นั่งสมาธิแล้วท่อง พุทโธ พร้อมกับระลึกลมหายใจ เป็นกรรมฐานแบบไหนครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย not05012536, 4 พฤศจิกายน 2011.

  1. not05012536

    not05012536 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +34
    นั่งสมาธิแล้วท่อง พุทโธ พร้อมกับระลึกลมหายใจ เป็นกรรมฐานแบบไหนครับ

    ผมสงสัย

    ใช่อานาปนสติหรือเปล่า
     
  2. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ได้ จะว่าใช่ก็ไม่ได้

    ที่ว่า ไม่ใช่ ไม่ได้ เพราะ ครูบาอาจารย์ เขาผูกอุบายมาอย่างนั้น
    จึงก้าวล่วงไม่ได้ เมื่อภาวนาผสมมาแบบใด โดยอุบายใด ของอาจารย์
    ใด ก็ควรกลับไปถาม ผู้ให้อุบายนั้น หรือ ครูคนนั้นๆ

    ที่ว่า ใช่ ก็ไม่ได้ เพราะว่า ไม่มีปรากฏในพุทธวัจนะ ว่าให้ทำอย่างนั้น

    เพราะในพุทธวัจนะ อานาปานสติ จะมีแต่ การอาศัยระลึก เพื่อสติ อย่างเดียว
    ไม่มีการปักไปที่ ท่าทาง ปักจุด ปักหมุด หรืออาศัยเครื่องมืออื่นประกอบ นอก
    จาก กองลมทั้งปวงเพื่ออาศัยระลึกเพียงอย่างเดียว

    * * * *

    ที่นี้ คนบางคนฟังธรรมมาจากครู แล้วมาพูดต่อ ก็ไม่ตรงกับครู ครูพูดว่า
    อานาปานสติเป็นยอดของกรรมฐาน คือ เป็นปลายสุดของกรรมฐานทุกกรรม
    ฐาน กล่าวคือ เมื่อสำเร็จอรหันต์แล้วก็จะมาขมักเขม้นทำกันที่ "อานาปานสติ"
    ไม่ทิ้ง ไม่เลิก เพียงแต่ไม่ต้องศึกษาต่อ

    แต่ศิษย์เอามาพูดต่อ ผลิกมาพูดว่า เป็น บาทฐานของทุกกรรมฐาน อันนี้
    ทำให้เพี้ยน และทำให้ จขกท งง งวย ในที่สุด

    หากระลึกไว้เสมอว่า อานาปานสติ คือ สุดยอดของกรรมฐาน หรือ กรรม
    ฐานท้ายๆที่จะต้องทำกันไม่เลิก และต้องไปทำกันแน่ๆ หากไม่ตายไปเสียก่อน
    ก็จะรู้เลยว่า ที่ เอา อานาปานสติ ไปไขว้ หรือ ไปผสม หรือ ไปปนกัน
    กับ กรรมฐานอื่น นั้น เพื่อเป็นการ ประกันภัยเชิงกรรมฐาน ( แบ่งใจไปทำ
    กรรมฐานอานาปานสติเอาไว้แต่เนิ่นๆ )

    กล่าวคือ หากให้ทำกสิณ แล้วไม่ไขว้ อานาปานสติ เอาไว้ ก็รับรองได้ว่า
    จะต้องโง่ ไม่มีทางมีปัญญาแบบพุทธขึ้นมาได้ หากจะมีปัญญาแบบพุทธได้ก็
    ยากเต็มที ส่วนใหญ่แล้วไป ติดแสกนกรรม จิตสัมผัส กว่าจะสลดสังเวชกับ
    ความไม่เที่ยงแล้วกลับมาเข้าทาง ก็นานจนอาจจะสายเกินแก้

    แต่ความที่ อานปานสติ เป็นของผู้มีปัญญาแล้ว(อรหันต์) หรือ ผู้บำเพ็ญปัญญา
    (มหาบุรุษ) จึงไม่ง่ายที่จะเข้าใจได้ว่า อานาปานสติ ที่ถูกต้องนั้น คือแบบไหน
    อย่างไรแน่ กล่าวคือ ต่อให้เอา อานาปานสติไปผสมเอาไว้ ไปไขว้เอาไว้ ก็ใช่
    ว่าจะทำถูก

    ดังนั้น ที่นิยมกันต่อมาในการเอาเข้าไปผสมคือ อสุภกรรมฐาน มรณานุสติ ซึ่งกรรม
    ฐานสองตัวนี้ จะช่วยปรับให้เข้าใจว่า อานาปานสติ ที่ถูกต้องคือ ทำอย่างไร ขึ้นมา
    ได้อีก ไม่มากก็น้อย และหากเพิ่ม กายคตา เข้าไปอีก ก็จะทำให้เข้าใจ อานาปาน
    สติ ได้มากขึ้นมาอีก ตามลำดับ

    ก็จะเห็นว่า ทำกรรมฐานอื่นๆ ค่อยๆทำ ค่อยๆปรับ สิ่งที่ได้คือ เข้าใจว่า อานาปานสติ
    นั้นทำอย่างไร อยู่อย่างไร ความเข้าใจในอานาปานสติจะค่อยๆ ถูก ซึ่งจะเห็นเลยว่า
    ทุกวันนี้ ไปพูดว่า อานาปานสติ นั้นรู้เรื่องกันหมดแล้ว จนกระทั่งเอาไปพูดว่า เอาอันนี้
    เป็น "ฐาน"

    มันกลับกันระหว่าง เอาเป็น "ฐานเอาไปทำ" สลับกับ "ฐานที่หมาย"

    ทำให้ ผู้ภาวนาหลายคน ละเมอว่า เข้าใจ อานาปานสติ ทั้งๆที่ มันเป็น เป้าหมายใน
    การไปถึงต่างหาก

    * * * *

    ที่นี้ จากกระทู้ที่แล้ว ของ จขกท เรื่อง นิมิตจากกรรมฐาน ขอให้พิจารณาใหม่
    ว่า นิมิตที่ได้จากกรรมฐานต้องเป็น นิมิตติดตา หมายถึงว่า ไม่เลือกเวลาเกิด

    กล่าวคือ กำลังเดินอยู่ กินอยู่ นอนอยู่ นั่งอยู่ คิดอยู่ นิมิตในกรรมฐานใดๆนั้นก็
    เกิดโพล่งขึ้นมา เมื่อมีเหตุให้เกิด

    เช่น หลวงปู่มั่นเดินไปเข้าไปในตลาด เห็นแหม่มแต่งตัวแบบแหม่มๆ เดินมา นิมิตติด
    ตาก็ทำงานทันที เห็นแหม่มนั้นเป็นเพียงโครงกระดูกเดินผ่านหน้าไป พอหมดเหต คือ
    ผ่านไปแล้ว ไม่อยู่ในสายตาแล้ว นิมิตนั้นก็ไม่ต้องเกิดอีก เมื่อฝาหรั่งหนุ่มเดินเข้ามา
    ถามว่า เห็นแหม่มแฟนไอไหม หลวงปู่ก็เห็นเป็นผู้ชายฝาหรั่งมาเจรจาถามหาสาว ก็
    ตอบไปว่า ไม่เห็น (ทั้งๆที่เห็น คือ ที่เห็นหนะเป็นโครงกระดูก ที่ท่านเล่าได้ เพราะ
    ว่าท่านระลึกได้ว่า โครงกระดูกนั้นก็คือแหม่ม)

    ตรงนี้คืออะไร ก็กลับมาที่ อานาปานสติ มีนิมิตเห็นอะไร ก็ต้องบอกว่า ลืมตาอยู่นี่
    แหละ แต่เห็นสรรพอาการของนิมิตของอานาปานสติ ( ซึ่งมีหลายอย่างมาก ไม่ได้
    มีอย่างเดียว จนพระสารีบุตรผู้เลิศในปัญญาสรุปลงมาว่า ทุกนิมิตนั้นให้ผลคือ การระงับ
    ของกิเลสนั้นแหละ ดังนั้น อาการของนิมิตอานาปานสติจะเป็นอย่างไร เรื่องของมัน
    แต่ให้พิจารณาว่า กิเลสลดลงหรือเปล่าเป็นอรรถรสของนิมิตแทน จิตจะกลับมาเป็นหนึ่ง
    หากมีนิมิตแต่กิเลสไม่ระงับ สงสัยบานเบอะกว่าเก่า อันนั้น นิมิตโง่ นิมิตโทษ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2011
  3. satory

    satory สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +5
    พุทธานุสติ + อานปานสติ ครับ ^^

    ขอให้เจริญในธรรม ครับ
     
  4. กิดากร

    กิดากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +1,046
    ผมว่าคุณควรหยุดตั้งคำถาม แล้วขวนขวายหาความรู้ให้มากขึ้นด้วยตัวเองดีกว่า ความรู้ที่มีอยู่ในนี้ ถ้ามันทิ่มตา ทิ่มหูคุณได้คงทะลุไปแล้ว เสียงธรรมหมวดกรรมฐานในเว็บนี้มีเอาไว้ทำไม ถ้าสงสัยถึง 1 พันคำถาม จะต้องตั้งกระทู้ถามถึง 1 พันกระทู้ไหม ในสิ่งที่นัีกกรรมฐานควรรู้มีอยู่ในเทปหลวงพ่อฤาษีหมดแล้ว.
    ปล.ถ้ายังมัวสงสัยอยู่อย่างนี้ แม้แต่ฌาณก็อย่าหวังจะเอาเลย เพราะหนีนิวรไม่พ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2011
  5. khundech

    khundech Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +54
    คืออานาปนสติ ให้รู้ลมหายใจเข้าออกก็พอ อย่าไปคิดสงสัยให้มากนัก เพราะไม่ดีต่อการปฎิบัติ
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ตอบย้ำอีกครั้งแล้วกันนะครับ...

    ตอบตามหลวงพ่อฤาษีลิงดำนะครับ...หลวงพ่อท่านเคยสอนว่าเป็น อานาปานุสสติกรรมฐาน พ่วงด้วย พุทธานุสสติกรรมฐาน ครับ (โมทนากับท่านข้างบนที่ตอบไปก่อนแล้ว)....

    จริงๆมันเป็นอุบายนะครับ....คำบริกรรมต่างๆเป็นอุบาย....เนื่องจากธรรมชาติของอานาปานุสสติ เป็นกรรมฐานที่เบา หลุดได้ง่าย...ท่านจึงพ่วงเข้าไปเพื่อให้ง่ายแก่การปฏิบัติ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2011
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ใช่ค่ะ...อานาปานสติ เป็นสมถะกรรมฐานค่ะ ซึ่งรวมทุกๆ กรรมฐานเบ็ดเสร็จในตัวค่ะ ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เดี๋ยวรู้เอง เมื่อถึงที่สุดแล้วให้เจริญปัญญาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...