ว่าด้วยเรื่องกรวดน้ำ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ลักค์, 20 สิงหาคม 2012.

  1. ลักค์

    ลักค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +141
    ไม่แน่ใจว่าจะต้องไปถามกระทู้ไหน

    รบกวนสอบถามนิดนึงค่ะ วันก่อนได้ไปถวายสังฆทานที่วัดพระศรีมหาธาตุ เราก็ได้ใส่ซองปัจจัย พร้อมด้วยเขียนว่า อุทิศให้ใคร รวมไปถึง ญาติผู้ล่วงลับ เจ้ากรรมนายเวร

    ทีนี้หลวงพ่อได้หยิบสองปัจจัยมา มีผู้ถวาย 2 ซอง แต่ไม่แน่ใจว่าอีกซองเขียนระบุชื่อเหมือนเราหรือเปล่า

    ท่านทำหน้าแปลกตอนอ่านซองเรา แล้วก็เรียกเราพร้อมขวดกรวดน้ำไป ท่านก็ว่า "ทีหลังไม่ต้องรีบเขียน คนที่เสียไปแล้วเขาไม่สามารถทำบุญได้อีก มีแต่เราที่ทำได้ เขาต้องไปชดใช้กรรมแล้ว" ในใจแอบคิดว่า หลวงพ่ออ่านลายมือหนูไม่ออกใช่มั๊ยคะ หวัดๆ ขนาดนั้น แล้วท่านก็ตัดซองกระดาษเผาในส่วนที่เราเขียนลงในถ้วยรอง แล้วให้เรากรวดน้ำรดลงไป

    คือว่า ไม่เคยเห็นกรวดน้ำที่ไหน แล้วเผากระดาษส่วนที่เขียนอุทิศกุศลอ่ะค่ะ มันคืออะไรคะ

    (พอดีหลังจากทำมีเรื่องให้น่าตื่นเต้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่อุทิศส่วนกุศลไปให้ค่ะ)
     
  2. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    เข้ามาขอคำแนะนำด้วยคนค่ะ ส่วนตัวเคยทำเหมือนเจ้าของกระทู้ คือใส่ชื่อแม่ พระท่านก็ถาม แล้วท่านก็ให้เราเขียนชื่อ(คนที่เราจะอุทิศไปให้)ใส่กระดาษ ท่านก็เผาใส่ภาชนะที่เราจะกรวดน้ำ แล้วท่านก็ว่า เอ้า ถ้าเริ่มสวด ยถา...ให้ตั้งจิตอุทิศให้แล้วกรวดน้ำเลยนะ เราก็ทำตาม ....
    ส่วนตัวมาคิดดูพระท่านคงจะหมายความว่า การจ่าหน้าซองบุญ น่าจะเป็นชื่อคนเป็นมากกว่า (ที่ท่านว่า คนตายทำบุญไม่ได้นั่นแหละ) แล้วเราควรตั้งจิตกำหนดอุทิศส่วนกุศลให้คนตายเวลากรวดน้ำมากกว่า และที่ท่านเผาชื่อคนตายคงเป็นเพราะเหตุนี้ ท่านคงว่าไม่จำเป็นต้องเขียนประมาณนี้มั๊งคะ .... เคยทำอยู่หลายครั้ง แต่เดี๋ยวนี้ ไม่มีใส่ซองแล้วใส่ชื่อแม่อีกเลย เปลี่ยนเป็นกำหนดจิตตอนกรวดน้ำ ส่วนปัจจัยเวลาหย่อนลงตู้บริจาคก็กำหนดเลย ผลแห่งบุญกุศลนี้ให้ใคร หรือไม่ก็ยกมืออธิฐานต่อหน้าพระประธานก่อนหย่อนลงตู้บริจาค....
    และส่วนตัวพอทำสังฆทานเสร็จ กลับมาบ้านก็นึกถึงบุญที่ทำในวันนั้นๆ สวดมนต์และแผ่เมตตากำหนดอีกทีค่ะ (ก่อนนอน) ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยค่ะ เดี๋ยว เฮียปอ หรือผู้รู้คนอื่นๆคงเมตตามาแนะนำ
    ขออนุโมทนาในจิตที่เป็นบุญเป็นกุศลค่ะ สาธุ
     
  3. thumachatshawan

    thumachatshawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +144
    น้ำและดินเป็นสื่อ

    น้ำ และดินเป็นสื่อแห่งสมาธิ
     
  4. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,500
    อาจจะเป็นการทำ บังสุกุล ส่งบุญทั้งหลายไปให้แก่ผู้ล่วงลับ รวมถึงเจ้ากรรมนายเวร น่ะครับ
    ผมว่าน่ามีผู้รู้และเข้าใจหลายท่าน รอมาแนะให้อีกทีล่ะกันครับ

    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    ธรรมเนียมในการทำบุญกรวดน้ำ...มีในสมัยหลัง....เป็นเพียง"พิธีกรรม"เท่านั้น...แต่ไม่รู้สมัยไหน ขี้เกียจทำวิจัย

    ศาสนาพุทธน่าจะไม่มีสอน....
    ...เข้าใจเองว่า...เป็นธรรมเนียมที่ผสมฮินดูพราห์มณ์ ในเรื่องพระแม่ธรณีพระแม่คงคา
    เพื่อให้เป็นพยานหรือเป็นสื่อ ทำนองนี้
    อีกอย่างธาตุทั้งสี่ ก็มีน้ำเป็นส่วนสำคัญ หรือการเพ่งกษิณ10 ก็ใช้น้ำเพ่งทำสมาธิ
    จึงไม่รู้ว่า อ้างอิงมาจากส่วนใดดังกล่าว
    ที่วัดป่าไม้ขาวภูเก็ต ท่านอาจารย์แดงฯ(ละสังขารแล้ว)ก็เคยบอกว่า การเขียน ให้เขียนเฉพาะคนตายที่เราจะอุทิศส่วนกุศลให้เขา อย่าเขียนชื่อคนเป็น
    ที่ท่านอาจารย์แดงฯแนะนำอย่างนี้ เพราะท่านเมตตาสูงมาก ไม่ค่อยได้ขัดศรัทธาชาวบ้าน
    แต่พอบางครั้ง ท่านเห็นญาติโยมที่มา ล้วนเป็นผู้ที่เข้าใจในศาสนาและพิธีกรรม ท่านก็สอนว่า"ไม่จำเป็นจะต้องกรวดน้ำและต่อมือต่อเท้ากัน...ให้ตั้งจิตให้มั่น...ก็ถึงเหมือนกัน"
    ความหมายคือ การกรวดน้ำ ถ้าจิตมั่น ก็ถึงญาติ ถ้าจิตไม่มั่น ก็ไม่ถึง แต่ถ้าพระจิตมั่น ก็สามารถนำส่งให้ถึงได้ แต่ถ้าฆาราวาสจิตมั่น ก็สามารถนำส่งได้เอง ทำนองนี้
    ทีนี้ก็ลามไปถึงการเขียน นี่ก็ไม่จำเป็นเหมือนกัน ทีนี้การเผา เข้าใจว่าคล้ายกันกับน้ำ คือ ใช้กษิณไฟมาเกี่ยวทำนองนี้ แต่ข้อเท็จจริงน่าจะเป็น เก็บไว้รกเปล่าๆ ก็สร้างธรรมเนียมเผาขึ้นมาเพื่อขจัดขยะซะมากกว่าT
    อีกอย่าง สมัยพระพุทธองค์ปฏิบัติ แล้วจึงไปโปรดพุทธมารดา"ด้วยตนเอง" ไม่ต้องรอไปพึ่งพาใคร
    พระปฏิบัติที่บรรลุอรหันต์แล้ว จึงต้องเป็นสะพานเชื่อมให้ญาติโยมที่ทำบุญแต่จิตไม่มั่น
    แต่พวกจิตมั่นหรือปฏิบัติด้วยตนเอง ก็ไม่ต้องไปพึ่งใครในการทำบุญให้คนตาย และอีกอย่างในสมัยพุทธกาล ผู้คนส่วนใหญ่มักจะรู้ว่าญาติตนเองไปเกิดในภพภูมิใด อยู่ที่ไหน ทำบุญให้จะถึงไหมฯลฯนั่นเพราะมีวาสนาเกิดร่วมสมัยเดียวกัน ยุคเดียวกันกับพระพุทธเจ้าและอรหันต์สาวก...ซึ่งท่านก็เมตตาเป็นล้นพ้น ตอบคำถามให้หมดสิ้นสงสัยเกือบทุกรายไป
    แต่พอเวลาผ่านไป2600ปี เราจะไปหาพระอรหันต์ได้ที่ไหน แล้วเราจะดู จะสังเกตุอย่างไรว่าองค์นี้ได้อรหันต์แล้วหรือไม่ อย่างไร....ก็ได้แต่คาดเดากันไป ซึ่งส่วนใหญ่จะผิด....
    ..นั่นเพราะว่า ผู้คนไม่รู้ว่า เห็นพระที่มีฤทธิ์ทางอภิญญา ก็ไปเหมาหมดว่าเป็นพระอรหันต์ แต่ที่แท้ หลายๆองค์หรือเกือบทุกองค์ บางที ยังไม่ได้แม้เพียงโสดาบันด้วยซ้ำไป...เฮ้อ...เอวัง
    ...
     
  6. ลักค์

    ลักค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +141


    ใช่แล้วค่ะ คล้ายๆกัน หลวงพ่อท่านท่องบทสวด ไม่มีเสียงให้ได้ยิน แล้วก็เรียกเข้า เผากระดาษที่ท่องบทสวดเบาๆ

    แต่ท่านให้เราเอาไปกรวดน้ำเป็นปกติค่ะ จริงๆก็แค่สงสัยว่า เป็นพิธีกรรมอะไร ไม่เคยเห็น มีความหมายอะไรอ่ะค่ะ

    เพราะว่ามันมีเรื่องให้เราตกใจ คือ หลังจากทำสังฆทานไปแล้ว ก็เกิดเหตุบังเอิญสุดๆ ตรงที่เราได้ไปเจอคนๆหนึ่งที่เกี่ยวพันกับผู้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ทั้งที่ 2 วันก่อน เราพยามยามเลี่ยงไปเจอแบบเรียกว่าหนี และเหตุที่ต้องรีบมาทำสังฆทาน ก็เพราะว่า วันที่เลี่ยงเจอ ยังไม่ทันหลับ ประตูเปิดเองถึง 2 ครั้งแล้วเราได้มองเห็น คนที่เราอุทิศส่วนกุศลไปให้ อุ้ย พูดแล้วขนลุกแฮะ
     
  7. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    การอุทิศบุญย่อมสำเร็จได้ด้วย"ใจ"ครับ ดังนั้นจะเขียนชื่อ--ไม่เขียนชื่อ จะเผา--ไม่เผา หรือจะเทน้ำ--ไม่เทน้ำก็เป็นเพียงอุบายทำให้เกิดความตั้งมั่นหรือเชื่อในพิธีเท่านั้น.. เพราะบุญเป็น"นามธรรม" ไม่ใช่วัตถุหรือมีรูปร่าง ไม่ต้องอาศัยเกาะไปกับน้ำหรือติดไปกับกระดาษที่เผาครับ.. เรื่องนี้ พึงเข้าใจให้ถูกต้องจะได้ไม่ยึดติดข้องกับพิธีกรรมบางอย่างจนเกิดความ ฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ กลายเป็นทำอกุศลทางใจมากกว่าที่บุญกุศลจะควรเกิด เมื่อทำแล้วนึกอุทิศบุญแก่ใครๆทันที บุญเกิดทันทีแล้วในใจเราเรียกว่า ปัตติทานมัย คือบุญที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ...เป็นข้อหนึ่งในบุญยกิริยาวัตถุ๑๐ที่ควร เจริญให้มาก...ส่วนใครจะได้รับหรือไม่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะควรเดือดร้อน สงสัย เพราะย่อมเป็นเพียงปัจจัยเพื่ออกุศลที่จะเกิดต่อใจเราเท่านั้นไม่มีประโยชน์ แก่ตนหรือคนอื่นๆเลย...
     
  8. vichayut

    vichayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +661
    ลองสังเกตุดู ปัจจุบันงานศพหลายงานที่เจ้าภาพนับถือในนิกายมหายานก็มีมาก
    หลังจากเผาศพแล้ว ญาติๆก็จะเผากระดาษเงิน ทอง กระดาษแทนเสื้อผ้า
    เครื่องใช้ส่งตามไปให้ผู้ตายด้วย อาจเป็นอุบายเดียวกัน ที่สงฆ์ท่านทำเพื่อให้ญาติ
    โยมมีความสบายใจ การอุทิศบุญ หรือการกรวดน้ำให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เกิด
    อานิสงค์ทั้งสองทาง ทั้งผู้ที่ได้รับบุญนั้น และผู้ที่อุทิศให้ เกิดความยินดีทางใจ
    พิธีกรรมทั้งหลายก็เปรียบให้เห็นเป็นรูปธรรม เท่านั้นเองไม่ควรสงสัยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...