ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำบุญบริจาคสร้างองค์พระอุปคุต ถวาย ณ วัดถ้ำปลา

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย กุมารไฟ, 12 เมษายน 2013.

  1. กุมารไฟ

    กุมารไฟ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +9
    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำบุญบริจาคสร้างองค์พระอุปคุต และศาลากลางน้ำ ถวาย ณ วัดถ้ำปลา (ถ้ำลิง) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อนำองค์พระอุปคุตไปประดิษฐานไว้ณ ศาลากลางน้ำ จึง กราบเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาสมทบสร้างองค์พระอุปคุตหน้าตัก 29 นิ้ว

    ท่านผู้มีศรัทธาในการสร้างทานบารมีในครั้งนี้สามารถร่วมบุญกับข้าพเจ้าได้ครับที่
    บัญชีธนาคาร กสิกรไทย ชื่อบัญชี ณภคพล เกิดแก้ว
    เลขบัญชี 271-2-09834-4
    โทร 085-0338941
    ติดต่ออีเมล phakapol_2013@hotmail.com
    หรือท่านใดที่ไปเที่ยวที่วัดหรืออยู่ใกล้ๆ สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่ท่านเจ้าอาวาสได้เลยนะครับ


    ท่านที่ร่วมบุญกรุณา แจ้งชื่อ ที่อยู่ ไว้ด้วยนะครับจะได้เอาใส่พานร่วมพิธี ในวันทำพิธีแผ่เมตตาให้เรา ชีวิตเราจะได้ดีขึ้นครับ

    รายละเอียดคราวๆตอนนี้นะครับ ตอนได้บุญร่วมสมทบจาก คุณหมออรพรรณ เมฆสุภะ เพื่อสร้างศาลากลางน้ำกับสะพาน 10,000 บาท และที่มีศรัทธาบริจาคมาบวกกับของผมบางส่วนเพื่อสร้างศาลากลางน้ำ ขนาดของเกาะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 เมตร ศาลากว้าง 2 คูณ 2 เมตร ติดกระจกทั้งสี่ด้าน (สาเหตุที่ต้องติดกระจกเพราะที่วัดมีลิงเยอะมาก) ส่วนสะพานความยาวจากฝั่งถึงเกาะ 13 เมตร ส่วนวันและเวลาถวายและทำพิธีปลุกเสกจะแจ้งให้ภายหลังอีกทีนะครับ


    ขอแผ่บุญกุศลทุกทุกท่านที่มีส่วนร่วมบุญกุศลในการร่วมกันสร้างองค์พระอุปคุตและศาลากลางน้ำในครั้งนี้
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพและพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด...
    หากยังไม่ถึงพระนิพพนานเพียงใด ขอคำว่าไม่ได้ไม่มีจงอย่าบังเกิดกับข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสูพระนิพานเทอญ
     
  2. กุมารไฟ

    กุมารไฟ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +9
    ประวัติพระอุปคุต

    ประวัติพระอุปคุต
    ตำนาน พระอุปคุต ( พระบัวเข็ม )


    เชื่อกันตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นบุตรของเศรษฐีของเมืองมถุรา ริมฝั่งแม่น้ำยมนา เกิดหลังพระพุทธองค์ปรินิพานแล้ว ๒๐๐ ปีแต่เนื่องจากบิดาได้เคยสัญญาก่อนที่จะมีบุตรต่อพระสาณวารี ว่าหากมีบุตรชายจะให้ออกบวช จนกระทั้งได้บุตรชาย ( พระอุปคุต ) เมื่อถึงอายุบวชท่านก็ได้ออกบวชหลังจากออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา พระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมตามรอยพระพุทธองค์และได้บำเพ็ญอยู่ใต้ท้องทะเล หรือสะดือทะเลจากนั้นไม่นาน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในครั้งนั้นพุทธศาสนาเสื่อมถอยลงเนื่องจาก มีกลุ่มชาวบ้านแฝงมาอาศัยผ้าเหลืองหากินทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เสื่อมศรัทธาในพระศาสนา ในครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชดำรัสที่จะชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ ตามเจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางการดำเนินแนวทางไว้ให้ จึงทรงสร้างพระสถูปเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 84,000 องค์ ครั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์จะจัดการฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ ให้สมพระราชศรัทธา โดยจะจัดฉลองเป็นเวลาถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ทรงเห็นว่า งานสมโภชพระมหาธาตุนี้เป็นงานใหญ่ เกรงว่า จะมีอันตรายและมีปัญหาต่างๆพระองค์ทรงขอให้คณะสงฆ์หาทางช่วยป้องกันเหตุต่างๆโดยขอให้คัดเลือกพระเถระผู้สามารถมาช่วยป้องกันภัยอันตราย เมือพระเถระเข้าญาณพิจารณา ก็ทราบด้วยญาณของตนว่า เนื่องในงานสมโภชพระมหาเจดีย์ครั้งนี้ภัยจะเกิดขึ้น ต่างก็หาวิธีแก้ไขต่างๆ จึงได้ทำการปรึกษากับคณะสงฆ์ พระสงฆ์ทั้งปวงจึงกล่าวว่า “พระอุปคุตที่จำศีลอยู่กลางสะดือทะเล เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์มากสามารถเนรมิตครอบแก้วคลุมตนไว้ ควรที่มหาบพิตรจะไปอารธนามาดูแลละป้องกันภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น”พระองค์ทรงทราบความจึงขอให้คณะสงฆ์ ไปทำการอารธนา พระเถระทั้งหลายจึงให้พระภิกษุหนุ่ม 2 รูป ผู้ทรงอภิญญาสมาบัติไปอาราธนาพระอุปคุต ( ชื่อเต็มว่า พระกีสนาคอุปคุตมหาเถระ ) มาสู่ที่ประชุม พระภิกษุ 2 รูปนั้น จึงเข้าญานสมาบัติระเบิดน้ำลงไปหาท่านพระอุปคุตแล้วแจ้งให้ทราบว่า “บัดนี้คณะสงฆ์ทั้งหลายมีเถรบัญชาให้ข้าพเจ้าทั้งสองมาอาราธนาพระคุณท่านไปร่วมการประชุมเพื่อปรึกษางานพระพุทธศาสนา” พระอุปคุตเถระทราบสังฆบัญชาเช่นนั้น คิดว่าจะต้องไปร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะขัดคณะสงฆ์ไม่ได้ ต้องเคารพอำนาจแห่งหมู่สงฆ์ และงานนี้ก็เป็นงานพระพุทธศาสนา จากนั้นพระอุปคุตเถระจึงบอกภิกษุ 2 รูปนั้นว่า “ท่านจงกลับไปก่อนเถิด เราจะตามไปทีหลัง” พระภิกษุหนุ่ม 2 รูปนั้นกราบลาเดินทางล่วงหน้ามาก่อน พระอุปคุตจึงเข้าญาณสมาบัติมาถึงสำนักพระเถรานุเถระทั้งหลาย ก่อนภิกษุหนุ่ม 2 รูป พระสังฆ์เถระประชุมสงฆ์ จึงกล่าวแก่พระอุปคุตว่า “คณะสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่ท่าน เพราะความผิดที่ท่านไม่มาร่วมสังฆ์ กรรม ทำอุโบสถ ฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกับคณะสงฆ์ “พระอุปคุตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีรับทัณฑกรรมที่คณะสงฆ์จะลงโทษ” พระสังฆ์เถระในที่ประชุมสงฆ์แล้วว่า “บัดนี้พระยาศรีธรรมาโศกราช ทรงปรารถนาจะทำการสมโภชพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ 84,000 องค์ ที่ทรงสร้างไว้ในชมพูทวีปทั้งหมด ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ให้สมพระราชศรัทธา แต่เกรงว่าการสมโภชนั้นจะไม่พ้นภัย เกรงพญามารจะขัดขวางทำลายไม่ให้พระราชพิธีสมโภชนั้นดำเนินไปด้วยดี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ตรัสให้คณะสงฆ์ช่วยป้องกัน พระอุปคุต จึงถาม “พระคุณเจ้าทั้งหลายแจ้งมาว่า จะให้ข้าพเจ้าทำประการใด” พวกเราไม่มีใครสามารถจะช่วยได้ เห็นแต่ท่านผู้เดียวเท่า พระอุปคุตจึง ก้มลงกราบแล้วกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายินดียอมรับทัณฑกรรม” เมื่อได้ผู้ป้องกันภัยอันตรายในการบำเพ็ญกุศลแล้ว คณะสงฆ์ โดยมี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน จึงถวายพระพรให้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ๆ ทรงโสมนัสยิ่งนัก นั้นอีก แล้วมาเพื้อป้องกันภัยในครั้งนั้น จากนั้นข่าวการสมโภชพระมหาธาตุก็ได้กระจายไปทั้ว ครั้งต่อมาพระองค์ทอดพระเนตรเห็นองค์พระอุปคุตมหาเถระแล้วก็หนักพระทัย เพราะท่านมีร่างกายผ่ายผอมและทรงเล็กมาก พระองค์จึงทดสอบโดยเมื้อครั้นรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นพระอุปคุตเดินไปบิณฑบาตทรงมีพระราชบัญชาสั่งให้พนักงานเลี้ยงช้าง ปล่อยช้างตกมันไล่พระอุปคุตเพื่อทดสอบ พระอุปคุตมหา เถระเห็นช้างวิ่งไล่มาข้างหลัง จึงเข้าญาณสมาบัติอธิษฐานจิตให้ช้างตัวนั้นแข็งประดุจหิน ไม่อาจขยับเขยื้อนได้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงขอขมาและทรงพอพระทัยยิ่งนัก เกิดความเคารพนับถือพระมหาเถระอุปคุตเป็นอันมาก ครั้นได้มงคลฤกษ์จึงเริ่มบุญพิธีสมโภชพระมหาเจดีย์ตามพระราชประสงค์ ครั้งพญามารรู้ข่าวจึงคิดจะหยุดงานสมโภช ตำนานกล่าวว่า พญามาร หรือ พญาวัสวดีมาราธิราช ซึ่งเป็นตนเดียวกับที่ขัดขวางพระพุทธองค์ครั้งบำเพ็ญเพียรก่อนที่จะตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ คิดจะทำลายพิธีนั้น จึงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดมหาวาตพายุอย่างร้ายแรง มีกำลังพัดมาประหนึ่งจะถล่มแผ่นดินให้ทลาย พระอุปคุตเถระเห็นอากาศวิปริตอย่างนั้นทราบชัดด้วยญาณอันประเสริฐของท่าน ว่า บัดนี้พญามารมาทำลายแล้ว ท่านจึงเข้าญาณสมาบัติโดยพลัน อธิษฐานให้เกิดเป็นลมเหมือนกัน แต่ลมของพญามารก็พ่ายแพ้ พญามารก็แผลงฤทธิ์ใหม่ เป็นลมกรด เป็นเพลิง เป็นทรายเพลิง เร่าร้อนด้วยไฟ และประการอื่นอีกหลายอย่างเพื้อทำลายพิธีฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ จนพญามารเกิดโทสะแรงกล้าพยายามจะทำลายล้างพระมหาเถระ จึงปรากฏตัวเป็นพญามารเข้าไปทำร้าย พระอุปคุตมหาเถระเห็นว่า พญามารตนนี้มีแต่ความดุร้ายคอยทำลายแต่บุญกุศลต่างๆในบวรพระพุทธศาสนา รวมทั้งไม่มีความสำนึกในบาปต่างๆ จนพระอุปคุตได้เนรมิตสุนัขตายเน่าตัวหนึ่งมีน้ำหนองและหนอนไชออกมาแขวนคอพญามารไว้แล้วอธิษฐานไม่ใครถอดออกได้ พญามารจึงซมซานไปหาท้าวโลกบาลทั้ง 4 ขอร้องให้ช่วยแก้สุนัขเน่าออกจากคอ ท้าวจตุมหาราชบอกว่า แก้ไม่ได้ พญามารจึงไปหาเทวดาองค์อื่น ๆ จนถึงท้าวมหาพรหม ๆ ก็ไม่สามารถจะช่วยแก้ได้ ท้าวมหาพรหมจึงพูดว่า “เราก็ช่วยท่านไม่ได้ ต้องลงไปขอขมาท่านพระอุปคุตมหาเถระ แล้วอ้อนวอนให้ท่านช่วยแก้” ดังนั้นพญามารจึงรำพันขึ้นว่า “พระรูปนี้เป็นเพียงสาวกของพระพุทธองค์เท่านั้นแต่ยังอวดดีมาทำร้ายเราได้ พระพุทธองค์ยังดีกว่าพระรูปนี้หลายเท่านัก ครั้งพระองค์ทรงตรัสรู้ ว่าเราจะทำร้ายเราก็สู้บรามีของท่านไม่ได้ต้องแพ้ภัยในครั้งนั้น แต่ถึงจะสาหัสเพียงใหน แต่ก็ไม่มีเลยที่พระองค์จะทรงกริ้วและประทุษร้ายตอบเรา” ด้วยเหตุนี้ พญามารจึงเลื่อมใสในพระบารมีของพระพุทธองค์ จึงได้อธิษฐาน ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาล ด้วยจิตหยังรู้ของพระอุปคุตจึงแจ้งแก่พญามารว่า เหตุนี้เป็นพุทธทำนายและให้พระอุปคุตมาทรมานท่านให้ละลดเลิกและระลึกถึงความดีของพระพุทธองค์และจะอธิษฐานจิตเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล..ท่านอย่าได้โกรธเรา เราทำด้วยปราณี พระอุปคุตจึงคลายพันธนาการออกจากคอพญาวัสวดีมาร...



    เรื่องราวของท่านพระอุปคุต มีปรากฏอยู่ใน พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ดังนั้นอาจมีการปรับปรุงแก้ไขข้อความเพื่อความเข้าใจบ้าง ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวพม่ารามัญตลอดจนชาวไทยในภาคเหนือจึงพากันสร้างรูปพระมหาเถระอุปคุตไว้สักการบูชา แต่ด้วยยังไม่มีใครเคยเห็น รูปลักษณ์แห่งพระมหาเถระอุปคุตมาก่อน จึงไม่มีมาตรฐานอันใดในการที่จะจัดสร้างรูปพระมหาเถระอุปคุต ต่างคนจึงได้สร้างรูปของพระองค์นี้ขึ้นมาตามจินตนาการและตามความรู้ความสามารถในฝีมือการสร้างรูปพระมหาเถระอุปคุตของแต่ละคนขึ้นมา ดังนั้นเราจึงได้พบเห็นรูปของพระมหาเถระอุปคุตที่มีรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีสัญลักษณ์ของท่านอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ โดยที่ท่านจำพรรษาอยู่ ณ กลางสะดือทะเล จึงมักจะสร้างบนพระเศียรคลุมด้วยใบบัว โดยเฉพาะที่ฐานด้านหน้า ด้านหลัง และใต้ฐานจะทำเป็นรูป กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นสัตว์อยู่เฉพาะในน้ำซึ่งเป็นบริวารและเป็นสิ่งบอกถึงว่า พระองค์นี้คือ พระมหาเถระอุปคุต อันมี วิหารแก้วประดิษฐานอยู่ ณ กลางเกษียรสมุทร หรือ สะดือทะเล นั่นเอง บางองค์ก็ทำเป็นปุ่มปม มีตุ่มนูนตามหน้าผาก หน้าอกและทั่วพระวรกาย นิยมเรียกว่า เข็ม มี 3 เข็ม 5 เข็ม 7 เข็ม และ 9 เข็ม เชื่อกันว่าแต่เดิมนั้น ตามตุ่มที่ฝังเข็มนั้นเป็นช่องที่บรรจุพระธาตุและพระบรมธาตุ กล่าวกันว่ายิ่งมากเข็มเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น คนส่วนมากจึงมักจะนิยมแสวงหาพระบัวเข็มที่มีหลาย ๆ เข็ม พระอุปคุตของเขมรนิยมสร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์โดยสร้างเป็นรูป พระอุปคุตนั่งอยู่ในเปลือกหอยหรือกระดองเต่า เข้าใจได้ว่าคงจะอุปมาจากตำนานที่ว่าพระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมอยู่ ณ สะดือทะเล ส่วนพระบัวเข็มของพม่านิยมแกะด้วยไม้ ซึ่งความเชื่อในการสร้างบูชาพระอุปคุต ก็เพื่อให้บังเกิดโชคลาภ และบันดาลความร่ำรวย ร่มเย็นเป็นสุข แล้ว ก็ยังเชื่อว่ามีอานิสงส์ทางด้านแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆทั้งปวง จึงมีการสร้างพระอุปคุตเพื่อบูชากันมาแต่ครั้งโบราณ


    การตั้งบูชา นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์ สาวกของพระพุทธเจ้า

    วิธีสวดขอลาภ

    ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวด นะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด


    คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร

    ตั้งนโม ๓ จบ
    มหาอุปคุตโต มหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ
    (คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ ๑๐๘ ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก ๓ - ๗ คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)

    คำบูชาพระบัวเข็ม
    ตั้งนโม ๓ จบ
    กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ

    พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ
    ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ
     
  3. กุมารไฟ

    กุมารไฟ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +9
    วัดถ้ำปลาครับ

    [​IMG][​IMG]
    วัดถ้ำปลา หรือ วัดพุทธสถานถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำปลา หมู่ที่ 14 ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดย ถ้ำปลา มีลักษณะเป็นลำธารเล็ก ๆ ไหลออกจากใต้ภูเขาหินปูน ไหลทะลุผ่านภูเขาหลายเส้นทางโดยไหลออกทางหน้าปากถ้ำด้านทิศตะวันออกสายน้ำ เหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจาก น้ำตกห้วยเนี้ย ถ้ำนี้วัดความกว้างได้ประมาณ 2.50 เมตร ความสูงวัดจากฝั่งน้ำขึ้นไป สูงประมาณ 1.50 เมตร น้ำลึกประมาณ 0.50 เมตร และภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "พระทรงเครื่อง" เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้เป็นอย่างมาก

    ในอดีตถ้ำนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปในถ้ำได้ลึกประมาณ 10 เมตร และมักจะพบเศษกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) สมัยโบราณไหลมาตามน้ำ นอกจากนี้ บริเวณปากน้ำยังพบก้อนหินขนาดใหญ่ 3 ก้อน และลำธารที่น้ำไหลออกมานี้มีความลึก ประมาณ 3 เมตร มี "ปลาพวงเงิน" และ "ปลาไม้หีบ" แหวกว่ายไปมา สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ พระ สามเณร และเด็กวัดมักจะให้ข้าวเป็นอาหาร ต่อมาประมาณปี พ.ศ 2526 พระสงฆ์ที่จำพรรษา ชื่อ พระสาม ซึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ได้ปรับปรุงและบูรณะปฎิสังขรณ์ โดยขุดลอกขยายบริเวณปากถ้ำและปรับก้อนหินให้เป็นบันไดทางเข้าถ้ำ บริเวณที่ต่อเนื่องกับเปลวปล่องฟ้าซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้




    ตำนาน "วัดถ้ำปลา"

    มีตำนานเล่าว่า ... เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์และออกบิณฑบาตที่เมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน ได้ดำเนินเลียบเชิงเขามายังถ้ำแห่งหนึ่ง (ถ้ำเปลวปล่องฟ้าในปัจจุบัน) ปรากฏว่ามีชาวบ้านนำปลาหนีบไม้ปิ้งมาใส่บาตร พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิฐานให้ปลากลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง จากนั้นได้ปล่อยลงรูเหวในถ้ำ เกิดเป็นธารน้ำไหลออกมาทางหน้าผาด้านตะวันออก จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำก้อนหินปิดรูเหวที่เทน้ำลงไป และนำเส้นพระเกศาไว้ในหินให้เป็นที่สักการะบูชาของคนต่อไป จนกระทั้งราวพุทธศตวรรษที่ 15 เจ้าอุชุตราช ผู้ครองโยนกนคร ได้สถาปนาพระเจดีย์และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในถ้ำ นับแต่นั้นมาจึงเรียกกันว่า "ถ้ำปลา"

    ทั้งนี้ "ถ้ำปลา" มีลักษณะเป็นโพรงหินกว้างใหญ่ลึกเข้าไปในภูเขา อยู่ระดับต่ำกว่าพื้นดิน มีน้ำใสเย็นไหลออกมาตลอดปี ในอดีตมีปลาชุกชุมตามธรรมชาติเวียนว่ายอยู่ในแอ่งบริเวณปากถ้ำ เรียกว่า "ปลาพวงหิน" หรือ "ปลาพุง" ลักษณะรูปร่างกลมยาว มีเกล็ดตามลำตัวคล้ายปลาช่อน แต่สีออกน้ำเงินเข้ม มีแถบสีน้ำเงินพาดสีข้าง ลำตัวยาวร่วมคืบ และยังมีปลาสวยงามอีกหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแทบไม่เหลือให้เห็น ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำปลาสวยงามมาปล่อยเป็นจำนวนมาก เช่น ปลาดุก ปปลาคาร์ฟ ปลาไหล ปลาทับทิม ปลาเงินปลาทอง ปลาไน และ เต่า ฯลฯ

    [​IMG][​IMG]

    บริเวณ วัดถ้ำปลา ยังมีลิงป่าฝูงใหญ่อาศัยอยู่บนยอดเขาเหนือปากถ้ำ คนท้องถิ่นจึงเรียกชื่อวัดด้วยอารมณ์ขันว่า "วัดถ้ำลิง" ที่มักจะลงมาหาอาหารจากนักท่องเที่ยว ซึ่งลิงป่าเป็นพันธุ์ไอ้เนี๊ยะ สายพันธุ์เดียวกับลิงที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีเพียงสองแห่งในประเทศไทย นับเป็นลิงที่สมควรอนุรักษ์
    [​IMG][​IMG]


    ภายใน "วัดถ้ำปลา" ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย ดังนี้...



    ถ้ำเปลวปล่องฟ้า

    ถ้ำนี้ตั้งอยู่บนยอดเขามีลักษณะเป็นถ้ำทะลุสู่ท้องฟ้า แสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านพื้นถ้ำได้ ปากถ้ำเป็นหน้าผาสองข้างร่มรื่น ภายในมีเป็นลานขนาดใหญ่ ด้านบนเป็นปล่องอากาศขนาดใหญ่ ทำให้มีแสงส่องเข้าไปในถ้ำสวยงามแปลกตา มีผู้สร้างพระพุทธรูปและเจดีย์ขนาดย่อมเอาไว้ภายในถ้ำ เล่ากันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระอนุชตราชแห่งแคว้นโยนก ภายในเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า

    การขึ้นไปชมถ้ำนี้นักท่องเที่ยวจะต้องเดินบันได ซึ่งวัดระยะทางจากทางขึ้น บันไดชั้นแรกถึงปากถ้ำ ประมาณ 180 เมตร ที่ระยะความสูง ประมาณ 90 เมตร ทางแยกซ้ายมือ นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดไปยังจุดชมวิว ซึ่งมีความสูง ประมาณ 17 เมตร เมื่อเดินลงมาจากจุดชมวิวแล้วจะเป็นทางเดินเรียบ ระยะทางประมาณ 11 เมตร จะถึงบริเวณปากถ้ำช่วงแรก ซึ่งมีช่วงกว้างที่สุดวัดได้ประมาณ 4.40 เมตร ช่วงแคบที่สุดวัดได้ประมาณ 2.50 เมตร ความสูงของถ้ำช่วงนี้วัดได้ประมาณ 1.90 เมตร ด้านบนสุดเป็นช่อง (ปล่อง) ทะลุท้องฟ้า แสงอาทิตย์สามารถลอดผ่านได้ถึง 2 ช่อง ช่องที่ 1 กว้างที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกวัดความกว้างได้ประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 15 เมตร ช่องที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันตก วัดความกว้างได้ประมาณ 3 เมตร สูงประมาณ 20 เมตร ด้วยเหตุนี้ถ้ำนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ถ้ำเปลวปล่องฟ้า
    [​IMG]

    ถ้ำกู่แก้ว

    อยู่ด้านขวาของพระวิหาร เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึกที่สุดของบริเวณนี้ ทางขึ้นถ้ำเป็นบันได 29 ชั้น วัดความกว้างของปากถ้ำได้ประมาณ 4.60 เมตร ความสูงประมาณ2.16 เมตร ลึกประมาณ 509 เมตร ภายในถ้ำเป็นทางเดินที่คดเคี้ยวบางแห่งเป็นโพรงขนาดใหญ่ บางแห่งเป็นทางเดินแคบ ๆ ต้องคลานไประหว่างทางเดินจะพบหินงอก หินย้อย ที่สวยงาม ละลานตา มีน้ำหยดตลอดทางเดิน ภายในถ้ำจึงชื้นและลื่น ประมาณกึ่งกลางถ้ำจะพบหลุมโพรงหินลึก 2 หลุม ซึ่งนักท่องเที่ยวควรระมัดระวังขณะเที่ยวชมเป็นอย่างมาก

    นอกจากนี้ จะพบหินงอกที่ก่อตัวขึ้นใหม่ของชาวบ้านที่เรียกว่า "นมสาว" และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ภายในถ้ำเป็นระยะ ๆ บริเวณจุดลึกที่สุด จะพบห้องพระร้อยองค์ซึ่ง พระครูบาชุ่ม ได้ปั้นไว้เมื่อครั้งที่ท่านเคยปฎิบัติกรรมฐานอยู่เรียงรายอยู่อย่างสวยงาม เป็นที่ประทับใจยิ่ง และ่ด้วยความที่ถ้ำมืดและลึก จึงต้องมีผู้ชำนาญถือไฟฉายนำเข้าไป



    ถ้ำฆ้อง หรือ ถ้ำก้อง

    มีลักษณะป็นโพรงลึก ทางลงต้องปีนป่ายไปตามโขดหินถึงพื้นถ้ำ วัดความกว้างของถ้ำได้ ประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 2.10 เมตร ต่อจากบริเวณนี้เดินลัดเลาะตามโขดหินไปทางทิศตะวันออก จะพบบ่อน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำบ่อทิพย์" ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณแยกประมาณ 35 เมตร และภายในบริเวณนี้วัดความกว้างของถ้ำได้ ประมาณ 6.20 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร หลังจากนั้นจะเป็นโพรงทะลุลงสู่หน้าผาที่ สูงชันมองเห็นทิวทัศน์บริเวณใกล้เคียงได้อย่างสวยงาม เมื่อมีเสียงดังภายในน้ำนี้ เสียงจะดังก้องทะลุออกทางโพรงด้านนี้ ชาวบ้านจึงขนานนามถ้ำนี้ว่า "ถ้ำก้อง (ฆ้อง)"

    ถ้ำน้อย

    มีลักษณะเป็นโพรงเล็ก ๆ มีลำธารไหลทะลุผ่าน ซึ่งมี 2 จุด จุดที่ 1 ขนาดของถ้ำกว้างประมาณ 5 เมตร บริเวณที่ลำธารไหลออกจากปากถ้ำ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.50 เมตร จุดที่ 2 อยู่ห่างจากจุดที่ 1 ประมาณ 20 เมตร มีธารน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ มีลักษณะเด่น คือ ด้านหน้ามีเถาวัลย์ของสะบ้าใหญ่ (มะบ้าใหญ่) ซึ่งแต่เดิมเคยมีค่างหางยาวใช้เป็นที่อยู่อาศัยและปีนป่ายเล่น




    ถ้ำเงิบ

    ถ้ำนี้อยู่ห่างจาก ถ้ำน้อย ประมาณ 30 เมตร อยู่ในเขตความรับผิดชอบของหมู่ที่ 3 บ้านถ้ำ-ปลา และอยู่ในบริเวณถ้ำเสาหิน มีลักษณะเป็นหน้าผายื่นออกมา วัดความกว้างของปากถ้ำได้ประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่หลบฝนและพักผ่อนหย่อนใจ

    ถ้ำวอก

    อยู่ถัดจากถ้ำเงิบไปทางทิศใต้ อยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำถ้ำเสาหิน เป็นถ้ำที่อยู่บนเนินสูง ทางเดินขึ้นค่อนข้างชัน ลักษณะเอียงประมาณ 45 องศา มีระยะทางจากสันอ่างเก็บน้ำ ถึงบริเวณถ้ำยาว ประมาณ 50 เมตร เมื่อนักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงที่นี่จะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของอ่างเก็บน้ำฝูงปลา นก หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงตลอดจนทุ่งนาอันกว้างใหญ่ไพศาลของตำบล โป่งงาม

    ถ้ำเสาหินพญานาค

    เป็นถ้ำที่อยู่ปลายสุดของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ อยู่ในความรับผิดชอบของหมู่ที่ 3 บ้านถ้ำปลา การเดินทางไปถ้ำนี้สามารถไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก โดยการเดินลัดเลาะตามขอบอ่างเก็บน้ำทางทิศใต้ ลักษณะของถ้ำเป็นโพรงสูงขึ้นในแนวดิ่งหินงอก มีลักษณะเป็นแท่ง ๆ ซ้อนกันคล้ายเสาบ้านชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำเสาหิน ซึ่งมีลักษณะเป็น 3 ชั้น คือ

    ชั้นที่ 1 ลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ 20 เมตร มีลักษณะเป็นแท่งนี้มีทางเดินทะลุเป็นช่อง (ปล่อง) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.50 เมตร แสงอาทิตย์สามารถทะลุผ่านได้ ทำให้มองเห็นทิวทัศน์ภายในถ้ำแห่งนี้ได้อย่างสวยงามตระการตายิ่งนัก

    ชั้นที่ 2 มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ต้องปีนป่ายขึ้นบันไดระยะทางประมาณ 10 เมตร เป็นแท่งหินสวยงามและเด่นชัดกว่าชั้นที่ 1 ด้านทิศตะวันออก มีทางเดินสามารถทะลุผ่านเป็นทางออกของถ้ำทางหนึ่ง ซึ่งมีความกว้างประมาณ 4 เมตร

    ชั้นที่ 3 สามารถปีนป่ายไปตามแง่หินขึ้นไปประมาณ 15 เมตร เป็นแท่งหินสูง ต่อจากนั้นจะเป็นเหวลึกประมาณ 40 เมตร และทางขึ้นลงชันประมาณ 80 องศา การเดินทางช่วงนี้ควรใช้อุปกรณ์ช่วยจึงจะปลอดภัย ถ้ำแห่งนี้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบผจญภัย และท้าทายให้ไปพิสูจน์ยิ่งนัก




    ถ้ำตุ๊ปู่

    อยู่ถัดจาก ถ้ำกู่แก้ว ทางด้านทิศเหนือประมาณ 500 เมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณโรงเรียนวัดถ้ำปลาวิทยาคม ซึ่งมีอยู่ 2 จุด คือ จุดที่ 1 เป็นถ้ำขนาดกว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ลึกประมาณ 4.80 เมตร ถ้ำแห่งนี้เคยได้รับการบูรณะให้เป็นอาศรมของพระที่ธุดงค์และจำพรรษามาก่อน จุดที่ 2 เป็นถ้ำที่ทะลุผ่านภูเขาทางทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก หน้าถ้ำทางทิศตะวันออกประดิษฐานมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ขนาดถ้ำกว้าง ประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 2.60 เมตร ภายในถ้ำเป็นทางเดินเล็กและแคบบางแห่งสูงชัน ประกอบด้วยหินงอกหินย้อยระยิบ ระยับ สวยงามตลอด ทางเดินเมื่อทะลุถ้ำทางทิศตะวันตกจะพบทางเดินสู่ สวนสุขภาพและ สวยงาม ซึ่งคนในชุมชนใช้เดินทางออกกำลังกายในตอนเช้าและตอนเย็นทุกวัน

    ถ้ำปุ่ม

    ถ้ำนี้อยู่ในเขตบ้านดง หมู่ที่ 2 ตำบลโป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นถ้ำที่มีประเพณีประจำปีในการทำบุญในวันแรม 9 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี ชาวบ้านเรียกประเพณี ถ้ำปุ่ม – ถ้ำปลา มีลักษณะเป็นถ้ำที่อยู่บนหน้าผาสูงจากพื้นดิน ประมาณ 30 เมตร ทางขึ้นเป็นบันได 73 ขั้น ลึกประมาณ 132 เมตร ถ้ำนี้มีลักษณะเด่น คือ บริเวณเหนือทางเดินก่อนเข้าถ้ำจะปรากฎรูปปั้นสิงห์ อายุประมาณ 200 ปี ตั้งเด่นตรงหน้าหันหน้าไปทางทิศเหนือสูงขึ้นไปประมาณ 16 เมตร นอกจากนี้ ภายในถ้ำยังมีหินงอกเป็นปุ่ม (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) เด่นชัดชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำปุ่ม

    ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้นักท่องเที่ยวมาสักการะบูชาด้วย เมื่อเดินเข้าไประยะประมาณ 60 เมตร จะมีทางเดิน ด้านขวามือจะพบหน้าผาสูง มีลักษณะเป็นหินย้อยติดหน้าผาติดต่อกันคล้ายน้ำตกสวยงามมาก เมื่อเดินเข้าไประยะทางประมาณ 88 เมตร จะมีทางเดินแยกทางขวามือสามารถทะลุออกทางเดินเดิมอีกด้านหนึ่งได้ในลักษณะครึ่งวงกลม ระหว่างทางนี้จะมีบ่อน้ำซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "บ่อน้ำทิพย์" มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร เดินต่อไปอีกประมาณ 110 เมตร จะพบแนวหินย้อยเป็นริ้วติดต่อกับเกาะติดผนังถ้ำเป็นทางยาวติดต่อกันเป็นสี ขาวคล้ายน้ำตกสวยงามมากและบริเวณปลายสุดของถ้ำมีพระพุทธรูปปางสมาธิหน้าตัด กว้าง 32 นิ้ว สูง 46 นิ้ว ตั้งเด่นเป็นสง่าให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2013
  4. violetmay

    violetmay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +2,919
    เมย์ พี่เค พี่ Apiwat แตงโม พี่เจี๊ยบ พี่นานา พี่สุพล คุณอภิชา คุณ christopher คุณพศ คุณนายจริงใจ พี่วีระเกียรติ คุณ Oraya123 น้อง Toey111 คุณ gingaor โอนเงินทำบุญแล้ว 25 บาท ค่ะ

    อนุโมทนาสาธุการวันทามินะค่ะ

    เนื่องจากโอนเงินหลายบุญ 200 กว่าบุญ เลยลงขันร่วมเงินกันทำ บุญละ 25 บาทค่ะ ^^

    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2013
  5. Lek2010

    Lek2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    8,925
    ค่าพลัง:
    +42,467
    ข้าพเจ้าและคุณแม่ + น้องนาง + ทิวากร + เทวานิน ร่วมทำบุญบริจาคสร้างองค์พระอุปคุต หน้าตัก 29 นิ้วและสร้างศาลากลางน้ำ ถวาย ณ วัดถ้ำปลา (ถ้ำลิง) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

    จำนวน 55 บาท

    สถานะการทำรายการ ธนาคารได้ทำรายการของท่านเรียบร้อยแล้ว
    หมายเลขอ้างอิง TRTR130616459726910
    รายละเอียดการทำรายการ
    จากบัญชี 070-2-83627-1
    เพื่อเข้าบัญชี 271-2-09834-4 ณภคพล
    ชื่อบัญชี ณภคพล เกิดแก้ว
    จำนวนเงิน (บาท) 55.00

    วันที่โอนเงิน 16/06/2013
     

แชร์หน้านี้

Loading...