ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศืล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 20 กรกฎาคม 2013.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศืล
    รวบรวม/เรียบเรียง โดย พันเอก (พิเศษ) สฤษฏิ์ สิทธิเดช
    ฐานข้อมูลหนังสือหายาก


    สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา
    ความสามัคคีกันของกลุ่มชาวพุทธทั่งปวง
    ย่อมก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง

    คำนำ
    หนังสือ ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล ซึ่งรวบรวม เรียงเรียงโดย พันเอก (พิเศษ) สฤษฏิ์ สิทธิเดช (ประธานชมรมชาวพุทธเพื่อความมั่นคงแห่งพุทธศาสนา และ ประธานชมรมกลุ่มอุโบสถศีล) เป็นหนังสือที่ให้แนวทางการประพฤฒิปฏิบัติ (โดยเฉพาะอุโบสถศีล) สำหรับชาวพุทธทุกท่าน เมื่อได้อ่านจะเกิดศรัทธาที่จะปฏิบัติ และเห็นโทษของการละเมิดศีล โดยเฉพาะ คุณสาคร เต็กเกร็ด คุณเสงี่ยม สุทธิเสงี่ยม และ คุณจำลอง คมขำ ซึ่งได้ปฏิบัติอุโบสถศีลมาเป็นเวลานาน อ่านแล้วเกิดศรัทธายิ่งขึ้น จึงตั้งใจจะพิมพ์แจกเป็นธรรมทานในโอกาสฉลองกุฏิสงฆ์ (อาคารสุนทรธรรมากร) วันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ณ วัดไชยทิศ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๓๗ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม และมอบให้อาตมา ติดต่อผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ ซึ่งก็ได้รับความเอื้อเฟื้อให้ความอนุเคราะห์อนุญาตให้พิมพ์แจกในโอกาสฉลองกุฏิด้วยความยินดี

    ในนามคณะผู้จัดพิมพ์ครั้งนี้ ขออนุโมทนาขอบคุณพันเอก (พิเศษ) สฤษฏิ์ สิทธิเดช ผู้รวบรวม เรียบเรียง หนังสือ ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล ไว้ในโอกาสนี้ด้วย บุญกุศลใดที่เกิดจากการพิมพ์หนังสือแจกครั้งนี้ ขอให้ท่านผู้รวบรวม เรียบเรียง จงมีส่วนได้รับผลบุญกุศลนี้ด้วย

    พระอธิการ สำรวย โชติวโร
    เจ้าอาวาสวัดไชยทิศ
    เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    พุทธศักราช ๒๕๔๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 74.jpg
      74.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.6 KB
      เปิดดู:
      2,893
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล
    เป็นพระพุทธบัญญัติ


    ตโต จ ปกฺขสฺสุปวสฺสุโปสถ”
    ปาฏิหาริกปกฺขญฺจ ปสนฺนมานโส
    อฏฺฐงฺคุเปต” สุสมตฺครูปนฺติ

    จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๕ หน้า ๔๐๕​



    ชาวพุทธผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ควรจะรักษาอุโบสถศีลในวันพระ ขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑๔ ค่ำ และตลอดปาฏิหาริกปักษ์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี
    ปาฏิหาริกปักษ์...คือ การรักษาอุโบสถศีลในพรรษาตลอด ๓ เดือน


    [​IMG]


    มาเชื่อพระพุทธเจ้ากันเถิด

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี พระองค์ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคนที่ไม่มีศีลย่อมตกนรกเหมือนถูกจับวาง (ยะถากะตัง นิกชิตโต เอวัง นิระเย) หมายความว่า คนไม่มีศีล ๕ ย่อมตกนรกแน่ๆ ตกนรก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์... โดยนัยตรงกันข้าม คนที่มีศีลย่อมขึ้นสวรรค์เหมือนถูกจับวาง (ยะถาภะตัง นิกขิตโต เอวัง สัคเค) คนมีศีล ๕ ขึ้นสวรรค์แน่ๆ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

    ข้อความข้างบนนี้เป็นพระพุทธดำรัสมีมาในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ ข้อ ๑๔๕ ผู้ใดจะเชื่อพระพุทธดำรัสนี้หรือไม่ เป็นสิทธิของแต่ละคน จะเชื่อหรือไม่ก็ได้ไม่มีใครว่า ... ถ้าท่านไม่เชื่อพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจะเชื่อใคร

    พระพุทธเจ้าเป็นเอกบุคคล เป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก เป็นสัพพัญญู เป็นโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก เป็นยอดคน เป็นผู้ประเสริฐวิเศษในโลก ไม่มีใครเสมอเหมือน... พระองค์ได้ตรัสพระดำรัสอย่างใดย่อมจะเป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีเปลี่ยนเป็นอื่น แม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานานสักเท่าไร พระพุทธดำรัสนั้นก็คงเป็นอย่างนั้นตลอดไป มีคำพระยืนยันว่า


    ...พุทธานัง กะถายะ ทวิธาภาโว นามะ นัตถิ...

    หมายความว่า
    พระพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นสองคือตรัสอย่างใด ก็ต้องเป็นอย่างนั้นแน่นอน

    ความทุกข์ทรมานในนรกนั้นมันรุนแรงร้ายกาจขนาดไหนไม่อาจจะหาความทุกข์เดือดร้อนใดๆ ในโลกมนุษย์มาเปรียบเทียบได้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเปรียบเทียบความทุกข์ทรมานในโลกมนุษย์กับความทุกข์ในนรกให้ภิกษุฟังดังนี้



    ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือกับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนจะใหญ่กว่ากัน...ภูเขาหลวงหิมพานต์ใหญ่กว่าแผ่นดินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือพระพุทธเจ้าข้า ความทุกข์ในโลกมนุษย์เท่าแผ่นหินย่อมๆ เท่าฝ่ามือ แต่ความทุกข์ทรมานในนรกยิ่งใหญ่กว่าภูเขาหลวงหิมพานต์มาก ภูเขาหิมพานต์ยังน้อยเกินไป ไม่อาจจะเอาไปเปรียบเทียบกับความทุกข์ในนรกได้เลย (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๕๐๑)...เมื่อไปตกนรกแล้ว โอกาสที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก มันยากแสนยากนักหนา ตรงกับคำพังเพยที่ว่า...ตกนรกไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด


    [​IMG]


    คนไม่มีศีลย่อมตกนรกเหมือนยถูกจับวาง
    คนมีศีลย่อมขึ้นสวรรค์เหมือนถูกจับวาง​


    หนังสือเล่มนี้รณรงค์ให้คนมีศีลจะได้ไปสู่สุคติภูมิจ๊ะ

    ด้วยรักและหวังดี
    พันเอก (พิเศษ) สฤษฏิ์ สิทธิเดช
    มูลนิธิศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
    วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
    กันยายน ๒๕๔๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วยตนเอง

    [​IMG]
    ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศืล
    พันเอก (พิเศษ) สฤษฏิ์ สิทธิเดช รวบรวม/เรียบเรียง
    ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม



    ชาวพุทธผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาประสงค์จะสมาทานรักษาอุโบสถศีล ด้วยตนเองที่บ้านพึงดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

    เมื่อวันพระ ขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑๔ ค่ำเวียนมาถึง พึงตั้งจิตกำหนดที่จะสมาทานรักษาอุโบสถศีล ให้ทำธุรกิจส่วนตัวภายในบ้านให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเวลา ๐๖.๐๐ น.

    เมื่อได้เวลา ๐๖.๐๐ น. พึงแต่งตัวให้เรียบร้อยไปที่ห้องพระ / หน้าพระ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (ถ้ามีพร้อม)กราบพระ ๓ ครั้ง




    ๑.นมัสการพระรัตนตรัย
    -อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    -สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    -สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)




    ๒. คำอาราธนาอุโบสถศีล
    อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะ มันนาคะตัง อุโบสะถัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโบสะถึง ยาจามิ




    ๓.ว่านะโม ๓ จบ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)


    ๑.ถึงไตรสรณาคมน์
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ




    ๒.คำสมาทานอุโบสถศีล
    ๑.ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.....
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ผู้อื่นให้ฆ่า

    ๒.อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของของเขาไม่ให้ด้วยอาการแห่งขโมย

    ๓.อะพรหมจะริยา เวระมณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการประพฤติที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์

    ๔.มุสาวาทา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการพูดเท็จ

    ๕.สุราเมระยะมัชชะปะทาทัฎฐานา เวระมะณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการดื่มเหล้า และเสพของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมีสุราและเมรัยเป็นต้น

    ๖.วิกาละโภชะนา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้นใหม่

    ๗.นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนะ มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิกูสะนัฎฐานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่นบรรดาเป็นข้าศึกแก่กุศล และเว้นจากการประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา

    ๘. อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือการงดเว้นจากการนอนเหนือที่นอนอันสูงและใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี




    คำสรุปอุโบสถศีล
    อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ, ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้, อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ดังได้สมาทานมาแล้วนี้, เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทำลาย, ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้


    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ, อัชเชกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะ วะเสนะ, มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ, อามะ ภันเต สาธุ


    อนุโมทนากุศลส่งบุญ :
    เสียงวิธีสมาทาน ศีลอุโบสถ โดย คุณกณวรรธน์ แสงพารา
    YouTube เผยแพร่เมื่อ ๒๐ มี.ค. ๒๕๑๓



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2770070/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ผลมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล

    ผลมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล

    เอกุโปสถิกาภิกษุณี ๓ จากพระไตรปิฏก เล่ม ๓๓ หน้า ๒๗๐

    นางภิกษุณีชื่อ เอกุโปสถิกา (ผู้รักษาอุโบสถศีลอย่างเดียว) นางได้เล่าประวัติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ๔ สังสารวัฎ คือภพที่เวียนว่ายตายเกิด ของนางไว้ว่า นับถอยหลังจากนี้ไป ๙๑ กัป ๕ ได้มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ (เกิด) ขึ้นในโลกมาแล้ว ๗ พระองค์ คือ พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเวสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโกนาคมน์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    (กัป...คือเวลาอันยาวยนานเหลือเกินท่านเปรียบเทียบให้เห็นดังนี้เหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้างยาวและสูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๆ ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบภูเขานั้นจนเตียนราบเสมอพื้นดิน กัปหนึ่งยังยาวนานกว่านั้นอีก)


    ในพระศาสนาของพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ดิฉันได้เกิดเป็นนางกุมภทาสี (หญิงคนใช้) ดิฉันได้เห็นพระบรมกษัตริย์ทรงพระนามว่า พันธุมะ ซึ่งเป็นพระพุทธบิดา ผู้ครองนครพันธุมดี ในวันพระท้าวเธอพร้อมด้วยเสนามาตย์ข้าราชบริพารจะทรงละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีล๖ ด้วยความร่าเริง ดิฉันคิดในใจว่า...อุโบสถศีลนี้น่าจะต้องเป็นของดีวิเศษแน่นอน ถ้าไม่เช่นนั้นคงจะไม่มีใครสนใจรักษา ตัวเราเกิดเป็นหญิงคนใช้เป็นคนยากไร้ เห็นภัยในทุคติอยู่ จะต้องทำใจให้ร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีล

    (อุโบสถศีล...คือศีล ๘ ที่รักษาในวันพระมีข้องดเว้น ๘ ข้อ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เว้นจากการเสพเมถุน ๔. เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจากการดื่มหรือเสพของมึนเมามีสุราและเมรัยเป็นต้น ๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงไปแล้วจนถึงอรุณขึ้นใหม่ ๗. เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศลกรรมและเว้นจากการประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม่ของหอมเครื่องย้อมเครื่องทา ๘. เว้นจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่)


    ดิฉันได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลในพระศาสนาของพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะการรักษาอุโบสถศีลของดิฉันจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๘ มีวิมานอยู่อันสวยงาม มีนางเทพอัปสร(นางฟ้า) แสนสางเป็นบริวาร ดิฉันงามเกินนางเทพอัปสรอื่นๆ ทั้งปวง ดิฉันได้เป็นอัครมเหสีของท้าวสักรินทร์เทวราช ๖๔ พระองค์ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ๖๓ พระองค์ ดิฉันเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามปานดังทองคำได้ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งหลาย ไม่ว่าจะไปเกิดในชาติใดภพใด ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกชาติทุกภพ

    (ทุคติ...ได้แก่สถานที่ไปเกิดอันชั่ว คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรต และ อสูรกาย)

    (ดาวดึงส์...เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ สวรรค์มี ๖ ชั้น คือ๑. จาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรินิมมิตวาวัตดี)

    (สักรินทร์เทวราช...เป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์)

    (พระเจ้าจักพรรดิ...หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่มีราชอาณาเขตปกครองกว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศัตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาญาและศัตรา มีรัตนะ ๗ ประการ ประจำพระองค์คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี)

    (ภพ...ได้แก่ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์มี ๓ คือ ๑. กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ ได้แก่มนุษย์และสวรรค์ ๖ ชั้น ๒. รูปภพ ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาน ๔ ได้อก่พรหมโลก ๑๖ ชั้น ๓ อรูปภพ ได้แก่โลกเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูป)



    ...นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลของดิฉัน ดิฉันได้พาหนะช้าง พาหนะม้า และยานรถ ได้ทุกสิ่งทุกอย่างมากมาย ได้ภาชนะทำด้วยทองเงิน แก้วผลึก แก้วปทุมราช ได้ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าเปลือกไม้ และผ้าที่มีราคาสูง ได้ข้าว ได้น้ำ ได้ของเคี้ยว ได้ที่อยู่อาศัย ได้เรือนยอด ปราสาทและมณฑป ได้ถ้วนทุกสิ่ง ได้เครื่องหอมชนิดดี ได้ดอกไม้จุณสำหรับลูบไล้ ดิฉันได้ทุกประการ...นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลที่ดิฉันได้รักษาแล้ว


    มาในชาตินี้ ดิฉันอายุได้ ๗ ขวบ บวชได้ไม่ทันจะถึงครึ่งเดือนดิฉันก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์๑๒ หมดสิ้นอาสวะ๑๓ กิเลสตัณหา๑๔ บัดนี้ การเวียนว่ายตายเกิดในภพใหม่ของดิฉันไม่มีอีกแล้ว ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ดิฉันได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วยผลแห่งอุโบสถศีลตลอดระยะเวลา ๙๑ กัป ดิฉันไม่เคยไปเกิดในทุคติภูมิเลย (ทุคคตึนาภิชานามิ อุโปสถสุสิห ผล)


    (พระอรหันต์... ได้แก่ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลมี ๔ คือ ๑. พระโสดาบัน ๒. พระสกทาคามี ๓. พระอนาคามี ๔ พระอรหันต์)

    (อาสวะ...ได้แก่ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลชึมซ่านไปย้อมจิต มี ๓ คือ ๑.กามาสวะ อาสวะคือกาม ๒. ภวาสวะ อาสวะคือภาพ ๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา)

    (ตัณหา...ได้แก่ ความทะยานอยาก มี ๓ คือ ๑. กามตัณหา ความทะยานอยากได้กาม ๒. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ (อยากมีอยากเป็น) ๓. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ คืออยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถคืออะไร

    อุโบสถคืออะไร

    อุโบสถศีล เป็นศีลชั้นสูงของฆราวาส คำว่า “อุโบสถ” นี้มีความหมาย ๖ ประการ คือ

    ๑.เป็นชื่อการประชุมสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ ในวันพระ ขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่าอุโบสถกรรม

    ๒.เป็นชื่อการประพฤติวัตรบางอย่างของลัทธินอกพระพุทธศาสนา เช่น ปฏิญาณตนอดข้าววันหนึ่งบ้าง หรือปฏิญาณตนบริโภคเฉพาะน้ำผึ้งบ้าง เรียกว่า อุโบสถ

    ๓.เป็นชื่อของช้างตระกูลหนึ่ง มีสีกายเป็นสีทองเรียกว่าช้างตระกูลอุโบสถ

    ๔.เป็นชื่อของโบสถ์ เรียกว่า พระอุโบสถ

    ๕.เป็นชื่อของวันสำคัญในพระพุทธศาสนา (วันพระ)เรียกว่าวันอุโบสถ

    ๖.เป็นชื่อของการรักษาศีล ๘ ในวันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ (กรณีเดือนขาด) เรียกว่าอุโบสถศีล

    อุโบสถศีลมีวันพระเป็นแดนเกิด ศีล ๘ ที่สมาทานรักษาในวันพระ เรียกว่า อุโบสถศีล ศีล ๘ ที่รักษาในวันอื่นนอกจากวันพระไม่เรียกว่า อุโบสถศีล เรียกว่าศีล ๘ ธรรมดา




    ความหมายของอุโบสถศีล

    อุโบสถศีล มีบทวิเคราะห์ศัพท์ว่า
    ....อุปวสิตพุโพติ อุโปสโถ แปลว่า สภาวธรรมอันบุคคลทั้งหลายผู้ต้องการด้วยบุญ พึงเข้าไปอาศัยอยู่(รักษา) ชื่อว่า อุโบสถศีล

    อุปกิเลเส อุเสติ ทหติ อุปตาเปติ วาติ อุโปสโถ ๑๕ จากฎีกามูลสิกขา ความว่า การกระทำที่กำจัดอุปกิเลส +๖ เผาอุปกิเลส ๑๖ ทำให้อุปกิเลส๑๖ ๑๖ เดือดร้อน หมายความว่า ทำอุปกิเลส ๑๖ ให้หมดสิ้นไปชื่อว่า อุโบสถศีล

    อุปกิเลส...ได้แก่ โทษเครื่องเศร้าหมอง คือสิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง คือ ๑. อภิชาฌมวิสมโลภะ ความโลภอยากได้ไม่รู้ว่าอะไรควรไม่ควร ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย ๓.โกธะ ความโกรธ ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธ ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖ ปสาสะ ดีเสมอ ๗. อิสลา ริษยา ๘ มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙. มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ ๑๒. สารัมภะ แข่งดี ๑๓. มานะ ถือตัว ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน ๑๕. มทะ มัวเมา ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ (ประมาท)


    จากบทวิเคราะห์นี้ ชี้ให้เห็นว่าอุโบสถศีลนั้นเป็นมหากุศลยิ่งใหญ่ และนอกจากนี้ยังสามารถกำจัดอุปกิเลส ๑๖ ซึ่งเป็นกิเลสกองใหญ่ได้อีกด้วย




    ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีล กับ ศีล ๘

    อุโบสถศีล กับ ศีล ๘ ยังมีบางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่ เช่น เข้าใจว่าอุโบสถกับศีล ๘ เป็นอย่างเดียวกัน แตกต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น หรือเข้าใจว่าผู้รักษาอุโบสถศีลจะต้องนอนค้างคืนที่วัดนอนบ้านไม่ได้ บางคนเข้าใจว่ารักษาอุโบสถก็คือคนดูแลรักษาโบสถ์ทำความสะอาดโบสถ์ความจริงที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไรขอชี้ให้เห็นความแตกต่างกัน ดังนี้

    ๑.อุโบสถศีล กับ ศีล ๘ มีข้อห้าม ๘ ข้อ เหมือนกัน

    ๒.คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน

    ๓.อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิดสมาทานรักษาได้เฉพาะวันพระเท่านั้น ส่วนศีล ๘ สมาทานรักษาได้ทุกวัน

    ๔.อุโบสถศีลมีอายุ ๒๔ ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล ๘ ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา

    ๕.อุโบสถศีลเป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีลของชาวบ้านผู้บริโภคกาม(กามโภคี) ส่วนศีล ๘ เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น นางชี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ความยิ่งใหญ่แห่งอุโบสถศีล

    ความยิ่งใหญ่แห่งอุโบสถศีล

    ความจริง ผลของอุโบสถศีล ตามที่เอกูโปสถิกภิกษุณีได้รับนั้นก็เป็นความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์มากอยู่แล้ว นั่นเป็นเพียงคำบอกเล่าของพระสาวิการูปหนึ่งเท่านั้น...อยากจะให้ศึกษาผลแห่งอุโบสถศีลจากพระโอษฐของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของศาสนาพระองค์ได้ทรงเล่าความยิ่งใหญ่แห่งอุโบสถศีลไว้ในพระไตรปิฏกในที่หลายแห่งว่า....

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้ว

    ย่อมมีผลยิ่งใหญ่(มหปุยโล) มีอานิสงส์มหาศาล(มหานิสโส) มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก (มหาชุติโก) มีผลแผ่ไพศาลมาก (มหาวิปุผาโร)....พระองค์ได้ทรงเน้นความยิ่งใหญ่แห่งอุโบสถศีลไว้ (ยิ่งใหญ่จริงๆ).....มหัปผโล....มหานิสโส....มหาชุติโก.....มหาวิปุผาโร พระองค์ได้ทรงขยายให้เห็นความยิ่งใหญ่ ดังนี้


    คำอาราธนาศีล ...คือคำขอศีล
    คำอาราธนาศีลอุโบสถ
    มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโสะถัง ยาจามะ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโสะถัง ยาจามะ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโสะถัง ยาจามะ

    คำอาราธนาศีล ๘
    มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐะ สีลานิ ยาจามะ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐะ สีลานิ ยาจามะ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฎฐะ สีลานิ ยาจามะ


    อุโบสถศีล กับ พระอรหันต์

    พระอรหันต์เป็นพระอริยบุคคลระดับสูงสุดในพระพุทธศาสนา จุดสุดยอดในการนับถือพระพุทธศาสนาก็เพื่อให้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เมื่อได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอันเสร็จกิจในพระพุทธศาสนา สิ้นอาสวะสิ้นกิเลสตัณหาเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก เสวยนิพพานสุขอันเป็นสุขนิรันดร....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงความยิ่งใหญ่แห่งอุโบสถศีลไว้ว่า....พระอริยสาวกผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมประพฤติมั่นอยู่ในอุโบสถ ๘ ประการตลอดชีวิต


    อุโบสถ ๘ ประการนี้ เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ทั้งหลายโดยมรรค เป็นอุโบสถศีลที่บริสุทธิ์ตลอดชีวิตของท่าน...พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ชาวบ้านผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล ชื่อว่าได้ดำเนินตามอย่างพระอรหันต์ (หรหต อนุกโรมิ) ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง (อุโบสถศีลมีอายุวันหนึ่งคืนหนึ่ง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีลเลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ

    อุโบสถศีลเลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ


    บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก แม้จะได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีของโลกก็ตาม จะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลสักเพียงใด ความร่ำรวยของมหาเศรษฐีเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นของเล็กน้อยสมบัติของเศรษฐีในโลกรวมหมดทั้งโลกย่อมไม่เทียบเท่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ


    สมบัติพระเจ้าจักพรรดิ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลของอุโบสถศีล ย่อมเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า. จากพระไตรปิฏก เล่ม ๑๐,๒๐,๒๓


    ...สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งผลของอุโบสถศีล (อัฏฐังคะสะมันนาคะตัสสะ อุโปสถัสสะ เอตัง กะลัง นาคฆะติ โสฬสิง)

    เพราะสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นของเล็กน้อยเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย

    เพราะเหตุว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นสมบัติมนุษย์ ความสุขก็เป็นความสุขของมนุษย์เป็นสมบัติหยาบๆ เป็นความสุขหยาบๆ แต่ผลของอุโบสถศีลเป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย ช่วงระยะเวลาในการเสวยสมบัติมนุษย์และสมบัติทิพย์ก็ไม่เท่ากัน

    การเสวยสมบัติมนุษย์ใช้เวลาอย่างมากไม่เกิน ๑๐๐ ปี แต่การเสวยสมบัติทิพย์นั้นเป็นเวลาเนิ่นนานเหลือเกิน มนุษย์ชายหญิงทั้งหลายผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่าทำความดีอันมีความสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง
    (อฏฐงคเปต อุปวสสุโปสถ์ ปุญญานิ กตวาน สุขุทรยานิ อนินทิตา สคคมุเปนติ ฐานนุติ)



    ถ้าได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา จะได้เสวยทิพย์สมบัติตลอดอายุขัยของสวรรค์ชั้นนั้นเป็นเวลา ๙ ล้านปีมนุษย์

    ถ้าได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จะได้เสวยทิพยสมบัติตลอดอายุขัยของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๓๖ ล้านปีมนุษย์

    ถ้าได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา จะได้เสวยทิพยสมบัติตลอดอายุขัยของสวรรค์ชั้นยามาเป็นเวลา ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์

    ถ้าได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จะได้เสวยทิพยสมบัติตลอดอายุขัยของสวรรค์ชั้นดุสิตเป็นเวลา ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์

    ถ้าได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมานนรดี จะได้เสวยทิพยสมบัติตลอดอายุขัยของสวรรค์ชั้นนิมานนรดี เป็นเวลา ๒๓๐๔ ล้านปีมนุษย์

    ถ้าได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตสวัดดี จะได้เสวยทิพยสมบัติตลอดอายุขัยของสวรรค์ชั้นปรนิมมิตสวัดดี เป็นเวลา ๙๒๑๖ ล้านปีมนุษย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ ท้าวสักกะจอมเทพ ๑๙


    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเล่าเรื่องอุโบสถศีลกับท้าวสักกะจอมเทพ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๐ หน้า ๑๘๒

    ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลายท้าวสักกะจอมเทพได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระเป็นประจำ นอกจากนี้ยังได้ชักชวนเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้รักษาอุโบสถศีลเช่นเดียวกันด้วย

    จากเรื่องนี้ ทำให้เราได้ข้อคิดว่า ท้าวสักกะจอมเทพเป็นประมุขของบเทวดาชั้นดาวดึงส์นอกจากนี้ท้าวสักกะจอมเทพได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสนดาบัน เป็นผู้ที่ประดูนรกปิดแล้ว คือไม่ต้องไปเกิดในนรกอีกต่อไป ถึงอย่างนั้นท้าวสักกะจอมเทพก็ยังได้ให้ความสำคัญแก่อุโบสถศีลอย่างสูง คือ เมื่อวันพระเวียนมาถึงพระองค์ไม่เคยลืมที่จะรักษาอุโบสถศีลไม่ใช่จะรักษาเฉพาะพระองค์เท่านั้น ยังได้ชักชวนเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายให้รักษาอุโบสถศีลเช่นเดียวกับพระองค์ด้วย



    อุโบสถศีล กับ เทวดาชั้นจาตุมหาราช
    จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๐ หน้า ๑๘๐

    จาตุมหาราช...ได้แก่ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ
    ๑.ท้าวธรรฐ จอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก
    ๒.ท้าววุรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้
    ๓.ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก
    ๔.ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ


    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล่าเรื่องอุโบสถศีลกับเทวาชั้นจาตุมหาราชให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นจาตุมหาราชได้แบ่งมอบหน้าที่กันเพื่อตรวจดูการประพฤติธรรมของมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะตรวจดูว่าในวันพระได้มีหมู่มนุษย์รักษาอุโบสถศีลมากน้อยเพียงใด โดยแบ่งมอบหน้าที่กัน ดังนี้

    -วันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ เป็นหน้าที่ของบริวารท้าวจาตุมหาราชเป็นผู้ตรวจดู
    -วันพระแรม ๑๔ ค่ำ เป็นหน้าที่ของอานท้าวจาตุมหาราชเป็นผู้ตรวจดู
    -วันพระแรม ๑๕ ค่ำ เป็นหน้าที่ของท้าวจาตุมหาราชเป็นผู้ตรวจดู


    เมื่อทราบว่าได้มีหมู่มนุษย์พากันรักษาอุโบสถศีลมากน้อยเพียงใดก็จะนำข่าวไปแจ้งให้เทวดาชั้นดาวดึงส์ทราบต่อไป ถ้าปรากฏว่ามนุษย์ทั้งหลายที่ทำความดีรักษาอุโบสถศีลมีเป็นจำนวนน้อย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายก็จะพากันเสียใจว่าต่อไปนี้มนุษย์ทั้งหลายที่จะมาเกิดเป็นเทวดาเช่นเดียวกับเราก็จะมีจำนวนลดน้อยลง (ทิพพา วด โก กายา ปริยายิสสนุติ)

    มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่รักษาอุโบสถศีลเมื่อตายไปก็จะพากันไปเกิดในอบายภูมิมีจำนวนมากขึ้น(ปริปุเรสสนุติ อสูรกายา)

    ถ้าปรากฏว่าในมนุษย์โลกมีคนทำความดีรักษาอุโบสถศีลกันมาก พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายก็จะพากันดีใจว่า ต่อไปนี้มนุษย์ทั้งหลายก็จะมาเกิดเป็นเทวดาเพิ่มจำนวนมากขึ้น (ทิพพา วต โก กายา ปริปุเรสสนิติ)

    ส่วนมนุษย์ที่จะไปเกิดในอบายภูมิก็จะมีจำนวนลดน้อยลง (ปริหายิสสนุติ อสุรกายา)


    ข้อที่น่าคิด การทำความดีความชั่วของมนุษย์นั้นเทวดาท่านสนใจ ความดีกับความถูกต้องเป็นของคู่กัน ความดีที่ไม่ถูกต้องนั้นไม่มี แสร้งประพฤติตนเป็นคนดี แต่ล่วงละเมิดพระพุทธบัญญัติผิดกฎหมายบ้านเมือง จะเป็นความดีได้อย่างไร ความดีที่ไม่ถูกต้องเทวดาย่อมไม่ยกย่องสรรเสริญ ความดีที่ถูกต้องนั้นหมายถึงถูกต้องตรงตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ พระโพธิสัตว์

    อุโบสถศีล กับ พระโพธิสัตว์

    พระโพธิสัตว์ ได้แก่ท่านผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต ตามพุทธพยากรณ์ พระพุทธเจ้าของเราในชาติที่เกิดเป็นสุเมธดาบสได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรว่า



    [​IMG]


    สุเมธดาบสผู้นี้ต่อไปในอนาคตกาลจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม นับตั้งแต่สุเมธดาบสได้รับพุทธพยากรณ์แล้วเมื่อเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติต่าง ๆ ย่อมได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าของเราได้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์นับด้วยชาติไม่ถ้วนได้สร้างสมบำเพ็ยรบารมีมาเป็นเวลานานแสนนานถึงสื่อสงไชยแสนกัป

    พระองค์จะต้องบำเพ็ญบารมี คือ สร้างสมคุณงามความดีอย่างเอาจริงเอาจัง แม้ชีวิตร่างกายก็เสียสละได้ เพื่อให้บารมีนั้นรวมกันเป็นพลังส่งให้ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ความดีอย่างหนึ่งซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิบัติเป็นประจำคือการรักษาอุโบสถศีลในวันพระ เพื่อยืนยันความจริงในเรื่องนี้จะขอยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่าง




    อุโบสถศีล กับ ภูริทัตนาคราช
    จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๘, หน้า ๒๔๕


    พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพญานาคชื่อ ภูริทัต ในวันพระจะออกจากนาคพิภพไปยังโลกมนุษย์ขดขนด (เข้าสมาธิ) บนจอมปลวกใกล้ที่ต้นไทรใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา อธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๔ ว่า ผู้ใดปรารถนาหนัง เอ็น กระดูก หรือเลือด ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วนอนทำอุโบสถกรรม


    [​IMG]


    ...พระพุทธเจ้าของเราได้เสวยพระชาติเป็นพญานาคหลานครั้ง เช่น เสวยพระชาติเป็นพญานาคจัมเปยยกนาคราช พญาสังขปาลนาคราช ทุกชาติที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคจะรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำ ภูริทัตนาคราชได้กล่าวว่า

    “เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลาย เราจึงรักษาอุโบสถศีล”



    อุโบสถศีล กับ พระมหาชนกโพธิสัตว์
    จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๘, หน้า ๑๖๕

    พระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ได้ไปทำการค้าขายทางทะเล เรือแตกเพราะโดนพายุ พระมหาชนกโพธิสัตว์ต้องแหวกว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรนานถึง ๗ วัน จนร่างกายเหน็ดเหนื่อยได้รับความอ่อนเพลียและหิวโหยเป็นหนักหนา

    ถึงกระนั้นก็หาได้ลดความเพียรไม่ ไม่ย่นย่อไม่ท้อถอย ไม่สละความหวัง มีพลังจิตที่แข็งแกร่ง


    [​IMG]


    ขณะที่กำลังลอยคอแหวกว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรนั้น พระองค์ทรงสังเกตเห็นว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ (วันพระ) จึงบ้วนพระโอฐด้วยน้ำเค็ม แล้วอธิษฐานรักษาอุโบสถศีล แล้วก็พากเพียรแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรในที่สุดก็ขึ้นฝั่งได้ ฯลฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 228048.jpg
      228048.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.9 KB
      เปิดดู:
      4,180
    • m006.jpg
      m006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.2 KB
      เปิดดู:
      3,626
    • 1225460593.jpg
      1225460593.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.7 KB
      เปิดดู:
      8,836
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ พระเจ้าเนมิราชโพธิสัตว์
    จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๘, หน้า ๑๙๘

    พระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช แห่งกรุงมิถิลามหานคร พระองค์ทรงยินดีในการบำเพ็ญทาน ศีลและภาวนา โปรดให้สร้างโรงทานขึ้น ทรงบริจาควันละ ๕๐,๐๐๐ และทรงรักษาอุโบสถศีลเป็นนิจ ได้ทรงสั่งสอนประชาชให้ยินดีในการให้ทานรักษาอุโบสถศีลทั่วพระราชอาณาจักร ประชาชนที่ตายไปได้ไปเกิดเป็นเทพบุตเทพธิดาอยู่ในสวรรค์เป็นจำนวนมาก

    อยู่มาวันหนึ่งท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสเล่าเรื่องพระเจ้าเนมิราชให้เทวดาทั้งหลายฟังเทวดาทั้งหลายมีความปรารถนาใคร่อยากจะได้พบเห็นพระเจ้าเนมิราช ด้วยว่าท้าวเธอได้มีพระคุณแก่พวกตนมาก่อน ท้าวสักกะจอมเทพจึงได้ตรัสสั่งให้มาตลีเทพสารถีนำเวชยันต์ราชรถลงมารับพระเจ้าเนมิราชและได้สั่งให้มาตลีพาพระเจ้าเนิราชไปทอดพระเนตรนรกภูมิเสียก่อน พระองค์ได้ทอดพระเนตรนรกภูมิ ๑๔ ขุมเสร็จจากนั้นจึงนำไปสู่ดาวดึงส์สวรรค์ ฯลฯ

    เพราะผลของอุโบสถศีล พระเจ้าเนมิราชได้ไปทอดพระเนตรนรกภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่




    อุโบสถศีล กับ พระเจ้าสาธินราชโพธิสัตว์

    พระเจ้าสาธินราช เป็นอีกพระองค์หนึ่งที่ได้ไปทัศนาจรสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทั้งๆที่ยังเป็นมนุษย์ มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าสาธินราชโพธิสัตว์ พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธามาก ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์วันละ ๖๐๐,๐๐๐ กหาปณะทุกวัน และ รักษาอุโบสถศีลในวันพระมิได้ขาด

    ได้ทรงชักชวนประชาชนทั้งหลายให้สร้างกุศลรักษาอุโบสถศีลโดยเสด็จพระราชกุศล ประชาชนเหล่านั้นได้สิ้นชีพดับขันธ์ไปก่อนพระองค์ ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นจำนวนมาก

    เมื่อไปสู่เทวสภาเทวดาทั้งหลายจึงพากันกล่าวสรรเสรญคุณงามความดีของพระเจ้าสาธินราชเนืองๆ เทพยดาทั้งหลายอื่นได้ยินดังนั้นมีความปรารถนาอยากจะได้พบเห็นพระเจ้าสาธินราช

    สมเด็จอัมรินทร์ ท้าวสักกะจอมเทพ จึงมีเทวบัญชาห้าตลีเทพบุตรนำเวชยันต์ราชรถลงมารับพระเจ้าสาธินราชขึ้นไปสู่เทวโลกดาวดึงส์ เพื่อให้เทพบุตรเทพธิดาพร้อมด้วยสมเด็จจอมอัมรินทร์ได้ทัศนา

    เมื่อได้พบเห็นพระเจ้าสาธินราชแล้วต่างก็มีความโสมนัสยินดีออกมาต้อนรับพระเจ้าสาธินราชเข้าไปสู่เทวสภาศาลา ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงมอบทิพยสมบัติพร้อมกับนางฟ้าให้พระเจ้าสาธินาชครึ่งหนึ่ง ฯลฯ นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีลสมัยพุทธกาล

    อุโบสถศีลสมัยพุทธกาล

    อุโบสถศีล ได้มีความสำคัญมาทุกยุคทุกสมัยแม้ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พุทธบริษัทในสมัยนั้นก็ได้ให้ความสำคัญแก่อุโบสถศีลสูงมาก จะขอยกตัวอย่างบุคคลสำคัญในสมัยพุทธกาลได้ให้ความสำคัญแก่อุโบสถศีลอย่างไรบ้าง


    [​IMG]


    อุโบสถศีล กับ อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี
    จากอรรถกถาธรรมบท ภาค ๒

    อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ท่านเป็นเศรษฐีใจบุญเป็นชาวเมืองสาวัตถี วันหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายณ เมืองราชคฤห์และพักอยู่ที่บ้านพี่ภริยาในกรุงราชคฤห์ ได้ทราบข่าวจากพี่ภริยาว่า บัดนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นแล้วในโลก

    ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีได้ทราบข่าวนี้ด้วยความดีใจและตื่นเต้นมากอยากจะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในทันทีที่ได้ทราบข่าว แต่ก็ไม่อาจจะไปได้ เพราะเป็นเวลาค่ำมืดแล้วประตูเมืองได้ปิดแล้วเป็นอันว่าคืนนั้นตลอดทั้งคืนท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีมีจิตใจกระสับกระส่ายกระวนกระวาย นอนไม่หลับเลย ผุดลุก ผุดนั่งอยากจะให้สว่างเร็วๆ เพื่อจะได้รีบไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พอรุ่งเช้าประตูเมืองเปิด ท่านมหาเศรษฐีรีบเดินทางไปสีตวันที เพื่อเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอไปถึงก็ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าสมใจ ได้ฟังพระธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

    ท่านอนาถบุณฑิกมหาเศรษฐีได้มีศรัทธาเลื่อมในในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง บริจาคทรัพย์สร้างวัดพระเชตวันเป็นเงิน ๕๔โกฏิ (๕๔๐ล้าน) ท่านมหาเศรษฐีแม้จะได้ทำบุญบริจาคทรัพย์มากมายเช่นนั้นแต่ก็ไม่เคยอิ่มด้วยการทำบุญกุศล ท่านมหาเศรษฐีจะไปวัดทุกวัน ๆ ละ ๓ เวลา คือเวลาเช้าจัดเตรียมภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ เวลาบ่ายจัดน้ำปานะไปถวายพระสงฆ์ เวลาเย็นถือดอกไม้ธูปเทียนของหอม เครื่องลูบไล้และผ้าเป็นต้น ไปสู่วัดพระเชตวันเพื่อฟังพระธรรมเทศนา

    ในวันพระทุกวันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ ท่านมหาเศรษฐีจะไปวัดเพื่อสมาทานรักษาอุโบสถศีล นอกจากนี้ท่านมหาเศรษฐียังได้ชักนำบริวารของท่านทั้งหญิงชายและเด็กๆนจำนวนหลายร้อยคนให้สมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y10925231-3.jpg
      Y10925231-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.1 KB
      เปิดดู:
      2,821
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีลกึ่งหนึ่ง

    อุโบสถศีลกึ่งหนึ่ง


    ครั้งหนึ่ง ลูกจ้างมาใหม่ได้มารับจ้างทำงานในบ้านของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ต่อมาในวันอุโบสถ (วันพระ) วันหนึ่งท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีกลับมาจากวัดพระเชตวันแล้วได้ถามคนในบ้านว่า

    ...วันนี้เป็นวันพระ มีใครได้บอกลูกจ้างที่มาใหม่ให้ทราบหรือไม่ว่า...วันนี้เป็นวันพระทุกคนเขารักษาอุโบสถศีลกัน

    “ไม่มีใครบอกจ๊ะนาย” หญิงแม่ครัวตอบ

    ลูกจ้างผู้มาใหม่ได้ตื่นแต่เช้าทำงานในป่าตลอดทั้งวัน พอตกเย็นก็เลิกงานกลับบ้านเขาเห็นบ้านเงียบผิดปกติ ในวันอื่น ๆ มีเสียงเซ็งแซ่โกลาหลด้วยคนเป็นจำนวนมาก แต่วันนี้มีเหตุอะไรเกิดขึ้นหนอ? บ้านจึงเงียบอย่างนี้ เงียบเหมือนบ้านร้าง แม่ครัวเตรียมอาหารเย็นไว้ให้เราเพียงคนเดียว จึงถามว่า...คนภายในบ้านนี้พวกเขาไปไหนกันหมด ทำไมจึงเงียบอย่างนี้ เขาบริโภคอาหารกันหมดแล้วหรือ?

    แม่ครัว...ฉันขอโทษที่ไม่ได้บอกเรื่องนี้ให้ทราบ ทุกคนในบ้านนี้ไม่มีใครเขาบริโภคอาหารเย็น เพราะว่าวันนี้เป็นวันพระทุกคนในบ้านรักษาอุโบสถศีลกันหมด แม้เด็กๆที่ดูดนม ท่านมหาเศรษฐีก็ให้บ้วนปากให้ใส่ของมีรสหวานลงในปากของเด็กแทนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รักษาอุโบสถศีล ไม่มั่วสุม ไม่พูดคุยกัน เก็บตัวเงียบในห้องของตๆ แต่ละคนได้ประพฤติธรรมด้วยการสวดมนต์สาธยายอาการ ๓๒ เจริญสมาธิภาวนา

    ลูกจ้างคิดว่า...อุโบสถศีลนี้คงจะวิเศษเลิศลอยจริงๆ ไม่เช่นนั้นท่านมหาเศรษฐีและบริวารคงไม่รักษาอุโบสถศีลกันหมดทั้งบ้านอย่างนี้...ทุกคนภายในบ้านเป็นคนมีศีล เราคนเดียวเท่านั้นในบ้านเป็นคนไม่มีศีล มีความประสงค์อยากจะรักษาอุโบสถศีลเหมือนคนอื่นบ้างจึงเรียนถามเรื่องนี้กับท่านมหาเศรษฐี

    ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีได้ตอบว่า...ถ้าหากเจ้าไม่บริโภคอาหารเย็น บ้วนปากในบัดนี้แล้วอธิษฐานใจรักษาอุโบสถศีล เจ้าก็จักได้ชื่อว่า...มีอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง

    ลูกจ้างผู้มาใหม่ได้ปฏิบัติตามที่ท่านมหาเศรษฐีแนะนำเป็นผู้มีอุโบสถศีลกึ่งหนึ่ง คือ เขาได้เริ่มรักษาอุโบสถศีลเวลา ๑๘.๐๐ น.วันของอุโบสถศีลได้ล่วงเลยมาแล้ว ๑๒ ชั่วโมง ยังเหลือเวลาอีก ๑๒ ชั่วโมง

    พอตกกลางดึก เขารู้สึกหิวโหยมากเพราะทำงานมาตลอดทั้งวัน ข้าวปลาไม่ได้ตกถึงท้องเลยรู้สึกกระวนกระวาย ลมได้กำเริบขึ้นในร่างกายของเขา ท่านมหาเศรษฐีทราบเรื่องจึงสั่งให้เอาของมีรสหวานไปให้เขากิน แต่เขากลัวศีลของเขาจะขาดจะเศร้าหมอง ไม่ยอมบริโภคอะไรทั้งสิ้น



    ความจริงผู้รักษาอุโบสถศีลอาจจะดื่มกินน้ำผึ้งน้ำตาลน้ำอ้อยน้ำปานะแก้หิวได้ แต่ชายลูกจ้างเข้าใจผิดคิดว่ารักษาศีลจะต้องไม่ดื่มกินอะไรทั้งนั้น เมื่อแม่ครัวเอาน้ำผึ้งน้ำตาลมาให้กินจึงปฏิเสธไม่ยอมกินทั้งสิ้น ในที่สุดเขาก็ถึงแก่กรรม เพราะอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถกึ่งหนึ่งเขาได้ไปเกิดเป็นรุกขเทวดา

    ข้อคิดเกี่ยวกับชายลูกจ้างรักษาอุโบสถศีลกึ่งหนึ่ง รักษาอุโบสถเพียง ๕๐% ไม่ไปตกนรก ได้ไปเกิดเป็นรุกขเทวดา ถ้าเขาได้รักษาอุโบสถศีลเต็ม ๑๐๐% คงจะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นสูงกว่านี้

    ...ชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีลทุกวันนี้ ส่วนมากรักษาอุโบสถศีลไม่ถึง ๑๐๐% รักษาเพียง ๘๕% เท่านั้น เพราะเขากว่าจะได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลเวลาก็ได้ล่วงเลยไปถึง ๑๐.๐๐ น.แล้ว

    ได้มีท่านผู้รู้แนะนำว่าถ้าประสงค์จะรักษาอุโบสถศีลให้เต็ม ๑๐๐% จะต้องเริ่มสมาทานรักษาตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันพระ

    วิธีปฏิบัติในวันพระให้ตื่นแต่เช้ามือทำธุรกิจที่จำเป็นจะต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ๐๖.๐๐ น. พอได้เวลา ๐๖.๐๐ น. ให้ไปที่ห้องพระในบ้านอธิษฐานใจสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วยตนเอง แล้วจึงแต่งตัวไปวัดรับอุโบสถศีลจากพระสงฆ์อีกครั้งหนึ่งเวลา ๑๐.๐๐ น. ปฏิบัติเช่นนี้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาอุโบสถศีลเต็ม ๑๐๐% (๒๔ ชั่วโมง)

    ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมงแห่งวันพระนั้น จะต้องปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปด้วยการปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา สนทนาธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกลม เจริญพระกรรมฐาน

    ปฏิบัติได้เช่นนี้อุโบสถศีลของเขาย่อมจะมีผลยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มหาศาล มีความโชติช่วงชัชวาล มีผลแผ่ไพศาล สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์ก็สู้ไม่ได้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสยกย่องไว้อย่างแน่นอน
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ นางวิสาขามหาอุบาสิกา

    อุโบสถศีล กับ นางวิสาขามหาอุบาสิกา
    จากพระไตรปิฏก เล่ม ๒๐, หน้า ๓๗๑


    นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา นางได้ฟังพระธรรมจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงได้บริจาคเงิน ๒๗ โกฏิ (๒๗๐ ล้าน) สร้างวัดบุพพารามขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนา ทั้ง ๆ ที่นางได้ทำบุญกุศลไว้มากมายมหาศาล เช่นนั้น แต่นางก็ไม่เคยอิ่มไม่เคยพอในการทำบุญกุศล ทุกวันพระนางจะไปวัดสมาทานรักษาอุโบสถศีลเสมอ


    [​IMG]


    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ วัดบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ในวันพระวันหนึ่งพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนางวิสาขามหาอุบาสิกาเดินผ่านไป จึงได้ตรัสถามว่า...ดูก่อนวิสาขาไปไหนมาแต่ยังวันอยู่

    นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้กราบทูลว่า
    ...วันนี้เป็นวันพระหม่อมฉันมาวัด เพื่อสมาทานรักษาอุโบสถศีลพระพุทธเจ้าค่ะ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสยกย่องความดีวิเศษของอุโบสถศีล กับนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นอเนกประการ เช่น ตรัสว่า
    อุโบสถศีลมีผลยิ่งใหญ่ อุโบสถศีลมีอานิสงส์มหาศาล อุโบสถศีลมีผลทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง อุโบสถศีลมีผลแผ่ไพศาลยิ่ง ผลของอุโบสถศีลสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิก็สู้ไม่ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  14. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ พระอริยบุคคลทั้งหลาย

    อุโบสถศีล กับ พระอริยบุคคลทั้งหลาย


    ในสมัยพุทธกาล บุคคลที่ให้ความสำคัญแก่อุโบสถศีลไม่ใช่เป็นบุคคลธรรมดาสามัญ ส่วนมากล้วนเป็นพระอริยบุคคลทั้งนั้น เช่น มหากาลอุบาสก จากอรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ ผู้เป็นพระโสดาบัน เป็นชาวเมืองสาวัตถี ในวันพระจะไปวัดรักษาอุโบสถศีล อยู่ที่วัดฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง


    ฉัตตปาณิอุบาสก จากอรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ เป็นชาวเมืองสาวัตถีเช่นกัน เป็นผู้รอบรู้ในพระธรรมคำสั่งสอน เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามี ตามปกติพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีย่อมมีอุโบสถศีลเป็นประจำตลอดชีวิต (อุโบสถศีลเกิดขึ้นโดยมรรค) ไม่จำเป็นจะต้องรักษาอุโบสถศีลในวันพระก็ได้ แต่ตามประวัติได้บอกว่าเมื่อวันพระเวียนมาถึง ฉัตตปาณิอุบาสก จะอาบน้ำแต่งตัวแต่เช้าตรู่ เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและสมาทานรักษาอุโบสถศีล แสดงให้เห็นว่าอุโบสถศีลมีความสำคัญยิ่งใหญ่จริง ๆ แม้แต่พระอริยบุคคลชั้นอนาคามียังให้ความสนใจสมาทานรักษามิได้ขาด


    ข้อสังเกต .... อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีก็ดี นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี มหากาลอุบาสกก็ดี ฉัตตปาณิอุบาสกก็ดี ล้วนเป็นพระอริยบุคคลทั้งนั้น


    พระอริยบุคคลไม่ว่าชั้นใดประตูนรกปิดไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป ทั้ง ๆ ที่ประตูนรกปิดแต่พระอริยบุคคลทั้งหลายก็กระหายใคร่จะรักษาอูโบสถศีลอยู่เสมอ มองเห็นอุโบสถศีลเป็นดวงแก้ววิเศษ มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น สมควรที่ชาวพุทธทั้งหลายอย่าให้เสียทีที่เกิดเป็นชาวพุทธ เมื่อวันพระเวียนมาถึงควรจะได้รักษาอุโบสถศีล เหมือนได้แก้ววิเศษมาไว้เป็นกรรมสิทธิ์


    ....ได้มีชาวพุทธบางคนเมื่อวันพระเวียนมาถึงก็อธิษฐานอุโบสถศีลด้วยตนเองที่บ้าน ไม่ยอมไปวัด คือไม่ไปรับอุโบสถศีลจากพระสงฆ์ที่วัด รับเองจากพระพุทธรูปที่บ้านหรือรับจากพระสงฆ์ทางวิทยุหรือโทรทัศน์ การปฏิบัติเช่นนี้น่าจะไม่เป็นการถูกต้องนัก

    อุโบสถศีลมีความสำคัญยิ่งใหญ่แต่สมาทานอุโบสถศีลแบบว่าเองเออเองที่บ้านรู้สึกว่าจะเป็นการดูเบาและง่าย (มักง่าย) เกินไป คนสำคัญขนาดอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐก็ดี วิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี ยังไปรับอุโบสถศีลจากพระสงฆ์ที่วัด วัดเป็นบุญสถาน

    ถ้าทุกคนจะสมาทานด้วยตนที่บ้านไม่จำเป็นจะต้องไปที่วัดก็ได้ วัดก็หมดความจำเป็นเมื่อไม่มีคนไปวัด วัดก็ร้าง กาลอวสานของพระพุทธศาสนาก็มาถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ ประเทศศรีลังกา(ในอดีต)

    อุโบสถศีล กับ ประเทศศรีลังกา(ในอดีต)


    ประเทศศรีลังกาในอดีต พุทธศตวรรษที่ ๓(พ.ศ.๓๐๐) พระพุทธศาสนาได้ไปเจริญรุ่งเรืองมากกว่าประเทศใดๆ ผู้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศศรีลังกายุคนั้นก็คือพระมหินทเถระ และพระนางสังฆมิตตาเถรี ผู้เป็นพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช


    ในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นองค์พุทธมามกะ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมในในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงรับพระพุทธศาสนาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันพระพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงถือว่าเป็นวันบำเพ็ญมหากุศล เป็นวันพัฒนาจิตใจที่มีความสำคัญมากในวันพระ พระองค์ทรงประกาศห้ามประชาชนฆ่าสัตว์ ตอนสัตว์ ห้ามตีสัตว์ ห้ามทำการประมง ให้ทุกคนเข้าวัดรักษาศีลฟังธรรม


    ยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในประเทศศรีลังกามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขปกครองประเทศ พระองค์ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก ทรงให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ทรงชักชวนประชาชนพลเมืองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลธรรม วันพระเป็นวันหยุดราชการ

    ศิลาจารึกชื่อพทุลละในสมัยต้น ๆ จากหนังสือพระพุทธศาสนาในลังกา โดยจำนง ทองประเสริฐ ได้กล่าวว่า งานทุกชนิดจะต้องหยุดในวันอุโบสถ (วันพระ) ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์แห่งประเทศศรีลังกาหลายพระองค์ได้ทรงสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ และได้ทรงชักชวนให้ประชาชนของพระองค์ปฏิบัติตามด้วย ดังเช่น

    พระเจ้าศรัทธาดิส (พ.ศ.๔๖๖-๔๘๔) พระองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ราชเสนะ ที่เจดียบรรพต ทรงรักษาอุโบสถศีลและทรงปฏิบัติธรรม ทรงเจริญสมาธิภาวนาอยู่ในถ้ำตลอดวันอุโบสถ

    พระเจ้าวสภะ (พ.ศ. ๖๗๐-๗๑๔) พวกโหราจารย์ได้ทำนายว่าพระองค์จะมีพระชนมายุอยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๑๒ ปีเท่านั้น เรื่องนี้พระองค์ได้ทรงเก็บไว้เป็นความลับอย่างเข้มงวด ได้เสด็จไปถามพระสงฆ์ได้ถวายพระพรว่ามีอยู่มหาบพิตรแล้วได้อธิบายถึงวิธีที่จะต่ออายุให้ยืนยาวว่า พระองค์จะต้องปฏิบัติคือ จะต้องถวายเครื่องกรองน้ำ(กรรมกรก)แก่พระสงฆ์ สร้างกุฎิวิหาร พยาบาลภิกษุอาพาธ ซ่อมแซมถาวรวัตถุที่ปรักหักพัง รักษาศีล ๕ เป็นประจำ

    และเมื่อถึงวันพระจะต้องสมาทานรักษาอุโบสถศีล ถ้ากระทำได้ดังนี้จะต่อพระชนมายุของพระองค์ให้ยืนยาวต่อไปได้ พระเจ้าวสภะได้ทรงปฏิบัติตามที่พระสงฆ์แนะนำทุกประการ และทรงทำได้ยิ่งกว่านั้นเสียอีก ปรากฏว่าในเวลาต่อมาพระเจ้าวสภะทรงครองราชย์สมบัติอยู่นานถึง ๔๔ ปี

    พระเจ้าอุปดิสที่ ๑ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพุทธทาส พระองค์ทรงเป็นผู้มั่นคงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ทรงสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระเป็นประจำเดือนละ ๔ ครั้ง ได้ทรงมีพระราชศรัทธาต่อพระสงฆ์อย่างลึกซึ้ง คือพระองค์ทรงเสวยอาหารจากโรงทานมหาปาลี ซึ่งเป็นของพระสงฆ์ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นอาหารที่เหลือจากพระสงฆ์ฉันแล้ว พระองค์จะต้องปฏิบัติพระสงฆ์ก่อนแล้วจึงจะเสวยพระกระยาหารภายหลัง

    พระเจ้าทาโฐปดิสที่ ๒ (พ.ศ. ๑๑๙๓-๑๒๐๑) พระองค์มีพระราชศรัทธาในการสมาทานรักษาอุโบสถศีลและทรงสดับพระธรรมเทศนา

    พระเจ้าอัคโพธิที่ ๕ (พ.ศ. ๑๒๕๔-๑๒๖๐) พระองค์ทรงเป็นนักประชาธิปไตยยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ศรีลังกาอื่นๆ คือพระองค์ได้ทรงสมาทานรักษาอุโบสถศีลพร้อมกับพสกนิกรทั้งหมดของพระองค์

    พระเจ้าอัคโพธิที่ ๘ (พ.ศ.๑๓๔๔-๑๓๔๕) ในวันขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ พระองค์ได้ทรงห้ามนำปลา เนื้อ และสุราเข้าไปในเมืองและให้ทุกคนสมาทานรักษาอุโบสถศีลและประกอบศาสนกิจต่าง ๆ ในวันอุโบสถและเป็นวันหยุดราชการด้วย

    จากจดหมายเหตุของพระภิกษุฟาเหียน ทำให้เราได้ทราบว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นั้น วันขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันหยุดราชการ พระภิกษุฟาเหียนได้เขียนไว้ว่าได้มีศาลาอยู่ที่มุมถนนใหญ่ ๔ สาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ ประเทศศรีลังกา (ปัจจุบัน)

    อุโบสถศีล กับ ประเทศศรีลังกา (ปัจจุบัน)
    จากหนังสือพระพุทธศาสนาในศรีลังกา โดย ชูศักดิ์ ทิพยเกสร



    ศีล ๕ ซึ่งเป็นนิจศีลนั้น ชาวศรีลังกาได้สมาทานรักษากันเป็นประจำเช่นเดียวกับชาวพุทธไทย แต่อุโบสถศีลนั้นในวันพระเราจะได้เห็นเด็กชาวพุทธศรีลังกาจำนวนมากพากันสมาทานรักษาอุโบสถศีลร่วมกับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญยิ่งนัก คือในวันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑๔ ค่ำ


    อุบาสกอุบาสิกาผู้ใจบุญทั้งหลาย จะพากันไปรักษาอุโบสถศีลที่วัด และจะมีเด็กเล็กๆอายุระหว่าง ๑๐-๑๑ ขวบ ไปรักษาอุโบสถศีลกับผู้ใหญ่ด้วย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะนุ่งขาวห่มขาว พากันไปวัดที่อยู่ใกล้บ้านของตน มือถือดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย เมื่อบูชาพระพุทธปฏิมาเสร็จแล้วพวกเขาจะพากันสมาทานรักษาอุโบสถศีลในตอนเช้า


    และหลังจากรับอุโบสถศีลจากพระสงฆ์แล้ว พวกเขาจะพากันไปพักอยู่ตามบริเวณวัด บางทีก็มาอยู่บนธรรมศาลา บางพวกก็ไปพักอยู่ตามบริเวณเจดีย์ บางพวกก็อ่านหนังสืออภิธรรม บางพวกก็อ่านหนังสือสติปัฎฐานสูตร บางครั้งพวกเขานั่งรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ และจะมีคนหนึ่งอ่านหนังสือธรรมให้ฟัง หรือบางครั้งพวกเขาจะรวมกลุ่มกันถกเถียงธรรมกันและกัน (ธรรมสากัจฉา) จะมีบางคนนั่งในที่เงียบสงัดและเจริญวิปัสสนา และบางพวกก็นั่งนับลูกประคำอยู่คนเดียวในที่เงียบสงัด


    ในวันพระทั้งวัน พวกเขาจะอยู่ประจำในวัด และมีบางคนนำเอาอาหารไปรับประทานด้วย พอตกกลางคืนเวลา ๒ ทุ่ม จะมีพระสงฆ์ไปแสดงธรรมเทศนาโปรดทายกทายิกาเหล่านั้น สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีนักเรียนชายหญิงหนุ่มสาวพากันไปสมาทานรักษาอุโบสถศีล และประพฤติปฏิบัติธรรมเช่นคนอื่นๆ ทุกอย่าง


    ความรู้สึกที่ว่าการเข้าวัดจะทำให้เป็นคนครึหรือล้าสมัยนั้น จะไม่มีเลยในประเทศศรีลังกา ผลดีที่เยาชนเหล่านั้นจะได้รับอีกอย่างหนึ่งก็คือความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเวลาสอบไล่นักเรียนอาจจะรู้สึกเบาใจ เมื่อถึงเวลาสอบวิชาพระพุทธศาสนา


    ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ผู้ที่สมาทานรักษาอุโบสถศีลทั้งหมดจะพากันทำพิธีปวารณาศีลนั้น คือสมาทานรักษาศีล ๕ และบอกคืนอุโบสถศีลนั่นเอง เมื่อสมาทานรักษาศีล ๕ จากพระสงฆ์เสร็จแล้วพวกเขาจะพากันกลับบ้านเรือนของตนเอง และประกอบอาชีพตามปกติสืบไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ พระมหากษัตริย์ไทย

    อุโบสถศีล กับ พระมหากษัตริย์ไทย


    ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเป็นต้นมาจนถึงยุคปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัย อาทิ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระยาลิไท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เป็นต้น ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก บางพระองค์ได้เสด็จออกผนวชเพื่อทรงศึกษาและปฏิบัติธรรม


    [​IMG]


    แม้กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชสมบัติพระองค์ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่นานถึง ๒๗ พรรษา ขณะที่ทรงผนวชอยู่พระองค์ได้ทรงศึกษาค้นคว้าหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ทรงเชี่ยวชาญในภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาจารึกพระไตรปิฏกอย่างยิ่ง


    พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทสวดมนต์ บททำวัตรเช้าเย็น เป็นภาษาบาลีไว้เป็นจำนวนมาก นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นมหาปราชญ์ในพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เกี่ยวกับการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ พระองค์ได้ทรงเห็นความสำคัญของอุโบสถศีลได้ทรงพระราชนิพนธ์คำประกาศอุโบสถและคำอาราธนาธรรมเป็นภาษาบาลี สำหรับใช้ในการสมาทานรักษาอุโบสถศีลซึ่งวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศก็ได้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน


    หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ได้ตรัสเล่าประทานแก่พุทธสมาคมไว้ว่า
    ...เนื่องแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยประพฤติสมณกิจในเวลาทรงพระผนวชอยู่ในตำแหน่งสมภารเจ้าวัด ทุกวันพระซึ่งเป็นวันอุโบสถ เสด็จลงโบสถ์และประทานพระธรรมเทศนาเป็นกิจวัตรเสมอมา


    ครั้นถึงเวลาทรงรับเชิญขึ้นปกครองบ้านเมืองตามฆราวามวิสัยแล้ว ทรงรู้สึกขาดกิจวัตรที่พระองค์ทรงเคยประพฤติมาแล้วจนเคยชินเป็นพระราชอัธยาศัย จึงโปรดเกล้าให้เจ้านายและข้าราชการฝ่ายในมาประชุมสวดมนต์แล้วฟังพระธรรมเทศนาทุกวันพระ ที่หน้าพระพุทธมณเฑียรสถานในสวนศิวาลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนาสวดมนต์แล้วเสด็จขึ้นประทับบนพระเก้าอี้ ประทานศีลและพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ทุกวันพระ


    ในวันพระพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระภูษา(ผ้านุ่ง) สีแสดแดงย้อมด้วยฝางเพื่อให้ต้องตามพระวินัย และทรงฉลองพระองค์เสื้อ) อย่างครุยเย็บด้วยผ้าขาวเนื้อนุ่มทรงสะพัก(ผ้าห่มเฉวียงบ่า) พระกรข้างขวาของฉลองพระองค์ขึ้นบนพระพาหาซ้าย เจ้านายทุกพระองค์ที่เสด็จในวันพระต้องทรงภูษาย้อมฝางตามเสด็จด้วย แต่บางพระองค์ที่ไม่ทรงภูษาย้อมฝางก็ทรงภูษาสีแดงซึ่งคล้ายสีย้อมฝากแทนจึงเป็นราชประเพณีสืบมาอย่างหนึ่งแต่รัชการที่ ๔


    คุณย่าของข้าพเจ้า-ผู้เรียบเรียง (เจ้าจอมมารดาชุ่ม) ท่านถวายสังฆทานแล้วรับอุโบสถศีล และฟังพระธรรมเทศนาที่บ้านทุกวันพระ และตามธรรมดาท่านก็ใส่บาตรทุกวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2013
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ได้คำตอบแล้ว

    ได้มีคำถาม ๓ ข้อ ซึ่งเป็นปัญหาค้างใจผู้เขียนมาเป็นเวลานานแล้ว ยังหาคำตอบที่ถูกใจไม่ได้คำถามที่ว่านั้นคือ

    ๑.จะประพฤติปฏิบัติธรรมข้อใดจึงจะได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

    ๒.จะประพฤติปฏิบัติธรรมข้อใด จึงจะได้ชื่อว่าบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยธรรมปฏิบัติ

    ๓.ในฐานที่เกิดเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนาจะปฏิบัติธรรมข้อใดจึงจะได้ชื่อว่าไม่เสียทีที่เกิดเป็นชาวพุทธ


    ปัญหา ๓ ข้อนี้
    จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก ถ้าจะตอบแบบไม่คำนึงถึงหลักฐานที่ไปที่มาอาจจะตอบได้ง่ายเพราะว่าหลักธรรมในพระพุทธศาสนามีมากมายถึง ๘๔๐๐๐ ข้อ เช่น ตอบว่าให้ปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าเป็นการถูกต้องทั้งนั้น การตอบแบบนี้เป็นคำตอบส่งเดชกำปั้นทุบดิน ใคร ๆ ก็ตอบได้

    บัดนี้ ผู้เขียนได้คำตอบที่น่าพอใจแล้ว คำตอบนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำประกาศโบสถ์

    ข้อ ๑ ตอบว่า...จะต้องปฏิบัติธรรมด้วยการรักษาอุโบสถศีลในวันพระ จึงจะได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธมมานุธมมปฏิปตุติยา)

    ข้อ ๒ ตอบว่า...จะต้องปฏิบัติธรรมด้วยการรักษาอุโบสถศีลในวันพระ จึงจะได้ชื่อว่าบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยธรรมปฏิบัติ(ตสส ภควโต ปูชนตุถาย)

    ข้อ ๔ ตอบว่า...จะต้องปฏิบัติธรรมด้วยการรักษาอุโบสถในวันพระจึงจะได้ชื่อว่าไม่เสียที่ที่เกิดเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา
    (อิทิส์ หิ อุโปสถกาลํ สมุปตุตานํ อมุหากํ ชีวิตํ มา นิรตุถกํ โหตุ)

    ทำไมคำตอบจึงว่า...จะต้องรักษาอุโบสถศีลเหมือนกันทุกข้อ...
    ผู้อ่านซึ่งได้อ่านความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีลนี้แล้ว คงจะซึ่งแก่ใจดี ผู้ที่ตอบก็ไม่ใช่เป็นบุคคลธรรมดา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นมหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงรอบรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จึงเป็นคำตอบที่น่าจะรับฟังได้ ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ลังเลสงสัยเลย ชีวิตเราเป็นของมีค่า การเกิดเป็นมนุษย์เกิดได้แสนยากนักหนา ให้รีบรักษาอุโบสถศีลก่อนที่จะตายจากโลกนี้เถิด ชีวิตเป็นของสั้นพร้อมที่จะตายวันตายพรุ่งตลอดเวลา จะได้มิเสียใจในภายหลัง
     
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล กับ เยาวชน

    อุโบสถศีล กับ เยาวชน


    ผู้ใหญ่กำลังเป็นห่วงเยาวชนของชาติ เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กเลวในวันนี้คือผู้ใหญ่เลวในวันหน้า เดี๋ยวนี้ผู้ใหญ่ได้แต่บ่นกันว่าเยาวชนมีความประพฤติเสียหายเหลวแหลก แต่ผู้ใหญ่ได้ลงมือแล้วหรือยังที่จะพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี หรือมีมาตรการใดบ้างสำหรับใช้พัฒนาเด็ก ผู้เขียนก็ยังมอบไม่เห็น...


    ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี จากอรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ ท่านใช้อุโบสถศีลแก้ความเกเรของลูกชายได้สำเร็จ เรื่องมีอยู่ว่าท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีได้พูดกับลูกชายของท่านว่า...ลูกกาล พ่อมีกิจธุระอย่างหนึ่งอยากจะใช้ลูก หากลูกไม่ขัดข้องทำให้พ่อได้ พ่อจะให้รางวัลลูกครั้งละ ๑๐๐ กหาปณะ


    นายกาล “พ่อจะใช้ลูกให้ทำอะไรบอกมาเถิด ลูกยินดีกระทำทั้งนั้นโดยเฉพาะมีค่าจ้างด้วยแล้ว ลูกยินดีรับใช้เต็มที่”


    ท่านเศรษฐี “พ่ออยากจะให้ลูกไปวัดพระเชตะวันสมาทานรักษาอุโบสถศีลและฟังธรรม เสร็จแล้วกลับมาพ่อจะจ่ายให้ครั้งละ ๑๐๐ กหาปณะ ทันที”


    นายกาลรับจ้างพ่อไปวัดฟังธรรมครั้งละ ๑๐๐ กหาปณะ ไปวัดสมาทานรักษาอุโบสถศีลแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ นายกาลก็เริ่มง่วงหาวนอน นั่งหลับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบเขาก็ตื่นพอดี กลับบ้านรับเงินค่าจ้าง ถ้าคุณพ่อยังไม่จ่ายเงินค่าจ้าง เขาก็จะไม่ยอมรับประทานอาหาร


    นายกาลได้รับจ้างไปวัดสมาทานรักษาอุโบสถศีลและฟังเทศน์อย่างนี้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ท่านมหาเศรษฐีได้พูดกับลูกชายว่า

    .... “พ่อจะเพิ่มเงินค่าจ้างให้ลูกสูงขึ้นอีก ถ้าลูกสามารถจดจำได้ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีข้อความว่าอย่างไร ถ้าลูกจำได้และนำมาเล่าให้พ่อฟังได้พ่อจะให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นครั้งละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ”


    นายกาลอยากได้เงินค่าจ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะ แต่ก่อนไปวัดฟังธรรมก็ไม่ได้สนใจฟัง เพราะหลับเสียก่อนทุกครั้งไป เดี๋ยวนี้เขาไม่หลับอีกแล้วนั่งฟังพระธรรมเทศนาอย่างใจจดใจจ่อตั้งแต่ต้นจนเทศน์จบ เขาพยายามจะจดจำข้อธรรมให้ได้ในตอนแรกๆ เขาจดจำไม่ได้เลย แต่ก็มิได้ลดละความพยายาม พยายามต่อไปเป็นเวลานาน ในที่สุดความพยายามของเขาก็สัมฤทธิผล พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมว่าอย่างไร เขาสามารถจดจำข้อธรรมได้ทั้งหมด



    การที่เขาตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาอย่างใจจดใจจ่อพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าได้เกิดผลอย่างมหาศาล พระธรรมได้ทำให้จิตใจของเขาเกิดแสงสว่างรู้ผิดชอบ
    ชั่วดี อะไรเป็นบาปอะไรเป็นบุญ เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ ควรทำไม่ควรทำ พระธรรมได้เข้าไปซักฟอกจิตใจของเขาให้บริสุทธิ์สะอาดขึ้นโดยลำดับ วันที่เขาจดจำข้อธรรมได้นั้น เป็นวันที่จิตของเขาได้เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม เกิดความสำนึกผิดชอบชั่วดี มีมโนธรรมเกิดขึ้นในใจ


    เมื่อนึกถึงความประพฤติอันเหลวแหลกในอดีตของตน เขารู้สึกละอายใจ บัดนี้เขาได้เปลี่ยนเป็นนายกาลคนใหม่แล้ว เป็นนายกาลที่เกลียดกลัวความชั่วร้ายละอายต่อบาป มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับท่านมหาเศรษฐีบิดาของเขา


    นายกาลเมื่อฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว ได้เข้าไปกราบพระพุทธเจ้า กราบทูลอาราธนาพระองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ให้ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีเห็นลูกกลับมาพร้อมด้วยพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ท่านมหาเศรษฐีไม่เชื่อสายตาตนเอง วันนี้ลูกกาลกลับบ้านพร้อมด้วยพระพุทธเจ้าเป็นไปได้หรือ?


    ท่านเศรษฐีคาดไม่ถึงเลยว่าพระพุทธศาสนาจะแก้นิสัยเกเรของลูกได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ ทุกครั้งที่กลับถึงบ้านเขาจะต้องได้รับเงินค่าจ้างก่อน จึงจะรับประทานข้าว แต่วันนี้เขาไม่พูดถึงเงินค่าจ้างเลย ท่านมหาเศรษฐีได้พูดว่า...


    เงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะพ่อได้เตรียมไว้ให้ลูกแล้ว ...คุณพ่อครับอย่าพูดถึงเงินค่าจ้างเลย ผมไม่ต้องการเงินค่าจ้างอีกแล้ว


    นายกาล ตั้งแต่ได้เข้าวัดรักษาอุโบสถและฟังธรรม ความประพฤติเกเรของเขาได้หายไปหมดสิ้น เขากลายเป็นเด็กดี มีความประพฤติเรียบร้อย ผลสูงสุดในการเข้าวัดรักษาอุโบสถศีลของนายกาล

    ...หลักฐานได้บันทึกไว้ว่าเขาได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ประตูนรกปิดไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีลสุดอาภัพ

    อุโบสถศีลสุดอาภัพ



    อุโบสถศีลมีวันพระเป็นแดนเกิด ถ้าไม่มีวันพระอุโบสถศีลก็ไม่เกิด วันพระจึงเปรียบเหมือนแม่อุโบสถศีลเปรียบเหมือนลูก แม่คือวันพระได้ตายจากลูกคืออุโบสถศีลไปนาน ๕๐ ปีเศษแล้ว


    เมื่อปี ๒๕๒๔-๒๕๒๕ ผู้เขียนได้รณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดราชการหยุดโรงเรียนในวันโกนวันพระแทนวันเสาร์วันอาทิตย์ แต่ก็ไปไม่รอดสามเพลงตกม้าตาย


    ชาวพุทธด้วยกันนั่นแหละตัวดี ไม่เคยเห็นความสำคัญของวันพระ นอกจากไม่เห็นความสำคัญของวันพระยังขัดขวางต่อต้านไม่ให้วันพระได้ผุดได้เกิดอีกด้วย

    บางคนพูดอย่างอวดฉลาดว่า หยุดวันไหนก็ได้ไม่จำเป็นจะต้องหยุดวันโกน วันพระ หยุดวันเสาร์อาทิตย์ก็ดีแล้วเป็นวันหยุดสากล แต่หารู้ไม่ว่าการหยุดวันเสาร์อาทิตย์นั้นเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ตามลัทธิศาสนาคริสต์

    บาทหลวงคนหนึ่ง ได้พูดเยาะเย้ยพระเถระผู้ใหญ่ในศาสนาพุทธรูปหนึ่งว่า...ท่านเจ้าคุณท่านทราบไหม? เดี๋ยวนี้ชาวพุทธได้เข้ารีตหมดแล้ว

    ท่านเจ้าคุณได้ถามด้วยความสงสัยว่า...บาทหลวงพูดอะไรอาตมาไม่เข้าใจ

    บาทหลวง....ผมพูดว่าชาวพุทธเข้ารีตหมดแล้วหมายถึงคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ


    ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสนับถือศาสนาคริสต์หมดแล้ว ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยมีชาวคริสต์ไม่ถึงล้านคน ...... แต่ชาวคริสต์ก็มีวันหยุดประจำสัปดาห์ตามลัทธิศษสนาของตนคือวันเสาร์อาทิตย์- ..... ศาสนาอิสลามมีชามุสลิมไม่กี่ล้านคนชาวมุสลิมก็มีวันหยุดประจำสัปดาห์คือวันศุกร์-.....ศาสนาพุทธได้ชื่อว่าเป็นศาสนาประจำชาติ มีคนไทยนับถือ ๙๕%


    ...แต่อนิจจา น่าสังเวชสลดใจ ศาสนาพุทธไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ตามลัทธิศาสนาของตน ไพล่ไปหยุดวันเสาร์อาทิตย์แทน ใครก็ตามไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดถ้าหยุดวันเสาร์อาทิตย์ก็ถือได้ว่าหยุดเพื่อพระยะโฮวาพระผู้เป็นเจ้า เปรียบเหมือนประชาชนหยุดงานหยุดโรงเรียในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ได้ชื่อว่าหยุดเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่าชาวพุทธได้เข้ารีตหมดแล้ว


    อุโบสถศีลจะเป็นสมบัติอันล้ำค่า เป็นของดีวิเศษเพียงใดแต่ก็อาภัพ ยากที่จะรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการและนักเรียนไม่มีโอกาสรักษาอุโบสถศีลได้เลย เพราะวันพระไม่ใช่วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ จะไปรักษาอุโบสถศีลในวัพระจึงทำได้ยากเว้นแต่ผู้มีศรัทธาแก่กล้าจริงๆ เท่านั้น จึงจะรักษาอุโบสถศีลได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...