พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    แนะ 80 วิธีทำความดีง่ายๆ
    - ทำดีต่อตนเอง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราได้รู้สึกดีๆ และพร้อมที่จะแบ่งปันความสุขไปให้ผู้อื่น ได้แก่



    1. ตื่นขึ้นมาอย่างกระตือรือร้นทุกเช้า พร้อมยิ้มแย้มแจ่มใสรับวันใหม่

    2. ไหว้พระก่อนออกจากบ้านเพื่อเตือนสติและเพื่อสิริมงคลแก่ตน

    3. สวัสดีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ก่อนและหลังกลับจากโรงเรียนหรือที่ทำงานทุกครั้ง

    4. ตั้งใจไม่โมโห หรือไม่โกรธใคร อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 วัน

    5. ไม่พาตัวไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทั้งปวง

    6. อ่านหนังสือดีๆอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อเสริมสร้างสติปัญญา และนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

    7. พูดคำว่า "ขอบคุณ" หรือ "ขอบใจ" ทุกครั้ง เมื่อผู้อื่นทำอะไรให้ เช่น ช่วยถือของ ให้บริการ

    8. อย่าลืม "ขอโทษ" เมื่อทำผิดต่อผู้อื่นทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ หรือเมื่อทำสิ่งใดผิดพลาด

    9. มีหลักการ ยึดมั่นในคุณความดี และมีความเพียรพยายาม

    10. ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ด้วยการตั้งใจทำสิ่งใด ก็เพียรทำให้สำเร็จ ไม่เบี้ยวแม้แต่กับตนเอง


    - ทำดีต่อครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเราที่สุด และมีผลต่อความสุขของสมาชิกทุกคน ได้แก่


    11. ลดการบ่นว่า ดุด่าคนในครอบครัวให้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นลูก สามี/ภริยา พี่น้อง เพื่อลดความเครียดในบ้านและทำให้ทุกคนรู้สึกบ้านน่าอยู่ไม่ร้อนหูร้อนใจ

    12. พาสมาชิกในครอบครัวไปกินอาหารนอกบ้านหรือไปเที่ยวบ้างเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ

    13. ช่วยกันลดรายจ่ายด้วยการไม่ซื้อของฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็น เพื่อมิให้เป็นหนี้สินหรือเงินไม่พอใช้

    14. ไม่คิดจะมีกิ๊ก หรือเป็นชู้กับสามี/ภริยาผู้อื่น อันเป็นสาเหตุให้ครอบครัวเราและผู้อื่นเกิดความแตกแยก

    15. พูดจาไพเราะ สุภาพกับสมาชิกในบ้าน ไม่ตะคอกด่าทอหรือจิกเรียกด้วยถ้อยคำหยาบคาย

    16. มีสัมมาคารวะ และแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ในบ้านทั้งพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือพี่ป้าน้าอา เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน

    17. มีน้ำใจกับคนในบ้าน เช่น ช่วยพ่อแม่ล้างถ้วยชาม ช่วยภริยากวาดถูบ้าน ช่วยพาพ่อ/แม่ของสามีหรือภริยาไปหาหมอ ซื้อของใช้ให้สามี/ภริยา

    18. ไม่เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในบ้าน เช่น ฟังสามี/ภริยา ฟังลูกว่าต้องการอะไรบ้างเพื่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

    19. พูดจาชมเชยและให้กำลังใจแก่สมาชิกในบ้าน เช่น ชมว่าแต่งตัวดี ทำกับข้าวอร่อย วาดภาพสวย เป็นต้น

    20. พาครอบครัวไปทำบุญสร้างกุศลร่วมกันในโอกาสวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันวิสาขบูชา ฯลฯ เพื่อให้สมาชิกได้ใกล้ชิดกับพระศาสนา และได้เห็นแบบอย่างการทำดีอย่างเป็นรูปธรรม


    - ทำดีต่อเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน หากปลูกไมตรีต่อกันได้ ย่อมจะทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ดังนั้น จึงควรทำดีต่อกัน ดังนี้


    21. ยิ้มและทักทายเมื่อพบกัน

    22. ช่วยดูแล สอดส่องบ้านให้เมื่อเพื่อนบ้านไม่อยู่ หรือไปต่างจังหวัด หรือช่วยแจ้งเหตุหากมีสิ่งใดผิดปกติ

    23. ซื้อของขวัญหรือของฝากไปให้บ้างตามโอกาส เช่น วันปีใหม่ วันตรุษจีน หรือเมื่อกลับจากต่างถิ่น เพื่อเป็นการผูกมิตรหรือขอบคุณเขาที่ช่วยดูบ้านให้ 24. ไม่เลี้ยงสัตว์หรือปลูกต้นไม้ที่จะสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจมาสู่เพื่อน บ้าน หรือเป็นมูลเหตุให้เกิดการทะเลาะกัน เช่น สัตว์ส่งเสียงดังรบกวน หรือใบไม้ร่วงไปรกบ้านเขา

    25. ไม่จอดรถขวางทางเข้าบ้านของเขา หรือในที่ที่เขาจอดประจำ

    26. ไม่พาสัตว์เลี้ยงเช่น หมา แมว ไปอึหรือฉี่หน้าบ้าน ต้นไม้ของเขา

    27. ไม่เปิดวิทยุ โทรทัศน์ หรือคาราโอเกะเสียงดังจนรบกวนเขา โดยเฉพาะในวันหยุด

    28. ไม่ซ้อมดนตรี /จัดงานหรือส่งเสียงเอะอะ โวยวายรบกวนเพื่อนบ้าน ควรจะจัดเวลาซ้อมที่ไม่เช้าหรือดึกเกินไป หรือไม่ก็ควรจะไปซ้อมที่อื่น และไม่ควรพาเพื่อนมาตั้งวงกินเหล้าส่งเสียงดัง หนวกหูชาวบ้านเขาทุกอาทิตย์

    29. ไม่กวาดขยะไปกองหรือทำสกปรกหน้าบ้านผู้อื่น ควรกวาดและเก็บใส่ถุงหรือถังขยะให้เรียบร้อย

    30. ร่วมกิจกรรมสังสรรค์ที่จัดขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชนของเราเองบ้างตามโอกาสอัน ควร


    - ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะทำให้การทำงานของเราราบรื่น เกิดความสามัคคี และมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของเราด้วย ได้แก่


    31. ยิ้มแย้มแจ่มใส รู้จักโอภาปราศรัยต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่ทำเมิน หรือทำหน้าเฉยเมยไร้ชีวิตเมื่อเจอกัน

    32. ช่วยแนะหรือสอนงานที่เรามีความชำนาญให้

    33. แสดงความยินดีหรือชมเชยเมื่อเขาประสบความสำเร็จหรือได้รับรางวัล 34. ซื้อของขวัญ ให้เงิน หรือการ์ดอวยพรในโอกาสต่างๆ เช่น วันเกิด วันแต่งงาน คลอดลูก

    35. แสดงความเสียใจหรือปลอบใจเมื่อเขาประสบเหตุหรือโชคร้าย เช่น พ่อแม่ตาย ถูกขโมยขึ้นบ้าน

    36. ช่วยเหลือ ตักเตือนหรือชี้แนะเมื่อเขาทำผิดพลาดด้วยความจริงใจ ไม่ซ้ำเติม

    37. ไม่ขโมยผลงานของเขามาเสนอเป็นผลงานของเรา

    38.ไม่ใส่ร้ายป้ายสี หรือยุยงให้เพื่อนร่วมงานแตกคอ หรือทะเลาะวิวาทกัน 39. แนะนำหนังสือ ร้านอาหาร วัด หรือสถานที่ดีๆแก่เพื่อนให้เขาได้ไปใช้บริการบ้าง

    40. รู้จักอยู่ช่วยงานหรือร่วมกิจกรรมที่เพื่อนในหน่วยงานจัดขึ้น แม้จะมิใช่งานของเรา เพื่อจะได้รู้จักสนิทสนม และทำงานเข้าขากันได้มากขึ้น


    - ดีต่อหน่วยงานหรือที่ทำงานของตน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ประกอบอาชีพ ทำให้เรามีกินมีใช้ เราจึงควรต้องกตัญญูรู้คุณ ด้วยการ


    41. ซื่อสัตย์ต่อหน่วยงาน ไม่โกงเวลา โกงทรัพย์สินของหน่วยงาน

    42. ไม่นินทาว่าร้าย หรือดูถูกหน่วยงานของเราเอง หากเราคิดว่าไม่ดี ก็ควรออกไปหางานอื่นทำ

    43. ตั้งใจทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ไม่เอาเปรียบผู้อื่น

    44. เมื่อเห็นสิ่งใดไม่ดีในหน่วยงาน ต้องร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไข ไม่ใช่ซ้ำเติมหรือเมินเฉย

    45. ให้บริการหรือพูดจากับผู้มาติดต่อกับหน่วยงานให้สุภาพ ไพเราะเพื่อให้เกิดความประทับใจที่ดี

    46. ใช้ทรัพยากรต่างๆของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่าให้เหมือนสมบัติของเราเอง

    47. ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ ทำลายระเบียบที่ดีจนหน่วยงานเละเทะ ยุ่งเหยิงเพราะต่างทำตามใจตนเองจนควบคุมไม่ได้

    48. รู้จักเสียสละเพื่อหน่วยงานบ้างบางโอกาส เช่น ทำงานโดยไม่เอาโอ.ทีหรือร่วมลงขันจัดกิจกรรมให้หน่วยงาน

    49. ช่วยกันสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้หน่วยงาน เช่น แข่งกีฬาชนะเลิศ จัดทำโครงการดีๆเพื่อสังคม

    50. ต้องมีความภาคภูมิใจในหน่วยงานของตน


    - ดีต่อสังคม ซึ่งมีเราเป็นหน่วยหนึ่ง ก็จะทำให้สภาพแวดล้อมรอบๆตัวเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น เพราะจะเต็มไปด้วยความเอื้ออาทร และความมีไมตรีจิตต่อกัน ด้วยการ

    51. ส่งของกิน ของใช้ หรือเงินไปบริจาคมูลนิธิต่างๆเมื่อถึงวันเกิด หรือวันสำคัญอื่นๆของตน

    52. ทำหนังสือชมเชยไปยังบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้บริการที่ดีเพื่อเป็นกำลังใจ และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น เช่นเขียนไปชมกระเป๋ารถเมล์ที่พูดจาดี ช่วยพยุงคนแก่ขึ้นรถ

    53. ช่วยกันรักษาความสะอาดและถนอมใช้สมบัติสาธารณะให้มีอายุยืนนาน เช่น ไม่ขีดเขียนในห้องน้ำสาธารณะ ไม่ทิ้งขยะ/ถ่มน้ำลายบนถนนหนทางหรือในแม่น้ำลำคลอง

    54. ช่วยกดลิฟท์ให้กับผู้ร่วมทาง หรือช่วยถือของหนักให้กับคนบนรถเมล์ 55. ไม่แซงคิวใดๆที่เขากำลังเข้าแถวรอรับบริการ เช่น ซื้อตั๋วหนัง หรือเข้าส้วม

    56. นำหนังสือดีๆ หรือหนังสือธรรมะ ไปบริจาคตามโรงพยาบาลรัฐ เช่น ห้องรอรับการรักษา ห้องพักผู้ป่วย ห้องพยาบาล เป็นต้น เพื่อเป็นการแนะวิธีปฏิบัติตน และช่วยปลุกปลอบใจ

    57. ขับรถตามกฎจราจร มีน้ำใจให้กับรถคันอื่น ไม่แซงซ้ายป่ายขวา และจอดรถให้คนข้ามถนนบ้าง

    58. อ่านหนังสือธรรมะ หรือหนังสือดีๆใส่เทป ซีดี ส่งไปให้คนตาบอดฟัง

    59. รับเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ให้เด็กที่ด้อยโอกาสได้เรียนหนังสือ

    60. ให้ความช่วยเหลือ/แนะนำแก่ผู้อื่นในสิ่งที่เขาไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยทำ เช่น แนะวิธีคาดเข็มขัดบนเครื่องบิน แนะวิธีใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในฟิตเนส


    - ดีต่อศาสนา อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข เราจึงควรสืบทอดศาสนาให้ยั่งยืนต่อไปยังลูกหลานของเราด้วยการ



    61. ศึกษาหลักธรรมในศาสนาของเราให้รู้จริง

    62. ปฏิบัติตามธรรมะที่ศาสดาสอนไว้

    63. ช่วยเหลือแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

    64. ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนาอื่น อันเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก

    65. ทำบุญตามหลักศาสนาของตนอย่างน้อยเดือนละครั้ง

    66. สั่งสอนและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับอนุชนรุ่นหลัง

    67. ไม่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทำลายผู้อื่น

    68. ไม่ใช้ศาสนาไปหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อในทางที่ผิด

    69. หากเป็นพระ นักบวชต้องทำตนเป็นแบบอย่างและแนะแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกที่ควรแก่ศาสนิกชน

    70. เชื่อมั่น และตั้งใจที่จะช่วยสืบทอดศาสนาทุกวิถีทางที่ดีและถูกต้อง


    - ดีต่อชาติบ้านเมือง ซึ่งเป็นแผ่นดินถิ่นเกิดหรือให้เราได้อยู่อาศัย เราจึงควรตอบแทนด้วยการ

    71. ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถไม่ว่าจะอยู่ในฐานะหรือตำแหน่งใด

    72. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ใส่ตัวหรือพวกพ้อง และไม่คิดคอรัปชั่นหรือคดโกงด้วยวิธีการใดๆ

    73. ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตน

    74. ช่วยปกป้องหรือรักษาผลประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองเมื่อมีโอกาส

    75. ไม่เมินเฉยหรือละเลยให้ผู้อื่นมาฉกฉวยผลประโยชน์จากชาติบ้านเมืองของเรา

    76. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

    77. สอนลูกหลานให้รักและภาคภูมิใจในชาติของเรา

    78. ตั้งใจศึกษาหาความรู้ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบ้านเมืองอย่างเต็มที่

    79. มีความรักความสามัคคีต่อกันในทุกระดับ

    80. ช่วยกันรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขของประเทศ


    ทั้งหมดคือตัวอย่างการ "ทำความดี" อันหลากหลายที่ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้ แม้บางข้อดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่อย่าลืมว่าหากเราทุกคนตั้งใจทำ ความดีเล็กๆเหล่านี้ก็สามารถรวมเป็น "พลังอันยิ่งใหญ่" ที่ทำให้ทุกคนเป็นสุข เพราะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และมีผลทำให้ชาติบ้านเมืองร่มเย็นได้ และน่าจะเป็นสิ่งที่ "ในหลวง" ของเรา คงทรงยินดีที่ราษฎรของพระองค์สร้างความดีแก่ตัวและผู้อื่นมากกว่าการสร้าง ถาวรวัตถุใดๆถวายพระองค์ท่านอย่างแน่นอน



    <HR>อมรรัตน์ เทพกำปนาท
    กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม


    นำมาจาก
    80 <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    พิจารณาขันธ์ ๕
    เป็น "ไตรลักษณ์"
    ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (มรรค) เป็นอย่างไรเล่า?
    ภิกษุ ท.! หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนั่นเอง ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ :
    ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การดำรงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
    ความตั้งใจมั่นชอบ อันนี้เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    .........................................................................................................................................................

    ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

    ภิกษุทั้งหลาย! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
    นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
    เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้
    (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ)
    ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้
    ปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่มี
    เมื่อบุพพันดานุทิฏฐิไม่มี อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่มี
    เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี
    เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
    เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
    เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง
    เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว
    เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้ “มิได้มีอีก” ดังนี้
    พุทธวัจน์ : คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
    ที่มา : ชมรมกัลยาณธรรม

    ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่าง ของสิ่งทั้งปวง
    ๑. อนิจจัง : ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่
    ๒. ทุกขัง : ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้น ด้วยการเกิดขึ้น และสลายไป
    ๓. อนัตตา : ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
     
  3. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมบ้านนี้ นาน...มากกกกก ได้ธรรมะดีๆมากมายเลยค่ะ อนุโมทนาสาธุ...ค่ะ
     
  4. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    (k) ไม่พบปะกันนานมากกก ค่ะ น้องน่าน ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะคะ..หากเจอน้องพิมพ์ น้องจั่น ก็ฝากทักทาย และส่งความคิดถึงด้วยนะคะ...
     
  5. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    นิพพานชาตินี้กันเถอะ

    ประพันธ์เพลงและขับร้องโดย ประณีต สองเมือง

    ดนตรีโดย ครูประยูร เวชชประสิทธิ์

    ทุกๆ ชีวิต... ล้วนแก่ เจ็บ ตาย หลงเวียนว่าย ในวังวนของกิเลสกรรม เป็น

    ทาสของโลกสมมุติ ดิ้นไม่หลุด ผูกในโลกธรรม โธ่ชายหญิง...สร้างเวรใช้กรรม

    เกิด ตายซ้ำซาก ทำไมไม่เบื่อระอา...


    พระพุทธองค์ ทรงกำเนิดมา เพื่อค้นหาทางหลุดพ้น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แดน

    ทิพย์นิพพานสุขสันต์ ไม่ต้องใช้กรรม สร้างเวรอีกต่อไป

    โอ้...! พุทธองค์ทรงนำทางไว้ หลุดพ้นการเวียนว่ายสู่แดนทิพย์

    นิพพาน...สมเด็จพ่อ องค์ปฐมบิดา ท่านส่งลูกมา ทดสอบใจกายให้ใช้ปัญญา

    โลกนี้ไม่มีอะไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทำไมยึดเป็นของข้า ตัดสมมุติหลุดพ้นอัตตา

    อดทนฟันฝ่าสู่แดนทิพย์นิพพาน...

    จิตดวงนี้...มีพลัง ถ้าหากมุ่งมั่น ย่อมสำเร็จดั่งใจต้องการ แดนทิพย์นิพพานไม่

    ไกล เกินกว่าใจ ใฝ่ตั้งมั่น สมเด็จพ่อรอลูกกลับบ้าน แดนทิพย์นิพาน สุขสันต์ชั่ว

    นิรันดร..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤศจิกายน 2012
  6. ลุงแมว

    ลุงแมว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    4,691
    ค่าพลัง:
    +7,948
    เพราะมากครับพี่ใจ ใกล้เคียงกับต้นฉบับเลย

    ฟังแล้วได้สติด้วยครับ ^^

    ขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุดของพวกเราทุกภพชาติ
     
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง)

    พ่อสอนลูก

    ๑. ขอลูกรักจงรักษากายไว้ด้วยดี อย่าเอากายไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและจงรักษาวาจาไว้ให้ดี อย่าพูดปดมดเท็จที่ไม่ตรงความจริง อย่าพูดคำหยาบหรือด่าคนอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคี คือยุให้คนแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ด้านใจจงรักษาใจไว้ด้วยดี คือไม่อยากได้ของๆ ใครที่เขาไม่เต็มใจให้ ไม่โกรธแค้นอาฆาต พยาบาทใคร ไม่เมาใจจนเห็นผิด คิดว่าตัวเป็นคนประเสริฐ อารมณ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จะให้เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรักษากายใจได้ดังนี้แล้ว ต่อไปใจจะสะอาดขึ้นทีละน้อยจนไม่ต้องระวังทั้งกาย วาจา ใจ จะทรงไว้แต่ความดีอย่างเดียว ในที่สุดก็ถึงนิพพาน

    ๒. ลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ท่านกับเราก็เสมอกันเสมอกันโดยไตรลักษณ์ คืออนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เมื่อมีความเป็นอยู่ต้องทำมาหากินทางอาชีพทำการงานเลี้ยงชีพ สุขบ้างทุกข์บ้าง ไปตามสภาพของคนที่มีชีวิต ในที่สุดชีวิตก็สลายตัวไป จงจำไว้ว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายจนเกินไป อย่ายึดถือในทรัพย์สินมากเกินไป จงจำไว้ว่าเราจะต้องตายถ้าเรายังไม่ดีพอ ตายแล้วเราก็ต้องเกิดอีก เกิดแล้วเราก็มีทุกข์ เกิดเป็นคนมีทุกข์อย่างคน เกิดเป็นสัตว์มีทุกข์อย่างสัตว์ เกิดเป็นอสุรกายเป็นทุกข์อย่างอสุรกาย เกิดเป็นเปรตเป็นทุกข์อย่างเปรต เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นทุกข์อย่างสัตว์นรก เกิดเป็นเทวดาสุขอย่างเทวดา เกิดเป็นพรหมสุขอย่างพรหม แต่สุดท้ายไม่นานผลที่สุดก็ละความสุขนั้นมาหาความทุกข์ สู้ไปพระนิพพานไม่ได้ นิพพานมีความสุขที่เป็นเอกันตบรมสุข เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม


    พิจารณาตน

    ๑. ถ้าบุคคลใดไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ไม่ยากตนข่มท่าน ไม่มีความประมาท มีจริยาดี มีความสงบใคร่ครวญเฉพาะความประพฤติของตัว อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึงสะเก็ดความดีที่ตถาคตสอน แล้วบุคคลใดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่น ทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว สามารถระงับนิวรณ์ ๕ ได้ตามต้องการ จิตทรงฌาน มีอารมณ์ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงเปลือกความดีที่พระองค์ทรงสอน ถ้าบุคคลใดทำความดีดังนี้ตามลำดับมาครบถ้วนทรงตัว สามารถทำจิตให้ระลึกชาติได้โดยไม่จำกัด อย่างนี้เข้าถึงกระพี้ความดีที่พระองค์สอน ถ้าบุคคลใดทำจุตูปปาตญาณให้เกิดขึ้นเห็นคนและสัตว์รู้ได้ทันทีว่าคนและสัตว์นี้ก่อนเกิดมาจากไหน คนตายแล้วไปอยู่ไหน อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงแก่นความดีที่พระองค์สอน แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์ ต่อไปทบทวนความดีนี้ให้ทรงตัว ทำวิปัสสนาญาณ ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าบารมีอย่างกลางจะตัดกิเลสได้หมดภายใน ๗ เดือนถ้าบารมีอย่างอ่อนจะตัดได้หมดภายใน ๗ ปี

    ๒. ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประมาณว่าเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลาถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญ ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญ นั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว


    ศีล

    ๑. ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิ เพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ

    ๒. ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้จะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ตามถ้าเราละเมิดนั่นก็หมายความว่าเราเปิดช่องของอบายภูมิหรือเปิดทางเดินไปสู่อบายภูมิ มีเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน การเจริญกรรมฐานของบรรดาพุทธบริษัทก็ไม่มีผล เพราะฉะนั้นญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่คิดว่าจะเจริญพระกรรมฐานให้มีผลวันนี้และตลอดไปในชีวิต จงตั้งจิตคิดว่านับแต่นี้เป็นต้นไปเราจะเป็นผู้ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอดชีวิต บางวันข้างหน้าอาจจะเผลอไปบ้างก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลอไปเราก็ยับยั้งมันเสีย และตั้งใจต่อไปเราจะไม่ทำผิดอีกและจงเข้าใจว่า ศีล ๕ ประการนี้ ถ้าจะขาดได้ก็ต้องอาศัยความตั้งใจทำ อย่างปาณาติบาตสัตว์เล็ก ๆ เราเดิน ๆไปเราไม่เห็นบังเอิญเหยียบตาย อันนี้ศีลไม่ขาด หรือสัตว์เล็ก ๆ มียุงเป็นต้นมาเกาะกินเลือดเรา ถ้าไม่คิดจะฆ่ามันแต่มันเกาะนานเกินไป เราจะเอามือลูบให้มันหนีไป บังเอิญมันหนีไม่ทัน ถูกมันตาย อันนี้เราไม่บาป ศีลไม่ขาดเพราะเราไม่มีเจตนาจะฆ่า


    พรหมวิหาร ๔

    ๑. ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คิดว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีก็พลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ดี ก็จัดว่าเป็นศูนย์รวมกำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี

    ๒. ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ แล้ว มีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้นนั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผลมีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไรเพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความความดี คือจิตทรงพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็นมีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุขบุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย เสียมากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันย่อมปรากฎ


    สมาธิ

    ๑. เวลาปฏิบัติ เวลาเริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไปประเดี๋ยวเดียวมันไม่ตายหรอก และก็ตัดสินใจว่าเราจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำของครูไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวล ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกายได้แล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลที่จริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิหรือฌานจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่องฌานก็บกพร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ เรื่องนิวรณ์ ๕ ประการ อย่านึกถึงมันเลย นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ ให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร ๔ ให้จิตทรงตัวไว้ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คำว่าปกติต้องเหมือนศีล ศีลนี้ต้องบริสุทธิ์ทุกวันและพรหมวิหาร ๔ ต้องทรงตัว

    ๒. สำหรับอานาปานุสติกรรมฐาน ขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าท่านให้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ะก็อารมณ์จิตมันจะเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้ จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสติกรรมฐานไว้เป็นปกติจำได้ไหม และก็ลองคิดดูทีเถอะว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วก็จิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใด ๆ ที่ไหนจะเข้ามาแทรกจิตได้


    มหาสติปัฏฐาน

    ๑. มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานุสติกรรมฐานเท่านั้น ที่ต้องทำกันซ้ำหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น ทำแล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิดปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้ว จิตใจมันฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้ แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เขาปฏิบัติกันอย่างนี้ จึงได้ผลตามกำหนดที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้



    บารมี ๑๐

    บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ

    ๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน

    ๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต

    ๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะแปลว่าการถือบวช พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย

    ๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง

    ๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง

    ๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง

    ๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ

    ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน ”

    ๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา

    ๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย

    ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย แต่ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบัน มันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจในบารมี ๑๐ บริบูรณ์เพียงใด คำว่าพระโสดาบัน ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้สึกว่าง่ายเกินไป



    ทรงความดี

    ๑. การปฏิบัติเพื่อเอาดีจริง ๆ การเริ่มต้นของการปฏิบัตินอกจากศีลบริสุทธิ์แล้ว ก่อนที่จะภาวนา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของร่างกายเสียก่อน คิดว่าการเกิดของเราแต่ละชาติเป็นทุกข์ เรื่องทุกข์นี่ให้มองดูกันเองนะ เพราะเห็นทุกข์กันอยู่ทุกวัน คนไม่เห็นทุกข์นั่นหมายถึงว่าตั้งหน้าตั้งตาลงนรก เพราะจิตมันไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเราต้องมองเห็นและพิจารณาว่า การเกิดนี่มันเป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบายก็ทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ตายก็ทุกข์

    ๒. เวลานี้เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้า คือคำสอน องค์สมเด็จพระชินวรก็ไปนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายไปนิพานนับไม่ถ้วนก็เคยปฏิบัติอย่างนี้ ฉะนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    เราจะไม่มีความอาลัยในชีวิตและร่างกายของเรา

    เราจะไม่สนใจร่างกายของบุคคลอื่น

    เราจะไม่สนใจในวัตถุธาตุใด ๆ

    เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าบังเอิญมันจะตายในขณะที่เรานั่งนี่ก็เชิญ ร่างกายตายแต่ใจเราไปพระนิพพานตัดสินใจอย่างนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ภาวนา


    มโนมยิทธิ

    ๑. มโนมยิทธิ แปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ คำว่าฤทธิ์ทางใจหมายความว่าใช้ใจ โดยเฉพาะอันดับต้นต้องฝึกให้ได้ทิพจักขุญาณก่อน คำว่าทิพจักขุญาณก็หมายความว่าใช้ความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ ไม่ใช่ลูกตาเป็นทิพย์ ถ้าฝึก “ ทิพย์จักขุญาณ ” ได้แล้ว ต่อไปจิตจะเคลื่อนไปสู่สวรรค์ก็ได้พรหมโลกก็ได้ไปแดนนิพพาน แดนเปรตแดนอะไรก็ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นมุมหนึ่งหรือจุดใดในโลกมนุษย์นี่ง่ายกว่า หรือว่าใครอยากจะไปเที่ยวดาวดาวต่าง ๆ ก็ไปได้ ไปดวงอาทิตย์เราก็ไปได้ไม่ตายเพราะใจเราไม่ตาย แต่ว่าวิธีปฏิบัติแบบนี้เวลาจะเคลื่อนใช้อารมณ์แนบแน่นสนิทไม่ได้ต้องมีอารมณ์เบา ๆ พอสมควร คือแค่อุปจารสมาธิให้เริ่มสัมผัสภาพได้ก่อน ไม่ได้เห็นด้วยลูกตา พอรับสัมผัสภาพได้ตอนนี้จิตเริ่มเป็นฌาน ตอนนี้ก็ยังเบาอยู่ แต่เคลื่อนจิตไปพระจุฬามณีได้ เมื่อเข้าไปถึงจุดนั้น มันจะมีทั้งฌานและญาณบอก ฌานอย่างเดียวมันก็ไปไม่ได้ถ้าไปแล้วมันไม่เห็น ต้องมีตัวญาณเป็นตัวรู้ ฉะนั้น การขั้นตอนแรก ขึ้นด้วยญาณก่อนเมื่อไปถึงที่นั่นชำระจิตดี จิตสะอาดมากขึ้นความสว่างไสวจะดีขึ้น แต่ไม่ใช่ลูกตาเห็น เป็นการเห็นจากจิต เป็นความรู้สึกจากจิต แต่เมื่อจิตสะอาดมากก็เห็นเหมือนตาเห็น

    ๒. ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้แล้ว จงอย่ายับยั้งความดีไว้แค่มโนมยิทธิ เพราะถ้าหากท่านทำความดีได้แค่นี้มันยังไม่พ้นการลงนรก การให้ฝึกมโนมยิทธิ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายมีจริง การระลึกชาติมีจริง ตายแล้วไม่สูญจริงสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง นรก เปรต อสุรกายมีจริงเมื่อทำได้แล้วจงรวบรวมกำลังใจของท่าน ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พระโสดาบัน จะได้ป้องกันอบายภูมิ ไม่ต้องตกนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกายและสัตว์เดรัจฉานต่อไป เป็นการก้าวไปหาพระนิพพานเร็วขึ้น


    วิปัสสนาญาณ

    ๑. ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน เมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้หากว่าชาตินี้ ถ้าไม่สามารถไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้วดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหมอยู่ไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัสรู้ เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานหรือ ปฏิกูลพรรพ ฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินศรีรู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว เลวที่สุดได้พระโสดาบันนี่เรียกว่าเลวที่สุดนะ ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผลตัวอย่างก็เยอะที่ปรากฏมาในพุทธประวัติ

    ๒. ถ้าหากว่าเรารู้จริงเห็นจริง ด้วยอำนาจของปัญญาว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกแบบนี้ เราจะเอาจิตเข้าไปพัวพันร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร แม้แต่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเพียงแต่ว่าเป็นแดนสำหรับที่เราอาศัยเท่านั้น เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปกายจนเกินสมควรและก็รู้อยู่เสมอว่าร่างกายของเรานี้มันสกปรก ร่างกายของคนอื่นก็สกปรกมันสกปรกไม่สกปรกเปล่า ในที่สุดมันก็พังทลายเหมือนผีตายทั้งหลายนั้นแหละ ความจริงเราต้องการความสะอาด เราไม่ต้องการความสกปรกเมื่อจิตของเราเห็นว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดีสกปรก ความรัก ความปรารถนา ความใคร่มันก็หมดไป เพราะว่าไม่มีใครต้องการความสกปรก






    พิจารณาความตาย

    ๑. เรื่องของความตายนี้ ทางพระท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ว่าใครทั้งสิ้นที่เกิดมาแล้ว ก็ต้องตายเหมือนกันหมด จะตายด้วยโรคอะไรหรืออาการอย่างไรในที่สุดก็ตายเหมือนกัน พระท่านสอนไม่ให้เสียใจเพราะเหตุแห่งความตายมาถึง คนรับฟังมีเยอะ แต่รับปฏิบัติ คือตัดใจไม่ให้เศร้าโศกถึงคนตายนี่หายาก เรื่องของการระงับความเศร้าโศกอาลัย ในเมื่อมีคนที่เรารักตายนี้มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง คนที่จะทำได้แน่นอนไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในเรื่องของความตายนั้น ท่านว่ามีพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเห็นเรื่องของความตายเป็นของปกติธรรมดา เหมือนเห็นใบไม้ที่แก่งอมร่วงลงมาจากต้นไม่มีความรู้สึกเสียดายห่วงใยใด ๆ ถ้าว่ากันตามภาษาชาวบ้าน ถ้ามีคนตายเกิดขึ้นที่บ้านใคร ถ้าคนที่เกี่ยวข้อง เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ตาย ไม่ร้องไห้แสดงความเสียใจเขาก็หาว่าเป็นคนใจจืดใจดำ กลายเป็นคนไม่ดีไปเสียอีก ต้องแสดงออกถึงความโศกเศร้ารำพันนั่นแหละ เขาถึงจะนิยมว่าเป็นคนดีรักกันจริง เรื่องความเห็นของพระกับชาวบ้านไม่ใคร่จะลงกันก็อีตอนนี้แหละ

    ๒. คนเราเมื่อตายจากอัตภาพนี้แล้ว มันไม่ตายจริง คือไม่หมดความรู้สึกสุขทุกข์ยังมีสุขมีทุกข์มีความรู้สึกเหมือนเมื่อยังไม่ตาย แต่สิทธิต่าง ๆ ในเมื่อวิญญาณออกจากร่างนี้แล้วก็มีบางอย่างที่วิญญาณไม่มีสิทธิจะครองนั่นก็คือ ทรัพย์สินที่พยายามสะสมไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อยังทรงอัตภาพนี้ ส่วนอื่นนอกจากนี้ คือความสุขและความทุกข์ยังมีตามเดิม บางท่านเมื่อก่อนตาย ทำความดีไว้มาก เมื่อตายแล้วก็มีความสุข บางรายก่อนตายสร้างความเลวร้ายไว้มาก เมื่อตายแล้วก็ได้รับความทุกข์อันนี้เป็นกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้


    อริยสัจ

    ๑. เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มีถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเราอารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมแปดประการ คือมีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่

    ๒. สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่าเราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไปจงพิจารณาหาทุกข์ให้พอในอริยสัจจ์


    พิจารณาขันธ์ ๕

    ๑. ให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วยก็รักษา เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ก็คิดว่าธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไป ถ้าเอาไว้ไม่ได้มันจะผุพัง ก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์ก็เกิดแก่ตัวเองหรือใครอะไรก็ตาม ไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล

    ๒. จิตต้องยึดเป็นอารมณ์ว่า ถ้าตายคราวนี้เรามุ่งนิพพาน ต้องคอยชำระจิต ก็หมายความว่าอย่าให้ความโลภคลุมใจ อย่าให้กามฉันทะมันคลุมใจ ความโกรธและโมหะอย่าให้คลุมใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหันเข้ามาตัดจุดเดียว คือ ขันธ์ ๕ ของเรา ตัดให้ขาด ทุกอย่างมันจะเกาะไม่ได้


    สังโยชน์ ๑๐

    ๑. อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุดหรือโดยตรงนั่นก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ตัวตัดอยู่ตรงนี้เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลากำจัดก็แย่ บางท่านก็มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้อันนี้เป็นกำไรมาก

    ๒. นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลของการปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั่นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง



    พระโสดาบัน

    ๑. ความเป็นพระโสดาบันต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ

    ประการที่ ๑ มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี

    ประการที่ ๒ งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด เรียกว่ารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล ๕ ประการนี้รักษาโดยเด็ดขาด

    ประการที่ ๓ จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน

    ๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้คือปรารภความตายเป็นปรกติไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริงเป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียวคือ พระนิพพาน เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน



    พระสกิทาคามี

    ๑. พระสกิทาคามี อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ บรรเทาความร่ำรวย บรรเทาความโกรธ เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทาความหลงก็เลยบรรเทาด้วย กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้

    ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง

    ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป

    สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป


    พระอนาคามี

    ๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศมีความสลดใจ คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค ถ้าหากว่าจิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้วก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามีต่อไป ถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจการแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล

    รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีก็คือ

    • สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ

    • จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก

    • ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล


    พระอรหันต์

    ๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย

    ๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่

    ๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล
     
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ขอบคุณโปรดิวเซอร์แมวจุฟ จุฟ มาก ๆ ๆ จ๊ะ..
     
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    การปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องทำให้สมดุลย์
    ทั้งศรัทธา ปัญญา วิริยะ วิปัสสนา

    หากมีศรัทธา แต่ไม่มีปัญญา ก็จะงมงาย
    หากมีแต่ปัญญาแต่ไม่มีศรัทธานำก็จะทำให้มีอีโก้สูง
    วิริยะมากแต่ไม่วิปัสสนาก็จะทำให้ฟุ้งไปเรื่อย
    วิปัสสนามากแต่ไม่มีความเพียรไปก็พาลไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใคร

    จึงควรให้ปฏิบัติธรรมแต่พอดี ๆ ๆ สาธุ ๆ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤศจิกายน 2012
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    มรรคมีองค์แปด

     
     

    มรรค คือหนทาง ในที่นี้คือหนทางที่ดี ที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่ความไม่มีทุกข์ (นิพพาน) ดับทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่นิพพาน 

    มรรคแปด บางท่านเรียก "อริยมรรค" หรือ "มรรคมีองค์แปด" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่าประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ, สัมมาวาจา การพูดจาชอบ, สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ, สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ, สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ, สัมมาสะติ ความระลึกชอบ, สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

    สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    ท่านอธิบายว่า ความเห็นชอบ นั้นคือ ความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ทั้งหลายนี้คือ ความเห็นชอบ

    สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    ท่านอธิบายว่า ความดำริชอบ นั้นคือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน ทั้งหลายนี้คือ ความดำริชอบ

    สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
    ท่านอธิบายว่า การพูดจาชอบ นั้นคือ เจตนาเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ทั้งหลายนี้คือ การพูดจาชอบ

    สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
    ท่านอธิบายว่า การทำการงานชอบ นั้นคือ เจตนาเว้นจากการฆ่า เจตนาเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ทั้งหลายนี้คือ การทำการงานชอบ

    สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
    ท่านอธิบายว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ นั้นคือ ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ ทั้งหลายนี้คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ

    สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
    ท่านอธิบายว่า ความพากเพียรชอบ นั้นคือ 

    ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น 

    ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว 

    ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น 

    ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 

    ทั้งหลายนี้คือ ความพากเพียรชอบ

    สัมมาสติ ความระลึกชอบ
    ท่านอธิบายว่า ความระลึกชอบ นั้นคือ 
    เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ 
    เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
    เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
    เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
    ทั้งหลายนี้คือ ความระลึกชอบ

    สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
    ท่านอธิบายว่า ความตั้งใจมั่นชอบ นั้นคือ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความวิตกวิจารทั้งสองระงับลง  เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่   อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข"  เข้าถึงตติยาฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ ทั้งหลายนี้คือ ความตั้งใจมั่นชอบ

    ที่มา: พระราชสุทธิญาณมงคล, "คู่มือการฝึกอบรมพัฒนาจิต", วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี, ๒๕๓๔

     


     
     
  12. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ขอพวกเราทั้งหลายจำไว้เถิด
    ว่าการเกิดนี้ลำบากยากนักหนา
    ครั้นคนเราได้กำเนิดเกิดขึ้นมา
    ก็กลับพากันถึงซึ่งความตาย

    (หลวงวิจิตรวาทการ)


    ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป
    เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน
    ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายสบายครัน
    มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอย

    (ท่านพุทธทาสภิกขุ)


    กายนี้ท่านเปรียบดั่งท่อนไม้
    ครั้นดับไปสมมติว่าเป็นผี
    เครื่องเปื่อยเน่าสะสมถมปฐพี
    เหมือนกันทั้งผู้ดีและเข็ญใจ

    (เจ้าพระยาคลัง หน)


    อันรูปรสกลิ่นเสียงนั้นเพียงหลอก
    ไม่จริงดอกอวิชชาพาให้หลง
    อย่าลืมนะร่างกายไม่เที่ยงตรง
    ไม่ยืนยงทรงอยู่คู่ฟ้าเอย

    (จากหนังสือเก่าโบราณ)


    กลางทะเลอวกาศที่เวิ้งว้าง
    สรรพสิ่งได้ถูกสร้างแปลงไว้
    จากดินน้ำลมและไฟ
    ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่เรื่อยมา

    เมื่อถึงคราวแตกดับ
    สรรพสิ่งก็หมุนกลับไปหา
    ธรรมชาติเดิมแท้นั้นอีกครา
    เวียนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น

    (สมภาร พรหมทา)


    เป็นมนุษย์ หรือ เป็นคน

    เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง
    เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
    ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน
    ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
    ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ
    ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา
    เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา
    เปรมปรีดา คืนวัน ศุขสันติ์จริง
    ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า
    ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง
    เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง
    แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย
    คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก
    จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
    ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย
    ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือน เอยฯ
    นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ

    หมู่นกจ้อง มองเท่าไร ไม่เห็นฟ้า
    ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
    ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
    หนอนก็ไม่ มองเห็นคูต ที่ดูดกิน;
    คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
    ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
    ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
    เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย ฯ
    ความสุข

    ความเอ๋ย ความสุข
    ใครๆทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
    "แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา"
    แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ
    ถ้าเราเผา ตัวตัณหา ก็น่าจะสุข
    ถ้ามันเผา เราก็ "สุก" หรือเกรียมได้
    เขาว่าสุข สุขเน้อ! อย่าเห่อไป
    มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย ฯ
    ศึกษากันเท่าไร?

    โลกยุคนี้ มีศึกษา กันท่าไหน
    ยุวชน รุ่นใหม่ ได้คลุ้มคลั่ง
    บ้างติดยา เสพติด เป็นติดตัง
    บ้างก็ฝัง หัวสุม ลุ่มหลงกาม
    บ้างดูหมิ่น พ่อแม่ ไม่มีคุณ
    บ้างก็เห็น เรื่องบุญ เป็นเรื่องพล่าม
    บ้างลุ่มหลง love free เป็นดีงาม
    บ้างประณาม ศาสนา ว่าบ้าบอ
    บ้างไปเป็น ฮิปปี้ มีหลายชนิด
    บ้างทวงอิส- ระพ้น จนเหลือขอ
    บ้างที่มี ดีกรีมาก โฮกฮากพอ
    โลกเราหนอ ให้ศึกษา กันเท่าไร ฯ
    อาจารย์ไก่

    ถ้าคนเรา เปรียบกับไก่ ดูให้ดี
    มันไม่มี นอนไม่หลับ ไม่ปวดหัว
    ไม่มีโรค ประสาท ประจำตัว
    โรคจิตไม่ มากลั้ว กับไก่น้อย
    คนในโลก กินยา เป็นตันๆ
    พวกไก่มัน ไม่ต้องกิน สักเท่าก้อย
    หลับสนิท จิตสบาย ร้อยทั้งร้อย
    รู้สึกน้อย แห่งน้ำใจ อายไก่เวย
    ได้เป็นคน หรือจึงได้ นอนไม่หลับ
    ควรจะนับ ว่าเป็นบาป หรือบุญเหวย
    มีธรรมะ กันเสียนะ อย่าละเลย
    อยู่เสบย ไม่ละอาย แก่ไก่มัน
    ภัยร้ายของนักเรียน

    เป็นนักเรียน เพียรศึกษา อย่าริรัก
    ถูกศรปัก เรียนไม่ได้ ดั่งใจหมาย
    สมาธิจะ หักเหี้ยน เตียนมลาย
    ถึงเรียนได้ ก็ไม่ดี เพราะผีกวน

    แต่เตือนกัน สักเท่าไร ก็ไม่เชื่อ
    มันแรงเหลือ รักร้าย หลายกระสวน
    หลอกพ่อแม่ มากมาย หลายกระบวน
    หน้าขาวนวล ใจหยาบดำ ซ้ำละลาย

    การเล่าเรียน เบื่อหน่าย คล้ายจะบ้า
    ใช้เงินอย่าง เทน้ำเทท่า น่าใจหาย
    ไม่เท่าไร ใจกระด้าง สิ้นยางอาย
    หญิงหรือชาย เรียนไม่ดี สิ่งนี้เอง

    มีสัจจะ ทมะ และขันตี
    กตัญญู กตเวที อย่าโฉงเฉง
    รักพ่อแม่ พวกพ้อง ต้องยำเกรง
    เรียนให้เก่ง ให้ยิ้มแปล้ แก่ทุกคน ฯ



    ยิ่งเจริญยิ่งบ้า?

    ถ้าพูดว่า "ยิ่งเจริญ คือยิ่งบ้า"
    ดูจะหา คนเชื่อ ได้ยากยิ่ง
    เพราะต่างชอบ ความเจริญ ที่เกินจริง
    เจริญอย่าง ผีสิง ยิ่งชอบกัน
    โลกเจริญ เกินขนาด ธรรมชาติแหลก
    เกิดของแปลก แปลงโลก ให้โศกศัลย์
    ทำมนุษย์ ให้เป็นสัตว์ พิเศษพลัน
    คือฆ่ากัน ทั้งบนดิน และใต้ดิน
    ยิ่งเจริญ ยิ่งดุเดือด ด้วยเลือดอาบ
    ยิ่งฉลาด ยิ่งมีบาป กว่ายุคหิน
    สร้างปัญหา ยุ่งยาก มากระบิล
    โลกทั้งสิ้น สุมความบ้า ว่าความเจริญ ฯ
    โลกคือเครื่องลองและโรงละคร

    โลกนี้คือ เครื่องลอง ของมารร้าย
    ไว้สอบไล่ ว่าใคร ยังหลงใหล
    ว่าใครบ้า ใครเขลา เฝ้าจมใน
    หล่มโลกใหญ่ ติดตัง ทั้งชั่วดี!
    โลกนี้ ที่แท้คือ โรงละคร
    ไม่ต้องสอน แสดงถูก ทุกวิถี
    ออกโรงกัน จริงจัง ทั้งตาปี
    ตามท่วงที อวิชชา ลากพาไป!
    โลกเปรียบศาลาให้อาศัย

    โลกนี้เปรียบ ศาลา ให้อาศัย
    ประเดี๋ยวใจ ผ่อนพัก แล้วจักผัน
    ทางที่ดี เมื่อพราก ไปจากมัน
    ควรสร้างสรร ส่งเสริม เพิ่มคะแนน
    เมื่อเราได้ เกิดมา ในอาโลก
    ได้พ้นโศก พ้นภัย สบายแสน
    จึงควรสร้าง สิ่งชอบ ไว้ตอบแทน
    ให้เป็นแดน ดื่มสุข ขึ้นทุกกาล
    คุณความดี ของท่าน กาลก่อนก่อน
    ที่ท่านสอน ไว้ประจักษ์ เป็นหลักฐาน
    เราเกิดมา อาศัย ได้สำราญ
    ควรหรือผ่าน พ้นไป ไม่คำนึง ฯ
    โลกนี้พัฒนา

    โลกฮึดฮัด พัฒนา บูชาโป๊
    เพราะเผลอโง่ ทีละนิด คิดไม่เห็น
    ไม่มีใคร ตำหนิใคร เพราะใจเป็น
    ในเชิงเช่น เดียวกัน ไม่ทันรู้
    รัฐบาลไหน ในโลก สับโขกมัน
    ดูจะชอบ เหมือนกัน ทำไก๋อยู่
    พวกนักบวช แอบหา ภาพมาดู
    คุณครูรู้ พรางศิลปโป๊ โย้ได้ไกล
    ความก้าวหน้า ทางเนื้อหนัง อย่างนี้เอง
    ครั้นพัฒนา จบเพลง ไม่ไปไหน
    บูชาโป๊ ถึงทูนหัว มั่วกันไป
    โลกยุคใหม่ ต้องไม่โง่ หยุดโป๊ที ฯ
    ความรักของอวิชชา

    มีชายหนึ่ง ลิงหนึ่ง อยู่ด้วยกัน
    คนก็รัก ลิงนั้น เป็นหนักหนา
    ลิงก็รัก คนจัด เต็มอัตรา
    ทั้งสองรา รักกัน นั้นเกินดู
    มาวันหนึ่ง คนนั้น นอนหลับไป
    แมลงวัน มาไต่ ที่กกหู
    ลิงคิดว่า ไอ้นี่ยวน กวนเพื่อนกู
    จะต้องบู๊ ให้มันตาย อ้ายอัปรีย์
    ฉวยดุ้นไม้ มาเงื้อ ขึ้นสองมือ
    ฟาดลงไป เต็มตื้อ แมลงวันหนี
    ฝ่ายเพื่อนรัก ดิ้นชัก ไปหลายที
    ดูเถิดนี่ ความรัก ของอวิชชา ฯ
     
  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ใบไม้ในกำมือ เรียบเรียงจาก "พระอานนท์พุทธอนุชา"
    ของอ.วศิน อินทสระ

    เป็นหลักธรรมที่นำมาจากบาลีพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฏกผู้อ่านจะได้ทั้งความเพลิดเพลิน ในทั้งเนื้อหาสาระ และได้หลักธรรมที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ตรงประเด็นตลอดถึงสามารถเป็นคำตอบ ที่จะแก้ความสงสัยที่เป็นปัญหาตรงกับใจของคนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

    สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ ป่าไม้ประดู่ลาย เขตเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์ถือเอาใบประดู่ลาย แล้วทรงตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า ใบประดู่ลายในฝ่าพระหัตถ์กับที่อยู่บนต้น อย่างไหนมีมากกว่ากัน พระภิกษุทั้งหลายจึงกราบ ทูลว่า ใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นนั้นมีมากกว่า

    พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงหยั่งทราบด้วยพระปัญญาอันยิ่งนั้น มีมากกว่าธรรมที่พระองค์ทรงประกาศ เปรียบดังใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นนั้น มีมากกว่าในฝ่า พระหัตถ์ แล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ทรงแสดงธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ซึ่งเปรียบดังใบประดู่ลายบนต้นนั่นก็เพราะธรรมเหล่านั้น ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบ ระงับ ความรู้ยิ่ง การตรัสรู้ และพระนิพพาน


    ๑.ศีล สมาธิ ปัญญา

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐาน เป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพ และหาชีพมิได้ เป็นต้นว่า พฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขร และสัตว์จตุบททวิบาท นานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อม อยู่สบาย มีความปลอดโปร่ง เหมือนเรือนที่มีบุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นพื้นฐาน เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดด และฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวาย
    เมื่อลม แดด และฝน กล่าวคือ โลกธรรม แผดเผากระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยีและเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่าง ๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้นย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละออง คือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"
    "อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลส นานาชนิด ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตใจให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้ว ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ย่อมพบกับปีติปราโมทย์อันใหญ ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ เอิบอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่า บัดนี้ กิเลสานุสัยต่าง ๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่า บัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว"

    --------------


    ๒.มรรคอริยสัจ

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐสุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด

    มรรคมีองค์แปด นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปด นี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและ บ่วงแห่งมาร"

    --------------


    ๓.ความทุกข์และเหตุแห่งทุกข์

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยาก ดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่าง ๆ

    สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตน เป็นของตนที่ไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เพียงสักว่า ๆ ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่าง ๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอน อัตตานุทิฏฐิ คือ ความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบ ไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจหรือความโศก ความร่ำไรรำพันจนน้ำ ตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้าด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหา คือ ความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสาม คือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกว่า กามตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียก ภวตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เรียก วิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แล คือ สาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน

    ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่าง ๆ ดับตัณหา คลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่า นิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้"

    --------------

    ๔.ความสงบ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุข จากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นไว้เพื่อล่อให้ตัวเองวิ่งตาม แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จนลืมนึก ถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือ ดวงจิตที่ผ่องแผ้ว

    เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน
    เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา
    และเรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้
    เมื่อมีเกียรติมากขึ้น ภาระที่จะต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและ เหน็ดเหนื่อย พร้อม ๆ กันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คนในโลกส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความกลับกลอกและ หลอกลวง หาความจริงไม่ค่อยได้ แม้แต่ในการนับถือศาสนา ด้วยอาการดังกล่าวนี้ โลกจึงเป็นเสมือนระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื้อรังอยู่ตลอดเวลา ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบาย แต่สถานที่เหล่านั้น มักบรรจุเต็มไปด้วยคนซึ่งมีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบอยู่โคนไม้ได้อย่างไร”

    --------------


    ๕.ความสุขทางใจ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปกอดกองไฟ มีแต่ความเร่าร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจน ๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน

    นี่เป็นข้อยืนยันว่า ความสุขนั้น...อยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็รู้สึกมีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า แน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข สงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย”

    --------------


    ๖.ลาภและยศ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ หรือได้แล้วไม่เมา จึงมีเรื่องแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก

    ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรง และเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภ ความโกรธ และ ความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นมากขึ้น เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใด ความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น”

    --------------


    ๗.ทาส

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอน สับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาสของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไร จะคิดอะไร ก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชนิดหนึ่งที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้น เพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ

    ดู ๆ แล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมี เสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่นฝูงวิหคนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกัน แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือ เรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรตินั้น เป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ

    สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่ง คือ เรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว ปลดภาระไปได้อีกมาก แต่การกินอย่างนักพรต กับการกินอย่างผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะมีข้อแตกต่างกันอยู่ ผู้บริโภคกาม และยังหนาแน่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางโลกียวิสัย เมื่อกิน บางทีก็กินเพื่อยั่วยุกามให้กำเริบ จะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติ มิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิว ร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างมีเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไป...ลากมันไป อนิจจา!”

    --------------


    ๘.เครื่องจองจำ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดีย่อมก่อทุกข์ให้มากหลาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง”

    “ภิกษุทั้งหลาย! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือกเหล็กหรือโซ่ตรวนใด ๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ ผูกหย่อน ๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่นรส และโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจาก โลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่รัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีไม่ได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิด เวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อย ๆ กิเลสนั้นมีอำนาจควบคุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าในวัยใด และเพศใด”

    --------------


    ๙.อำนาจ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มนุษย์ผู้หลงใหลอยู่ในโลกียารมณ์ผู้เพลินอยู่ในความบันเทิงสุขอันสืบเนื่องมาจากความ มึนเมาในทรัพย์สมบัติชาติตระกูล ความหรูหราฟุ่มเฟือย ยศศักดิ์และเกียรติ อันจอมปลอม ในสังคม ที่อยู่อาศัยอันสวยงาม อาหารและเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ต้องใจ อำนาจและความทะนงตน ทั้งหมดนี้ทำให้บุคคลมีนัยน์ตาฝ้าฟาง มองไม่เห็นความงามแห่งพระสัทธรรม ความเมาในอำนาจเป็นแรงผลักดันที่มีพลังมากพอ ทำให้คนทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีอำนาจยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กันนั้นมันทำให้เขาลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่แยแสต่อเสียงเรียกร้องของศีลธรรม หรือ มโนธรรมใด ๆ มันค่อย ๆ ระบายจิตใจของเขาให้ดำมืดไปทีละน้อย ๆ จนเป็นสีหมึก ไม่อาจมองเห็นอะไร ๆ ได้อีกเลย หัวใจที่เร่าร้อนอยู่แล้วของเขา ถูกเร่งเร้าให้เร่าร้อนมากขึ้นด้วยความทะยานอยากอันไม่มีขอบเขต ไม่ทราบว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน
    วัตถุอันวิจิตรตระการตานั้นช่วยเป็นเชื้อให้ความทะยานอยากโหมแรง กลายเป็นว่ายิ่งมีมาก ยิ่งอยากใหญ่ แม้จะมีเสียงเตือน และเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาว่าศีลธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมและคุ้มครองโลก แต่บุคคลผู้รับรู้และพยายามประคับประคองศีลธรรมมีน้อยเกินไป สังคมมนุษย์จึงวุ่นวายและกรอบเกรียมกันจนน่าวิตก”

    --------------


    ๑๐.การเกิด

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับเลยย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อย ล้าแล้ว ย่อมรู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏฏ์ คือ การเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมยังยาวนานกว่านั้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สังสารวัฎฎ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิด ย่อมเกิดบ่อย ๆ”....

    การเกิดใด ๆ นั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมาน และความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับ แค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นจากดิน และนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียนแล้วจะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วยตราบที่เขายังไม่สลัดความพอใจใน สังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”

    --------------


    ๑๑.กองเพลิง

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรากยังมั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกแน่ ๆ

    ภิกษุทั้งหลาย! น้ำตาของสัตว์ที่ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถมในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏ์ สงสารนี้ มีจำนวนมากเหลือคณาสุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีเล่า ถ้านำมากองรวมกันไม่ให้กระจัดกระจายคงจะสูง เท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลย แม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์ เหยียบย่ำลงบนกองกระดูก นอนอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ไม่ว่าภพไหน ๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิง คือ ทุกข์เหมือนเต่าอันเขาโยนลงไปแล้วในกองไฟ ใหญ่ฉะนั้น”

    --------------


    ๑๒.ทางสายกลาง

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทางสองสาย คือ กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ในกามสุขสายหนึ่งและอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่า สายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินตามทางสายกลาง คือ เดินตามอริยมรรคมีองค์แปด คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำ สมาธิชอบ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อริยมรรค ประกอบด้วย องค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลที่เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุข สงบ เย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไป สู่อมตะ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ถ้าภิกษุหรือใคร ๆ ก็ตามพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจาก พระอรหันต์”

    --------------


    ๑๓.กิเลส

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุก ๆ คน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกายและทางใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยลูกศรซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้น แต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใคร เป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยไม้อะไรแล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก

    ภิกษุทั้งหลาย! บุรุษผู้นั้นจะต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาก็คือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยาและรักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งเหมือนบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีรษะ ควรรีบดับเสียโดยพลัน ไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศีรษะตน ทั้ง ๆ ที่ไฟลุกไหม้อยู่”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่วสัตว์ทั้งหลายยังวิ่ง อยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน
    อุปมาเหมือนบุรุษสตรี ผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่ง และต่างคนต่างถือดุ้นไฟใหญ่อันไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่า ร้อน ร้อน

    ภิกษุทั้งหลาย! ครานั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุก ๆ คนทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมด้วยร้อง ตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง

    ภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือ กิเลสทั้งมวลอันเป็นสิ่งเผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย”

    “อารมณ์อันวิจิตร สิ่งสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้นเพราะการดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียได้แล้ว สิ่งที่วิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อ ๆ ทำพิษอะไรมิได้อีกต่อไป”

    --------------


    ๑๔.กามคุณ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อายตนะภายในหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอก หก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใด ๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี
    ภิกษุทั้งหลาย! เราไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใด ๆ ที่จะสามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งบุรุษ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวง ดอกไม้แห่งมาร และทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย

    ภิกษุทั้งหลาย! เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม! เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอย! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”

    --------------


    ๑๕.ผู้ชนะตนนั้นหาได้ยาก

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาจึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรนให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น

    ภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาจึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณให้ละบ่วงมารเสีย”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่ดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏ เหมือนช้างตกมัน
    ”ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือ จิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้น คือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่า เป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”

    --------------


    ๑๖.ความอดทน

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม คือ นินทาและสรรเสริญนั้น เป็น จิตใจที่ประเสริฐยิ่ง
    ภิกษุทั้งหลาย! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใดฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าสินธพ พญาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด
    ผู้มีความอดทน มีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย! เมตตากรุณาเป็นพระอันประเสริฐในตัวมนุษย์

    --------------


    ๑๗.กรรมที่ควรเว้น

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้านหนึ่ง พระราชาทรงประกอบกรณียกิจโดยไม่ได้พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อนหนึ่ง บรรพชิตไม่สำรวมหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแม้มักโกรธหนึ่ง สี่จำพวกนี้ไม่ดีเลย

    ภิกษุทั้งหลาย! กรรมอันใดที่ทำไปแล้วต้องเดือดร้อนใจภายหลัง ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาเสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคต กล่าวว่า กรรมนั้นไม่ดี ควรเว้นเสีย”

    --------------


    ๑๘.ชีวิต

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่หน้าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสนและจบลงด้วยเรื่องเศร้า
    อนึ่ง ชีวิตนี้เริ่มต้น และจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่น เป็นสัญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้น ทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่า เขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพราก จากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่ง และเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”

    --------------


    ๑๙.ความรัก ความหวัง

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรน ไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดถือไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่น ซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง และแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น”

    --------------


    ๒๐.หลักที่แน่นอนของชีวิต

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือน ทารกน้อย ผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใส อยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น ควรละเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใดก็ต้องไม่ทิ้งธรรม
    มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้วก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ”

    --------------


    ๒๑.เสียสละ

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยากที่ใคร ๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือ ไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย

    เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดความจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือ ไม่ทราบว่าจะหาในจำนวนบุคคลเท่าไรจึงพบได้หนึ่งคน”

    --------------


    ๒๒.ที่พึ่ง

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้ และที่อยู่อาศัย อื่น ๆ ทั้งหมดนี้ บุคคลนำไปไม่ได้ ต้องทอดทิ้งไว้ทั้งหมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา หรือ ด้วยใจ นั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว

    เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรมอันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

    --------------


    ๒๓.การให้ทาน

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อไฟไหม้บ้าน ภาชนะ เครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็จะถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเอง ฉันใด คนในโลกนี้ถูกไฟ คือ ความแก่ ความตายไหม้อยู่ ก็ฉันนั้น คนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการให้ทาน
    ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออกดีแล้ว มีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ หาเป็น เช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อความตาย มาถึงเข้า บุคคลย่อมต้องละทรัพย์สมบัติ และแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เมื่อได้ให้ได้บริโภคตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียนย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ”

    --------------


    ๒๔.ความตระหนี่

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาผู้ไม่ฉลาดไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา เขาเก็บพันธุ์ข้าวเปลือกไว้จนเน่าและเสียไม่สามารถจะปลูกได้อีก
    ข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ด ย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้น ย่อมมีผลมากผลไพศาล การรวบรวมทรัพย์ไว้โดยมิได้ใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ทรัพย์นั้นจะมีคุณแก่ตนได้อย่างไร เหมือนผู้มีเครื่องประดับอันวิจิตรตระการตา แต่หาได้ ประดับไม่ เครื่องประดับนั้นจะมีประโยชน์อะไร รังแต่จะก่อความหนักใจในการเก็บรักษา”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! นกชื่อ “มัยหกะ” ชอบเที่ยวไปตามซอกเขาและที่ต่าง ๆ มาจับต้นเลียบที่มีผลสุก แล้วร้องว่า ของกู ของกู ในขณะที่มันร้องอยู่นั่นเอง หมู่นกเหล่าอื่นที่บินมากินผลเลียบตามต้องการแล้วจากไป นกมัยหกะก็ยังคงร้องว่า ของกู ของกู อยู่นั่นเอง ข้อนี้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น รวบรวมสะสมทรัพย์ไว้มากมาย แต่ไม่สงเคราะห์ญาติตามที่ควร ทั้งมิได้ใช้สอยเองให้ผาสุก มัวเฝ้ารักษาและภูมิใจว่าของ เรามี ของเรามี ดังนี้ เมื่อเขาประพฤติอยู่เช่นนี้ ทรัพย์สมบัติย่อมเสียหายไป ทรุดโทรมไปด้วยเหตุต่าง ๆ มากหลาย เขาก็ยังคงคร่ำครวญอยู่อย่างเดิมนั่นเอง และต้องเสียใจในของที่เสียไปแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดหาทรัพย์ได้แล้ว พึงสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์ มีญาติ เป็นต้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! นักกายกรรมผู้มีกำลังมาก หรือนักมวยปล้ำผู้มีกำลังมหาศาลนั้น ก่อนที่จะได้กำลังมาเขาก็ต้องออกกำลังกายไปก่อน การเสียสละนั้น คือ การได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไร ย่อมไม่ได้อะไร
    จงดูเถิด! มนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคน แต่ต้นไม้ย่อมให้ผลที่ปลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูความจริงตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งเถิด คือ แม่น้ำสายใดเป็น แม่น้ำตาย ไม่ไหล ไม่ถ่ายเทไปสู่ที่อื่น หยุดนิ่งขังอยู่ที่เดียว แม่น้ำสายนั้นย่อมพลันตื้นเขินและสกปรกเน่าเหม็น เพราะสิ่งสกปรกลงมามิได้ถ่ายเท นอกจากนี้บริเวณที่ใกล้แม่น้ำสายนั้น จะหาพืชพันธุ์ธัญญาหารที่สวยสดก็หายาก แต่แม่น้ำสายใดไหลเอื่อยลงสู่ทะเล หรือแตกสาขาไหลออกเรื่อย ๆ ไม่รู้จักหมดสิ้น คนทั้งหลายได้อาศัยอาบดื่ม และใช้สอยตามปรารถนา มันจะใสสะอาดอยู่เสมอ ไม่มีวัน เหม็นเน่า หรือสกปรกได้เลย พืชพันธุ์ธัญญาหาร ณ บริเวณใกล้เคียงก็เขียวสดสวยงาม”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็ เก็บ ตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร ส่วนผู้ไม่ตระหนี่เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาดไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย”

    --------------


    ๒๕.ทานที่มีอานิสงส์ไพศาล

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทานจะมีผลมากอานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์หก กล่าวคือ

    -ก่อนให้ ผู้ให้ก็มีใจผ่องใส ชื่นบาน
    -เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใส
    -เมื่อให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่เสียดาย
    -ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ
    -ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโทสะ
    -ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ

    ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์หกนี้แลเป็นการยากที่จะกำหนดผลแห่งบุญว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ อันที่จริงเป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ไม่มีประมาณ เหลือที่จะกำหนด เหมือนน้ำในมหาสมุทรย่อมกำหนดได้โดยยาก ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! คราวหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นนี้ เข้าไปหาตถาคตและถามว่าบุคคลควรจะให้ทานในที่ใด เราตอบว่า ควรให้ในที่ที่เลื่อมใส คือ เลื่อมใสบุคคลใด คณะใด ก็ควรให้แก่บุคคลนั้น คณะนั้น พระองค์ถามต่อไปว่า ให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เราตถาคตตอบว่า ถ้าต้องการผลมากแล้วละก็ ควรจะให้ทานในท่านผู้มีศีล การให้บุคคลผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่

    สถานที่ทำบุญเปรียบเหมือนเนื้อนา เจตนาและไทยทานของทายกเปรียบเหมือนเมล็ดพืช ถ้าเนื้อนาบุญ คือบุคคลผู้รับ เป็นคนดีมีศีลธรรม และประกอบด้วยเมล็ดพืช คือ เจตนาและไทยทานของทายกบริสุทธิ์ ทานนั้นย่อมมีผลมาก การหว่านข้าวลงในนาที่เต็มไปด้วยหญ้าแฝกและหญ้าคา ต้นข้าวย่อมขึ้นได้โดยยากฉันใด การทำบุญในคณะบุคคลผู้มีศีลน้อยมีธรรมน้อยก็ฉันนั้น คือ ย่อมได้รับผลบุญน้อย ส่วนการทำบุญในคณะบุคคล ซึ่งมีศีลดีมีธรรมงามย่อมจะมีผลมาก เป็นภาวะอันตรงกัน ข้ามอยู่ ดังนี้

    เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยด ยังทำให้หม้อน้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปแม้ทีละ น้อยก็ฉันนั้น ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปร้ไปด้วยบาป”

    --------------


    ๒๖.พระธรรมวินัย

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรย่อมลึกลงตามลำดับ ลาดลงตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนภูเขาขาดฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีการศึกษาตามลำดับ การปฏิบัติ ตามลำดับ การบรรลุตามลำดับ ลุ่มลึกลงตามลำดับ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรแม้จะมีน้ำมาก อย่างไรก็ไม่ล้นฝั่งคงรักษาระดับไว้ได้ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น ภิกษุสาวกของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้จะต้องลำบากถึงเสียชีวิตก็ตาม”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรย่อมซัดสาดซากศพที่ตกลงไปให้ขึ้นฝั่งเสีย ไม่ยอมให้ลอยอยู่นานฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมด้วยภิกษุผู้ทุศีล มีใจบาป มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการกระทำที่ต้องปกปิด ไม่ใช่สมณะปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี เป็นคนเน่าใน รุงรังสางได้ยากเหมือนกองหยากเยื่อ
    สงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมขับภิกษุนั้นออกเสียจากหมู่ภิกษุเช่นนั้น แม้จะนั่งอยู่ท่าม กลางสงฆ์ ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากภิกษุเช่นกัน”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! แม่น้ำสายต่าง ๆ ย่อมหลั่งไหลลงสู่มหาสมุทร และเมื่อไปรวมกับน้ำในมหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิมของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่ามหาสมุทรเหมือนกันหมดฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะบวชออกจากตระกูลต่าง ๆ วรรณะต่าง ๆ เช่น วรรณะ พราหมณ์บ้าง กษัตริย์บ้าง วัยยะบ้าง สูทรบ้าง คนเทหยากเยื่อบ้าง จัณฑาลบ้าง แต่เมื่อมาบวชในธรรมวินัยนี้แล้วละวรรณะตระกูล และโคตรของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่าสมณะศากยะบุตรเหมือนกันหมด”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ความพร่องหรือความเต็มเอ่อ ย่อมไม่ปรากฏแก่มหาสมุทร แม้พระอาทิตย์จะแผดเผาสักเท่าใด น้ำในมหาสมุทรก็หาเหือดแห้งไปไม่ แม้แม่น้ำสายต่าง ๆ และฝนจะหลั่งลงมหาสมุทรสักเท่าใด มหาสมุทรก็ไม่เต็มฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น แม้จะมีภิกษุเป็นอันมาก นิพพานไปด้วยอนุปาทิเสสะนิพพานชาติ แต่นิพพานธาตุก็คงอยู่ อย่างนั้น ไม่พร่องไม่เต็มเลย แม้จะมีผู้เข้าถึงนิพพานอีกสักเท่าใด นิพพานก็คงมีให้ผู้นั้น อยู่เสมอ ไม่ขาดแคลนหรือคับแคบ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรมีภูติคือ สัตว์น้ำเป็นอันมาก มีอวัยวะใหญ่ และยาว เช่นปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาวาฬ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีภูติคือ พระอริยะบุคคลเป็นจำนวนมาก มีพระโสดาบันบ้าง พระสกิทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง จำนวนมากหลายเหลือนับ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มหาสมุทรมีนานารัตนะ เช่น มุกดา มณี ไพฑูรย์ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีนานาธรรมรัตนะ เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปทาน ๔ อิทธิบาท ๔ โภชฌงค์ ๗ มรรค์มีองค์ ๘ เป็นต้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! น้ำในมหาสมุทรย่อมมีรสเดียว คือ รสเค็มฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็มีฉันนั้น มีรสเดียว คือ วิมุติรส หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลส เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญแห่งพรหมจรรย์ที่เราประกาศแล้ว”

    --------------


    ๒๗.อะไรหนอ เป็นรสอร่อยในโลก?

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้นั่นเทียว ได้เกิดความปริวิตกขึ้นว่า อะไรหนอเป็นรสอร่อยในโลก อะไรเป็นโทษในโลก อะไรเป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลก

    ภิกษุทั้งหลายความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสที่ปรารภโลกเกิดขึ้นนี้เองเป็นรส อร่อยในโลก โลกไม่เที่ยงทรมานมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา นี่เองเป็นโทษในโลก การนำออกเสียสิ้นเชิง ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินในโลกนี่เอง เป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลกได้

    ภิกษุทั้งหลาย ตลอดเวลาเพียงไรที่เรายังไม่รู้จักว่ารสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย ยังไม่รู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ ยังไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นเครื่องออกตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เราได้รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษของโลกว่า เป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นเครื่องออกตามที่เป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์ ก็แหละญาณทรรศนะ เครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกดังนี้”

    --------------


    ๒๘.พรหมจรรย์

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระ คือ ความสำรวม เพื่อปหานะ คือ ความละ เพื่อวิราคะ คือ คลายความกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ คือ ความดับทุกข์”

    --------------


    ๒๙.จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีตมิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือ คิดเอาไม่ได้หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังหดเหี่ยว หย่อนยาน มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัดเหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีกได้อาศัยแต่ไม้ ไผ่มาซ่อมไว้ ผูก กระหนาบคาบค้ำไว้จะยืนนานไปได้สักเท่าใด การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะ ที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้เราตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”

    --------------


    ๓๐.ถุงหนัง..ป่าช้าแห่งซากสัตว์

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่าอันเขาทิ้งเสีย แล้วโดยไม่ไยดี”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็ก สัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและกรีษ อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอ ๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างแม้เพียงวันเดียว หรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจเป็นของน่าขยะแขยง”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น เป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ”
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
     
  14. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ

    ไอน์สไตน์เชื่อมั่นเหลือเกินว่าความเถรตรงของคณิตศาสตร์เท่านั้นที่สามารถอธิบายและให้คำตอบแก่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลได้ จะสามารถรวมความรู้ทั้งหมดของจักรวาลเข้าเป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึงการอธิบายว่าพระเจ้าสร้างจักรวาลนี้ได้อย่างไร ดังที่ไอน์สไตน์พูดว่า“ข้าพเจ้าต้องการรู้ว่าพระเจ้าสร้างโลกนี้อย่างไร ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจปรากฏการณ์นั้นนี้ว่ามันเป็นของธาตุนั้นหรือธาตุนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ข้าพเจ้าต้องการรู้ความคิดของพระเจ้าต่างหาก”




    ทฤษฎีเอกภาพนี้จึงเปรียบเหมือนการหาสมการทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอ่านจิตใจของพระเจ้าและงานศิลปะการสร้างโลกและมนุษย์ของพระเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นความคิดที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานมาก ในเดือนเมษายน 1955 ไอน์สไตน์ล้มป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปรินซ์ตันรัฐนิวเจอซี่ อันเป็นเมืองที่เขาอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ไอน์สไตน์ก็ยังไม่ลดละที่จะคิดค้นสูตรทางคณิตศาสตร์ที่เขาหาอยู่ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา



    เขามักมีกระดาษ ดินสอ อยู่กับตัวและขีดเขียนตัวเลข เครื่องหมาย และสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆอยู่เสมอ ซึ่งพยาบาลคนหนึ่งที่ดูแลเขาอยู่ได้หามาให้ จึงมีโอกาสได้เห็นพูดคุยสนทนากับไอน์สไตน์ จึงรู้ว่าไอน์สไตน์ยังคงพยายามอ่านหัวสมองของพระเจ้าอยู่ พยาบาลรู้สึกเห็นใจ อยากให้ไอน์สไตน์พักผ่อนอย่างเต็มที่ วันหนึ่งพยาบาลจึงพูดกับไอน์สไตน์อย่างอ่อนโยนและเป็นห่วงเป็นใยว่า

    บางที พระเจ้าท่านอาจจะไม่อยากให้เราอ่านจิตใจของท่านก็ได้นะ
    Maybe God doesn’t want us to know his mind.

    ทั้ง ๆ ที่ยังเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ ไอน์สไตน์พูดสวนกลับทันทีอย่างดื้อรั้นพร้อมกับสั่นศรีษะไปมาว่า พระเจ้าไม่เล่นลูกเต๋าหรอก คุณพยาบาล!
    God doesn’t play dice, nurse!

    ซึ่งเป็นการพูดพาดพิงอย่างดูหมิ่นถึงเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมที่มีผล “อาจจะเป็นไปได้” หรือ อนิจจังนั่นเอง ประวัติศาสตร์จึงได้จารึกเหตุการณ์ในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของไอน์สไตน์ในฐานะบุคคลที่ล้มเหลว จมปรักอยู่ในโลกของวิทยาศาสตร์ที่ล้าหลัง โดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะภายในแวดวงนักวิทยาศาสตร์ชาวฟิสิกส์ด้วยกันแล้ว ต่างรู้ว่าทฤษฎีเอกภาพนี้เป็นเรื่องเพ้อฝันของไอน์สไตน์เท่านั้นเอง ไม่มีทางจะเป็นความจริงได้เลย การแสวงหาของไอน์สไตน์ไร้ผลอย่างสิ้นเชิง



    อัจฉริยะบุคคลผู้นี้จึงได้จากโลกนี้ไปในวันที่ ๑๘เมษายน ๑๙๕๕ ในขณะที่ในมือยังกำแผ่นกระดาษที่ขีดเขียนสมการทางคณิตศาสตร์อยู่ โดยที่ยังไม่ได้พบคำตอบที่เขาต้องการหาแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก หากไอน์สไตน์สามารถอ่านความคิดของพระเจ้าได้แล้ว เขาอาจจะสามารถตอบคำถามมากมายที่ยาวเป็นหางว่าวที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ทำไม” เช่น ทำไมพระเจ้าจึงปล่อยให้ฮิตเลอร์และทหารนาซีฆ่าชาวยิวอย่างล้างเผ่าพันธุ์เช่นนั้น ทำไมพระเจ้าจึงไม่ยุติสงครามที่สร้างความทุกข์อย่างมหันต์ให้กับมนุษย์ี่ที่พระเจ้าสร้างและรักมากดังคำโฆษณา ทำไมพระเจ้าจึงไม่ช่วยผู้กรีดร้องขอความช่วยเหลือจากท่านเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตเช่น เด็กหญิงที่กำลังถูกข่มขืน ถูกฆ่า หรือ กำลังหนีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม และทำไมพระเจ้าจึงสร้างโลกและสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำต่ำสูงและอยุติธรรมเช่นนี้ ฯลฯ



    ไอน์สไตน์ยอมรับพระพุทธศาสนา

    ถึงแม้ไอน์สไตน์ได้จากโลกนี้ไปโดยไม่พบคำตอบที่เขาต้องการก็ตาม เขาได้ทิ้งคำพูดที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติซึ่งดิฉันรู้สึกซาบซึ้งมาก ในบั้นปลายชีวิตของเขา ไอน์สไตน์เริ่มสงสัยแล้วว่า ศาสนาพุทธอาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขาอยากค้นพบก็เป็นได้ ในปี ๑๙๕๔ หนึ่งปีก่อนเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของไอน์สไตน์ชื่อเรื่องว่า “The Human Side” ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ได้พูดทิ้งไว้นิดหน่อยว่า ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาที่เนื่องกับจักรวาล ควรอยู่เหนือพระเจ้าส่วนตัว หลีกเลี่ยงลัทธิกฏเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์ ควรครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ ควรตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาที่เกิดจากประสบการณ์ของทุกสิ่งที่สร้างเอกภาพอันมีความหมาย ซึ่งพระพุทธศาสนาดูเหมือนจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ศาสนาพุทธน่าจะเป็นศาสนาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของยุคสมัยได้ไอน์สไตน์พูดถูกเผ๋งทีเดียว ทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่เขาต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จแล้วก่อนหน้านั้นถึง ๒๕๐๐ ปีเศษ



    ป.ล. อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ครับ



    Download >> http://sv3.gushare.com/file.php?file=c6d920af914f02fe4e6ecdc84708a759
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    นิพพาน

    เมื่อกล่าวถึง "นิพพาน" ไม่ใคร่มีใครจะอยากตอบ อยากอธิบาย มากนัก เพราะจะรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่สูงส่ง สุดเอื้อม ไกลตัวเหลือเกิน ประกอบกับ ล้วนเป็น ภาวะ หรือ สถานที่ ที่ปัจจุบัน หาคนที่เคยไป เคยเห็น เคยสำผัส ได้น้อยเต็มที ท่านที่บอกว่า ได้สำเร็จ มรรคผลนิพพาน ถึง ขั้นโน้นขั้นนี้ ก็น่าคลางแคลงใจ ว่า สำเร็จจริงหรือเปล่า เพราะท่านที่บอกว่าสำเร็จสมมุติมี 3 ท่าน ก็อธิบายนิพพาน ไปคนละทิศคนละทาง ชนิดที่ไม่อาจจะเป็น "นิพพาน" เดียวกันได้เลย



    ในแนวทางการปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกาย เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมกาย และฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้ว ก็สามารถไปดู ไปสำผัส ไปเยี่ยมเยียน นิพพาน ได้เช่นกัน ซึ่งการจะเห็น นิพพาน ได้นั้น ต้องเห็นด้วย ญาณของธรรมกายหรือตาของธรรมกาย ซึ่งเป็น "ธรรมจักษุ" หรือ "พุทธจักษุ" ซึ่งเป็น ตาที่อยู่เหนือภพ 3 (โลกุตระ) จึงจะเห็น นิพพาน ซึ่งเป็น สิ่งที่อยู่เหนือภพ 3 เช่นกันได้



    ผู้ที่เข้าถึง ธรรมกาย จะเห็นนิพพานตรงกันเป็นอย่างเดียวว่า ในนิพพานนั้น มีแต่ธรรมกายอยู่มากมายเต็มไปหมด จนไม่สามารถคำนวณจำนวนได้ เฉพาะในนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ซึ่งปรินิพพาน ทิ้งซากศพ(กายมนุษย์)ไว้ในโลกนี้ มีแต่ธรรมกายไปปรากฏอยู่ในอายตนนิพพานนั้น ธรรมกายมีลักษณะคล้ายพระปฏิมากร มีเกศเป็นรูปคล้ายดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 20 วา ใสสว่างสวยงามไม่มีที่ติ มีพระอริยบถอยู่ในท่าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ส่วนพระขีณาสวเจ้าอีกประเภทหนึ่งที่ปรินิพพานโดยไม่ทิ้งกายมนุษย์ไว้ ก็จะมีธรรมกายอีกลักษณะหนึ่ง อยู่ในนิพพานต่างหากอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้มีญาณแก่กล้าก็จะสามารถพบเห็นได้



    ในนิพพาน เป็นที่ว่างๆโล่ง ไม่มีสิ่งใดกำบัง ไม่มีโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ไม่มีการไปการมา ไม่มีการเคลื่อนไหว เพราะพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านหมดกิจที่จะทำอย่างอื่นแล้ว นอกจากเสวยสุขเข้านิโรธอย่างเดียว ดังบาลีว่า "นิพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานสุขอย่างยิ่ง"
    ในนิพพานจึงมีแต่ พระธรรมกาย ปรากฏอยู่นับไม่ถ้วน (ผู้มีญานขนาดใหนก็นับไม่ถ้วน) มีรัศมีและความงดงามแตกต่างกันไปตามแต่บารมีของแต่ละองค์ที่ได้สั่งสมมา หากเป็นธรรมกายพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็จะมีพระธรรมกายพระอรหันตสาวกนั่งล้อมรอบ หากเป็นธรรมกายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็จะนั่งองค์เดียวโดดๆ ส่วนลักษณะของธรรมกายจะมีลักษณะเหมือนกันทั้งหมดไม่มีแตกต่างกันเลยดังที่ได้ กล่าวแล้ว



    นิพพานที่กล่าวมานี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่มีขันธ์ 5 เหลือแล้ว อาจเรียกว่า "นิพพานตาย" ก็ได้ ส่วนนิพพาน อีกประเภทหนึ่งคือ นิพพานในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน อาจเรียกว่า "นิพพานเป็น" ก็ได้ นิพพานนี้คือ นิพพานที่พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ เข้าถึงในขณะที่ยังมีชีวิตหรือขันธ์ 5 อยู่ และได้สำเร็จอรหัตตผลแล้ว



    สอุปาทิเสสนิพพาน ที่จริงก็คือ นิพพานส่วนตัว ที่อยู่ในศูนย์กลางกาย ของทุกๆคนนั่นเอง เมื่อดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว จึงถอดกายทิ้งซากมนุษย์ไว้ในโลก และถอดกายเป็นชั้นๆ ไปทั้ง 17 กาย (กายมนุษย์ ถึงกายธรรมอนาคามี) จนเหลือแต่ธรรมกายอรหัตต์ เมื่อธรรมกายอรหัตต์ ซึ่งมีอายตนะตรงกันกับอายตนนิพพาน อายตนนิพพานก็จะดึงดูด ธรรมกายนั้น ไปปรากฏอยู่ในอายตนนิพพาน รวมกับธรรมกายพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ที่เข้านิพพานล่วงหน้าไปก่อนแล้ว



    แล้วนิพพาน ตั้งอยู่ที่ไหน บางท่านบอกว่า นิพพาน "สูญ" ไปบ้าง เป็นสภาวะอารมณ์ หนึ่งบ้าง แต่ไม่มีใครบอกได้เลยว่านิพพานอยู่ที่ไหน รู้ก็รู้จากการตีความตามตำรา แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้บอกเอาไว้ดังนี้



    "นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพ 3 เท่าภพ 3 โตเท่าภพ 3 นี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงามมาก โตเท่าภพ 3 นี่" จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "โอวาทปาฏิโมกข์" 20 ตุลาคม 2497



    นอกจากนี้ท่านยังได้วัดระยะห่างระหว่างภพ 3 กับนิพพานให้ทราบอีกด้วยว่า ห่างกันกี่โยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องแสดงความอัศจรรย์ของวิชชาธรรมกายอย่างมาก ที่สามารถรู้เห็นได้ลึกซึ้งและชัดเจนขนาดนั้น ทั้งๆที่ผู้ปฏิบัติวิชชาธรรมกาย ไม่มีผู้ใดสำเร็จแม้ พระโสดาบันเลย ล้วนเป็น "ธรรมกายโคตรภู" ทั้งสิ้น



    สำหรับ นิพพานที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์หรือตำราต่างๆ มีดังนี้



    ๐ นิพพานคือสิ่งที่มีลักษณะ 5 อย่างคือ ปทํ อจฺจุตํ อจฺจนฺตํ อสงฺขตํ และ อนุตฺตรํ



    ปทํ แปลว่า ส่วนหนึ่ง หมายความว่า เป็นสภาวะธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้
    อจฺจุตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ตาย หมายความว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย
    อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่ก้าวล่วงขันธ์ 5 เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง 3 (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)
    อสงฺขตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย
    อนุตฺตรํ แปลว่า เป็นธรรมที่ประเสริฐ



    ๐ นิพพานัง ปรมัง สุญญัง



    นิพพานสูญอย่างยิ่ง ซึ่ง "สูญ" ในความหมายนี้ไม่ได้หมายความว่า สูญหายไปหมดเหล่าแต่ความว่างเปล่า อย่างที่หลายๆ ท่านเข้าใจกัน แต่หมายถึงว่า สูญจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ขันธ์ 5 นั่นเอง



    ๐ นิพพานัง ปรมัง สุขัง



    นิพพานสุขอย่างยิ่ง เพราะธรรมกายอรหัตต์ ที่เข้าถึงนิพพาน เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา เข้านิโรจสมาบัติ เสวยวิมุติสุข อย่างเดียวนั่นเอง



    ๐ เรียกนิพพานว่าเป็น อายตนะ



    "ดูกร ภิษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปปัตติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"



    ๐ นิพพานคือ อสังขตธรรม



    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ ของอสังขตธรรม 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน คือ
    ๑ ไม่ปรากฎความเกิด
    ๒ ไม่ปรากฎความเสื่อม
    ๓ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม 3 ประการ นี้แลฯ"
    ความนี้สนับสนุน ความเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา ของ ธรรมกาย และ นิพพาน นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤศจิกายน 2012
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ภาพถ่ายวันงานค่ะพี่ต้อย...

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 21.jpg
      21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9 KB
      เปิดดู:
      75
    • 20.jpg
      20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.4 KB
      เปิดดู:
      74
    • 23.jpg
      23.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.6 KB
      เปิดดู:
      74
    • 24.jpg
      24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.8 KB
      เปิดดู:
      35
    • 25.jpg
      25.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.6 KB
      เปิดดู:
      34
    • 26.jpg
      26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.9 KB
      เปิดดู:
      37
    • 27.jpg
      27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.1 KB
      เปิดดู:
      33
    • 28.jpg
      28.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.5 KB
      เปิดดู:
      33
    • 29.jpg
      29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.8 KB
      เปิดดู:
      32
    • 31.jpg
      31.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.6 KB
      เปิดดู:
      69
    • 0.jpg
      0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      33
    • 32.jpg
      32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.8 KB
      เปิดดู:
      37
    • 33.jpg
      33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.5 KB
      เปิดดู:
      34
    • 34.jpg
      34.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.8 KB
      เปิดดู:
      28
    • 35.jpg
      35.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.3 KB
      เปิดดู:
      32
    • 36.jpg
      36.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.5 KB
      เปิดดู:
      27
    • 37.jpg
      37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.4 KB
      เปิดดู:
      30
    • 38.jpg
      38.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.1 KB
      เปิดดู:
      36
    • 39.jpg
      39.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.1 KB
      เปิดดู:
      38
    • 40.jpg
      40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.5 KB
      เปิดดู:
      34
    • 41.jpg
      41.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.6 KB
      เปิดดู:
      34
    • 42.jpg
      42.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.1 KB
      เปิดดู:
      36
    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      39
    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.4 KB
      เปิดดู:
      36
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.2 KB
      เปิดดู:
      30
    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.2 KB
      เปิดดู:
      27
    • 15.jpg
      15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.6 KB
      เปิดดู:
      27
    • 16.jpg
      16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9 KB
      เปิดดู:
      30
    • 18.jpg
      18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.9 KB
      เปิดดู:
      34
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.2 KB
      เปิดดู:
      33
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2012
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,411
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    สาธุ ใครเป็นใครคะ จําได้แต่Wonder woman น่ะ อีกคนท่านครูลูกพลังใช่ไหม เดี๋ยวจะมาขยายดูอีกค่ะ ขอบพระคุณค่ะ;41
     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    :cool:เป็นกล้องถ่ายของน้องแตนค่ะพี่ต้อย ย่อภาพเลยเล็กหน่อยนะคะ แต่ก็ชัดอยู่นะคะ ดูออกว่าครายเป็นครายอยู่ค่ะ
     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    เขาพูดว่าเราดี เราก็ไม่ดีเหมือนคำเขาพูด
    เขาพูดว่าเราชั่ว เราก็ไม่ชั่วเหมือนคำเขาพูด


    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ... ในอนัตลักขณสูตร กล่าวถึง สิ่งใดแปรปรวน สื่งใดไม่คงสภาพ สิ่งนั้นทนอยู่ได้ยาก เอามายึดถือไม่ได้
    เป็นธรรมที่สอนปถุชน เพื่อให้ดวงตามองเห็นธรรม เข้าสู่ประตูแห่งโสดาบุคคล...

    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    ... เคยเห็นแว๊บๆ ในตอนที่ พระพุทธเจ้าไปโปรดพุทธบิดาที่กำลังป่วยหนัก
    สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เป็นธรรมดา และดับไปเป็นธรรมดา นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ... ไม่มีสตรี ไม่มีบุรุษ ไม่มีตัวตน เราเขา

    เป็นธรรมที่สอนอริยะบุคคล เพื่อสลัดทิ้ง ความยึดถือทั้งหมดเพื่อความหลุดพ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...