เบาะแส ที่อาจนำไปสู่ข้อพิสูจน์ว่าชมพูทวีปคือ "แผ่นดินพม่าและไทย"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 16 ธันวาคม 2012.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พระเจดีย์ที่สร้างสมัยพุทธกาลและพระเจ้าอโศก ที่คนไทยอาจไม่รู้จัก


    Shwe Saryan Pagoda was built by King Thuriya Sanda. and believed to have enshrined eight hair relics of Kakusana Buddha. the staff of Gonaguna Buddha. the emerald alms bowl of Kassapa Buddha and four tooth relics of Gautama Buddha. in addition to gold images. It was built on Thuna Pranta Hill. Gautama Buddha arrived in Thaton on the first waning moon day of Thadingyut of 105 Maha Sakarit. He was taking leave of Weluwun Monastery donated by the king after four months when the king implored Him and He gave the four tooth relics. They were enshrined in gold. silver and ruby caskets.

    Then Buddha was implored to give a name to the pagoda whereupon Buddha was said. to name it Shwe Saryan for its longevity. It is 251 feet night. with Mya Thein Tan Pagoda or Thagya Pagoda in the east. with Shwe Chegan Pagoda on its platform. and Pitakataik Pagoda in the north.

    ใครมีประวัติพระเจดีย์แบบเต็มๆ ถอดตำนานมอญได้เลยยิ่งดีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2012
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    นี่อีกองค์หนึ่ง มีใครรู้จักประวัติโดยละเอียดหรือเปล่าครับ

    The Legend of Twante

    Shwe Sandaw Pagoda also claims that the Pagoda was built during the lifetime of the Lord Buddha. Venerable monk Leidi U Pannavamsa Maha Thera compiled a chronicle of Twante Shwe Sandaw Pagoda, based upon old Myanmar manuscripts such as palm leaves, parabeiks ( folding papers) stone and bell inscriptions. U Lu Pe Win, director of the Archaeology Department and U Pan Maung of Thudhammawaddy Press edited and published it. In it is the legend which runs as follows:
    In the year 118 of Maha Sakarit, in the 8 th year of his Buddhahood, Gotama Buddha made a journey to Martaban Zingyaik Hill range in the kingdom of Thudhamma-pura. He made a stop on that hill range and facing west gave a smile. When his cousin disciple Maha Thera Ananda who was with Lord Buddha asked Lord Buddha why he smiled, Lord Buddha explained that in two of his previous countless existences he had been an elephant and a deer which lived on a forested ridge called Mayuda where they died and their dead bodies were buried, and that two sacred hairs of his would be enshrined in a pagoda for worship during his lifetime and that more hairs and relics of his would be added to it after his demise.”Not long after this divine prophesy was made by Lord Buddha, two merchant brothers Tikkha Panna and Sagara Panna with five hundred seamen went out to the sea for trade. On the way they met a galleon the crew of which informed them that Lord Buddha was sojourning on the Martaban Zingyaik Hill range. The brothers went there to worship Lord Buddha and offered him some cakes. Lord Buddha gave them his divine prophesy and on Tuesday the 14th waxing moon of Thadingyut (October) in the year 111 of Maha Sukart he gave them two strands of hair from his head. The two brothers carried the sacred hair relics in a ruby-studded gold casket and set sail. When they landed at the port of Thiho Nge Khabin, the King of Pokkrawaddy named Thamein Htaw Banna Yan and his chief Queen Meinda Devi, hearing the arrival of the Buddha's sacred hairs held a grand celebration to receive the Sacred relics. Then they found the Mayuda Ridge on which a pagoda was built. The two sacred hairs were enshined in it with many jewels and jewelleries dedicated to religion. It took nine years to complete the building from the laying of the foundation in the year 114 to the topping of it with a crown called “hti” in the year 123, on the full moon day of Tazaungmon (November).
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Shwesadaw.jpg
      Shwesadaw.jpg
      ขนาดไฟล์:
      187 KB
      เปิดดู:
      281
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    นี่อีกองค์หนึ่ง มีใครรู้จักประวัติโดยละเอียดหรือเปล่าครับ


    Mawtinsoon Pagoda

    This pagoda is situated at Maw Tin Zun, Ngaputaw Township in the Pathein District of the Ayeyarwaddy Divison. Maw Tin Zun is also called Nagayit Mountain, Tharana Mountain or Neibban Mountain. The pagoda is believed to have been built in Sakarit 103 by Zeyathena, the king of dragons, enshrining two hair relics of Buddha obtained from the two brothers Tapusa and Balika.It was name Maha Makuta Yanthi. It was repaired by King Thiri Dhammar Thawka, the king who held the Third Buddhist Synod, and later, in Sakarit 457, King Alaung Sithu of Bagan renovated the pagoda and renamed it Phaung-daw-Oo pagoda.


    องค์นี้ ตามประวัติย่อที่ค้นมาข้างบน สร้างเพื่อประดิษฐานพระเกศาธาตุ ส่วนที่ได้ขอแบ่งจาก ท่านตปุสสะ-วิภัลลกะ หรือท่านตะเปา-ตะป้อ และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระเจ้าอโศกมหาราช


    ใครมีประวัติพระเจดีย์แบบเต็มๆ ถอดตำนานมอญได้เลยยิ่งดีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ยังมีพระเจดีย์จุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เชื่อว่าคนไทยอาจยังไม่รู้จัก!

    พระเจดีย์จุฬามณี.jpg
     
  5. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    บางครั้งก็นึกน้อยใจนะครับ ที่คนรุ่นปัจจุบัน ได้นำองค์ความรู้ใหม่ (ซึ่งไม่ถูกต้อง) มาล้มล้าง หรือบดบัง หลักฐานเก่า บันทึกโบราณ ว่า เป็นเรื่องเล่าที่เป็นเพียงแค่ตำนาน ที่ไม่ใช่เรื่องจริง

    ดังเช่น "การรู้จัก และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดน ไทย มอญ ลาวและกัมพูชา" ซึ่ง ได้กล่าวถึงการรู้จักพระพุทธศาสนา มาแต่ครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ แต่ยุคสมัยปัจจุบัน กลับ เชื่อตามองค์ความรู้ใหม่ว่า "เพิ่งรู้จักพระพุทธศาสนา ยุคพระเจ้าอโศกส่ง พระโสณะ-พระอุตตระ มายังสุวรรณภูมิ" เท่านั้น

    และที่สำคัญ คนรุ่นปัจจุบัน ที่เสพองค์ความรู้ใหม่ คงไม่เชื่อว่า พระเจ้าอโศกมหาราช จะเสด็จมายังดินแดน พม่า มอญ ไทย ลาว ทั้งที่ เรามี เอกสารบันทึกโบราณ ถ่ายทอดกันไว้ ไม่ใช่ แต่ในพม่า-มอญ แต่รวมถึงในเมืองไทยด้วย เช่น

    ที่ "พระธาตุศรีจอมทอง" ที่เชียงใหม่ ดังในประวัติที่ว่า..

    จำ เดิมแต่กาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี มีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า ศรีธรรมาโศกราชหรืออีกนัยหนึ่งว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้ทรงเดชานุภาพปราบชมพูทวีปทั้งมวลได้เสด็จไปสู่ดอยศรีจอมทอง พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนามาตย์ราชบริพารเป็นอันมาก ด้วยอานุภาพแห่งพระอินทร์ เทพยดาและพระอรหันต์แล้ว ได้ให้ขุดคูหาอุโมงค์ที่ใต้พื้นดอยศรีจอมทองลึกนัก ใหญ่ประมาณเท่าที่ตั้งพระคันธกุฏีแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี ในสมัยพุทธกาล แล้วให้สร้างพระถูปองค์หนึ่งแล้วด้วยทองคำสูง ๖ ศอก ไว้ในคูหานั้น หล่อ พระพุทธรูปยืนด้วยทองทิพย์หนัก ๑ แสน ๒ องค์ ตั้งไว้ทางทิศเหนือพระสถูปองค์ ๑ ทิศใต้ ๑ องค์ หล่อพระพุทธรูปนั่งด้วยทองคำ ๒ องค์หนักองค์ละ ๑ แสน ตั้งไว้ ณ ทิศตะวันออกพระสถูปองค์ ๑ ทิศตะวันตก องค์ ๑ และได้จัดสร้างดุริยดนตรี เครื่องปูลาด เตียงตั้ง และฉัตรธงไว้ทั้ง ๔ ด้านแห่งพระสถูปนั้น แล้วให้หล่อรูปยักษ์ ๘ ตน ยืนเฝ้าที่หน้ามุขพระสถูปทั้ง ๔ ด้าน ๆ ละตน และยืนเฝ้าประตูแห่งคูหาทั้ง ๔ ด้าน ๆ ละตน แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชจึงเอาโกศแก้ววชิระ หนัก ๑ พันน้ำ มาตั้งไว้เหนืออาสนะทองคำ ครั้นได้นักขัตฤกษ์ชัยมงคล จึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ เทวดา นาค ครุฑและสมณพราหมณ์ ทำการฉลองสมโภชบูชาพระบรมธาตุแห่งสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมหาปางอันใหญ่ตลอด ๗ วัน ครั้นแล้วจึงได้ทำการอัญเชิญพระทักษิณโมลีธาตุจอมพระเศียรเบื้องขวาแห่งพระ พุทธเจ้า เท่าเมล็ดในพุทราเสด็จเข้าสู่โกศแก้ววชิระนั้น พร้อมทั้งพระธาตุกระดูกด้ามมีดเบื้องขวา โตเท่าเมล็ดข้าวสารหัก มีสัณฐานเป็นสามเหลี่ยม และพระบรมธาตุย่อยอีก ๕ องค์เท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด รวมเป็นพระธาตุ ๗ องค์ ให้เข้าอยู่ในโกศแก้ววชิระนั้น จึงเชิญโกศแก้ววชิระให้เข้าประดิษฐานไว้ในพระสถูปทองคำเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนามาตย์ เทพยดา และพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำอธิษฐานไว้ว่า “ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้า องค์ประเสริฐในกาลเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ได้เคยเสด็จมาสู่ที่นี่ และได้ตรัสทำนายไว้แก่พระยาอังครัฏฐะว่า "พระ ทักษิณโมลีธาตุของเราตถาคตจะมาประดิษฐานอยู่ที่นี่" ดังนี้ และบัดนี้พระบรมธาตุเจ้าก็ได้เสด็จเข้าประดิษฐานอยู่ในที่นี่ สมดังพระพุทธทำนายแล้ว ในกาลต่อไปข้างหน้า แม้ว่าคน เทวดาและครุฑ นาคใด ๆ ก็ดี จักมานำเอาพระบรมธาตุเจ้าไปในสถานที่ใดก็ดีขอพระบรมธาตุเจ้าอย่าได้เสด็จไป เลย แม้ถึงว่าได้เสด็จไปแล้วก็ขอจงได้ เสด็จกลับคืนมาอยู่ ณ สถานที่นี้ตราบเท่า ๕๐๐๐ พระวัสสา เพื่อได้เป็นที่สักการบูชาแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายชั่วกาลนาน ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า หากมีพระราชาหรือมหาอำมาตย์ผู้ใด ได้มาสักการะพระบรมธาตุเจ้า ณ ดอยศรีจอมทองที่นี่ ขอจงให้พระราชาเป็นต้น พระองค์นั้นจงมีเดชานุภาพเหมือนดั่งข้าพระพุทธเจ้าอโศกมหาราชธรรมราชานี้ เทอญ ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้า เมื่อใดพระราชามหาอำมาตย์ผู้เสวยราชบ้านเมือง มีบุญวาสนาเสมอดั่งข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอนิมนต์พระบรมธาตุเจ้า จงเสด็จออกมาจากพระสถูปทองคำแสดงอภินิหารให้ปรากฏแก่คนและเทพยดาทั้งหลาย เพื่อให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองต่อไปตลอด ๕,๐๐๐ พระวัสสา ถ้าหากพระราชาและอำมาตย์เสวยราชบ้านเมืองที่นี้ ปราศจากการเคารพนับถือพระรัตนตรัย กระทำแต่บาปอกุศลกรรมมีประการต่าง ๆ ไซร้ ขอพระบรมธาตุเจ้า จงเสด็จประทับอยู่ในพระสถูปทองคำ แห่งข้าพระพุทธเจ้า ขอจงอย่าได้เสด็จออกมาให้ปรากฏแก่ผู้ใดเลย ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้า กาลใดเมื่อพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ตลอด ๕,๐๐๐ พระวัสสา แล้ว พระธาตุแห่งพระพุทธเจ้าก็จักเสด็จไปรวมกันในที่แห่งเดียว ขอพระสถูปทองคำของข้าพระพุทธเจ้ากับทั้งเครื่องสักการบูชาทั้งหลาย จงอย่าได้สูญหายเป็นอันตรายไปเลย ขอจงตั้งอยู่ตราบเท่าถึงศาสนาพระศรีอริยะเมตไตรยผู้จะมาตรัสในภายหน้า และขอจงให้พระศรีอริยะเมตไตรยพระองค์นั้นจงนำพระสถูปทองคำของข้าพระพุทธเจ้า นี้ออกมาแสดงแก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย ได้กระทำสักการบูชาทุก ๗ วันเทอญ” เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงอธิษฐานดังนี้แล้ว เหล่าเทพยดา นาคครุฑ ทั้งหลายจึงไปนำเอาหินจากป่าหิมพานต์ เอามาก่อแวดล้อมพระสถูปไว้ ๗ ชั้น เพื่อมิให้คนและสัตว์มาทำอันตรายได้ แล้วจึงอาณัติสั่งเทวดา ๒ ตนและพญานาค ๒ ตน ให้อยู่พิทักษ์รักษาพระบรมธาตุเจ้าต่อไป ในกาลใดถ้าหากพระราชามหาอำมาตย์และฝูงชนทั้งหลาย ประกอบด้วยบุญสมภารมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ในกาลนั้น เทพยดา และพระยานาคผู้รักษาพระบรมธาตุ ก็ดลบันดาลให้ชนทั้งหลายทราบว่าพระบรมธาตุเจ้ามีอยู่ในที่นี้ ถ้าชนทั้งหลายมีใจหนาแน่นไปด้วยกิเลสประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุศลบาปธรรม เทพเจ้าผู้รักษาพระบรมธาตุก็นิมนต์พระบรมธาตุให้เข้าอยู่ในคูหาใต้พื้นดอย ศรีจอมทองเสีย มิให้ออกมาปรากฏแก่คนทั้งหลาย และในกาลนั้นพระเจ้าอโศกธรรมราชาได้รับสั่งให้เสนาอำมาตย์ราชบริพารทั้งหลาย ให้ขุดหลุมใหญ่ฝังทองคำไว้ในทิศทั้ง ๘ แห่งดอยศรีจอมทอง ทรงอธิษฐานไว้ว่าเมื่อใดพระบรมธาตุเจ้าเจริญรุ่งเรืองไปภายหน้า ขอจงให้ผู้อยู่ปฏิบัติรักษาพระบรมธาตุนี้ จงขุดเอาทองคำที่ฝังไว้นี้ออกบำรุงก่อสร้าง สถาปนาพระพุทธศาสนาให้เจริญถาวรต่อไปชั่วกาลนานเทอญ ครั้นแล้วท้าวเธอพร้อมด้วยเสนามาตย์ราชบริพารก็เสด็จคมนาการกลับไปสู่พระนคร ของพระองค์ ณ กาลนั้นแล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เจดีย์อีกองค์หนึ่งในพม่า แม้ไม่ได้กล่าวถึงว่า เก่าถึงสมัยพุทธกาลหรือไม่ แต่ อย่างน้อย ก็อยู่ในยุค พระเจ้าอโศกมหาราช คือ

    Shwe Kyet Yet Pagoda lies on Shwe Kyet Yet Hill. also known as Mandagiri while embryo Buddha was reborn a king of chicken in his early lives. It is one of the 84,000 pagodas built by King Thiri Dhamma Thawka in Sakarit 218.

    It was renovated by King Anawrahta in 411 and Narapate Sithu of Bagan in 537. Narapate Sithu built Aungswagyi and Aungswange pagodas and NarapateSithu Pagoda near by. Shwe Kyet Yet Pagoda was further renovated by Queen Tarapya of Sagaing. King Swasawke. Thalun. Sinbyushin. Bodawpaya's son Thiri Maha Dham-mabizaya Thihathu. Bagyidaw. Bagan King's consort Mindon's queen of the northern palace. However most of the statues and ancient buildings seen today are those of King Bagan.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    เจดีย์ ชเวดากอง เป็น ภาษามอญ ไม่ได้สร้างตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าประสูตินะคะ แต่สร้างเมื่อสมัย ราวคริตศตวรรษที่ 6-10 ถ้าเป็นสมัยพระพุทธเจ้าคนไทยยังไม่รู้จักใช้ภาษา บาลี สันสฤตเลยคะ แต่ชื่ออย่าง สุวรรณภูมิอะไรพวกนี้ เป็นภาษาที่อินเดียใช้เรียกอาณาจักรทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ พม่า ไทย มาเลย์ กัมพูชา และศรีลังกา คะส่วนเรื่องที่ว่าพระเจ้าอโศกฯ เคยมาเมืองไทยนั้น ก็ไม่มีหลักฐานยืนยัแต่อย่างใดคะ นอกจากที่มีชาวมอญและพม่าบางคนสับสนชื่อท่านกับกษัตริย์มอญ ในสมัยหนึ่งที่ชื่อ พระสุธรรมา ซึ่งอยู่เมือง สะเทิม หรืออะไรสักอย่างนี้แหละคะ

    และหากพระพุทธเจ้าเป็นชาวเอเชียอาค์เนจริง เหตุใดพระไตรปิฏกจึงเป็นภาษา
    บาลี-สันสฤต ละคะ? ภาษา บาลี- สันสฤต เป็นภาษาที่มาจากอินเดียคะ ส่วนถ้าพระพุทธองค์ทรงเป็นชาวไทยจริงทำไม ศาสนาและวิธีการนั่งสมาธิของท่านจึงไปเหมือนกับในตำรา คำภีร์พระเวทของศาสนาพรามณ์ได้ละคะ? ทั้งที่ คำภีร์พระเวทเราก็รู้ๆกันอยู่ อย่าว่าแต่คนอินเดียธรรมดายังไม่ได้เรียนเลยคะ, ต้องเฉพาะ พระราชวงค์ที่สืบทอดเชื้อสายมาจากชาวอารยันเท่านั้นที่จะได้เรียน, หมายถึงในสมัยนั้นนะคะ
     
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    นี่ก็เป็นเจดีย์อีก องค์หนึ่ง ที่มีประวัติการสร้าง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

    Alodaw Pauk Pagoda

    The Alodaw Pauk Pagoda is one of the 84,000 pagodas built by the famous king Thiri Dhamma Thawka. When King Anawrahta arrived in Inle Lake, he rebuilt the pagoda because the only thing that was left was the foot of the original. The pagoda was originally named the Innphaya Pagoda, but it was changed into Yadana Pagoda before assuming its current name. The Alodaw Pauk Pagoda is home to the gem-encrusted Shan-style Buddha stupa.


    เพื่อนสมาชิกท่านใด มีประวัติโดยละเอียด ขอแชร์ ด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    ความไม่รู้หากรู้คงตื่นและเบิกบานแล้ว
    ขอให้มีเมตตาและเจริญในธรรม
    ข้าพเจ้าเกิดมาต้องตาย ชีวิตไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  10. dol_by

    dol_by เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +430
    พระธาตุแหลมลี่ อ.ลอง จ.แพร่ ก็เป็นอีกวัดนึงที่น่าไปกราบสักการะครับ
     
  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809

    อันนี้ ยาวหน่อยนะครับ เป็นตำนานพระธาตุดอยปูภูทับ เมืองลองและแหลมรี่ ที่จังหวัดแพร่ ครับ ตามประวัติ พระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยเจ้าเมืองน้อยใหญ่ทั้งหลาย ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานไว้ที่นี่
    จิรํ สุคตสาสนํ มนามิสุคตํนาถํ ธมฺมญฺ จ โลกทีปกํ สงฺฆญฺจ วรปุญฺญ เขตฺตํวนฺทิตฺวา รตนตฺยํ หนฺตฺวา อุปทฺวํคณฐํ วกฺชามิ ปุรทีปกํ นิวาสํ ปุญญวิภาคํ พุทธานํ สุตฺตเทสิตํ กาตพฺพํ สุขมิจฺเฉยยํ มหาถูปญฺจเยนรา อปฺเปว นามติวิธํ ลเภยฺยํ ทีฆมายุกนุติ

    อหํ อันว่าข้า มหาพุทธคุนเถรโร นามตนชื่อว่า มหาพุทธคุนเถร นมามิ ก็น้อมไหว้ด้วยครบยำ นาถํ ยังพระพุทธเจ้าตนเปนที่เพิ่งแก่โลกทังสาม สุคตํ อันมีที่ไปแล้วอันดีนักคือ นิพพานแล

    สุคตํ อันว่าพระพุทธเจ้าตนนั้น ถาปนฺนโต ก็ตั้งไว้ สาสนํ ยังคำสอน จิรํ มักว่าจิรกาลเลี้ยงกาลนานตราบ ๕๐๐๐ วัสสาแล

    จ มักว่า เกวลเมวพุทธวนฺทิตวา บ่เท่าแต่ข้าไหว้ยังพระพุทธเจ้าแล้วสิ่งเดียวแล อหํ อันว่าข้านมามิก็ไหว้ธมฺมํ ยังพระนวโรกุตรธัมเจ้าเก้าประการ สิบทั้งปริยัติธัมเจ้า โลกทีปกํ อันเปนไม้ไต้ส่องหื้อหันหนทางเมืองฟ้าและนิพพานแก่สัตวโลก คือว่าคนและเทวดาทังหลายนั้นแล

    จ มักว่า น เกวลเมว พุทธํ ธมฺมํ วนทิตวา บ่เท่าแต่ข้าไหว้ยังพระพุทธเจ้า และพระธัมเจ้าแล้วสิ่งเดียวแล อหํ อันว่าข้า นมามิก็น้อมไหว้สงฺฆํ ยังพระอริยสังคเจ้า ๘ จำพวก วรปุญญเขตตํ อันเปนนาบุญอันประเสิดนักแล

    อหํ อันว่าข้าวนทิตวาไหว้แล้ว รตนตฺยํ ยังชุมนุมแก้วทั้ง ๓ หนฺตฺวา อันกำจัดเสียแล้ว อุปทวํ ยังอุปัทวโทสทังมวน

    อหํ อันว่าข้าวฺกขามก็จักกล่าวบัดนี้ คณฺฐํ ยังคัมภีร์ตำนานปุรทีปกํ นามอันชื่อว่า ดอนรีเลี่ยม นิวาสํ อันเปนที่มายั้งหยู่ พุทธานํ แห่งพระพุทธเจ้าทังหลาย ปญฺญวิภาคํ ก็เปนที่อันมากระทำบุญแห่งคนและเทวดาทังหลาย สุตฺตเทสิตฺ เปนที่มาเทสนาธัม อันชื่อว่าสารมฺมจิตฺตสูตรแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันเกิดมาไนกัลป์อันนี้ขู่ตนแล

    เย นรา อันว่าชาวเจ้าและคนทังหลายฝูงได สุขมิจฺ เฉยยํ อันปราถนามักยังสุขอันยิ่ง คือ นิพพานดั่งอั้น กาตพฺพํ มักว่า ปวาเรตพฺพํ เพิงชักชวนกันส้างแปง ตํ ทีปกํ ยังดอนรีเลี่ยมที่นั้น มหาถูปญฺจ หื้อเปนมหาเจดียกวมธาตุพระเจ้าไว้หื้อบัวรมวนดั่งอั้น อปฺเปววฺ นาม แม่นชื่อดังรือก็ดี เต นรา อันว่าคนทั้งหลายฝูงนั้น ลเภยฺยํ เพิงได้ ติวิธํ สุขํ ยังสุข ๓ ประการ ทิฆามายุกํ มีอายุยืนร้อยซาวปีแท้ดีหลี อายุขยํ คันนี้ว่าเสี้ยงอายุไนเมืองคน ก็ได้เอาตนเมือเกิดไนเมืองฟ้าแท้จริงแล

    ด้วยมีแท้ไนเมื่อพระพุทธเจ้าแห่งเรายังทรมานหยู่ ๔๕ วัสสา วันนั้น ยังมีไนกาลวันหนึ่งพระพุทธเจ้า ก็จรเดินไปไนทิสานุทิสทั้งหลาย โดยลำดับประเทสบ้านไหย่เมืองน้อยกับด้วยอรหันตเจ้าทั้งหลาย ๔๐๙ ตน มีเรวตเถร เปนต้น วันนั้นพระพุทธเจ้าก็จรเดินมาแต่เมืองอาเลยยราโม ลุกแต่จอมเขาตะขด มาสังคหะพระยาลัมพกกันนราช ไนชนบทอันชื่อว่า เทพบุรีนิคมที่นั้น แล้วพระพุทธเจ้าก็ เทสนาธรรมสั่งสอนพระยาแล้ว พระพุทธเจ้าก็เจรจากับด้วยเจ้าเรวตเถร ว่าดูราเรวตเถร ไนอนาคตกาลพายหน้า อันถานะที่นี้เสลธาตุแห่งพระตถาคต จักมาตั้งหยู่ที่นี้ ไนเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วนั้น บ่หย่าชะแลว่าอั้น ครั้นว่าพระพุทธเจ้าทำนายสันนี้แล้ว พระก็สเด็ดขึ้นสู่จอมดอยพูทับที่นั้น พระก็สันหมากม่วงหอมแล้ว พระก็เจรจากับด้วยพระอรหันตเจ้าทั้งหลายว่า ไนถานะที่นี้ เสลธาตุแห่งตถาคตจักมาตั้งหยู่มึนชะแลว่าอั้น เมื่อพระพุทธเจ้าอยุ่เหนือจอมดอยที่นั้น ก็รับเอาเข้าบินทบาตแห่งพระยาอาเลยยะได้ ๗ วัน แล้วพระพุทธเจ้ากับอรหันตทั้งหลาย ก็จิ่งมาสู่ดอนรีเลี่ยมหั้นแล เมื่อนั้นยังมี พระยาตนหนึ่งชื่อ สมถะ เปนไหย่แก่เววาทภาสิตทั้งหลาย คือว่าเปนไหย่แก่ชาวลองที่นี้ พระยาตนนั้นกระทำไร่ฝ้ายในดอนรีเลี่ยมที่นั้น มันหันพระพุทธเจ้านั่งหยู่ที่นั้นกับด้วยอรหันตทั้งหลายสันนั้น พระยาก็ยินดีมากนัก พระยาก็เอาถั่ว งา เต้า แตง มาหื้อทานแก่อรหันตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเปนประธาน แล้วพระยาก็ฟังธัมจำสีลเสี้ยง ๗ วัน และไนวันถ้วน ๘ พระพุทธเจ้าสันเข้าแล้วหยู่หน่อยหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็กระทำแย้มไค่หัวหั้นแล เมื่อนั้น เจ้าเรวตเถร จิ่งไหว้และถามเหตุอันไค่หัว แห่งพระพุทธเจ้านั้นว่า ภนฺเตภควา ข้าแต่พระพุทธเจ้า เปนเหตุสันไดพระพุทธเจ้าพอยแย้มไค่หัวนั้นจา ขอพระพุทธเจ้าจุ่งสำแดงเหตุอันนั้นหื้อแจ้งแก่ผู้ข้าทั้งหลายแด่เทอะว่าอั้น ที่นั้นพระพุทธเจ้า จิ่งกล่าวว่าดูราเรวตเถร เกาะอันนี้เปนที่ประเสิดนัก มีน้ำแวดไต้ เหนือ ดั่งอโนดาตสระนั้น ดอนอันนี้จักเปน มหานครอันไหย่พายหน้ามื่นชะแล ดอนอันนี้ยาวได้ ๗๐๐ วา ลวงกว้างได้ ๕๐๐ วา จักเต็มด้วยเรือนแห่งคนทั้งหลายได้ ๔๕๐๐ หลังเรือน จักมีพายหน้ามื่นชะแล คนทั้งหลายจักมาหยู่ในเมืองอันนี้มากกว่าหมื่นพายหน้ามีชะแล อันว่าเทวดาและอรหันต์และท้าวพระยา และคนทั้งหลายก็จักเอา เสลธาตุแห่งตถาคต เมื่อนิพพานแล้วได้ ๒๒๐ ปี มาตั้งไว้ในที่นี้มื่นชะแล

    ดอนอันนี้เปนที่อุดมยิ่งนัก เปนที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายมาเทสนาธัมอันชื่อว่า สารัมมจิตตสูตร ชุ่ตนแล สูท่านทั้งหลายจงนบขาบไหว้ที่นี้ชุ่คนเทอะ พระพุทธเจ้ากกฺสนธ ก็ดี พระพุทธเจ้าโคนาคมน์ก็ดี พระพุทธเจ้ากัสสปก็ดี แม่นตนกูตถาคตนี้ก็ดี เม่นพระเจ้าอริยเมตไตยตนจักมาภายหน้าก็ดี ก็จักมาเทสนาธัมอันชื่อว่า สารัมมจิตตสูตร ไนที่นี้ชุ่ตนแล พระพุทธเจ้าทำนายสันนี้แล้วก็เทสนาธัมอันชื่อว่า สารัมมจิตตสูตรตามประเวนีแห่งพระเจ้าทั้งหลาย เมื่อก่อนไนที่นั้นเสี้ยง ๗ วัน เมื่อนั้นเทวดาอินทรพรหม นาคครุธทั้งหลายไนหมื่นโลกธาตุก็มาชุมนุมกันไนที่นั้นก็มีแล

    เมื่อนั้นเจ้านั้นระสีอันหยู่ไนดอยตากฟ้าตะวันตกเมืองเววาทภาสิต ไทยว่าเมืองลองนั้น ก็มาฟังธัมแห่งพระพุทธเจ้า ท่านมีดอกทายเหินสิบสองดอกมาบูชาพระพุทธเจ้าหั้นแล เมื่อนั้นก็กล่าวว่าระสีตนนี้ท่านจักได้บวชเปนภิกขุภาวตนหนึ่งชื่อ จุลเทวเถร ไนเมื่อสาสนาของตถาคตล่วงไปได้ ๒๙๑๙ ปีนั้นมื่นชะแล

    เมื่อนั้นยังมีพระยาตนหนึ่งชื่อ สัมพหุลี เกิดมาจักได้เปนไหย่เมืองอันชื่อ มีเนยะมื่นชะแล พระยาตนนั้นกับเจ้าภิกขุสองตน ตนหนึ่งชื่อว่า จิตกาโล ตนหนึ่งชื่อ จุลเทว จักเอากันมาส้างที่นี้หื้อ เปนมหาเจดีย์คำ สูงได้ ๒๕ วามื่นชะแลว่าอั้น ไนเมื่อแล้วธัมเทสนาแห่งพระพุทธเจ้านั้น อันว่าคนและเทวดาทั้งหลายก็ได้ธัมวิเสสคือ มัคคผลมากนักก็มีวันนั้นแล

    พระพุทธเจ้า สำแดงตำนานสถานที่นั้นแล้ว ก็เอาอรหันตทั้งหลายคืนเมือสู่เมืองสาวัตถี วันนั้นแล ปเทสํจาริกกณฺฑํ ปฐมํ

    ไนเมื่อพระพุทธเจ้านินพานไปแล้วได้ ๒๒๐ ปี วันนั้นยังมีพระยาตนหนึ่งชื่อ สรีธัมอโสกราช กับพระยาเมืองน้อยทั้งหลายเปนบริวารกับทั้งอรหันเจ้า ๕๐๐ ปลายตนหนึ่ง กับเทวดาทั้งหลายก็เอา เสลธาตุเจ้า ๓ องค์ๆ หนึ่งหยู่กระหม่อมพระเจ้า สององค์นั้นหยู่จอมบ่าแห่งพระเจ้า มีสันถานเหมือนดังหินหัวปลาค่อ ปลาช่อนนั้นแล ธาตุ ๓ องค์นั้นไหย่เท่าหน่วยหมากบ้าหนัก ๕ บาท เอามาบรรจุไว้ไนเมืองเววาทภาสิต คือว่าเมืองลองที่นั้นแล ในเมืองลองที่นั้นมี ๓ แห่งแล แห่งหนึ่งชื่อว่า เทวนิคม ไทยว่า ดอยขวยปูแช่ฟ้า แห่งหนึ่งชื่อ บัพพตรัฐ ไทยว่า ดอยภูทบ มีฟากน้ำก้ำวันออก แห่งบ้านอัมพคาม ไทยว่า บ้านม่วงแล แห่งหนึ่งชื่อ ปูรทีปกะ ไทยว่า ดอนรีเลี่ยม คือว่า แหลมรีแล ในที่สามแห่งนี้เปนที่ไว้ธาตุพระเจ้าและลูก และลูกทั้งมวนเปน ๓ พระองค์แล



    (ภาพข้างล่าง คือพระธาตุดอยปูตั๊บ ที่จังหวัดแพร่ ครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2012
  12. kt984

    kt984 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +51
    ติด ตาม อ่านครับ ขอบคุณครับ
     
  13. วรสกุล

    วรสกุล Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +27
    ...มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 29 เม.ย. - 5 พ.ค. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1602 ราคา 40 บาท...หน้า 70 เรื่องสั้น โดย ศิริวร แก้วกาญจน์ เรื่องความมหัศจรรย์ครั้งยิ่งใหญ่ (1) ย่อหน้าที่ 41...

    ...กาลต่อมา ณ กรุงศิริธรรมนครหรือ "หงสาวดี" ได้เกิดไข้ยุบลมหายักษ์ทำให้ไพร่พลล้มตายจำนวนมาก "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช"..."ผู้ครองเมือง"...ได้เรียกบาคูทั้ง 4 มาประชุมปรึกษาหารือและลงความเห็นกันว่าควรอพยพไปเสียจากเมืองนี้

    ...รบกวนคุณเอกฯ ติดตามขอข้อมูลจากคุณศิริวร แก้วกาญจน์ มาแบงปันกันด้วยนะครับ...
     
  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ตำนานแบบนี้เป็นแบบแผนการแต่วรรณกรรมของชาวล้านนาโบราณ และ มอญ พม่า โดยจะโยงเรื่องเข้าหาพุทธประวัติเป้นโครงสร้างที่นิยมกันในสมัยล้านนา(ซึ่งสยาม อโยธยาไม่มีการโยงตำนานพื้นถิ่นเข้ากับพุทธประวัติ) คุณเอกนอกจากมั่วแล้วไม่ศึกษาอีกครับ ลองไปอ่านวิทยานิพนธ์ ของคุณ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง เรื่อง วรรณกรรมล้านนา:การศึกษาวิธีสร้างของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะได้ความรู้และชื่นชมในภูมิปัญญาโบราณ มากกว่ามาพร่ำเพ้อในสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงได้ครับ
     
  15. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    โทษทีครับ หายไปหลายวัน จากความเห็นที่ยกงานวิทยานิพนธ์ แล้วมาล้มล้างสิ่งที่บรรพชน บันทึกสืบต่อกันมา ผมว่า ไม่ค่อยแฟร์นักหรอกครับ ดังนั้น จึงยิ่งเป็นการพอกพูนความมุ่งมั่น ที่จะค้นคว้าศึกษาให้รู้แน่ เพื่อ ปกป้องเกียรติภูมิของบรรพชน และนำความจริงคืนสู่แผ่นดิน

    ข้อที่ว่า "สยาม อโยธยาไม่มีการโยงตำนานพื้นถิ่นเข้ากับพุทธประวัติ" นั้น ผมไม่มั่นใจว่า กินความแค่ไหน
    แต่หากอ่านพงศาวดาร หรือคำให้การ ย้อนไป กรุงอโยธยาโบราณ ก่อนสมัยพระเจ้าอู่ทอง ก็บันทึกเรื่องราวการเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองสาวัตถีซึ่งเปลี่ยนเป็นหงสาวดี ดังเรื่องพระมาลีเจดีย์

    ครั้นเมื่อ พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมือง ก็ปรารภถึงพุทธทำนายที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาพยากรณ์มดตัวหนึ่ง ดังมีใจความว่า

    อยู่มาในราตรีหนึ่ง พระเจ้าอู่ทองทรงพระสุบินนิมิตว่า มีเทพยดาองค์หนึ่งมาแจ้งเหตุ ต่อพระองค์ว่า ในทางทิศอุดรพระราชวังนี้ไป เป็นระยะทางประมาณ ๕๐๐ เส้น คือ โยชน์หนึ่ง กับ ๑๐๐ เส้น ในตำบลนั้นมีทรัพย์แผ่นดินทั้งแก้วแหวนเงินทองมูลมองเป็นอันมาก หามีเจ้าของไม่ เป็นทรัพย์มีอยู่ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ก็เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอเชิญพระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรให้คนขุด และขนเอามาไว้ในพระคลังหลวง พระองค์จะได้ใช้ในราชการ และทรงบำเพ็ญทานเป็นการพระราชกุศลสืบไป ครั้นพระองค์ตื่นบรรทมขึ้น ก็ทรงระลึกตามพระสุบินว่าเป็นเทวโตปสังหรณ์ เทพยดามาบอกทรัพย์ให้ทั้งนี้เป็นพระราชลาภของพระองค์ ซึ่งได้ทรงสร้างบุญนิธีไว้แต่ปางก่อนมาอำนวยผล พระองค์จึงเสด็จไปในที่ตำบลนั้น พร้อมด้วย หมู่อำมาตย์ราชบริพาร มีรับสั่งให้คนขุดได้ทรัพย์แผ่นดินทั้งแก้วแหวนเงินทองเป็นอันมาก สมตามเทพยดาบอกเล่าในพระสุบินนั้นทุกประการ ทรัพย์แผ่นดินที่ขุดได้ในเวลานั้น ต้องบรรทุกเกวียนถึง ๑๐๐ เล่ม ขนเข้ามาไว้ในพระคลังมหาสมบัติ แล้วพระองค์ทรงบริจาค บำเพ็ญทานการพระราชกุศลเป็นอันมาก ทรงอุทิศผลพระราชกุศลไปยังเทพยดาผู้มาบอกเล่า และเหล่าเทพยนิกรทั่วทิศานุทิศ และทรงกระทำปัตติทานแผ่ผลพระราชกุศลแก่สรรพสัตว์ทั่วไป ในสากลจักรวาล

    ครั้นอยู่มาในพระนครเพชรบุรีมีอุปัทวภัยบังเกิดขึ้น ๓ ประการ คือ ข้าวปลาอาหารแพง พวกประชาราษฎรอดอยากขัดสน ๑ ผู้คน และช้างม้าโคกระบือเป็นโรคป่วยไข้ ๑ ทั้งมนุษย์ และสัตว์พินาศล้มตายลงโดยมาก ๑ เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นดังนี้ ราษฎรชาวพระนครเพชรบุรีก็เป็นทุกข์เดือดร้อนไม่เป็นอันจะทำมาหากิน บ้างอพยพหนีภัยไปจากภูมิลำเนาของตนมีอยู่เนื่อง ๆ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นภัยอันบังเกิดขึ้น ดังนั้นก็ทรงดำริว่า เมืองเพชรบุรีนี้จะไม่เป็นที่สุขสบายเสียแล้ว จำจะไปเที่ยวหาที่ชัยภูมิดีสร้างพระนครอยู่ใหม่จึงจะสมควร จึงมีพระราชโองการตรัสสั่ง เสนาอำมาตย์ผู้มีสติปัญญา ให้คุมคนเที่ยวเสาะแสวงเลือกหาที่จะสร้างพระนครใหม่ และให้ค้นตำรับตำราของโบราณแต่เก่าก่อนมาตรวจดู พวกเสนาพฤฒามาตย์จึงกราบทูลว่า มีตำราเก่าเป็นพระพุทธทำนายฉบับหนึ่ง มีใจความว่า ในสมัยพระพุทธองค์ยังมีพระชนม์อยู่ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์เสด็จจากพระเชตวันมหาวิหารมาโดยทางนภากาศ ถึงเขาปัถวี อันเป็นภูเขาน้อยแห่งหนึ่งอยู่ในดินแดนโยนกประเทศ พอเป็นเวลาฝนตกห่าใหญ่ พระองค์เสด็จ เข้าประทับที่เพิงผาเชิงเขาปัถวีนั้น เม็ดฝนมิได้ตกต้องพระวรกายของพระองค์สักหยาดหนึ่ง ครั้นฝนเหือดหายแล้ว พระองค์ทรงเปล่งพระรัศมี ๖ ประการงามโชติช่วงรุ่งเรือง ทรงอธิษฐาน พระฉายแห่งพระบวรรูปกาย อันบังเกิดแต่พระธรรมกายของพระองค์ ไปประดิษฐานติดอยู่ที่ แผ่นเพิงผาแห่งเขาปัถวีนั้น มิให้ลบละลายหายสูญด้วยเพลิงและน้ำอย่างหนึ่งอย่างใด ให้สถิตธำรงอยู่สิ้นกาลนาน ด้วยอำนาจพระพุทธาธิษฐานเพื่อเทพยดามนุษย์ซึ่งเป็นเวไนยเผ่าพันธุ์และเป็นพุทธบริษัทอันจะบังเกิดมา ณ ภายหน้า ได้พบเห็นเป็นที่บังเกิดโสมนัสศรัทธาเลื่อมใส จะได้เป็นที่ชักชวนกันมานมัสการกระทำสักการบูชา เป็นบุญญกิริยาผลานิสงส์ให้บังเกิดในสุคติทั่วกัน ชนทั้งหลายจึงได้เรียกเขาปัถวีนั้นว่า พระพุทธฉาย ยังมีปรากฏสืบมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

    ข้างทิศเหนือแห่งเขาปัถวีนั้นไป มีแม่น้ำแห่งหนึ่ง ทางทิศเหนือแม่น้ำนั้นมีภูเขาหนึ่งเรียกว่า เขาสุวรรณบรรพต มีพรานเนื้อคนหนึ่ง ชื่อว่า สัจพันธ์ อาศัยอยู่ที่ภูเขานั้นเป็นนิจ ครั้นสมเด็จพระพุทธองค์เสด็จมาถึงเขาสุวรรณบรรพต ก็ทรงเปล่งพระรัศมีอันเป็นฉัพพรรณรังสีรุ่งเรืองงามยิ่งนัก สัจพันธ์พรานเนื้อได้เห็นดังนั้นก็เลื่อม่ใส บังเกิดปิติโสมนัสหาที่สุดมิได้ จึงปูผ้ากราบถวายนมัสการด้วยเบญจางคประดิษฐ์ และเก็บดอกไม้ป่ามากระทำสักการบูชา แล้วกราบทูลอาราธนาขอให้พระองค์ทรงพระกรุณาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพตนั้น เพื่อเป็นที่นมัสการกระทำสักการบูชาของเทพยดามนุษย์สืบไปในภายหน้าสิ้นกาลช้านาน สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงพระกรุณาแก่นายพรานเนื้อผู้นั้น จึงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ทรงเหยียบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ให้เป็นพระบทวลัญช์ปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาเหนือ ยอดเขาสุวรรณบรรพตนั้น ภายหลังมาจึงเรียกภูเขานั้นว่า เขาพระพุทธบาท และเรียกพระบทวลัญช์นั้นว่า รอยพระพุทธบาทสืบ ๆ มาจนถึงในทุกวันนี้

    ครั้นแล้วพระพุทธองค์เสด็จจากเขาสุวรรณบรรพต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึง ป่าแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้ป่านั้นมีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่งเรียกว่า หนองโสน ในที่ใกล้หนองนั้น มีตอไม้ใหญ่ตอหนึ่ง พระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จประทับอยู่บนตอไม้นั้น ในขณะนั้น เทพยดาและพรหมได้นำผลสมอทิพย์มาถวายพระพุทธองค์เป็นทิพยโอสถ พระพุทธองค์ก็ทรงรับมาเสวย ให้เกิดบุญญกิริยานิสงส์ผลแก่เทพยดา และพรหมผู้เลื่อมใสในพระคุณ ในขณะนั้น พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นมดเล็กตัวหนึ่ง ไต่อยู่ในที่ใกล้ตอไม้นั้นจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ฝ่ายพระอานนท์เถระผู้เป็นพุทธอนุชาจึงทูลถาม ถึงเหตุแห่งการแย้มพระโอษฐ์นั้น สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสพยากรณ์ว่า มดเล็กตัวนี้ ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า จะได้บังเกิดเป็นกษัตริย์มีศักดานุภาพมาก จะสร้างราชธานีอยู่ ณ ตำบลหนองโสนนี้ ให้เป็นบ้านเมืองสุขสมบูรณ์ จะบำรุงรอยบทวลัญชืแห่งเราตถาคต ซึ่งได้เหยียบไว้บนยอดเขาสุวรรณบรรพตนั้นให้รุ่งเรืองเจริญ เป็นที่ไหว้ ที่บูชาของเทพยดา มนุษย์สืบไปในภายหน้าสิ้นกาลนาน

    พระเจ้าอู่ทองได้ทรงฟังเสนาพฤฒามาตย์ ทูลถวายตามเรื่องราวพระพุทธทำนายดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัสยินดียิ่งนัก



    หรือที่พิสดารไปอีก ปรากฏใน “คำให้การชาวกรุงเก่า” ซึ่งเป็นหนังสือพงศาวดารประวัติศาสตร์ ที่ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ สมัยครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากคำให้การของเชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไป สมัยเสียกรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ เชื่อว่าต้นฉบับเป็นภาษารามัญที่ถูกแปลเป็นภาษาพม่า และไทย ตามลำดับ นั้น มีอยู่ตอนหนึ่ง น่าสนใจ บันทึกไว้ว่า...

    ครั้นแล้วพระองค์เสด็จจากเขาสุวรรณบรรพต ไปยังตำบลบ้านพ่อแอ่งในข้างทิศตะวันตก ตำบลนั้นมีบึงใหญ่แห่งหนึ่ง ใกล้บึงนั้นมีพฤกษชาติใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านใบอันสมบูรณ สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงกระทำปาฏิหาริย์อยู่เหนือยอดพฤกษชาตินั้น คือทรงนั่ง ทรงไสยาสน์ ทรงพระดำเนิรจงกรม แลทรงยืน บนยอดกิ่งไม้ใหญ่ มีพระอิริยาบถทั้งสี่เปรปรกติมิได้หวั่นไหว ในขณะนั้น ฝ่ายพฤกษเทพยดาทั้งหลายได้เห็นปาฏิหารของพระองค์เปนมหัศจรรย์ดังนั้น ก็บังเกิดปีติโสมนัสเลื่อมใสในพระคุณของพระองค์ จึงนำผลสมอดีงูแลผลสมอไทยอันเปนของเทพโอสถ มากระทำอภิวาท น้อมเข้าไปถวายแด่พระพุทธองค์ ในขณะนั้นพระองค์ทอดพระเนตรเห็นแพะเล็กตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้ ก็ทรงแย้มพระโอษฐ ฝ่ายพระอานนทเถรพุทธอนุชาเห็นพระองค์ทรงแย้มพระโอษฐให้ปรากฏดังนั้น จึงกราบทูลถามถึงเหตุแห่งการแย้มพระโอษฐว่าจะมีเปนประการใด สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าจึงตรัสพยากรณ์ว่า ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า แพะเล็กตัวนี้จะได้บังเกิดเปนกษัตริย์ครองราชย์สมบัติในประเทศนี้ จะมีเดชานุภาพมาก แลจะได้ทำนุบำรุงบทวลัญช์อันเปนรอยพระบาท กับรูปฉายาปฏิมากรของเราตถาคตสืบไป

    ครั้นล่วงกาลนานมา สมเด็จพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระพุทธศักราชล่วงได้ ๒๑๘ ปี จึงบังเกิดพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ครองราชย์สมบัติในกรุงปาตลีบุตรมหานคร พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีการสร้างพระอาราม พระสถูปเจดีย์ แลขุดบ่อสระเปนต้น เปนอันมาก พระองค์ได้เสด็จประพาสทั่วไปในสกลชมพูทวีปตราบเท่าถึงเมืองสังขบุรี เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติอยู่ในเมืองนั้นต่อไป พระองค์มีมหิทธิฤทธิเดชานุภาพมากล้ำเลิศกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองไปทั่วสกลชมพูทวีป ในคราวหนึ่งพระองค์ได้ตรัสแก่เสนาอำมาตย์ราชมนตรีทั้งปวงของพระองค์ว่า พระองค์ได้มาบังเกิดเปนกษัตริย์ทั้งนี้ ด้วยบุญญาบารมีกฤดาธิการของพระองค์ตามพระพุทธทำนายซึ่งได้ตรัสพยากรณ์ไว้นั้นทุกประการ


    ดังนั้น คำของท่าน joni_buddhist ที่ว่า
    "สยาม อโยธยาไม่มีการโยงตำนานพื้นถิ่นเข้ากับพุทธประวัติ" จึงไม่เป็นความจริงครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2012
  16. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    วันนี้ นำมาฝากอีกองค์หนึ่ง

    Kyaikkami Yele Pagoda - Mon State

    Located 9 kms northeast of Thanbyuzayat. Kyaikkami was a small coastal resort and missionary center known as Amherst during the British era. The main focus of Kyaikkami is Yele Paya. a metal-roofed Buddhist shrine complex perched over the sea and reached via a long two-level causeway; the tower level is submerged during high tide. Along with 11 Buddha hair relics. the shrine chamber beneath Yele Paya reportedly contains a Buddha image that supposedly floated here on a raft from Sri Lanka in ancient times.

    Some legend say that Buddha in Maha Sakarit 111 around 581 BC came on sojourn to Thuwunna Bhumi and got to Kyin Maing (Kyaikkhami). the land of Yawnaka. Buddha rested on the rock that would site the pagoda and gave the 20 sons of the king of Kyin Maing and mentor Kappina the hermit hair relics before he went to Thuwunna Bhumi. In Maha Sakarit 117 that was 575 BC. Hermit Kappina and ten of the princes built a pagoda enshrining the relics they got at the sacred rock cave. It has since been known as Eka Dasa. In Sakarit 237 that was 307 BC. after Parinibbana. Shin Mahainda. Arahanta Upatittha and King Devanampiyatittha sent afloat four sandalwood Buddha statues enshrining the Buddha's relics entrusted to them. making an oath to have them get to a place where there were repositories of Buddha relics. One of them came to Eka Dasa Pagoda in Kyaikkhami. Eka Dasa Pagoda is now one with five wonders midstream.

    The Buddha Images inside face the sea towards the south. A notable fact is that although the shrine is located at some distance from the shore. its basement is not engulfed even during the highest tide. Women are only allowed to worship from a pavilion removed from the shrine while men may do so from the hall facing the main image.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Kyaikkami.jpg
      Kyaikkami.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.2 KB
      เปิดดู:
      78
  17. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    มี เพื่อนสมาชิกท่านใด สะสมหนังสือ และครอบครอง หนังสือ ๒ เล่มนี้ หรือ รู้ว่า ในห้องสมุดที่ไหน มีหนังสือ ๒ เล่ม นี้ อยู่บ้าง ช่วยแจ้งด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง

    ชื่อ Ancient Pagodas in Myanmar Vol. I and II
    ผู้แต่ง MYAT MIN HLAING
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2012
  19. ทามปายได้

    ทามปายได้ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +56
    ยังไม่เห็นตอบกลับเม้นนี้.... อยากรู้ด้วยคน
     
  20. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เอา เบาะแส พระเจดีย์อีกองค์หนึ่ง ชื่อ Shwebontha Pagoda ซึ่งมีประวัติ ที่ค้นได้ สั้นๆ ตอนนี้ ว่า

    Shwebontha Pagoda lies in Kyaikkaw village. Thein Seik Circle. Thaton Township. Mon State. Buddha came to Thuwunna Bhumi in Sakarit 111 at the request of Arahanta Gawunpati Hermit. Buddha gave two hair relics that were enshrined in the pagoda. They were granted to King Thiha Yaza. On 15th waning moon day of Kason. Sakarit 1 IS. Arahanta Shin Maha Kassapha further consecrated the five gold followers donated by the king of nats and built a new pagoda.It was called Kassapha Pagoda. later known as Kyaikkaw Pagoda. or Flower Pagoda in Mon.

    จากประวัติที่ว่า พระพุทธองค์เสด็จมาที่นี่ ตามคำอาราธนาของพระควัมปติ ทำให้ นึกเชื่อมโยงไปยัง พระภควัมปติ ตามตำนาน พระปิดตา ซึ่งแน่นอน ที่อินเดีย ไม่มีแน่ และอาจเป็นเพียง หนึ่งเดียวในโลก คือที่เมืองไทย ที่มีการสร้าง พระปิดตา

    ตามตำนาน นี้

    พระภควัมบดี ประวัติพระปิดตา

    ตำราการสร้างพระภควัมบดี (พระภควัมปติ) สิทธิการิยะ... ตำรา"พระครูเทพ" แห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกจิอาจารย์ได้ศึกษาสืบต่อกันมา "พระภควัมบดี หรือ พระภควัมปติ" นับว่าเป็นของวิเศษ ที่จะหาอะไรมาเปรียบได้ ฆราวาสก็ดี สมณะก็ดี ถ้าได้ทำตามตำราดังกล่าวนี้ จะทำให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"

    ตำนานแห่งพระภควัมบดี หรือ พระภควัมปติ
    พระปิดตา หรือ พระภควัมบดี เป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาล มีพุทธลักษณะงดงามละม้ายคล้ายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอัครสาวกรูปหนึ่งที่เพียบพร้อมไปด้วยความเฉลียวฉลาดสามารถอธิบายธรรมได้ เยี่ยมยอดกว่าพระสาวกองค์อื่น ๆ

    พระภควัมบดี หรือ พระภควัมปติ

    พระภควัมบดี ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์-ปุโรหิต แห่งเมืองอุชเชนี เนื่องจากวรรณะงดงามดังทองจึงได้รับการขนานนามว่า “กาญจน” ได้ศึกษาไตรเทพจนเจนจบและเป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดาในสมัยพระเจ้าจันทร์ปัตโชติ ต่อมามีโอกาสได้ฟังธรรมในสำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดความเลื่อมใสและศึกษา ธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์และอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุสัมปทา

    ยามเยื้องย่างไปไหนมาไหนด้วยรูปร่างคล้ายพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดอยู่เนืองๆ ไม่เว้นแม้เทวดายังสรรเสริญ ท่านเห็นว่าหากปล่อยไว้ต่อไปจะเป็นการไม่สมควร จึงอธิษฐานจิตให้ร่างกลายเปลี่ยนเป็นอ้วน เตี้ย พุงพลุ้ย ดูน่าเกลียด จวบจนนิพพาน

    ตำราพระภควัมบดี(พระปิดตา)นี้เกจิโบราณาจารย์ศึกษาสืบต่อกันมาจากวัดประดู่ทรงธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยา...มาจนถึงทุกวันนี้

    และจาก ข้อมูลที่ได้เคยรับรู้มา ว่า ที่ตั้งจังหวัดอุทัยธานี ในปัจจุบัน คือ เมืองอุชเชนี ในอดีต ซึ่งนับเป็น ๑ ใน ๑๖ มหาชนบท จึงเป็นเบาะแส หนึ่ง ที่จะนำไปสู่การพิสูจน์ ว่า ชมพูทวีป คือ พม่า และไทย ไม่ใช่อินเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...