายเป้ให้กระชับและคล่องตัวที่สุดนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยแรกสุดก่อนที่จะสะพายเป้ ก็ควรจะผ่อนสายรัดต่างๆ ออกให้หลวมเสียก่อน จากนั้นเมื่อสะพายเป้ขึ้นบ่าแล้ว จึงเริ่มจากการปรับสายรัดสะโพกให้กระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป แล้วจึงปรับสายของที่สะพายบ่า โดยดึงปลายสายลงพร้อมกันทั้งสองข้าง ให้รู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่อึดอัด แล้วจึงดึงสายปรับระดับตัวเป้ที่เชื่อมระหว่างที่สะพายบ่ากับตัวเป้ทั้งสอง ข้างพร้อมกัน ให้กระชับเพื่อความคล่องตัวในเวลาเดิน เพียงเท่านี้ คุณก็จะสามารถเดินป่าได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่การทรมานร่างกายเหมือนที่บางคนเคยประสบมา



    ข้อมูลจาก http://www.mrbackpacker.com/gear/gear_11.html
     
  6. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    น้ำหนักที่เหมาะสมในการแบกเป้
    น้ำหนัก ที่เหมาะสมที่เราควรแบกได้เป็นเท่าไร ? คำถามนี้หลายคนคงจะเคยนึกอยู่ในใจ แต่ในการแบกเป้แต่ละครั้ง ส่วนใหญ่จะไม่มีการกำหนดน้ำหนักที่เหมาะสมสักเท่าใดนัก โดยปรกติเราจะใส่ของลงเป้แล้วลองแบกดูว่าไหวหรือเปล่า บางครั้งหลังจากกลับมาจากทริป ก็จะมีอาการเหนื่อยล้า ปวดไหล่ จากการวิจัยพบว่าน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับเป้ของเราคืออยู่ระหว่าง 25% ถึง 33% ของน้ำหนักตัวคุณ (อัตรา 25% จะใช้สำหรับคนทั่ว ๆ ไป ส่วน 33 % จะใช้สำหรับคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ) ซึ่งน้ำหนักที่เหมาะสมนี้ ไม่ใช่เป็น กฏตายตัว คุณอาจจะแบกของได้มากกว่านี้ก็ได้ถ้าร่างกายคุณแข็งแรง ค่าน้ำหนักมาตรฐานนี้เป็นเพียงค่ากลางที่ได้จากการวิจัยเท่านั้น แต่อย่างน้อยคุณก็ควรแบกของได้ไม่ต่ำกว่าน้ำหนักมาตรฐานนี้ ถ้าคุณแบกของได้ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ควรจะมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    <table align="center" border="0" width="400"> <tbody> <tr> <td bgcolor="#000000"> <table border="0" cellpadding="1" cellspacing="1" width="400"> <tbody> <tr bgcolor="#f7f7f7"> <td>
    น้ำหนักตัวคุณ (กิโลกรัม)
    </td> <td>
    25% (ก.ก)
    </td> <td>
    33% (ก.ก)
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    45​
    </td> <td>
    11​
    </td> <td>
    15​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    50​
    </td> <td>
    13​
    </td> <td>
    17​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    55​
    </td> <td>
    14​
    </td> <td>
    18​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    60​
    </td> <td>
    15​
    </td> <td>
    20​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    65​
    </td> <td>
    16​
    </td> <td>
    22​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    70​
    </td> <td>
    18​
    </td> <td>
    23​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td>
    75​
    </td> <td>
    19​
    </td> <td>
    25​
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    ข้อมูลจาก http://www.mrbackpacker.com/tips/tip_7.html
     
  7. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    <dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>" เป้ " อุปกรณ์อย่างแรกที่ทุกคนจะต้องมี สัมภาระที่ใช้เดินทางจะถูกบรรจุอยู่ใน เป้ ก่อนออกเดินทางเราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้กันดีกว่าเพื่อครั้งต่อไป เราจะได้เลือกเป้ที่เหมาะกับตนเองและดีที่สุดเท่าที่เราสามารถเลือกเป็นเจ้าของได้ </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>ประเภทของ เป้ </dd><dd> ในโลกของอุปกรณ์โดยเฉพาะ เป้ นั้นมีหลายรูปแบบแล้วแต่การใช้งาน ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการ เป้ ไปใช้งานแบบไหน ในโลกนี้ไม่มี เป้ ที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมการใช้งานทุกอย่าง เพราะงานแต่ละอย่างต้องการคุณสมบัติของ เป้ ที่ไม่เหมือนกันก่อนซื้อเป้จะต้องรู้ความต้องการของตนเองก่อนว่าเราซื้อเป้ ไปใช้งานประเภทไหน </dd><dd> ณ วันนี้เป็นที่เราใช้อยู่ถ้าแบ่งตามโครงสร้างสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ </dd><dd>1.เป้ โครงนอก (External Frame) </dd><dd>2.เป้ โครงใน (Internal Frame) </dd><dd>เป้ โครงนอก (External Frame) ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับเป็น เป้ ที่มีโครงอยู่ด้านนอก ทำไม เป้ ต้องมีโครง การที่จะต้องมีโครงนั้นเพื่อให้ เป้ สามารถคงรูปได้โดยที่ไม่เปลี่ยน ผู้ออกแบบต้องการให้บรรจุสัมภาระแล้วตัว เป้ ไม่เสียรูปซึ่งจะทำให้การแบก เป้ สามารถเข้ากับแผ่นหลังของคนใช้อีกด้วย นอกจากนี้โครง เป้ ยังมีข้อดีคือเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัว เป้ อีกทั้งสามารถรับน้ำหนักของสัมภาระได้ดีขึ้นอีกด้วย เป้ โครงนอกถือกำเนิดขึ้นมาก่อนเป้โครงใน ตัวโครงสร้างของ เป้ แบบนี้เราเห็นจนชินตาจะมีท่ออลูมิเนียมเชื่อมต่อด้วยหมุดอลูมิเนียมเป็นโครง สี่เหลี่ยมตามรูป เป้ ซึ่งมีทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ข้อดีของ เป้ โครงนอกมีความแข็งแรงสูง สามารถรับน้ำหนักได้มาก อีกทั้งราคาไม่แพง ส่วนข้อเสียรูปทรงของ เป้ เป็นสี่เหลี่ยมเมื่อแบกแล้วตัว เป้ จะไม่เข้ากับสรีระของผู้ใช้ เวลา เดินป่า ตัวโครงอลูมินียมจะเป็นอุปสรรคในการเดินเนื่องจากกิ่งไม้จะเกาะเกี่ยวอยู่ ตลอดเวลาซึ่งไม่คล่องตัวเนื่องจากตัวเป้เสมือนแยกออกจากร่างกายเคลื่อนไหว ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อใช้งานไปนานๆตัวเป้ที่ยึดกับโครงเป้ด้วยหมุดอลูมิเนียมจะฉีก ขาดทำให้เมื่อซ่อมแซมแล้วการรับน้ำหนักจะไม่ดีเท่าของเดิม

    </dd><dd>เป้ โครงนอก (External Frame) เหมาะกับการใช้งานในลักษณะการเดินทางทั่วไปที่ต้องการการรับน้ำหนักมากๆทาง ที่ไม่รกมากนักอีกทั้งควรจะเป็นการเดินทางที่มีจุดพักนานๆ(เมื่อถึงที่พัก แล้วใช้ เป้ ขนาดเล็กติดตัวไปท่องเที่ยวต่อไป) เป้โครงนอกไม่เหมาะแก่การ เข้าป่า ที่ต้องเดินกันอย่างหนักหน่วงเพราะเหตุที่ขาดความคล่องตัวนั่นเอง อีกทั้งเป็น เป้ ที่เหมาะกับมือใหม่ที่ต้องการเป้ราคาไม่แพงแต่มีคุณภาพดี </dd><dd>เป้ โครงนอกจะมีโครงสร้างเป็นสี่เหลี่ยมตัวโครงอลูมิเนียมจะยืดยาว(ในบาง รุ่น)ซึ่งค่อนข้างเกะกะ ตัวโครงจะมีที่ใส่ เต็นท์ หรือสัมภาระชิ้นใหญ่ที่ไม่ต้องการใส่เข้าไปในตัว เป้ ดังนั้นเราจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในเป้ค่อนข้างมาก

    </dd><dd>เป้ โครงใน (Internal Frame) ถึงแม้ว่าจะเกิดหลัง เป้ โครงนอกแต่ได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากมีการแก้ไขข้อด้อยต่างๆของ เป้ โครงนอก อีกทั้งมีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกตามความเหมาะสมต่อการใช้งานในแต่ละ ประเภทจึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้เราจะเป็นแต่ เป้ โครงในกันอย่างเจนตา เป้ โครงในชื่อมันบอกอยู่แล้วว่าตัวโครง เป้ จะอยู่ด้านในโดยจะซ่อนโครงซึ่งส่วนใหญ่จะทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมไว้ด้านหลัง เป้ มีช่องขนาดพอดีกับแผ่นโครง คุณสมบัติของการมีโครงอยู่ด้านในก็คล้ายกับโครงนอกคือเป็นการรักษารูปทรงของ เป้ ให้คงรูปตลอดเวลาอีกทั้งเมื่อทำการแบก เป้ แล้วตัว เป้ ต้องเข้ากับสรีระของผู้แบกจนเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก </dd><dd>ลักษณะของ เป้ โครงในได้มีการพัฒนาไปมากมีการออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานแต่ละประเภทอีก ทั้งมีหลายขนาด แบ่งเป็นของหญิงและชายอีกด้วย คุณสมบัติในการใช้งานมีให้เลือกจนบางครั้งเราเลือกแทบไม่ถูกทีเดียว ลักษณะที่เราจะรู้ได้ว่า เป้ นี้คือโครงในโดยทั่วไปเราดูที่ด้านหลัง เป้ ส่วนที่จะชิดแผ่นหลังของผู้ใช้งาน ด้านหลัง เป้ จะคงรูปเมื่อคลำดูจะพบว่ามีแผ่นอลูมิเนียมเป็นเส้นอยู่2เส้น,หรือแบบ1เส้น แบบนี้เป็น เป้ โครงในมาตรฐาน ส่วนที่ไฮเทคขึ้นมาคือตัวโครงจะใช้พลาสติกที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี บางรุ่นที่ไฮเทคขึ้นไปอีกจะใช้คาร์บอนไฟเบอร์มาทำเป็นโครง เป้ บางยี่ห้อจะใช้แผ่นพลาสติกขึ้นรูปเป็นแผ่นโครง เป้ หรือจะใช้การฉีดแผ่นโฟมขึ้นเป็นโครงทั้งด้านหลัง เป้ เลยก็มี หรืออาจจะใช้วัสดุเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันใน เป้ ใบเดียว </dd><dd>กลับมาที่ความสำคัญของโครงอีกครั้ง จากประสบการณ์ที่เคยใช้ เป้ ไทยและเป้นอก ครั้งแรกที่ผมรู้จัก เป้ โครงในเมื่อสัก10ปีที่แล้วผมซื้อ เป้ ไทยทำที่เลียนแบบ เป้ นอกข้างในมีโครงที่เป็นแผ่นอลูมิเนียมอยู่ด้านหลังด้วยความไม่รู้ผมใช้ไป ตลอดตอนนั้นผมรู้สึกว่ามันไม่ต่างจาก เป้ ทหารที่แต่เดิมเคยใช้เลยหนักเหมือนกันแถมยังด้อยกว่าเรื่องความไม่คล่องตัว เจ้าโครงอลูมิเนียมนี่ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ผมทนใช้เป้แบบนี้มาสัก2ปี ได้เรียนรู้จากการใช้งานว่าเจ้าแผ่นโครงมันต้องเข้ารูปกับแผ่นหลังของเราถึง จะสบาย(ใส่ของหนักมากจนแผ่นอลูมิเนียมมันอ่อนและดัดเข้ารูปหลังโดย อัตโนมัติ) จากนั้นมาทุกครั้งก่อนเดินทางผมต้องมานั่งดัดแผ่นโครงก่อนออกเดินทางวัดระยะ ทดลองแล้วเพื่อให้เข้าแผ่นหลัง </dd><dd>แต่ด้วยวัสดุที่ใช้ทำแผ่นโครงเป็นอลูมิเนียมพื้นๆที่มีในบ้านเรา มันไม่มีความแข็งที่จะคงรูปตัวเองได้พอใส่ของและแบกขึ้นหลังได้สักพักโครงจะ เปลี่ยนรูปไปตามสัมภาระที่เราใส่เรียกว่าหมดรูปก็ว่าได้ นานวันเข้าเมื่ออายุมากอีกทั้งเดินหนักขึ้นเรื่อยๆ แบกของหนักมากขึ้น(สมบัติบ้าเยอะ)อาการปวดหลังยามแบกเป้โดยเฉพาะบริเวณ กระดูกสันหลังเหนือสะโพกเริ่มหนักมากขึ้นจนในบางครั้งหมดอยากจะทิ้งเป้เลยที เดียวแต่ด้วยอาชีพผลิตหนังสือท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางแบกทั้งเป้และกระเป๋า กล้องมันทำแบบนั้นไม่ได้ ผมจึงเริ่มศึกษาเป้จากต่างประเทศว่าทั้งๆที่บ้านเราลอกแบบของเขามาทั้งหมด แต่ไหงมันถึงแตกต่างกัน จนผมมาพบหัวใจของความต่างคือเรื่องการใช้วัสดุคุณภาพที่บ้านเราไม่มี(ถ้ามี ก็ไม่คุ้มทุนในการผลิตเพราะต้นทุนแพงกว่าเดิมมาก)ยิ่งเมื่อได้ลองใช้เป้ นอก(ของเพื่อนๆ)บรรจุของที่น้ำหนักใกล้เคียงกันเป้ไทยของผมมันหนักเหมือน เดิม แต่ใช้เป้นอกเมื่อล็อคทุกจุดมันเหมือนไม่เป็นส่วนเกินมีการเฉลี่ยน้ำหนักไป ตามจุดต่างๆไม่รู้สึกหนักจุดใดจุดหนึ่ง และที่สำคัญเมื่อถอดโครงอลูมิเนียมสีขาวๆ(เหมือนของเป้เราเลย)ออกมาดูและดัด ความต่างจึงปรากฏว่ามันแข็งกว่าไม่สามารถดัดได้เหมือนของไทยอีกทั้งมีความ ยืดหยุ่นสูงมากอันนี้คือหัวใจสำคัญว่าทำไม่มันถึงต่างกันระหว่างเป้ไทยที่ ลอกแบบเขามากับเป้นอกของแท้ </dd><dd>แต่ในตอนนั้นผมติงว่าเป่นอกมันไม่เหมาะกับแผ่นหลังคนไทย เป้นอกออกแบบมาให้ฝรั่งที่ตัวสูงใหญ่กว่าคนไทยมีช่วงแผ่นหลังที่ยาวกว่าการ แบกเป้นอกในช่วงนั้นจึงดูค่อนข้างตลกและเกะกะไม่น้อย แต่ในปัจจุบันเป้ได้รับการพัฒนาไปมากแผ่นหลังของตัวเป้สามารถปรับระดับได้ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับหลังของแต่ละคนปัญหาดังกล่าวจึงหมดไป </dd><dd>กลับมาถึงเรื่องเดิมอีกครั้งนะครับเหตุผลทำไมเป้โครงในถึงได้รับ ความนิยมมากกว่าเป้โครงนอก ส่วนหนึ่งมากจากเป้โครงในผู้ออกแบบไม่กรอบจำกัดในเรื่องโครงที่อยู่ด้านนอก ดังนั้นผู้ออกแบบเป้จึงทำการใส่คุณลักษณะที่เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภท ได้ไม่ว่าจะเป็นเดินป่าแค้มปิ้ง ขึ้นยอดเขาแบบ(Mountaineering)หรือพวกไต่หน้าผา เล่นสกี </dd><dd>ข้อดีของเป้โครงใน คือเรื่องของความยืดหยุ่นในการใช้งานได้ดีกว่าเป้โครงนอกสามารถดัดแปลง ประยุกต์ให้เหมาะกับสถานการณ์บางอย่างได้ ให้ความสบายในยามเดินทางไกลมากกว่าเพราะมีการออกแบบให้เข้ากับสรีระของผู้ ใช้(สามารถปรับได้ด้วยตนเอง) ทำให้เกิดความคล่องตัวมีความสมดุลย์และเสถียรภาพมากกว่าหรือถ้ากล่าวโดยรวม คือเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเลยทีเดียว ข้อเสีย แน่นอนมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียแต่เป็นข้อเสีย ที่สามารถยอมรับได้ นั่นคือเรื่องของการรับน้ำหนักที่ไม่สามารถแบกได้เท่าเป้โครงนอก การแนบเข้าแผ่นหลังมากทำให้การระบายอากาศไม่ดีเท่าเป้โครงนอกที่มีช่องว่าง ระหว่างตัวเป้กับแผ่นหลัง เรื่องราคาที่แพงกว่าเป้โครงนอกเนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่มากกว่า </dd><dd> - เป้ ขนาดเล็ก(Day pack) เป้แบบนี้มีขนาดไม่ ใหญ่จุดประสงค์ในการออกแบบเป้คือใช้งานในช่วงเวลาสั้นๆ ผู้ออกแบบจะออกแบบให้เหมาะกับกิจกรรมนั้นๆเช่นปีนเขา , วิ่ง , เดินป่าช่วงสั้นๆ ฯลฯ เป้ขนาดเล็กเราจะพบเห็นมากที่สุดเพราะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง สบายแล้วขนาดไหนที่เขาเรียกว่า เป้ขนาดเล็ก(Day pack) ถ้าใช้ขนาดความจุเป็นลิตร จะอยู่ที่ไม่เกิน 20-25ลิตร </dd><dd> สำหรับนักเดินทางมืออาชีพถ้าเดินทางในระยะใกล้1วัน,2วัน เป้ขนาดเล็กดูจะเหมาะสมกว่าเนื่องจากมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนักให้ความคล่อง ตัวในการใช้งานมากกว่า หรือถ้าเป็นการเดินทางไกลๆสัมภาระส่วนใหญ่จะบรรจุลงเป้ใบใหญ่ส่วนเครื่องใช้ กระจุกกระจิกที่จะต้องหยิบใช้ง่ายๆควรจะมีเป้ขนาดเล็กสักใบเหมือนอย่างที่ นักท่องเที่ยวต่างชาติเขาใช้ เพราะหลังจากเข้าที่พักการเดินเที่ยวในเมืองหรือในเส้นทางเดินป่าระยะ สั้น(เส้นทางศึกษาธรรมชาติ)เป้ขนาดเล็กที่สามารถบรรจุกล้องถ่ายภาพ,กล้องสอง ตา อาหารว่าง หนังสือคู่มือดูนกหรือหนังสือคู่มือศึกษาพรรณไม้ เสื้อกันฝนฯลฯ เป้ขนาดเล็กดูจะเหมาะสมที่สุด </dd><dd> ในโลกของเป้ ผู้ออกแบบพยายามออกแบบเป้ให้เหมาะแก่การใช้งานในแต่ละประเภทอย่างนักปีนเขา ก็จะมีเป้ที่มีขนาดไม่ใหญ่พื้นที่ในการใส่สัมภาระมีไม่มากเพราะต้องการความ คล่องตัวรูปแบบจะเพรียวเข้ากับแผ่นหลังส่วนใหญ่จะเป็นเป้โครงใน บนตัวเป้จะมีที่เกี่ยวอุปกรณ์ปีนเขาอย่างเช่นคาราไบเนอร์ เป้สำหรับนักสกี จะมีขนาดเล็กเข้ากับแผ่นหลัง จะไม่มีสายระโยงระยาง มีเข็มขัดรัดเอวเพื่อความคล่องตัว เนื้อผ้าจะต้องเคลือบกันน้ำเป็นอย่างดี </dd><dd>สำหรับผู้ที่ต้องการคุณลักษณะที่พิเศษไปกว่านั้นอย่างเช่นนักกีฬา วิ่งหรือนักเดินทางที่ต้องการความคล่องตัวอาจจะใช้กระเป๋าคาดเอวที่มีช่อง ใส่ขวดน้ำ( Fanny Packs) มีพื้นที่ใส่ขนมอาหารสัก1มื้อหรือเครื่องใช้กระจุกกระจิก แต่ถ้าต้องการพื้นที่ใส่ของเพิ่มมากขึ้นแต่ยังคงลักษณะกระเป๋าคาดเอวก็ต้อง ใช้ใบใหญ่กว่าเดิมซึ่งฝรั่งเรียกว่า "Lumbar Packs" เป็นกระเป๋าคาดเอวที่มี่ขนาดใหญ่และมีสายคล้องไหล่ทั้งสองข้าง กระเป๋าแบบนี้เราสามารถดัดแปลงมาใส่กล้องหรือเดินทางในช่วงวันหยุดสุด สัปดาห์ก็ดูดีไม่น้อย (ผมใช้ Lumbar Packs มาดัดแปลงเป็นกระเป๋ากล้องซึ่งมีความคล่องตัวกว่ากระเป๋ากล้องปกติมาก) นอกจากกระเป๋าคาดเอวยังมีเป้พิเศษอีกแบบหนึ่งในภาษาชาวบ้านเราเรียกว่า"เป้ น้ำ"(Hydration Packs) ซี่งมีรูปร่างหน้าตาไม่ต่างไปจากเป้ขนาดเล็กแต่สิ่งที่พิเศษคือมีถุงใส่น้ำ ดื่มซ่อนอยู่ด้านในพร้อมสายดูดน้ำเมื่อเวลาเดินป่าหรือวิ่งหรือปั่นจักรยาน เราสามารถดูดน้ำผ่านสายได้ทันที เป้น้ำ( Hydration Packs)มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กคือใส่เฉพาะถุงน้ำเพียงอย่างเดียวจะมีช่อง ใส่ของเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือมีขนาดใหญ่ตั้งแต่25-40ลิตรซึ่งสามารถใส่สัมภาระเหมือนเป้ทั่วไปได้ เมื่อคุณต้องเลือกเป้สักใบ </dd><dd>ก่อนอื่นจะต้องตอบคำถามของตัวเองให้ได้ว่าต้องการเป้เพื่อไปใช้งาน ใด ถ้ารู้คำตอบการเลือกเป้ให้เหมาะแก่การใช้งานก็ง่ายขึ้น ในที่นี้ผมขอเจาะเฉพาะเรื่องเป้ที่ใช้งานในการเดินป่านะครับในการเลือกเป้ เพื่อใช้งานเดินป่าส่วนใหญ่ที่พบเจอคือเลือกเป้ที่ใหญ่ไว้ก่อนโดยไม่ดูความ เหมาะสมด้านอื่นหรือความสามารถในการแบกสัมภาระของตัวเองและที่สำคัญสรีระของ ผู้ใช้งานว่าเหมาะสมกับเป้ที่เลือกหรือไม่ ข้อควรคำนึงในการเลือกอีกข้อหนึ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือเรื่องรูปทรงว่า เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศอย่างเมืองไทยหรือไม่เหล่านี้คือสิ่งที่ควรจะต้อง ตอบคำถามแก่ตนเองให้ได้ไม่อย่างนั้นเป้ที่เราเลือกมาใช้งานอาจจะไม่สามารถ ตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างเต็มที่ </dd><dd>ขนาดใครคิดว่าไม่สำคัญ อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วคือคนส่วนใหญ่เลือกเป้ใหญ่ไว้ก่อน เป็นเรื่องที่ไม่ผิดถ้าคุณใช้เป้เพื่อใส่สัมภาระแล้วให้คนอื่นแบกให้หรือ เดินเพียง100-200เมตรแล้วเข้าที่พักยกตัวอย่างเช่นชายไทยสูง170เซนติเมตร ดันไปเลือกใช้เป้ขนาด 65-70ลิตร เมื่อบรรจุสัมภาระเต็มอัตราศึกคุณอาจจะแบกมันขึ้นบ่าไม่ไหวหรือ ก้นเป้อาจจะเลยมาอยู่ที่ต้นขาแทนที่จะอยู่บริเวณเอว ส่วนหัวเป้อาจจะเลยศีรษะไปหลายสิบเซ็นติเมตร คุณลองนึกภาพตามผมดูนะครับ ชายคนนี้เมื่อต้องเดินในป่าดงดิบชื้นของเมืองไทยและไปหลายวันเขาจะมีสภาพ เช่นไร ? เป็นเรื่องที่น่าคิดไม่น้อย ดังนั้นเรื่องขนาดเป้จึงมีความสำคัญมากในการเลือกเป้เพื่อใช้ในการเดินป่า หลักการคร่าวๆที่เข้าใจง่ายที่สุดคือขนาดที่เหมาะสมในการเลือกขนาดเป้คือชาย ไทยที่มีส่วนสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ขนาดเป้โดยเฉลี่ยควรจะอยู่ที่ 50-55ลิตร ส่วนหญิงไทยความสูงโดยเฉลี่ยที่160-165 เซนติเมตร ขนาดเป้ควรอยู่ที่40-45ลิตร นี่คือหลักคร่าวๆที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้อาจจะมากกว่าหรือ น้อยกว่าก็ได้มิใช่กฏตายตัว สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือเมื่อทดลองใส่ของแล้วแบกดูว่ามันเข้ากับร่างกายเรา หรือไม่เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง </dd><dd>รูปแบบของ เป้ ที่เหมาะสม แล้วรูปแบบไหนล่ะที่เหมาะสมแก่การใช้งาน เดินป่า เมืองไทยคงต้องดูหลายปัจจัย ถ้าคำนึงถึงความคล่องตัวในการใช้งานเป้ทหารราคาไม่กี่ร้อยบาทที่มีขนาดไม่ ใหญ่โตจนเกินไปนักเมื่ออยู่บนบ่าแล้วมีขนาดไม่เกินช่วงหลังเราดูจะคล่องตัว ที่สุดเพราะไม่มีอะไรเกะกะให้เกาะเกี่ยวยามที่เาต้องเดินมุดลอดตามทางเดิน ที่รกเรื้อ แต่ในการเดินทางปัจจุบันสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินป่ามีมากขึ้น การเดินทางที่มากวันหรือเหตุผลใดๆที่เพิ่มมากขึ้นเป้ทหารจึงลดบทบาทลง เป้แบบโครงในดูจะเหมาะสมมากกว่าแบบอื่นๆ รูปแบบเป้มีให้เลือกมากมายสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือเมื่อใส่สัมภาระเต็มที่แล้ว ตัวเป้ควรจะมีขนาดความกว้างที่ใกล้เคียงความกว้างของลำตัวเรามากที่สุดอาจจะ ใหญ่กว่าเล็กน้อยก็ได้เพราะถ้าตัวเป้ใหญ่มากเวลาเดินแทรกตัวผ่านต้นไม้ตัวไป แต่เป้ไม่ยอมไปด้วย </dd><dd>เลือกอย่างไรให้เหมาะกับตัวคุณ จะเลือกเป้ทั้งทีก็ต้องพิถีพิถันสักหน่อยเมื่อทำการเลือกขนาดและรูปแบบได้ แล้วคราวนี้ส่วนสำคัญคือเรื่องของความพอเหมาะพอดีกับร่างกายของคุณใช่ว่าได้ รูปแบบและขนาดแล้วเราจะได้เป้ในฝันก็หาไม่เพราะมันมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึง คือเรื่องความพอดีกับร่างกาย จุดที่ควรสังเกตุคือความยาวของช่วงหลังจะมีส่วนสำคัญในการเลือกเป้เป็นอย่าง ยิ่ง ความยาวช่วงหลังของแต่ละคนจะไม่เท่ากันเป้ได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับความยาว ช่วงหลังในขนาดที่แตกต่างกันทั้งๆที่เป็นเป้ในรุ่นเดียวกันบางบริษัทจะกำหนด ไว้ว่าเป็นขนาดเล็ก ,กลาง, ใหญ่ โดยเขาจะกำหนดที่ความยาวของช่วงหลัง การวัดความยาวของช่วงหลังเขามีวิธีวัดดังนี้คือ จากท้ายทอยวัดลงมาจนถึงสะโพกโดยมีการแบ่งขนาดไว้ 3ขนาดคือ

    </dd><dd>ขนาดเล็ก จะมีความยาวช่วงหลังอยู่ที่ไม่เกิน 17.5นิ้ว </dd><dd>ขนาดกลาง จะมีความยาวช่วงหลังตั้งแต่ 18-19.5 นิ้ว </dd><dd>ขนาดใหญ่ จะมีความยาวช่วงหลังตั้งแต่ 20 นิ้วขึ้นไป </dd><dd>แต่ถ้าวัดแบบชาวบ้านว่ามันเหมาะกับตนเองหรือไม่สามารถใช้วิธีใส่ สัมภาระจำลองไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ กระดาษเพื่อให้เป้ได้รูปทรงพร้อมใช้งานจากนั้นทำการลองแบกเป้ ขั้นต่อไปคือจัดการล็อคสายต่างๆรวมทั้งบริเวณเอวโดยจุดล็อคตรงเอวจะต้องอยู่ ในตำแหน่งที่พอดีไม่ต่ำกว่าเอวหรือเหนือเอวมากนัก ส่วนด้านบนของตัวเป้ให้สังเกตุขอบด้านบนของเป้(ไม่รวมฝาปิดเป้นะครับ)จะ ต้องอยู่ในแนวระดับท้ายทอยอย่าให้สูงไปกว่านี้เพราะเมื่อบรรจุสัมภาระแล้วฝา ปิดจะสูงขึ้นมาอีกเล็กน้อยไม่เกะกะยามเมื่อเราต้องก้มตัวนัก </dd><dd>เป้บางรุ่นสามารถปรับระดับของช่วงหลังซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเนื่อง จากเป้แต่ละยี่ห้อรากฐานในการออกแบบคือเพื่อฝรั่งที่มีส่วนสูงมากกว่าคนไทย เมื่อเป้สามารถปรับระดับความยาวของช่วงหลังได้ก็จะช่วยให้เราหาความพอดีของ ช่วงหลังของเป้ใบนั้นได้อย่างไม่ยาก เป้ที่ดีเมื่อทำการล็อคทุกจุดแล้วน้ำหนักที่อยู่บนตัวเป้จะต้องกระจายไปทุก ส่วนไม่รู้สึกว่ากดทับจุดใดจุดหนึ่ง จุดที่น่าสนใจในเป้ของคุณ </dd><dd>เริ่มจากเนื้อผ้าที่ใช้ทำเป้ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าไนลอน 600ดีเนียซึ่งมีความหนาและทนทานต่อการใช้งานหนัก บางยี่ห้ออาจจะใช้ผ้าไนลอนที่มีชื่อทางการค้าว่า คอดูล่า ที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำดีกว่าผ้าไนลอนปกติ แต่ก็มีความหนักและน้ำหนักมากกว่า ในปัจจุบันเป้แต่ละใบส่วนใหญ่จะใช้วัสดุหลายชนิดรวมกันมาทำเป้ ยกตัวอย่างเช่นถ้าใช้ผ้าแบบคอดูร่ามาทำเป้ เป้ใบนั้นจะมีน้ำหนักมากและแพง แต่ถ้านำผ้าหลายชนิดมารวมกันก็จะช่วยลดน้ำหนักและราคาลงได้เช่นกัน ในการลดน้ำหนักของเป้เขาจะใช้ผ้าไนลอนแบบ Ripstop ที่มีตารางอยู่ในเนื้อผ้า ความหนาของเนื้อผ้าจะบางกว่าผ้าแบบคอดูร่าแต่มีความแข็งแรงใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะใช้ผ้าชนิดไหนก็จะมีการเคลือบกันน้ำ การกันน้ำในที่นี้จะสามารถกันฝนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าเราเอาเป้ไปแช่น้ำ น้ำจะซึมเข้าไปตามรู แนวตะเข็บผ้าหรือซิบได้ดังนั้นควรระวังในเรื่อองนี้ด้วยไม่ใช่พอคนขายบอกว่า เป้กันน้ำก็ใช้โดยไม่ระวังพอน้ำซึมเข้าเป้ตามจุดเหล่านั้นก็หาว่าเปป้ไม่ได้ เรื่อง ในส่วนของเนื้อผ้าที่เคลือบกันน้ำนั้นมีอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการดูแล รักษาและสภาพการใช้งานไม่ช้าสารเคลือบกันน้ำก็จะลอกออกดังนั้นเรื่องการกัน น้ำจะต้องทำใจว่ามันไม่ได้กันตลอดไป เราควรหาวิธีอย่างอื่นในการกันน้ำกับสัมภาระของเราดีกว่าที่จะพึ่งสารเคลือบ ของตัวเป้เพียงอย่างเดียว </dd><dd>ระบบหลังของเป้ แต่ละยี่ห้อมีการออกแบบระบบหลังไม่เหมือนกัน สำหรับคนไทยที่มีส่วนสูงโดยเฉลี่ยน้อยกว่าฝรั่งควรจะเลือกใช้ระบบหลังที่ สามารถปรับได้ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับช่วงหลังของเราให้มากที่สุด สำหรับเป้โครงในอย่างหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือเรื่องของการระบายความร้อนที่ สู้เป้โครงนอกไม่ได้เนื่องจากระบบหลังของเป้โครงในจะอยู่ชิดแผ่นหลังของเรา การระบายอากาสจะไม่ดีพอ ดังนั้นเมื่อเดินป่าเป้จะเปียกชุ่มไปด้วยเหงื่อ ในการออกแบบ ผู้ผลิตจะใช้โฟมที่ไม่อมน้ำ อีกทั้งนำผ้าตาข่ายมาใช้เพื่อการระบายอากาศที่ดี และทำการเสริมโฟมเพื่อรองรับแรงกระแทกอีกทั้งเป็นการสร้างช่องว่างในการ ระบายอากาศไปในตัว เป้ที่เหมาะสมกับแต่ละคนคือระบบหลังจะต้องเข้ากับแผ่นหลังและความยาวของแผ่น หลังได้มากที่สุด </dd><dd>อีกจุดที่ขอเน้นคือเรื่องของสายสะพายเป้และเข็มขัดรัดเอว สองจุดนี้สำคัญมาก เป้ที่เราใช้เดินป่าจะต้องมีสายรัดที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี ดังนั้นควรดูว่าสายสะพายและสายรัดเอวมีการใช้โฟมเพื่อรองรับแรงกดทับมากน้อย แค่ไหน อีกทั้งมีความกว้างพอประมาณสายอย่าให้แคบหรือกว้างจนเกินไป(กว้างมากจะเสียด สีไหล่ของเราจนเกิดบาดแผลได้ ส่วนแคบเกินไปจะไม่สามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้) เมื่อลองแบกเป้ดูจะต้องสังเกตุว่ารับน้ำหนักดีหรือไม่มีความกระชับไหมอย่าง สายรัดเอวจะต้องมีความหนาและโอบรับเอวเราได้ดีทั้งนี้น้ำหนักเป้จะลงมาที่ บริเวณนี้มากพอสมควรโฟมที่ใช้ทำสายรัดเอวจะต้องสามารถรับแรงกดทับได้ดี ในการเดินป่าหนักอย่างเลือกสายรัดเอวที่มีแต่เพียงผ้าเท่านั้นตรงนี้สำคัญ มากครับ

    </dd><dd>จะซื้อเป้สักใบซื้อที่ไหนดี? </dd><dd>มีคนกล่าวถึงการซื้อของในสวนจตุจักรว่าไม่ดีเป็นของที่มีคุณภาพ ต่ำ ไว้ใจไม่ได้ ซื้อแล้วผิดหวังไม่ได้อย่างที่คิด มันคือความจริงบางส่วนเท่านั้นของดีมีคุณภาพสูงในสวนจตุจักรก็มีอยู่มากมาย เพียงแต่เราหาไม่เจอเท่านั้น ก่อนซื้อเป้สักใบต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่าสินค้ามันมีเกรดของมันในที่ นี้ผมขอจำแนกอย่างคร่าวๆดังนี้นะครับ </dd><dd>-ของแท้จากบริษัทแม่โดยตรง แน่นอนเป็นเป้ที่นำเข้าอย่างเป็นทางการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการประกันบาง ยี่ห้อรับประกันตลอดอายุการใช้งาน มีที่มาที่ไปอย่างถูกกฏหมายเป็นสินค้าที่เชื่อได้ว่ามีคุณภาพเต็มร้อย เปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างเหมือนในแคตาล็อค ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ราคาจะต้องแพงมากพอสมควร แล้วคุณจะหาซื้อได้ที่ไหน เป้แบบนี้ค่อนข้างหายากเนื่องจากมีคนนำเข้ามาไม่มากเท่าที่เห็นก็มีของ The North Face (เห็นแถวชั้นล่างเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว) ถ้ามีงบประมาณมากก็ตัดสินใจซื้อเป้แบบนี้ได้เลยรับรองว่าไม่ผิดหวัง </dd><dd>-ของแท้เกรดบี เป้แบบนี้เป็นของแท้เหมือนแบบแรกทุกอย่างไม่ว่าจะสีผ้า รูปแบบ วัสดุทุกชิ้น เพียงแต่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเนื่องจากอาจมีการเย็บผิดเป็นบางจุดคือมี ตำหนิเล็กน้อยสินค้าล็อตนั้นจะถูกตีกลับทันทีปกติบริษัทแม่จะสั่งให้ทำลาย ทันทีเพื่อไม่ให้เล็ดรอดออกไปภายนอก แต่คุณลองคิดดูนะครับว่าทุกอย่างมันเป็นต้นทุนของโรงงานอย่างน้อยเอาค่าแรง ก็ยังดี หรืออาจจะมีคนในลักลอบเอาออกมาก่อนที่จะถูกทำลาย เป้แบบนี้จะมีเข้ามาเป็นบางครั้งไม่มากนักซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักเล่น เนื่องจากมีคุณภาพเกือบจะเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ราคาจะถูกกว่ากันครึ่งหนึ่งทีเดียวแต่คุณจะไม่ได้รับการประกันจากบริษัทเท่า นั้น ในสวนจตุจักรพอจะหาได้แต่ค่อนข้างยากอยู่สักหน่อยจะต้องเลือกร้านที่เป็นราย ใหญ่จริงๆอีกทั้งลูกค้าถ้าสนิทกับเจ้าของร้านก็จะได้รับการแนะนำก่อนเนื่อง จากต้องเป็นคนเล่นเป้บ้างเพราะมันจะมีราคาแพงกว่าเป้ทั่วๆไปอยู่มากพอสมควร ถ้าคุณเป็นคนที่เอาจริงเอาจังในเรื่องคุณภาพแต่เงินไม่ถึงที่จะซื้อของ จากบริษัทแม่โดยตรงผมขอแนะนำสินค้าเกรดบีครับ </dd><dd>-ของเลียนแบบ โดยปกติบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์จะพยายามลดต้นทุนไม่ผลิตเองแต่จะไป จ้างโรงงานที่ได้มาตรฐานในต่างประเทศที่มีคุณภาพราคาไม่แพงช่วยผลิต ทางบริษัทแม่จะทำการส่งวัสดุทุกอย่างรวมทั้งต้นแบบมาให้โรงงานที่ทำการว่า จ้างทั้งนี้มีการคำนวณเผื่อเอาไว้แล้วประมาณ10% ถ้าโรงงานมีฝีมือในการผลิตโรงงานจะมีวัสดุที่เผื่อเอาไว้10% เมื่อส่งของให้แก่ทางบริษัทแม่แล้วโรงงานจะผลิตเป้เลียนแบบของแท้ทุกอย่าง เพราะมีวัสดุอยู่แล้ว แต่ในบางครั้งวัสดุบางชิ้นขาดอาจจะมีการเอาชิ้นอื่นมาใส่(ปริมาณความต้องการ มากเลยไม่เพียงพอต่อความต้องการ) ดังนั้นบางล็อตอาจจะมีสีที่ไม่ตรงกับสินค้าของแท้ ซึ่งเป้เลียนแบบจะมีมากที่สุดในท้องตลาด ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับสินค้าเกรดบี ราคาไม่แพงสามารถตัดใจซื้อได้ไม่ยาก การซื้อเป้เลียนแบบต้องทำใจสักเล็กน้อยเนื่องจากไม่มีการตรวจสอบคุณภาพจาก โรงงานอย่างเข้มงวดเหมือนสินค้าแบบแรกดังนั้นความแข็งแรงทนทานจึงด้อยลงมา ตามราคาที่ถูกมากขึ้น </dd><dd>-ของปลอม เป้แบบนี้ที่ทำให้หลายคนช้ำใจมานักต่อนักเพราะวัสดุไม่ได้คุณภาพอย่างทีควร จะเป็นเนื่องจากมันคือของปลอม ในเมื่อความต้องการเป้มียี่ห้อสูงมากขึ้นทุกวันพ่อค้าหัวใสจะผลิตของปลอมออก มาวางขายคู่กันในราคาที่ถูกมากถ้าไม่สังเกตุเห็นเพียงมียี่ห้อที่คุ้นตาก็ ซื้อไปโดยไม่ดูแน่นอนเรื่องคุณภาพไม่ต้องพูดถึงเพราะมันไม่ได้อยู่แล้ว ในสวนจตุจักรมีสินค้าประเภทนี้มากทีเดียวการปลอมนั้นเขาปลอมแม้กระทั่งป้าย ที่ห้อยมากับเป้แต่ถ้าใช้การสังเกตุจะพบว่ากระดาษที่ทำป้ายมันมีคุณภาพที่ ไม่ถึงเท่าป้ายของจริง รวมไปถึงวัสดุและคุณภาพในการผลิตจะไม่เรียบร้อย ดังนั้นถ้าคุณต้องการซื้อของปลอมเพราะว่าราคาถูกก็ต้องเลือกกันให้มากเป็น พิเศษ ข้อแนะนำในการดูเป้ </dd><dd>การดูเป้แบบคร่าวๆอย่างแรกดูที่รูปลักษณ์ภายนอกพร้อมเนื้อผ้า และฝีมือในการเย็บว่าเนี๊ยบไหม ตะเข็บมีการเย็บดีไหม ซึ่งจะต้องดูทั้งภายนอกและภายใน เมื่อขั้นตอนนี้ผ่านเรามาดูที่ชิ้นส่วนหลักคือสายเป้บางยี่ห้อและบางรุ่นจะ มีการทอสายให้เป็นยี่ห้อหรือมีการทอโลโก้ของเป้นั้นลงบนสาย รวมไปถึงเนื้อเส้นใยที่ใช้ทำสายจะมีคุณภาพไม่เหมือนของที่ใช้ในเมืองไทยซึ่ง จะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ตัวล็อคโดยเฉพาะตัวล็อคบริเวณสายรัดเอวซึ่งมีขนาดใหญ่มักจะมีโลโก้หรือชื่อ ยี่ห้อเป้เป็นประกัน ถ้าเป็นของแท้เกรดบี ตัวล็อคขนาดเล็กตามจุดต่างๆจะมีโลโก้หรือยี่ห้อเป้เลยทีเดียว(เป็นเฉพาะบาง ยี่ห้อเท่านั้น) ตัวล็อคถ้าสังเกตุของที่ผลิตในเมืองไทยจะใช้วัตถุดิบอีกแบบหนึ่งบอกด้วยภาพ ษาเขียนคงไม่ชัดเจนพอผมอยากให้ลองไปเทียบของแท้ดูนะครับแล้วจะรู้ว่ามันต่าง อย่างไร ซิปบางยี่ห้อหัวซิบจะมีการปั๊มโลโก้หรือยี่ห้อเป้ลงบนหัวซิบ หรือถ้าไม่มีการปั๊มยี่ห้อเป้บนหัวซิบ เขาอาจจะใช้ซิปที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก ยี่ห้อซิปดังกล่าวคือยี่ห้อ YKK อันนี้เชื่อได้เลยว่าหมดปัญหาเรื่องซิปแตกก่อนเวลาอันควร แต่ในทางปฏิบัติเท่าที่ผมใช้เป้ซิปยี่ห้ออื่นก็ไม่ค่อยมีปัญหานะครับ </dd><dd>ในสินค้าเกรดบี จะมีคุณลักษณะเหมือนทุกอย่างอย่างที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าสินค้าเลียนแบบของแท้ชิ้นส่วนหลักๆจะเป็นแบบที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ ตัวล็อคตรงสายรัดเอว แต่ถ้าเป็นของปลอมอาจจะไม่มีในแบบที่กล่าวถึงเลยสักอย่าง ดังนั้นในการเลือกซื้อเป้คงต้องใช้ความพินิจพิเคราะห์กันค่อนข้างมาก นอกจากนี้แล้วเราต้องดูเจ้าของร้านด้วยว่าให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการ เลือกเป้ให้เราบ้างหรือเปล่า อย่างซื้อเป้กับร้านที่จ้องจะขายอย่างเดียวโดยที่ไม่แนะนำอะไรเราเลย หรือเพียงเห็นว่ามันเป็นของถูก เมื่อซื้อไปอาจจะกลายเป็นถูกหลอกซึ่งจะมาเจ็บช้ำกันเปล่าๆ ยิ่งถ้ามีร้านที่เขากล้าให้เราเปลี่ยนเมื่อซื้อไปได้สักวันแล้วเราตรวจพบว่า มันเกิดความบกพร่องจากการผลิตจนใช้งานไม่ได้ก็ยิ่งดีเลย

    </dd><dd>การดูแล เป้ ของคุณ </dd><dd>หลายคนมีความเข้าใจว่าเมื่อซื้อ เป้ คุณภาพเยี่ยมแล้วมันจะอยู่กับเราไปชั่วกาลนานเห็นทีจะคิดผิดเพราะเป้ก็ เหมือนตัวเราถ้าใช้งานมากๆก็ย่อมเสื่อมไปตามเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการดูแลรักษากันบ้าง ก่อนนำไปใช้งานเราควรตรวจดูตัวล็อคต่างๆว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้และตำแหน่งที่ มันควรจะอยู่หรือไม่ หลังจากใช้งานแล้วถ้ามันไม่เลอะโคลนหรือสกปรกไม่มากผมขอแนะนำว่าไม่ควรไปทำ อะไรเลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการล้างเพียงแต่ผึ่งลมให้แห้งสนิทเพื่อป้องกัน เชื้อราเท่านั้น แต่ถ้าสกปรกเป็นจุดๆเพียงใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาดแล้วทำความสะอาดเฉพาะจุดจาก นั้นผึ่งลมให้แห้งเป็นใช้ได้ แต่ถ้าเลอะโคลนสกปรกแบบสุดๆ ควรใช้น้ำเปล่าล้างทำความสะอาดโดยใช้มือหรือฟองน้ำเช็ดออกเท่านั้นอย่าใช้ผง ซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดใดๆทั้งสิ้น เพราะน้ำยาเหล่านี้จะไปทำลายสารเคลือบกันน้ำของเป้ให้เสื่อมลงเร็วกว่าปกติ จากนั้นทำการผึ่งลมให้แห้งสนิท ที่แนะนำให้ผึ่งลมเพราะว่าถ้าตากแดดแสง UV จะไปทำลายสารเคลือบและคุณภาพของผ้าให้เสื่อมเร็วกว่าปกติไม่ควรทำเป็นอย่าง ยิ่ง การทำความสะอาดเพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว </dd><dd>ในกรณีที่ใช้งานหนัก เป้ อาจจะขาดโดยเฉพาะบริเวณสายสะพายไหล่ ส่วนใหญ่จะหาช่างซ่อมยาก ลองให้ช่างเย็บ รองเท้าเดินป่า เขาเย็บดูก็ได้แต่ถ้าไม่มีใครเย็บให้เราจำเป็นต้องทำเอง ความหนาของผ้าเป็นอุปสรรคจักรเย็บผ้าทั่วๆไปไม่สามารถใช้ได้จำเป็นต้องผึ่ง การเย็บด้วยมือต้องไปหาเข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่พร้อมด้ายขั้นต้นคือด้ายที่ใช้ เย็บกางเกงยีนที่มีความเหนียวหรือจะเป็นด้ายที่ใช้เย็บรองเท้ารับรองว่าดี ที่สุดในการ ซ่อมเป้ จากนั้นทำการเย็บเอาตามใจชอบได้เลย
    </dd>

    ข้อมูลจาก http://www.trekkingthai.com/gear/G009/G009.htm
     
  8. kaewalin15

    kaewalin15 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +5
    โห นี่มันระดับมืออาชีพ เลยนะคะ คุณการันต์ คุณน่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นคุณรพินทร์(เพชรพระอุมา) จะเหมาะกว่าค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ
     
  9. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    ความจริงผมไม่ได้มีความรู้อะไรหรอก
    ยังมีหลายๆ ท่านในเว็บแห่งนี้ที่มีความรู้และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง
    ผมแค่ Copy เอามาให้อ่านกันได้สะดวก ๆ เท่านั้นเอง

    แต่ยังไงก็ขอขอบคุณสำหรับการติดตามนะครับ...
    ทำให้มีกำลังใจน่ะครับ
     
  10. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    เป้ก๊อบ ครับ ดีสุด คุณภาพรับได้ ไม่ได้แบกบ่อย เตรียมไว้เฉยๆ ไม่จำเป็นต้องของดีครับ แต่ให้เลือกหน่อย ก๊อบเกรด A ครับ

    แนะนำอีกร้าน ojbackpack.com ครับ
     
  11. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    ดูมาแล้ว แจ๋วเลย.......

    ลองพิจารณาเรื่องขนาดความจุของเป้ น้ำหนักที่เหมาะสมในการแบกของตัวเรา
    การเลือกเป้แบบมีโครงหรือไม่มีโครง จึงจะเหมาะ

    ทางที่ดีต้องไปลองที่ร้าน ต้องจับ ต้องสัมผัส ต้องทดสอบ

    เป้มีโครงก็ดีสำหรับเดินป่า
    แต่พอเอามาใช้ในเมืองไม่ค่อยสะดวกตอนถอดตอนใส่ ตอนเบียด ๆ กับคน
    ถ้าเอามาใส่อุปกรณ์ยังชีพต่าง ๆ แล้วพกพาอยู่ในเมืองมันจะไม่ค่อยสะดวก

    มี 'เป้' แล้วทดลองพา 'เป้' ไปด้วยเพื่อให้คุ้นเคยกัน
    ช่วงแรก ๆ ไม่คุ้นเคย แบกแล้วปวดหลัง
    ปวดบ่า
    พอรู้ใจกันว่าต้องปรับสายรั้ง สายรัดยังไง คราวนี้สบายขึ้นเยอะ
    ต้องพยายามให้น้ำหนักลงที่เอวเรา จะสบายขึ้น ไม่ปวดหลัง ไม่ปวดบ่า



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  12. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    การจัดเป้ทั่ว ๆ ไป มักแนะนำว่าเอาของที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือของที่ใช้ทีหลัง เช่น ถุงนอน เอาไว้ด้านล่าง ๆ ของเป้ ส่วนของที่ใช้บ่อย ๆ เอาไว้ด้านบน
    อันนี้เป็น การจัดเป้สำหรับเดินป่าโดยยึดหลักการหยิบใช้

    แต่ผมกลับไม่ลืมนึกถึง การจัดเป้สำหรับภัยพิบัติโดยยึดหลักการหยิบทิ้ง
    เช่น ถุงนอนนี้จะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถหยิบทิ้งได้ทันที
    หากอยู่ในภาวะคับขัน เพื่อลดขนาดเป้และน้ำหนัก ช่วยเพิ่มความคล่องตัว
    ถุงนอนมันคงอุ้มน้ำน่าดูโดยเฉพาะเมื่อเราไม่ได้ใส่ถุงพลาสติกกันน้ำ

    ส่วนของที่จำเป็น เช่น หม้อสนาม อาหาร เวลาจะใช้ไม่ต้องเร่งรีบอะไร เิอาไว้ด้านล่าง ๆ ก็ได้
    ส่วนของสำคัญที่ใช้บ่อย ๆ เช่น มีด ไฟฉายจะติดตัวไว้ที่กระเป๋าคาดเอวหรือกระเป๋ากางเกง
    การจัดเป้อย่าพยายามให้ของทับซ้อนกันในลักษณะที่ 'รก'
    ทางที่ดีเมื่อจัดเป้แล้วต้องลอง 'ออกงานดูสักครั้ง'
    เช่น ไปทำบุญวัดที่อยู่ต่างจังหวัด เลือกค้างคืนในวัดที่ห่างไกลแสงสีและเทคโนโลยี
    ผมไปทริปสร้างบ้านดินที่ชัยภูมิ และวัดถ้ำเชียงดาว ก็พอได้ความคิดอะไรมานิดหน่อย
    เป็นการ 'ออกงานแบบเล็ก ๆ' ก่อนจะ 'ออกงานจริง'
    และก่อนจะ 'ออกงานใหญ่' ในอนาคต

    เป็นความเห็นส่วนตัวนะ อาจจะไม่ตรงกับตำราเท่าไหร่
    ขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  13. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ผมว่าถุงนอน ไม่ควรทิ้งนะครับ มันก็ไม่ได้หนักอะไรนัก อาจจะมีขนาดใหญ่ แต่มันสามารถช่วยเราได้ กรณีที่ เราเสื้อผ้าเราเปียก และอยู่ในสภาวะที่เย็นจัด ที่เราอาจจะต้องมีการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือเกิดมีเสื้อผ้าชุดเดียว คือชุดที่เราใส่อยู่ เพราะว่าถุงนอนก็ถือว่า เป็นปัจจัย 4 อย่างหนึ่งครับ และควรไว้ล่างสุดของเป้ เพื่อรับน้ำหนัก และ support อุปกรณ์ที่อาจแตกง่าย ครับ

    ไฟฉาย อุปกรณ์ปฐมพยาบาล มีดเอนกประสงค์ ควรอยู่ด้านบนสุดของเป้ อาจจะเป็นซิปด้านนอก (กรณีที่จัดเป้ฉุกเฉินไว้ ไม่ได้รวมที่เราพกพากันประจำ)
     
  14. sug552

    sug552 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +250
    เมื่อสงกรานต์ไปดูเป้ที่ มาบุญครอง ชั้นล่างร้านเล็ก ๆ มีอยู่ ประมาณ 10 กว่าร้าน ไปเจอร้านนึงมีหลายยื่ห้อ แต่ได้ดียูเตอร์ก๊อป ขนาด 50 + 10 ลิตร (ไม่รู้ว่าจะแบกไหวป่าว ใหญ่มาก) ราคาร้านตั้งไว้ที่ 1200 ยังไม่ทันได้ต่อ ลดเหลือ 1000 แม่ค้าบอกว่ายังต่อได้อีกนะ ผมเลยบอกไปว่าผมไม่ต่อแล้วครับ แต่พี่จะลดให้ผมเท่าไหร่ แม่ค้าบอกว่า เอา ๆ พี่ให้ 800 แล้วกัน :d จบ

    งานก็ ok ครับ มีแหนบหลัง มีสายรัดหลายจุดดูแข็งแรงดี ปรับตั้งตำแหน่งสายสะพายสูงต่ำได้ด้วย มีช่องระบายอากาศที่แผ่นหลัง แต่ตามรอยต่อผมคิดว่าต้องหาร้านที่มีจักร หรือฝีมือดี ๆ ซ้ำอีกสักรอบ คุณภาพตามราคาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  15. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    อยากเป็น 'เป้'


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  16. sug552

    sug552 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +250
    โห่พี่ ....karan20 เอาซะฮาเลยนะ คิดว่าอัพเดตอะไร :'(
     
  17. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ราคาเป้ก๊อบ ถ้าขนาดสัก 30 ลิตร ควรหาซื้อไม่เกิน 600 บาทครับ แต่ถ้ามีโอกาสไปซื้อถึงโรงเกลือ ก็ราวๆ 300-350 บาท ครับ

    ส่วนขนาดมากกว่านี้ ก็ดูเป็นตัวๆ ไปครับ

    แนะนำซื้อเป้ก๊อบ อย่าซื้อที่มีระบบหลังเป็นตาข่ายครับ นอกจากแพง และไม่มีประโยชน์ใดๆ เลยครับ
     
  18. sug552

    sug552 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +250
    ตรงนี้มีผลยังไงมั่งครับ ขอถามเป็นความรู้ ไม่เคยใช้แบบนี้มาก่อนครับ
     
  19. kennyk

    kennyk สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมเลือกใช้ เป้ หรือ ถุงกันน้ำ ครับ ราคาใบนึงอาจจะแพงหน่อย แต่มีติดตัวไว้คนละใบ รับรองว่าคุ้มมากครับ เอาซักใบละ 15-20 ลิตร ก็ประมาณ 500-700 บาท
     
  20. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ระบบหลังโดยทั่วไป ตอนนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือแบบฟองน้ำสะพายแล้วติดหลัง กับ อีกแบบ เป็นตาข่าย มีช่องว่างระหว่างแผ่นหลัง กับ ตัวเป้

    ซึ่งระบบหลังที่เป็นแบบระบบตาข่ายนั้น สร้างไว้ขึ้นเพื่อ ระบายความร้อนของแผ่นหลัง กรณีแบกไปนานๆ และรู้สึกร้อนหลัง การมีช่องว่าง เพื่อให้อากาศสามารถทะลุผ่านได้ นี่คือข้อดีของมัน ส่วนข้อเสียคือ เท่าที่ใช้ดู ไม่เหมาะสำหรับการแบกหนักๆ มันเหมาะกับพวก Hiking มากกว่า หรือพวกทริป 2 วัน 1 คืน ที่มีสิ่งของในเป้น้อย

    ถ้าเป็นเป้ก๊อบ ระบบหลังจะทำมาไม่ค่อยดี ย้วยง่าย และแบกไปนานๆ ตาข่ายจะไปแนบกับเป้ ทำให้ไม่มีช่องว่างเหลืออยู่ เลย นอกจากของแท้ ตาข่ายจะมีความตึงและทนกว่า ตามอายุการใช้งานของเป้ มันเอง

    ส่วนแบบฟองน้ำแบกแล้วติดแผ่นหลังนั้น ก็สามารถหาได้ทั่วไป เหมาะสำหรับการแบกหนักๆ เนื่องจากว่า เมื่อชิดกับแผ่นหลังของเราแล้ว ความสมดุลจะมีมากกว่า และไม่ถ่วงไปๆมาๆ แต่ข้อเสีย คือ แบกนานๆ แล้วจะร้อนหลัง

    ถ้าในแง่เตรียมรับมือภัยพิบัติ เลือกแบบที่เป็นฟองน้ำติดแผ่นหลังดีกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...