เรื่องเด่น "ไตรลักษณ์" เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prophecy, 24 ตุลาคม 2012.

  1. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    ไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น


    ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-
    1. อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
    2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
    3. อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.
    ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร

    อ่านเพิ่มเติม
    ไตรลักษณ์ - วิกิพีเดีย
     
  2. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    การทำใจให้ยอมรับความจริง3ข้อนี้ยากมาก หลายท่านรู้ความจริงข้อนี้แต่จะมีกี่คนที่ยอมรับความจริงใน3ข้อนี้
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    จิตลงไตรลักษณ์ได้..ด้วยการเดินปัญญาไปเรื่อยๆ..จนกว่าจิตจะยอมรับตามความเป็นจริง.จิตจะลงได้เอง..จะต้องลง
    ในไตรลักษณ์ใดไตรลักษณ์หนึ่งแน่นอน.ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละบุคคล​
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
    [๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา
    แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    จบ สูตรที่ ๑.
    ๒. ทุกขสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕
    [๔๐] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็น
    ทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่
    อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    จบ สูตรที่ ๒.
    ๓. อนัตตสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕
    [๔๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนา
    เป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา
    แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๑/๓๑๐
     
  5. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ความเป็นอริยะสงฆ์ อาศัยกฏไตรลักษณ์เป็นเครื่องน้อมให้เกิดปัญญาให้จิตเข้าถึงความเป็นอริยะหรือห่างไกลหลุดพ้นจากกิเลส

    แต่ความเป็นอริยะสงฆ์ นั้นต้องอาศัยศีล และสมาธิ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้อวิชากำเริบเข้ามาครอบงำจิตให้ไหลไปตามอวิชา

    ด้วยกำลังแห่งศีลและสมาธินี้เองเป็นเครื่องควบคุม จึงมีความสำคัญมาก เพราะจิตเรานั้นหากขาดศีลและสมาธิแล้ว จิตจะเข้าถึงกฏไตรลักษณ์ได้อย่างไร และผู้ฝึกใหม่ๆจิตยังไม่มีกำลังกล้าแข็งมากพอ ยอมขาดสติขาดสมาธิ ที่จะเข้าไปพิจารณากฏไตรลักษณ์ ฉะนั้นแล้ว จึงต้องอาศัยศีลและสมาธิเป็นรากฐาน

    พระสมมุติสงฆ์ผู้ใดอาศัยอยู่ด้วยศีลและสมาธิเป็นเบื้องต้น ไม่กระทำบาบและผิดวินัย พระสงฆ์เหล่านั้นย่อมได้ขึ้นชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน อันเป็นพระอริยะสงฆ์เบื้องต้น เพราะอาศัยศีลและสมาธินี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลสอย่างหยาบและอย่างกลางได้แล้วเบื้องต้น
    ความเป็นอริยะสงฆ์จึงบังเกิดขึ้นแล้วเบื้องต้นครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  6. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ปัญหาอยู่ที่ ว่า

    ทำอย่างไร จึงจะรู้เห็น อนิจจัง

    ทำอย่างไร จึงจะรู้เห็น ทุกขัง

    ทำอย่างไร จึงจะรู้เห็น อนัตตา
     
  7. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435

    จะรู้จะเห็น จะเกิดปัญญารู้แจ้งในกฏไตรลักษณ์ได้นั้นก็ต้องอาศัย จิตที่เกิดปัญญาญาณ
    จิตจะเกิดปัญญาญาณได้ก็ด้วยอาศัยวิปัสสนาญาณเป็นบาทฐาน
    จิตวิปัสสนาญาณเกิดได้ก็ด้วยอาศัยฌาณและสมถะกรรมฐานเป็นบาทฐาน
    จิตจะทรงฌาณและสมถะกรรมฐานได้ก็ด้วยอาศัยกำลังแห่งสมาธิและสติสัมปชัญญะเป็นบาทฐาน
    จิตจะทรงสมาธิพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะได้ก็ด้วยอาศัยศีลและถึงพร้อมด้วยหิริโอตับปะเป็นบาทฐานครับ สาธุ

     
  8. ไร้นา

    ไร้นา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +108
    เดินปัญญา เดินอย่างไร
    ไตรลักษณ์ ในเวปนี้ไม่มีใครไม่รู้นะ แต่ทำไมยังเดินหลงทางอยู่
     
  9. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    เดินปัญญาให้ถูกต้องเริ่มจาก เดินสติ ให้ถูกก่อน

    อยากเดินเข้าสู่แดนนิพพาน ก็ขอแนะนำให้เข้าไปใน จิตเกาะพระ ซิครับ ที่นั้นมีจิตบุญจิตที่รู้ปริยัติ ผ่านการปฏิบัติ มีมากสามารถแนะนำท่านได้อย่างละเอียดถึงแก่นธรรม อยากบรรลุธรรมไปนิพพานก็ให้ศึกษาเรียนรู้ก็ให้เข้าไปที่ จิตเกาะพระ ได้ครับ
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขอบคุณที่เตือนครับ คุณ ไร้นา คำตอบที่ผมตอบประเด็นที่เขียนไปยังไม่คลอบคลุม ลักษณ์ที่เขียนเป็นเพียงกิริยาของจิตที่ลงไตรลักษณ์จริงๆ.ซึ่งเป็นประสบการณ์จิตจะเห็นไตรลักษณ์เพียงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้นก่อน...
    ส่วนขั้นตอนในการที่จะเดินทางเพื่อให้จิตลงไตรลักษณ์นั้น..คุณอ่าน
    คำตอบของคุณ TPC ที่เขียนใน #Rep ที่ 6,8 และ 10 ได้เลยครับ..เพราะผม

    เข้าใจดีว่าคุณ TPC เพียงเห็นแค่คำตอบที่เขียน ท่านจะทราบได้เองว่า ยังมีประเด็นส่วนไหนที่่ยังขาด.ที่อาจยังความเข้าใจที่ไม่คลอบคลุม.ต่อท่านสมาชิก.ซึ่งคุณ TPC จะอธิบายได้คลอบคลุมกว่า..ท่านจะมาเสริมให้เสริมส่วนนี้ให้เองโดยที่ผมมิต้องบอกครับ..เราตอบปัญหากันแบบนี้.ลักษณ์อย่างนี้กันดีกว่านะครับ ในฐานะนักปฏิบัติเหมือนกัน.อย่าให้ต้องมาตอบปัญหาคุณเลยครับ...คุณ ไร้นา คงเข้าใจเจตนา ณ จุดนี้นะครับ..
    ด้วยความเคารพ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  11. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245

    ปัญหา เพิ่ม มาอีกว่า

    ทำอย่างไร ให้มี สติ
     
  12. j-adirek

    j-adirek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +204
    อนุโมทนา สาธุครับ กฏไตรลัษณ์ก็คือกฏธรรมดา หรือกฏของธรรมชาติ ว่าด้วยเรื่องสิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่ต้องดับสลายเมื่อเวลามาถึง ทุกๆอย่างบนโลกใบนี้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าคุณเข้าใจกฏไตรลักษณ์คุณก็เข้าใจธรรมชาติ ทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติไม่มีการทนฝืนหรือฝืนทน เพราะมันทนอยู่ไม่ได้มันต้องเป็นไปตามธรรมชาติ นี่คือความจริง แล้วอะไรบ้างล่ะที่เป็นธรรมชาติ ก็ต้องขอตอบว่าทุกๆสิ่งๆทุกอย่างที่อยู่บนโลกใบนี้นั่นแหละมันคือธรรมชาติ มนุษย์เราเกิดมาบนโลกใบนี้ ก็ต้องอยู่ภายใต้กฏของธรรมชาติ นั่นคือเกิดมาแล้วก็ต้องเป็นทุกข์(ทุกๆเรื่อง)ต้องแก่ ต้องเจ็บและก็ต้องตาย เมื่อเราเข้าใจธรรมชาติแล้วเราก็อยู่กับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข อนุโมทนา สาธุครับ
     
  13. IPhone5

    IPhone5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +146
    ขออนุโมทนาสาธุ.......................
     
  14. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  15. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ที่ข้าพเจ้าจะเขียนต่อไปนี้ ไม่ใช่เป็นการคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วย แต่เป็นการเขียนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่หลงผิด เพ้อเจ้อ คงไม่เกิดโทสะนะขอรับ

    ไตรลักษณ์ คือ สามัญ ลักษณะ ของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง นั่นหมายความว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีความไม่เที่ยง เพราะความไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ แต่ความไม่เที่ยง และทำให้เกิดทุกข์นั้น หามีตัวตนอยู่ไม่ เป็นเพียง ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง เท่านั้น อันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก
    ไม่ควรใส่ใจให้เกิดความเศร้าหมองในจิตใจ คำว่า ไม่ควรใส่ใจ ไม่ได้มีความหมายว่า ไม่สนใจนะขอรับ แต่มีความหมายว่า ไม่ควรเก็บมาคิดจนเกินเหตุ แต่ควรเก็บมาคิดพิจารณาเพื่อให้จิตใจสงบเมื่อถูกกิเลสตัณหาเข้าครอบงำ ซึ่ง ส่วนใหญ่ย่อมทำได้น้อยมากๆ

    ดังนั้น ลักษณะอันเป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง เป็นเพียงบอกให้รู้ เพื่อบุคคลผู้ศรัทธาจักได้ ตื่น ได้เบิกบาน ไม่ใช่ถ้ารู้เกี่ยวกับไตรลักษณ์ หรือปฏิบัติเกี่ยวกับไตรลักษณ์แล้ว จะสามารถนำบุคคลสู่ชั้นอริยบุคคล หมายความว่า รู้ไตรลักษณื ปฏิบัติไตรลักษณ์ ก็ไม่สามารถบรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคล เป็นเพียง บุคคลนั้นจะสามารถ บังคับควบคุมกิเลสตัณหาได้ แต่ก็ต้องมี สมาธิเป็นเครื่องมือ หรือปัจจัยประกอบอันสำคัญยิ่ง


    จริงอยู่ ตามตำรา จะบ่งบอกไว้ถึงการบรรลุธรรมในรูปแบบต่างๆเอาไว้ ดังที่ท่านทั้งหลายได้อ่านได้เห็นในเวบพลังจิตแห่งนี้ ความจริงแล้ว ผู้สำเร็จอรหันต์ ก็จะรวมเอาทุกอย่าง ไม่ได้แยกว่า จะสำเร็จอรหันต์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หมายความว่า ผู้สำเร็จอรหันต์ จะเป็นทั้ง ผู้เจริญวิปัสสนา ผู้มีวิชชา เป็นผู้มีอภิญญา เป็นผู้มีปัญญาแตกฉาน รวมอยู่ในตัวบุคคลเดียว ไม่ใช่แยกว่าบุคคลจะสำเร็จเฉพาะอย่างขอรับ
     
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    telwada เห็นไตรลักษณ์ แบบบัญญัติ หรือ ปรมัตถ์ ???
     
  17. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ไม่เห็นเป็นทั้งสองอย่าง เพราะสิ่งที่สอนมา สามารถเป็นได้ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับการรู้จักใช้หรือวิธีใช้
     
  18. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
  19. Die another Day

    Die another Day เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2012
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +107
    มีแต่พวกเก่งๆ อริยะบุคล(PC)
    เฮ้อ
     
  20. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ไตรลักษณ์นี่แหละคับ จะเป็นทางให้คนที่ได้อภิญญา5 ก้าวสู่อภิญญา6
     

แชร์หน้านี้

Loading...