ไม่รู้ความหมาย เกิด-ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 มิถุนายน 2012.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ๗. โสตาปันนสูตร
    (เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.)

    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
    ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ
    คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
    เหล่านี้ ตามความเป็นจริง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีอันไม่ตก
    ต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3572&Z=3579

    ^
    ^
    ชัดๆขนาดนี้แล้ว ยังจะเถียงพระพุทธวจนะให้ชนะอีกหรือ
    พระอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ
    คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
    (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

    เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
    อะไรของท่านพระโสดาครับ เป็นผู้เที่ยงตรงต่อพระนิพพาน?
    กายที่ต้องอาศัยเพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย หรือ จิตของพระอริยะสาวก?

    เจริญในธรรมสำหรับผู้รักเหตุผล
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว
    โดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ
    จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลังปราศจากความน่ารัก
    มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ

    และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในวิญญาณได้
    ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
    จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2445&Z=2669&pagebreak=0

    ^
    ^
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    พระพุทธพจน์ชัดๆนะครับว่า
    จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
    ไม่ใช่จิตของข้าพเจ้าผู้รู้บ้างไม่รู้บ้าง เกิดๆดับๆ หรือจิตดับตายหายสูญ อยู่อย่างนั้นแล

    ก็เพราะเห็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ตามแบบอย่างที่เชื่อถือตามๆกันมา

    ไม่พิจารณาโดยแยบคาย ไม่เอาพระพุทธพจน์เป็นหลัก
    พระพุทธศาสนาจึงได้เรียวลง สอนกันไปได้
    ในสิ่งที่ขาดเหตุขาดผลรองรับ ตริตรองตามไม่ได้

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน จิตของพระต้องดับตายหายสูญไปด้วยหรือ?
    พระพุทธองค์ยังทรงอยู่กับเรานะ ที่ทรงตรัสสั่งสอนพระวักกลิว่า
    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"ใช่หรือไม่?
    แสดงว่า เมื่อใครสามารถเข้าถึงอมตะธรรมได้จริงในสมัยนี้ ย่อมเห็นพระพุทธองค์ใช่หรือไม่?
    ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบนั้น เป็นกันที่ไหน?
    ที่พระวรกายอันเป็นสิ่งปฏิกูล เน่าเปื่อย หรือ
    จิตที่บริสุทธิ์หลุดพ้น แม้กามสวะ แม้ภาวสวะ แม้อวิชชาสวะกันแน่?

    คำว่า "ดับในภพนี้" พิจารณาดีๆจะเห็นได้ว่า ในพระสูตรนั้น
    พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงการดับ อวิชชา ตัณหา อุปาทานใช่หรือไม่?
    ไม่ได้ทรงกล่าวไว้ตรงไหนเลย"เราจักดับจิตในภพนั้น"ใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมสำหรับผู้รักเหตุผล
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาศึกษา พระสูตรกัน

    ขออาศัย เหตุบางประการ เกี่ยวกับ การประพฤติตัวเป็น มหาโจร ขโมย พระธรรม
    ยกพระสูตรว่าด้วยเรื่อง มหาโจร


    มหาโจรสูตร
    [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมย่องเบาบ้าง
    ปล้นบ้าง ทำการล้อมเรือนหลังเดียวแล้วปล้นบ้าง คอยดักชิงเอาที่ทางเปลี่ยวบ้าง

    องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยที่อันขรุขระ ๑
    ย่อมอาศัยป่าชัฏ ๑ ย่อมอาศัยบุคคลผู้มีกำลัง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรย่อมอาศัยที่อันขรุขระอย่างไร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยสถานที่อันไม่ไกลแม่น้ำ หรือที่ที่ขรุขระ
    แห่งภูเขา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรย่อมอาศัยที่อันขรุขระอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายก็มหาโจร
    ย่อมอาศัยป่าชัฏอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยชัฏหญ้า บ้าง ชัฏ
    ต้นไม้บ้างริมตลิ่งบ้าง ราวไพรใหญ่บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ย่อมอาศัยป่าชัฏอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรย่อมอาศัยบุคคลผู้มีกำลัง อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจร
    ในโลกนี้ย่อมอาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชา เขาคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจัก
    กล่าวหาอะไรกะเราพระราชาหรือ มหาอำมาตย์ของพระราชาเหล่านี้ จักช่วยกันปกปิดโทษ
    ของเรา แล้วว่ากล่าวอรรถคดีดังนี้ ถ้าใครกล่าวหาอะไรกะมหาโจรนั้นเข้าพระราชาและมหา
    อำมาตย์ ของพระราชาเหล่านั้นต่างช่วยกันปกปิดโทษของมหาโจรนั้น แล้วว่ากล่าว
    อรรถคดี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรย่อม อาศัยบุคคลผู้มีกำลังอย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มหา
    โจรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลย่อมย่องเบาบ้าง ปล้นบ้าง ทำการล้อมเรือนหลัง
    เดียวแล้วปล้นบ้าง คอยดักชิงเอาที่ทางเปลี่ยวบ้างฉันใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุผู้ลามกประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
    ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลายประกอบด้วยโทษ ถูก วิญญูชนติเตียน ทั้งจะประสบ
    บาปเป็นอันมากอีกด้วยธรรม ๓ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกในธรรม วินัยนี้ย่อมอาศัยกรรมอันไม่สม่ำเสมอ ๑
    อาศัยป่าชัฏ ๑ อาศัยบุคคลผู้มีกำลัง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกย่อมอาศัยกรรมอันไม่สม่ำเสมออย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุผู้ลามกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สม่ำเสมอด้วยวจีกรรมอันไม่สม่ำ
    เสมอ ด้วยมโนกรรมอันไม่สม่ำเสมอ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ลามกย่อมอาศัยกรรมอันไม่สม่ำเสมออย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกอาศัยป่าชัฏอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามก
    ในธรรมวินัยนี้เป็นคนที่มีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกย่อมอาศัยป่าชัฏอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ลามกย่อมอาศัยบุคคลผู้มีกำลังอย่างไร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกในธรรมวินัยนี้ย่อมอาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
    เธอ คิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักว่ากล่าวอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาเหล่านี้ จัก
    ช่วยปกปิดโทษของเราแล้วว่ากล่าวคดี ดังนี้ ถ้าใครได้ว่ากล่าวอะไร ภิกษุพวกลามกนั้นพระราชา
    และมหาอำมาตย์ของพระราชาเหล่านั้น ต่างก็ช่วยกันปกปิดโทษของภิกษุนั้นไว้แล้วว่ากล่าวคดี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกย่อม อาศัยบุคคลผู้มีกำลังอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกประกอบด้วยธรรม ๓ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย ประกอบด้วยโทษถูกวิญญูชนติเตียน ทั้งจะประสบบาปมากอีกด้วย ฯ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คราวนี้ มาดูตัวอย่างประกอบ พระสูตร กัน

    ว่าด้วย อาศัย "ความไม่สม่ำเสมอ"

    เราๆท่านๆ จะทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากเรายังเป็นผู้ฝึกหัด ย่อมต้องมีอาการ
    มโนกรรม วจีกรรม และ กายกรรม การนำเรื่อง ความไม่สม่ำเสมอของ มโน
    วจ และ กาย นี้มากล่าว จะต้องนำมากล่าวเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอาจหาญ
    ร่าเริง ในการปฏิบัตธรรมะ

    แต่ ถ้า ประพฤติตัวเยี่ยงโจร ก็จะมีการเอามากล่าว เพื่อประกอบ ธรรมะแนว
    แก่งแย่ง ขากถุย กดข่ม อีกฝ่ายเท่านั้น

    ดูตัวอย่างประกอบ

     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คราวนี้มาดู การอาศัยบุคคลผู้มีกำลังบ้าง

    ก็จะเป็นการ ยกพระนามของผู้มีอำนาจ ยกบุคคลที่เป็นสาวก บริวาร
    ของผู้มีอำนาจ มากล่าว สนับสนุน ธรรมะแนวแก่งแย่ง ขากถุย กดข่ม
    อีกฝ่าย เท่านั้น ไม่ใช่ นำพระนามมากล่าว เพื่อให้เรา ร่าเริง อาจหาญ
    ในธรรมแต่อย่างใด

    พิจารณาตัวอย่างประกอบ


     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ก็มาว่าด้วยเรื่อง การอาศัญป่าชัฏ ซึ่งมีคำว่า "อันตคาหิกทิฏฐิ"

    ก็ต้องมาดูกันก่อนว่า อันตคาหิกทิฏฐิ คืออะไรบ้าง


    มาดูตัวอย่างประกอบ การยกเพื่อให้เห็น ความรกของป่าชัฏ ด้วย
    วิธีการกล่าว "อันตคาหิกทิฏฐิ"


     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อนึ่ง ในเรื่อง "อันตคาหิกทิฏฐิ" นี้ มีบางสำนัก โดยเฉพาะ สำนัก
    ของบุคคลที่ถูกยกเป็นตัวอย่างบ่อยๆ ได้กล่าวว่า "อันตคาหิกทิฏฐิ"
    นี้เป็นเรื่องเหลวไหล ไม่ใช่คำสอนของตถาคต

    เช่นให้ อรรถาธิบายว่า ในเรื่อง "การตายแล้วไปเกิดใหม่ของสัตว์"
    นั้น พระพุทธองค์ก็ ทรงกล่าวไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ ชาดก ก็
    เลยอาศัยความรกของป่าชัฏ ความไม่สม่ำเสมอของทิฏฐิของเราๆท่านๆ
    และ อาศัยบุคคลผู้มีกำลัง(อ้างพระพุทธองค์กล่าวไว้) มาทำให้เรา
    ไขว้เขว แล้ว อาศัย การชักนำให้เห็นว่า "อันตคาหิกทิฏฐิ" เป็นเรื่อง
    เหลวไหล ไม่น่าจะปรากฏในพระสูตรเลยแม้แต่น้อย เป็นการ ทำลาย
    พระไตรปิฏกส่วนสุตันตะ ให้พินาศ

    แท้จริงๆแล้ว พระพุทธองค์ กล่าวถึง การเวียนว่ายตายเกิดจริง แต่
    พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงยกให้เห็น เพื่อให้เกิดการยึดมันถือมั่น ว่าชีวิต
    ย่อมมีการเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธองค์ยกมาเพื่อให้ เห็นทุกข์ เห็น
    โทษ

    นำมากล่าวเพื่อให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ จึง ไม่ควรถือว่า ยกเพื่อสอนให้เรา
    ยึดถือเอาเป็นบรรทัดฐาน เพื่อที่จะได้ เย็นใจว่า ตายแล้วเดี๋ยวก็มาเกิด ไม่
    ต้องทุกข์ร้อน เวียนว่ายๆไปเรื่อยๆ เดี๋ยวดีเอง

    ก็จะเห็นว่า พระพุทธองค์กล่าว แต่ ไม่ใช่กล่าวเพื่อให้ยึดถือ นำไปสมาทาน

    การที่มาอ้างว่า ก็พระพุทธองค์ก็กล่าวเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เลยอาศัย
    ทำลายพระสุตตันตะ ยกเอาข้อธรรม "อันตคาหิกทิฏฐิ" นี้ออกจากพระไตร
    ปิฏก จึงเป็นเรื่องของการ ทำธรรมลามก ประพฤติเป็นมหาโจร

    และในกรณีบุคคลตัวอย่าง ก็เป็น มหาโจรทั้งสำนักมาตั้งแต่ 120 ปี ไม่ต่ำกว่านี้
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตัวอย่าง การรณรงค์ทำลาย พระไตรปิฏก ที่มีอยู่ในชั้นตำราของ บุคคลที่
    ยกเป็นตัวอย่างบ่อยๆ ในเรื่องประกอบกิจเป็น มหาโจร


     
  9. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั่น

    ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญํูชนไม่คัดค้าน. สี่อย่าง อย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! สี่อย่างคือ :-
    อนภิชชา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญํูชนไม่คัดค้านแล.




    --------
    เห้ออ อะไรของนายเนี่ย ท่าน พรามหณ์ ธรรมภูต หยุดก่อน หยุดสะเตอะ ท่านรู้ความต่างคนยุคก่อนๆเหล่าปริพาชก เหล่าพรามหณ์ทั่งหลายไหมว่าเพราะอะไรเค้าถึงไม่นิพพานกัน หลังจากพระสัมมาสัมพุทธะ อุบัดนั้น ถึงจะเริ่มมีผู้นิพพาน

    เพราะไม่เห็น อริยสัจ คือ การเกิดและการดับของธรรมชาติทั้งหลาย ยังไม่เห็นสัจจธรรมที่มีความเป็นกลาง มีความเสมอกัน ในทุกสรรพสิ่ง ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ล้วนมีสมุทัยเป็นเหตุเกิด ล้วนมีนิโรธคือความดับ เขาจึงได้ในระดับของคุณงามความดีในพื้นฐาน คือละความโลภ ความโกรธ แล้วมีจิตเป็นอุเบกขา การมีสติ ก็คือการระลึกได้ถึงความเป็นปัจจุบัน เมื่อจิตอยู่กับปัจจุบันได้นาน ก็เรียกว่าเขามีสมาธิ มีความตั้งใจมั่น เขาจะสามารถตั้งใจมั่นได้ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ ฌานที่ ๑ ๒ ๓ ๔ อรูปฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ แต่ก็ยังมีความเพลิดเพลิน มีความพอใจในธรรมชาติทั้งหลาย จนกระทั่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราบังเกิดขึ้น และตรัสรู้ความจริงของธรรมชาติ ว่าในธรรมชาติทั้งหลายนั้น ไม่ว่าจะละเอียดประณีตขนาดไหนก็ตาม ล้วนมีสมุทัยคือเหตุเกิด และมีนิโรธคือความดับ เป็นสิ่งที่เข้าไปยึดถือไม่ได้ และธรรมชาติใดที่มี การเกิด การดับ แสดงว่าธรรมชาตินั้น เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนจริง จึงไม่ควรที่เราจะเอาความเป็นตัวตนเข้าไปผูกพันกับธรรมชาตินั้น ไม่ควรที่จะยึดถือธรรมชาตินั้น ว่าเป็นตัวเราของเรา
    ----------------
    --------------------------
    ทัฏฐัพพสูตร

    [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน
    คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนา
    โดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุข
    เวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนา
    โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนา
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหา
    ได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละ
    มานะได้ โดยชอบ
    [๓๖๘] ถ้าภิกษุใดเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความ
    เป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้นโดยความเป็นของไม่
    เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนา
    ทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้
    ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท เมื่อตายไปย่อมไม่
    เข้าถึงความนับว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้งมงาย ฯ

    จบสูตรที่ ๕
    -------------
    ผู้ใดเพลิดดพลิน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์
    ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรายืนยันว่าผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์

    ผู้ใดแลไม่เพลิดเพลิน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ผู้นั้นไม่เพลิดเพลินทุกข์
    ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรายืนยันว่าผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
    ----------------------

    ''เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า
    ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ
    ควรกล่าวว่า สุข
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย
    มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
    แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่า
    มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
    เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ
    ''

    -------
    ภิกษุ ท.! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และ
    ลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่ง ๆ ในเวทนาทั้งหลาย
    . ภิกษุ ท.!
    เพราะเหุตนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัม-ปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
    -----------

    ....ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเหล่าอัญเดียรถีย์ ปริพาชก พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล? มีอะไรเป็นแดนเกิด? ... มีอะไรเป็นที่หยั่งลง? มีอะไรเป็นที่สุด? พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบชี้แจงแก่อัญเดียรถีย์ ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า แน่ะ ท่านมีอายุ
    ....๑. ธรรมทั้งปวงมี ฉันทะเป็นมูล
    ....๒. ธรรมทั้งปวงมี มนสิการเป็นแดนเกิด
    ....๓. ธรรมทั้งปวงมี ผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น-เป็นเหตุ
    ....๔. ธรรมทั้งปวงมี เวทนาเป็นที่ประชุมลง-ที่รวมลง
    '....๕. ธรรมทั้งปวงมี สมาธิเป็นประมุข
    ....๖. ธรรมทั้งปวงมี สติเป็นใหญ่
    ....๗. ธรรมทั้งปวงมี ปัญญาเป็นยอดยิ่ง
    ....๘. ธรรมทั้งปวงมี วิมุตติเป็นแก่นสาร
    ....๙. ธรรมทั้งปวงมี อมตะเป็นที่หยั่งลง
    ....๑๐. ธรรมทั้งปวงมี นิพพานเป็นสุดท้าย

     
  10. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั่น



    ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำ งับ แม้จิตก็รำ งับ
    ภิกษุ ท.! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ.
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
    ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
    ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำ งับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น.
    ภิกษุ ท.! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น.
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว. สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่า
    ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
    ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น
    เป็นอย่างดี. ภิกษุ ท.! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่น
    แล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
    , สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น
    ป รา รภ แ ล้ว. ส มัย นั้น ชื่อ ว่า ย่อ ม เจ ริญ อุเบ ก ข า สัม โพ ช ฌ งค์. ส มัย นั้น
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ


    -----------------------

    ลองดูพระสูตรนี้ก่อนพรามหณ์ ธรรมภูต เดียวค่อยไปโยงกับพระสูตรเกียวกับ วิราคะ นิโรธ วิมุตติ อย่าพึงไปไหนไกล เอาตรงนี้ ให้เข้าใจก่อน
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อธิบาย เรื่อง พระมาลุงกยะบุตร

    เรื่องราวของ พระมาลุงกยะบุตร เท่าที่ ค้นได้จะมีอยู่ สองพระสูตร
    พระสูตรแรก จูฬมาลุงกยะบุตร เป็นเรื่องที่ว่า ด้วยการเข้าไปถาม
    เรื่อง ทิฏฐิ10 ส่วนอีกพระสูตรจะเป็น มหามาลุงกยบุตรสูตร

    ซึ่งทั้งสองพระสูตร ชี้ให้เห็นว่า พระมาลุงกยบุตร เป็นพระอีกผู้หนึ่ง
    ที่พระพุทธองค์ใส่ใจ ตามพิจารณาจิต และ สอนสั่งด้วย มหากรุณา
    ไม่ใช่จะมีดำริว่า หากพระมาลุงกยะบุตรปรารถนาจะไป ก็เชิญ

    จาก มหามาลุงกยบุตรสูตร ชี้ให้เห็นอีกว่า พระมาลุงกยะบุตรเป็น
    ผู้ไม่ค่อยขวนขวายจะประกอบปฏิปทา ไม่ประกอบมรรค จึงถูกยก
    ขึ้นเป็นเหตุตรัสสอนแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อกระตุ้นให้เจริญมรรค

    และจากพระสูตรจูฬมาลุงกยะบุตร จะพบว่า พระท่าน ปลีกวิเวก
    ไปในที่เร้น ก็คงเพื่อประกอบบำเพ็ญสมณะธรรม ไม่ได้จะทอด
    ธุระ แต่ ระหว่างบำเพ็ญ จิตเกิดปริวิตก ตรึกไปในเรื่อง ทิฏฐิ10
    เสร็จแล้ว ก็เห็นจิตตัวเองแสดงวจีท้าทายพระมหาศาสดา ก็เลยกังวล
    ว่า ตนได้ปรามาสพระพุทธองค์แล้ว เห็นที่จะเป็น โทษ

    ก็เลยไปเข้าเฝ้า เล่าความ จิตที่ปริวิตกแล่นไป ในธรรมที่ไม่ดี ก็เรียก
    ว่าไปสารภาพ และ จะขอปรับโทษตัวเอง คือ ขอออกไปเสียจากสำนัก
    จะได้ไม่ทำความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาตร

    สังเกตดีๆนะครับ ไปสารภาพว่าได้ ตนได้กระทำผิด และ คิดจะลงโทษ
    ตัวเองคือ ปรับตนออกจากสำนัก ไม่ใช่อาการ ทำตัวเป็นผู้ว่ายากสอน
    ยากคิดจะท้าทายพระพุทธองค์ ....คนละเรื่อง !

    พระพุทธองค์ จึงตรัสปลอบโยน เน้นนะว่า ปลอบโยน โดยอาศัยเงื่อน
    ที่พระมลุงกยะบุตร ยกนั้น เป็นข้อกำหราบความวิตก เมื่อปรับวิตกทุกข์
    ร้อนใจลงแล้ว พระพุทธองค์ตรัสสำทับอกว่า "เธอก็อยู่ปฏิบัติในสำนักเรา
    ต่อไปเถิด" ไม่ได้กล่าวว่า จะไปไหน ก็เชิญ แต่อย่างใด คนละเรื่อง เช่นกัน

    ************************

    ทีนี้ มาเรื่อง อันตคาหิกทิฏฐิ ที่ว่ามีการกล่าวโทษว่า หากใครกล่าว
    ทิฏฐิ10 นี้เป็นจริง แม้ข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่า ปรับโทษปิดมรรคผลนิพพาน

    อันนี้ อาศัยอะไรกล่าว ก็ต้องไป อ่าน จูฬมาลุงกยะบุตรสูตร นั่นแหละ
    พระพุทธองค์กล่าวอธิบายให้กับ พระมาลุงกยะบุตรชัดเจนอยู่แล้วว่า ว่า
    ทิฏฐิทั้ง10 นี้ หากผู้ใด ขอสักข้อ ( เช่น ขอข้อ 7 สักข้อไม่ได้หรือ ) ผู้
    นั้นก็เท่ากับสอนให้ คนในสำนักหยุดการประกอบมรรคทันที หาก
    ยกทิฏฐิข้อใดข้อหนึ่งในสิบข้อเหล่านี้ ผู้ฟังธรรมนี้ๆ จะหยุดการประกอบมรรค

    อาศัยอำนาจที่ เทศนาธรรมที่ไปปิดมรรคผลคนอื่น ก็ให้ รวมถึงมีโทษปิดมรรค
    ผลคนสอนด้วย เช่นกัน เหตุนี้ ใครกล่าว ทิฏฐิ10 นี้ว่า จริง ก็จะถือว่า ปิด
    มรรคผลของตน แน่นอน

    เช่น กล่าวว่า เบื้องปลายแต่ตายไป ตถาคต จะยังปรากฏอยู่ ในดุสิตก็ดี ในจุฬาก็ดี
    ในธรรมศาสตร์ก็ดี เหล่านี้ก็เท่ากับ สอนให้คนหยุดการปฏิบัติประกอบมรรคผล
    เพราะ ไม่อาจจะทำให้เกิดการดำริออกจาก ขันธ์5 เมื่อไม่ดำริที่จะออกจาภพ ชาติ
    ชรา มรณะ ก็ย่อมปรากฏอยู่นั่นเอง

    ดังความที่ ตรัสสำทับแก่ พระมาลุงกยบุตร ดังนี้

    ปล.

    เคสของ พระมาลุงกยะบุตร กับ พระพุทธองค์ อย่าได้อ่านไปในทาง มีการปรามาส

    ให้ นึกถึงตัวอย่าง "ครอบครัวกรรมฐาน" ของ หลวงปู่มั่น ที่มี ลูกศิษย์อยู่ดีๆ
    จิตมันไม่ลงให้กับอาจารย์ ไม่ลงให้กับคำสอน ลูกศิษยก็จะรีบจ้ำไปหาพระอาจารย์
    มั่น เขาไปถึงแล้วก็จะ เอ็ดตะโร เล่นเอา พระหนุ่ม เณร น้อยตกอกตกใจ แต่จริงๆ
    แล้วไม่ใช่ การมาปรามาสอะไรกัน มันเป็นอาการ มาสารภาพ มาขอคำสอน
    มาขอให้พระอาจารย์ช่วยกำหราบจิต เอาให้ลงที เป็นเต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2012
  12. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    มาดูคำของ สาวก ธรรมภูต ผู้นอกกรอบกัน สรุปเเละ
    ''
    ส่วนปุถุชนนั้น เห็นอาการของจิต(จิตตสังขาร) ที่เรียกว่า
    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญาณบ้างฯลฯ จิตเป็นต้นนั้น'

    '''
    เเต่งขึ้นชัดๆ ยังไปเรียกผู้อื่นว่า ปุถุชนอีก

    ''วันหลังจะมั่วอะไร เทียบเคียงให้ดีๆก่อน
    ขันธ์กับธาตุหนะคนละเรื่อง''


    ไม่ดูตาม้าไงเลยพูดเเบบนี้

    '''ส่วนบางพระสูตรที่มีแปลไว้ให้เป็นธาตุนั้นเป็นธาตุผสม
    ไม่ใช่แม่ธาตุ ที่เป็นอสังขตธรรมธาตุ
    แต่เป็นสังขตธรรมธาตุ ธาตุที่ผสมแล้ว''


    คนอะไร เอาน้ำกับน้ำมันผสมกันเเล้วบอกว่าเป็นเนื้อเดียวกันได้ แปลกเเหะ

    วานรก็ตัวเดิมชัดๆ ใช่หรือไม่?
    ที่เกิด-ดับไปต่อหน้าต่อตาไปนั้น
    ใช่อาการที่วานรจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้ ใช่หรือไม่?


    มาดูความผิดพลาดที่ไปจำอะไรๆมาผิด
    ก็เมื่อ จิตดวง1เกิดขึ้น ดวง1 ก็ดับไปตลอดวันตลอดคืน ยังดันไปว่าลิงต้องตกไม้ตาย ได้อีก
    การที่ลิงตกไม้ผมก็บอกไปเเล้วคือการปล่อยขันธ์5 ไง วิราคะ นิโรธ
    เเต่ตอนนี้ มีการเกิดดับ อยู่ คือการเปลี่ยนกิ่งของลิงของลิง! เข้าใจยังนิ มันยังไม่ได้ตกอะไร เพราะมันเป็นวิญญาณฐิติ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ คือการเกิดของ อุเบาขา มันจะดับไปเมื่อจิตมันฟุ้งไปที่อื่นคือเปลียนกิ่งของลิง

    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" เราคืออะไร?
    ก็คือการรู้ เหตุปัจจัยของมันไง ถ้าคุณเข้าใจคำว่า ไม่มีเราเป็นผู้บังคับอะไรได้ มันเป็นตามปัจจัยของมันนั่นเเละคือเห็นธรรม
    มันจะเป็นไปตามปัจจัย ถ้าคุณเคยลองนำไป ใครควรบ้างก็จะรู้ว่าคืออะไร
    ถ้าหากผมถามคำถามคุณ ตอนนี้ ผิดไม่คิดว่าคุณจะตอบได้ เพราะยังไม่เข้าใจเหตุ มันเลยกลายไปมีเรา มีเค้าไง
    พระวรกายของพระพุทธองค์ที่ตายเน่าเข้าโลงได้?
    ก็พระองค์ตรัส สังขารทั่งหลายเป็นสิ่งไม่เที่ยง เมื่อไม่ยึดกับสิ่งไม่เที่ยง ก็ว่างเปล่า ปรินิพพานไง
    ก็เพราะสิ่งนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนของเรา
    มีแต่พวกดักดานเท่านั้น ที่จะยึดนั่น ยึดนี้มาเป็นเรา

    ให้ไปรู้เหตุปัจจัยก่อน ให้เข้าใจอย่างท่องเเท้ รู้สมุทัย รู้นิโรธ มันมีอะไรเป็นปัจจัยให้กัน ไม่มีเรา ต้องเข้าใจเเบบนี้ เมื่อยึดกับสิ่งไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์อยู่เเล้ว
    พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนชัดๆว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา
    ไม่ได้ทรงตรัสตรงไหนเลยว่า ไม่มีเรา ไม่มีตน ในที่ทั้งปวง
    แต่ไม่ให้ยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนของเรา ไม่ใช่ไม่มีคนละเรื่อง

    สับสนเข้าไป ฟุ้งไปเรื่อย

    ถ้าพระพุทธองค์ทรงสอนว่า ไม่มีเรา ไม่มีตน ในที่ทั้งปวง
    ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนไว้กับพระวักกลิ
    ก็เป็นการมุสาดีๆนี่เองสิ
    ทำไปได้ไอ้พวกแอบอ้างว่า
    "ไม่มีเราในที่ทั้งปวง"

    เห้อ ไม่เข้าใจคำนี้คุณจะสื่อะไร? ชักเเย่เเล้วมั่ง เลอะเทอะไปเรื่อยเเล้ว
    ก็เห็นๆว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา เเล้วยังไปยึดว่า เป็นของเราอีกรึไง ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน
    ธรรมทั่งหลายล้วนเป็นอนัตตา
    ''เค้าสำคัญสิ่งใด โดยประการใดแต่สิ่งนั่นย่อมเป็นไปโดยประการอื่นจากที่เค้าสำคัญนั่น''
    เอาเเค่นี้พอ ที่จริง เเล้ว ก็ว่าจะเเสดงตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ที่ผมไปใครควรมาเเล้ว เเต่ดูพูดเเบบนี้ก็ หลงไปกับ จิต มโน วิญญาณ อยู่เตอะ!
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อมหาโจร เข้าพวกกับโจรเล็กโจรน้อย
    คอยปล้นสโดม ขโมยคำสอน ทำให้พระสัทธรรมให้หมดไป
    พวกนอกรีตและมหาโจรชอบแอบอ้างพระธรรมและชอบเสี้ยม
    โดยมองข้ามสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นประธานของสงฆ์

    มหาโจรและโจรเล็กโจรน้อยมาในรูปแบบสาวสวย
    และรูปสัตว์น่ารักๆ เพียงเพื่อสร้างภาพหลอกลวงพระสัทธรรม ให้เสียหาย55+

    V
    V

    ธรรมะที่เป็นพหุลานุสาสนี

    ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์

    ›››››

    สมเด็จพระญาณสังวร

    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    วัดบวรนิเวศวิหาร



    ส่วนทางจิตใจนั้น จิตใจที่เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้
    ตัวรู้ที่ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมทั้งหลาย
    นั่นก็ยังเป็นสังขารส่วนประสมปรุงแต่ง
    แต่ว่าตัวรู้ที่สิ้นอวิชชาตัณหาอุปาทานทั้งหมด
    เป็นตัวรู้ที่รู้พ้น ไม่มีสิ่งผสมปรุงแต่ง ไม่มีการผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น
    เป็นรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย
    สิ้นอาสวะกิเลสทั้งหมด ซึ่งอาจจะแสดงออกมาเป็นสมมติบัญญัติก็เป็นวิชชาเป็นวิมุติ
    เป็นตัวรู้ที่บริสุทธิ์ไม่มีเครื่องปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง
    ดั่งนี้ก็กล่าวได้ว่าเป็นสภาพที่เป็นวิสังขาร ที่เป็นวิราคะธรรม หรือเป็นนิพพาน
    ส่วนวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ที่ยังประกอบด้วยอาสวะกิเลสก็ยังเป็นสังขารคือยังผสมปรุงแต่ง

    เพราะฉะนั้น วิสังขารหรืออสังขตธรรมทางวิญญาณธาตุนั้น
    แสดงได้ตามหลักพระพุทธศาสนา ดั่งนี้
    เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นคู่กัน สังขาร วิสังขาร
    และทั้งหมดนี้ก็เป็นอนัตตามิใช่อัตตาตัวตน

    เพราะว่าเป็นสภาพธรรมดา เป็นธรรมดาที่เป็นไปอยู่ดั่งนี้ ไม่ใช่เป็นใคร ไม่ใช่เป็นของใคร
    เหมือนอย่างดินฟ้าอากาศที่เป็นของธรรมชาติธรรมดา ไม่ใช่เป็นใคร ไม่ใช่เป็นของใคร
    ความเป็นใครเป็นของใครนั้นเพราะอุปาทานคือความยึดถือเท่านั้น
    เพราะฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงได้ตรัสสอนให้บุคคลกำหนดพิจารณา
    ให้รู้จักตัวทุกข์อันมีอยู่แก่ทุกๆ คน ดังที่สวดว่ามีทุกข์หยั่งลงแล้ว
    มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า เพื่อให้มองเห็นทุกข์

    วิธีฝึกให้มองเห็นทุกข์

    และความที่จะมองเห็นทุกข์นั้น วิธีที่พิจารณาที่เป็นพหุลานุสาสนีนี้
    ก็เป็นวิธีที่สำหรับที่จะฝึกให้มองเห็นทุกข์ได้เป็นอย่างดี
    และก็จัดเข้าในฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งจะต้องมีสติเป็นเครื่องนำ ก็คือสติปัฏฐาน
    ซึ่งจะมาเป็นสติสัมโพชฌงค์ สติที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ปัญญาวิจัยธรรมะ
    และเมื่อวิจัยธรรมะได้ ก็จะเป็นสัมมาสติวิจัยทุกข์ได้ มองเห็นทุกข์ได้

    แต่ว่าการที่จะมองเห็นทุกข์นี้ที่เป็นสิ่งที่ยาก ก็เพราะว่าบุคคลยังติดอยู่ในทุกข์
    ยังพอใจอยู่ในทุกข์ ยังมองเห็นว่าเป็นความสุข คือเห็นทุกข์ว่าเป็นความสุข
    ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า นันทิ คือความเพลิน กับ ราคะ ความติดใจยินดี
    ดังเช่นขันธ์ ๕ อันเป็นสมมติบัญญัติว่าเป็นอัตภาพอันนี้
    อันเป็นขมวดที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนว่า
    กล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการเป็นทุกข์
    แต่แม้เช่นนั้นก็ยังมีความเพลินความติดใจยินดีอยู่ในทุกข์นี้
    คือยังเพลินยังติดใจยินดีอยู่
    ในรูปขันธ์กองรูป
    ในเวทนาขันธ์กองเวทนา
    ในสัญญาขันธ์กองสัญญา
    ในสังขารขันธ์กองสังขาร
    ในวิญญาณขันธ์กองวิญญาณ

    อาการที่เรียกว่าจิตดิ้นรนกวัดแกว่ง

    และมิใช่แต่เท่านั้น เมื่อมีความเพลินมีความติดใจยินดี ก็ย่อมมีความดิ้นรนของใจ
    ใคร่ที่จะได้ ใคร่ที่จะเป็น ใคร่ที่จะทำลาย
    อันเกี่ยวแก่ความเพลินและความติดใจยินดีนี้ด้วย ใคร่ที่จะได้นั้นก็คือใคร่ที่จะได้รูป ( เริ่ม ๓๐/๒ )
    ใคร่ที่จะทำลายนั้นก็คือใคร่ที่จะทำลายสิ่งที่มาขัดขวาง
    ต่อความประสบความสำเร็จในการได้ต่อความที่จะเป็นของตน เป็นต้น
    อยู่ในขันธ์ ๕ นั้น จิตจึงมีความดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย

    และอาการที่จิตมีความดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่ายไป
    เพื่อที่จะได้ เพื่อที่จะเป็น เพื่อที่จะทำลายนี้
    นี้แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสยกเอาข้อนี้ขึ้นมาว่า
    เป็นตัวทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ คือตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก
    ดิ้นรนทะยานอยากไปเพื่อจะได้ เพื่อที่จะเป็น เพื่อที่จะทำลาย
    ซึ่งอาจจะย่อลงได้เป็น ๒ คือดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะดึงเข้ามาอย่างหนึ่ง
    เพื่อที่จะผลักออกไปอย่างหนึ่ง ความดิ้นรนทะยานอยากที่จะได้ที่จะเป็นนั้น
    เป็นความดิ้นรนทะยานอยากในอันที่จะดึงเข้ามา
    ความดิ้นรนทะยานอยากที่จะทำลายนั้น
    เป็นความดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะผลักออกไป
    ก็คือว่าดึงเอาที่ชอบใจเข้ามา ผลักที่ไม่ชอบใจออกไป

    อาการของจิตที่เป็นความดิ้นรนทะยานอยากดั่งนี้เรียกว่าตัณหา
    และก็เนื่องมาจาก หรือประกอบกับตัวนันทิความเพลิดเพลิน
    กับราคะความติดใจยินดีอยู่ด้วยนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงมีความยึด
    ยึดอยู่ในขันธ์ ๕ ไม่ปล่อย ยึดว่าเป็นตัวเราของเรา
    หรือว่ายึดว่า เอตัง มะมะ นี่เป็นของเรา เอโส หะมัสมิ เราเป็นนี่ เอโส เม อัตตา
    นี่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ย่อลงก็คือว่ายึดว่าเป็นตัวเราของเรา
    ยึดอยู่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวเรา รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ เป็นของเรา ยังมีความยึดอยู่ดั่งนี้

    ลักษณะที่ยึดนี้เรียกว่าอุปาทาน ลักษณะที่ดิ้นรนทะยานอยากของใจเรียกว่าตัณหา
    ลักษณะที่เพลิดเพลินเรียกว่านันทิ ลักษณะที่ติดใจยินดีเรียกว่าราคะ
    เหล่านี้รวมกันอยู่เป็นก้อนเดียว ซึ่งเป็นตัวทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
    ^
    ^
    chottanaหัดฟังสวดมากๆ อย่าเป็นพวกนอกรีตแอบแฝง
    อย่าคิดว่า การที่ทำฏรรมชั่ว ปรามาศพระพุทธพจน์และพระสังฆราชแล้ว
    ไม่ต้องรับกรรมนั้น เพราะchottanaพูดเองชัดๆว่า
    เมื่อไม่ยึดมันในกรรมชั่วนั้น ก็ไม่ต้องชดใช้ นอกรีตเอ๋ย

    แล้วอย่าลืมชักชวนให้มหาโจรที่เอารูปผู้หญิงมาล่อเชื่อด้วยล่ะ55+
    คู่นี้เหมาะสมกันจริงๆ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    V
    V
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
    ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้ สิ้นรอบแล้ว
    หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ
    ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
    อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ
    ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
    ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว

    หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
    เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้น
    ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว
    จัก (ดับ) เย็น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  15. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากยังนำเอาตำรามาถกกันอยู่ ย่อมไม่มีที่จบสิ้น เพราะการปรุงแต่งยังมีอยู่

    สิ่งที่จะได้ในการถกเถียงมีแต่จะทำให้ขุ่นมัวโดยไม่รู้ตัว ด้วยความยึดมั่นในตัวเอง

    ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด มีแต่จะทำให้ความศัทธาในพระศาสนาลดน้อยลงเมื่อมีผู้อื่นเข้ามาอ่าน

    ผมขอฝากไว้เป็นข้อคิดในการนำเสนอพระธรรมคำสอน

    สาธุครับ
     
  16. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ^
    chottanaหัดฟังสวดมากๆ อย่าเป็นพวกนอกรีตแอบแฝง
    อย่าคิดว่า การที่ทำฏรรมชั่ว ปรามาศพระพุทธพจน์และพระสังฆราชแล้ว
    ไม่ต้องรับกรรมนั้น เพราะchottanaพูดเองชัดๆว่า
    เมื่อไม่ยึดมันในกรรมชั่วนั้น ก็ไม่ต้องชดใช้ นอกรีตเอ๋ย

    แล้วอย่าลืมชักชวนให้มหาโจรที่เอารูปผู้หญิงมาล่อเชื่อด้วยล่ะ55+
    คู่นี้เหมาะสมกันจริงๆ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
    <!-- google_ad_section_end -->
    --------

    เห้ออ อะไรของคุณ ตัวพ่อเเห่งโจร ธรรมภูต บอกผมไปปรามาสคำสอนของ ปรามาศพระพุทธพจน์ พระสังฆราช
    เเล้วที่คุณทำอยู่เนี่ย ไม่ได้เรียกว่า ปรามาศพระพุทธพจน์ สะเองหรือ ไปเอานำคำสอนของท่านมา เเล้วมาพูดผิดๆไปเองทำให้เกิดความเเตกเเยกอย่างนั่นรึ พระองค์ก็ตรัสว่าต้องนำพระสูตรมานี้ เอามาดู ไหนละก็ไม่ยอมเอามาให้ดู มีอะไร เอาเเต่เดาสวด อวดธรรม ตีตัวเสมอท่าน
    เพราะพระองค์บอกว่า คำของสาวก ไม่ต้องเงี่ยหูฟัง ส่วนคุณมันรั้นคำสอน เลยขัดคำสอนอยู่
    ทำเเบบนี้ พระสูตรจะไม่ลง ลอยกัน พระสูตรเสียหายหมดเพราะ นายเเละ ธรรมภูต พ้น
    ขี้มาให้คนอื่น เเล้วบอกตัวเองไม่ได้ทำ คนหนังคาเขาสะขนาดนี้
    ถ้านายจะเหนือคำของพระศาสดาอย่างนั่นเลย ถ้าไม่เชื่อ ไม่สน
    เเบบนี้ ก็ไปตั้ง ลักธิ เลยไม่ดีกว่าหรือ ดูจิตเเบบธรรมภูต ไง จะมาถูกเหนือ กว่า ได้ยังไง หึ
    พระพุทธพจน์ ก็ตรัสไว้ชัดๆ ยังไปรั้นเอา เเถมมี2พระสูตร เเล้วอีก เเบบนี้ใครเค้าจะเข้าใจ จุดประสงค์คืออะไร ชัดๆยกมา
    พระสูตรที่ต้องรวมกันเพื่อให้เข้าใจ ได้ ไม่ใช่ว่ารู้อยู่คนเดียว
    ก็เห็นๆอยู่ว่าพอจิตตั้งมั่นเเล้ว พระองค์ให้ดูความไม่เที่ยง ของจิต ก็จะรู้จักคำว่า วิราคะ
    ถ้าจิตตั้งมั่น จิตยังไม่ปล่อยขันธ์ มันมีปัจจัยทำให้สมาธิเกิดอยู่
    ยังปล่อยขันธ์ไม่ได้ เลยเอาเเต่เบื่อขันธ์ไงเมื่อตายจริงๆ ธรรมภูตเกาะอารม หดหู่ก็ไปนรกก่อนเลยนะ ถึงจะนั่งสมาธิ มานานทั่งชีวิต ถึง จะมีอภิญญาอะไรก็ตาม
    อรรธภาพมันจะเป็นไปตามอารม ถ้ายังเอาเเต่เบื่อนะ เหมือนพวก วิภวตัณหา อะไรเเบบนั่นสุดความเห็น ไม่รู้จักเหตุเกิดเลย เเล้วจะบอกตัวเองเป็นสาวกได้อยู่เหรอ!
    ธรรมภูตท่าเก่งจริงๆ นะทำเท่านั่นไป เมื่อจิตตั้งมั่นเเล้ว ก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ ถ้าเเน่จริงเอาเท่านั่นไปนะ ไม่ต้องพิจรณาอะไร ไม่ต้องมี ปัญญาอะไร มีเเต่ความโง่เต็มๆ
    เเต่ถ้าตายจริงๆจิตสะดุ้ง เมื่อนามเป็นปัจจัย รูปจึงมีนะ
    ก็ต้องยอมรับว่า ขาดปัญญา โง่เขลาไปเอง เพราะ เเต่ ไม่เชื่อคำสั่งสอนของพระศาสดา
     
  17. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ขอนอบน้อมเเดพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ
    ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์
    ของวิญญาณ
    โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร
    ดังนี้นั้น.
    นี่
    ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
    .....................
    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ
    ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
    เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว

    เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
    วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
    เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
    เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
    เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
    เมื่อไม่หวั่นไหว
    ก็ปรินิพพานเฉพาะตน

    ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

    ---------------------------------
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน
    สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้
    เพราะละความ กำหนัดเสียได้ อารมณ์

    ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุด
    พ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่
    สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    จบ สูตรที่ ๑.<!-- google_ad_section_end -->
    *****
    [๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่
    วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึง
    ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อม
    ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ
    ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อม
    ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ
    ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อม
    ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ
    ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ
    ----
    ก็เห็นๆวิญญาณผู้รู้ มันรู้ได้เเค่4ธรรมชาติเท่านั่น ไม่สามารถรู้นิพพานได้

    ถ้ามีใครบอกให้ผมยึด วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ไม่มีวัน หรอก เพราะ ไม่ได้เชื่อคนง่าย

    ^
    นายธรรมภูต ยินยันว่าจะทำให้สะอาด เเล้วยึดไว้ ก็ ตามใจนะ เป็นเรื่องของนาย ทั่งจิต ทั่งมโน ทั่งวิญญาณ จะยึดก็ตามใจนะ
     
  18. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไป
    ยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปี
    หนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้างสี่
    สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
    ส่วน สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่น
    เกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.


     
  19. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    จะอธิบายให้ ธรรมภูต ฟัง

    ร่างกายเนี่ยคนธรรมดาก็เห็นๆว่ามันมันมี เเก่ เจ็บ ตาย พออายุ60 ก็รู้ๆกันว่า จะเเก่ตายกันเเล้ว เพราะคนธรรมดาเค้าสนใจเเต่รูปไง เเต่เค้าไม่สนใจ ว่า จิต มโน วิญญาณก็ไม่ใช่ของเค้า เป็นนามธรรม เเต่ดันไปเพลิดเพลินกับอารม ในนามธรรมนั่น ด้วยเป็นตัวตน เป็นความเคยชิน โดยไม่รู้ว่าที่เราเพลินอยู่นั่น มันเกิดดับ อยุ่ตลอด ตลอดเวลา
    เพราะ เป็นตัวผู้รู้นี้ มันเป็นตัวเดียวกับ ตอนสมัยเด็กๆไง จนถึง วัยเเก่ๆ ยังคนเดิม เลยหลงนึกว่ามันมี เป็นของเรา ยังหลงเหมือนเดิมว่าของเราอยู่วันยังค่ำ
    จริงๆมันสลับ รู้ กันไปมานั่นเอง อะไรที่มี เกิด ดับ นี้ ควรหรือที่จะตามว่านั่นของเรา..

    เเต่ ถ้าใครไปยึด จิต มโน วิญญาณ ในความเป็นตัวตน นั่นไม่ดีไม่ถูก
    เพราะอะไร ไม่คิดว่าจิตมันตัวต้นเหตุ ที่รู้ สุขได้ ทุกข์ได้ อุเบกขาได้ เเต่ยังเอาหัวดันไปใสความว่าที่เกิดเป็นอาการของจิต อย่างเดียว ไปยึดว่าจิตเป็นของเรา โดยไม่ได้ดูตาเรือ ตารถ อะไร พระสูตรตรัสไว้ชัดๆ ว่า
    จิต มโน วิญญาณ มันเกิดดับตลอดเวลา ใครที่ไม่ค่อยฝึก พอให้จิตกลับมาอยู่กับกายคตาสติ มันก็พยายาม นึกบ้าง คิดบ้าง อดีต อนาคต ปรุงไปเรื่อย วนอยู่4 ธรรมชาติเท่านั่น
    เลยต้องฝึก ดูไว้ว่า จิต วิญญาณ มโน เนี่ยไม่เที่ยง ไม่ควรไปยึด มันรู้ได้ทีละ1อย่าง ถ้ารู้ได้ทีละ2อย่างนั่น ธรรมภูตก็คง พูดกับตัวเองได้ใช่มั้ย


    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้นก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ

    ^
    นี้คืออรู้รูปใช่มั้ย เเต่ต้องเเยกเเยะ กาย// กับ ///จิต มโน วิญญาณ มันคนละเรื่องกัน หายใจเข้าไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกไม่หายใจเข้าก็ตาย มันเป็นส่วนการทำงานของสมอง ต้องเเยกเเยะให้เป็น เพราะงั้นเลยต้องมีศิล5 เป็นข้อปฏิบัติ เพื่อรักษา กาย วาใจ ให้ได้ก่อน ใช่มั้ย เเล้วถึงค่อย ใจ ให้ผ่องเเผ้ว ไม่ใช่รู้ทั่งรู้ว่าสังขารทั่งหลายไม่เที่ยงไปคิดว่าเป็นของตนอีกละ
     
  20. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เปรียบเหมือนบุรุษตามืดบอดมาแต่กำเนิด, เขาจะมอง
    เห็นรูปทั้งหลาย ที่มีสีดำหรือขาว เขียวหรือเหลือง แดงหรือขาว ก็หาไม่; จะได้
    เห็นที่อันเสมอหรือขรุขระ ก็หาไม่; จะได้เห็นดวงดาว หรือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
    ก็หาไม่. เขาได้ฟังคำบอกเล่าจากบุรุษผู้มีตาดีว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญ! ผ้าขาวเนื้อดีนั้น
    เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด มีอยู่(ในโลก)" ดังนี้. บุรุษตาบอดนั้น
    จะพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวอยู่. ยังมีบุรุษผู้หนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า "ดูก่อน
    ท่านผู้เจริญ! นี่!เป็นผ้าขาวเนื้อดี, เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด,
    สำหรับท่าน" ดังนี้. บุรุษตาบอดก็จะพึงรับผ้านั้น; ครั้นรับแล้วก็จะห่ม.

    ในกาลต่อมา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญ
    มารักษา. แพทย์นั้น พึงประกอบซึ่งเภสัชอันถ่ายโทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องต่ำ
    ยาหยอด ยากัดและยานัตถุ์ เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลายเป็นผู้มีจักษุดี; พร้อม
    กับการมีจักษุดีขึ้นนั้น, เขาย่อมละความรักใคร่พอใจในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้;
    เขาจะพึงเป็นอมิตร เป็นข้าศึกผู้หมายมั่น ต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้น; หรือถึงกับเข้าใจเลย
    ไปว่า ควรจะปลงชีวิตเสียด้วยความแค้น, โดยกล่าวว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเอ๋ย!
    เราถูกบุรุษผู้นี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า มานานหนักหนา
    แล้ว; โดยหลอกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้แลเป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม
    ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาดสำหรับท่าน' ดังนี้"; อุปมานี้ฉันใด;

    ดูก่อนมาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น : เราแสดงธรรมแก่ท่านว่า "อย่างนี้เป็นความไม่มีโรค;
    อย่างนี้ เป็นนิพพาน", ดังนี้. ท่านจะรู้จักความไม่มีโรคจะพึงเห็นนิพพานได้ก็ต่อเมื่อท่าน
    ละความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในอุปาทานขันธ์ห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่านนั้น.
    อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่านว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย! นานจริงหนอ ที่เราถูกจิตนี้
    คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก;
    จึงเราเมื่อยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป,ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว :
    เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ;เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ:
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้".ดังนี้.
     

แชร์หน้านี้

Loading...