พระเยซูกับพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 1 พฤษภาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]

    พระสันติสุข สฺนติสุโข –แปล


    Noli me tangere, ca. 1450
    Fresco, 166x125 cm
    Museo di San Marco, cell 1, Florence


    บทสนทนาต่อไปนี้ เป็นการสนทนาระหว่าง ติช นัท ฮันห์ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเซน กับบาทหลวง แดน เบอริแกน นักบวชในพระคริสตศาสนานิกายเยซูอิต ทั้งสองต่างเป็นผู้ที่ได้ต่อสู้และเรียกร้องเพื่อสันติภาพ ความสงบของมวลมนุษย์ โดยยึดหลักทางศาสนธรรมเป็นเกณฑ์ การสนทนาได้กระทำขึ้น ณ สำนักงาน Vietnamese Peace Buddhist Delegation บทสนทนาดังกล่าวเป็นบทหนึ่งในบรรดาหลาย ๆ บทที่รวบรวมตีพิมพ์ในหนังสือ The Raft is not the shore

    .... .... .... ....

    นัท ฮันห์ : ผมคิดว่า การได้มองลึกลงในดวงตาของศาสดาที่แท้พระองค์หนึ่ง มีค่าเสียยิ่งกว่าการศึกษาคัมภีร์ และคำสั่งสอนของพระองค์ตั้งร้อยปี ในตัวของพระองค์ ท่านได้รับแบบอย่างแห่งการตรัสรู้ และแบบอย่างของชีวิตโดยตรง ในขณะที่จากสิ่งอื่น ท่านจะได้รับก็เพียงแต่เงา ซึ่งอาจจะช่วยอะไรท่านได้บ้างเหมือนกัน แต่ไม่ใช่โดยตรงดังที่พระพุทธตรัสว่า "คำสอนของตถาคต เป็นเพียงพ่วงแพ อันช่วยนำเธอข้ามไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง หาใช่ความจริงสูงสุดไม่ เธอไม่ควรหลงบูชาอยู่"

    เบอร์ริแกน : เออ, ท่านจะมองลงลึกในดวงตาของพระเยซู หรือพระพุทธเจ้าด้วยวิธีการอย่างไร?

    นัท ฮันห์ : วิธีการอย่างไร? ไม่มีคำว่าวิธีการหรอก มันคงเหมือนกับถามว่าผมมองดูท่านด้วยวิธีการอย่างไร? ผมมองดูกิ่งไม้ด้วยวิธีการอย่างไร ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ "วิธีการมอง" แต่อยู่ที่ตัวบุคคลผู้ทำการมอง เพราะถ้าหากท่านเอาของสิ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อหน้าผู้คน และก็มีคนมากมายพากันมาดูของสิ่งเดียวกันนี้ คนเหล่านั้นกลับเห็นไปคนละอย่าง มันมิได้ขึ้นอยู่แต่เพียงวัตถุที่ท่านนำมาแสดง แต่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและแก่นสารของบุคลผู้มองด้วย ดังนั้นเมื่อท่านได้สัมผัสความจริงโดยตรง ท่านย่อมมีโอกาสมากในการเจาะทะลุถึงตัวความจริง มากกว่าเมื่อท่านมีเพียงภาพปรากฏของความจริงเท่านั้น นั่นเป็นผังเมืองหาใช่ตัวเมืองจริง ๆ ไม่ นั่นเป็นร่มไม้ หาใช่ต้นไม้ไม่ นั่นเป็นคำสอนหาใช่องค์ศาสดาหรือตัวชีวิตไม่ ผู้ที่มีโอกาสมองเห็นลึกลงไปในดวงตาของพระพุทธเจ้าและพระเยซู แต่ไม่สามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูนั้น ผมคิดว่าเป็นความสิ้นหวังเลยทีเดียว

    เรามีเรื่องราวในวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ที่กล่าวถึงผู้คนที่พากันหลั่งไหลมาจากแดนไกล ด้วยความหวังว่า พวกเขาจักได้เห็นพระพุทธเจ้า แต่พวกเขากลับไม่สามารถเห็นพระองค์ ทั้งนี้เนื่องมาจากวิธีการที่พวกเขารับและสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาได้ประสบในระหว่างทางนั่นเองเป็นเหตุ คนพวกนี้เมื่อพบหญิงผู้ต้องการความช่วยเหลือ แต่เขากลับลนลานที่จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ผมจึงกล่าวว่า การที่ท่านจะสามารถเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวท่านเองมากทีเดียว

    เบอร์ริแกน : น่าตระหนกใจว่า จะมีทัศนะทำนองนี้มากมายสักเพียงใด ในระหว่างวิถีการดำรงชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้หวนระลึกถึงเหตุการณ์อันระทึกใจในวันพิพากษา ซึ่งกล่าวไว้ในตอนท้ายแห่งพระคัมภีร์ของมัดธายเมื่อองค์พระเยซูตรัสว่า "ขอลาขาด" ต่อคนพวกหนึ่ง เพราะคนพวกนี้ไม่นำข้าวน้ำมาถวายพระองค์ ไม่นำเสื้อผ้ามาถวายพระองค์ และไม่มาเยี่ยมเยียนพระองค์ในคุก คนเหล่านั้นจึงพากันท้วงว่า "ข้าพเจ้าได้กระทำผิดต่อพระองค์เช่นนี้ตั้งแต่เมื่อไร" และพระองค์จึงตรัสว่า "เจ้าได้กระทำผิดต่อพี่น้องผู้ยากจนของเรา ช่างเลวทรามเหลือเกิน ขอลาขาดกันที"

    นั่นยังเป็นคำถามอันลึกซึ้งสำหรับผมอยู่ดีว่า ท่านประสบกับดวงตาของพระเยซูและของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร? บางทีอาจเป็นคำถามของคนไม่ประสีประสา ผมยังคิดว่า หากผู้ใดสามารถหายใจเอาความวิเวกของพระเยซูไว้ในชีวิตได้แล้ว อะไรบางอย่างจะอุบัติขึ้น พระองค์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของพระองค์อยู่กับความวิเวก หากเพียงแต่ผู้ใดสามารถเดินทางไปสู่ทะเลทรายพร้อมกับพระองค์ หรืออยู่ในคุกร่วมกับพระองค์ ในระหว่างสัปดาห์อันศักดิ์สิทธิ์ หรือเข้าถึงความเงียบของพระองค์คราวที่อยู่ต่อหน้าของพิเลตและเฮโรด พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามของคนทั้งสอง ซึ่งที่แท้ก็เป็นการตอบในลักษณะหนึ่งนั่นเอง สำหรับผมแล้วดูเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเป็นการประจันหน้ากันอย่างลึกซึ้ง เป็นชั่วขณะซึ่งเลยพ้นไปจากความจำเป็นที่ต้องเจรจาโต้ตอบกันยืดยาว ผมมักระลึกถึงความหมายของพระดังเช่นตัวท่าน หรือท่านเมอร์ตัน หรือพระหนุ่ม ๆ ซึ่งเราได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับมรณกรรมของท่านเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ ท่านเหล่านี้แหละเป็นบุคคลผู้ได้ประสบกับดวงตาของพระเยซูหรือของพระพุทธเจ้า โดยอาศัยผ่านความรู้ซึ้งถึงความเงียบสงบในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

    นัท ฮันห์ : เมื่อผมกล่าวถึงการมองลึกลงในดวงตาของพระพุทธเจ้านั้น ผมนึกถึงพระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่ง ซึ่งแวดล้อมด้วยบรรยากาศพิเศษ ผมตั้งข้อสังเกตว่า มหาบุรุษทั้งหลายย่อมนำเอาบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์มาพร้อมกับพระองค์ด้วย และเมื่อเราแสวงหาพระองค์ เราย่อมรู้สึกถึงสันติสุข ความรักและความกล้าหาญ

    อาจเป็นไปได้ว่า เพียงแต่การปรากฏกายของพระองค์ก็สามารถอธิบายสิ่งนี้ได้ มีภาษิตจีนกล่าวว่า เมื่อคนดีมาจุติ น้ำในแม่น้ำและเหล่าพืชพรรณต้นไม้บนภูเขาในละแวกนั้น ย่อมกลับกลายใสสะอาดขึ้น และเขียวขจีขึ้น นี่เป็นวิธีการที่ชาวจีนพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำเนิดขึ้นในเวลาเดียวกับประสูติกาลของผู้มีบุญ

    ในพระพุทธศาสนา เราพูดถึง "กรรม" ในฐานะเป็นผล หรือเป็นเหตุ เหตุแห่งกรรมคือตัวผู้กระทำ และผลแห่งกรรมคือสิ่งที่ท่านได้รับอันเป็นผลรวมที่เกิดจาก การกระทำ ความคิด และความเป็นอยู่ทั้งหมดของท่าน ดังนั้นกรรมผลาก็คือผลแห่งกรรมนั่นเอง กรรมผลาประกอบขึ้นด้วยสองส่วน : ส่วนแรกถึงตัวท่านเอง และส่วนที่สองคือสิ่งที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ เมื่อท่านมาอยู่ร่วมกับเราสักหนึ่งชั่วโมง ท่านก็นำสิ่งแวดล้อมที่ว่านี้มาด้วย เป็นรัศมีอย่างหนึ่งซึ่งแผ่ออกมาจากตัวท่านเอง เหมือนกับเวลาที่ท่านนำเทียนไขเข้ามาในห้องนี้ แท่งเทียนอยู่ ณ ที่นั้น พร้อมกับแสงสว่างจากเทียนซึ่งท่านนำเข้ามาด้วย

    เมื่อเมธีผู้หนึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และเราได้นั่งใกล้ท่าน เราจะรู้สึกโปร่งเบา รู้สึกถึงความสงบ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมผมจึงกล่าวว่า หากท่านได้นั่งใกล้พระเยซู และมองดูดวงตาของท่าน แต่ยังไม่อาจแลเห็นพระองค์จึงนับว่าเป็นความสิ้นหวัง เพราะในกรณีเช่นนี้ ท่านมีโอกาสมากที่จะเห็นพระองค์ ยิ่งกว่าเมื่อท่านอ่านจากคำสอนของพระองค์เสียอีก แน่นอน หากพระองค์มิได้อยู่ ณ ที่นั้น คำสอนของพระองค์ก็เป็นสิ่งดีที่สุดรองลงมา

    เมื่อผมได้อ่านหรือถือพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นของพุทธหรือคริสต์ก็ตาม ผมพยายามระลึกอยู่เสมอถึงความจริงที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูตรัสอะไรออกมา พระองค์ย่อมตรัสสิ่งนั้นกับคนบางคนหรือกับคนบางเหล่า ผมควรเข้าใจถึงสถานการณ์ในขณะที่พระองค์กำลังตรัสอยู่นั้นด้วย เพื่อที่จะเข้าถึงพระองค์ยิ่งไปกว่าเพียงแต่รับเอาคำสอนของพระองค์มาเป็นคำพูดเฉย ๆ ถ้าหากผมมีเรื่องหนึ่งที่เล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง ผมย่อมสามารถเล่าเรื่องนั้นให้เด็กฟังได้ด้วยเช่นกัน แต่ผมจะต้องเล่าเรื่องนั้นให้เด็กฟังในลักษณะที่ต่างออกไป ทั้งนี้มิใช่เพราะผมต้องการทำเช่นนั้น แต่เพราะผมกำลังอยู่ต่อหน้าเด็ก ๆ ต่างหาก ดังนั้นเรื่องของผมจึงเป็นไปในลักษณะหนึ่งโดยปริยาย ผมเชื่อว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสหรือสั่งที่พระเยซูตรัสนั้น ยังไม่สำคัญเทียบเท่ากับ "วิธีการ" ที่พระพุทธเจ้าหรือพระเยซูตรัสสิ่งนั้นออกมา หากท่านสามารถจับเคล็ดอันนี้ได้ ท่านก็จะเข้าไปใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูได้ แต่หากท่านพยายามจะวิเคราะห์ความหมายอันลึกซึ้งของคำต่าง ๆ โดยไม่รู้ถึงลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ผมคิดว่าท่านจะพลาดอย่างง่ายดายมาก ไม่เพียงแต่พลาดประเด็นเท่านั้น แต่พลาดเรื่องของมนุษย์ไปเลยทีเดียว ผมคิดว่านักเทววิทยามีแนวโน้มที่จะลืมการเข้าถึงด้วยวิธีการนี้ด้วยซ้ำ

    เบอร์ริแกน : เรื่องนี้สะดุดใจผม เมื่อคราวฝึกอบรมพระคาธอลิก ผมเคยพบกับนักเทววิทยาพวกนี้ ผมไม่รู้ว่าจะพูดอะไรกับพวกเขาดี เพราะผมไม่มีความเข้าใจในตัวเขาเหล่านั้นเลย มีผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งซึ่งเคบพบกันในลิฟท์ ผมทราบว่าเขากำลังแสดงปาฐกถาไปทั่วประเทศ ในหัวข้อเรื่อง "ทัสนะเกี่ยวกับความรักในพระคัมภีร์ใหม่" ตอนนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่จะพูดเรื่องทัศนะเกี่ยวกับความรัก ผมคิดว่าเขาควรพูดเรื่องความรักในพระคัมภีร์ใหม่ แทนที่จะพูดเรื่องทัศนะเกี่ยวกับพระเจ้า ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องโน้น ผมคิดว่าเหตุผลข้อหนึ่งอันเป็นอุปสรรคอันลึกซึ้งในหมู่นักศึกษาที่เข้ามาฝึกอบรมก็คือ ไม่มีบรรยากาศใด ๆ รอบตัวของพวกเขาที่กล่อมให้เขากลายมาเป็นคริสเตียนได้เลย แต่บรรยากาศกลับส่งเสริมให้ผู้เข้าฝึกอบรมกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคริสตศาสนามากกว่า และการเป็นคริสเตียนกับการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคริสตศาสนานั้นแตกต่างกันมาก เป็นธรรมดาอยู่เองที่การอบรมเช่นนี้ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย มันไม่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของผู้เข้าฝึกอบรม ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงถอนตัวออกไป นักศึกษาปฏิเสธที่จะรับการบวช หลายคนยังอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ แต่ไม่มีความสุข และไม่ได้รับความพึงพอใจ

    แต่สำหรับผมแล้ว ดูเหมือนว่าหากอาจารย์สอนคริสตศาสนาคนใดสามารถดำรงชีวิตของเขาอยู่ได้อย่างราบรื่น ปราศจากความรู้สึกรบกวนใด ๆ ในระหว่างช่วงสิปปีหลังสงครามเวียดนามแล้วละก็ อาจารย์ผู้นี้ย่อมนำแต่ความหลงผิดมาสู่ผู้เข้าฝึกอบรม อย่างน้อยที่สุดเขาคงจะเสนอตัวอย่างที่ใช้ไม่ได้ของคนจำพวกที่กล่าวแต่เพียงเรื่อง "ทัศนะเกี่ยวกับพระคัมภีร์ใหม่" แทนที่จะเข้าถึงบรรยากาศจริงในตอนนั้น ๆ ของพระเยซู นับเป็นเรื่องเพ้อเจ้ออย่างร้ายกาจ ทั้งผมมิได้คิดว่านั่นเป็นความล้มเหลวทางความคิดด้วย เพราะความคิดเป็นเรื่องเพ้อเจ้อเช่นกัน สิ่งที่ผมกำลังเอาใจใส่อย่างจริงจังก็คือ สภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับพระเยซูซึ่งถูกบดบังไป ในขณะที่ข้อบิดเบือนทั้งหลายแหล่เกี่ยวกับพระองค์ปรากฏขึ้นมาแทนที่ และข้อบิดเบือนข้อแรก ก็คือการที่พวกนักเทววิทยาพากันสอนเรื่อง "ทัศนะเกี่ยวกับพระเยซู"

    และก็มีข้อบิดเบือนในทำนองนี้อย่างอื่น ๆ อีก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย รวมทั้งความผิดแปลกธรรมดาของพระเยซูด้วย สำหรับผมแล้วสิ่งนี้ดูเหมือนว่าเป็นสัญลักษณ์ของความแตกแยกระหว่างคนแต่ละรุ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมแท้นั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว คนรุ่นใหม่ซึ่งมีความเห็นไปคนละทาง ก็ยังคงรับเอาเปลือกกระพี้บางอย่างของพระเยซูไว้ได้ แต่ก็ไร้ความหมายเต็มที ทั้งนี้เพราะภาคแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตะวันตกทั้งหมด คือองค์พระเยซู พระองค์มิสูญหายไปโดยสิ้นเชิงได้ แต่สิ่งที่คนรุ่นใหม่รับเอามาอย่างฉาบฉวยนั้น เป็นเพียงบางส่วน และบิดเบือนไปจากเดิมจนกระทั่งว่า เมื่อเขามองไปที่พระเยซู เขาก็ลืมนึกถึงโลก แต่นั่นท่านรู้ไหม? คนเหล่านั้นไม่แตกต่างไปจากอาจารย์ที่ให้การอบรมแก่พวกเขาเท่าใดนัก อย่างน้อยที่สุดพอจะกล่าวได้ว่า อาจารย์พวกนี้สนใจแต่ทัศนะเกี่ยวกับพระเยซู และก็ลืมนึกถึงโลก (เสียงหัวเราะ) คนรุ่นใหม่อาจจะไปไกลกว่าเรื่องความคิดบ้าง แต่คนทั้งสองรุ่นต่างก็กำลังกระทำการรุนแรงต่อพระเยซู

    นัท ฮันห์ : พูดถึงความรุนแรงแล้ว พระพุทธเจ้าประสูติในสังคมซึ่งความรุนแรงปรากฏน้อยกว่าในสังคมที่พระเยซูประสูติ แต่หากท่านได้อ่านพระคัมภีร์ฝ่ายพุทธแล้ว ท่านจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเฉียบขาดมากทีเดียว ปฏิกิริยาที่พระองค์มีต่อประเพณีฝ่ายพระเวท เป็นแบบถอนรากถอนโคน พระองค์ทรงปฏิเสธเนื้อหาทั้งหมดของพระเวททัศนะแห่งอาตมัน หรือตัวตน เป็นศูนย์กลาง เป็นแก่นของฝ่ายพระเวทและอุปนิษัท แต่คำสอนของพระพุทธเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานของทัศนะแห่งอนัตตา อนัตตาเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับตอบโต้ ไม่ใช่เพราะอนัตตาเป็นเรื่องสำคัญ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเป็นหลักคำสอนของพระองค์ แต่คำสอนเรื่องนี้เริ่มบัญญัติขึ้น ในฐานะที่เป็นปฏิกิริยาต่อสู้กับความหยุดนิ่งของชีวิตภายในสังคมสมัยของพระองค์ และถึงขนาดนั้น พระองค์ก็ยังไม่ถูกตรึงกางเขน ชาวอินเดียไม่กระทำเช่นนั้น แต่ผมเชื่อแน่ว่า หากพระพุทธเจ้าประสูติในสังคมที่พระเยซูประสูติแล้วละก็ พระองค์จะต้องถูกตรึงกางเขนด้วยเช่นกัน

    อีกเช่นกัน ท่านอาจคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทำตรงกว่าพระคริสต์ในแง่ของการต่อสู้ แต่นั่นไม่เป็นความจริงเลย นี่เป็นเพียงเพราะว่า ในสภาพแวดล้อมของพระองค์วิถีทางอย่างอื่นเป็นไปได้กว่า กลับมาดูที่พระเยซู เราจะเห็นความกล้าหาญอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ที่เผชิญหน้ากับสังคมเช่นนั้น ทั้งพยายามที่จะทำลายลักษณะของชีวิต ลักษณะของความเป็นอยู่ ซึ่งหาใช่ชีวิตไม่ ถ้าหากขาดความเข้าใจในเรื่องสภาพแวดล้อมแล้ว ท่านก็มองไม่เห็นความเป็นจริงอย่างถ่องแท้

    พระพุทธเจ้าทรงเริ่มด้วยความคิดเรื่องความไม่มีตัวตน ซึ่งแท้ที่จริงก็เป็นปฏิกิริยาต่อต้านกับความเชื่อในสมัยของพระองค์นั่นเอง แต่พุทธศาสนิกเป็นอันมากเข้าใจว่า ความไม่มีตัวตน อนัตตานี้เป็นรากเหง้าของสัจธรรมทั้งมวล ในกรณีเช่นนี้ พวกเขากำลังเข้าใจว่ามรรควิธีเป็นเป้าหมาย เห็นพ่วงแพว่าเป็นฝั่ง เห็นนิ้วชี้ขึ้นฟ้าเป็นดวงจันทร์ จะต้องมีอะไรบางอย่างที่มีความหมายมากกว่าอนัตตา ซึ่งไม่ติดอยู่กับความเชื่อทั้งอนัตตาและอัตตา หลักอัตตาที่ประชาชนในสมัยพุทธกาลเคยเชื่อถือนั้น เป็นต้นเหตุอันแท้จริงที่ก่อให้เกิดความอยุติธรรม ความโง่เขลา และความหยุดนิ่งภายในสังคม สังคมที่เต็มไปด้วยความชั่วร้าย เต็มไปด้วยระบบแบ่งชั้นวรรณะ ชีวิตที่อยู่ภายใต้อำนาจของพวกพราหมณ์ การปฏิบัติต่อวรรณะจัณฑาล การผูกขาดการสอนทางด้านจิตวิญญาณ โดยบุคคลผู้เสพสำราญอยู่กับสภาพทางวัตถุอันเลิศลอย และเป็นบุคคลซึ่งไม่มีคุณลักษณะลึกซึ้งทางจิตวิญญาณเลย คนพวกนี้ห่างไกลที่สุดจากสัจธรรม แต่เขาก็ยังแอบอ้างตนเองว่าเป็นตัวแทนแห่งสมบูรณภาพ

    ด้วยเหตุนี้ ศาสนาพุทธจึงเป็นมรรควิธีแห่งการต่อสู้แบบหนึ่ง พุทธศาสนาหาได้พยายามที่จะแสดงสัจธรรมออกมาในรูปแบบของคัมภีร์ไม่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อพุทธศาสนิกหลงติดยึดพระคัมภีร์ แม้จะเป็นพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาก็ตาม จึงถือว่าเป็นการขบถต่อพระพุทธเจ้า คนรพวกนี้ไม่สามารถมองเห็นพระพุทธเจ้าได้เลย ในวัชรสูตรมีพุทธดำรัสตอนหนึ่งว่า "หากเธอพยายามมองดูตถาคตโดยอาศัยรูปและเสียงแล้ว เธอจะไม่เห็นตถาคตเลย" ผมคิดว่า "เสียง" ในที่นี้หมายถึงพระคัมภีร์ ตลอดจนการติดยึดพระคัมภีร์และการติดยึดในทัศนะด้วยเช่นกัน

    ผมจำได้ว่า มีนักเรียนผู้หนึ่งถามผมเกี่ยวกับท่าปัทมาสนะ (ท่าดอกบัว) ว่าเป็นท่านั่งสมาธิที่สมบูรณ์แบบหรือไม่ ผมตอบว่า เรื่องท่านั่งสมาธิที่สมบูรณ์แบบนั้นไม่น่าตั้งเป็นปัญหาขึ้นมา ไม่มีความจำเป็นในการคิดค้นท่านั่งสมาธิที่สมบูรณ์แบบขึ้น แต่ผมก็หวังว่า หากเขาต้องการ เขาก็สามารถคิดค้นท่านั่งสมาธิขึ้นมา โดยไม่ต้องเลียนแบบท่าของชาวจีนและชาวญี่ปุ่น

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูกร เธอคิดว่ามีเอกลักษณะ มีเอกลักษณะอันเที่ยงแท้อยู่ในสรรพสิ่ง แต่ตถาคตกล่าวว่าสรรพสิ่งย่อมว่างเปล่า เอกลักษณะเช่นนี้หาได้ปรากฏอยู่ไม่ หากเธอมองหาเอกลักษณะอันเที่ยงแท้ของเก้าอี้ ตถาคตกล่าวว่ามันเป็นของว่างเปล่า" แล้วหลังจากนั้นศาสนิกก็เริ่มบูชาความคิดเรื่องอนัตตา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "หากเธอเชื่อในความไม่มีตัวตนของเก้าอี้ ย่อมเหลวไหลมากกว่าที่เธอเชื่อในความมีตัวตนของเก้าอี้เสียอีก" ท่านเห็นไหม ? ว่าคำพูดและความคิดเห็นนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่ "อะไรบางอย่างภายในนั้น" ต่างหากที่สำคัญ กล่าวคือ มรรควสิธีที่จะเข้าไปสัมพันธ์กับสรรพสิ่ง กับมวลมนุษย์ต่างหากที่สำคัญ

    เบอร์ริแกน : "อะไรบางอย่างภายในนั้น" ดูเหมือนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่ชาวพุทธอย่างมาก

    นัท ฮันห์ : โลกทุกวันนี้ ไม่ใช่โลกของวันวาน ซึ่งแต่ละประเทศแต่ละกลุ่มชนเคยดำรงอยู่เป็นอิสระแยกออกจากกันได้อีกต่อไปแล้ว การกระทำของเราในปัจจุบันนี้ได้เข้ามาพัวพันกันอย่างแยกไม่ออก กล่าวคือได้กลายมาเป็นกรรมร่วม การกระทำของคนกลุ่มหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อกลุ่มอื่น เราจะต้องเลือกที่จะทุกข์ด้วยกัน หรือสุขด้วยกัน มีชีวิตอยู่ด้วยกัน หรือไม่ก็ถูกทำลายไปพร้อมกัน

    เบอร์ริแกน : การบรรจบโลกของวงกลม นี่เป็นเรื่องของกรรมสนองกรรมเช่นกัน การดำรงชีวิตในวิถีทางที่เป็นอยู่นี้ กล่าวคือภายในโลกอันเปรียบเสมือนคุกอันกว้างใหญ่และการพึงพอใจกับรูปแบบชีวิตเช่นนี้ นับเป็นการลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ที่ละเลยความเป็นจริง

    เป็นการยากที่จะรู้ว่า จะสามารถทำลายวงแหวนเหล็กวงนี้ตรงจุดไหน และจุดอ่อนของมันอยู่ที่ใด ความรู้สึกของผมก็คือว่า วงแหวนวงนี้จะรัดตัวแน่นเข้า จนกระทั่งมันจะหักทำลายออก ณ จุดทุดจุดของวงแหวน เนื่องจากทุก ๆ จุดนี้นมีความเค้นอันเกิดจากการบีบรัดเท่า ๆ กัน เหมือนกับวงแหวนที่บีบรัดรอบคอหอยของท่าน แต่แน่ละในช่วงเวลานี้เรื่องที่น่าเศร้าก็คือ ชาวอเมริกันเองกำลังถูกบีบคออย่างช้า ๆ แต่ประชาชนในที่แห่งอื่นกำลังถูกรัดคออย่างรวดเร็ว

    นัท ฮันห์ : อีกประการหนึ่ง เรายังสนใจงานอีกด้านหนึ่ง กล่าวโดยสังเขปก็คืองานนี้ได้แก่ ความเพียรพยายามของเราที่จะช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์จากสงคราม มีเด็ก หญิงหม้าย คนพิการ นักโทษ บางคนเห็นว่างานสงเคราะห์เหล่านี้เป็นความพยายามที่ไม่มีความสำคัญ งานของเราได้รับการตราจากคนพวกหนึ่งว่า เป็นงานที่ไม่ฉลาดนัก และไม่อยู่บนทิศทางของการปลดแอกหรือการปฏิวัติ อุปสรรคในการทำงานของเรา ส่วนมากมีสาเหตุมาจากทัศนคติเช่นว่านี้ บรรดากลุ่มศาสนาและบรรดากลุ่มนักการเมือง มักเพียงแต่มีจุดมุ่งหมายที่จะรักษาเอกลักษณ์แห่งกลุ่มของตนไว้เท่านั้น โดยต้องเผชิญกับการโจมตีจากกลุ่มตรงกันข้ามที่มีความเชื่อต่างกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีความกลัวเช่นว่านี้ ทำไมเราจึงไม่มาร่วมกัน และเผชิญกับการคุกคามที่แท้จริงเสียที?

    อันที่จริงแล้ว เอกลักษณ์จะสามารถคงความเป็นเอกลักษณ์อยู่ได้ก็ต่อเมื่อ มีสิ่งต่าง ๆ อย่างอื่นที่มาอธิบายเอกลักษณะนั้นในฐานะที่ไม่ใช่เอกลักษณะ ย้อนกลับไปที่ตัวอย่างเกี่ยวกับเอกลักษณะของเก้าอี้ เก้าอี้จะสามารถดำรงความเป็นเก้าอี้อยู่ได้ก็โดยอาศัยส่วนประกอบที่ไม่ใช่เก้าอี้ หากเรามองดูเก้าอี้อย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว เราจะสามารถแลเห็นต้นไม้ซึ่งเป็นที่มาของไม้สำหรับทำเก้าอี้ แลเห็นเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติซึ่งช่างไม้ถือกำเนิดขึ้นมา และส่วนอื่น ๆ ของเก้าอี้ก็เป็นในทำนองเดียวกันนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตตาและอนัตตา ก็คือว่าอัตตามีอยู่ได้ก็ต่อเมื่ออนัตตามีอยู่ ในพระสูตรทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายสิ่งนี้ในลักษณะที่ง่ายมาก พระองค์ตรัสว่า "เพราะสิ่งนี้ สิ่งนีจึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงอิงอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อการดำรงอยู่ เอกลักษณะของผมกับเอกลักษณะของท่านมาประสานกันก็เพื่อความเป็นไปได้แห่งการดำรงอยู่ ทำไมเราจึงไม่มาร่วมกัน เพื่อแสวงหาหนทางที่จะดำรงรักษาไว้ไม่เพียงแต่เอกลักษณะของผมเท่านั้น หากเอกลักษณะของท่านและคนอื่น ๆ ด้วย?

    การต่อต้านการแบ่งแยกพรมแดน การต่อต้านการกำหนดเขตชายแดนตลอดจนการจำกัดขอบเขตโดยทุจริต เป็นภาระกิจที่สำคัญเช่นกัน คนภายในสังคมไม่ควรเพียงแต่งตั้งความปรารถนา ว่าจะเอาชนะปัญหาเหล่านี้เท่านั้น หากต้องเอาชนะปัญหาด้วยลักษณะการดำรงชีวิตภายในชุมชนนั้น ๆ แต่โชคร้ายว่าที่แล้วมาเราไปผูกยึดตัวเองเข้ากับบางสิ่งบางอย่าง เช่น ชาติ ลัทธิ ศาสนา ทั้งเรามีแนวโน้มที่จะคิดว่าสิ่งอื่นทั้งหมด ที่นอกไปจากความยึดถือของคนเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ หรือไม่เป็นความจริง

    ยกตัวอย่างเช่น เรามักได้รับรายงานข่าวที่น่าสะเทือนใจหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งโดยปรกติแล้ว ในตะวันตกไม่มีใครสนใจกันเลย ผู้เป็นแม่คนหนึ่งรู้สึกท้อแท้เมื่อได้ยินลูก ๆ ของหล่อนรบเร้าถามอยู่ทุกเช้าว่า ทำไมซุปในชามจึงมีนิดเดียว หล่อนไม่สามารถทนฟังคำถามนี้ได้ ดังนั้นเย็นวันหนึ่ง หล่อนจึงเทข้าวทั้งหมดที่เหลืออยู่ในกะทะและปรุงซุปอย่างดี แต่เธอได้ใส่ยาพิษลงไปในนั้นด้วย แม่และลูก ๆ กินซุปด้วยกัน และถึงแก่ความตาย แต่แม้กระนั้นในสภาพเช่นว่านี้ เราก็ยังคงถูกบังคับให้จับปืนฆ่าฟันกันเอง ความทุกข์ทนหม่นไหม้ของเวียดนาม ได้ให้บทเรียนอะไรแก่อเมริกาบ้างไหม? มันได้ช่วยให้ชาวอเมริกันหันกลับไปมองดูเงาตนเองอีกครั้งหรือเปล่า? มันช่วยอะไรละหรือ?

    เบอร์ริแกน : ผมมีความหวังอยู่บ้าง กระนั้นผมก็ไม่คิดว่าเรามีความรู้อย่างถ่องแท้แล้วในเรื่องที่ท่านพูดมา ผมรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงในขั้นลึกซึ้งหลายประการกำลังเกิดขึ้น ที่นี่บ้าง ที่โน่นบ้าง เพียงแต่ยังไม่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะทั้งในระดับชีวิตทางการเมืองหรือในระดับโครงสร้างของชุมชน ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีชีวิตอยู่ในโลกที่ครึ่งหลับครึ่งตื่นนั้นนั่นเอง.

    ที่มา ����«١Ѻ��оط�����
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=-YbUEZfJJaQ]Jesus was a Buddhist Monk BBC Documentary - YouTube[/ame]

    เป็นสารคดี ที่จัดทำโดย BBC ที่พยายามค้นหาความจริงที่ว่า พระเยซูคริสต์ตายขณะถูงตรึงกางเขนจริงหรือ ? และมีความสงสัยในช่วยประวัติที่หายไปของพระเยซูระหว่างอายุ 13-30 พรรษา พร้อมการวิเคราห์ช่วงเวลาการเสียชีวิตและบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ช่วงนั้น พร้อมบทวิเคราะห์จากนักศาสนวิทยาและนักวิจัยทั้งหลายผู้แสวงหาความจริงเรื่องนี้ ?? โดยเฉพาะมีช่วงหนึ่งที่พระเยซูได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาสายมหายานกับลามะที่อินเดีย เมืองแคชเมียร์

    เชิญมาศึกษาบทความ:

    ช่วงชีวิตที่หายไปของพระเยซู...ไปศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดีย

    ที่ศรีนาคาร์หรือขอเรียกตามลิ้นไทยๆว่าศรีนคร เมืองหลวงแห่งแคว้นแคชเมียร์หรือกัษมิระในภาคเหนือของอินเดียนั ้นมีที่เก็บศพแห่งหนึ่งชื่อว่า โรซาบัล (ROZA BAL) ตั้งอยู่ที่ตำบลกันยาร์ (KAN YAR) ห่ างจากตัวเมืองศรีนครเพียง 3 กม.เท่านั้น โรซาบัลเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคาเหลี่ยมแบบเรียบๆ กว้างยาวราวๆ 10 เมตร ทาสีขาว ภายในเคยมีเรือนไม้กรุโปร่งสูงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูงจรดเพดานครอบ หลุมศพที่อยู่ใต้ดินอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเรือนไม้นี้ถูกเปลี่ยนเป็นกระจกทั้ง 4 ด้านแทน แต่ก็ไม่อาจเห็นหรือเข้าถึงหลุมศพใต้ดินอยู่ดี

    ป้ายภายนอกบอกไว้ว่าผู้มี่ทอดร่างอยู่ในหลุมศพนี้คือ ยุซ อาซาฟ (YUZ ASAF) ไม่มีอะไรในที่เก็บศพนี้ที่จะบ่งบอกถึงความสำคัญเป็นพิเศษของชา ยผู้นี้ นอกเสียจากที่พื้นใกล้เรือนคลุมหลุมศพนั้นมีรอยประทับฝ่าเท้าสอ งข้าง ฝ่าเท้าแต่ละข้างมีรอยแผลที่เกิดจากการถูกตอกตะปูตรึงกางเขน ชาวพื้นเมืองบอกว่าหลุมศพนี้คือหลุมศพของจีซัส ไครสต์ พระเยซูเจ้า องค์ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์!

    เป็นไปได้หรือที่พระเยซูจะเสด็จมาไกลถึงที่นี่ พระองค์มาเมื่อไร และมาทำไม

    เรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์หลายคนเห็นพ้องต้องกันว่าพระเยซูเคยเสด็จมาทาง ตะวันออก และอาจมาถึงอินเดียแต่ช่วงเวลาที่เดินทางมานั้น นักประวัติศาสตร์มีความเห็นแตกแยกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า พระองค์รอดพระชนม์จากการถูกตรึงกางเขน แล้วเสด็จมาอินเดีย อีกฝ่ายบอกว่าพระเยซูทรงใช้ “ช่วงชีวิตที่หายไป” คือระหว่างวัย 13 – ประมาณ 30 ชันษา อันเป็นช่วงวัยที่ขาดหายไปเฉยๆ ไม่มีการกล่าวถึงในพระคัมภีร์นั้น เดินทางมายังอินเดีย ก็คือตามหาชนเผ่ายิวที่หายสาบสูญไปแต่โบราณกาล และเชื่อว่าน่าจะมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ภาคเหนือของอินเดียนี้เ อง

    เรื่องของเรื่องก็คือ ปีที่ 597 ก่อนคริสต์กาล พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ แห่งอัสซีเรียทำลายเมืองเยรูซาเล็มและกวาดต้อนชาวยิวไปเป็นทาสใ นกรุงบาบิโลนของพระองค์ อีก 47 ปีต่อมา พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียตีได้บาบิโลนบ้างเป็นกงเกวียนกำเกวียนและได้ปรดปล ่อยชาวยิวเป็นอิสระ ชาวยิวซึ่งทั้งหมดมีอยู่ 13 เผ่าก็อพยพกระจัดกระจายกันไป คงเหลือที่กลับไปยังดินแดนจูเดียเพียง 2 เผ่า อีก 10 เผ่าไม่ทราบว่าแตกฉานซ่านเซ็นไปที่ไหนกันบ้าง แต่นักวิชาการเชื่อว่ายิวพลัดถิ่นเหล่านี้ไปตั้งรกรากทั้งในอียิปต์ เปอร์เซีย อิหร่านอัฟกานิสถาน และภาคเหนือของอินเดีย หรือกัษมิระนี่เอง

    อือม์.....มาไกลจริงๆ

    ร่องรอยที่ยืนยันว่าคนกัษมิระน่าจะสืบเชื้อสายมาจากชาวยิวก็คือ ความเหมือนคล้ายทางภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณี จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามีชื่อเผ่า ชื่อตระกูลกว่า 90 ชื่อที่เหมือนกันระหว่างกัษมิระกับอิสราเอล ชื่อสถานที่อีกกว่า 70 แห่งก็ดูจะมาจากรากศัพท์เดียวกัน ธรรมเนียมบางอย่างของกัษมิระก็คล้ายคลึงกับของชาวยิว เช่น พิธีถือศีลบริสุทธิ์ 40 วันของสตรีที่เพิ่งคลอดบุตร การประกอบอาหารโดยไม่ใช้น้ำมัน เครื่องแต่งกายบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวกของผู้ชาย และการฝังศพโดยทอดร่างผู้ตายตามแนวตะวันออก- ตะวันตก ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่จนทุกวันนี้ และแตกต่างจากธรรมเนียมของศาสนาอิสลาม ศาสนาที่ครอบงำดินแดนแห่งนี้มานาน ที่ฝังศพตามแนวเหนือ-ใต้ เป็นที่น่าสังเกตว่า โรซาบัลสร้างในแนวตะวันออก-ตะวันตก แม้จะสร้างขึ้นในระยะที่อิทธิพลศาสนาอิสลามแผ่เข้ามาแล้ว อันแสดงว่าผู้ตายไม่น่าจะเป็นมุสลิม
    นอกจากนั้น การศึกษาวิจัยของศูนย์มานุษยวิทยาด้านพงศ์พันธุ์แห่งมหาวิทยาลั ยลอนดอนซึ่งทำการทดลองกับกลุ่มชนที่เชื่อว่าเป็นลูกหลานชาวยิวใ นอินเดีย ได้ผลว่าชนกลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับชาวยิวแห่งเยเ มนและชนเผ่าในอาฟริกาใต้ ที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มหนึ่งของยิวอพยพหลังบาบิโลนแตกเช่นกัน

    ชาวยุโรปผู้หนึ่งที่จุดประกายเรื่องที่พระเยซูเสด็จมาอินเดียก็ คือ โนโตวิช (NICHOLAS NOTOVITCH) ชาวรัสเซีย ผู้เป็นนักหนังสือพิมพ์ และนักเขียนสารคดีการเมือง หนังสือที่เกี่ยวกับการเมืองรัสเซียของเขาทำให้เขามีชื่อเสียงไ ปทั่วยุโรป ปี 1877 เขาเดินทางไปยังอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย เพื่อศึกษาชีวิตและความเชื่อของผู้คนในดินแดนนั้น ที่ลาดัค (LADAKH) ดินแดนที่ขนาบข้างด้วยกัษมิระและทิเบต เขาตกจากหลังม้าบาดเจ็บ และได้การดูแลรักษาจากพระลามะรูปหนึ่งที่อารามเฮมิสกุมพา อันเป็นวัดใหญ่ที่สุดของลาดัค เป็นวัดที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง สิ่งก่อสร้างและสถูปประดับประดาด้วยเพชรและพลอยมีค่า พระประธานเป็นทองคำแท้ และยังมีภาพประวัติพระพุทธองค์ที่วาดบนผืนผ้าอายุนับร้อยปีเป็น ของคู่วัดที่รู้จักกันดี โนโตวิชพักอยู่ที่วัดเฮมิสจนคุ้นเคยกับพระลามะรูปนั้น ถึงขนาดที่ท่านเอาม้วนคัมภีร์โบราณที่เขียนเป็นภาษาทิเบตโดยนัก ประวัติศาสตร์พุทธศาสนามาให้โนโตวิชดู ซึ่งโนโตวิชก็สนใจมากและได้คัดลอกบางส่วนที่สำคัญตามที่ล่ามแปล ให้ฟังไว้ คัมภีร์นั้นเล่าถึงเรื่องราวของบุคคลที่ชื่อ อิสซา (ISSA) ตั้งแต่เกิดจนตาย

    แล้วมาเกี่ยวกับพระเยซูอย่างไรหรือ

    ก็อิสซานั้นเป็นชื่อเรียกพระเยซูในภาษาอิสลาม เชื่อว่ามาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรูหรืออราเมอิคว่า YESHUA (คำว่า JESUS นั้นเป็นคำในภาษากรีกและลาตินที่ใช้ถ่ายทอดพระคัมภีร์ หาใช่คำในภาษาฮีบรูดั้งเดิมไม่) ตามคัมภีร์ดังกล่าว อิสซา หรือที่เชื่อว่าคือพระเยซูได้เดินทางมายังอินเดียตั้งแต่อายุประมาณ 13 ปี โดยผ่านมาทางอิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถานปัจจุบัน(เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโบราณของชมพูทวีป นั่นคือเมืองตักกสิลา ราชธานีของแคว้นคันธาระ ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน วรรณะพราหมณ์และกษัตริย์จะเดินทางมาไกลเพื่อมาร่ำเรียนศิลปวิทยาที่นี่ และศาสตร์18ประการ ก็มาเรียนที่นี่ครับ) พระเยซูได้ร่ำเรียนพระเวท และปรัชญาต่างๆอยู่ที่นั่นจนอายุ 29 ปี จึงเดินทางกลับจูเดีย

    เรื่อง ราวนี้จึงเท่ากับเป็นคำตอบอย่างดีว่า ใน “ช่วงชีวิตที่หายไป” ของพระเยซูนั้น พระองค์หายไปไหน

    ต่อมาปี 1894 หลังจากโนโตวิชเดินทางกลับยุโรป เขาก็ตีพิมพ์เรื่องราวที่เขารู้เห็นมาจากอารามเฮมิสเป็นหนังสือ ชื่อ THE UNKNOWN LIFE OF CHRIST หนังสือเล่มนี้และตัวโนโตวิชเองได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว ้างขวาง ซึ่งแน่ล่ะ ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ บ้างก็ว่าโนโตวิชยกเมฆ ไม่เคยเดินทางไปยังอามรามที่ว่า บ้างก็ว่าอารามเฮมิสและม้วนคัมภีร์ดังกล่าวไม่มีอยู่จริง ซึ่งก็น่าสงสัยอยู่เหมือนกัน เพราะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนยืนยันความมีอยู่ของคัมภีร์นั้น (แต่การค้นคว้าในปัจจุบันดูจะสนับสนุนเรื่องราวของโนโตวิชและคั มภีร์แห่งวัดเฮมิส แม้จะไม่พบคัมภีร์ที่ว่านั้น ซึ่งป่านนี้คงเปื่อยยุ่ยไปหมดแล้วกระมัง)

    ในอินเดียเองก็มีผู้เปิดประเด็นเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ฮาซรัต เมียร์ซา กูแลม อาหมัด (HAZRAT MIRZA GHULAM AHMAD) ชายชื่อยาวชาวอินเดียผู้เป็นปราชญ์คนหนึ่งของศาสนาอิสลามได้เขี ยนหนังสือเรื่อง JESUS IN INDIA ไว้เป็นภาษาอูรดู(ภาษาอูรดู เป็นภาษาอินเดียแขนงหนึ่ง เป็นภาษาราชการของปากีสถาน ภาษาเขียนคืออักษรอาหรับ) เมื่อปี 1899 ในหนังสือนี้กล่าวว่าพระเยซูทรงรอดพระชนม์ชีพจากการถูกตรึงกางเขน แล้วเดินทางมาพำนักในอินเดียจนกระทั่งพระชนมายุ 120 ปีจึงสิ้นพระชนม์ และพระศพก็ถูกฝังอยู่ที่โรซาบัลในศรีนคร

    ประเด็นสำคัญใน “Jesus in India” ของ**แลม อาหมัด นั้นต่างจากเรื่องของโนโตวิชที่พระเยซูของท่านอาหมัดเสด็จมาอินเดียภายหลังจากการถูกตรึงกางเขน และเขายังบอกด้วยว่าพระสงฆ์แห่งพุทธศาสนาได้นำคำสั่งสอนของพระเยซูไปปรับใช้ โดยอ้างว่าเป็นพระวจนะของพระพุทธองค์ ซึ่งข้ออ้างและความเห็นของเขาดูจะไม่เป็นที่ชอบใจของศาสนิกชนทั้งพุทธและคริสต์เท่าไหร่
    กูแลม อาหมัด ยังกล่าวถึงโรซาบัลด้วยว่าเขาได้ไปสำรวจสอบถามคนท้องถิ่นใกล้เค ียงที่เก็บศพแห่งนั้น ได้ความว่า โรซาบัลนี้สร้างมาแล้วประมาณ 1900 ปี (ในสมัยของอาหมัด) และผู้ที่ถูกฝังอยู่ก็คือชาวต่างชาติคนหนึ่ง ซึ่งเดินทางมายังดินแดนนี้ เพื่อสั่งสอนผู้คนเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนพระนะบีมะหะหมัด ชาวพื้นเมืองเรียกชายผู้นี้ว่า ยุซ อาซาฟ

    อันที่จริง ความคิดที่ว่าพระเยซูมิได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนนั้นมิใช่ของใหม่ เคยมีผู้สันนิษฐาน วิเคราะห์และโต้แย้งมาก่อนหน้านี้นานแล้ว เหตุผลสนับสนุนก็คือ ประการแรก พระเยซูถูกตรึงกางเขนอยู่ไม่นานนัก จากเที่ยงถึงบ่ายสามโมงเท่านั้น เนื่องจากวันนั้นเป็นวันซับบาธ วันสำคัญทางศาสนาของชาวยิว จึงจะไม่ปล่อยนักโทษทิ้งคาอยู่บนกางเขนจนตะวันตกดิน

    ประการที่สอง เมื่อเข้าใจกันว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้วนั้น ทหารโรมันได้เอาหอกแทงที่สีข้างของพระองค์ ซึ่งก็มีน้ำและเลือดพุ่งออกมา อันแสดงว่าพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ เลือดจึงยังไหลเวียน เพราะถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว เลือดจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ไม่พุ่งออกมาจากบาดแผลเช่นนี้

    ประการที่สาม ปิลาตเจ้าเมืองจูเดียได้มอบพระศพพระเยซูแก่โจเซฟแห่งอริมาเธีย ซึ่งเป็นสานุศิษย์คนสำคัญ โจเซฟก็ย่อมมีโอกาสลอบนำ “พระศพ” ไปรักษาพยาบาล และยังปรากฏด้วยว่าเจ้าหัวขโมยอีก 2 คนที่ถูกตรึงกางเขนพร้อมกับพระเยซูนั้นก็ไม่ตายเช่นกัน ความเป็นไปได้ที่พระองค์จะรอดพระชนม์จึงยิ่งน่าเชื่อมากขึ้น

    นอกจากนั้น ในพระคัมภีร์เองก็กล่าวถึงเหตุการณ์ภายหลังการตรึงกางเขนว่า พระเยซูยังเสด็จมาพบปะสนทนา รับประทานอาหาร และเดินทางร่วมกับศิษยานุศิษย์ ถ้าเราไม่ถือว่าเรื่องราวตรงนี้เป็นความเปรียบ ซึ่งก็มิได้มีทีท่าว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น เราก็เห็นจะต้องยอมรับว่าพระเยซูอาจมิได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเข นตามที่เคยเข้าใจ

    ส่วนหลักฐานที่ว่าพระเยซูเดินทางมาอินเดียนั้น ด็อกเตอร์ฟิดา ฮัสเนน (FIDA HASSNAIN) อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานแห่งกัษมิระ ได้ค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลผู้มีลักษณะคล้ายพระเยซูที่ป รากฏตัวในอินเดีย และดินแดนใกล้เคียงตามเอกสารประวัติศาสตร์ คัมภีร์ในศาสนา และตำนานต่างๆ ซึ่งก็ได้พบเรื่องราวนี้มากมาย อย่างในพระคัมภีร์ภาวิชยะ มหาปุราณะ คัมภีร์ 1 ใน 18 เล่มของคัมภีร์ปุราณะอันศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู ซึ่งรวบรวมขึ้นเมื่อ ค.ศ.115 นั้น กล่าวถึงการพบปะระหว่างพระเจ้าชาลิวาหณะกับบุคคลผู้เป็นที่เคาร พคนหนึ่งที่ชื่อ อิซา-มาซิห์ (ISA-MASIH) อิซาเล่าความเป็นมาของเขาว่า

    “ข้าคือบุตรของพระเจ้า เกิดจากมารดาพรหมจารี ข้ามาจากต่างดินแดน อันเป็นที่ซึ่งปราศจากความจริง...ข้าปรากฏกกายในฐานะเมสซิอาห์. ..”

    ในหนังสือ RAUZAT-US SAF หนังสือประวัติศาสตร์ของเปอร์เซีย ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1417 บอกไว้ว่า “เยซูผู้มีสันติสุข ถูกขนานนามว่าเมสซิอาห์ เพราะพระองค์เป็นนักเดินทางผู้ยิ่งยง... พระองค์เดินทางจากดินแดนของพระองค์ไปยังนาสสิเบน ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก พระองค์มีสาวกมาด้วยคนหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงส่งเขาไปเผยแพร่คำสั่งสอนในเมือง”

    ในศตวรรษที่ 10 นักวิชาการชาวมุสลิมชื่อ อัล-เชค อัล-ซาอิด-อุส-ซาดิค (AL-SHAIK AL-SAID-US-SADIQ) บันทึกการสืบค้นทางวัฒนธรรมไว้เป็นหนังสือเรื่อง อิคมาอัล-อุด-ดิน (IKMAUL-UD-DIN) กล่าวถึงชาวต่างชาติผู้หนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายพระเยซูเป็นอย่าง ยิ่งและมีชื่อว่า ยุส อาซาฟ “ แล้วยุส อาซาฟก็มาถึงเมืองที่เรียกว่ากัษมิระ เขาเดินทางไปทั่วกระทั่งความตายพรากชีวิตเขาไป เขาสั่งให้บาบัดผู้สาวกเตรียมหลุมศพให้เขาแล้วเขาก็นอนลงโดยเหย ียดขาไปทางตะวันตก วางศรีษะไปทางตะวันออกจากนั้นก็สิ้นใจ” ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ยังบอกด้วยว่า ยุส อาซาฟ สั่งสอนธรรมะโดยใช้นิทานเปรียบเทียบ นิทานเรื่องหนึ่งคือ “ผู้หว่านเมล็ดพืช” ซึ่งคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับนิทานเปรียบเทียบของพระเยซูในพระ คัมภีร์ (มาร์ค 4.3.20)

    นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานที่น่าแปลกอย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงพระเยซุกับผู้ที่ ชื่อ ยุส อาซาฟ กับเมืองศรีนคร กล่าวคือที่วิหารตากัต สุไลมาน (TAKHAT SULAIMAN แปลว่าบัลลังก์แห่งสุไลมานหรือก็คือโซโลมอนนั่นเอง) ที่ทะเลสาบดาลในศรีนครนั้นมีจารึกที่เสาวิหารว่าผู้ที่สร้างเสา นี้คือใคร สร้างขึ้นเมื่อใด และลงท้ายว่า “ณ เวลานั้น ยุส อาซาฟ ประกาศตนเป็นผู้พยากรณ์ ปี 50 กับ 4 เขาคือเยซู ผู้พยากรณ์และบุตรแห่งอิสราเอล” ปี 54 ที่กล่าวถึงในจารึกนั้นเทียบได้กับปี ค.ศ.78 เป็นเวลาภายหลังจากพระเยซูถูกตรึงกางเขน ถ้าเชื่อตามจารึกนี้ก็ดูเหมือนว่าพระเยซูจะเสด็จมาศรีนครจริงๆ

    ที่ประหลาดไปกว่านั้นก็คือ มีการกล่าวอ้างว่าที่ชายแดนปากีสถานต่อกับอินเดียก็มีหลุมศพของ โทมัส สาวกของพระเยซูที่ตำนานเล่าว่าติดตามพระเยซูมาด้วยและคือบาบัด สาวกของยุส อาซาฟ นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น บางตำนานก็เล่าเลยไปถึงว่าพระเยซูแต่งงานกับหญิงชาวพื้นเมืองแล ะมีลูกหลานสืบต่อมา จึงมีชาวกัษมิระคนหนึ่งชื่อนายซาฮิบ ซาดา บาซารัต ซาลีม ได้อ้างว่าตนเป็นเชื้อสายของพระเยซูที่สืบต่อกันมาเป็นตระกุ ลให ญ่อีกด้วย

    ใครคือผู้ที่ถูกฝังอยู่ในโรซาบัลนั้นยังคงเป็นปริศนาที่โต้แย้ง กันอยู่ แต่ ซูซาน โอลสัน (SUZANNE OLSSON) หญิงเก่งนักวิจัยอิสระคนหนึ่งก็ได้พยายามขออนุญาตขุดค้นหลุมศพน ี้ พร้อมทั้งมีแผนที่จะเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อจากศพไปพิสูจน์ดีเอ็น เอด้วย แต่ความพยายามของเธอยังไม่สำเร็จ ต้องพบกับอุปสรรคมากมายทั้งทางศาสนาและรัฐบาลท้องถิ่น จนบางครั้งก็เสี่ยงต่อความปลอดภัยของตนเอง เราก็เลยยังไม่ได้ข้อสรุปกันเสียที ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศาสนาอาจต้องพลิกผันก็ได้ ใครจะรู้

    ที่มา
     
  3. LiuYiFei

    LiuYiFei สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +6
    สุดยอดๆ ขอบคุณครับ
     
  4. bussaba1

    bussaba1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    317
    ค่าพลัง:
    +573
    ขอบคุณค่ะ ที่สรรหาสาระดี ๆ มาให้อ่าน
     
  5. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    คือ...ไม่ได้ลบหลู่หรืออะไรนะ....
    ..ส่วนมาก...สำหรับผม ไม่ว่าจะเป็นนิกายใด ลัทธิใด...ผมชอบเป็น หนอนตำรา...ศึกษาค้นคว้าเสมอๆ
    ..เมื่อมาเจอหนอนตำรา เช่นเดียวกัน...ผมจะไม่สนใจ...เพราะ มันเป็น ของปลอม ซึ่งหมายถึงตัวผมด้วย
    ..ของจริง...ปัญญา ต้องเกิดจาก ญานหยั่งรู้ ไม่ใช่สมองคิด...
    ...ญานย้อนอดีตที่พุทธองค์ได้เมื่อเริ่มต้นตรัสรู้ นั่นคือ ปัญญา ที่เกิดจากการวิปัสสนากรรมฐาน...ไม่ใช่สมองคิด...
    ..คิดเอง เออเอง...เพ้อเจ้อ...เดินป่า เสือก็คาบไปกินหมด
     
  6. Learn4me

    Learn4me สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ต้นกำเนิดของทุกศาสนา ย่อมมีความสำคัญ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือจุดมุ่งหมายของศาสนา ที่ต้องการให้จิตใจมนุษย์ทุกคนสูงขึ้น (ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ) ต
     
  7. abcd efg

    abcd efg สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +1
    แล้วทุกวันนี้ ในความเป็นจริง ป่ามีน้อยเต็มที เสือในป่ามีน้อยเต็มที ดังนั้น การทักท้วงของท่าน จึงไม่สมเหตุสมผลเต็มร้อย ครับ และเรื่องญาณหยั่งรู้ที่ท่านกล่าวถึง ท่านเองก็ยังไม่รู้ไม่ทราบว่ามันเป็นเช่นใด และญาณหยั่งรู้ที่ที่กล่าวถึง มันก็ ไม่ได้มีอยู่ในตัวท่านเลย เพราะท่านพูดถึง ญาณหยั่งรู้ในตัวพระพุทธเจ้า ดังนั้น สิ่งที่ท่านทักท้วงมาทั้งหมด ก็ เหมือน คนไม่รู้ เอาสิ่งที่ตนเองไม่รู้ มาพูด นั่นเองครับ

    คราวหน้าถ้าจะทักท้วง กรุณาเอาสิ่งที่มีในตน มากล่าวทักท้วง อ้างอิง นะครับ ว่าตนเองรู้แล้วพิสูจน์แล้ว ถึงเอามาพูด ไม่ไช่ ยกเอาญาณหยั่งรู้ ในพุทธองค์มาพูด ของจริงในตัวท่านถึงมีอยู่แค่ไหน มันก็ จริงแค่นั้นแหล่ะครับ อย่าพูดเกินนั้นครับ เพราะ พวกเรา คนเหมือนกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...