นิมิตจริง (แท้) หรือ นิมิตปลอม (เทียม)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nouk, 21 ตุลาคม 2011.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ไปอ่านเจอเห็นว่าดี ก็เลยนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทานค่ะ
    นักปฏิบัติทั้งหลาย ควรรู้ไว้เกี่ยวกับเรื่อง "นิมิต" ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และทุกๆ ท่านที่ปฏิบัติธรรมต้องพบเจอแน่นอน

    นิมิตจริง (แท้) หรือ นิมิตปลอม (เทียม) ที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ก็เผื่อว่าจะมีประโยชน์ ต่อท่านผู้ประพฤติปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งหลาย ทั้งที่กำลังเริ่มปฏิบัติและกำลังปฏิบัติอยู่เป็นปกติ ให้เข้าใจถึงสภาวะของนิมิตจริงกับสภาวะของนิมิตปลอมว่าต่างกันอย่างไรบ้าง

    -นิมิตปลอม นักปฏิบัติบางท่านเวลานั่งภาวนาไปเรื่อย ๆ เมื่อจิตอยู่ในสภาวะที่จิตเกิดนิมิต อาจจะเป็นนิมิตทางความคิด นิมิตทางเสียง หรืออาจจะเป็นภาพนิมิตขึ้นมา โดยส่วนมากเมื่อเกิดภาวะต่าง ๆ ดังนี้ ก็มักจะปักใจเชื่อว่า สิ่งที่ปรากฎขึ้นกับตนเองนั้นเป็นของอัศจรรย์ คิดว่าตนเองทำได้แล้ว ก้าวหน้าแล้ว ขอยกตัวอย่างสภาวะของนิมิต เช่น ปรากฎนิมิตเป็นภาพในอดีตของตนเองหรือของบุคคลอื่นบ้าง ภาพในปัจจุบันบ้าง ภาพในอนาคตกาลบ้าง เมื่อเกิดปรากฎนิมิตเช่นนี้ ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็ยิ่งทำให้นักปฏบัติบางท่านกระหยิ่มยิ้มย่อง เกิดความมั่นใจในตนเอง บางท่านคิดไปถึงว่าตัวเองมีอิทธิฤทธิ์ บางครั้งถึงกับเป็นหมอดูกันไปเลย เที่ยวดูจิตดูใจของผู้อื่น ทั้งที่จริง ๆ แล้วบางครั้งนิมิตที่ปรากฎนั้นยังเป็นของปลอมอยู่ ที่ยังใช้งานอะไรไม่ได้ บางครั้งนิมิตที่ปรากฎก็เกิดจากจิตของเราเองที่ปรุงแต่งให้เกิดเป็นเสียง เป็นภาพขึ้นมาให้ปรากฎอย่างที่เราอยากให้เป็น ที่กล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นของปลอมที่เกิดขึ้นมาหลอกจิตเราเท่านั้น หรือเกิดขึ้นเพื่อทดสอบจิตเราว่าสามารถจะยกระดับจิต ให้พ้นนิมิตปลอมเหล่านั้นไปได้หรือไม่ อนึ่งท่านนักปฏิบัติบางท่านอาจจะแย้งว่า บางครั้งในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้นไม่ได้มีการคิดปรุงแต่งจิต ไม่ได้ชักนำจิตให้คิดโน่นคิดนี่ แต่ทำไมจึงปรากฎนิมิตขึ้นมาได้ เพราะเหตุที่ว่าจิตเป็นตัวศูนย์กลางที่รับอารมณ์สัมผัสทั้งหลายที่วิ่งเข้า มา เมื่อจิตน้อมรับไว้แล้วไม่ปล่อยวาง จิตจึงเก็บเป็นความจำไว้ส่วนหนึ่ง แต่ตัวเราอาจหลงลืมไปว่าจิตมันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่ทุกขณะ พอเกิดนิมิตขึ้นมาก็เลยเชื่อมั่นว่าเป็นของจริง จึงไม่ได้หยิบยกนิมิตที่ปรากฎนั้น มาพิจารณาตามเหตุและผล เพราะเหตุที่ท่านขาดสติใช่หรือไม่ จะกล่าวตอบว่าใช่ หรือไม่ใช่ ทางใดทางหนึ่งก็ไม่ได้ เนื่องจากท่านสามารถนำนิมิตเหล่านั้นมาบรรยายให้บุคคลอื่นฟังได้อย่างชัดเจน นั่นก็หมายความว่าท่าน "มีสติ" แต่เป็นสติที่วิ่งไปตามอำนาจของกิเลส ถ้าจะกล่าวถึงอีกมุมหนึ่งว่าท่าน "ไม่มีสติ" ก็เพราะว่าไม่ได้ทำให้ท่านนักปฏิบัติเกิดปัญญา รู้แจ้ง เห็นแจ้ง ยกขึ้นเป็นข้อธรรมให้หลุดพ้นได้ นิมิตปลอมที่ปรากฎขึ้นทั้งหลายนี้ ล้วนทำให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายไม่ก้าวหน้า บางท่านหลงลืมความเป็นจริงที่ว่า นี่เราเกิดมาทำไม เราเป็นใคร ต้องทำอะไร ซึ่งที่กล่าวมานี้ท่านนักปฏบัติต้องค้นหาด้วยตนเอง รู้แจ้งแก่จิตใจตนเอง

    -นิมิตจริง (แท้) ผู้ที่ปฏบัติจะทราบได้อย่างไรว่านิมิตที่เกิด ขึ้นกับเรานั้นเป็นนิมิตที่เป็นของจริงแท้แน่นอน ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้นั้นเป็นอย่างไร ตามความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมานั้นไม่ว่าสิ่งที่ปรากฎขึ้นในนิมิตนั้นจะ เป็นภาพคน สัตว์ หรือวัตถุธาตุต่าง ๆ ก็ตาม ในภาวะความเป็นจริงนิมิตที่ปรากฎขึ้นนี้มันจะต้อง "มีอยู่จริง เกิดขึ้นจริง" อาจจะแสดงผลให้ผู้ปฏิบัติทราบในปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ เมื่อถึงเวลานั้น ๆ ผมขอยกตัวอย่าง เช่น มีผู้ร่วมบุญท่านหนึ่งได้มาพบผมในวันถวายตู้พระธาตุ เขาได้เล่าถึงปัญหาการทำมาหากินที่ฝืดเคือง จากที่เคยขายของได้วันละสองหมื่นถึงสามหมื่นบาทต่อวันนั้น ได้มียอดขายที่ตกลงเหลือแค่วันละสองพันถึงสามพันบาท รายได้ที่ได้รับมาในแต่ละวันนั้นแทบจะไม่พอจ่ายเป็นค่าจ้างให้กับคนงาน ผมจึงได้ลองใช้จิตตรวจสอบดู ได้เกิดนิมิตปรากฎขึ้นมาว่า ได้เห็นหิ้งบูชาพระภายในบ้านของเขา จัดวางไว้อย่างไม่ถูกที่ จึงได้ถามกับท่านผู้นั้นว่า "หิ้งบูชาพระที่บ้านด้านบนมีอะไรพาดทับอยู่ หรือไม่ และหิ้งบูชาพระจัดวางอยู่ในที่ที่เหมาะสมหรือไม่" ในขณะนั้นเขาตอบกลับมาว่า "ไม่มีอะไรพาดทับอยู่นะครับ ผมเองก็ยังคงยืนยันในนิมิตที่ปรากฎขึ้นกับท่านผู้นั้น หลังจากเขาได้กลับไปบ้านได้ไปสำรวจดูหิ้งบูชาพระตามที่ผมได้บอกกล่าวไป ผลปรากฎว่าหิ้งบูชาพระนั้นได้ติดตั้งอยู่ใต้คานบ้าน และผนังที่ใช้ตรึงหิ้งบูชาพระนั้นก็เป็นผนังที่ใช้ร่วมกันกับห้องน้ำ จากนั้น ท่านผู้นั้นก็ได้โทรศัพท์มาหาผมในวันรุ่งขึ้นว่า "รู้ได้อย่างไรกันครับ ตัวผมเองอยู่บ้านมาตั้งนาน ยังไม่ทราบเลย" ตัวผมเองเมื่อได้ยินดังนั้นก็ได้แต่นิ่ง ๆ ไม่รู้จะกล่าวตอบไปอย่างไร เนื่องจากเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะตน ได้เฉพาะตน ไม่สามารถถ่ายทอดภาพเหล่านั้นให้ผู้อื่นเห็นเช่นเราได้ นอกจากผู้นั้นได้ปฏิบัติด้วยตนเอง จนสามารถบังเกิดนิมิตเหล่านั้นได้ เฉกเช่น บุคคลหนึ่งเคยได้ทานอาหารที่อร่อย แล้วมาบรรยายถึงอาหารมื้อนั้นให้เพื่อนฟัง เพื่อนผู้นั้นก็ไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงรสชาดอาหารนั้นได้ว่าอร่อยอย่างไร นอกจากเพื่อนผู้นั้นจะต้องไปทานเอง จึงจะรับรู้ถึงรสชาดนั้น ๆ ได้ ตามความรู้สึกของตนเอง

    การหลงใหล (เมา) ในนิมิต -การถือภพถือชาติ (ระลึกชาติย้อนอดีต) นักปฏิบัติบางท่านนั่งปฏิบัติไปก็หวังว่าจะมี นิมิตใดปรากฎขึ้นบ้าง อยากเห็นนั่นเห็นนี่ สร้างความหวังให้ตนเองแบบลม ๆ แล้ง ๆ จิตก็นั่งคำนึงไปว่าภพชาติที่ผ่านมาตนเองเกิดเป็นใคร ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร เกี่ยวข้องผูกพันกับใครบ้าง พอปรากฎนิมิตภาพขึ้น เช่น เคยเป็นพ่อแม่ พี่น้อง ญาติสนิท มิตรสหาย คู่ครอง ก็ส่งจิตคล้อยตามนิมิตนั้นไป หลงใหลกับภาพนิมิตนั้น ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมันผ่านภพผ่านชาติมาไม่รู้กี่ภพชาติแล้ว ก็ยังไปนั่งคิดยึดติดอาลัยอาวรณ์กับอารมณ์เหล่านั้นอยู่ สำหรับนักปฏิบัติบางท่านด้วยแล้ว ยิ่งไปพบเจอบุคคลในชาติปัจจุบัน เกิดปรากฎนิมิตขึ้นเห็นว่าตนเองเคยผูกพันเกี่ยวข้องว่าเคยเป็น พ่อแม่ พี่น้อง ญาติสนิท มิตรสหาย คู่ครองบ้าง ก็เกิดจิตกิเลสอยากจะไปทำความรู้จักผูกพันให้เหมือนแต่อดีตจนขาดสติที่ทำให้เกิดปัญหาไป เมื่อย้อนกลับมาสู่ความเป็นจริงในภพชาติปัจจุบันที่เราอยู่ ก็จะเห็นว่าเราไม่ได้มีชีวิตความผูกพันกับบุคคลนั้น ๆ เฉกเช่นเดิมแต่อดีต หากแต่เป็นความรู้จักมักคุ้นในฐานะบุคคลอื่นที่เราเพิ่งจะรู้จักกัน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ที่ไม่จีรังยั่งยืนเหมือนแต่ครั้งอดีต อันเนื่องมาจากเหตุบุญบาปที่เราได้ก่อได้กระทำไว้แต่ภพอดีตเป็นตัวส่งผลให้ เราเป็นไปในภพชาติปัจจุบัน ล้วนแต่ตัวเราเป็นผู้กำหนดไว้เสร็จสิ้น

    ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายควรที่จะพิจารณาว่า มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งตัวของเราเอง ได้เวียนเกิด เวียนแก่ เวียนเจ็บ เวียนตาย มาไม่รู้เท่าไหร่ ครั้นจะนับภพนับชาติก็คงต้องกล่าวว่า ต้นก็ไม่รู้ ปลายก็ไม่เห็น ฉะนั้นท่านทั้งหลายจึงได้รู้แล้วว่า เราเกิดร่วมภพร่วมชาติมานับกันไม่ถ้วน ใยต้องมาอาลัยอาวรณ์โหยหากันอยู่เล่า เร่งรีบปฏิบัติภาวนา ตัดภพ ตัดชาติ ตัดความอาลัยอาวรณ์ทั้งหลายให้สั้นลง เพื่อก้าวไปสู่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ทั้งปวงนั่นจะดีกว่า

    -การมองอนาคต นักปฏิบัติบางท่านมีความกังวลกับภพชาติปัจจุบัน อาจจะเป็นเรื่องฐานะความเป็นอยู่ รูปร่างหน้าตา หน้าที่การงาน คู่ครอง นั่งไปก็ภาวนาไปขอเห็นภาพในอนาคต หรือไม่บางคนก็โน่น ขอเห็นภาพภพชาติหน้าโน่นเลย ภาพที่ปรากฎนั้นก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าต่อไปภายหน้านั้นจะเกิดขึ้นแก่เรา จริง ๆ บางท่านก็ไปยึดติดในนิมิตที่ปรากฎขึ้น เช่น เห็นภาพว่าตนเองจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่ร่ำรวย มีคู่ครองสมใจอยาก มีมิตรสหายดี บริวารดี หน้าที่การงานดี วัน ๆ ก็เลยไม่เป็นอันต้องทำอะไรให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น นั่งนึกนั่งคิดถึงนิมิตที่เกิดขึ้นนั่นว่าเดี๋ยวไม่นานเราต้องสมดังหวังเป็นแน่ นักปฏิบัติบางท่านกว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเสียแล้ว เมื่อนิมิตที่เคยปรากฎให้เห็นนั้นไม่เป็นไปอย่างที่เห็นสักที จากความสุขที่เคยเห็นนิมิตนั้น ก็กลับกลายเป็นกองทุกข์สุมใจ ผมขอกล่าวสรุปในเบื้องต้นว่าเมื่อผู้ปฏิบัติฝึกไป ไม่ควรคิดเข้าข้างตนเองว่านิมิตที่ปรากฎขึ้นนั้นเป็นของจริงแท้แน่นอน ควรจะพิจารณาไปเรื่อย ๆ ก่อน หากปฏิบัติไปหลาย ๆ ครั้งแล้ว นิมิตเดิม ๆ นั้นยังคงปรากฎอยู่และชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้ว่านิมิตนั้นเป็นของจริง หากจะให้นิมิตเป็นนิมิตที่แน่นอนก็ควรจะไปสอบถามกับครูบาอาจารย์ หรือผู้ที่มีภูมิธรรมในระดับที่สามารถยืนยันให้กับเราได้ สิ่งที่ผมเองอยากจะกล่าวย้ำเกี่ยวกับนิมิตนั้นว่า ไม่ว่านิมิตนั้นจะเป็นนิมิตจริง (แท้) หรือนิมิตปลอม (เทียม) หากเราหยิบยกนิมิตเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้ง เห็นแจ้ง เห็นความเป็นจริงที่มันเป็นของจริงได้นั้น แล้วละวางมันลงเสีย (นิมิต) ผู้นั้นคงได้รู้เห็นตามความเป็นจริง ในสภาวะธรรมทั้งปวงที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" และนิมิตที่เกิดขึ้นกับจิตของผมเองในขณะปฏิบัติ เมื่อนิมิตใด ๆ ปรากฎขึ้นแก่ตัวผมเอง ผมก็ยังไม่อาจปักใจเชื่อ ต้องมีการพิสูจน์ ให้เห็นตามความเป็นจริง จึงจะปักใจเชื่อ หากเมื่อใดที่เรายังไม่วางนิมิตนั้นให้เป็นอุเบกขา ก็ไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะจิตเราอาจจะไปปรุงแต่งนิมิตนั้นได้

    หมายเหตุ: ที่ผมเขียนบทความขึ้นมานี้ ไม่ได้มีเจตนาที่จะอวดตนว่าเป็นผู้มีความรู้แต่อย่างใด บทความที่เขียนมานี้ล้วนเกิดจากประสบการณ์ในการปฏิบัติของผมทั้งสิ้น หากท่านผู้ใดมีข้อติหรือข้อเสนอแนะผมยินดีรับฟังครับ และหากบทความนี้มีความผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ
    ที่นี้ด้วยครับ

    กฤษณะ ไตรลักษณ์
    ที่มา : นิมิตจริง (แท้) หรือ นิมิตปลอม (เทียม)
     
  2. tee666

    tee666 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +14
    นิมิตแท้ เทียม

    ตัวรู้ จะเป็นตัวบอกเราเอง จะรู้สึกทันทีว่าใช่แน่ แค่ฟ้าแลบ นอกนั้นเทียมหมด และยิ่งตั้งใจรู้ มีความโลภด้วยแล้ว โอกาศถูกมีน้อยมากๆๆ สุดท้ายจะรู้ไปทำไม ในเมื่อรู้แล้วหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แต่บรรเทา ถึงเวลาก็โดนเต็มๆๆ ไม่โดนวันนี้ พรุ่งนี้ก็โดน แก้กรรมไม่ได้หรอก ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิดีกว่า หลีกได้จากหนักก็เป็นเบา
     
  3. kamsai24

    kamsai24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2011
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +223
    ขอบคุณกับคำชี้แนะ สำหรับคนที่อยากมี แต่ยังไม่มี
    เพราะไม่รู้ว่า มีแล้ว แค่เห็น หรือสามารถแก้ไขอะไรได้บ้าง
     
  4. galnerysus

    galnerysus สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโททนาคับ ข
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นำมาแบ่งปันค่ะ

    ข้อปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญา

    ผู้ประสงค์จะเจริญปัญญา พึงปฏิบัติอย่างไร?

    ผู้ประสงค์จะเจริญปัญญา เมื่อศึกษาให้เข้าใจปัญญาที่มุ่งหมาย กล่าวคือ วิปัสสนาญาณอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต แล้วต่อไปพึงศึกษาสัมมาปฏิบัติให้ทราบชัดในธรรมอันเป็นภูมิเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาปัญญา อันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางแห่งวิสุทธิ ๒ คือ

    สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามภูิมิชั้นของตนให้บริสุทธ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ

    และ จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา) ซึ่งจะเป็นเหตุให้วิปัสสนาปัญญาเกิดทำหน้าที่เป็นฐานรองรับการเจริญวิปัสสนาปัญญา อันมีลำดับการปฏิบัติปรากฏใน วิสุทธิ ๕ ซึ่งเป็นสรีระคือตัววิปัสสนาปัญญาโดยตรง ได้แก่

    ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด

    กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปไปแล้ว จึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓

    มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิัปัสสนาต่อไป จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย

    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนินคือ ประกอบด้วยความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลาย และ

    ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค ๔ หรือ มรรคญาณ อันเป็นเกิดถัดจากโคตรภูญาณเป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้ว ผลจิตแต่ละอย่างย่อเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรณญาณนั้นๆ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นในขั้นนี้

    วิสุทธิ ๗ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน ดุจรถ ๗ ผลัดที่ส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย

    ที่มา : ข้อปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญา - มงคลธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทางออกจากโลกโดยทางพระวิสุทธิมรรค
    พระธรรมเทศนาโดย
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
    ตีพิมพ์ใน วารสาร ธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๑​

    การที่ท่านทั้งหลายได้สลัดตัดกังวล ในกิจการงานแห่งเคหะสถานบ้านเรือน มายังที่ประชุมนี้ สำเร็จมาแต่ความไม่ประมาท ปรารถนาจะทำตนให้เป็นที่พึ่ง คือตั้งใจจะประกอบการกุศลส่วนที่ตนยังไม่เคยมีให้มีขึ้น และเพื่อจะบำรุงบุญกุศลที่ตนได้ประพฤติมาแล้วให้เจริญภิยโยยิ่งขึ้นตามลำดับ ความจริงการที่จักได้อัตตภาพมาเป็นมนุษย์ ท่านแสดงว่าเป็นของแสนยาก เพราะเป็นชาติที่อุดม อาจที่จักประกอบคุณงามความดีได้ทุกประเภท ชีวิตความเป็นอยู่ตลอดมาถึงวัยนี้ขัยนี้ ก็เป็นของแสนยากแสนลำบาก ต้องฝ่าฝืนอุปสรรคขัดข้องมาโดยลำดับ การฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็แสนยาก ต้องมีศรัทธาความเชื่อพอ จึงจะฟังได้ ทั้งเป็นของละเอียด ยากที่จักถือเอาเนื้อความได้ พุทธบุคคลทั้งหลายจะเกิดขึ้นมาในโลกแต่ละครั้งแต่ละคราวก็เป็นของแสนยาก เพราะต้องบำเพ็ญพระบารมีทั้ง ๑๐ ประการ มีทาน ศีล เป็นต้น บริบูรณ์แล้วจึงจะมาเกิดขึ้นได้ ในพวกเราทั้งหลายทุกวันนี้ ของหาได้ด้วยยากทั้ง ๔ ประการนี้ ได้มาถึงจำเพาะหน้าแล้ว มิหนำซ้ำเกิดในตระกูลอันเป็นสัมมาทิฏฐิ ส่วนตนก็มีศรัทธา เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม และเชื่อคุณพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะที่พึ่งได้ แต่มักพูดกันโดยมากว่า ความเพียรของตนยังอ่อน ถ้าเช่นนั้นก็ควรปรารภความเพียรให้หนักขึ้น เอาตัวออกจากความทุกข์ได้ในชาตินี้เป็นดี เพราะชาติหน้า หมายไม่ได้ว่าจะได้อัตตภาพเป็นอะไร จึงจะได้อัตตภาพเป็นมนุษย์อีก จะวางใจว่าเราคงมีศรัทธาเหมือนชาตินี้ไม่ได้ เพราะข้ามภพข้ามชาติไปแล้ว ตั้งความเพียรเอาตัวรอดเสียในชาตินี้เป็นดี เพราะทางออกจากทุกข์ ก็พากันเข้าใจอยู่โดยมากแล้ว

    บัดนี้ จักแสดงพระธรรมคุณ ถือเอาเนื้อความในบทว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม นั้นแสดงต่อไป จักแสดงปฏิบัติธรรมกับปฏิเวธธรรม ทางออกจากโลก หรือทางออกจากทุกข์โดยทางวิสุทธิมรรค ในวันพระก่อน ได้แสนดงทางออกจากโลกโดยทางพระ อัฏฐังคิกมรรค วันนี้จะแสดงโดยทางวิสุทธิมรรค ทางทั้งสองนี้เมื่อตรงได้ความแล้ว ก็คงกลมเกลียวลงรอยเดียวกัน ต่างแต่อัฏฐังคิกมรรคมีองค์ ๘ วิสุทธิมรรคมีองค์ ๗ เท่านั้น ในองค์ทั้ง ๗ ของวิสุทธิมรรคนั้น คือ

    สีลวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์ของศีล ๑
    จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์ของจิต ๑
    กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งการพ้นความสงสัยเสียได้ ๑
    มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้ความเห็นว่า นี่ทาง นี่ใช่ทาง ๑
    ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้ความเห็นว่า นี่ปฏิปทาทางปฏิบัติตรง ๑
    ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้ความเห็นอันสำเร็จมาแต่ปฏิปทา ชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ์ ๑
    ญาณทัสสนวิสุทธิ์นี้ท่านแสดงว่าเป็นมรรค ตามนัยอภิธัมมัตถสังคหะว่า ญาณทสฺสนวิสุทธิ นามมคฺโค ปวุจฺจติ ความว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ์นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นชื่อของมรรคดังนี้

    จักอธิบายวิสุทธิทั้ง ๗ นั้นต่อไป สำหรับเป็นทางศึกษา ความจริงก็คือปฏิบัติธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั้นเอง จึงไม่แก่งแย่งกันกับอัฏฐังคิกมรรค
    สีลวิสุทธิก็คือแสดงกองศีล จิตตวิสุทธิก็คือแสดงกองสมาธิ ทิฏฐิวิสุทธิถึงญาณทัสสนวิสุทธิก็คือแสดงกองปัญญา
    สีลวิสุทธิท่านหมายถึงอริยกันตศีล คือศีลในอริยมรรค คือ สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว เหมือนกัน ตั้งเจตนาให้เป็นสมุทเฉททวิรัติก็นับว่าเป็นสีลวิสุทธิได้ จิตตวิสุทธินั้นก็หมายอัปปนาจิต คือตั้งใจบำรุงสติปัฏฐาน อันสัมปยุตตด้วยสัมมาวายามะจนบรรลุอัปปนาจิต ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ

    ทิฏฐิวิสุทธินั้น ท่านหมายทิฏฐิที่ตรง เป็นองค์สัมมาทิฏฐิ คือเห็นว่าความดีความชั่วเป็นของมีจริง สัตว์ทำดีได้ดีจริง สัตว์ทำชั่วได้ชั่วจริง โลกนี้โลกหน้าเป็นของมีจริง มรรค ผล นิพพาน เป็นของมีจริง กันสัญญาวิปลาศออกเสียได้ สัญญาวิปลาสนั้น ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเหมือนอย่างผู้เห็นว่าตายแล้วสูญ ไม่มีอะไรไปเกิดอีก ข้อนี้พึงกำหนดดูธรรมชาติ สิ่งใดซึ่งเป็นของมีอยู่แล้วและจักสูญไป สิ่งนั้นจะพึงมีได้ด้วยเหตุไร

    บางพวกเห็นว่า ตายแล้วเกิดอีก เคยเกิดเป็นสิ่งใดก็ต้องเป็นสิ่งนั้น เหมือนอย่างผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็จักเกิดเป็นมนุษย์ร่ำไป เคยเป็นสตรีก็จักเป็นสตรีร่ำไป เคยเป็นสัตว์ประเภทใด ก็จะต้องเป็นสัตว์ประเภทนั้นร่ำไป ดังนี้ ข้อนี้พึงกำหนดดูให้เข้าใจ ส่วนรูปร่างเหมือนอย่างเป็นมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ต่าง ๆ นั้น เป็นภพ เป็นชาติ ส่วนหนึ่งไม่กลับกลายคงที่ แต่สัตว์ผู้เป็นเจ้าของภพชาตินั้นอีกส่วนหนึ่ง ส่วนสัตว์นั้นจะไปถือเอาภพใดชาติใดก็ได้ สุดแต่กุศลจะนำไป

    บางพวกเห็นว่า บุญไม่มี บาปไม่มี เหตุไม่มี ผลไม่มี ดีชั่วเป็นเองทั้งนั้น อย่างนี้ชื่อว่า นัตถิกทิฏฐิ บางพวกเห็นว่าความไม่ทำ เป็นหมดกิเลส ทำสิ่งไรเป็นกิเลสทั้งสิ้น อย่างนี้ชื่อว่า อกิริยทิฏฐิ

    เมื่อกันทิฏฐิวิปลาสออกได้แล้วเป็นผู้เชื่อกรรมเชื่อผลโดยแน่แท้ ตั้งใจปฏิบัติตามพุทธโอวาท เจริญสมถะวิปัสสนาจริง ๆ แต่อย่างนั้น สัญญาวิปลาสยังแอบเข้าไปเป็นเจ้าของเสียอีก ทำให้ทิฏฐิไม่บริสุทธิ์ได้ เหมือนอย่างผู้ยกสังขารขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ เห็นสังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้แล้ว ก็ยังไม่พ้นวิปลาส เพราะยังเห็นซีกเดียว เห็นแต่เขา ไม่เห็นเรา

    ถ้าจะให้เป็นทิฏฐิวิสุทธิ ต้องให้เห็นเขาด้วย เห็นเราด้วย เห็นไม่ใช่เขาด้วย เห็นไม่ใช่เราด้วย จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิสุทธิ
    ส่วนกังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งการข้ามความสงสัยนั้นคือทิฏฐิวิสุทธิ ชำระวิปลาสเสียได้แล้ว คือเห็นสรรพสังขารไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา คือเห็นปัจจุบันธรรมชัดขึ้น เพราะรู้เท่าสังขาร คือที่รู้ว่าร่างกายจิตใจของตนเป็นสังขารนั้น ไม่ใช่วิชชาของเราเอง จำเขามาทั้งนั้น ทั้งพระไตรลักษณ์ที่กาความว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็เป็นสัญญาอดีต จำเขามาทั้งนั้น ตกลงก็คือสังขารผู้ถูกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็สัญญาอดีต ส่วนตัวไม่เที่ยว ตัวทุกข์ ตัวอนัตตาเอง ก็สัญญาอดีตเหมือนกัน

    เมื่อเห็นธรรมที่เป็นปัจจุบันเต็มที่ สัญญาอดีตดับหมด คือสังขารผู้จำเลยก็ดับ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ผู้โจทก์ก็ดับ ยังเหลือแต่ปัจจุบันธรรม เป็นธรรมอันแน่นอน เป็นธรรมอันไม่กำเริบ เป็นผู้สิ้นสงสัยในอดีตอนาคตด้วย เห็นปัจจุบันธรรมนี้ ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ ส่วนมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิสั้น เป็นผลสำเร็จมาแต่ กังขาวิตรณวิสุทธิเหมือนกัน คือสิ้นสงสัยในอดีตอนาคต เห็นปัจจุบันธรรมเป็นตนแล้ว ก็ตั้งหน้าสำรวจทางเดินต่อไป ให้รู้แน่ว่า นี่ทางผิด นี่ทางถูก เมื่อสมาธิฟอกจิตให้ผ่องใสแล้ว จักได้ประสบวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง

    โอภาโส คือเกิดแสงสว่างอย่างยิ่งที่ไม่เคยได้พบได้เห็น
    ปีติ ความอิ่มกาย อิ่มใจ
    ปสฺสทฺธิ ความสงบใจ
    อธิมกฺโข ความน้อมใจเชื่อต่อพระนิพพาน
    ปคฺคโห ความประคองอารมณ์
    สุขํ ความสุข
    ญาณํ ส่ทรู้
    อุปฏฺฐานํ ความเพียรเป็นไปมั่น
    อุเปกฺขา ความเพิกเฉยต่ออารมณ์
    นิกนฺติ ความรักใคร่ในพระนิพพาน

    แต่ละอย่าง ๆ ล้วนเป็นของประณีต ทำให้พิศวงงงงวยไปได้ ให้สำคัญว่าตนเป็นผู้สำเร็จ ความจริงเป็นกิเลส เครื่องกั้นจิตมิให้สำเร็จพระนิพพาน เมื่อไต่สวนเห็นความผิดอย่างนี้ก็เพ่งหาทางที่ถูกต่อไป เห็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ ประการ ว่าเป็นทางที่ถูก การพิจารณารู้แน่ว่า นี่ทางผิด นี่ทางถูก เพียงเท่านี้ ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ส่วน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินั้น เป็นผลสำเร็จมาแต่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ เมื่อวินิจฉัยตกลงว่า นี่ทาง ก็ลงมือดำเนิน คือน้อมจิตสู่วิปัสสนญาณ ยกสังขารขึ้นเป็นอารมณ์ เห็นความเกิดดับแห่งสังขารชัดใจ ชื่อว่าอุทยัพพยญาณ แล้วพิจารณาแต่ความดับอย่างเดียวเป็นภังคญาณ แล้วพิจารณาเห็นสังขารเต็มไปด้วยโทษ เป็นอาทีนวญาณ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารเป็นนิพพิทาญาณ แล้วเกิดความสะดุ้งหวาดต่อสังขารเป็นภยญาณ แล้วหาทางหนีออกจากสังขารเป็น มุญจิตุกัมยตาญาณแล้วพิจารณาหาทางออกเป็นปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เมื่อพิจารณาเห็นไม่มีทางออกที่จะออกได้ เกิดเพิกเฉยต่อสังขาร ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ ถ้ากำลังปัญญาน้อย มาถึงเพียงแค่นี้แล้วก็ถอย ยกจิตให้สูงขึ้นไปอีกไม่ได้

    พระโยคาวจรเมื่อเห็นแต่เพียงเพิกเฉยต่อสังขาร เห็นสังขารเป็นแต่เพียง อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา เท่านี้ หาพ้นจากโลกไม่ จึงกลับพิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้น เป็นอนุโลมปฏิโลม ยกขึ้นสู่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นสัจจานุโลมิกญาณ เมื่อสัจจานุโลมิกญาณแก่กล้า มีกำลังเต็มที่ ก็แลเห็นโลกุตรธรรม เรียกว่า โคตรภูญาณ จะได้จะเสียก็โคตรภูญาณนี้เอง ถ้ากำลังน้อยก็กลับหลัง ถ้ากำลังมากก็ไปหน้า ถึงโลกุตระทีเดียว โลกิยวิปัสสนาเห็นโลกุตระมีแต่โคตรภูญาณอย่างเดียว การที่ยกวิปัสสนาขั้นต่ำขึ้นสู่อริยสัจ ๔ เป็นข้อสำคัญ คือให้เห็นสังขารเป็นตัวทุกข์ ให้เห็นความไม่รู้เท่าสังขารเป็นสมุทัย ความรู้เท่าสังขารแล้วสังขารดับเป็นนิโรธ ปัญญาที่รู้อาการแห่งสังขารเป็นทุกข์ เป็นสมุทัย เป็นนิโรธ ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค

    การที่แสดงอริยสัจ ได้เคยแสดงขยายออกเป็นหลายประเภท ค่าที่ไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความจริงจัง ก็ถือเอาเนื้อความไม่ได้ บัดนี้ จะตั้งปัญหาไว้ให้สักปัญหาหนึ่ง ทุกขอริยสัจนั้น จะบัญญัติลงที่กายที่ใจนี้หรือ ? สมุทัยอริยสัจก็ดีจะบัญญัติลงที่กายที่ใจนี้หรือ ? นิโรธอริยสัจก็ดีจะบัญญั๖ลงที่กายที่ใจนี้หรือ ? มัคคอริยสัจก็ดีจะบัญญัติลงที่กายที่ใจนี้หรือ ? ถ้าบัญญัติลงในที่อื่นก็แล้วไป ถ้าบัญญัติทุกข์ลงที่กายที่ใจ ถ้าบัญญัติสมุทัยลงที่กายที่ใจ ถ้าบัญญัตินิโรธลงที่กายที่ใจ ถ้าบัญญัติมรรคลงที่กายที่ใจ เมื่อกายและใจยังมีอยู่ ทุกข์จะดับได้ด้วยอย่างไร สมุทัยจะดับได้ด้วยอย่างไร นิโรธจะดับได้ด้วยอย่างไร มรรคจะดับเป็นผลขึ้นด้วยอย่างไร ปัญหานี้สำหรับนำไปตรอง ได้แสดงทางออกจากโลกด้วยวิสุทธิมรรคพอเป็นวิธีทางดำเนินของพระโยคาวจรผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารพอเป็นสังเขปไว้เพียงเท่านี้

    ทางวิสุทธิมรรคที่แสดงมานี้ก็เป็น สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เหมือนนัยหนหลัง และเป็น สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นด้วยตนเอง และเป็น อกาลิโก ไม่ต้องอ้างกาล เพราะเป็นธรรมมีอยู่ทุกเมื่อ และเป็น เอหิปสฺสิโก อาจอวดผู้อื่นให้มาดูได้ เพราะเป็นของมีจริง และเป็น โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามาสู่ตนได้ คือให้มีขึ้นในตน และเป็น ปจฺจตฺตํ ผู้รู้ทั้งหลายจะพึงรู้แจ้งจำเพาะที่ตน จึงเป็นของควรเชื่อได้ว่าเป็นพุทธโอวาทโดยไม่ต้องสงสัย ควรพุทธบริษัทจะกำหนดนำไปตรวจตรอง จนเกิดความบริสุทธิ์สิ้นสงสัยในพุทธโอวาท จักได้เป็นคนฉลาดในทางแห่งความสุข โดยนัยดังวิสัชนามา ด้วยประการฉะนี้

    ที่มา :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การแก้ไขตนเองด้วยอุบายทางธรรม​


    สมเด็จพระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนไว้ด้วยอุบายทางธรรมมากมายหลายวิธี เพื่อให้จิตของพวกเจ้า ซึ่งมีกิเลสร้อยรัดอยู่ (สังโยชน์) ๑๐ ข้อ หลุดออกตามลำดับจนเกิดเป็น อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ได้ตามลำดับ ผมเลือกยกเอามาแต่เฉพาะบางส่วนที่ผมเห็นว่าเหมาะสมสำหรับบุคคลในกลุ่มที่ติดตามกันมาด้วยการสนทนาธรรมเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นเป็นเวลา ๑๖ ปีแล้วเป็นสำคัญ พระองค์ตรัสสอนไว้มีความสำคัญโดยย่อดังนี้

    ๑. อย่าเพ่งโทษผู้อื่น ใครจักดีจักเลวก็เรื่องของเขา พยายามรักษาใจเราอย่าให้มีอคติกับใคร ถ้าจักละอารมณ์ ๒ ต้องดูจุดนี้ให้ดีๆ

    ๒. พยายามอย่าเห็นว่าใครดี ใครเลว ให้พิจารณาดูว่าเป็นกฎของกรรมหมดทั้งสิ้น เป็นเรื่องธรรมดา วางเสียให้ได้อารมณ์ก็จักเย็นลง ไฟราคะ ไฟโทสะ ก็จักเบาลง

    ๓. ถามคนทั้งโลกไม่มีใครอยากเลว ทุกคนอยากดี แต่อารมณ์อกุศลกรรมบังคับ ทำให้จิตคิดเลว ปากพูดเลว กายทำเลว เพราะคิดว่าการกระทำของตนนั้นดี เพราะกฎของกรรมบังคับ ให้ดูเขาเป็นตัวอย่าง แต่จงอย่าไปเพ่งโทษเขา ให้เพ่งโทษตนเอง เพราะสังโยชน์ ๑๐ ยังไม่ขาด จักเป็นคนดีไปไม่ได้

    ๔. จงหมั่นอาราธนาบารมีพระรัตนตรัย แผ่เมตตาไปให้ผู้มีอุปการคุณเนืองๆ จักทำให้เขาเป็นสุขด้วยผลบุญนี้เพราะคนกตัญญูรู้คุณคน รู้คุณพระ พรหม เทวดา นางฟ้า ย่อมไม่มีที่อับจน หากจักลำบากบ้าง ก็เพราะกฎของกรรมที่เข้ามาสนอง ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ใคร ๆ จักช่วยได้

    ๕. หากกฎของกรรมเกิดแก่เจ้า จงกำหนดรู้ และพึงยอมรับด้วยความสงบโดยใช้ปัญญาพิจารณา ก็จักทราบทั้งเหตุทั้งผลอยู่ในนั้นเสร็จ การยอมรับกฎของกรรม คือ การยอมรับความจริง หรืออริยสัจ ทำปัญญาให้เกิด นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด

    ๖. อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ จะทำให้คนรุ่นหลังตกนรก เพราะปรามาสพระรัตนตรัย เรื่องเหล่านี้ปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าใจยาก (ผมขอยกตัวอย่างทางโลก พอถึงวันปฏิวัติ รัฐประหารมีการฆ่ากัน ทำร้ายกัน พวกเขาก็จะกระตุ้นให้คนรุ่นหลังซึ่งไม่รู้เรื่องให้รู้ กันลืม บังคับให้จำแต่ของเลวๆ ทำจิตให้เศร้าหมองอยู่เสมอ เพื่อตายแล้วจะได้ไปสู่ทุคติ เหมือนพวกในอดีตเหล่านั้น)

    ๗. อย่าลืมคนที่พลาดพลั้งเสียทีนั้น ส่วนใหญ่ประมาท ทำอะไรไม่ใคร่ครวญเสียก่อน ชอบคิดแต่ส่วนดี จะเอาแต่ได้ เอาแต่คุณ เอาแต่สุข เพราะลืมไปว่าธรรมในโลกนี้มีเป็นคู่เสมอ จะเอาแต่อย่างเดียวไม่ได้ ไม่คิดให้ครบวงจร เพราะส่วนเสียเป็นโทษเป็นทุกข์ที่จักเกิดตามมามิได้คิด ด้วยเหตุที่มีอุปาทานผิดๆนั่นเอง สภาวะของโลกจึงนำไปสู่ความฉิบหาย หรือทุกข์ หรืออนัตตา ในที่สุด

    ๘. อย่าเอาอารมณ์คนอื่นมาใส่ใจเรา ยกเว้นอารมณ์ของพระอริยเจ้าเท่านั้น ที่ควรใส่ใจอารมณ์ ๒ เกิด เพราะชอบยุ่งกับผู้อื่นที่เป็น โลกียวิสัย จำเลวชอบ จำดีไม่ค่อยสนใจ ก็ขาดทุนทุกที เพราะลืมมงคลภายในที่ว่า อย่าคบคนพาล จงคบบัณฑิต บูชาคนที่ควรบูชา ชอบมีอารมณ์ขี้เก็บ หรือเก็บขี้อยู่เสมอ

    ๙. การพ้นสุขหรือทุกข์ใน โลกียวิสัย จักต้องเน้นที่จิตให้ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นสำคัญ รักษาจิตเข้าไว้ด้วยเมตตา กรุณา คือรัก สงสารจิตของตนเองก่อน มุทิตามีความอ่อนโยนให้แก่จิตของตนเอง ไม่สร้างความเร่าร้อนให้แก่จิต มีอุเบกขา คือ ความสงบ วางเฉยในสิ่งที่มากระทบอารมณ์ของจิตทั้งปวง ทั้ง ๔ ประการนี้ต้องพยายามทรงไว้เป็นอารมณ์ทั้งวัน แต่จำไว้ว่าให้ทำแบบสบายๆ ทำด้วยความพอใจ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีความรักในพรหมวิหาร ๔ มีความเพียรที่จักรักษาพรหมวิหาร ๔ และใช้ปัญญาใคร่ครวญพรหมวิหาร ๔ อยู่เสมอๆ การตัดอารมณ์ที่จักติดในปฏิกิริยาของบุคคลอื่นก็เป็นของไม่ยาก หรือตัดวางอารมณ์ปฏิกิริยาของตนเองที่ไหวไปด้วยความโกรธ โลภ หลง ก็เป็นของไม่ยาก ขอให้จงใคร่ครวญพิจารณาตามนี้ให้ดีๆ

    ก) ธรรมของพระพุทธเจ้า สอนให้เราเห็นทุกข์ตามความเป็นจริงของการเกิดมามีร่างกาย (ทุกขสัจ)

    ข) ให้เห็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อยู่ที่ใจ (สมุทัย) มี ตัณหา ๓ ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ใจยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน ไม่ยอมวาง

    ค) ให้เห็นผลของการปล่อย ละ วาง สมุทัยได้แล้ว หรือดับต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้ แล้วมีผลอย่างไร (นิโรธ)

    ง) แนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา คือ ดับการเกิดมีร่างกายได้อย่างถาวรเด็ดขาดตลอดกาล หรือพ้นทุกข์อย่างถาวร คือ ต้องเข้าสู่แดนพระนิพพานด้วยอริยสัจ ๔ เท่านั้น ทรงตรัสเน้นให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอริยสัจ ๔ เหมือนกันหมดทุกๆ พระองค์ และพระอริย สาวกของพระองค์ทุกองค์ ต่างก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยอริยสัจ ๔ ด้วยกันทั้งสิ้น มีทางนี้ทางเดียวทางอื่นไม่มี

    ๑๐. พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ตรัสสอนไว้ถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์เมื่อย่อแล้วเหลือประโยคเดียว มีความสำคัญสรุปว่า จงพร้อมอยู่ในความไม่ประมาทเถิด หรือจงอย่าประมาทนั่นเอง ดังนั้น ใครจักประมาทก็เรื่องของเขา จงอย่าสนใจปฏิกิริยาหรือจริยาของผู้อื่น เราอย่าประมาทเท่านั้นเป็นพอ ไม่ใช่หน้าที่ของเราจักไปตักเตือนเขา ให้เตือนจิตของเราเองดีกว่า ท่องคาถาบทหนึ่งว่า ช่างมัน ทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าพระหรือฆราวาส ถ้ายังตัดสังโยชน์ ๑๐ ไม่หมด ก็จักต้องมีความประมาททุกคน ภิกษุที่ละเมิดศีลก็มาจากความประมาท คิดว่าอาบัติเล็กๆ น้อยๆ ไม่เป็นไร ความชั่วที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจักเป็นมโนกรรม วจีกรรม กายกรรมก็ดี เนื่องมาจากความประมาททั้งสิ้น ประมาทเพราะขาดเทวธรรม หรือ หิริ โอตตัปปะ ประมาทเพราะขาด นิสัมมะกรณังเสยโย ประมาทเพราะคิดว่ากรรมเล็กๆน้อยๆไม่มีผล นี่เป็นหนทางแห่งความชั่วอีกทั้งประมาทเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำอะไรก็คิดว่าดีแล้วอยู่เสมอ มีความหลงเป็นที่ตั้ง คิดเข้าข้างตนเอง หลอกตนเอง ยึดทิฏฐิ คือความคิดของตนเองเป็นใหญ่ เป็นเอกาธิปไตย (ยอมหักไม่ยอมงอ หมายความว่าไม่ยอมแพ้ความชั่วของผู้อื่นเพื่อที่จะชนะความชั่วของตนเอง โลกวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ก็ด้วยเหตุนี้เอง)

    ๑๑. อย่าลืมนะเจ้า ถ้าหากความคิดประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็หันมาจับสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดใจ เพื่อเตือนสติของตนให้มีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้ว่าสังโยชน์ ๑๐ ยังไม่ขาดหมดทุกข้อ คำว่าถูกต้องโดยไม่ผิดพลาดนั้นยังไม่มี ยังมีความประมาทอยู่ อย่าหลงคิดว่าตนเองดีเป็นอันขาด แม้พระอริย เจ้าเบื้องสูงท่านตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้หมดแล้ว แต่ขันธ์ ๕ ยังอยู่ (ยังไม่ตาย) ท่านก็ยังไม่คิดว่าตนเองดี เพราะยังมีร่างกายเป็นเครื่องจองจำ มีภาระที่จักต้องเลี้ยงดูร่างกาย ท่านจึงยังอยู่ในความไม่ประมาท โดยเฉพาะความตาย มีอานาปานุสสติ มรณา และอุปสมานุสสติ อยู่ทุกขณะจิตด้วยความไม่ประมาทในธรรม ท่านทราบดีว่าผู้ที่ไม่ผิดพลาดเลย คือ รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ผิดพลาด มีแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ให้พวกเจ้าศึกษาจุดนี้ให้ดีๆ ถ้าทำได้ ความประมาทก็จักลดน้อยลงไป การตัดสังโยชน์ที่เหลืออยู่ก็เป็นของไม่ยาก

    ๑๒. สมเด็จพระพุทธกัสสป ทรงพระเมตตาตรัสสอนอุบายในการละขันธ์ ๕ โดยเฉพาะราคะ ทรงให้หลักโดยย่อว่า หากเห็นสิ่งใดว่าสวยสดงดงาม ให้เห็นเป็นนิมิตว่ามันไม่สวย โดยทำให้สิ่งนั้นหายไป หรือชำรุด แหว่ง หลุด ขาด ขนาดเล็กไป ใหญ่ไป ความสวยงามก็จะหมดไปทันที เช่น ตาสวย หากเอาลูกตานั้นออกไปเสียจะเป็นอย่างไร ผมสวย ก็ให้ผมหลุดหัวโล้นเป็นอย่างไร ฟันสวย ก็ให้ฟันหลุด ฟันหลอ ฟันหัก ฟันผุ ไม่มีฟันจะเป็นอย่างไร ผิวสวย ก็ลอกผิวนั้นออกจะเป็นอย่างไร ปากสวย ก็ให้ปากแหว่ง ปากกว้าง ปากจู๋จะเป็นอย่างไร จมูกสวย ก็ให้จมูกโหว่ จมูกหัก จมูกรูปชมพู่จะเป็นอย่างไร แม้ดูร่างกายทรวดทรงสมส่วน ก็ให้มันใหญ่โตมโหฬาร หรือผอมแห้งจะเป็นอย่างไร หรือลอกหนังเนื้อออกให้หมดเหลือแต่โครงกระดูกแล้วจะเป็นอย่างไร แม้อวัยวะเพศ และแขน ขา หากมันขาด ด้วน หงิก งอ ผิดรูปไป ขนาดมันใหญ่ไป เล็กไป จะเป็นอย่างไรเป็นต้น ในอาการ ๓๒ นี้ หากมันขาดไปหรือเล็กไปใหญ่ไปเกินพอดี ล้วนทำให้หมดความสวยงามลงทันที ทั้งหมดล้วนเป็นอุบายในการตัดอารมณ์ราคะได้หมดสิ้น แต่จงอย่าลืมว่า ให้ใช้อุบายนี้ด้วยนิมิต ใช้ปัญญาเป็นนิมิตเห็นเท่านั้น

    ที่มา :
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อารมณ์ในนิมิต

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

    ๑. อารมณ์ในนิมิต จักเป็นอารมณ์ของจิตส่วนลึกๆ ที่มีกิเลสแฝงเร้นอยู่ อันยามปกติหากยังนอนไม่หลับ บุคคลผู้เข้าถึงฌาน ก็มักจักใช้ฌานกดเก็บอารมณ์อันเป็นกิเลสนั้นๆ หรือบางคนก็อาจจักกดด้วยการพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ซึ่งยังมีกำลังอ่อนๆ อยู่

    ๒. แต่ตราบใดที่หลับแล้วด้วยความเผลอใจ มิได้กำหนดจิตให้อยู่ในฌาน ธรรมนิมิตก็จักปรากฏขึ้นมาทดสอบอารมณ์ของจิต ให้รู้ถึงส่วนลึกๆ ของความปรารถนาของอารมณ์จิตว่าเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นปกติวิสัยขิงนักเจริญพระกรรมฐาน จักต้องพบกับข้อทดสอบตลอดเวลา ไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น

    ๓. หากบุคคลใดจิตติดอยู่กับอารมณ์พระกรรมฐาน จนเป็นอารมณ์ชินแล้ว คำว่าเผลอจักมีได้ยาก ยกเว้นในบางขณะที่ร่างกายมีอาการป่วยไข้ไม่สบายเท่านั้น จุดนั้นจิตจักเพลีย มีความเผลอได้ง่าย เจ้าก็เช่นกัน ให้สังเกตดูให้ดีๆ ก่อนที่จักถึงจุดตัดหลับ หากจิตทรงฌานอยู่ในอนุสติใดอนุสติหนึ่งได้อย่างมั่นคง หรือวิปัสสนาภาวนาอยู่ได้ตลอดจนกระทั่งหลับ อาการธรรมนิมิตที่จักทำให้สอบตกนั้นไม่มี

    ๔. ยกเว้นแต่กำลังภาวนาหรือพิจารณาไป จิตเกิดมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ ๕ เข้ามาแทรกอารมณ์ของจิต ให้ออกนอกลู่นอกทางจากอารมณ์ของการเจริญพระกรรมฐาน แล้วจิตตัดหลับในขณะนั้น จุดนี้แหละ ธรรมนิมิตที่จักเข้ามาทดสอบอารมณ์ของจิต ก็แทรกเข้ามาได้ง่าย เหมือนกับประตูหน้าต่างที่มีช่องโหว่ แมลงย่อมบินเล็ดลอดเข้ามาได้ จิตว่างจากอารมณ์ของฌานหรือวิปัสสนาญาณ ฟุ้งไปเพราะนิวรณ์ ๕ เข้าแทรกก็เป็นช่องโหว่ ธรรมนิมิตก็เข้ามาได้เช่นกัน

    ๕. ต่อไปนี้พวกเจ้าต้องมีการกำหนดรู้อารมณ์ ไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่นอย่างเช่น เมื่อเช้านี้เจ้าพิจารณาวิปัสสนาได้ดี มีผลกำลังทรงตัว แต่เพียงไม่นาน ความไม่กำหนดรู้ ลืมสำรวมอายตนะ ตากระทบรูป จิตที่ขาดสติ-สัมปชัญญะก็ทิ้งธรรมที่พิจารณา หันไปฟุ้งซ่านให้นิวรณ์เข้ามากินใจแทน เยี่ยงนี้แหละเจ้าที่จักต้องกำหนดรู้อารมณ์ของจิต ไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น หากจักต้องการชนะกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ก็จักต้องทำได้ ค่อยๆ ทำไปด้วยความเพียร ต่อไปจิตจักมีอารมณ์ชิน ปิดกั้นนิวรณ์ ๕ ได้สนิทเอง

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  9. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    กราบขอบพระคุณ คุณnouk ที่ได้ยกธรรมดีมีประโยชน์มาให้ได้อ่านครับ สาธุ
     
  10. ญานทิพย์

    ญานทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +404
    วันที่22 ตุลาคม 2554 สมเด็จพระสุพรรณกัลยา ทรงนำ นิมิต ใ้ห้เห็นภูเขาถล่มแยกออกจากกัน เขื่อนใหญ่มีน้ำไหลทะล้ก สิ่งที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้ คือ แผ่นดินไหวรุนแรง พึงระวัง
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ตามที่กล่าวมาครับ แต่มันมีจุดที่พอจะแยกเเยะได้อยู่ครับ.และก็มีมาหลายๆระดับด้วย.บางครั้งแตกต่างกันไม่มาก..สำคัญที่กำลังสติของเราครับนะจุดนี้..
    อนุโมทนาสาธุครับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...