กรุงศรีธรรมโศกถูกสาปจริงหรือ...?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพนิมิตร, 31 มีนาคม 2007.

  1. เทพนิมิตร

    เทพนิมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +265
    พอดีไปอ่านเจอบทความนี้เข้าเลยนำมาให้อ่านนะครับ

    ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองนครศรีธรรมราช แต่เดิมเคยมีชื่อว่า กรุงศรีธรรมโศก ดังนั้นกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักร
    ซึ่งมีกรุงศรีธรรมโศก เป็นเมืองหลวง จึงทรงเฉลิมพระนามว่า พระเจ้ากรุงศรีธรรมโศกราช แต่ศิลาจารึกหลักที่ 24
    ซึ่งพระราชาผู้ทรงพระนามว่า จันทรภาณุ เป็นผู้สลักขึ้นใน พ.ศ. 1773 กลับเรียกชื่อเมืองนี้ว่า กรุงตามพรลิงค์
    แต่หนังสือตำนานไทยเหนือเรียกวา เมืองศิริธรรมนคร นอกจากนั้นเอกสารเก่าแก่ทางศาสนาขนานนามเมืองนี้ว่า กรุงปาฏลีบุตร

    .......จนถึงปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกัน ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่า เมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ ไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
    หรือที่ เมืองพระเวียง จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือว่าที่เมืองปาเล็มบัง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา
    แต่จากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 35 พบที่บ้านดงแม่นางเมือง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจนว่า
    พระเจ้ากรุงศรีธรรมโศกราช ทรงมีรับสั่งให้ พระเจ้ากรุงสุนัต กัลปนาที่ดินอุทิศข้าคนและสิ่งของเพื่อบูชา
    พระสรีธาตุของพระเจ้ากรุงศรีธรรมโศกราช องค์ที่ล่วงลับไปแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ มหาเสนาบดีชื่อ ศรีภูวนาทิตย์อิศวรทวีป
    อัญเชิญพระกระแสพระโองการมายังกรุงสุนัต ในวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม พ.ศ. 1710
    .......แต่เดิมนักประวัติศาสตร์ไทยไม่ทราบว่า พระเจ้ากรุงศรีธรรมโศก เป็นกษัตริย์ครอบครองบ้านเมืองใด ถกเถียงกันไปต่างๆนานา
    เพราะไม่มีใครรู้ว่าประวัติศาสตร์ศรีวิชัยมีความเป็นมาอย่างไร ครั้นค้นพบจารึกที่ฐานพระพุทธรูปนาคปรกสำริด แห่งเมืองไชยา
    หรือที่เรียกว่าหลักจากรึกที่ 25 กล่าวถึง กมรเตงอัญ มหาราช ศรีมัตไตรโลกยราช เมาลิภูษนวรรมเทวะ ทรงมีพระราชโองการ
    ให้มหาเสนาบดีชื่อ คลาไน เจ้าเมืองครหิ หรือ เมืองไชยา อาราธนา มรเตง ศรีบาโน ให้สร้างพระพุทธรูปนาคปรกสำริด เพื่อให้มหาชนบูชา
    ในพ.ศ. 1726
    อันเป็นระยะเวลาห่างจากศิลาจารึก ดงแม่นางเมืองเพียง 16 ปี เมื่อนำเอาข้อความในจดหมายเหตุจีน สมัยราชวงศ์ซ้อง ที่กล่าวว่า "ใน พ.
    ศ. 1711 กษัตริย์พระองค์ใหม่ของ อาณาจักรซันโฟซี หรือ อาณาจักรศรีวิชัย เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนพระราชบิดา" จึงเชื่อกันว่า
    พระเจ้ากรุงศรีธรรมโศก ซึ่งปรากฏพระนามในศิลาจารึกหลักที่ 35 เป็นกษัตริย์ศรีวิชัย ทรงพระนามว่า "กมรเตงอัญ มหาราช
    ศรีมัตไตรโลกยราช เมาลิกูษนวรรมเทวะ"

    .......หลักฐานเท่าที่หยิบยกมานี้แสดงให้เห็นว่า ในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 17 กรุงศรีธรรมโศก เมืองนครศรีธรรมราช
    เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งจดหมายเหตุจีนเรียกว่า อาณาจักรซันโฟซี ตัดปัญหาถกเถียงกันว่าเมืองไชยา
    เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ไปอย่างเด็ดขาด เพราะในสมัยนั้น เมืองไชยามีชื่อว่า เมืองครหิ
    เป็นเมืองบริวารแห่งหนึ่งของกรุงศรีธรรมโศก นอกจากนั้นยังเป็นหลักฐานยืนยันว่าในสมัยนั้น
    อาณาจักรศรีวิชัยได้แผ่ขยายอำนาจขึ้นไปครอบครองดินแดนไปถึง แถบที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ล่วงเลยขึ้นไปถึงลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง
    ซึ่งเรื่องราวเล่านี้ ไม่มีอยู่ในตำราประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นถ้าไม่ยึดถือหลักฐานสำคัญในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อให้มั่นคงแล้ว
    จะเกิดความสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก เสนอความคิดเห็นอะไรทำให้ผิดพลาดไปหมด เพราะว่าหลังจาก มหาราชแห่งศรีวิชัยได้แผ่ขยายอำนาจ
    เข้ามาแย่งชิง อาณาจักละโว้ กลับคืนจากเขมรได้ไม่นาน มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ของเขมรพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า "พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 "
    ทรงทำสงครามขับไล่กองทัพจามปา ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติกรุงกัมพูชา ใน พ.ศ. 1724

    .......ต่อจากนั้นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ของเขมรพระองค์นี้ ทรงผูกสัมพันธ์กับกษัตริย์ไทยแห่งอาณาจักรศรีสัชนาลัย
    หรือที่จดหมายเหตุจีนเรียกว่า"อาณาจักรเจนลีฟู " กษัตริย์ไทยพระองค์นี้ปรากฏพระนามในศิลาจารึกวัดศรีชุมว่า "พระยาศรีนาวนำถุม "
    พระราชบิดาของ "พระยาผาเมือง " ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงพระราชทานพระธิดาพระนามว่า"พระนางสุขรมหาเทวี "
    ให้อภิเษกสมรสและทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น "ศรีอินทรบดินทราทิตย์ " พร้อมทั้งพระราชทานพระขรรค์ไชยศรี
    ให้แก่ราชบุตรเขยของพระองค์
    .......เรื่องราวอันสับสนทางประวัติศาสตร์ในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แผ่ขยายอำนาจเข้ามาไล่กองทัพศรีวิชัยแย่งชิงดินแดน อาณาจักรละโว้
    กลับคืนไปได้ราว พ.ศ. 1730 เพราะราชทูตฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลา ลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์
    จดบันทึกถึงพัฒนาการของราชวงศ์กษัตริย์ไทยไว้ว่า
    .......เมื่อพุทธกาลล่วงมาได้ 1730 พรรษา พระพนมศิริไชย ซึ่งคงหมายถึง พระยาศรีนาวนำถุม แห่งศรีสัชนาลัย-สุโขทัย แต่ราชทูต เดอ ลา
    ลูแบร์ เรียกว่า เมืองนครไทย ได้เสด็จลงมาสร้าง พระนครพริบพรี หรือ เมืองเพชรบุรี เป็นที่ประทับ สืบราชวงศ์ดำรงราชสมบัติมาได้
    4 ชั่วกษัตริย์ จนถึงรัชกาลพระรามาธิบดีอู่ทอง พระองค์ได้เสด็จไปสร้าง กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา ที่ตำบลหนองโสน
    เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วได้ 1893 พรรษา สืบกษัตริย์ขัติยวงศ์ลงมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์
    .......หากนำหลักฐานของราชทูตเดอ ลา ลูแบร์ มาประกอบกับข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 24 ซึ่งพบที่วัดเสมาเมือง อำเภอเมือง
    จังหวัดนครศรีธรรมราช มีข้อความกล่าวว่า พระเจ้าจันทรภาณุ ทรงทำสงครามขับไล่ ชนชาติต่ำช้าที่เข้ามาปกครอง กรุงตามพรลิงค์
    ให้กลับรุ่งเรืองขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 1773 อาจทำให้สันนิฐานได้ว่าหลังจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
    ทรงแผ่ขยายอำนาจเข้ามาแย่งชิงดินแดนอาณาจักรละโว้กลับคืนไปได้ กองทัพของพระองค์คงสมทบกัน กองทัพอาณาจักรศรีสัชนาลัย
    ยาตราลงไปปิดล้อมโจมตี กรุงศรีธรรมโศก จนแตกพ่ายและสามารถยึดครองเอาไว้ได้ และตั้งฐานทัพเพื่อคอยคุมดินแดนในคาบสมุทรภาคใต้
    อยู่ที่เมืองเพชรบุรี ครั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต บ้านเมืองเกิดความจลาจล ราชวงศ์กษัตริย์ไทยคงประกาศอิสรภาพ
    ไม่ยอมอยู่ใต้พวกเขมร ถือโอกาสยึดครองดินแดนในประเทศไทยไว้ในอำนาจ โดยฝ่ายไทยเหนือมีศูนย์อำนาจอยู่ที่ นครศรีสัชนาลัย
    ส่วนไทยใต้มีศูนย์กลางอำนาจที่ พระนครพริบพรี จะเห็นได้ว่าในสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ไทย กรุงศรีอยุธยายังมิได้สถาปนาขึ้นแต่อย่างใด
    กรุงสุโขทัยก็เป็นแค่เมืองบริวารของ นครศรีสัชนาลัย เนื่องจากพระยาผาเมือง ทรงโปรดยกเมืองสุโขทัย ให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว ผู้เป็นสหาย
    และพระราชทานนามว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ด้วยเหตุนี้กรุงสุโขทัย จึงไม่ใช่เมืองหลวงแห่งแรกของชนชาติไทย ดังที่เคยเข้าใจกันมา
    .......เราไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยกกองทัพไปโจมตีและยึดกรุงตามพรลิงค์ หรือ กรุงศรีธรรมโศก ได้นั้น
    พระองค์ทรงสาปกรุงศรีธรรมโศกอย่างไร คงพบแต่ร่องรอยการสร้างพระพุทธรูปศิลาทรายสีแดง ตามแหล่งโบราณสถานต่างๆ
    อันแสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างไทยก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้เข้าใจได้ว่าดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ในแถบนั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกคนไทย
    หลังจากพวกเขมรถอยกลับไป ต่อมา พระเจ้าจันทรภาณุ เสด็จนำกองทัพมาจากประเทศศรีลังกา
    ซี่งสมัยนั้นอาณาจักรนี้แผ่ขยายอำนาจไปครอบครอง เกาะชุนดา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะชวา หากยึดถือหลักฐานของ เจาจูกัว
    ที่เขียนไว้ใน พ.ศ. 1768 จะเห็นได้ว่าอาณาจักรศรีวิชัย
    เป็นชาติมหาอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในแถบทะเลใต้แตกต่างจากความเข้าใจของนักประวัติศาสตร์ไทย และทำให้เข้าใจเรื่องราว
    ในคัมภีร์จุลวงศ์พงศาวดารลังกาที่จดบันทึกว่า"ชวากะราชา พระนามจันทรภาณุ ยกกองทัพเรือไปย่ำยีลังกา"
    ก็เพื่อปราบปรามกบฏของชาวสิงหล ซึ่งต่อต้านอำนาจของพวกศรีวิชัย หลักฐานเหล่านี้เป็นพยานได้เป็นอย่างดีว่าในสมัยนั้น กรุงศรีธรรมโศก
    หรือ เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิศรีวิชัยอย่างแน่นอน แม้ว่าต่อมากองทัพเขมรและกองทัพไทย ในสมัย
    พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สนธิกำลังกันยึดครองกรุงศรีธรรมโศกไว้ได้ แต่ไม่มีกองทัพเรือที่ทรงประสิทธิภาพเพียงพอที่จะติดตามปราบปรามบ้านเมือง
    บริเวณปลายแหลมทอง และบนเกาะสุมาตราให้ราบคาบได้ ดังนั้นในราว พ.ศ. 1773 พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช
    จึงเสด็จยกกองทัพไปทำสงครามขับไล่กองทัพชนชาติศัตรู
    ดังปรากฏในข้อความศิลาจารึกของพระองค์ว่า"ชนชาติต่ำช้าที่เข้ามาปกครองให้สว่างรุ่งเรือ
    เป็นไปได้หรือไม่ว่า หลังจากพระเจ้าจันทรภาณุเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงตามพรลิงค์ทรงเฉลิมพระนามว่า พระเจ้ากรุงศรีธรรมโศกราช
    ในขณะนั้นพวกชนชาติไทยที่ตั้งมั่นอยู่ที่พระนครพริบพรี เริ่มมีความเข้มแข็งแกร่งกล้า รวบรวมนครรัฐ ในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง
    รวมตัวกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นใหม่ ต่อจากนั้นได้ย้ายศูนย์กลางอำนาจขึ้นไปตั้งใหม่ที่ เมืองอโยธยา
    ติดต่อสัมพันธ์กับกษัตริย์ลังกาเชื้อสายสิงหล ซึ่งตั้งบ้านเมืองอยู่ทางตอนใต้ของเกาะลังกามี กรุงทัมพะเทนิยะเป็นเมืองหลวง
    ดำเนินนโยบายทางการเมือง หนุนหลังให้กองทัพสิงหลบุกขึ้นไปโจมตีพวกศรีวิชัย ที่กรุงโปโลนนะรุวะ จึงเป็นเหตุให้พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช
    เสด็จยกกองทัพไปโจมตีแก้แค้นถึง 2 ครั้ง 2 ครา สูญเสียผู้คนและทรัพย์สินไปไม่น้อย กองทัพเรือกรุงศรีธรรมโศก จึงอ่อนเปลี้ยลงตามลำดับ
    ยิ่งต้องทำสงครามรบพุ่งกับพวกชาวไทยที่แผ่ขยายอำนาจลงไปยึดครองบ้านเมืองจนถึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยแล้ว
    กองทัพนครศรีธรรมราชยิ่งอ่อนแอลง ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชจึงกล่าวว่า การทำสงครามกันระหว่างกรุงศรีธรรมโศก กับพระเจ้าอู่ทอง
    ไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ ในที่สุดตกลงทำสัญญาสันติภาพ หลั่งน้ำทักษิโณทกอธิษฐานเป็นพระญาติวงศ์กันสืบไป

    .......ความพยายามปะติดปะต่อหลักฐานเท่าที่มีอยู่ตามแนวทางดังกล่าวนี้ น่าเชื่อว่าการทำสงครามระหว่าง พญาศรีธรรมโศก หรือ
    พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมโศกราชคงครองราชย์สมบัติสืบต่อมาไม่นานก็สวรรคต
    ไม่มีหลักฐานว่าพระองค์ทรงมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาบ้างหรือไม่ หรือเกิดปัญหาการแย่งชิงราชบัลลังก์กันอย่างไร
    คงทราบเรื่องราวจากตำนานเมืองนครแต่เพียงว่า
    .......
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เทพนิมิตร

    เทพนิมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +265
    ขอโทษครับกดผิดที่นะครับมันเลยขึ้นมา2ครั้งนะครับ ช่วยลบให้เหลือ 1 กระทู้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...