หมดแล้ว ล๊อกเก็ตพระปัจเจกฯและพระวิษณุกรรมฯ และวัตถุมงคล ในงานบุญฯ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย woottipon, 16 เมษายน 2013.

  1. Daverko

    Daverko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,661
    ค่าพลัง:
    +8,902
    จองร่วมบุญ 2 ชุดค่ะ..
     
  2. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    พระปัจเจกพุทธเจ้า

    ผมขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระปัจเจกพุทธเจ้า" มาลงให้บรรดาท่านทั้งหลายได้ศึกษา เพื่อประโยชน์สำหรับท่านที่ปรารถนาจะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าโดยตรง หรือท่านที่ต้องการมีความชัดเจนในเรื่องนี้ เพื่อจะนำความรู้นี้ไปปฏิบัติภารกิจ หรือกิจกรรมบุญกุศลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง


    หลวงพ่อพูดถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า

    (คัดลอกบางตอนจาก หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหา เล่ม ๔)

    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านต้องบำเพ็ญบารมีนานไหมครับ จึงจะตรัสรู้ได้....?
    หลวงพ่อ : พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญบารมีเท่ากับพระอัครสาวก คือ 2 อสงไขยกับแสนกัป

    ผู้ถาม : ท่านตรัสรู้เองใช่ไหมครับ.....?

    หลวงพ่อ : ใช้ ลงคำว่า พุทธเจ้า ต้องตรัสรู้เอง คือไม่ต้องรับคำสอนจากคนอื่น

    ผู้ถาม : มีเฉพาะตอนที่มีพระพุทธเจ้าใช่ไหมครับ....?

    หลวงพ่อ : เจ๊ง...พระปัจเจกพระพุทธเจ้าจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อวางจากพระพุทธเจ้า ไม่ใช้มีพร้อมพระพุทธเจ้า อย่างศาสนานี้สิ้นไป ในช่วงว่างก่อนจะถึงพระศรีอาริย์ ในช่วงนี้มีพระปัจเจกพระพุทธเจ้า สมัยพระปัจเจกพระพุทธเจ้าเวลานี้ก็ไม่มีสาวก ก็มีพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ทั้งหมด เพราะปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้บรรลุเพียงองค์เดียวอย่างพระพุทธเจ้า ก็มีได้เป็นหมื่นเป็นแสน แต่พระพุทธเจ้าจะต้องมีองค์เดียว มีซ้อนไม่ได้

    ผู้ถาม : แล้วทำไมพระปัจเจกพระพุทธเจ้าเมื่อท่านตรัสรู้แล้วจึงไม่สอนเหมือนกับพระพุทธเจ้าครับ....?

    หลวงพ่อ : เกิดทันรึ...รู้เหรอว่าท่านไม่สอน เคยพบหรือเปล่า....?

    ผู้ถาม : ?....?....?

    หลวงพ่อ : ท่านสอน จะว่าไม่สอนเลยนั้นไม่ใช่ แต่ว่าไม่สอนถึงอริยสัจ ถ้าไปศึกษากับท่าน ท่านก็สอนแค่อภิญญาโลกีย์ ส่วนที่ตัดเข้าถึงมรรคผลนั้นเป็นเรื่องของบุคคลนั้นเอง ปัจเจก เขาแปลว่า รู้เฉพาะตน ความจริง คำว่า "เฉพาะ" ก็มีเฉพาะส่วนที่เป็นอริยสัจเท่านั้นเองนะ

    ผู้ถาม : ถ้าอย่างนั้นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็รู้หมดทุกอย่างใช่ไหมครับ....?

    หลวงพ่อ : รู้หมด....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซิ รู้ไม่หมด

    ผู้ถาม : อ้าว...ทำไมยังงั้นล่ะครับ

    หลวงพ่อ : ถ้าถามปัญหาพระพุทธเจ้า ท่านรู้ทุกอย่าง รูไม่หมดสักที พระปัจเจกพระพุทธเจ้าถามไปถามมา...หมด นี่เขา เรียกว่า รู้หมด

    ผู้ถาม : อ๋อ...แหมศัพท์ภาษาไทยนี่ไม่รู้เรื่อง อยู่ห่างวัดเป็นอย่างนี้

    หลวงพ่อ : เป็นอันว่าพระปัจเจกพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องสวรรค์ เรื่องพรหม แต่เรื่องนิพพานท่านไม่สอนใคร เพราะไม่ใช้หน้าที่ของท่าน

    ฉะนั้นพระถ้าเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ท่านจะรู้หน้าที่ของท่าน อย่างพระที่ยังไม่เป็นอรหันต์ เป็นหมอดู เป็นหมอรักษาโรค เราใช้ได้ทุกอย่าง ท่านจะทำให้ทุกอย่าง พอถึงอรหันต์ปั๊บ ท่านรู้เลยว่าท่านเกิดมานี่เพื่อทำกิจอะไร.....อย่างอื่นที่ไม่ใช่ของท่าน ท่านจะไม่ทำ จะงดหมด ท่านทำเฉพาะกิจ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ท่านสอนเรื่องสวรรค์ เรื่องพรหม แต่เรื่องนิพพานท่านไม่สอน

     
  3. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านคือใคร ??? :


    การที่พระอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จมาอุบัติตรัสรู้ขึ้นมาสักองค์หนึ่ง เป็นสิ่งที่ยากเหลือคณา เพราะกว่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบำเพ็ญบารมีครบ ๓๐ ทัศ ให้เต็มบริบูรณ์นั้นอย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้เวลานานถึง ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วในเวลาที่ว่างเว้นพระศาสนา ซึ่งบางครั้งยาวถึง ๑ อสงไขย สัตว์โลกที่ต้องเวียนว่ายายเกิดใจวัฏสงสาร ต้องมืดมนอลธกาลขาดที่พึ่ง ต้องอยู่ในอบายภูมิจำนวนมาก

    การอุบัติขึ้น ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ในระหว่างที่ว่างเว้นพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่าพุทธันดรนั้น นับว่าเป็นโชคมหาศาลของผู้ที่เกิดในยุคนั้น เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมมาสงเคราะห์สัตว์โลก ให้ตั้งอยู่ในทาน ในศีล เมื่ละร่างกายไปแล้ว ย่อมสู่สุคติภูมิ มีสวรรค์เป็นต้น ให้บุคคลที่ตกยากแต่มีศรัทธาเต็มเปี่ยมได้เป็นมหาเศรษฐี ด้วยการออกจากนิโรธสมาบัติแล้วมาสงเคราะห์บิณฑบาต

    พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเป็นเอกควรแก่การได้รับ "ไทยทาน" ที่เขานำมาถวาย หรือจะเรียกว่า "อัครทักขิไณยบุคคล" ในยุคพุทธันดรอย่างแท้จริง เพราะยุคนั้นไม่มีใครเปรียบเสมอ สมดังที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...

    " ในโลกทั้งปวงเว้นจากเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอกับพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย "


    พระปัจเจกพุทธเจ้ามี ๓ ประเภท

    สำหรับความปรารถนาของพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้ถึงจะมีบารมีเป็นปัญญาธิกะ ก็ยังต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลา ๒ อสงไขยแสนกัป ไม่อาจต่ำกว่านี้ พระปัจเจกพุทธเจ้ามี ๓ ประเภท คือ

    ๑. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปัญญาธิกะ : บำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัป

    ๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าศรัทธาธิกะ : บำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัป และเกินแสนกัปไปเล็กน้อย

    ๓. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าวิริยาธิกะ : บำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัป และเกินแสนกัปไปมากแต่ไม่ถึง ๓ อสงไขย


    ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จำเป็นต้องปรารถนาสมบัติ ๕ ประการ เพื่อเกิดอภินิหารของพระปัจเจกพุทธเจ้ามี ๕ ประการ คือ

    ๑. ความเป็นมนุษย์

    ๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศชาย

    ๓. การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ คือ พระอรหันต์ทั้งหลาย อาทิ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจา, หรือพระอรหันตสาวก ท่านใดท่านหนึ่ง

    ๔. การกระทำอันยิ่งใหญ หรือ อธิการ

    ๕. ความเป็นผู้มีฉันทะ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดกาลตามประเภทแล้ว ด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินิหารนี้ อย่างนี้แล้วเมื่อจะเกิดในโลก ย่อมเกิดในสกุลกษัตริย์ หรือ สกุลพราหมณ์

    พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดในสกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ หรือ สกุลคหบดี สกุลใดสกุลหนึ่ง

    ส่วนพระอัครสาวก ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะในสกุลกษัตริย์ และสกุลพราหณ์เท่านั้น เหมือนอย่างพระพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เกิดขึ้นในวัฏกัป คือ กัปเสื่อม ย่อมเกิดขึ้นในวิวัฏฏกัป คือ กัปเจริญ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหมือนกัน

    พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เกิดขึ้นในกาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และสอนผู้อื่นให้รู้ตามไปด้วย แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรูเฉพาะตนเอง และไม่สอนผู้อื่นให้รู้ตาม

    พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมแทงตลอด "อรรถรส" เท่านั้น ไม่แทงตลอดตาม "ธรรมรส" เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่อาจยกโลกุตรธรรมขึ้นสู่บัญญัติแล้วแสดง (ผมเข้าใจว่าหมายถึง "ไม่นำธรรมะมาจัดระเบียบเพื่อสอน" ถ้าลุง. ศ เข้าใจไม่ตรงโปรดชี้แนะด้วยครับ) พระปัจเจพุทธเจ้าเหล่านั้น มีการตรัสรู้ธรรมเหมือน "คนใบ้เห็นความฝัน" และเหมือน "พรานป่าลิ้มรสข้าวในเมือง" ฉะนั้น

    พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมบรรลุธรรมในอิทธิฤทธิ์ สมาบัติ และปฏิสัมภิทาญาณทั้งหลาย เป็นผู้ต่ำกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เหนือกว่าพระสาวกโดยคุณวิเศษ

    พระปัเจกพุทธเจ้าย่อมยังบุคคลหล่าอื่นบรรพชา ให้ศึกษาอภิสมาจารด้วยอุเทศนี้ว่า พึงทำความขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย และเมื่อจะทำอุโบสถโดยเพียงกล่าวว่า "วันนี้เป็นวันอุโบสถ และจะทำอุโบสถย่อมประชุมกันที่รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชูกะ บนภูเขาคันธมาทน์" (มีต่อ)

    หมายเหตุ: ถ้าจำไม่ผิดหลวงพ่อพระราชพรหมยานเคยบอกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าก็สอนธรรมเหมือน และสอนคนให้ไปนิพพานได้ แต่ไม่เป็นสาธารณะ

    -------------------------------------------
     
  4. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ข้อกำหนด และ ปกิณณกะ : พระปัจเจกพุทธเจ้า


    ๑) พระปัจเจกพุทธลักษณะ :

    ... ในพระบาลีและอรรถกถาไม่ได้แสดงพระปัจเจกพุทธลักษณะไว้ชัดเจนว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีลักษณะอย่างไร ในอรรถกถาได้กล่าวไว้ว่าพราหมณ์ยุคนั้นมีคัมภีร์มหาปริสลักษณะว่าบุคคลผู้นี้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระพุทธบิดา พระพุทะมารดา แต่ก็ไม่ได้กล่าวว่าลักษณะเช่นไรเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า... ในอรรถกถาปัจเจกพุทธาปทาน และชาดกแสดงเพียงลักษณะของเพศบรรพชิตว่า ...

    ... "มีพระเกศาและพระมัสสุยาว ๒ องคุลี ครองผ้าสองชั้นที่ย้อมแล้ว คาดรัดประคตเช่นสายฟ้า มีจีวรเฉวียงบ่ามีสีดังแผ่นครั่ง ห่มเฉวียงบ่าไว้ข้างหนึ่ง มีผ้าบังสกุล จีวรสีเมฆพาดอยู่เบื้องขาว มีบาตรดินสีเหมือนแมลงภู่คล้องอยู่ที่บ่าเบื้องซ้าย" ...

    ... และถ้าหากท่านบรรลุปัจเจกโพธิญาณใน เพศคฤหัสถ์ : เมื่อท่านทรงบริขาร ๘ แล้วแลดูเหมือนพระเถระ ๑๐๐ พรรษา หรือ ๖๐ พรรษา


    ๒) พระรัศมีของพระปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นก็มีรัศมีเหมือนกัน ในอรรถกถาปัจเจกพุทธาปทานท่านแสดงไว้ว่า

    " พระปัจเจกพุทธเจ้า มีรัศมีสุกสกาวแห่งทองสีแดงและทองชมพูนุท"

    ... ส่วนอรรถกถาประวัติของพระโสณโกฬิวิสะแสดงไว้ว่า

    " พระรัศมีที่สรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นเช่นกับสีของ ผ้ากัมพลแดง"


    ๓) อายุ และ ระยะเวลาบำเพ็ญเพียร ของ พระปัจเจกพุทธเจ้า :

    อายุของพระปัจเจกโพธิสัตว์ที่บรรลุโพธิญาณ มิได้กำหนดชัดเจน แต่ตามที่ปรากฏในอรรถกถา ท่านได้แสดงไว้น้อยที่สุด ๑๖ พรรษา มากที่สุดมิได้แสดงไว้
    ระยะเวลาการบำเพ็ญเพียรของพระปัจเจกโพธิสัตว์ ที่ปรากฏในอรรถกถาท่านแสดงไว้นานที่สุด ๗ พรรษา และมีพระปัจเจกโพธิสัตว์ อยู่หลายองค์ที่ท่านบรรลุปัจเจกโพธิญาณใน เพศคฤหัสถ์ โดยมิได้ออกบำเพ็ญเพียรเหมือนอย่างพระสัพพัญญูโพธิสัตว์


    ๔) เหตุแห่งการบรรลุปัจเจกโพธิญาณ :

    พระปัจเจกโพธิสัตว์แต่ละองค์ได้ความสังเวชไม่เหมือนกัน แล้วบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ในคัมภีร์อปทาน และขัคควิสาณสูตรได้กล่าวถึงเหตุแห่งการบรรลุปัจเจกโพธิญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔๑ พระองค์ไว้เป็นพิเศษ จะขอยกตัวอย่างมาแสดงสัก ๒ เรื่องตามลำดับ ดังนี้

    ธรรมที่บรรลุ : ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้าในปัจฉิมภพ (พระชาติสุดท้าย) ก็ไม่มีใครๆ เป็นอาจารย์เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ด้วยอัตตุกกังสิกญาณ คือ ญาณที่รู้เฉพาะตนเอง แต่มิได้บรรลุพระสัพพัญญุญาณ และ ทศพลญาณเหมือนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ๕) พระปัจเจกพุทธเจ้ายังมีวาสนาอยู่ :

    วาสนา : คือ "การทำด้วยอำนาจความเคยชิน" เช่น การกล่าวว่า "จงมาซิคนถ่อย"... "จงไปซิคนถ่อย"... แม้ท่านละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีวาสนาอยู่

    ... ในอรรถกถา คำว่า "วาสนา" นี้ ท่านกล่าวว่า คือ อธิมุตติ ปานประหนึ่งสักว่าความสามารถ อันกิเลสที่เธออบรมมาตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ติดอยู่ อันเป็นเหตุแห่งความประพฤติ เหมือนความประพฤติของคนผู้ยังละกิเลสไม่ได้ในสันดาน แม้ของท่านผู้เว้นกิเลสได้แล้ว

    ... ก็ว่าด้วยการละกิเลสเครื่องกางกั้นไญยธรรมด้วยความสมบูรณ์แห่งอภินิหาร เหตุแห่งความประพฤตินี้นั้น ไม่มีในสันดานของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ละกิเลสได้แล้ว แต่ ยังมีในสันดานของพระสาวก และ พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ยังละกิเลสอย่างนั้นไม่ได้ เพราะพระตถาคตเท่านั้นทรงเห็น อนาวรญาณ (ญาณไม่มีเครื่องกั้น)


    ๖) อริยาบถที่บรรลุ :

    พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลายบรรลุโพธิญาณในอริยาบถต่างๆ กัน ยืนก็มี นั่งก็มี นอนก็มี มีแม้แต่นั่งประทับบนคอช้างแล้วบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ


    ๗) สถานที่สถิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า :

    โดยปกติแล้วเมื่อพระปัจเจกโพธิสัตว์บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะไปประทับอยู่ที่ภูเขา คันธมาทน์ แต่ใน อิสิคิลิสูตร พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ พระองค์ บุตรของนางปทุมวดีอาศัยอยู่ในถ้าของภูเขาอิสิคิลิ ต่อมาพระราชาสร้าง บรรณศาลา ในพระราชอุทยานถวาย เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ท่านก็อยู่ในที่นั้นจนตราบปรินิพพาน

    ส่วนภูเขา คันธมาทน์ ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายประทับอยู่ประจำนั้น อยู่เลยภูเขา ๗ ลูก ณ ภูเขา คันธมาทน์ มีเงื้อมเขาชื่อ นันทกะมูลกะ เป็นสถานที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เงื้อมเขานันทกะมูลกะแห่งภูเขาคันธมาทน์นี้มีถ้ำอยู่ ๓ ถ้ำ คือ

    ๑. มณีคูหา (ถ้ำแก้วมณี) ๒. สุวรรณคูหา (ถ้ำทองคำ) ๓. ชตคูหา (ถ้ำเงิน)

    บรรดาถ้ำทั้ง ๓ นั้น ที่ประตูคูหา มีต้นไม้ชื่อ "มัญชูสกะ" เป็น ต้นไม้สวรรค์ สูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ ต้นไม้นั้นจะเผล็ดดอกบานสะพรั่งทั่วไปในน้ำ และบนบกเป็นพิเศษ ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามาถึง ข้างหน้าต้นไม้นั้นมีศาลาประชุมอยู่หลังหนึ่ง ชื่อว่า "รัตนมาฬกะ" เป็นศาลาประชุมใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยแก้วมณีทั้งหลัง ที่นี่เป็นที่ประชุมสันนิบาตแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ภายในบริเวณศาลานี้มีลมพิเศษพัดประจำอยู่ ๖ ชนิด คือ

    ๑. สัมมัชนกวาต : มีหน้าที่สำหรับพัดกวาดปัดหยากเยื่อทิ้ง

    ๒. สมกรณวาต : มีหน้าที่พัดทรายแก้วที่บริเวณให้ราบเรียบสม่ำเสมอ

    ๓. สิญจนวาต : มีหน้าที่พัดพาเอาละอองน้ำในสระอโนดาด มาประพรหมบริเวณศาลาให้ชุ่มฉ่ำเย็น

    ๔. สุคันธกรณวาต : มีหน้าที่พัดเอากลื่นหอมของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมทั้งหมด มาจากภุเขาหิมวันต์

    ๕. โอจินกวาต : มีหน้าที่พัดดอกไม้ทั้งหลายมาโปรยลง

    ๖. สันถรกวาต : มีหน้าที่ปูลาดในที่ทั้งปวง

    ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้าจะมานั่งประชุมกันในที่นี้ อาสนะทั้งหหลายจะปูลาดไว้เรียบร้อยเป็นประจำ นี่เป็นปกติในที่นี้

    เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มาใหม่ ได้เสด็จไปในที่นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ถ้าในเวลานั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้าอื่นๆ อยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นก็จะประชุมกันในทันทีแล้วต่างก็นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว

    และครั้นนั่งแล้ว จะพากันเข้าสมาบัติหน่อยหนึ่ง แล้วจึงออกจากสมาบัติ แต่นั้นเพื่อที่จะให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงอนุโมทนา พระสังฆเถระจะถามกรรมฐานกะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มาใหม่อย่างนี้ว่า "ท่านบรรลุอย่างไร?" พระปัจเจกพุทธเจ้าที่มาใหม่นั้น ก็จะกล่าวอุทานคาถาและพยากรณ์คาถาของตน

    -----------------------------------------
     
  5. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ตัวอย่าง อุทานคาถา และพยากรณ์คาถา :


    พระปัจเจกโพธิสัตว์กุมาร ๕๐๐ องค์ บุตรของพระนางปทุมวดีได้เล่นในสระบัวในอุทยาน นั่งดอกบังคนละดอก เห็นความสิ้นและความเสื่อม ทำปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น ได้พยากรณ์คาถาของท่านว่า...

    "ดอกบัว กอบัว เกิดขึ้นในสระ บานแล้วถูกหมู่แมลงภู่เคล้าคลึง ก็เข้าถึงความร่วงโรย บุคคลรู้แจ้งข้อนี้แล้ว พึงเป็นผู้เที่ยวไปเหมือนนอแรด"


    ๘) การทำพระอุโบสถ :

    ธรรมดาแล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าทำอุโบสถที่ศาลาโรงแก้ว รัตนมาฬกะ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ในอรรถกถาบางแห่งกล่าวว่าแม้ที่ป่าอิสิตนทายวันก็ทำอุโบโสถ


    ๙) การสงเคราะห์โลก :

    ... พระสารีบุตรท่านกล่าวในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ว่า โลกัตถจริยา (การประพฤติเป็นประโยชน์ต่อชาวโลก) เป็นจริยาส่วนเฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เฉพาะในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน และเฉพาะในพระสาวกทั้งหลายบางส่วน...

    ... จริงอย่างนั้น การสงเคราะห์ต่อชาวโลกของพระปัจเจกพุทธเจ้าปรากฏในที่หลายแห่ง เช่นว่าเมื่อท่านออกจากนิโรธมาบัติแล้วย่อมตรวจดูศรัทธา แล้วจึงไปสงเคราะห์ ธรรมดาผู้ที่ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมส่งผลเป็นเศรษฐี หรือเสนาบดีภายในวันนั้น แล้วยังให้คนถวายเกิดความโสมนัส โดยการเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ ทั้งที่ยังแลเห็นอีกด้วย

    ... ในอรรถกถาปัจเจกพุทธาปทานได้พรรณาว่า "พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเป็นใหญ่ คือ เป็นประธานเป็นเจ้าของ เพราะรับอาหารประมาณน้อย ของเหล่าทายกมากมายแล้วให้ได้บบรรลุถึงสวรรค์ และนิพพาน"


    ๑๐) ทรงสงเคราะห์ พระโพธิสัตว์ :

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีต ได้สงเคราะห์พระโพธิสัตว์หลายครั้งหลายหนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การแสดงธรรม หรือแม้กระทั่งทำ ทรายเสก และ ด้ายเสก นอกจากนั้นยังทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอีกด้วย ดังเรื่องตัวอย่างที่มาในชาดกนี้

    ... พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า : ได้ให้โอวาทพระพรหมทัตชักชวนให้ทรงผนวช โดยตรัสถึงโทษของกาม คุณของบรรพชา แสดงถึงทุกข์ทั้งที่มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลฐาน ทั้งที่มีการบริหารครรภ์เป็นมูลฐาน ทั้งที่มีการออกจากครรภ์เป็นมูลฐาน...

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์ : เมื่อพระโพะสัตว์ทูลถามถึงอารมณ์ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วจึงประพฤติภิกขาจาริยวัตร พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นได้ตรัสบอกเรื่องราวการออกบวชของตนแก่พระโพธิสัตว์ ภายหลังพระโพธิสัตว์ได้ออกบวชเป็นฤาษี...

    ... พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นคนยากจน : ได้ถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์ ท่านเสวยทันที ทรงทำอนุโมทนา แล้วได้ทรงเหาะไปสู่เงื้อมเขา นันทมูลกะ...พระโพธิสัตว์ประคองอัญชลี แล้วเอาปิติที่ไปในพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ แล้วรำลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นตลอดอายุจนถึงแก่กรรม แล้วไปเกิดเป็นพระราชา

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ : ได้พิจารณาเห็นสังขพราหมณ์จะเดินทางไปหาทรัพย์เพื่อจะให้ทาน จักมีอันตรายในสมุทร ถ้าสังขพราหมณ์เห็นท่านแล้วจักถวาย ร่ม และรองเท้าแก่ท่าน เมื่อเรือแตกกลางมหาสมุทร สังขพราหมณ์ได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า

    พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงได้อนุเคราะห์สังขพราหมณ์ ได้เหาะมา ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์

    สังขพราหมณ์ได้นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า เข้าไปที่โคนต้นไม้ แล้วพูนทรายขึ้น แล้วเอาผ้าห่มปูลาด นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำที่อบกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจา

    พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้า และเพื่อให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์เห็น...

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง : ทราบความที่ดาบลพระโพธิสัตว์มีมานะ เพราะอาศัยชาติของตน ไม่สามารถจะยังฌานให้เกิดขึ้นได้ จึงไปข่มมานะดาบส โดยไปนั่งเหนือกระดานหินของดาบส

    ดาบสขุ่นใจเพราะความมีมานะ ปรี่เข้าไปหาท่านดบมือตวาดท่าน พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวกะท่านว่า :

    " พ่อคนดี เหตุไฉนพ่อจึงมีมานะ อาตมาบรรลุพระปัจเจกพุทธญาณแล้วนะใน กัปนี้เอง พ่อจักเป็นสัพพัญูญูพุทธเจ้า พ่อเป็นหน่อเนื้อพระพุทธเจ้านะ พ่อบำเพ็ญบารมีมาแล้ว รอเวลาเพียงเท่านี้ ข้างหน้าผ่านไปจักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พ่อดำรงในความเป็นพระพุทธเจ้า จักมีชื่อว่า "สิทธัตถะ"

    บอกนามตระกูลโคตรและอัครสาวกเป็นต้นแล้ว ได้ประทานโอวาทว่า :

    " พ่อยังจะมัวเอาแต่มานะ เป็นคนหยาบคาย เพื่ออะไรเล่า นี้ไม่สมควรแก่พ่อเลย "

    ดาบสนั้นแม้พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ยังไม่ไหว้ท่านอยู่นั่นเอง...มิหนำซ้ำไม่ถามเสียด้วยว่า ข้าจักเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไร

    พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า :

    " เธอไม่รู้ความใหญ่หลวงแห่งชาติ และความใหญ่โตแห่งคุณของเรา หากเธอสามารถ ก็จงเที่ยวไปในอากาศเหมือนเรา " แล้วเหาะไปในอากาศ โปรยฝุ่นที่เท้าตนลงไปใน มณฑลชฏา ของดาบสนั้น ไปสู่หิมพานต์ตอนเหนือดังเดิม

    พอท่านไปแล้วดาบสนั้นจึงสลดใจ สมาทานอุโบสถขข่มมานะ เจริญกสิณ ยังอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น

    ... พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๐๐ ของพระเจ้าพรหมทัต ได้ทำหน้าที่เป็นไวยาวัจกรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า "จักได้ราชสมบัติสืบสันติวงศ์ในพระนครนี้หรือไม่" พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นก็ตรัสพยากรณ์บอกว่า "จะได้ราชสมบัติในวันที่ ๗ นับจากวันนี้ ที่พระนครตักสิลา ซึ่งไกลไปจากพระนครนี้ ๑๒๐ โยชน์ แต่ถ้าจะไปทางตรง ๕๐ โยชน์ ต้องผ่านย่าน อมนุสสกันดาร มีฝูงยักษิณีเนรมิตบ้าน และศาลาไว้ในระหว่างทาง คอยหน่วงเ**่ยว เชื้อเชิญแก่ผู้ที่มาแล้วเล้วเล้าโลม ทำให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส แล้วพากันเคี้ยวกินพวกนั้นเสีย แต่ถ้าไม่ทำลายอินทรีย์ทั้ง ๕ และดูพวกมันเลย คุมสติไว้ให้มั่นคงเดินไป จักได้ราชสมบัติในวันที่ ๗ แน่"

    พระโพธิสัตว์ จึงขอให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทำพระปริต รับทรายเสกด้วยพระปริต และด้ายเสกด้วยพระปริต เดินทางไปแล้วได้ราชสมบัติในภายหลัง

    -------------------------------------
     
  6. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ๑๑) อจินไตยของพระปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวในคัมภีร์องคุตรนิกาย ว่า อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความบ้า ได้รับความลำบากเปล่า อจินไตย ๔ อย่างนี้คือ

    ๑. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน (ได้แก่ฌานวิสัยในอภิญญา)

    ๓. วิบากแห่งกรรม

    ๔. โลกจินตา (ความคิดในเรื่องของโลก เช่น ใครสร้างแผ่นดิน ใครสร้างมหาสมุทร จักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นต้น)

    ... เรื่องจากคาถาธรรมบทต่อไปนี้ ก็เป็นอจินไตยของพระปัจเจกพุทธเจ้า :

    ท่านสุขสามเณรเมื่อครั้งเกิดเป็นนายภัตตภติกะ ได้ถวายทานโดยไม่เหลือไว้เลย แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วอธิษฐานว่า :

    " ขอให้มหาชนนี้ จงยืนเห็นเราจนกระทั่งถึงภูเขาคันธมาทน์เถิด " แล้วได้เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์

    เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไปภูเขาคันธมาทน์แล้ว ได้แบ่งบิณฑบาตนั้นถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ องค์ ได้รับเอาภัตรอย่างเพียงพอแก่ตนแล้ว

    ท่านกล่าวว่า ใครๆ ไม่พึงคิดว่า บิณฑบาตเล็กน้อยจะพอเพียงได้อย่างไร นี่เป็นปัจเจกพุทธวิสัย เป็นอจินไตย


    ๑๒) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... บุคคล ๖ จำพวกที่สามารถระลึกถึงบุพเพสันนิวาสได้ คือ :

    ๑. พวกเดียรถีย์ ระลึกได้เพียง ๔๐ กัป เพราะปัญญาน้อย

    ๒. พระสาวกปกติ ระลึกได้ ๑,๐๐๐ กัป เพราะมีปัญญามาก

    ๓. พระมหาสาวก ๘๐ องค์ ระลึกได้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป

    ๔. พระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์ ระลึกได้ ๑ อสงไขย กำไรแสนกัป

    ๕. พระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกได้ถึง ๒ อสงไขย กำไรแสนกัป เพราะท่านมีอภินิหารประมาณเพียงนี้

    ๖. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่มีกำหนด

    ... ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านได้อุปมาปุพเพนิวาสานุสติญาณไว้ว่า การเห็นชาติในอดีตต่างกันดังนี้ :

    ๑. ของเดียรถีย์ ย่อมปรากฏเช่นกับแสงหิ่งห้อย , การระลึกชาติ ดุจคนตาบอดเดินไปด้วยไม้เท้า

    ๒. ของพระสาวกปกติ ย่อมปรากฏเช่นกับแสงประทีป , การระลึกชาติ ดุจเดินไปตามสะพานด้วยไม้เท้า

    ๓. ของพระมหาสามวก ย่อมปรากฏเช่นแสงคบเพลิง , การระลึกชาติ ดุจเดินไปตามสะพานด้วยลำแข้ง

    ๔. ของอัครสาวก ย่อมปรากฏเช่นกับรัศมีดาวประกายพรึก , การระชาติ ดุจเดินไปตามสะพานเกวียน

    ๕. ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมปรากฏเช่นรัศมีพระจันทร์ , การระลึกชาติ ดุจเดินไปตามทางด้วยกำลังลำแข้ง

    ๖. ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมปรากฏเช่นกับพระอาทิตย์ในสรทกาล ประดับด้วยรัศมีพันดวง , การระลึกชาติ ดุจเดินไปตามทางเกวียนใหญ่


    ๑๓) ท่าสรงน้ำ:

    ... เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าจะล้างหน้าหรือสรงน้ำ ท่านจะไปกระทำกิจนั้นที่ สระอโนดาต สระอโนดาตนั้นมีแผ่นศิลาเรียบประดับด้วยรัตนะอันน่ารื่นรมย์ใจ ไม่มีปลาและเต่า น้ำใสไร้มลทินเหมือนแก้วผลึก บังเกิดแต่กรรมทีเดียว เป็นท่าสำหรับอาบของเหล่าสัตว์ที่ใช้น้ำนั้น จัดแจงไว้อย่างดี ซึ่งแยกไว้เป็นส่วนๆ สำหรับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพและฤาษีที่มีฤทธิ์ สรงสนาน ท่าหนึ่งสำหรับพวกเทวดาและยักษ์เป็นต้น


    ๑๔) สถานที่ปรินิพพาน :

    ... ในอรรถกถาปัจเจกพุทธาปทาน ท่าแสดงไว้ว่าภูเขามหาปปาตะในหิมวันตประเทศ เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ในที่อื่นก็แสดงไว้ท่านก็ปรินิพพานในที่อื่นๆ ด้วย เช่น ในป่าชัฏ, ที่เดินจงกรมในพระอุทยานที่พระราชาจัดถวาย เป็นต้น

    อิริยาบถของพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อปรินืพพาน มีอิริยาบถต่างๆ กันบางพระองค์ก็นั่ง ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์บุตรของนางปทุมวดีได้ยืนพิงกระดานสำหรับยึดหน่วงในที่จงกรมปรินิพพาน

    -------------------------------


    ตามปกติบรรดาพวกเราทั้งหลายส่วนใหญ่ ก็จะทราบเฉพาะพุทธประวัติพระพุทธเจ้าของพวกเรา และพุทธสวกที่สำคัญๆ เท่านั้น แต่เราทราบพุทธประวัติพระปัจเจกพุทธเจ้าน้อยมาก ผมจะขอยกตัวอย่างมาให้บรรดาท่านทั้งหลายได้เจริญศรัทธา เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน เป็นแบบอย่าง และประกอบการเผยแพร่ธรรมะ ...บางส่วนทั้งในคำภีร์ชาดก และ คัมภีร์อาคตวงค์ ดังนี้ครับ
     
  7. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    พุทธประวัติพระปัจเจกพุทธเจ้า : ในคัมภีร์ชาดก

    ... ในคำภีร์ชาดก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าของเรา ครั้งเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติต่างๆ บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศอยู่ในจำนวนชาดก ๕๕๐ เรื่องที่ปรากฏในคัมภีร์ชาดกนั้น มีอยู่หลายเรื่องด้วยกันที่พระโพธิสัตว์นั้น ได้มีความเกี่ยวข้องกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ในฐานะที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์พระโพธิสัตว์บ้าง หรือ พระโพธิสัตว์ทรงสงเคราะห์พระปัจเจกโพธิสัตว์ก็มี

    ๑) ทรีมุขชาดก (พระปัจเจกพุทธเจ้าทรีมุข) :

    ... พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นวาส ปงฺโกว กาม ด้งนี้

    ... ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มคธราช ครองราชสมบัติที่อยู่ในกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในพระครรภ์ของอัครมเหสีของพระองค์ พระญาติทั้งหลายได้ถวายนามพระองค์ว่า " พรหมทัตกุมาร "

    ... ในวันที่พระราชกุมารประสูตรนั่นเอง ฝ่ายบุตรของปุโรหิตก็เกิด ใบหน้าของเด็กนั้นสวยงามมาก เพราะเหตุนั้นญาติของเขาจึงได้ตั้งชื่อของเด็กนั้นว่า " ทรีมุขกุมาร "

    ... กุมารทั้ง ๒ นั้น เจริญเติบโตแล้ว ในราชตระกูลนั่นเอง ทั้งคู่นั้นเป็นสหายรักของกัน เวลามีชนมายุ ๑๖ ชันษา ได้ไปยังเมืองตักกศิลาเรียนศีลปะทุกอย่างแล้ว พากันเที่ยวไปในตามนิคม เป็นต้น ด้วยความตั้งใจว่า จักพากันศึกษาลัทธิทุกลัทธิ และจักรู้จารึตของท้องถิ่นด้วย

    ... ถึงเมืองพาราณสี พักอยู่ที่ศาลเจ้า รุ่งเช้าพากันเข้าไปเมืองพาราณสีเพื่อภิกษา คนในตระกูลหนึ่งในเมืองพาราณสีนั้น ตั้งใจว่าพวกเราจักเลี้ยงพราหมณ์ แล้วถวายเครื่องบูชา จึงหุงข้าวปายาสแล้วปูอาสนะไว้

    ... คนทั้งหลายเห็นคนทั้งสองคนนั้นกำลังเที่ยวภิกขาจาร เข้าใจว่าพราหมณ์มาแล้ว จึงให้เข้าไปในบ้าน ปูผ้าขาวไว้สำหรับพระมหาสัตว์ ปูผ้ากัมพลแดงไว้สำหรับทรีกุมาร

    ... ทรีมุขกุมารเห็นนิมิตนั้นแล้ว รู้ชัดว่า วันนี้สหายของเราจักเป็นพระเจ้าพาราณสี ส่วนเราจักเป็นเสนาบดี

    ... ทั้ง ๒ บริโภค ณ ที่นั้น แล้วรับเอาเครื่องบูชากล่าวมงคลแล้วออกไป ได้พากันไปถึงพระราชอุทยานนั้น ในจำนวนคนทั้ง ๒ นั้น พระมหาสัตว์บรรทมแล้วบนแผ่นศิลามลคล ส่วนทรีกุมารนั่งนวดพระบาทของพระมหาสัตว์นั้น วันนั้นเป็นวันที่ ๗ แห่งการสวรรคตของพระเจ้าพาราณสี ปุโรหิตถวายพระเพลิงแล้ว ได้เสี่ยงบุษยราชรถในวันที่ ๗ เพราะราชสมบัติไม่มีรัชทายาทกิจเกี่ยวกับบุษยราชรถ จักมีแจ้งชัดในมหาชนกชาดก

    ... บุษยรถออกจากพระนครไป มีจตุรงคเสนาห้อมล้อมพร้อมด้วยดุริยางค์หลายร้อย ประโคมขัน ถึงประตูราชอุทยาน

    ... ครั้งนั้น ทรีมุขกุมารได้ยินเสียงดุริยางค์ แล้วคิดว่าบุษยราชรถมาแล้ว เพื่อสหายของเราวันนี้ สหายของเราจักเป็นพระราชา แล้วประทานตำแหน่งเสนาบดีแก่เรา เราจักประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เราจักออกบวช ดังนี้แล้ว จึงไม่ทูลเชิญพระโพธิสัตว์เลยไปที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วยืนอยู่ในที่กำบัง

    ... ปุโรหิตหยุดรถที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเข้าไปยังพระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์บรรทมบนแผ่นศิลามงคล ตรวจลักษณะที่เท้าลายพระบาท แล้วทราบว่า ป็นคนมีบุญสามารถครองราชสมบัติสำหรับมหาทวีแท้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวารได้ แต่คนเช่นนี้ คงเป็นคนมีปัญญาเครื่องทรงจำ จึงได้ประโคมดุริยางค์ทั้งหมดขึ้น

    ... พระโพธิสัตว์บรรทมตื่นแล้ว ทรงนำผ้าสาฏกออกจากพระพักตร์ ทรงทอดพระเนตรเห็นมหาชน แล้วทรงเอาผ้าสาฏกปิดพระพักตร์อีก บรรทมหน่อยหนึ่ง ระงับความกระวนกระวาย แล้วเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา

    ... ปุโรหิตคุกเข่าลงแล้วทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ราชสมบัตินี้กำลังตกถึงพระองค์ : พ. " ราชสมบัติไม่มีรัชทายาทหรือ? " ... ปุ. " ไม่มีพระพุทธเจ้าข้า " ...พ. " ถ้าอย่างนั้น ก็ดีแล้ว จึงทรงรับไว้ "

    ... ประชาชนเหล่านั้น ได้พากันทำการอภิเษกพระโพธิสัตว์นั้นที่พระราชอุทธยานนั่นเอง พระองค์มิได้ทรงรำลึกถึง ทรีมุขกุมาร เพราะมียศมาก พระองค์เสด็จขึ้นราชรถ มีบริวานห้อมล้อมเข้าสู่พระนคร ทรงทำการปทักษิณ แล้วประทับยืนที่ประตูพระราชนิเวศน์นั่นเอง ทรงพิจารณาถึงฐานันดรของอำมาตย์ทั้งหลายแล้วเสด็จสู่ปราสาท

    ... ขณะนั้น ทรีมุขกุมาร คิดว่า บัดนี้ พระราชอุทยานว่างแล้ว จึงมานั่งที่ศิลามงคล ลำดับนั้น ใบไม้เหลือง ได้ร่วงลงมาข้างหน้าของเขา เขาเริ่มตั้งความสิ้น และความเสื่อมไป ในใบไม้เหลืองนั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ให้แผ่นดินกึกก้องไป พร้อมกับให้ พระปัจเจกโพธิญาณ เกิดขึ้น

    ... ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของท่านก็อันตรธานไป บาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ล่องลอยมาจากอากาศ สวมที่สรีระของท่าน ทันใดนั่นเอง ท่านก็เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ สมบูรณ์ด้วยอริยบถ เป็นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาร้อยพรรษา เหาะไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ได้ไปยังเงื้อม นันทมูลกะ ในท้องถิ่นหิมพานต์

    ... ฝ่ายพระโพะสัตว์ก็เสวยราชสมบัติโดยธรรม แต่เพราะความมียศมาก จึงทรงมัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงรำลึกถึง ทรีกุมาร เป็นเวลาถึง ๔๐ ปี แต่เมื่อเวลาเลย ๔๐ ปี ผ่านไปแล้ว พระองค์ก์ทรงรำลึกถึงเขา แล้วตรัสว่า...

    " ฉันมีสหายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า ทรีมุข เขาอยู่ที่ไหนหนอ? "

    ... ดังนี้แล้ว มีพระราชประสงค์จะพบพระสหายนั้น : จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ก็ตรัสถามหา ภายในเมืองบ้าง ท่ามกลางบริษัทบ้างว่า ทรีมุขกุมาร สหายของฉันอยู่ที่ไหน? ผู้ใดบอกที่อยู่ของเขาแก่ฉัน ฉันจะให้ยศสูงแก่ผู้นั้น เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงเขาอยู่บ่อยๆ อย่างนี้ นั่นแหละ ปีอื่นๆ ได้ผ่านไปถึง ๑๐ ปี โดยเวลาผ่านไปถึง ๕๐ ปี

    ... แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทรีมุข ทรงรำลึกถึงอยู่ก็ทรงทราบว่า สหายรำลึกถึงเราอยู่แล แล้วทรงดำริว่า บัดนี้พระโพธิสัตว์นั้น ทรงพระชรา จำเริญด้วยพระโอรสพระธิดา เราจักไปแสดงธรรมถวายให้พระองค์ทรงผนวช ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จมาทางอากาศด้วยฤทธิ์ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งบนแผ่นศิลาเหมือน พระพุทธรูปทองคำ ก็ปานกัน

    ---------------------------------
     
  8. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยาน เห็นท่านแล้ว เข้าไปเฝ้าทูลถามว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากไหน? " พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสตอบว่า " มาจากเงื้อมเขา นันทมูลกะ " ...

    จ. " ท่านเป็นใคร "

    พ. " อาตมาภาพ คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า " ชื่อว่า ทรีมุข โยม "

    จ. " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรู้จักในหลวงของข้าพระองค์ทั้งหลายไหม? "

    พ. " รู้จักโยม เวลาเป็นคฤหัสถ์ พระองค์ทรงเป็นสหายของอาตมา "

    จ. " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในหลวงมีพระราชประสงค์จะพบพระองค์ ข้าพระองค์จักูลบอกว่า พระองค์เสด็จมา "

    พ. " เชิญโยม ไปทูลบอกเถิด "

    จ. รับพระบัญชาแล้ว รีบด่วนไปทีเดีว ทูลในหลวงถึงความที่พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่แผ่นศิลาแล้ว

    ... ในหลวงตรัสว่า " ได้ทราบว่า พระสหายของฉันมาแล้ว ฉันจักไปเยี่ยมท่าน " แล้วเสด็จขึ้นรถไปยังพระราชอุทยาน พร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ไหว้พระปัจเจกพุทะเจ้า ทำการปฏิสันถาร แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

    ... ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงทำปฏิสันถารกะพระองค์พลางทูลคำมีอาทิว่า :

    " ขอถวายพระพร พระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ? ไม่ทรงลุอำนาจอคติหรือ? ไม่ทรงเบียดเบียนประชาสัตว์ เพื่อต้องการทรัพย์หรือ? ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้นอยู่หรือ? " ดังนี้แล้ว ทูลว่า :

    " ขอถวายพระพร พระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงชราภาพแล้ว บัดนี้ เป็นสมัยของพระองค์ที่จะทรงละกาม เสด็จออกผนวชแล้ว "

    ... เมื่อทรงแสดงธรรมถวายพระองค์จึงได้ทูลคาถาที่ ๑ ว่า :-

    " กามทั้งหลายเหมือนหล่ม กามทั้งหลายเหมือนพุ ก็อาตมาภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่า มีมูล ๓ ธุลีและควัน อาตมาก็ได้ถวายพระพรแล้ว ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัตมหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงละสิ่งเหล่านั้น เสด็จออกผนวชเถิด "

    ... พระราชา ครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกความทีพระองค์ ทรงติดอยู่ ด้วยกิเลสทั้งหลาย จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า:-

    " ดูก่อนพราหณ์ โยมทั้งกำหนัด ทั้งยินดี ... ทั้งสยบอยู่ในกามทั้งหลาย ต้องการมีชีวิตอยู่ ... ไม่อาจละกามนั้นที่มีรูปสะพรึงกลัวได้ ... แต่โยมจักทำบุญไม่ใช่น้อย "

    ... เมื่อพระมหาสัตว์นั้นนั่นเอง ตรัสว่า โยมไม่อาจบวชได้ พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่ทรงทอดธุระ เมื่อจะถวายพระโอวาทให้ยิ่งขึ้น จึงตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-

    " ผู้ที่ถูกผู้มุ่งประโยชน์ อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ ... แต่ไม่ทำตามคำสอนเป็นคนโง่ สำคัญว่าสิ่งนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่าสิ่งอื่น...จะเข้าถึงครรภ์สัตว์แล้ว เล่าๆ ... จะเข้าถึงนรกชนิดร้ายกาจ...เหล่าสัตว์ที่ยังไม่ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย ติดแล้วในกายของตนละยังไม่ได้...ซึ่งสิ่งที่ที่ไม่สะอาดของผู้สะอาดทั้งหลาย ที่เต็มไปด้วยมูตร และคูถ "

    ... พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงทุกข์ ทั้งที่มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลฐาน ทั้งที่มีการบริหารเป็นมูลฐานแล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์ที่มีการออกจากครรภ์เป็นมูลฐาน จึงคตรัสคาถาหนึ่งกับถึงคาถาไว้ว่า :-

    " สัตว์ทั้งหลายเลอะอุจจาระ เปื้อนเลือดออกมา...เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถูกต้อง สิ่งใดๆ ด้วยกายอยู่ในขณะใด...ขณะนั้นเองก็สัมผัสผ่องทุกข์ล้วนๆ ที่ไม่มีความแช่มชื่นเลย...อาตมาภาพเห็นแล้ว จึงทูลถวายพระพร ไม่ได้ฟังจากผู้อื่นทูลถวายพระพร...แตอาตมาภาพระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยมาเป็นจำนวนมาก "

    ... บัดนี้ พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง ครั้นตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทรงสงเคราะห์พระราชาด้วย พระคาถาสุภาษิตอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสรู้กึ่งคาถาไว้ตอนท้ายว่า :-

    " พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ทรงยังพระราชาผู้ทรงมีพระปัญญา...ให้ทรงรู้พระองค์ด้วยคาถาทั้งหลาย ที่เป็นภาษิตมีเนื้อความวิจิตรพิสดาร "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษในกามทั้งหลาย ทรงยังพระราชให้ทรงถือเอาถ้อยคำของตนอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า :

    " ขอถวายพระพรหมมหาบพิตร บัดนี้ พระองค์จะทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม แต่ว่า อาตมาภาพได้แสดงโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการบวชถวายมหาบพิตรแล้ว ขอมหาบพิตรจงอย่าทรงประมาท " ดังนี้แล้ว ได้ทรงเหาะไปในอากาศ ทรงเหยียบกลีบเมฆเสด็จไปยังเงื้อมเขา นันทะมูลกะ นั่นเอง เหมือนพระยาหงส์ทองฉะนั้น

    ... พระมหาสัตว์ทรงประคองอัญชลีที่รุ่งโรจน์ รวมทั้ง ๑๐ นิ้วไว้บนเศียรนมัสการอยู่ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว จึงตรัสส่งให้หาพระราชบุตรพระองค์ใหญ่ คือเจ้าฟ้าใหญ่มาเฝ้า ทรงมอบราชสมบัติให้ แล้วเมื่อมหาชนกำลังร้องให้คร่ำครวญกันอยู่ ได้ทรงละกามทั้งหลาย เสด็จสู่ป่าหิมพานต์ ทรงสร้างบรรณศาลาผนวชเป็นฤาษี ไม่นานเลยก็ทรงยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ในเวลาสิ้นพระชนมายุก็ได้ทรงถึงพรหมโลก

    ... พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาประกาศสัจจธรรม แล้วจึงประชุมชาดกไว้ ในเวลาจบสัจจธรรม คนทั้งหลายได้พระโสดาบันเป็นต้นมากมาย พระราชา ในครั้งนั้น ก็คือ เราตถาคต ฉะนี้แล

    (ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ / อรรถกถาทรีมุขชาดกที่ ๓ /ฉักกนิกาย)

    ------------------------------
     
  9. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ระปัจเจกพุทธเจ้า : ในคำภีร์อนาคตวงศ์

    ... มีเรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์อื่นที่ไม่ใช่ในพระไตรปิฏก แต่ก็มีพุทธศาสนิกชนรู้จักคัมภีร์นี้พอสมควร นั่นคือ พระอานคตวงศ์ ซึ่งในคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต ๑๐ พระองค์ ในคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึง อธิการ ในอดีตของ พระนรสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้

    เรื่องพระนรสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... ดูก่อน พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้มีอายุ เมื่อศาสนาของ พระเทวเทพสัมมาสัมพุทธเจ้า เสื่อมไปแล้ว ในกัปนั้น โตเทยยพราหมณ์ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก แสงสว่างแห่งพระพุทธรัศมี กลางวันมีสีประหนึ่งว่า แสงสว่างแก้วมรณี กลางคืนเป็นเช่นกับแสงทอง ทรงมีต้นแคฝอยเป็นต้นไม้ตรัสรู้

    ... ด้วยพุทธานุภาพ มีข้าวสาลีหอมเกิดขึ้นตามปกติ มหาชนทุกจำพวกไม่ได้ค้าขาย ไม่ได้ทำไร่ไถนา พากันเก็บเอาข้าวสารแห่งสาลี มาหุงต้มบริโภค มีต้นกัลปพฤกษ์เกิดขึ้นต้นหนึ่ง มีสิ่งของต่างๆ เกิดขึ้น เพราะอาศัยต้นกัลปพฤกษ์ คนเหล่านั้นไม่ต้องแต่งกาย ตามปกติคนเหล่านั้น มีผิวพรรณสีเหมือนทอง

    ... เบื้องพระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะมีเศวตฉัตรแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ปรากฏแก่กล้า จัดว่าได้มหาสมบัติ ด้วยประการฉะนี้


    ... ดูก่อน พระธรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้เจริญ เมื่อศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ล่วงไปแล้ว ศาสนาของเรา ก็จักมีในกาล ระหว่างกลางศาสนาทั้งสอง โตเทยพราหมณ์ได้เป็นพ่อค้านามว่า นันทมาณพ

    ... สมัยหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เที่ยวบิณบาตอยู่ในเวลานั้น นันทมาณพ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ถวายผ้ากัมพลผืนหนึ่ง และทอง ๑ แสน เป็นทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในเวลาถวายทานสิ้นสุดลง เขาได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า : -

    ..." ข้าแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ด้วยผลแห่งทานอันนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ได้พระสัพพัญญตญาณเถิด "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้า รับเอาผ้าผืนนั้นมาห่มแล้ว เบื้องของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหลือ ๑ ศอก เบื้องล่างจากพื้นเท้าเหลือประมาณ ๑ ศอก ยืนอยู่ด้วยพระบาททั้งคู่ นันทมาณพเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ ๒ อย่างว่า :-

    ... " ข้าแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการถวายผ้ากัมพลเป็นทานนี้ ขออำนาจของข้าพเจ้าจงแผ่ไปเบื้องบน ๑ โยชน์ ในเบื้องล่าง ๑ โยชน์เถิด "

    ... ในเวลาจยคำปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ออกจากบ้านไป ตรงกลางทางนางกุมารีรุ่นคนหนึ่ง พบพระปัจเจกพุทธเจ้ากำลังเดินไป จึงเรียนถามท่านว่า :-

    ..." ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ใครถวายผ้าแก่พระคุณเจ้า? "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า " ดูก่อนอุบาสิกา พ่อค้านามว่า นันทมาณพ ถวายผ้ากัมพลผืนหนึ่งเป็นทานแก่อาตมาภาพ "

    ... นางกุมารีเรียนถามว่า:-

    " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เขาตั้งความปรารถนาว่าอย่างไร? "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า " ดุก่อนอุบาสิกา พ่อค้านามว่า นันทมาณพ ได้ตั้งความปรารถไว้ ๒ อย่าง คือ ปรารถนาพระสัพัญญตญาณ ๒ ปรารถนาสมบัติคือความเป็นพระราชา "

    ... กุมารี ฟังคำนั้นแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส ถือเอาผ้าผืนหนึ่งถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ในเวลาถวายทานเสร็จ นางกุมารีจึงตั้งความปรารถนาไว้ว่า :-

    " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยการถวายผ้เป็นทานนี้ ถ้าชายพ่อค้าจักได้สมบัติแห่งมหาราชาไซร้ ดิฉันจักเป็นอัครมเหสีเขา "

    ... สรุปว่า ในกาลนั้น ปุถุชนทั้งสอง สร้างศาลาไว้หลังหนึ่งในสถานที่ถวายทานนั้น ให้ช่างจิตรกรรมสลักรูปพระปัจเจกพุทธเจ้า ณ เสาร์ศาลานั้น นางกุมารีรวบผมบนศรีษะ เอาน้ำมันทาเอาไฟจุดบูชา

    ... นันทมาณพ กระทำการบริจาคทานนั้น ถวายทาน รักษาศีล ดำรงอยู่ชั่วอายุ ณ ที่นั้น ในเวลาสิ้นอายุ จุติแล้วไปบังเกิดในภพบนดาวดึงส์ กับก้วยนางกุมารีนั้น ในเวลานั้น คนทั้งสองดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สิ้นเวลา ๓๖ ล้านปี โดยนับปีของมนุษย์

    ... คนทั้งสองจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น นันทมาณพ บังเกิดเป็น พระธรรมราชา ในนครทวาราวดี ฝ่ายกุมารีบังเกิดในมหหาสมบัติในตระกูลเศรษฐี ในพระนครนั้น

    ... บิดามารดา ได้นำนางกุมารีซึ่งมีอายุครบ ๑๖ ปี เข้าไปถวายแด่ พระธรรมราชา ญาติๆ ทั้งหลายได้ตั้งชื่อนางกุมารีว่า " มงคลเทวี "

    ... ก็พระนางมงคลเทวี ได้เป็นหัวหน้าหญิง ๑๖,๐๐๐ นางแล้ว ตกว่าพระธรรมราชาทรงให้หญิงนางสนมทั้งหมด จัดสำรับอาหารเลี้ยงกันและกันแล้ว นางสนมทุกนางจะได้นิ้วทองบริโภคอาหารก็หามิได้ นางมลคลเทวีเป็นเจ้าแห่งทาน ให้ทานอย่างเดียว ในกาลก่อนจึงได้นิ้วทองในปัจจุบัน

    ... พระเจ้าธรรมราชา กับพระนางมงคลเทวี ครั้นถวายทานเสมอกันในชาติก่อน จุติแล้ว ปัจจุบันจึงได้มหาสมบัติ ด้วยอานุภาพแห่งทาน นันทมาณพ ได้เสวยมนุษยสัมบัติ และเทวสมบัติแล้วบังเกิดเป็น โตเทยยพราหมณ์แล้ว

    ... ดูก่อนพระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งทาน โดตเทยยพราหมณ์จักได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า นรสีห์ ในอานคต

    ... ดูก่อนพระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ สรรพสัตว์ หากยังไม่ได้บรรลุธรรม อันเลิศในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘ องค์เหล่านี้คือ

    ของเรา ๑ , ของพระรามพุทธเจ้า ๑ , ของพระธรรมราชาพุทธเจ้า ๑ , ของพระธรรมสามีพุทธเจ้า ๑ , ของพระนารทพุทธเจ้า ๑ , ของพระรังสีมุนีพุทธเจ้า ๑ , ของพระเทวเทพพุทธเจ้า

    ... ในอนาคต โตเทยยพราหมณ์ จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า นรสีห์ ขอท่านทั้งหลายจงปรารถนาพบศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า นรสีห์ พระองค์นั้นเถิด

    --------------------------------------


    เหตุแห่งการบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ที่ปรากฏในคัมภีร์ชาดก :

    นอกจาก ขัคควิสาณสูตร ที่ปรากฏใน คัมภีร์สุตตนิบาต คัมภีร์อปทาน และ คัมภีร์จูฬนิทเทศแล้ว ในคัมภีร์ชาดก ก็ได้กล่าวถึงการบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณไว้เหมือนกัน จะได้นำมาแสดงโดยลำดับ


    กุมภการชาดก : คัมภีร์ชาดก

    ๑) พระกรกัณฆะปัจเจกพุทธเจ้า

    ... ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลช่างหม้อ ในหมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี เจริญวัยแล้วได้ครอบครองสมบัติ มีบุตรชาย ๑ คน บุตรหญิง ๑ คน เลี้ยงบุตภรรยาโดยอาศัยการทำหม้อ

    ... ในกาลครั้งนั้น พระราชาทรงพระนามว่า กรกัณฑะ ในทันตปุรนคร แคว้นกลิงคะมีพระราชบริพารมาก เมื่อเสด็จไปพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงใกล้ประตูพระราชอุทยานมีผลน่าเสวย เต็มไปด้วยผลเป็นพวง ประทับบนคอช้างต้นนั้นเอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไปเก็บผลมะม่วงพวงหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าไปพระราชอุทยาน ประทับนั่งบนศิลาอาสน์ พระราชทานแก่คนที่ควรพระราชทาน แล้วจึงเสวยผลมะม่วง

    ... ตั้งแต่เวลาที่พระราชาทรงเก็บผลมะม่วงแล้ว ตามธรรมดาคนที่เหลือทั้งหลาย ก็ต้องพากันเก็บเหมือนกัน ดังนั้น อำมาตย์บ้าง พราหมณ์ และคหบดีบ้าง จึงพากันเขย่าผลมะม่วงให้หล่น แล้วรับประทานกัน ผู้ที่มาหลังๆ ก็ขึ้นต้นใช้ค้อนฟาดทำให้กิ่งหัก ทะลายลงกินกัน แม้แต่ผลดิบๆ ก็ไม่เหลือ

    ... ฝ่ายพระราชาทรงกรีฑา ในราชอุทยานตลอดทั้งวันแล้ว ตอนเย็นเมื่อทรงประทับนั่งบนคอช้างต้นที่ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงนั้นจึงลงจากคอช้าง แล้วเสด็จไปที่โคนมะม่วง ทรงมองดูลำต้นพลาง ทรงดำริว่า :-

    " ต้นมะม่วงต้นนั้นเมื่อเช้านี้เอง เต็มไปด้วยผลเป็นพวงสง่างาม ทำความอิ่มตาอิ่มใจให้แก่ผู้ดูทั้งหลายยืนต้นอยู่ บัดนี้ เขาเก็บผลหมดแล้ว หักห้อยรุ่งริ่งยืนต้นอยู่ไม่งาม "

    ... เมื่อทรงมองดูต้นอื่นอีกได้ทรงเห็น ต้นมะม่วงต้นอื่นที่ไม่มีผลแล้ว ประทับยืนอยู่ที่ควงไม้นั่นเอง ทรงทำต้นมะม่วงมีผลให้เป็นอารมณ์ว่า :-

    " ต้นไม้ต้นนั้นยืนต้นสง่างามเหมือนภูเขาแก้วมณีโล้น เพราะตัวเองไม่มีผล ส่วนมะม่วงต้นนี้ถึงความย่อยยับอย่างนี้ เพราะ ออกผล แม้ท่ามกลางเรือนนี้ก็เช่นกันกับต้นมะม่วงที่ออกผล ส่วนการบรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์นั้นแหละมีภัย ส่วนผู้ที่ไม่มีทรัพย์ไม่มีภัย แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล "

    ... แล้วทรงกำหนดไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนายังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงรำลึกอยู่ว่า :-

    "บัดนี้ เราทำลายกระท่อม คือ ท้องของมารดาแล้ว"

    "การปฏิสนธิในภพทั้ง ๓ เราตัดขาดแล้ว"

    "ส้วมแหล่งอุจจาระ คือ สงสารเราล้างแล้ว"

    "กำแพงกระดูกเราพังแล้ว"

    "เราจะไม่มีการปฏิสนธิอีก"

    ... ได้ทรงแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งหมดประทับยืนอยู่แล้ว จึงอำมาตย์ทั้หลายได้ทูลพระองค์ว่า :-

    "ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จประทับยืนนานเกินไปแล้ว"

    พระราชา : "เราไม่ใช่พระราชา แต่เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า"

    อำมาตย์ : "ข้าแต่สมมุติเทพ ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เป็นเช่นกับด้วยพระองค์"

    พระราชา : "ถ้าเช่นนั้นเป็นอย่างไร"

    อำมาตย์ : "โกนผมโกนหนวด ปกปิดร่างกายด้วยผ้ากาสาวพัตร์ มีส่วนเปรียบเทียบด้วยดวงจันทร์ที่พ้นจากพระราหู พำนักอยู่เงื้อมนันทมูลในป่าหิมพานต์ พระปัจเจกทั้งหลายเป็นเช่นนี้"

    ... ในขณะนั้น พระราชาทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบเกศา ในทันทีนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศสมณะก็ปรากฏขึ้น สมณบริขารทั้งหลายที่พระองค์ตรัสถึงอย่างนี้ว่า :-

    ... ไตรจีวร บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคตพร้อมด้วยกระบอกกรองน้ำ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียรได้ปกปิดพระกายขอองพระองค์ทันที

    ... พระองค์ประทับที่อากาศประทานพระโอวาทแก่คนทั้งหลายแล้ว ได้เสด็จไปสู่เงื้อมนันทมูลนั่นแหละ

    ---------------------------------


    ๒) พระนัคคชิปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... ฝ่ายพระราชาทรงพระนามว่า นัคคชิ ในนครตักศิลา ที่แคว้นคันธาระ เสด็จไปท่ามกลางพระราชบัลลังก์ เบื้องบนปราสาท ทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่ง ในมือแต่ละข้างประดับกำไลหยกข้างละอันนั่งบดของหอมอยู่ไม่ไกล ประทับนั่งทอดพระเนตร พลางดำริว่า :-

    "กำไลหยกเหล่านั้นไม่กระทบกัน ไม่มีเสียงดัง เพราะเป็นข้างละอัน คือ แยกกันอยู่"

    ... ภายหลังนางเอากำไลแขนจากข้างขวามาสวมไว้ข้างซ้ายรวมกัน แล้วเริ่มเอามือขวาดึงของหอมมาบด กำไลแก้วมณีคือหยกที่มือซ้ายมากระทบกำไลข้างที่ ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น

    ... พระราชาทอดพระเนตรเห็นกำไรแขนทั้ง ๒ ข้างเหล่านั้นกระทบกันอยู่มีเสียงดัง จึงทรงดำริว่า :-

    "กำไลแขนนี้เวลาอยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน แต่อาศัยข้างที่ ๒ กระทบกันก็มีเสียงดังฉันใด แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ละคนๆ ไม่กระทบกัน ก็ไม่ส่งเสียง แต่พอมี ๒, ๓ คนขึ้นไปก็กระทบกันทำการทะเลาะกัน ส่วนเราวิจารณ์ราษฏรในราชสมบัติ ๒ แห่ง ในกัสมิระ และคันธาระ เราควรเหมือนกำไลแขนข้างเดียว ไม่วิจารณ์คนอื่น วิจารณ์ตัวเองเท่านั้นอยู่"

    ... แล้วทรงทำการกระทบกันแห่งกำไรให้เป็นอารมณ์แล้วทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิด...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)


    ๓) พระนิมิราชปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... ที่มิถิลานครในวิเทหรัฐ พระเจ้านิมิราช เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรระหว่างถนน ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้

    ... ครั้งนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่งคาบเอาชื้นเนื้อจากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น บินล้อมเหยี่ยวตัวนั้น ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ใช้จงอยปากจิกใช้ปีกตี ใช้เท้าเฉี่ยวไป เพราะเหตุแห่งอาหาร มันทนาการรังแกตนไม่ไหว จึงทิ้งก้อนเนื้อก้อนนั้นไป นกเหล่าอื่นก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว ตัวอื่นก็คาบไป นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นเหมือนกัน

    ... พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า:-

    "นกตัวใดๆ คาบก้อนเนื้อ นกตัวนั้นๆ แหละมีความทุกข์ ส่วนนกตัวใดๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้นทิ้ง นกตัวนั้นๆ แหละมีความสุข"

    "แม้กามคุณ ๕ เหล่านี้ ผู้ใดๆ ยึดถือไว้ ผู้นั้นๆ แหละมีความทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่ยึดถือนั่นแหละมีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้ เป็นของสาธาณะสำหรับคนจำนวนมาก"

    "ก็แล เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง เราควรจะละกามคุณทั้ง ๕ แล้วเป็นสุขเหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น"

    ... พระองค์ทรงมนสิการโดยแยบคายอยู่ทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาแล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)


    ๔) พระทุมมุขะปัจเจกพุทธเจ้า :

    ในแคว้นอุตรปัญจาละในกปิลนคร พระราชาทรงพระนามว่า ทุมมุขะ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงประดับเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรพระลานหลวง ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้

    ... ในขณะนั้น คนเลี้ยงวัวทั้งหลาย ต่างก็เปิดประตูคอกวัว พวกวัวตัวผู้ออกจากคอก แล้วก็ติดตามวัวตัวเมียตัวหนึ่งด้วยอำนาจกิเลส

    ... ในจำนวนวัวเหล่านั้น โคถึกใหญ่ตัวหนึ่งเขาคม เห็นวัวตัวผู้อื่นกำลังเดินมา มีความเห็นแก่ตัว คือหึงด้วยอำนาจกิเลสครอบงำ จึงใช้เขาแหลมขวิดที่หว่างขา ไส้ใหญ่ทั้งหลายของวัวตัวนั้น ก็ทะลักออกมาทางปากแผล มันถงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง

    ... พระราชาทรงเห็นเหตุการณนั้นแล้ว ทรงดำริว่า:-

    " สัตว์โลกทั้งหลาย ตั้งต้นแต่สัตว์เดียรรัจฉานไปถึงทุกข์ด้วยอำนาจกิเลส วัวผู้ตัวนี้อาศัยกิเลสถึงความสิ้นชีวิต สัตว์แม้เหล่าอื่นก็หวั่นไหวเพราะกิเลสทั้งหลายนั้นเอง เราควรประหารกิเลสที่เป็นเหตุให้สัตว์ทังหลายหวั่นไหว"

    ... พระองค์ประทับยืนอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสา แล้วยังพระโพธิญาณให้เกิดขึ้น...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)


    ...อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์เหล่านั้น กำหนดเวลาภิกขาจารแล้ว ก็เสด็จออกจากเงื้อมนันทมูลกะ ทรงเคี้ยวไม้ชำระฟันนาคลดา ที่สระอโนดาต ทรงทำการชำระพระวรกายแล้ว ประทับยืนบนพื้นมโนศิลา ทรงนุ่งสบงแล้วถือเอา บาตรและจีวรเหาะขึ้นไปบนอากาศด้วยฤทธิ์ ทรงย่ำเมฆ ๕ สี ไปแล้ว เสด็จลง ณ ที่ไม่ไกลหมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี ทรงหุ่มจีวรในที่สำราญแห่งหนึ่ง ทรงถือบาตรเสด็จเข้าไปในหมู่บ้าน ใกล้ประตูเมืองเที่ยวบิณฑบาต ลุ ถึงประตูบ้านพระโพธิสัตว์

    ... พระโพธิสัตว์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วก็ดีใจ นิมนต์ให้ท่านเข้าไปในบ้าน ใหนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้วถวายทักขิโนทกอังคาส ด้วยของเคี้ยวของฉันอันปราณีต นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งไหว้พระสังฆเถระแล้วทูลถามว่า...

    -------------------------------------


    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบรรพชาของพระองค์ทั้งหลายงามเหลือเกิน อินทร์ทรีย์ของพระองค์ทั้งหลายผ่องใส ฉวีวรรณก็ผุดผ่อง พระองค์ทรงเห็นอารมณ์อะไรหนอ จึงทรงเข้าถึงการบรรพชาด้วยอกนาจภิกขาจารวัตร"

    ... และได้เข้าทูลถามพระเถระที่เหลือเหมือน ทูลถามพระสังฆเถระ

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์นั้น ได้ตรัสบอกเรื่องการออกบวชของตนๆ แก่พระโพธิสัตว์นั้นโดยนัยมีอาทิว่า "อาตมาภาพเป็นพระราชาชื่อโน้น ในนครโน้น ในแคว้นโน้น แล้วตรัสคาถาองค์ละ ๑ คาถาว่า :-

    "อาตมาภาพเห็นต้นมะม่วง ที่งอกงาม ผลเขียวไปทั้งต้น ในระหว่างป่ามะม่วง... เมื่อกลับออกมา ได้เห็นมะม่วงนั้นหักย่อยยับ เพราะ ผล ของมันเป็นเหตุ... ครั้นเห็นแล้วอาตมาภาพจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    "หญิงสาวคนหนึ่งสวมกำไลแขนหินหยกเกลี้ยงกลมคู่หนึ่ง ที่นายช่างผู้ชำนาญเจียรนัยแล้ว ไม่มี เสียงดัง... แต่เพราะศัยกำไลแขนข้างทั้ง ๒ จึงมี เสียงดังขึ้น... อาตมาภาพได้เห็น เหตุนั้นแล้วจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    "นกจำนวนมากพากันบินตามรุมล้อม ตีจิกนกตัวหนึ่งที่กำลังนำก้อนเนื้อมา เพราะ อาหาร เป็นเหตุ... อาตมาภาพได้เห็นเหตุนั้นแล้วจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    "อาตมาภาพได้เห็นวัวตัวผู้ตัวหนึ่งท่ามกลางฝูง มีหนอกขึ้นเปลี่ยว ประกอบด้วยสีสวยและมีกำลังมาก ได้เห็นมันขวิดวัวตัวหนึ่งตาย เพราะ กาม เป็นเหตุ... ครั้นได้เห็นเหตุนั้นแล้วจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    ... พระโพธิสัตว์ครั้นได้สดับคาถาแต่ละคาถา ได้ทำการสดุดีพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์ว่า :-

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส อารมณ์นั้นเหมาะสมสำหรับเหล่าข้าพระองค์ทีเดียว"

    ... พระโพธิสัตวืสดับธรรมกคานั้น ที่ท่านทั้ง ๔ ทรงแสดงแล้ว เป็นผู้ไม่มีเยื่อใยในฆราวาส เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปแล้ว รับปประทานอาหารเช้าแล้ว นั่งสำราญอยู่ ได้เรียกภรรยามาพูดว่า

    "พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์นี้ สละราชสมบัติออกผนวช ไม่มีกังวล ไม่มีห่วงใยให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุข เกิดจากการบรรพชา ส่วนเราเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้าง เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เธอจงสงเคราะห์คือเลี้ยงดูลูกอยู่บ้านเถิด" แล้วกล่าวคาถาว่า :-

    "พระราชาเหล่านี้คือ พระเจ้ากรกัณฑะของชาวกลิงคะ ๑ , พระเจ้านัดดชิของชาวคันธาระ ๑ ,

    พระเจ้านิมิราชของชาววิเทหะ ๑ , พระเจ้าทุมมุขะของชาวปัญจาละ ๑

    ทรงละแว่นแคว้นออกผนวช หาความห่วงใยมิได้

    พระราชาเหล่านี้ แม้ทุกพพระองค์ เสมอด้วยเทพเจ้า

    เสด็จมาพบกัน ย่อมสง่างามเหมือนไปลุกโชนฉะนั้น

    ดูก่อนนางผู้โชคดี แม้เราละกามทั้งหลายทิ้งแล้ว ดำรงอยู่ตาส่วนของตนเที่ยวไปคนเดียว"

    ... ภรรยานั้นครั้นได้ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงพูดว่า

    "ข้าแต่นาย ตั้งแต่เวลาได้ฟังธรรมกถา ของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้ฉันเองใจก็ไม่สถิตอยู่ในบ้าน" แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า:-

    "เวลานี้เท่านั้น เวลาอื่นนอกจากนี้จะไม่มีเลย ภายหลังคงไม่มีผู้พร่ำสอนฉัน... ข้าแต่ท่านผู้มีโชค ฉันเองก็จักพ้นจากมือชาย เที่ยวไปคนเดียว เหมือนนางนกพ้นจากข้อง ฉะนั้น"

    ... พระโพธิสัตว์ครั้นได้ฟังคำของนางแล้ว ได้นิ่งอยู่ ส่วนนางประสงค์จะลวงพระโพธิสัตว์แล้วบวชก่อน จึงกล่าวว่า

    "ข้าแต่นาย ฉันจักไปทำน้ำดื่ม ขอท่านจงดูลูกไว้"

    แล้วจึงถือเอาหม้อน้ำที่ทำเป็นเหมือนเดินไปท่าน้ำ แล้วหนีไป ถึงสำนักของพวกดาบสที่ใกล้นครแล้วก็บวช

    ... พระโพธิสัตว์ทราบว่านางไม่มาจึงเลี้ยงเด็กเอง ต่อมาเมื่อเด็กเหล่านั้นเติบโตขึ้นหน่อยหนึ่ง สามารถรู้ดีรู้ชั่วแล้ว เพื่อจะทดลองเด็กเหล่านั้น

    วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เมื่อหุงข้าวสวย ได้หุงดิบไปหน่อย วันหนึ่งแปหน่อย วันหนึ่งไหม้ วันหนึ่ปรุงอาหารจืดไป วันหนึ่งเค็มไป เด็กทั้งหลายพุดว่า วันนี้ดิบ วันนี้แฉะ วันนี้ไหม้ วันนี้จืด วันนี้เค็มไป พระโพธิสัตว์พูดว่า

    "ลูกเอ๋ย วันนี้ข้าวดิบ" แล้วคิดว่า " บัดนี้ เด็กเหล่านี้รู้จักดิบ สุก จืดและเค็มจัดแล้ว จักสามารถเลี้ยงชีพตามธรรมดาของตน เราควรจะบวชละ"

    ต่อมาท่านได้มอบเด็กเหล่านั้นให้พวกญาติพูดว่า

    "ดูก่อนพ่อและแม่ ขอจงเลี้ยงเด็กเหล่านี้ให้ดีเถิด"

    แล้วเมื่อพวกญาติกำลังโอดครวญอยู่นั่นเองได้ออกจากพระนครไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใกล้ๆ พระนครนั่นเอง

    ... อยู่มาวันหนึ่ง นางปริพาชิกา คือ ภรรยาเก่า ได้เห็นท่านกำลังเที่ยวภิกขาจารในนครพาราณสี ไหว้แล้วจึงพุดว่า

    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ท่านเห็นจะให้ลูกทั้งหลายพินาศไปแล้ว"

    พระมหาสัตว์ ตอบว่า "เราไม่ได้ให้ลูกพินาศ ออกบวชในเวลาที่พวกเขาสามารถรู้ดีรู้ชั่วแล้ว เธออย่าคิดถึงพวกเขา จงยินดีในการบวชเถิด" แล้วได้กล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

    "เด็กทั้งหลายรู้จักดิบ รู้จักสุก รู้จักเค็มและจืด ฉันเห้นข้อนั้นแล้วจึงบวช... เธอจงเที่ยวไปเพื่อภิกษาเถิด ฉันก้จะเที่ยวไปเพื่อภิกษา"

    ... พระโพธิสัตว์ตักเตือนปริพาชิกา ด้วยประการอย่างนี้แล้วก็ส่งตัวไป ฝ่ายปปริพาชิการับโอวาทไหว้พระมหาสัตว์แล้ว จึงไปสู่สถานที่ตามใจชอบ

    ได้ทราบว่านอกจากวันนั้นแล้ว ทั้ง ๒ ท่านนั้น ก็ไม่ได้พบเห็นกันอีก ฝ่ายพระโพธิสัตว์ให้ฌานและอภิญญาเกิดขึ้นแล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

    ... พระศาสดาครั้นทรงนำพระรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลายประชุมชาดกไว้ว่า

    - ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ ๕๐๐ รูปดำรงอยู่แล้วใน อรหัตผล

    - ธิดา ในครั้งนั้นได้แก่ อุบลวรรณาเถรี ในบัดนี้

    - บุตร ได้แก่ พระราหุลเถระ

    - ปริพาชิกา ได้แก่ มารดา พระราหุลเถระ

    - ส่วนปริพาชก คือ เราตถาคต ฉะนั้นแล
     
  10. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ระปัจเจกพุทธเจ้า : ในคำภีร์อนาคตวงศ์

    ... มีเรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์อื่นที่ไม่ใช่ในพระไตรปิฏก แต่ก็มีพุทธศาสนิกชนรู้จักคัมภีร์นี้พอสมควร นั่นคือ พระอานคตวงศ์ ซึ่งในคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต ๑๐ พระองค์ ในคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึง อธิการ ในอดีตของ พระนรสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้

    เรื่องพระนรสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... ดูก่อน พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้มีอายุ เมื่อศาสนาของ พระเทวเทพสัมมาสัมพุทธเจ้า เสื่อมไปแล้ว ในกัปนั้น โตเทยยพราหมณ์ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก แสงสว่างแห่งพระพุทธรัศมี กลางวันมีสีประหนึ่งว่า แสงสว่างแก้วมรณี กลางคืนเป็นเช่นกับแสงทอง ทรงมีต้นแคฝอยเป็นต้นไม้ตรัสรู้

    ... ด้วยพุทธานุภาพ มีข้าวสาลีหอมเกิดขึ้นตามปกติ มหาชนทุกจำพวกไม่ได้ค้าขาย ไม่ได้ทำไร่ไถนา พากันเก็บเอาข้าวสารแห่งสาลี มาหุงต้มบริโภค มีต้นกัลปพฤกษ์เกิดขึ้นต้นหนึ่ง มีสิ่งของต่างๆ เกิดขึ้น เพราะอาศัยต้นกัลปพฤกษ์ คนเหล่านั้นไม่ต้องแต่งกาย ตามปกติคนเหล่านั้น มีผิวพรรณสีเหมือนทอง

    ... เบื้องพระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะมีเศวตฉัตรแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ปรากฏแก่กล้า จัดว่าได้มหาสมบัติ ด้วยประการฉะนี้


    ... ดูก่อน พระธรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้เจริญ เมื่อศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ล่วงไปแล้ว ศาสนาของเรา ก็จักมีในกาล ระหว่างกลางศาสนาทั้งสอง โตเทยพราหมณ์ได้เป็นพ่อค้านามว่า นันทมาณพ

    ... สมัยหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เที่ยวบิณบาตอยู่ในเวลานั้น นันทมาณพ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ถวายผ้ากัมพลผืนหนึ่ง และทอง ๑ แสน เป็นทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในเวลาถวายทานสิ้นสุดลง เขาได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า : -

    ..." ข้าแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ด้วยผลแห่งทานอันนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ได้พระสัพพัญญตญาณเถิด "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้า รับเอาผ้าผืนนั้นมาห่มแล้ว เบื้องของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหลือ ๑ ศอก เบื้องล่างจากพื้นเท้าเหลือประมาณ ๑ ศอก ยืนอยู่ด้วยพระบาททั้งคู่ นันทมาณพเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ ๒ อย่างว่า :-

    ... " ข้าแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการถวายผ้ากัมพลเป็นทานนี้ ขออำนาจของข้าพเจ้าจงแผ่ไปเบื้องบน ๑ โยชน์ ในเบื้องล่าง ๑ โยชน์เถิด "

    ... ในเวลาจยคำปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ออกจากบ้านไป ตรงกลางทางนางกุมารีรุ่นคนหนึ่ง พบพระปัจเจกพุทธเจ้ากำลังเดินไป จึงเรียนถามท่านว่า :-

    ..." ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ใครถวายผ้าแก่พระคุณเจ้า? "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า " ดูก่อนอุบาสิกา พ่อค้านามว่า นันทมาณพ ถวายผ้ากัมพลผืนหนึ่งเป็นทานแก่อาตมาภาพ "

    ... นางกุมารีเรียนถามว่า:-

    " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เขาตั้งความปรารถนาว่าอย่างไร? "

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า " ดุก่อนอุบาสิกา พ่อค้านามว่า นันทมาณพ ได้ตั้งความปรารถไว้ ๒ อย่าง คือ ปรารถนาพระสัพัญญตญาณ ๒ ปรารถนาสมบัติคือความเป็นพระราชา "

    ... กุมารี ฟังคำนั้นแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส ถือเอาผ้าผืนหนึ่งถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ในเวลาถวายทานเสร็จ นางกุมารีจึงตั้งความปรารถนาไว้ว่า :-

    " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยการถวายผ้เป็นทานนี้ ถ้าชายพ่อค้าจักได้สมบัติแห่งมหาราชาไซร้ ดิฉันจักเป็นอัครมเหสีเขา "

    ... สรุปว่า ในกาลนั้น ปุถุชนทั้งสอง สร้างศาลาไว้หลังหนึ่งในสถานที่ถวายทานนั้น ให้ช่างจิตรกรรมสลักรูปพระปัจเจกพุทธเจ้า ณ เสาร์ศาลานั้น นางกุมารีรวบผมบนศรีษะ เอาน้ำมันทาเอาไฟจุดบูชา

    ... นันทมาณพ กระทำการบริจาคทานนั้น ถวายทาน รักษาศีล ดำรงอยู่ชั่วอายุ ณ ที่นั้น ในเวลาสิ้นอายุ จุติแล้วไปบังเกิดในภพบนดาวดึงส์ กับก้วยนางกุมารีนั้น ในเวลานั้น คนทั้งสองดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สิ้นเวลา ๓๖ ล้านปี โดยนับปีของมนุษย์

    ... คนทั้งสองจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น นันทมาณพ บังเกิดเป็น พระธรรมราชา ในนครทวาราวดี ฝ่ายกุมารีบังเกิดในมหหาสมบัติในตระกูลเศรษฐี ในพระนครนั้น

    ... บิดามารดา ได้นำนางกุมารีซึ่งมีอายุครบ ๑๖ ปี เข้าไปถวายแด่ พระธรรมราชา ญาติๆ ทั้งหลายได้ตั้งชื่อนางกุมารีว่า " มงคลเทวี "

    ... ก็พระนางมงคลเทวี ได้เป็นหัวหน้าหญิง ๑๖,๐๐๐ นางแล้ว ตกว่าพระธรรมราชาทรงให้หญิงนางสนมทั้งหมด จัดสำรับอาหารเลี้ยงกันและกันแล้ว นางสนมทุกนางจะได้นิ้วทองบริโภคอาหารก็หามิได้ นางมลคลเทวีเป็นเจ้าแห่งทาน ให้ทานอย่างเดียว ในกาลก่อนจึงได้นิ้วทองในปัจจุบัน

    ... พระเจ้าธรรมราชา กับพระนางมงคลเทวี ครั้นถวายทานเสมอกันในชาติก่อน จุติแล้ว ปัจจุบันจึงได้มหาสมบัติ ด้วยอานุภาพแห่งทาน นันทมาณพ ได้เสวยมนุษยสัมบัติ และเทวสมบัติแล้วบังเกิดเป็น โตเทยยพราหมณ์แล้ว

    ... ดูก่อนพระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งทาน โดตเทยยพราหมณ์จักได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า นรสีห์ ในอานคต

    ... ดูก่อนพระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ผู้เจริญ ด้วยอาการอย่างนี้ สรรพสัตว์ หากยังไม่ได้บรรลุธรรม อันเลิศในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘ องค์เหล่านี้คือ

    ของเรา ๑ , ของพระรามพุทธเจ้า ๑ , ของพระธรรมราชาพุทธเจ้า ๑ , ของพระธรรมสามีพุทธเจ้า ๑ , ของพระนารทพุทธเจ้า ๑ , ของพระรังสีมุนีพุทธเจ้า ๑ , ของพระเทวเทพพุทธเจ้า

    ... ในอนาคต โตเทยยพราหมณ์ จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า นรสีห์ ขอท่านทั้งหลายจงปรารถนาพบศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า นรสีห์ พระองค์นั้นเถิด

    --------------------------------------


    เหตุแห่งการบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ที่ปรากฏในคัมภีร์ชาดก :

    นอกจาก ขัคควิสาณสูตร ที่ปรากฏใน คัมภีร์สุตตนิบาต คัมภีร์อปทาน และ คัมภีร์จูฬนิทเทศแล้ว ในคัมภีร์ชาดก ก็ได้กล่าวถึงการบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณไว้เหมือนกัน จะได้นำมาแสดงโดยลำดับ


    กุมภการชาดก : คัมภีร์ชาดก

    ๑) พระกรกัณฆะปัจเจกพุทธเจ้า

    ... ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลช่างหม้อ ในหมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี เจริญวัยแล้วได้ครอบครองสมบัติ มีบุตรชาย ๑ คน บุตรหญิง ๑ คน เลี้ยงบุตภรรยาโดยอาศัยการทำหม้อ

    ... ในกาลครั้งนั้น พระราชาทรงพระนามว่า กรกัณฑะ ในทันตปุรนคร แคว้นกลิงคะมีพระราชบริพารมาก เมื่อเสด็จไปพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงใกล้ประตูพระราชอุทยานมีผลน่าเสวย เต็มไปด้วยผลเป็นพวง ประทับบนคอช้างต้นนั้นเอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไปเก็บผลมะม่วงพวงหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าไปพระราชอุทยาน ประทับนั่งบนศิลาอาสน์ พระราชทานแก่คนที่ควรพระราชทาน แล้วจึงเสวยผลมะม่วง

    ... ตั้งแต่เวลาที่พระราชาทรงเก็บผลมะม่วงแล้ว ตามธรรมดาคนที่เหลือทั้งหลาย ก็ต้องพากันเก็บเหมือนกัน ดังนั้น อำมาตย์บ้าง พราหมณ์ และคหบดีบ้าง จึงพากันเขย่าผลมะม่วงให้หล่น แล้วรับประทานกัน ผู้ที่มาหลังๆ ก็ขึ้นต้นใช้ค้อนฟาดทำให้กิ่งหัก ทะลายลงกินกัน แม้แต่ผลดิบๆ ก็ไม่เหลือ

    ... ฝ่ายพระราชาทรงกรีฑา ในราชอุทยานตลอดทั้งวันแล้ว ตอนเย็นเมื่อทรงประทับนั่งบนคอช้างต้นที่ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงนั้นจึงลงจากคอช้าง แล้วเสด็จไปที่โคนมะม่วง ทรงมองดูลำต้นพลาง ทรงดำริว่า :-

    " ต้นมะม่วงต้นนั้นเมื่อเช้านี้เอง เต็มไปด้วยผลเป็นพวงสง่างาม ทำความอิ่มตาอิ่มใจให้แก่ผู้ดูทั้งหลายยืนต้นอยู่ บัดนี้ เขาเก็บผลหมดแล้ว หักห้อยรุ่งริ่งยืนต้นอยู่ไม่งาม "

    ... เมื่อทรงมองดูต้นอื่นอีกได้ทรงเห็น ต้นมะม่วงต้นอื่นที่ไม่มีผลแล้ว ประทับยืนอยู่ที่ควงไม้นั่นเอง ทรงทำต้นมะม่วงมีผลให้เป็นอารมณ์ว่า :-

    " ต้นไม้ต้นนั้นยืนต้นสง่างามเหมือนภูเขาแก้วมณีโล้น เพราะตัวเองไม่มีผล ส่วนมะม่วงต้นนี้ถึงความย่อยยับอย่างนี้ เพราะ ออกผล แม้ท่ามกลางเรือนนี้ก็เช่นกันกับต้นมะม่วงที่ออกผล ส่วนการบรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์นั้นแหละมีภัย ส่วนผู้ที่ไม่มีทรัพย์ไม่มีภัย แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล "

    ... แล้วทรงกำหนดไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนายังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงรำลึกอยู่ว่า :-

    "บัดนี้ เราทำลายกระท่อม คือ ท้องของมารดาแล้ว"

    "การปฏิสนธิในภพทั้ง ๓ เราตัดขาดแล้ว"

    "ส้วมแหล่งอุจจาระ คือ สงสารเราล้างแล้ว"

    "กำแพงกระดูกเราพังแล้ว"

    "เราจะไม่มีการปฏิสนธิอีก"

    ... ได้ทรงแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งหมดประทับยืนอยู่แล้ว จึงอำมาตย์ทั้หลายได้ทูลพระองค์ว่า :-

    "ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จประทับยืนนานเกินไปแล้ว"

    พระราชา : "เราไม่ใช่พระราชา แต่เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า"

    อำมาตย์ : "ข้าแต่สมมุติเทพ ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เป็นเช่นกับด้วยพระองค์"

    พระราชา : "ถ้าเช่นนั้นเป็นอย่างไร"

    อำมาตย์ : "โกนผมโกนหนวด ปกปิดร่างกายด้วยผ้ากาสาวพัตร์ มีส่วนเปรียบเทียบด้วยดวงจันทร์ที่พ้นจากพระราหู พำนักอยู่เงื้อมนันทมูลในป่าหิมพานต์ พระปัจเจกทั้งหลายเป็นเช่นนี้"

    ... ในขณะนั้น พระราชาทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบเกศา ในทันทีนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศสมณะก็ปรากฏขึ้น สมณบริขารทั้งหลายที่พระองค์ตรัสถึงอย่างนี้ว่า :-

    ... ไตรจีวร บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคตพร้อมด้วยกระบอกกรองน้ำ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียรได้ปกปิดพระกายขอองพระองค์ทันที

    ... พระองค์ประทับที่อากาศประทานพระโอวาทแก่คนทั้งหลายแล้ว ได้เสด็จไปสู่เงื้อมนันทมูลนั่นแหละ

    ---------------------------------


    ๒) พระนัคคชิปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... ฝ่ายพระราชาทรงพระนามว่า นัคคชิ ในนครตักศิลา ที่แคว้นคันธาระ เสด็จไปท่ามกลางพระราชบัลลังก์ เบื้องบนปราสาท ทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่ง ในมือแต่ละข้างประดับกำไลหยกข้างละอันนั่งบดของหอมอยู่ไม่ไกล ประทับนั่งทอดพระเนตร พลางดำริว่า :-

    "กำไลหยกเหล่านั้นไม่กระทบกัน ไม่มีเสียงดัง เพราะเป็นข้างละอัน คือ แยกกันอยู่"

    ... ภายหลังนางเอากำไลแขนจากข้างขวามาสวมไว้ข้างซ้ายรวมกัน แล้วเริ่มเอามือขวาดึงของหอมมาบด กำไลแก้วมณีคือหยกที่มือซ้ายมากระทบกำไลข้างที่ ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น

    ... พระราชาทอดพระเนตรเห็นกำไรแขนทั้ง ๒ ข้างเหล่านั้นกระทบกันอยู่มีเสียงดัง จึงทรงดำริว่า :-

    "กำไลแขนนี้เวลาอยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน แต่อาศัยข้างที่ ๒ กระทบกันก็มีเสียงดังฉันใด แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ละคนๆ ไม่กระทบกัน ก็ไม่ส่งเสียง แต่พอมี ๒, ๓ คนขึ้นไปก็กระทบกันทำการทะเลาะกัน ส่วนเราวิจารณ์ราษฏรในราชสมบัติ ๒ แห่ง ในกัสมิระ และคันธาระ เราควรเหมือนกำไลแขนข้างเดียว ไม่วิจารณ์คนอื่น วิจารณ์ตัวเองเท่านั้นอยู่"

    ... แล้วทรงทำการกระทบกันแห่งกำไรให้เป็นอารมณ์แล้วทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิด...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)


    ๓) พระนิมิราชปัจเจกพุทธเจ้า :

    ... ที่มิถิลานครในวิเทหรัฐ พระเจ้านิมิราช เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรระหว่างถนน ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้

    ... ครั้งนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่งคาบเอาชื้นเนื้อจากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น บินล้อมเหยี่ยวตัวนั้น ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ใช้จงอยปากจิกใช้ปีกตี ใช้เท้าเฉี่ยวไป เพราะเหตุแห่งอาหาร มันทนาการรังแกตนไม่ไหว จึงทิ้งก้อนเนื้อก้อนนั้นไป นกเหล่าอื่นก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว ตัวอื่นก็คาบไป นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นเหมือนกัน

    ... พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า:-

    "นกตัวใดๆ คาบก้อนเนื้อ นกตัวนั้นๆ แหละมีความทุกข์ ส่วนนกตัวใดๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้นทิ้ง นกตัวนั้นๆ แหละมีความสุข"

    "แม้กามคุณ ๕ เหล่านี้ ผู้ใดๆ ยึดถือไว้ ผู้นั้นๆ แหละมีความทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่ยึดถือนั่นแหละมีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้ เป็นของสาธาณะสำหรับคนจำนวนมาก"

    "ก็แล เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง เราควรจะละกามคุณทั้ง ๕ แล้วเป็นสุขเหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น"

    ... พระองค์ทรงมนสิการโดยแยบคายอยู่ทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาแล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)


    ๔) พระทุมมุขะปัจเจกพุทธเจ้า :

    ในแคว้นอุตรปัญจาละในกปิลนคร พระราชาทรงพระนามว่า ทุมมุขะ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงประดับเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรพระลานหลวง ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้

    ... ในขณะนั้น คนเลี้ยงวัวทั้งหลาย ต่างก็เปิดประตูคอกวัว พวกวัวตัวผู้ออกจากคอก แล้วก็ติดตามวัวตัวเมียตัวหนึ่งด้วยอำนาจกิเลส

    ... ในจำนวนวัวเหล่านั้น โคถึกใหญ่ตัวหนึ่งเขาคม เห็นวัวตัวผู้อื่นกำลังเดินมา มีความเห็นแก่ตัว คือหึงด้วยอำนาจกิเลสครอบงำ จึงใช้เขาแหลมขวิดที่หว่างขา ไส้ใหญ่ทั้งหลายของวัวตัวนั้น ก็ทะลักออกมาทางปากแผล มันถงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง

    ... พระราชาทรงเห็นเหตุการณนั้นแล้ว ทรงดำริว่า:-

    " สัตว์โลกทั้งหลาย ตั้งต้นแต่สัตว์เดียรรัจฉานไปถึงทุกข์ด้วยอำนาจกิเลส วัวผู้ตัวนี้อาศัยกิเลสถึงความสิ้นชีวิต สัตว์แม้เหล่าอื่นก็หวั่นไหวเพราะกิเลสทั้งหลายนั้นเอง เราควรประหารกิเลสที่เป็นเหตุให้สัตว์ทังหลายหวั่นไหว"

    ... พระองค์ประทับยืนอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสา แล้วยังพระโพธิญาณให้เกิดขึ้น...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)


    ...อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์เหล่านั้น กำหนดเวลาภิกขาจารแล้ว ก็เสด็จออกจากเงื้อมนันทมูลกะ ทรงเคี้ยวไม้ชำระฟันนาคลดา ที่สระอโนดาต ทรงทำการชำระพระวรกายแล้ว ประทับยืนบนพื้นมโนศิลา ทรงนุ่งสบงแล้วถือเอา บาตรและจีวรเหาะขึ้นไปบนอากาศด้วยฤทธิ์ ทรงย่ำเมฆ ๕ สี ไปแล้ว เสด็จลง ณ ที่ไม่ไกลหมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี ทรงหุ่มจีวรในที่สำราญแห่งหนึ่ง ทรงถือบาตรเสด็จเข้าไปในหมู่บ้าน ใกล้ประตูเมืองเที่ยวบิณฑบาต ลุ ถึงประตูบ้านพระโพธิสัตว์

    ... พระโพธิสัตว์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วก็ดีใจ นิมนต์ให้ท่านเข้าไปในบ้าน ใหนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้วถวายทักขิโนทกอังคาส ด้วยของเคี้ยวของฉันอันปราณีต นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งไหว้พระสังฆเถระแล้วทูลถามว่า...

    -------------------------------------


    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบรรพชาของพระองค์ทั้งหลายงามเหลือเกิน อินทร์ทรีย์ของพระองค์ทั้งหลายผ่องใส ฉวีวรรณก็ผุดผ่อง พระองค์ทรงเห็นอารมณ์อะไรหนอ จึงทรงเข้าถึงการบรรพชาด้วยอกนาจภิกขาจารวัตร"

    ... และได้เข้าทูลถามพระเถระที่เหลือเหมือน ทูลถามพระสังฆเถระ

    ... พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์นั้น ได้ตรัสบอกเรื่องการออกบวชของตนๆ แก่พระโพธิสัตว์นั้นโดยนัยมีอาทิว่า "อาตมาภาพเป็นพระราชาชื่อโน้น ในนครโน้น ในแคว้นโน้น แล้วตรัสคาถาองค์ละ ๑ คาถาว่า :-

    "อาตมาภาพเห็นต้นมะม่วง ที่งอกงาม ผลเขียวไปทั้งต้น ในระหว่างป่ามะม่วง... เมื่อกลับออกมา ได้เห็นมะม่วงนั้นหักย่อยยับ เพราะ ผล ของมันเป็นเหตุ... ครั้นเห็นแล้วอาตมาภาพจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    "หญิงสาวคนหนึ่งสวมกำไลแขนหินหยกเกลี้ยงกลมคู่หนึ่ง ที่นายช่างผู้ชำนาญเจียรนัยแล้ว ไม่มี เสียงดัง... แต่เพราะศัยกำไลแขนข้างทั้ง ๒ จึงมี เสียงดังขึ้น... อาตมาภาพได้เห็น เหตุนั้นแล้วจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    "นกจำนวนมากพากันบินตามรุมล้อม ตีจิกนกตัวหนึ่งที่กำลังนำก้อนเนื้อมา เพราะ อาหาร เป็นเหตุ... อาตมาภาพได้เห็นเหตุนั้นแล้วจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    "อาตมาภาพได้เห็นวัวตัวผู้ตัวหนึ่งท่ามกลางฝูง มีหนอกขึ้นเปลี่ยว ประกอบด้วยสีสวยและมีกำลังมาก ได้เห็นมันขวิดวัวตัวหนึ่งตาย เพราะ กาม เป็นเหตุ... ครั้นได้เห็นเหตุนั้นแล้วจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร"

    ... พระโพธิสัตว์ครั้นได้สดับคาถาแต่ละคาถา ได้ทำการสดุดีพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์ว่า :-

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส อารมณ์นั้นเหมาะสมสำหรับเหล่าข้าพระองค์ทีเดียว"

    ... พระโพธิสัตวืสดับธรรมกคานั้น ที่ท่านทั้ง ๔ ทรงแสดงแล้ว เป็นผู้ไม่มีเยื่อใยในฆราวาส เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปแล้ว รับปประทานอาหารเช้าแล้ว นั่งสำราญอยู่ ได้เรียกภรรยามาพูดว่า

    "พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์นี้ สละราชสมบัติออกผนวช ไม่มีกังวล ไม่มีห่วงใยให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุข เกิดจากการบรรพชา ส่วนเราเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้าง เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เธอจงสงเคราะห์คือเลี้ยงดูลูกอยู่บ้านเถิด" แล้วกล่าวคาถาว่า :-

    "พระราชาเหล่านี้คือ พระเจ้ากรกัณฑะของชาวกลิงคะ ๑ , พระเจ้านัดดชิของชาวคันธาระ ๑ ,

    พระเจ้านิมิราชของชาววิเทหะ ๑ , พระเจ้าทุมมุขะของชาวปัญจาละ ๑

    ทรงละแว่นแคว้นออกผนวช หาความห่วงใยมิได้

    พระราชาเหล่านี้ แม้ทุกพพระองค์ เสมอด้วยเทพเจ้า

    เสด็จมาพบกัน ย่อมสง่างามเหมือนไปลุกโชนฉะนั้น

    ดูก่อนนางผู้โชคดี แม้เราละกามทั้งหลายทิ้งแล้ว ดำรงอยู่ตาส่วนของตนเที่ยวไปคนเดียว"

    ... ภรรยานั้นครั้นได้ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงพูดว่า

    "ข้าแต่นาย ตั้งแต่เวลาได้ฟังธรรมกถา ของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้ฉันเองใจก็ไม่สถิตอยู่ในบ้าน" แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า:-

    "เวลานี้เท่านั้น เวลาอื่นนอกจากนี้จะไม่มีเลย ภายหลังคงไม่มีผู้พร่ำสอนฉัน... ข้าแต่ท่านผู้มีโชค ฉันเองก็จักพ้นจากมือชาย เที่ยวไปคนเดียว เหมือนนางนกพ้นจากข้อง ฉะนั้น"

    ... พระโพธิสัตว์ครั้นได้ฟังคำของนางแล้ว ได้นิ่งอยู่ ส่วนนางประสงค์จะลวงพระโพธิสัตว์แล้วบวชก่อน จึงกล่าวว่า

    "ข้าแต่นาย ฉันจักไปทำน้ำดื่ม ขอท่านจงดูลูกไว้"

    แล้วจึงถือเอาหม้อน้ำที่ทำเป็นเหมือนเดินไปท่าน้ำ แล้วหนีไป ถึงสำนักของพวกดาบสที่ใกล้นครแล้วก็บวช

    ... พระโพธิสัตว์ทราบว่านางไม่มาจึงเลี้ยงเด็กเอง ต่อมาเมื่อเด็กเหล่านั้นเติบโตขึ้นหน่อยหนึ่ง สามารถรู้ดีรู้ชั่วแล้ว เพื่อจะทดลองเด็กเหล่านั้น

    วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เมื่อหุงข้าวสวย ได้หุงดิบไปหน่อย วันหนึ่งแปหน่อย วันหนึ่งไหม้ วันหนึ่ปรุงอาหารจืดไป วันหนึ่งเค็มไป เด็กทั้งหลายพุดว่า วันนี้ดิบ วันนี้แฉะ วันนี้ไหม้ วันนี้จืด วันนี้เค็มไป พระโพธิสัตว์พูดว่า

    "ลูกเอ๋ย วันนี้ข้าวดิบ" แล้วคิดว่า " บัดนี้ เด็กเหล่านี้รู้จักดิบ สุก จืดและเค็มจัดแล้ว จักสามารถเลี้ยงชีพตามธรรมดาของตน เราควรจะบวชละ"

    ต่อมาท่านได้มอบเด็กเหล่านั้นให้พวกญาติพูดว่า

    "ดูก่อนพ่อและแม่ ขอจงเลี้ยงเด็กเหล่านี้ให้ดีเถิด"

    แล้วเมื่อพวกญาติกำลังโอดครวญอยู่นั่นเองได้ออกจากพระนครไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใกล้ๆ พระนครนั่นเอง

    ... อยู่มาวันหนึ่ง นางปริพาชิกา คือ ภรรยาเก่า ได้เห็นท่านกำลังเที่ยวภิกขาจารในนครพาราณสี ไหว้แล้วจึงพุดว่า

    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ท่านเห็นจะให้ลูกทั้งหลายพินาศไปแล้ว"

    พระมหาสัตว์ ตอบว่า "เราไม่ได้ให้ลูกพินาศ ออกบวชในเวลาที่พวกเขาสามารถรู้ดีรู้ชั่วแล้ว เธออย่าคิดถึงพวกเขา จงยินดีในการบวชเถิด" แล้วได้กล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

    "เด็กทั้งหลายรู้จักดิบ รู้จักสุก รู้จักเค็มและจืด ฉันเห้นข้อนั้นแล้วจึงบวช... เธอจงเที่ยวไปเพื่อภิกษาเถิด ฉันก้จะเที่ยวไปเพื่อภิกษา"

    ... พระโพธิสัตว์ตักเตือนปริพาชิกา ด้วยประการอย่างนี้แล้วก็ส่งตัวไป ฝ่ายปปริพาชิการับโอวาทไหว้พระมหาสัตว์แล้ว จึงไปสู่สถานที่ตามใจชอบ

    ได้ทราบว่านอกจากวันนั้นแล้ว ทั้ง ๒ ท่านนั้น ก็ไม่ได้พบเห็นกันอีก ฝ่ายพระโพธิสัตว์ให้ฌานและอภิญญาเกิดขึ้นแล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

    ... พระศาสดาครั้นทรงนำพระรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลายประชุมชาดกไว้ว่า

    - ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ ๕๐๐ รูปดำรงอยู่แล้วใน อรหัตผล

    - ธิดา ในครั้งนั้นได้แก่ อุบลวรรณาเถรี ในบัดนี้

    - บุตร ได้แก่ พระราหุลเถระ

    - ปริพาชิกา ได้แก่ มารดา พระราหุลเถระ

    - ส่วนปริพาชก คือ เราตถาคต ฉะนั้นแล
     
  11. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
  12. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ค่าจัดสร้างล๊อกเก็ตเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๗,๐๐๐ บาท ครับ คงทยอยหาเงินคืนไปเรื่อยๆ
     
  13. twato

    twato เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    858
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ขอร่วมบุญสี่หูห้าตา 1 องค์
    แหวนหลวงพ่อหนุน 1 วง (ขนาดใดก็ได้ ถ้ายังมีครับ)
    พระโคมีให้ร่วมบุญแบบเดี่ยวหรือไม่ครับพี่
     
  14. อาณัติ

    อาณัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2006
    โพสต์:
    6,075
    ค่าพลัง:
    +22,255
    จองแหวน เบอร์ ๖๐ .............๑ วง
     
  15. ปะจะขะ

    ปะจะขะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +4,410
    สาธุ สาธุ สาธุ ผมร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยครับ

    สาธุ
     
  16. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    พระสมเด็จหงส์ทอง หลวงปู่หมุน ร่วมบุญ ๕๙๙ บาท ติดเกศา
    จองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2013
  17. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    วันนี้นี้ได้นำพระไปฝากเข้าพิธีกับวัตถุมงคลของวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ ไปร่วมพิธีวัดเขาวงศ์ครับ และนิมนต์พระ จำนวน ๕ รูป ไปในงานทำบุญครับ หากหลวงพ่อท่านร่างกายแข็งแรงท่านก็จะเมตตาไปสงเคราะห์ ครับ แต่วันที่หก หลวงพ่อท่านจะเข้ากรุงเทพฯ อาจไม่ได้มางาน
     
  18. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    ช่วงนี้เย็บบายศรีเตรียมไว้ครับ ยกไปประกอบที่เชียงรายครับ
     
  19. minute

    minute เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +368
    ผมขอบูชารายการ พระสมเด็จหงส์ทอง หลวงปู่หมุน ร่วมบุญ ๕๙๙ บาท ติดเกศา
     
  20. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,815
    ค่าพลัง:
    +84,008
    รายละเอียดการพุทธาภิเษกมีดังนี้

    1.วันที่ 17 มกราคม ทำพิธีบวงสรวงเททอง ชนวน และเป็นองค์บางส่วนครับ

    2.เข้าพิธีพุทธาภิเษกหลวงพ่อสมเด็จองค์ปฐมที่วัดท่าซุง
    เสาร์ 5 วันที่ 28 มกราคม 2555
    ปลุกเสกชนวนปฐมกฤษ์

    3.พุทธาภิเษกที่วัดเขาวง สระบุรี
    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555

    4.วันที่ 23 มิถุนายน 2555 เข้าพิธีที่ วัดท่าซุง

    5.วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555 ที่วัดศาลพันท้ายนรสิงห์

    6.วันที่ 20 ตุลาคม เข้าพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร ที่ วัดท่าขนุน

    รายการมวลสาร ที่สร้างพระกริ่งพระเจ้าพรหมมหาราช
    และพระเจ้าพรหมมหาราชขนาดบูชา

    1.ผงตะไบเหล็กดาบฟ้าฟื้น หลวงพ่อวัดท่าซุง(เอาดาบมาหลอมแล้วตะไบเป็นผง)
    2.ผงตะไบ มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
    3.เหล็กยอดเจดีย์องค์พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม
    4.ผงหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
    5.ผงเสริมดวงหลวงพ่อมนัส มนฺตชาโต จันทบุรี
    6.ทองล้นเบ้า หลวงพ่อสมเด็จองค์ปฐมองค์ใหญ่ วัดศาลพันท้ายนรสิงห์
    7.แร่โคตรเศรษฐี
    8.ทองล้นเบ้าพระเกศหลวงพ่อองค์ปฐม วัดหนองหญ้าปล้อง
    9.ดินสองพอง เข้าพิธี มหาเศรษฐี วัดท่าซุง ปี2553
    10.พระขรรค์โสฬส วัดท่าขนุน
    11.โบว์เหรียญเศรษฐี วัดท่าซุง ปี18
    12.แผ่นยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อ วัดท่าซุง
    13.ตะกรุด พระเจ้า 5 พระองค์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    14.ทองที่ลอกออกมาจากหลวงปู่ปาน วัดศาลพันท้ายนรสิงห์
    15.ทองที่ลอกออกมาจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดศาลพันท้ายนรสิงห์
    16.ลูกอม ผงจักรพรรดิ หลวงปู่ดู่
    17.ผงเขี้ยวหนุมาน
    18.ผงนาคราช ผสมมวลสารผงหลวงปู่ต้นบุญ
    19.ผงไม้ตะเคียนหลวงปู่ขาว
    20.ผงดินพระธาตุพนม
    21.ผงยสวาสนาจินดามณี
    22.สีผึ้ง วัดหน้าต่างนอก
    23.ยาฉุน หลวงปู่ใยวัดมะขาม
    24.ลูกลาน หลวงปู่คำบุ
    25.มวลสารจากคณะธรรมมิกราช สายหลวงปู่ดู่
    26.ผงหินพระธาตุ สามร้อยยอด
    27.ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงปู่บัว
    28.หินพระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า
    29.เสือทองเหลือง หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน
    30.กาฝากไม้มงคล 9 ชนิด
    31.ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงตาวัชรชัย
    32.สีผึ้ง หลวงพ่อแสวง วัดสว่างภพ ลูกศิษย์หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    33.ตะกรุดพุทโธ ภาวนา หลวงพ่อสำอางค์
    34.แผ่นทอง หลวงปู่หลุยส์ วัดราชโยธา
    35.ผงมหามงคล ทองคำเปลว ดอกไม้ ผ้าสะไบ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
    36.ผงหลวงปู่แผ้ว
    37.ผงพระสิวลี
    38.ผงชานหมาก หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    39.แป้งเสก หลวงปู่บุดดา
    40.ทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองเหลือง เข้าพิธีมหาเศรษฐี วัดท่าซุง
    41.ข้าวตอกพระร่วง
    42.ผงจตุรธาตุ
    43.ข้าวสารเสกหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(เฮียปอ มอบให้)
    44.ห่วงเหรียญต่าง ทั่วประเทศ
    45.ข้าวตอกพระร่วง
    46.ผงดอกไม้ที่บูชาหลวงพ่อสมเด็จองค์ปฐม
    47.ลูกอมหลวงปู่แย้มวัดสามง่าม
    48.ปฐวีธาตุ หลวงปู่คำพันธ์
    49.ข้าวมธุปายาส
    50.ผงทองคำที่เหลือจากการปิดพระคำข้าว พระคำหมาก
    51.เหล็กไหล 7สี
    52.ลูกอมหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    53.ชนวนทองเหลืองเข้าพิธี พระปัจเจกพุทธเจ้า
    54.ตะกรุดหลวงอูวีสะนั ประเทศพม่า
    55.สีผึ้งหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ปี2520
    56.ตะกรุดไตรรัตนาธิคุณ หลวงปู่บุญ วัดหัวเขา
    57.ดินจากที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน จากประเทศอินเดีย
    58.ดิน 9 นคร ทราย 9 แม่น้ำ
    59.ลูกอมหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
    60. ผง 12 นักษัตร หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    61.แผ่นยันต์ หลวงปู่จ้อย วัดหนองน้ำเขียว
    62.ทองคำ และรักที่หลุดออกมาจาก หลวงพ่อมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร
    63.ผงตะไบ น้ำมนต์ วัดสุทัศน์
    64.ตะกรุด มหามงคลครอบจักรวาล หลวงตุ๊มหาสิงห์ วัดถ้ำป่าไผ่
    65.สายสิญจน์ หลวงปู่สุภา
    66.ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงพ่อน้อย วัดศรีดอนมูล
    67.สีผึ้งวัดถ้ำป่าไผ่ ผสมน้ำมันพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
    68.ผงเกราะเพชร หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ผสมผง 3,000 ชนิดของกองทุนหลวงปู่ปาน
    69.ผงหลวงปู่ขาว
    70.มูลดิน บ้านพระองคุลิมาล ที่อินเดีย
    71.ทองล้นเบ้า พระสิวลี วัดสุขุมาราม จ.พิจิตร
    72.แผ่นเงิน แผ่นทอง หลวงพ่อมนัส ท่านมอบให้
    73.เทียนเสกทำน้ำมนต์ หลวงพ่อสิริ สิริวฑฺฒโน
    74.แป้งเสก หลวงปู่ คำเป็ง
    75.ลูกอมหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
    76.ชนวนเหรียญโพธิญาณ หลวงตาม้า
    77.ตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน
    78.แผ่นทองเหลืองจาร หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
    79.แผ่นยันต์จาร และอธิษฐาน จากหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    80.ชานหมากหลวงพ่อน้อย วัดโพทัยมณี จังหวัดเพชรบุรี
    81.ลูกอมหลวงพ่อแสวง ผสมผงหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    82.ตะกรุดเมตตา-มหาอำนาจ หลวงพ่อสมคิด วัดเขาวงศ์ สุพรรณบุรี
    83.น้ำตาเทียน พิธี วันวิสาขบูชา วัดท่าซุง ปี53
    84.ผงพระรอดกรุ มหาวัด
    85.ลูกอม พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์
    86.ลูกอมหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม สมุทรสาคร
    87.ผงรวม ผงพรายกุมาร ผงหลวงปู่ชื้น หลวงปู่หงษ์ หลวงพ่อทองดำ
    88.น้ำมันชาตรี วัดท่าซุง
    89.สีผึ้ง หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโน (หลวงปู่ฤาษีลิงเล็ก)
    90.แผ่นยันต์ตะกั่ว จารโดยหลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    91.ทองคำเข้าพิธี พระปิดตามหาเศรษฐีเงินล้าน วัดท่าขนุน
    92.ยันต์ครูหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
    93.ลูกอม หลวงพ่อผล วัดเชิงหวาย
    94.ผงจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    95.ผงพระสมเด็จวัดระฆัง
    96.ผงพระสมเด็จวัดเกศไชโย
    97.ผงพระขุนแผน วัดใหญ่ชัยมงคล (ผงจากพระสมเด็จพนรัตน์ อาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
    98.ผงหลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    99.ผงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    100.ผงหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    101.ผงหลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
    102.ชนวนพระกริ่งสมปรารถนา วัดศาลพันท้ายนรสิงห์
    103.น้ำมันงา หลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม
    104.แผ่นยันต์ จารหลวง หลวงปู่บัว ตั้งแต่รุ่น พระกริ่งสมปรารถนา
    105.วัชระ
    106. มีดหมอเทพศาสตราอาจารย์ชุมไชยคีรี
    107. มีดหมอหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ. กาญจนบุรี
    108. มีดดาบฟ้าฟื้น (ดาบขุนแผน) พระครูโสภณวีรนุวัตร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ. สุพรรณบุรี
    109. เหล็กจากขวานฟ้าผ่า
    110.เหล็กยอดเจดีย์สร้อยทอง วัดสร้อยทอง
    111.แผ่นเงินไส้ตะเกียงมหารัตนประทีป
    112.ห่วงเหรียญ ทุกรุ่นในหนังสือสมบัติพ่อให้ วัดท่าซุง
    113.ทองแท่งที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านเมตตาอธิษฐานจิตไว้ ตั้งแต่ตอนปี2534
    114.เนื้อนวโลหะตะไบ เก่าวัดบวร ช่างจิวมอบให้
    115.แหวนรัตนจักร หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน

    พิเศษนำเข้าพิธีเป่ายันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ครูบาแก้ว วัดพระธาตุดอยตุกคำ พม่า ท่านมาสงเคราะห์เป็นพิเศษ ซึ่งหาโอกาศยากยิ่งนัก
    นำเข้าพิธีปลุกเสกพร้อมพระกริ่งชินบัญชรมหาโภคทรัพย์ หลวงพ่อหนุน วัดพุทธโมกข์
    เข้าพิธีปลุกพร้อมพระกริ่งเจริญลาภยศบารมี
    ผมจึงตอกโค๊ด เลข ๙ ไว้เป็นสำคัญ
    ให้รวมบุญองค์ละ ๙๙๙ บาท ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...