ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศืล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 20 กรกฎาคม 2013.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระสงฆ์ควรจะมีบทบาทกับการรักษาอุโบสถศีล

    รอไม่ได้อีกแล้ว


    จะร้องเพลงรอต่อไปไม่ได้อีกแล้ว การรอคอยเพื่อให้รัฐบาลซึ่งเป็นชาวพุทธประกาศหยุดราชการโรงเรียนในวันโกนวันพระตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้นั้น เป็นความหวังที่เลื่อนลอยห่างไกลมาก


    ผู้รอคอยอาจจะต้องตายเสียก่อนก็ได้ ทางที่ดีที่สุดและให้ประโยชน์แก่ตนมากที่สุดไม่ต้องรอคอยรัฐบาลจะหยุดหรือไม่หยุดก็ตามที ในฐานะที่เกิดมาเป็นชาวพุทธก็ควรจะได้ตัตวงเอาประโยชน์จากวันพระให้ได้มากที่สุด ด้วยการรักษาอุโบสถศีล อยากจะกล่าวว่าผู้ที่เกิดมาเป็นชาวพุทธแต่ไม่เคยสมาทานรักษาอุโบสถศีลเลยถือได้ว่าได้สูญเสียของดีวิเศษที่ประมาณค่าไม่ได้เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของชาวพุทธ




    พระสงฆ์ควรจะมีบทบาทกับการรักษาอุโบสถศีล

    เป็นอันทราบแล้วว่ารัฐบาลไม่หยุดราชการหยุดโรงเรียนในวันโกนวันพระแน่ ถ้าหากพระสงฆ์นิ่งเฉยไม่มีการรณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชานเห็นคุณค่าของอุโบสถศีล อุโบสถศีลคงจะต้องตายตามแม่คือวันพระไปด้วย

    พระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไปถ้ามีเมตตาจิตจะช่วยพัฒนาชาวพุทธให้เป็นชาวพุทธชั้นดีด้วยการรักษาอุโบสถศีลก็อาจจะทำได้ ไม่จำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินทองใด ๆ ทั้งสิ้น


    โดยมีขั้นตอนการดำเนินการย่อ ๆ ดังนี้
    - ปรับปรุงวัดให้สะอาดสะอ้านเป็นรมณียสถาน
    - จัดโบสถ์หรือศาลาให้เรียบร้อยปูลาดด้วยเครื่องปูลาดที่เหมาะสม
    - จัดเตรียมที่บูชาประจำโบสถ์หรือศาลาให้เป็นคารพสถานมีพระประธาน โต๊ะหมู่บูชา เหมาะสมสวยงามเป็นที่น้อมนำมาซึ่งศรัทธาปสาทะของผู้ที่ได้พบเห็น
    - เมื่อวันพระ เวียนมาถึงให้ทำการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ชักชวนชาวพุทธศาสนิกชนให้เข้าวัดบำเพ็ญมหากุศลด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีล ฟังเทศน์ และบำเพ็ญจิตภาวนา ขอเรียนว่าการชักชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีลนั้น ง่ายกว่าการบอกบุญเรี่ยไรเป็นไหน ๆ




    ในประเทศไทยมีวัด ๓๑,๑๘๗ วัด (ข้อมูลปี ๒๕๒๖) สมมติว่าวัดแต่ละวัดชักชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีล วัดละ ๑๐ คน จะได้คนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีลหนึ่งวันพระจำนวน ๓๑๑,๘๗๐ คน หนึ่งเดือนมีวันพระ ๔ ครั้ง จะได้คนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีล ๑,๒๔๗,๔๘๐ คนในหนึ่งปีมีวันพระ ๕๒ ครั้ง จะได้คนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีล ๑๖,๒๑๗,๒๔๐ คน การประเมินคนเข้าวัด ๆ ละ ๑๐ คน เป็นการประเมินยอดต่ำที่สุด ถ้าหากชาวพุทธมาเข้าวัดมากกว่านี้ก็จะมีชาวพุทธเข้าวัดรักษาอุโบสถศีลในวันพระเป็นจำนวนหลายล้านคนทีเดียว

    วัด เปรียบเหมือนร้านค้า คนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีล เปรียบเหมือนลูกค้า เป็นการแน่นอนเหลือเกิน วัดใดที่มีคนเข้าวัดรักษาอุโบสถศีลในวันพระเป็นจำนวนมาก วัดนั้นย่อมเจริญ มั่นคง

    คนที่เข้าวัดรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระย่อมได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธชั้นดี ความดีนี้ย่อมแพร่ขยายไปทำให้สังคมประเทศชาติร่มเย็นเป็นสุข พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
     
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีลนอกตำรา


    มีบางคนสั่งสอนว่า อุโบสถศีลไม่จำเป็นจะต้องสมาทานรักษาในวันพระก็ได้ จะรักษาวันไหน ๆ ก็ถือเป็นอุโบสถศีลทั้งนั้น....คำพูดเช่นนี้เป็นคำพูดแบบไม่รับผิดชอบ เป็นคำพูดที่ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ เป็นการคัดค้านคำสอนที่เป็นพุทธบัญญัติทำตนเก่งกว่าพระพุทธเจ้า


    อุโบสถศีลเป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ มีปรากฏในพระไตรปิฏก ถ้าไม่ปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติจะสมาทานรักษาวันไหนก็ได้ตามใจชอบ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้บ่อนทำลายโครงสร้างของพระพุทธศาสนา


    เรื่องนี้นักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
    .....พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ย่อมทรงพิจารณาเห็นด้วยพระปัญญาว่าเป็นคุณประโยชน์แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้สรรพสัตว์ได้ปฏิบัติตามเมื่อบุคคลปฏิบัติผิดจากพระบรมพุทโธวาส ก็ชื่อว่าประพฤติไม่ต้องตามพุทธอัธยาศัย ย่อมชื่อว่าเสียประโยชน์เป็นอันมาก

    บุคคลที่ไม่สามารถรักษาอุโบสถศีลตามพระพุทธบัญญัติได้แต่รักษาอุโบสถศีลคือตามใจชอบถึงจะกระทำด้วยเจตนาอุตสาหะและมีวิรัติอันเป็นกุศลก็จริง ย่อมจะได้กุศลน้อยนัก เพราะเป็นการกระทำเอาเองโดยลำพังตน หาตั้งอยู่ในพุทธฎีกาไม่ อุโบสถศีลของผู้นั้นชื่อว่าเป็ น๓๒อัตตาธิปไตยศีล และโลกาธิปไตยศีล ศีลมีตนและโลกเป็นใหญ่

    (อธิปไตย...ได้แก่ ความเป็นใหญ่มี ๓ อย่าง ๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่ ๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่ ๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่)


    ถ้าหากบุคคลได้รักษาอุโบสถศีลตามกาลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อุโบสถศีลของผู้นั้นก็เป็นธัมมาธิปไตยศีล มีธรรมเป็นใหญ่เป็นอธิบดี มีผลมากมีอานิสงส์มาก และได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นไปสิ้นกาลนาน

    เพราะเมื่อได้สมาทานรักษาอุโบสศีลตามกาลเวลาที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้แล้วย่อมจะเป็นเยี่ยงอย่างแก่ชนในภายหน้า สตรีและบุรุษทั้งหลายผู้เกิดมาในภายหลังก็จะรู้จักอุโบสถศีล (ของแท้) ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ พระพุทธศาสนาคำสั่งสอนของพระองค์ก็จะดำรงอยู่สิ้นกาลนาน

    เมื่อถือว่าจะสมาทานรักษาอุโบสถศีลวันไหนก็ได้ไม่มีกำหนดกาลเวลานั้น อุโบสถศีลที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ก็จะไม่มีใครยึดถือทรงจำไว้ต่อไป ประชาชนที่เกิดมาภายหลังก็จะไม่รู้ว่าอุโบสถศีลที่แท้จริงและถูกต้องตามพระพุทธบัญญัตินั้นเป็นอย่างไรกันแน่ บุคคลผู้มีบาปหนาเกิดมาในภายหน้า ก็จะละเลยทอดทิ้งอุโบสถศีลไม่รักษาอุโบสถศีล และ อุโบสถศีลก็จะเสื่อมสูญในที่สุด...อุโบสถศีล


    ที่สมาทานรักษาในวันอื่นนอกจากวันพระที่ทรงบัญญัติไว้ย่อมไม่มีชื่อว่าเป็นอุโบสถศีล ถึงเป็นอุโบสถศีลก็เป็นอุโบสถศีลปลอมไม่แท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2013
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อุโบสถศีล ๓ ประการ

    อุโบสถศีล ๓ ประการ
    พระไตรปิฏกเล่ม ๒๐


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่วัดบุพพารามใกล้เมืองสาวัตถี พระองค์ได้ตรัสกับนางวิสาขามหาอุบาสิกาว่า ดูก่อน นางวิสาขามหาอุบาสิกา อุโบสถมี ๓ อย่าง คือ

    โคปาลอุโบสถ

    โคปาลอุโบสถได้แก่ อุโบสถศีลของบุคคลผู้รักษาเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค คนรับจ้างเลี้ยงโคนั้นจะต้องระมัดระวังไม่ให้โคหาย ตอนเย็นมอบฝูงโคแก่เจ้าของโคจะต้องครบถ้วนไม่ขาดหาย คนรักษาอุโบสถศีลแบบโคปาลอุโบสถก็เช่นเดียวกัน เมื่อรับอุโบสถศีลจากพระสงฆ์แล้วคอยระมัดระวังไม่ให้ศีลขาดเพียงอย่างเดียว จะทำอะไรก็กลัวศีลขาด ไม่เคลื่อนไหวอะไรทั้งนั้น ไหว้พระสวดมนต์ก็ไม่ทำ เจริญวิปัสสนากัมมัฎฐานก็ไม่ทำ บุคคลผู้รักษาอุโบสถศีลเช่นนี้เรียกว่า โคปาลอุโบสถ

    นิคัณฐอุโบสถ

    นิคัณฐอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถศีลของบุคคลผู้รักษาเหมือนลัทธินิครนถ์ เดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนา คือ รักษาอุโบสถศีลเคร่งครัดเพียงบางข้อ บางประเด็น เช่น ศีลข้อที่ ๑ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์ สัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก งดเว้นเด็ดขาด ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนทั้งนั้น แต่คนผู้รักษาอุโบสถแบบนิคัณฐอุโบสถ เขาจะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์บางประเภท สัตว์ประเภทนั้นฆ่าได้
    สัตว์ประเภทนี้ฆ่าไม่ได้ บุคคลผู้รักษาอุโบสถศีลมีข้อแม้เช่นนี้เรียกว่า นิคัณฐอุโบสถ

    โคปาลกอุโบสถก็ดี นิคัณฐอุโบสถก็ดี เป็นอุโบสถศีลที่ไม่ใช่พุทธประสงค์ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก เป็นอุโบสถศีลที่ไม่ประเสริฐเลย


    อริยอุโบสถศีล

    อริยอุโบสถศีล เป็นอุโบสถศีลที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความโชติช่วงชัชวาล ความดีจะแผ่ไพศาลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด อริยอุโบสถศีลนั้นคือ

    ๑.พุทธบริษัท เมื่อสมาทานรักษาอุโบสถศีลแล้วจะทำกิจอื่น ๆ ไม่ควร (ศีลสมาทานโต ปฏฐาย) (ฎีกาอุโบสถสูตร) ควรจะอยู่ด้วยกิจ ๒ ประการ คือ ฟังธรรม สนทนาธรรม และมนสิกาพระกัมมัฎฐาน

    ๒.ในวันอุโบสถ (วันพระ) เวลาเช้าควรจะอธิษฐานอุโบสถศีลในเวลาหกโมงเช้าเสียก่อน แล้วจึงไปวัดสมาทานรักษาอุโบสถศีลที่วัดในภายหลังแล้วฟังธรรม (ปาโตว อุโบสถ์ อธิฎฐาย วิหารํ คจฉนุติ) (ชาดกฎจกถา)

    ๓.บุพกิจ (กิจเบื้องต้น) กิจใดควรจะทำในวันอุโบสถ ควรทำก่อนให้เสร็จเรียบร้อย รุ่งเช้าขึ้นขณะรัตารุณคือ แสงอาทิตย์แดงขึ้นมาพึงบ้วนปากสมาทานรักษาอุโบสถศีล

    ๔.ผู้รักษาอุโบสถศีล อย่าได้ทำงานหรือใช้คนอื่นให้ทำงานอันเป็นเหตุทำให้คนอื่นสัตว์อื่นทาสกรรมกรได้รับความลำบากเดือดร้อน (ปโรธปโรธาปฏิฆสยตตา กมมนุตา น วิจาเรตพพา)

    ๕.ผู้รักษาอุโบสถศีลควรจะเพิกเฉยในกิจธุรการงานทั้งปวง กระทำประดุจว่ามิได้เห็น มิได้ยิน อย่าเอาใจใส่ ในวันอุโบสถศีลพึงประพฤติตนดุจพระโยคาวจร แม้ผู้เป็นลูกจ้างก็ควรจะลางานแสวงหาโอกาสรักษาอุโบสถศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดวันหนึ่ง คืนหนึ่ง(๒๔ ชั่วโมง)

    ๖.ผู้รักษาอุโบสถศีลพึงยับยั้งอยู่ด้วยการนับอายุ (อายุวยคณนํ กโรนเตน วีตินาเมตพพํ) พึงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2013
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    บุพกิจของอุโบสถศีล - พิสูจน์ความเป็นชาวพุทธ

    บุพกิจของอุโบสถศีล

    การไหว้พระสวดมนต์เป็นบุพกิจ คือกิจเบื้องต้นของการสมาทานรักษาอุโบสถศีล เมื่อไหว้พระ สวดมนต์เสร็จแล้วจึงจะเริ่มทำการสมาทานรักษาอุโบสถศีล เป็นลำดับถัดไป ความจริงการไหว้พระ สวดมนต์นั้น เป็นภารกิจของชาวพุทธทั้งปวง ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส จะต้องไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน การไหว้พระสวดมนต์ชาวพุทธทั้งหลายได้ยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบกันมาช้านานเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว


    ที่บูชาพระ(พุทธรูป)
    ที่บูชาพระ กับ การไหว้พระสวดมนต์เป็นของคู่กัน การสวดมนต์จะต้องมีอุปกรณ์

    การสวดมนต์คือ ที่บูชาพระ ประกอบด้วยพระพุทธรูป แจกัน กระถางธูป เชิงเทียน และโต๊ะหมู่ ได้มีคนบางคนคัดค้านการกราบไหว้พระพุทธรูปว่าไม่มีประโยชน์เป็นการไหว้ปูนอิฐทองเหลือง ใคร ๆ ก็ตามที่มีความคิดเห็นคัดค้านไม่ให้กราบไหว้พระพุทธรูปย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม แบบถอนรากถอนโคนทีเดียว




    พิสูจน์ความเป็นชาวพุทธ
    ประเทศไทยมีชาวพุทธ ๙๕% ที่เป็นชาวพุทธแท้มีจำนวนเท่าไร เป็นชาวพุทธเทียมมีจำนวนเท่าไร ยังไม่พบหลักฐาน แต่ผู้ใดอยากจะทราบว่าตนเองเป็นชาวพุทธแท้หรือชาวพุทธเทียมมีตำราพิสูจน์

    ...ในพระราชกำหนดประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ เล่ม ๓ หน้า ๔๑๕ ข้อ ๓๕ กล่าวไว้ว่า....พระสรณาคมน์จะอยู่เป็นมั่นคงนั้น เพราะถือพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นเที่ยงแท้ จิตมิได้ผันแปรไปถือคุณอันอื่น(ลัทธิอื่น) ว่าประเสริฐกว่าพระรัตนตรัยหามิได้เป็นอันขาดทีเดียว พระสรณาคมน์จึงจะคงอยู่แก่ผู้นั้น

    ทุกวันนี้สัตว์ทั้งปวงเป็นโลกียะ ครั้นมีทุกข์ขึ้นมาน้ำจิตนั้นก็ผันแปรไปจากพระรัตนตรัย ไปถือผีสางเทพารักษ์ต่าง ๆ แต่ถ้าจะนับถือพระภูมิเจ้าที่เทพารักษ์นั้น ถือเอาแต่โดยจิตคิดว่าเป็นมิตรสหาย เป็นที่ป้องกันอันตราย มิได้คิดว่าประเสริฐกว่าพระรัตนตรัย....และพระรัตนตรัยเสีย ไปถือภูมิเทพารักษ์ผีสางที่ตนถือนั้นประเสริฐกว่าพระรัตนตรัย ฉะนี้ พระไตรสรณาคมน์ก็ขาด...

    .แต่นี้สืบไป ให้ข้าทูลละอองผู้ใหญ่ผู้น้อยผู้รักษาเมือง ผู้รั้งกรรมการเมือง เอก โท ตรีทั้งปวงบันดามี ศาลเทพารักษ์พระภูมิเจ้าที่ พระเสื้อเมืองทรงเมือง ให้บำรุงซ่อมแปลงที่ปรักหักพังนั่นให้บริบูรณ์ และ แต่งเครื่องกระยาบวด ผลไม้ ถั่ว งา เป็นต้น และธูปเทียนของบูชาฟ้อนรำบวงสรวงพลีกรรม ถวายสิ่งซึ่งอันสมควรแก่เทพารักษ์ แต่อย่านับถือให้ยิ่งกว่าพระไตรสรณาคมน์ ห้ามอย่าให้พลีกรรมด้วยการฆ่าสัตว์ และให้กระทำบุญให้ทาน ยอมให้บำรุงศาลเทพารักษ์แต่พอควร แต่รูปลึงค์ให้เก็บเผาเสียให้หมด

    ชาวพุทธบางคนยืนยันว่าตนเองเป็นชาวพุทธ แต่มิได้ทำกิจกรรมชาวพุทธเลย บางคนนอกจากไม่ได้ทำกิจของชาวพุทธแล้ว ยังไปทำกิจที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นชาวพุทธก็มีเช่นเป็นชาวพุทธแต่ไปปฏิบัติพิธีกรรมในลัทธินอกพระพุทธศาสนา หรือนับถือพระภูมิเทพารักษ์ พระพรหม เจ้าพ่อเจ้าแม่
    ต่าง ๆ ยิ่งกว่าพระรัตนตรัย ความเป็นชาวพุทธก็ขาด
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    มีศีล หรือ ไม่มีศีล รู้ได้อย่างไร ?

    มีศีลหรือไม่มีศีลรู้ได้อย่างไร?


    ทำไมฉันจะไม่มีศีล ฉันไม่ได้ตีหัวหมา ไม่ได้ด่าแม่ใคร ความชั่วความผิดอะไรฉันก็ไม่เคยทำ ฉันมีศีลแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องไปรักษาที่ไหนให้เมื่อย...มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจอย่างนี้

    จึงขอทำความเข้าใจหน่อยครับ จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้กระทำความผิดอะไรยังไม่มีศีลครับ ศีลยังไม่เกิดอย่างนักโทษในเรือนจำทั่วประเทศจำนวนแสน ไม่เคยล่วงละเมิดศีลเลย นักโทษเหล่านั้นก็ไม่ชื่อว่ามีศีล หรือเด็ก ๆ เกิดใหม่นอนแบเบาะ ทำชั่วทำผิดอะไรก็ไม่เคยทำ เด็กนั้นก็ไม่ชื่อว่ามีศีล ศีลยังไม่เกิด

    คนจะมีศีลหรือไม่มีศีล เขามีกฎมีเกณฑ์ครับ กฎเกณฑ์นั้นเรียกว่า “วิรัติ” แปลว่า เจตนางดเว้น มีเจตนางดเว้น ๓ ข้อ คือ

    - สมาทานวิรัติ เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า อย่างเช่น ขอศีลจากพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้ศีลจบก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล

    - สัปปัตตวิรัติ เจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุที่จะทำให้ผิดศีล แต่ไม่ยอมผิดศีล ศีลก็เกิด (เฉพาะข้อที่งดเว้น)

    - สมุทเฉทวิรัติ เจตนางดเว้นได้เด็ดขาดของท่านผู้ที่สิ้นกิเลสแล้ว เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามิ มีศีล ๕ บริสุทธิ์ตลอดชีวิต พระอนาคามิ พระอรหันต์ มีศีลอุโบสถตลอดชีวิต
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    วัด - พัฒนา (จิตใจ)

    วัดพัฒนา

    วัดพัฒนาในที่นี้ หมายถึง พุทธบริษัทของวัดนั้นได้รับการพัฒนาจิตใจ คือพระภิกษุสงฆ์ภายในวัด ประพฤติมั่นอยู่ในสิกขา ๓ อุบาสกอุบาสิกาซึ่งเป็นผู้ศรัทธาของวัด เข้าวัดพัฒนาจิตใจด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ วัดพัฒนาดังกล่าวอาจจัดแบ่งประเภทได้ ดังนี้



    วัดพัฒนา ประเภทยอดเยี่ยม

    วัดที่มีพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาเข้าวัดพัฒนาจิตใจ ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระมีจำนวนครั้งละ ๒๐๐ คนขึ้น
    วัดพัฒนา ชั้นที่ ๑

    วัดที่มีพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาเข้าวัดพัฒนาจิต ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระมีจำนวนครั้งละ ๑๐๐-๑๙๙ คน
    วัดพัฒนา ชั้นที่ ๒

    วัดที่มีพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาเข้าวัดพัฒนาจิต ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระมีจำนวนครั้งละ ๕๐-๙๙ คน
    วัดพัฒนา ชั้นที่ ๓

    วัดที่มีพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาเข้าวัดพัฒนาจิต ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระมีจำนวนครั้งละ ๒๕-๔๙ คน
    วัดพัฒนา ชั้นที่ ๔

    วัดที่มีพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาเข้าวัดพัฒนาจิต ด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระมีจำนวนครั้งละ ๒๕ คนลงมา
    วัดไร้อันดับ

    วัดที่ไม่มีพุทธบริษัทเข้าวัดพัฒนาจิตใจ หรือวัดที่ไม่มีกิจกรรมในวันพระ
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เป็นอย่างไร .. เป็น "ชาวพุทธ"

    เป็นชาวพุทธ​



    เป็นชาวพุทธ วันพระ ไม่รู้จัก
    จะพิทักษ์ พุทธได้ อย่างไรหนา

    เป็นชาวพุทธ เห็นวันพระ ไม่มีค่า
    อีกไม่ช้า พุทธคงสิ้น จากถิ่นไทย

    เป็นชาวพุทธ วันพระ ไม่ละเว้น
    จะสร้างเวร สร้างกรรม ไปถึงไหน

    เป็นชาวพุทธ ทำชั่ว ไม่กลัวภัย
    จะหมกไหม้ ในนรก อเวจี

    เป็นชาวพุทธ ควรรักษา อุโบสถ
    ตถาคต ตรัสว่าเลิศ ประเสริฐศรี

    เป็นชาวพุทธ ควรทำ แต่กรรมดี
    จะได้มี ความสุข ทุกชาติ...เอย



    [​IMG]


    ภาษิตท้าวสักกะจอมเทพ
    จาตุททสี ปญจทสี
    ยา จ ปกขสส อฎฐมี
    ปาฏิหาริยปกขญจ
    อฏ ฐงคสุสมาคตํ
    นรชนควรเป็นเช่นเรา คือ รักษาอุโบสถศีลในวันพระ ขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำ และตลอดปาฏิหาริกปักษ์ด้วย​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • phain.jpg
      phain.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.8 KB
      เปิดดู:
      214

แชร์หน้านี้

Loading...