อะไร เรียกว่าเป็น "ทานบารมี"

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย กำนันธงชัย, 7 กันยายน 2012.

  1. กำนันธงชัย

    กำนันธงชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +75
    ผมสงสัยครับว่า ทานที่เป็นบุญกิริยาวัตถุ กับทานที่เป็นบารมี ต่างกันอย่างไร

    ในตำราอธิบายว่า บารมีคือการทำอธิการที่ยิ่งยวด

    แล้วอย่าง2 กรณีนี้ คือ

    คนหนึ่ง จนมาก มีเงินเพียงร้อยบาท แต่ถวายทำบุญในพระศาสนาหมดตัว

    คนที่สอง มีทรัพย์หมื่นล้าน ตั้งโรงทานทั้งเมือง เลี้ยงพระวันหนึ่งเป็นหมื่นรูปทุกวัน ทำนุบำรุงพระ-เณรตลอด สร้างวิหารทานไม่ขาด ใครไม่มีอะไร-ต้องการอะไรก็ให้หมด แต่เขาก็ไม่หมดตัวน่ะครับ

    คนไหนเรียกว่าได้ทำ "ทานบารมี"

    [​IMG]
     
  2. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
  3. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    บุญ แปลว่า พอง ฟู เต็ม นูนขึ้น
    บารมี แปลว่า ราบ เตียน

    คนบริจาค หนึ่งบาท บางคนได้บุญ บางคนได้บารมี
    ด้วยบุญนี้ ขอความจนอย่างพึงมีกับข้าฯ เลย อันเป็นบุญ

    อีกคนไม่อธิษฐาน เป็นกุศล เป็นบารมี กระทำทานเพื่อให้สละความตระหนี่ในตน
    เป็นทางไปสู่นิพพาน เป็นทานบารมีค่ะ

    จึงนับว่า การบริจาคของคน จุดประสงค์หรือเจตนาต่างกัน เพราะผู้ที่ทราบว่าการเกิดเป็นทุกข์แล้ว จะสละเพื่อเป็นบารมี

    บารมียังแบ่งเป็นสามระดับอีก ที่สุดของบารมีคือ สละได้แม้นกระทั่งชีวิต
    เพื่อจะรับใช้พุทธศาสนา หรือสละชีวิตเพื่อจะบรรลุธรรม ตรงนี้แหละบารมีเต็มไพบูลย์
     
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ
    ทั้ง ๒ กรณีที่ท่าน จขกท. ถามนั้นคือ ทานบารมีครับ
    ทั้ง ๒ กรณีนั้นต่างกันแค่ คนแรกมีเงินน้อย คนที่สองเป็นเศรษฐีนะครับ
    ขอเพิ่มความหมายของ..

    บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ
     

แชร์หน้านี้

Loading...