พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ลุงไชย, 11 มกราคม 2012.

  1. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    <O:p</O:p

    ท่านพระอาจารย์เล่าว่า พระอริยบุคคลในยุครัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระโอรสของรัชกาลที่ 4 นั้นเอง เป็นองค์แรก

    [​IMG]



    <O:p</O:p
    ท่านเป็นพระอริยบุคคลโสดาบัน ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ เทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระสหาย เพื่อปลดเปลื้องคำปฏิญญาที่พระพุทธเจ้าได้ให้ไว้ เมื่อเสด็จออกผนวชครั้งแรก (พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพบพระโพธิสัตว์สิทธัตถะเมื่อทรงออกผนวชแล้ว และได้ตรัสปฏิญญาว่า"ถ้าพระองค์ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงเสด็จมาที่แว่นแคว้นของหม่อมฉันก่อน" พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงรับปฏิญญาของพระเจ้าพิมพิสารไว้ -ภิเนษกรมณ์)
    <O:p</O:p
    พระชาติปัจจุบันของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นชาติที่ 7 ชาติสุดท้าย ทรงแตกฉานในจตุปฏิสัมภิทาญาณ อย่างสมบูรณ์แบบในยุคนี้
    <O:p</O:p
    ท่านพระอาจารย์ยกตัวอย่าง ความสามารถที่ไม่มีใครเทียบสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ว่า แต่ก่อนพวกบัณฑิตที่เรียนบาลี คือ มูลกัจจายน์คัมภีร์ สนธิ-นาม ต้องเรียนถึง 3 ปี จึงแปลบาลีออก สมเด็จฯ ทรงรจนาบาลีไวยกรณ์ให้กุลบุตรเล่าเรียน ในปัจจุบัน 3 เดือน ก็แปลหนังสือบาลีออกนั่นอัศจรรย์ไหมท่าน
    <O:p</O:p
    ท่านพระอาจารย์เล่าต่อไปว่า เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงรจนาวินัยมุขเล่ม 1 หลักสูตรนักธรรมตรี จิตของพระองค์กำหนดวิปัสสนาญาณ 3 ที่กล่าวมาแล้ว คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ ได้บรรลุชั้นสกิทาคามี
    <O:p</O:p
    ต่อมาพระองค์เสด็จประพาสสวนหลวง เมืองเพชรบุรี ทรงรจนาธรรมวิจารณ์ พระหฤทัยของพระองค์ก็บรรลุพระอนาคามี
    <O:p</O:p
    พระองค์ทรงมีภาระมาก ดูจะทรงรีบเร่งเพื่อจัดการศึกษา และปฏิบัติสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ประกอบกับสุขภาพของพระองค์ ก็อย่างที่พวกเราเห็นในพระฉายาลักษณ์นั้นเอง ดูจะทรงงานมาก ผอมไป และยุคนั้นการแพทย์ก็ไม่เจริญ แต่พระองค์ก็บำเพ็ญกรณียกิจ จนเข้ารูปเข้ารอย จนพวกเราสามารถจะประสานต่อไปได้ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นสังขารของพระองค์ ว่าไปไม่ไหวแล้ว จึงเร่งวิปัสสนาญาณ สำเร็จพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน
    <O:p</O:p
    นี่คือคำบอกเล่าของท่านพระอาจารย์มั่นที่ผู้เล่าได้ฟังมา


    ...........................................................................................................................................................................


    ที่มา เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๑ จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  2. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
  3. นกยูงเงิน

    นกยูงเงิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +25
    สาธุ ๆๆๆ กราบน้อมนอบต่อพระอรหันต์ผู้เจริญ ธรรมใดที่พระองค์รู้ เห็นแล้วข้าพระพุทธเจ้าของรู้ธรรมนั้น ๆ ได้ง่ายด้วยเถิด
     
  4. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    <TABLE id=table1 border=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD>สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

    เจ้าอาวาสลำดับที่ ๓ พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๖๔




    </TD></TR><TR><TD>สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมกพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้นทรงดำรงพระยศเป็นกรมพระ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงผนวชเป็นสามเณร[​IMG]อยู่ ๘ เดือน จึงทรงลาผนวช เมื่อพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาแล้ว ก็ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระจันทรโคจรคุณ (จนฺทรํสสี ยิ้ม) วัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับ ณ วัดนี้ แต่ในพรรษาที่ ๒-๓ เสด็จไปประทับที่วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร ในสำนักพระจันทรโคจรคุณ พระกรรมวาจาจารย์ที่ทรงเคารพนับถือมาก ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม จนทรงมีพระปรีชาแตกฉานในภาษาบาลี แต่ทรงสอบเป็นเปรียญเพียง ๕ ประโยคเสมอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนกนาถ ได้ทรงรับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่ากรมหมื่นวชิรญาณวโรรส



    ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๒๔ เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงรับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ถึงพ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงเลื่อนพระยศเป็นกรมหลวง พ.ศ.๒๔๕๓ ได้ทรงรับมหาสมณุตตมาภิเษกและเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยา เป็น สกลมหาสังฆปรินายก ประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร ถึง พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระอัจฉริยะในวิทยาการต่างๆ หล[​IMG]ายสาขา คือ พระพุทธศาสนาภาษาต่างๆ (เช่น บาลี อังกฤษ สันสกฤต ฝรั่งเศส และภาษาโบราณ) การศึกษา การปกครอง วิทยาการสมัยใหม่ต่างๆ อีกมาก ซึ่งจจะเห็นได้จากผลงานในด้านต่างๆ ของพระองค์


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเป็นพระองค์หนึ่ง ที่ได้ทรงร่วมสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติ ในสมัยที่ประเทศชาติกำลังปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการศึกษา ทั้งทางการศึกษาของคณะสงฆ์ทั้งทางการศึกษาของชาติ พระองค์ได้ทรงดำเนินการตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ.๑๑๒ ได้ทรงนำวิธีการและวิชาการแบบใหม่เข้ามาทดลองสอนและสอบในมหากุฎฯ เป็นการแรกเริ่ม ทรงให้นักเรียนในมหามกุฎราชวิทยาลัย เรียนทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาอังกฤษ ให้เรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้นและวิชาการอย่างใหม่อื่นๆ ทรงพระนิพนธ์ตำราสำหรับเรียนภาษาอังกฤษ และตำราคณิตศาสตร์เบื้องต้นสำหรับใช้สอนในมหามกุฎราชวิทยาลัย คือ ให้มีการสอบด้วยการเขียน มีการคิดคะแนนในการสอบเป็นเครื่องตัดสินการสอบว่าได้หรือตกและเป็นเครื่องวัดผลการศึกษาและความรู้ความสามารถของนักเรียนโดยพระองค์ทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการคิดคะแนนลงเป็นแบบแผนสำหรับใช้ในมหามกุฎราชวิทยาลัยด้วยพระองค์เอง ทรงทดลองใช้วิธีการแบบใหม่เหล่านี้ในโรงเรียนของมหามกุฎราชวิทยาลัยจนเป็นที่นิยมแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว และได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี เป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสนับสนุนและสรรเสริญวิธีการเหล่านั้นว่าเป็นวิธีการที่ดี ประจวบกับในเวลานั้น


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริในอันที่จะขยายการศึกษาออกไปยังหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร และมีพระราชประสงค์ให้วัด ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาของกุลบุตรมาแต่โบราณกาลแล้ว เป็นที่ตั้งโรงเรียนสอนเด็กตามแบบและหลักสูตรที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ให้เป็นแบบเดียวกัน เป็นการตั้งต้นการศึกษาแบบปัจจุบัน และให้พระภิกษุเป็นผู้ช่วยรับภาระต่างๆ จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ทรงรับภาระอำนวยการให้พระภิกษุสงฆ์สั่งสอนกุลบุตร และบังคับการพระอารามในหัวเมืองตลอดพระราชอาณาจักร


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น ได้ทรงรับสนองพระราชประสงค์ในการนี้ และพระองค์ได้ทรงนำเอาวิธีการและแบบอย่างต่างๆ ที่เคยทรงใช้ในโรงเรียนของมหามกุฎราชวิทยาลัยมาก่อน และได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีแล้วนั้นเอง มาเลือกใช้และจัดปรับปรุงให้เหมาะสมในการจัดการศึกษาในหัวเมืองน็ สนองพระราชประสงค์ในการพัฒนาประเทศชาติในด้านการศึกษาให้สำเร็จลุล่วง[​IMG]ไปด้วยดี และประโยชน์อันสำคัญอีกประการหนึ่งของมหามกุฎราชวิทยาลัยก็คือ เป็นที่ฝึกอบรมพระภิกษุทั้งในกรุงเทพฯ และจากหัวเมืองเพื่อให้เป็นครู สำหรับส่งออกไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ ในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร ในการนี้พระองค์ท่านต้องทรงทุ้มเทกำลังพระปรีชาสามารถ และพระวิริยะอุตสาหะอย่างมากมาย เพราะต้องทรงดำริจัดการทุกอย่างด้วยพระองค์เอง เพื่อให้การศึกษาเจริญรุ่งเรืองตามพระราชประสงค์ เช่น ทรงพระดำริจัดหาและสร้างหลักสูตรสำหรับ การเล่าเรียนของกุลบุตรในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร ทรงแนะนำชักชวนกุลบุตรทั้งหลายให้นิยมยินดีในการศึกษา ทรงซักนำประชาชนให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาและช่วยกันสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นที่เล่าเรียนของบุตรหลานของพวกเขาเอง ทรงจัดฝึกอบรมพระสงฆ์ผู้มีความรู้ความสามารถให้เข้าใจในการศึกษาแล้ว ตั้งให้เป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองประจำมณฑลต่างๆ และทรงเป็นผู้ที่จะต้องคอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาขัดข้องต่างๆ ให้ลุล่วงไป ด้วยพระปรีชาสามารถอันสุขุมคัมภีรภาพเนื่องมาจากพระดำริและการจัดการของพระองค์เป็นการเริ่มแรกนี้เอง จึงได้มีโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเกิดขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้

    ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นบุคคลสำคัญพระองค์หนึ่งข[​IMG]องชาติไทย ในด้านการวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งได้ค่อยๆ พัฒนามาเป็นการศึกษาในระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ พระปรีชาสามารถต่างๆ ในด้านการวางแผนและทำให้การศึกษาของชาติเจริญแพร่หลายออกไปทั่วพระราชอาณาจักรนั้น จะพบหลักฐานได้จากเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของชาติในสมัยนั้น
    ในด้านการศึกษาคณะสงฆ์นั้น กล่าวได้ว่า พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้กำเนิดการศึกษาแบบใหม่ของคณะสงฆ์ พระองค์ทรงเปลี่ยนระบบต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของคณะสงฆ์ จากระบบโบราณซึ่งยากแก่การเล่าเรียน ต้องใช้เวลามาก และไม่แพร่หลายทั่วไปแก่พระสงฆ์ มาเป็นระบบการเล่าเรียนแบบใหม่ ซึ่งทำให้การเล่าเรียนง่ายขึ้นได้ผลรวดเร็วขึ้น และแพร่หลายออกไปสู่พระภิกษุสามเณรทั่วพระราชอาณาจักร พระองค์ได้ทรงนำหลักสูตรและวิธีการแบบใหม่ที่พระองค์ทรงดำริขึ้น มาทดลองใช้ในสำนักเรียนของวัดบวรนิเวศวิหารก่อน พระองค์ทรงใช้ตำราที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่คือ การสอบโดยการเขียนแก่พระนวกะ ในสำนักวัดบวรนิเวศวิหารเช่นเดียวกันเริ่มแต่ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๔๖) (ตามหลักฐานเอกสาร) เป็นต้นมาจนเป็นที่ตระหนักแก่พระหทัยว่า เป็นวิธีการที่ดีและให้ประโยชน์ในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
    ต่อมา พระองค์จึงได้ทรงนำการศึกษาแบบใหม่ที่พระองค์ทรงพระดำริขึ้น และทดลองจนเป็นที่ได้ผลนี้ มาตั้งเป็นแบบการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ พระองค์ได้เปิดการสอบ องค์ของสามเณรรู้ธรรม ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์สำหรับสามเณรผู้ที่ควรจะได้รับการยกเว้นจากการถูกเรียกเป็นทหาร ตามพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) และการศึกษาแบบใหม่นี้ก็ได้เจริญสืบมาจนปัจจุบันนี้ ดังที่ทราบกันทั่วไปในขณะนี้ว่า นักธรรมซึ่งมี ๓ ชั้น คือนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอก อันเป็นการศึกษาขั้นมูลฐานของคณะสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรอยู่ในบัดนี้ ทรงรจนาหลักสูตรสำหรับนักธรรมชั้นตรี-โท-เอกขึ้นใช้ เป็นเหตุทำให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความเข้าใจ และประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยดีขึ้นโดยทั่วไป ทรงเปลี่ยนระบบการสอบพระปริยัติธรรมภาษาบาลีแบบแปลปาก มาเป็นแบบแปลโดยวิธีเขียน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ทรงทดลองใช้ในโรงเรียนของมหามกุฎราชวิทยาลัยมาก่อนเช่นเดียวกัน ได้ทรงนำวิธีแปลโดยวิธีเขียน มาใช้ในการสอบสนามหลวงเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔ ในการสอบประโยค ๑-๒










    เมื่อทรงเห็[​IMG]นว่าเป็นการสะดวกและเป็นผลดีต่อการศึกษา จึงได้ประกาศใช้เป็นทางราชการสำหรับการสอบทุกประโยคเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งเป็นผลทำให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความชำนาญในอักขรวิธี และการเขียนอ่านภาษาไทยดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ทรงปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรสำหรับบาลีประโยคต่างๆ ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้เล่าเรียนไปแล้วทรงชำระคัมภีร์ปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้เป็นหลักสูตรบาลีประโยคนั้นๆ ทรงรจนาบาลีไวยากรณ์ขึ้น สำหรับเป็นหลักสูตรในการศึกษาบาลี และทำให้การศึกษาภาษาบาลีง่ายขี้นกว่าแต่ก่อน ตำราและหลักสูตรทั้งหลายเหล่านี้ ได้ใช้สำหรับการศึกษาของคณะสงฆ์ตลอดมา ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกในยุคของพระองค์จนปัจจุบันนี้


    หลักสูตรนักธรรมและบาลีที่พระองค์ทรงรจนาและชำระนี้ นอกจากจะใช้อยู่ในพระราชอาณาจักรไทยแล้ว ประเทศใกล้เคียงบางประเทศก็ได้นำไปใช้เป็นหลักสูตรบ้าง เป็นหนังสือประกอบบ้าง สำหรับการศึกษาของพระสงฆ์ในประเทศนั้นๆ อีกด้วย พระเกียรติคุณของพระองค์ ในด้านการรจนาตำรับตำราทางพระพุทธศาสนานั้น จึงมิใช่จะปรากฏอยู่เพียงภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปในนานาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาหรือที่สนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา พระนิพนธ์ที่เป็นหลักสูตรในการศึกษาทางพระพุทธศาสนาหลายเรื่องได้แปลออกเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น นวโกวาทวินัยมุข เล่ม ๑-๒ ธรรมวิภาคธรรมวิจารณ์และอุปสมบทวิธีเป็นต้น พระเกียรติคุณของพระองค์ท่านจึงเป็นที่รู้จักกันในกลุ่มผู้รู้และนักศึกษาชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น


    ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้น พระองค์ทรงตระหนักดีว่าการศึกษา และปฏิบัติธรรมนั้นเจริญแพร่หลายอยู่ในหมู่ของพระสงฆ์และในวงของนักปราชญ์บางเหล่าเท่านั้น ไม่แพร่หล[​IMG]ายไปในหมู่ประชาชนส่วนมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ก็เท่ากับว่าการเผยแพร่และการปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จประโยชน์แก่มหาชนตามความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงวางแนวแห่งการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและจัดระดับธรรมต่างๆ สำหรับสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้เหมาะสมกับบุคคลในระดับชั้นนั้นๆ ที่จะศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง เพื่อให้สำเร็จความมุ่งหมายดังกล่าวนี้ จึงจะได้ทรงรจนาหนังสือเบญจศีลเบญจธรรม และธรรมวิภาค ภาคคิหิปฏิบัติแสดงคำสอนเบื้องต้นของพระพุทธศาสนาสำหรับสามัญชนทั่วไปจะได้ศึกษา และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทรงรจนาอรรถศาสน์ แสดงประโยชน์อันบุคคลจะพึงได้ในชาตินี้ และชาติหน้าตามคติทางพระพุทธศาสนา อันเป็นคำสอนที่สูงขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งเป็นกลาง และทรงรจนาธรรมวิจารณ์ แสดงคำสอนชั้นสูงทางพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้สนใจในการปฏิบัติธรรมชั้นสูง จะได้ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติเป็นต้น


    นอกจากนี้ ได้ทรงเป็นผู้ริเริ่มในการรจนาหนังสือธรรมแสดงคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาอย่างง่ายๆ เช่น ทรงรจนาเทศนาด้วยถ้อยคำและสำนวนแบบธรรมดา เหมาะแก่กาลและสมัย เป็นแบบอย่างสืบมาจนบัดนี้ พระดำริเริ่มในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นประโยชน์และเป็นที่ต้องพระราชประสงค์ ในการที่จะทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงอาราธนาให้ทรงรจนาพระธรรมเทศนาส่องไปแจกตามวัดต่างๆ ในหัวเมืองเพื่อพระภิกษุสามเณรจะได้ศึกษาและใช้เทศนาสั่งสอนประชาชน


    การคณะสงฆ์ พระองค์ก็ได้ทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เข้าระเบียบอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ทรงจัดการศึกษาหัวเมืองซึ่งอาศัยผู้อำนวยการศึกษามณฑลต่างๆ และพระสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรรายงานความเป็นไปของคณะสงฆ์ให้ทรงทราบ จึงได้เกิดมีพระราชบัญญัติลัก[​IMG]ษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ขึ้นเป็นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัตินี้ จัดแบ่งส่วนการปกครองเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีเถรสมาคม มีเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะตามลำดับชั้น จนถึงเจ้าอาวาสปกครองบังคับบัญชากันเป็นชั้นๆ ตามลำดับ เถรสมาคมอยู่ในฐานะเป็นที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาของพระมหากษัตริย์ พระองค์ประทับเป็นประธานในเถรสมาคม ทรงประชุมปรึกษาและประทานพระมหาสมณวินิจฉัย ทรงวางระเบียบต่างๆ อันเป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยด้วยความเรียบร้อย ทรงสอดส่องดูแลให้พระภิกษุสามเณรประพฤติอยู่ในสมณวิสัย ต่อมาในรัชกาลที่๖ (พ.ศ.๒๔๕๓) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าถวายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นับเป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ได้ปกครองกันเอง เพราะก่อนแต่นั้น คณะสงฆ์ไม่ได้มีอำนาจปกครองกันเอง จึงทำให้เกิดการอากูลหลายอย่าง แต่เมื่อทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้มาอยู่กับพระเถระตามลำดับชั้น ก็ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นสัดส่วน ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
    [​IMG] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แม้ว่าจะทรงเป็นเจ้านายสุขุมาลชาติ แต่ในสมัยที่ทรงบริหารการคณะสงฆ์ และทรงจัดการศึกษาของชาติในส่วนหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร ก็ได้เสด็จออกไปตรวจการณ์การคณะสงฆ์และการศึกษาในหัวเมืองมณฑลต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรเท่าที่จะสามารถเสด็จไปถึงเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ บางแห่งที่เสด็จไป ต้องทรงลำบากพระวรกายเป็นอย่างมากบ่อยครั้งต้องเสด็จดำเนินไปด้วยพระบาทเปล่า จากตำบลหนึ่งไปสู่อีกตำบลหนึ่ง แต่พระองค์ก็ทรงมีพระขันติและวิริยะอุตสาหะ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนาและการศึกษาของชาติ โดยมิเคยทรงนำพาถึงความทุกข์ยากส่วนพระองค์
    พระจริยาวัตรต่างๆ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นดังกล่าวมาแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า ได้ทรงพระปรีชาสามารถเพียงไหน ทรงบำเพ็ญประโยชน์อันเป็นพระคุณูปการแก่พระศาสนาและประเทศชาติเพียงไร ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่เพื่อความเจริญวัฒนาการของพระศาสนาและชาติโดยแท้ สมเป็นปูชนียบุคคลที่ควรเคารพบูชาของชาติไทย เป็นผู้ที่อนุชนจะพึงเคารพบูชาและถือเป็นเนตติแบบอย่างในการบำเพ็ญประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติสืบไป
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราช[​IMG]อุปัธยาจารย์ของพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าและพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอีกหลายพระองค์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายกได้ ๑๒ ปี ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารได้ ๒๙ ปี สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๔ พระชนมายุ๖๒ พรรษา...





    ที่มา http://www.watbowon.com/Monk/ja/03/








    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2012
  5. คุณชัชช์

    คุณชัชช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +725
    ขอร่วมโมทนาสาธุด้วยครับ ขอให้บุญรักษาทุกๆท่านจนกว่าจะถึงพระนิพพานครับ
     
  6. amarpinky

    amarpinky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    423
    ค่าพลัง:
    +522
    anumothana sathu sathu sathu kha
     
  7. keawwichian

    keawwichian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +200
    ขออนุโมทนา บุญ กุศล ให้ ผู้ที่ใช้นามว่า "คนฝังโขง" ที่นำความรู้มาให้ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  8. oon_dee

    oon_dee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +24
  9. TIGER36

    TIGER36 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +84
    กราบโมทนาสาธุครับ ผมเพิ่งจะทราบเดี๋ยวนี้เองครับ สาธุ
     
  10. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญค่ะ เป็นเรื่องที่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยค่ะ สาธุๆๆๆ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะมากเลยค่ะ
     
  11. suatop

    suatop สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +2

แชร์หน้านี้

Loading...