ใครไม่อยากรู้อะไรก็ไม่ต้องเข้ามา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 21 มีนาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปัจจุบันนั้นมี ๔ อย่าง คือ
    ๑) ขณะปัจจุบัน หรือ ปัจจุบันขณะ หมายเอาขณะจิตหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (อุปาทะ ฐีติ ภังคะ)
    ๒) สันตติปัจจุบัน หมายเอาการสืบต่อของนามรูปในขณะวิถีจิตเกิดจนถึงดับของวิถีหนึ่งๆ
    ๓) สมัยปัจจุบัน หมายเอากาลเวลาที่สมมุติว่า เช้า สาย บ่าย เย็น สมัยนี้ สมัยก่อน
    ๔) อัทธาปัจจุบัน หมายเอากาลเวลาอันยาวนาน นับตั้งแต่เกิดจนถึงตาย (ปฏิสนธิ ถึงจุติ)
    สำหรับปัจจุบันวิสยรูป ๗ หมายเอา รูปที่ตั้งอยู่ในฐีติขณะ ๔๙ อนุขณะ เท่ากับสันตติปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2013
  2. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ของจริงนิ่งไม่ได้
    เดี๋ยวจะว่าหน่อไม่แน่

    ลุงหมานมาว่าทีเดียวเจ็ดอย่างแล้วขอรับ

    มีแต่คนเข้าใจว่าหน่อมาหาแต่เรื่อง
    ไม่มีหน่อเรื่องไม่มา

    กราบขอบพระคุณลุงหมานขอรับ

    ขอลุงหมานเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  3. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เขาเข้าใจ๋ตั๊วเน้อ
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    บัญญัติมี ๒ อย่าง คือ
    ๑) อัตถบัญญัติ บัญญัติเพื่อให้รู้ความหมายของคำนั้น
    เช่น คำว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม พ่อ แม่ เป็นต้น หมายถึงอะไรแล้ว ก็เข้าใจตามที่บัญญัตินั้น
    บางทีเรียกว่า ปัญญายัตตาบัญญัติ แปลว่า สภาวะที่บัญญัติพึงทำให้รู้โดยประการนั้นๆ
    หรือกสิณบัญญัติก็อยู่ในอัตถบัญญัติเหมือนกัน
    ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ คือ บัญญัติให้รู้ความหมายของคำนั้นๆ
    เพราะอาศัยอาการปรมัตถ์นั่นเอง รู้ทางมโนทวาร

    ๒) สัททบัญญัติ บัญญัติที่รู้เสียงที่กล่าวออกมา
    เป็นนามบัญญัติ คือ บัญญัติให้รู้ชื่อของสภาวะนั้นๆ เพื่อให้รู้อัตถบัญญัตินั่นเอง
    บางที เรียกว่า ปัญญาปนโตบัญญัติ คือ บัญญัติที่ยังให้รู้อัตถบัญญัติ
    โดยอาศัยรู้จากเสียง รู้ได้ทางโสตทวาร
     
  5. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อักขระ
    กับโวหาร
     
  6. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ธรรมะ
    กับวิหารธรรม

    ท่านสมมุติการคู้บัลลังค์
    เป็นเหมือนธะ.....ในบาลี
    หากเขียนธะ
    บาลีเหมือนรูปใบโพธิ
    เหมือนรูปสมมุติที่การยกแขนมาพนมมือ

    เพราะ....ธะ........บาลี
    ไม่เหมือนธ.......ธงในสยาม

    จึงเป็นธุ
    หรือสาธุ

    สาตรงไหน
    เอาธะ....ก่อนหรือเอาธุก่อน
    แล้วทุศิลทุอย่างไร

    ท่านแยกไว้อย่างดีเราไม่เข้าใจ
    โมๆๆๆๆๆเมๆๆๆๆๆ
    ใกล้เคียงหรือไม่อย่างไรขอรับ
    แต่ไม่ใช่

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  7. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ผมชอบธรรมะของลุงหมานเพราะมีที่อ้างอิง
    เดินทุกก้าวไม่มีเสียง
    เหมือนช้าง
    เท้าใหญ่มากแต่เดินไม่มีเสียง
    มานิ่มๆไม่ทำร้ายใคร

    หากลุงหมานมีข้อสังเกตุ
    ผมจะมีข้อสงสัยขอรับ

    ขอลุงหมานเจริญในธรรมยิ่งแล้ว

    ทำไมหลวงพ่อฤาษีลิงดำถึงห่วงนักห่วงหนา
    กระผมเริ่มเข้าวงแต่ไม่เข้าจัยขอรับ
     
  8. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    สาธุ เป็นธรรมที่ใช้คำที่ลึกและสูง ผู้ที่เริ่มต้นกระทำการเรียนรู้ จะมองว่าธรรมส่วนนี้ยังไม่เข้าใจที่จะหยั่งให้ลึกลงไปในคำความหมายและยังไม่เห็นถึงคุณประโยชน์ เพราะเขาจะรับได้อยุ่กับแบบเรื่องที่ มหัศจรรย์ อิทธิฤทธิ์ พิสดาร ปราฏิหารย์ เมื่อเข้าถึงความเป็นไปแห่งธรรมคิดว่าส่วนนี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ไม่น่าจดจำ ไม่น่าทำ ไม่น่ารื่นเริง ไม่น่าบรรเทิงใจ เวลานั้นคำเหล่านี้ที่เป็นไปโดยกลไกลแห่งธรรม เป็นวาระและขั้นตอนการดำเนินไป จะมาใส่ใจ และต้องเรียนรู้ถึงกระบวนการขั้นตอนของสภาวะธรรม คำเหล่านี้ที่ลุงหมานนำมากล่าวให้ได้รู้เป็นคำหรือข้อความให้ได้รู้หรือการที่จะต้องกระทำนั้นทำให้ท่านมะหน่อเข้ารูปเข้ารอยได้ ถือว่าท่านมะหน่อคงอยู่เหนือกว่าคำว่า ยังติดกันอยู่ที่ มหัศจรรย์ อิทธิฤทธิ์ พิสดาร ปราฏิหารย์ เป็นแน่แท้ ผมยอมรับยังติดอยู่ในส่วนนี้ (ไม่อุตริ แต่คิดว่ายังพอมีประโยชน์ในยุคของสังคมข่าวสารสมัยใหม่อยู่ ยังพอเกื้อหนุนให้ยังคงพระพุทธศาสนา สืบต่อไปได้อีกสักระยะ แต่ไม่ทิ้งวิมุติของความหลุดพ้นโดยนัยแห่งนิพพานแน่นอน ยังมีความเชื่ออีกว่าต้องทำให้คนเหล่านั้นได้หันมามองหรือเรียนรู้ให้เข้าใจให้ความสำคัญกับ ก.เอ่ยก.ไก่ เริ่มเรียนรู้นับเลขศูนย์ อ่านตัวเอ กันบ้าง ไม่ใช่ จะไปแบบ จุงเบย บ่องตง รัยมาณนี้)หวังว่าสักวันผมจะได้มีโอกาสเข้าถึงคำเหล่านี้และต้องนำมาใช้มาปฏิบัติแน่นอน โดยแท้จริง สาธุธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2013
  9. GLiKe

    GLiKe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +137
    คุณลุงหมาน....สาธุด้วยครับ คำบัญญัตินี้ลึก และหนา มีน้ำหนักของมันชัดเลยครับ..ผมตั้งสติอ่านหลายรอบเลยครับ สาธุๆครับ


    ....คุณมะหน่อแลดูเป็นคนน่ารักนะครับ (พูดจริงๆครับ) :)
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัททบัญญัติแจกออกได้ ๖ อย่าง คือ​
    ๑) วิชชมานบัญญัติ : บัญญัติที่มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง เช่น จิต เจตสิก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ฯลฯ
    ๒) อวิชชมานบัญญัติ : บัญญัติที่ไม่มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง เชน คน วัว ควาย หมา แมว ฯลฯ
    ๓) วิชชมาเนน อวิชชมานบัญัติ : บัญญัติที่มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง
    และไม่มีสภาวะปรมัตถ์รับรองทั้งสองอย่างผสมกัน
    เช่น เสียงผู้หญิง รสเปรี้ยว กลิ่นเหม็น ฯลฯ เสียง เป็นปรมัตถ์ ผู้หญิงเป็นบัญญัติ
    (คำแรกมีสภาวะปรามัตถ์รับรอง คำหลังไม่มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง)
    รส เป็นปรมัตถ์ (มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง ) เปรี้ยว (ไม่มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง)
    ๔) อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ : บัญญัติที่ไม่มีสภาวะปรมัตถ์รับรอง
    และมีสภาวะปรมัตถ์รับรองทั้งสองผสมกัน เช่น คนโกรธ ไม้แข็ง กินน้ำ ฯลฯ
    คนเป็นบัญัติ โกรธ เป็นปรมัตถ์ (คำแรกไม่มีสภาวะปรมัตถ์ คำหลังมีสภาวะปรมัตถ์รับรอง)
    ๕) วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ : บัญญัติที่มีสภาวะปรมัตถ์รับรองทั้งสอง
    คือทั้งคำแรกและคำหลัง เช่น จักขุวิญญาณ กุศลจิต ฯลฯ
    (มีสภาวะปรมัตถ์รับรองทั้งสองคำ คือ ทั้งคำหน้า และคำหลัง)
    ๖) อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ : บัญญัติที่ไม่มีสภาวะปรมัตถ์ทั้งสองรับรอง
    ทั้งคำแรกและคำหลัง เช่น พระอาทิตย์ พระราชกุมาร คนสวย ฯลฯ
    (ไม่มีสภาวะปรมัตถ์รับรองทั้งสองคำ ทั้งคำหน้าและคำหลัง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2013
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..ลุงๆสันตติ หรือ สันติ..การสืบต่อผมไม่รู้ครับ:cool::'(
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขออภัยครับตัว (ต) เขียนตกไปครับ (แก้แล้วครับ)ขอบคุณที่ท้วงติง
    ความหมายอาจเปลี่ยนไป
    สันตติ คือ ความสืบต่อ
    สันติ คือ ความสงบ (บางที่ใช้กับคำว่านิพพาน)
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทีนี้มารู้จักคำว่าผล

    ผลของกรรมนั้น มี ๓ อย่าง คือ ๑. วิบากผล ๒. อานิสงส์ผล ๓. สามัญญผล

    ๑) วิบากผล หมายถึงผลของกุศลกรรม อกุศลกรรมที่สุกแล้ว
    ย่อมได้รับผลทั้งชาตินี้และชาติต่อๆไป วิบากผล คือการเสวยผลของกรรมที่ตนทำแล้วในอดีต
    ย่อมได้รับผลตรงตามกรรมที่ทำไว้ คือกุศลกรรม กรรมดีย่อมให้ผลดีเป็นความสุข
    อกุศลกรรม กรรมชั่ว ย่อมรับผลไม่มดีเป็นความทุกข์

    ด้วยเหตุนี้ ความสุข ความทุกข์ ที่ได้รับในปัจจุบันนี้ ล้วนเป็นผลของกรรมที่ตนทำมาทั้งสิ้น
    ไม่ใช่คนอื่นทำให้ เพราะทุกคนมีการกระทำการงานด้วยตนเองทุกคน จึงมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท
    ต้องได้รับผลของกรรมที่ทำไว้ มีกรรมเป็นกำเหนิด เพราะกรรมมีการจำแนกให้เกิดต่างๆกัน
    มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือกรรมที่ทำแล้วจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ

    ถ้าทำกรรมดี ก็ได้เผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่ดี ถ้าทำกรรมชั่ว ก็ได้เผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่ชั่ว
    ทุกคนจึงมีกรรมเป็นที่พึ่งเป็นที่อาศัย ถ้ากรรมดีก็ได้ที่พึ่งเป็นสุข ถ้ากรรมชั่วก็ได้ที่พึ่งเป็นทุกข์
    และเมื่อถึงคราวกรรมให้ผล จะสุขหรือทุกข์ก็ต้องรับทั้งนั้น

    เหตุนี้เมื่อปรารถนาผลอะไร ก็ต้องทำเหตุให้ตรงกับผลที่ต้องการ
    จึงจะได้ผลสมความปรารถนา เพราะความสุข ความทุกข์ที่ได้รับอยู่ทุกวันนี้
    เป็นสิ่งที่เราจะเลือกเอาตามใจชอบไม่ได้ เพราะเป็นผลที่สำเร็จมาแล้วจากการกระทำกรรมมาในอดีต
    เหตุนี้เมื่อจะทำกรรมอะไรจงคิดถึงผลที่จะต้องได้รับเสมอ

    วิบากท่านอุปมาเหมือนว่าเงา ส่วนกุศลกรรม อกุศลกรรมเปรียบเหมือนคน
    ถ้าไม่มีคนเงาก็ไม่มี คือ กุศล อกุศลไม่มีวิบากจะมีแต่ที่ไหน
    วิบากที่ได้รับในปัจจุบันนี้ย่อมสะท้อนให้รู้ถึงกรรมในอดีตว่าทำกรรมมาอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2013
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. อานิสงส์ผล หมายถึง ผลที่หลั่งไหลมาจากกรรมที่ทำมาจากปัจจุบัน
    ให้ได้รับผลในปัจจุบัน เช่นคนดีมีศีล ย่อมมีคนรักใคร่นับถือไว้วางใจ
    มีเกียรติยศชื่อเสียง เป็นต้น ถ้าคนทุศีลทำความชั่ว ย่อมเป็นที่เกลียดชัง
    ถูกติเตียนด่าว่า เป็นต้น ส่วนวิบากผลที่เกิดจากศีล ต้องรอให้กรรมสุกจึงจะได้ผล
    เช่น วิบากผลของศีล ที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาในชาติหน้าและยังทำให้มีรูปสวย เป็นต้น
    ถ้าเป็นวิบากผลของกรรมในปัจจุบันก็มีได้ แต่ว่ามีผลน้อยเพราะเป็นผลจากชวนะดวงที่๑ เท่านั้น
    เช่นคนทำกรรมดีก็ทำให้ใจสบาย คนทำชั่วก็ทำให้ใจเป็นทุกข์
    ส่วนอานิสงส์ผลเป็นผลที่หลั่งไหลมาจากกรรมที่ทำในปัจจุบันเท่านั้น

    ตัวอย่างอานิสังส์ผลที่ได้รับในปัจจุบันชาตินี้ เช่นการเข้าฌานสมาบัติ เป็นอานิสงส์ของผู้ที่ได้ฌานเป็นวสี
    ถ้าเป็นวิบากผลทำให้เกิดเป็นพรหม การทำอภิญญา เป็นอาสงส์ผลของผู้ที่ได้รูปาวจรปัญจมฌานจึงทำอภิญญาได้
    แต่เป็นวิบากผลไม่ได้
    ผลสมาบัติ เป็นอานิสงส์ผลของโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยฌาน พระอริยะบุคคลย่อมเข้าผลสมาบัติได้
    โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ พระอริยะไม่ได้ฌานย่อมเข้าเข้าผลสมาบัติไม่ได้
    นิโรธสมาบัติ เป็นอานิสงส์ผลของพระอริยะบุคคลที่เป็นพระอนาคามี
    และพระอรหันต์ที่ได้สมาบัติ ๘ ย่อมดับ จิต เจตสิก จิตตชรูป ไม่รู้อารมณ์เหมือน
    ผู้ปรินิพพานแล้ว ปฏิสัมภิทา เป็นอานิสงส์ผลของปัญญาโลกุตตระ ต้องได้ มัค ผล จึงจะเกิดปฏิสัมภิทาได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มีนาคม 2013
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. สามัญญผล หมายถึง ผลที่เกิดจากอริยมัคมีองค์ ๘
    ที่เป็นโลกุตตร มีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นผลที่ทำให้เป็นพระอริยบุคคล
    สามัญญผลไม่ใช่ผลของปุถุชน เพราะมีวิเคราะห์ศัพท์ว่า

    สมณสฺส อตฺโถ = สามญฺญผล (ผลของสมณะ ชื่อว่าสามัญญผล )
    สมณะ คือผู้สงบจากกิเลสแล้วตามมัคค์ที่ประหาณกิเลสได้

    สามัญญผล ให้ผลเฉพาะในปวัตติกาลไม่ให้ผลในปฏิสนธิกาล
    เพราะเป็นผลที่ทำให้สิ้นภพสิ้นชาติ
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หลังจากการทำสังคยนาผ่านไปไม่นานนัก การแตกแยกจึงเกิดเป็น ๒ ฝ่าย

    พระเถระรูปหนึ่งชื่อว่า ปุราณะ พร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ รูป
    ซึ่งพำนักจำพรรษาอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบท ในคราวที่ทำสังคยนา
    เมื่อทราบว่าสังคยนาทำเเสร็จแล้ว ท่านและบริวารจึงได้เข้าสู่กรุงราชคฤห์
    พระสังคีติกาจารย์ได้เข้าไปแจ้งให้ทราบว่า พระสงฆ์ทำการสังคยนากันแล้ว
    ขอใหท่านยอมรับในการทำสังคยนาครั้งนี้ด้วย พระปุราณะกลับกล่าวว่า

    "ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายได้ทำการสังคยนาพระธรรมวินัยกันเรียบร้อยก็ดีแล้ว
    แต่ผมได้ฟังได้รับมาจากเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าว่าอย่างไร จักถือปฏิบัติตามนั้น
    เมื่อได้ชี้แจงกันเป็นที่พอสมควรแล้ว ปรากฎว่าพระปุราณะมีความเห็นตรงกับพระสังคีติกาจารย์เป็นส่วนมาก
    แต่ก็มีความเห็นขัดแย้งกันเรื่องวัตถุ ๘ ประการ ซึ่งเป็นพุทธานุญาตพิเศษ
    ที่ทรงอนุญาตให้ พระทำได้ในคราวเกิดทุพพภิกขภัย แต่เมื่ภัยเหล่านั้นระงับก็ทรงบัญญัติห้ามมิให้กระทำอีก
    เรื่องทั้ง ๘ เรื่องนั้นคือ >>>

    >>>มาติดตามตอนต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มีนาคม 2013
  17. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    อนุโมทนาสำหรับความรู้ดี ๆ ที่มีมาให้อ่าน สาธุ สาธุ สาธุ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เรื่องทั้ง ๘ เรื่องนั้นคือ >>>
    ๑) อันโตวุฏฐะ เก็บของที่เป็นยาวกาลิก คือ อาหารไว้ในที่อยู่ของตน
    ๒) อันโตปักกะ มีการหุงต้มอาหารในที่อยู่ของตน
    ๓) สามปักกะ พระลงมือหุงต้มด้วยตนเอง
    ๔) อุคหิตะ คือการหยิบของเคี้ยวของฉันที่ยังไม่ได้รับประเคน
    ๕) ตโตนีหตะ ของที่มาจากนิมนต์ ซึ่งเป็นพวกอาหาร
    ๖) ปุเรภัตตะ การฉันอาหารก่อนเวลาฉันอาหาร ในกรณีที่ตนรับนิมนต์จากที่อื่น แต่ฉันก่อนอาหารที่ตนจะต้องฉันในที่นิมนต์
    ๗) วนัฏฐะ ของที่ตกอยู่ในป่า ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ
    ๘) โปกขรัณฎฐะ ของที่เกิดอยู่ในสระ เช่น ดอกบัว เง่าบัว
    วัตถุทั้ง ๘ อย่างนี้พระพุทธานุญาตพิเศษ ในคราวทุพพภิกขภัย ๒ คราว คือ
    ที่เมืองเวสาลีและที่เมืองราชคฤห์ แต่ทุพพภิกขภัยหายไปแล้ว ทรงห้ามมิให้พระภิกษุกระทำ
    พระปุราณะและพวกของท่าน คงจะได้ทราบเฉพาะที่ทรงอนุญาต จึงทรงจำไว้อย่างนั้น
    เนื่องจากการอยู่กระจัดกระจายกัน การติดต่อบอกเล่ากันบางทีบางเรื่องทำไม่ได้
    จะถือว่าท่านดื้อรั้นเกินไปก็ไม่ถนัดนักเพราะท่านถือเอาตามที่ท่านได้สดับมาจากพุทธสำนักเหมือนกัน
    เมื่อฝ่ายสังคีติกาจารย์ชี้แจงให้ท่านฟัง ท่านกลับมีความเห็นว่า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณ
    ไม่สมควรจะบัญญัติห้ามแล้วจะมาอนุญาต อนุญาตแล้วกลับบัญญัติห้ามอีกมิใช่หรือ?

    "เพราะพระองค์ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง จึงทรงรู้ว่ากาลใดควรห้าม กาลใดควรอนุญาต "
    พระมหากัสสปเถระกล่าว และได้กล่าวเน้นให้พระปุราณะทราบว่า มติของที่ประชุมได้ตกลงกันว่า
    "จักไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธมิได้ทรงบัญญัติขึ้น จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
    จักสมาทานศึกษาสำเหนียก ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติไว้"

    พระปุราณะยืนยัว่า ท่านจะปฏิบัติตามมติของท่าน ที่ได้สดับมา
    หลักฐาณฝ่ายมหายานบอกว่า พระปุราณะไม่ยอมรับเรื่องวัตถุ ๘ ประการนี้
    แล้วนำพาพวกของตนไปจัดการสังคยนาขึ้นอีกต่างหาก ซึ่งแน่นอนว่า วัตถุ ๘ ประการนี้
    ซึ่งตามพระวินัยห้ามมิให้กระทำ และปรับอาบัติปาจิตตีย์บ้างทุกกฎบ้างนั้น
    ฝ่ายพระปุราณะถือว่าทำได้ เป็นอันว่า

    "ความแตกแยกในข้อปฏิบัติ คือความเสียแห่งสีลสามัญญตาได้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา
    หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปไม่นานเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ความไม่เสมอกันในด้านการปฏิบัติ
    อย่างน้อยได้แตกแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย
    - ฝ่ายที่ยอมรับนับถือมติของพระสังคีติกาจารย์ ในคราวปฐมสังคยนา
    - ฝ่ายที่สนับสนุนคล้อยตามมติของพระปุราณะกับพวก
    อย่างน้อยฝ่ายนี้ย่อมมีไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ รูป ซึ่งในที่สุดฝ่ายพระปุราณะต้องได้พวกเพิ่มขึ้นอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มีนาคม 2013
  19. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ลุงหมานลองเอา
    อัตตะ
    กับ
    วุฏฐะ

    แยกออกจากกันแล้วไปอิงธรรมข้ออื่นดูไหมครับ

    เพราะมีอุคกับหิตะเช่นกัน

    ทำไมผมข้ามสำนวนมา
    อักขระวิธีที่พระพุทธองค์แสดงไว้
    มีระเบียบแบบแผนอยู่หรือไม่

    อย่างเรื่องสมมุติโลกมีต่ำมีสูง

    ลุงหมานกล่าวเรื่องมานะมาก่อน
    วิชชามานบัญญัติ
    แล้วมากล่าวถึงผลกรรม

    คือวิบาก
    สามัญ
    และอานิสงค์

    และยังมากล่าวเรื่องแปดเรื่อง
    ยอมรับขอรับหากปฏิสนธิกับปฏิสนธิกับๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆยาวยาวแล้วยาก
    และแทบจะเป็นเรื่องอจินไตย
    คือยาวมากๆไม่รู้ที่จบ
    เรียกว่ามหากาพย์

    หรือมหา..............คราบ

    ของเปลือกหอยที่ยังไม่ตายจะยาวไปเรื่อยๆ

    ดังนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่ที่มี

    มหานิกาย
    และธรรมยุติ

    เราจะทำให้เป็นธรรมหรือยุติ
    หรือเราจะทำให้เป็นมหา

    หากการเกิดสมดุลย์ในธรรมนั้นแล้วมหาได้
    อจินไตยได้
    แต่หากไม่เกิดดุลย์นั้น
    หากแกว่ง
    อะไรที่สูงๆแกว่งแล้วไม่ดุลย์
    ไม่รอด

    แล้วเราต้องการยุติธรรมหรือไม่


    กระผมอยู่ระดับศึกษาขอรับ

    โอ้............ยาก

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในสมัยพุทธกาลถือการฟังเป็นหลัก
    ท่านจะแสดงไปในแนวเดียวกัน คือตามหลักที่พระองค์ทรงแสดงไว้
    การแสดงธรรมจะเป็นพระอริยะบุคคลเป็นส่วนมาก
    ปัญหาการแสดงธรรมที่คลาดเคลื่อนจากพุทธวจนะจึงไม่มี
    นอกจากพระท่านที่ยังเป็นปุถุชนที่เป็นพระเถรานุเถระทั้งหลาย
    มีความรู้สึกรับผิดชอบในธรรมวินัยสูงมาก
    ใครประพฤติผิดจากธรรมวินัยจะมีการว่ากล่าวตักเตือนกันก่อน
    หากไม่ยอมเปลี่ยนความคิด จะนำเรื่องนั้นเข้าสู่พุทธสำนักเพื่อทรงวินิจฉัย

    แต่ในตอนปลายพุทธสมัยมีการจำผิด สอนผิดบ้างเหมือนกัน
    อาจเป็นเพราะว่าพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปไกลมาก
    การติดต่อสอบถามกันทำได้ยากขึ้น บางท่านก็อยู่ไกลไปไม่อาจเข้ามาเฝ้าบ่อยได้เป็นต้น
    การจำผิดสอนผิดบางคราวก็ผิดไปไกลมาก บางคราวก็ไม่ห่างไปจากหลักธรรมมากนัก

    ในคราวหนึ่ง พระอานนทเถระเดินผ่านไปทางป่าไผ่ ได้ยินเสียงพระภิกษุรูปหนึ่งสาธยายคาถาธรรมบทว่า
    " บุคคล แม้มีอายุตั้งร้อยปี ถ้าไม่เห็นนกหงส์ทะเลแล้วไซร้ สู้คนที่มีอายุเพียงวันเดียวแต่เห็นนกหงส์ทะเลไม่ได้"
    พระเถระจึงแวะเข้าไป บอกภิกษุรูปนั้นว่า ที่สาธยายนั้นไม่ใช่พุทธภาษิต จงมนสิการให้ดี
    เราจะกล่าวให้ฟัง ให้สำเนียกทรงจำไว้ แล้วพระเถระก็กล่าวว่า
    " บุคคล แม้มีอายุตั้งร้อยปี แต่ไม่รู้รอบรู้ความเกิดดับไซร้ ย่อมสู้คนที่มีอายุเพียงวันเดียวแต่เห็นความเกิดดับไม่ได้"

    ภิกษุรูปนั้นจำไว้แล้ว ไปเรียนให้อาจารย์ของตนทราบ อาจารย์กลับบอกว่า
    พระอานนทเถระท่านแก่แล้ว มักจำอะไรผิดพลาดไม่ควรเชื่อถือ ให้ท่องไปตามที่บอกนั่นแหละ
    เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นต้องท่องผิด จำผิดต่อไปเช่นเดิม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...