สีของจิต

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย พริ้วไหว, 23 กรกฎาคม 2012.

  1. พริ้วไหว

    พริ้วไหว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +334
    [​IMG]

    สีของจิต

    สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
    ๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
    ๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
    ๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
    ๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
    ๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควรหรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
    ๖.คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร

    สีของจิตโดยย่อ

    เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ
    ๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
    ๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
    ๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
    กายในกาย เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยใน มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกายส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไรขอตอบว่า เป็นกายประเภทอทิสมานกายคือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่าหนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t202 path="m,l,21600r21600,l21600,xe" o:spt="202" coordsize="21600,21600"><V:p</V:p</v:shapetype><v:shape style="Z-INDEX: -1; POSITION: absolute; TEXT-ALIGN: left; MARGIN-TOP: -108.4pt; TEXT-INDENT: 0px; WIDTH: 44.05pt; HEIGHT: 27pt; MARGIN-LEFT: -7.1pt; LEFT: 0px" id=_x0000_s1027 strokecolor="blue" stroked="f" type="#_x0000_t202"><v:textbox style="mso-next-textbox: #_x0000_s1027"></v:textbox></v:shape><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0">


    </TD></TR></TBODY></TABLE>๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
    ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
    ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
    ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
    ๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลยตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึงว่าท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่าเจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือการรู้อารมณ์จิตของตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่งปรากฏแก่จิต เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรกต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่านผู้ทรงฌาน<v:shape style="Z-INDEX: -2; POSITION: absolute; TEXT-ALIGN: left; MARGIN-TOP: -18pt; WIDTH: 43.5pt; HEIGHT: 27pt; MARGIN-LEFT: 340.65pt; LEFT: 0px" id=_x0000_s1026 strokecolor="blue" stroked="f" type="#_x0000_t202"><v:textbox style="mso-next-textbox: #_x0000_s1026"></v:textbox></v:shape> ธาตุ ๔ ผสมตัวกันชั่วคราว มีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองที่หลั่งไหลอยู่ภายในตลอดร่าง จะมีอะไรสวยงามจงพิจารณาหาความจริงตามนี้ จนอารมณ์จิตมีความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างแต่ละร่างเป็นธาตุที่รวมตัวกันเลอะเทอะด้วยของโสโครกน่าเกลียด ไม่น่ารักเลย นอกจากน่าเกลียดแล้ว ยังไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนมีการก่อตัวขึ้นแล้วยังเป็นรังที่อาศัยของโรคภัยไข้เจ็บ มีโรครบกวนเป็นปกติ หาความสุขสบายแม้แต่นิดหนึ่งไม่มีเลย ร่างนี้ยังต้องบริหารด้วยการออกกำลังกาย การบำรุงรักษาอาหารมาบำรุงบำเรอ ต้องบริหาร ด้วยอาการต่าง ๆ เป็นปกติ ถึงกระนั้นจะทำให้สิ้นทุกข์หาได้ไม่ เพียงแต่ระงับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น แล้วในที่สุดความเสื่อมโทรมของธาตุ ๔ ก็จะค่อยทวีตัวมากขึ้น ในที่สุดธาตุ ๔ ก็ค่อย ๆ คลายตัวจากความเข้มแข็ง เป็นอ่อนสลวยและสิ้นกำลังในที่สุด เป็นจุดดับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอนัตตา คือบังคับไม่ให้ดับสลายไม่ได้ ท่านสอนให้พิจารณาให้รู้ ให้เข้าใจ จนจิตมีความรู้สึกเป็นอารมณ์ประจำตามที่ท่านเรียกตามแบบว่า เป็นเอกัคคตารมณ์ คือ อารมณ์เห็นอย่างนั้นเป็นปกติ จนหมดความเมาในเรือนร่าง หมดความเมาในความเป็นอยู่ รู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ธาตุที่รวมตัวนี้ต้องสลาย และสลายตัวอยู่เป็นปกติทุกวันเวลาที่เคลื่อนไป ตัดความห่วงอาลัยในธาตุที่ประชุมเป็นเรือนร่างเสีย เห็นเป็นอนัตตาเป็นปกติ คิดรู้อยู่เสมอโดยมีความคิดเป็นปกติว่า ร่างสิ้นไป เราคือจิตจะอาศัยร่างชั่วคราว เมื่อสิ้นร่าง เราก็ไม่ยึดแดนใดเป็นที่เกิดต่อไป เพราะการเกิดเป็นการแสวงหาความทุกข์ ถ้าไม่เกิด ก็ไม่มีทุกข์ แดนที่เรียกว่าไม่เกิด คือแดนพระนิพพาน พระนิพพานที่จะไปถึงได้ก็อาศัยความไม่ยึดถือร่างกายที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้ว่า เป็นเรา เป็นของเรา มีความเห็นว่ากายสลายตัวในที่สุด จนตัดความรักความพอใจในโลกเสียได้ บัดนี้เราเห็นแล้วว่าร่างกายและโลกทั้งโลกเป็นแดนทุกข์ เราตัดความยึดมั่นได้แล้ว เราตัดตัณหา คือความปรารถนาในความเกิดต่อไปแล้ว เราตัดความยึดถือในสรรพวัตถุที่เป็นเหตุของทุกข์ได้แล้ว ความสิ้นเชื้อในความเกิดได้มีแล้ว เราสิ้นรักด้วยอำนาจราคะที่เป็นเชื้อให้เกิดแล้ว เราตัดพยาบาท อันเป็นปัจจัยให้วนเวียนในวัฏฏะได้แล้ว เราตัดความหลงผิดที่เห็นว่าร่างกายเป็นเราได้แล้ว เพราะทราบว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา คิดอย่างนี้จนเป็นอารมณ์ จนจิตมีความรู้สึกตัดความคิดว่าโลกเป็นสุข เห็นโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ได้แล้ว ก็ชื่อว่าท่านชนะตัณหาได้แล้ว ท่านจบกิจในพรหมจรรย์แล้ว ท่านไม่ต้องเกิดต่อไป ท่านมีพระนิพพานเป็นที่ไปในที่สุด ชื่อว่าท่านหมดทุกข์สมความปรารถนาแล้ว การพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่าพิจารณาทั้งสมถะและวิปัสสนาร่วมกัน

    ที่มา : คู่มือปฏิบัติกรรมฐาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2012
  2. ทิพย์พิมล

    ทิพย์พิมล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,512
    แล้ววิธีดูสีจิตตัวเองทำได้ยังไงค่ะ.................
     
  3. MysticHuaHin

    MysticHuaHin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +38
    ลองหลับตาดูสิจ๊ะ อิอิอิ
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,689
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่องสีของจิต


    ฟัง clip ข้างบนนี้ก็ได้เช่นกันครับ อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...