สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายควรทำไว้ในใจให้มั่นคง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัมมะสามี, 4 พฤษภาคม 2013.

  1. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ก่อนที่พระเวสสันดรท่านจะออกจากพระนคร ท่านได้สอนพระแม่มัทรีว่า ดูก่อนน้องหญิง เมื่อเจ้าอยู่ที่นี่จงเลี้ยงลูกแก้วของเราให้ดี จงรู้จักวิธีใช้ทรัพย์ตามที่โบราณาจารย์แต่ก่อนท่านสอนเอาไว้ว่า ให้แบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วน เพื่อใช้หนี้เก่า ๑. ชำระหนี้ใหม่ ๑. ฝังดิน ๑. ทิ้งเหว ๑. ความหมายคือ
    ๑. ใช้หนี้เก่า คือ การบำรุงเลี้ยงบิดามารดาให้เป็นสุขอย่าให้อนาทรร้อนใจ
    ๒. ชำระหนี้ใหม่ คือ การเลี้ยงดูลูกเต้าให้ได้เล่าเรียนมีวิชาความรู้ติดตัว
    ๓. ฝังดิน คือ การรู้จักเก็บเงินทองไว้ใช้ยามจำเป็น และก่อสร้างกองทานการกุศลเอาไว้
    ๔. ทิ้งเหว คือ การซื้อหาอาหารมาอยู่มากินในแต่ละวัน




    ..... เมื่อทรงบริจาคไปแล้ว แม้พราหมณ์ผู้มีนิสัยโหดร้ายไร้ศีลธรรม จะเฆี่ยนตีพระลูกรักทั้งสองต่อพระพักตร์โดยไม่เกรงขามพระบารมีก็ตาม ก็ทรงทอดอาลัยไม่ทรงกริ้วโกรธต่อพราหมณ์เลย เพราะทรงถือว่าเป็นทานที่บริจาคให้เป็นของคนอื่นด้วยความบริสุทธิ์พระทัยแล้ว ไม่เพียงพระลูกรักซึ่งเทียบกับพระเนตรทั้งสองที่บริจาคให้แก่พราหมณ์ไปแล้ว ยังทรงยกพระนางมัทรีคู่พระบารมี ผู้เปรียบเหมือนดวงหทัยให้แก่(อินทะ)พราหมณ์ผู้มาร้องขอในอันดับต่อมาอีก ด้วยความพอพระทัยมิได้ทรงอิดเอื้อนซึ่งเป็นเหตุให้ปลีกแวะจากทานบารมีเพื่อพระโพธิญาณเลย และยังทรงอุทานเพื่อสละเลือดเนื้อและชีวิตทุกพระอาการแก่ผู้มุ่งมาขออีก ไม่ทรงอาลัยในพระกายและจิตใจแม้แต่น้อย



    ..... การที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีได้อย่างเต็มพระทัยนี้ เนื่องจากที่ทรงอาศัยอยู่ในสถานที่ที่โลกเห็นว่า เป็นที่อยู่ของบุคคลผู้จนมุม แต่สำหรับพระเวสสันดรกลับทรงเห็นว่า เป็นที่เวิ้งว้างจากภาระหนักและอารมณ์เครื่องกังวลใจทั้งการบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี ตลอด(จนถึง)อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็นธรรมเครื่องส่งเสริมทุกประเภท พระเวสสันดรทรงมีโอกาสได้บำเพ็ญอย่างพอพระทัยในเวลานั้น



    ..... การบำเพ็ญที่แสนยากลำบากและเต็มไปด้วยความชอกช้ำ เพราะการกระทบกระเทือนนานาประการ ทั้งเป็นการขัดขวางทางดำเนินของพระเวสสันดร หากกรรมดี กรรมชั่วจะเป็นไปตามความตำหนิติชมของบุคคลแล้ว พระเวสสันดรถึงกับต้องถูกเนรเทศเพราะการให้ทาน ก็ไม่ควรจะรอดจากเหตุการณ์อันรุนแรงนั้นกลายมาเป็น(สมเด็จ)พระ(สมณะโคดมปัญญาธิกะสัมมาสัม)พุทธเจ้าให้โลกกราบไหว้ได้ เพราะผลแห่ง(มหา)ทานอันเป็นต้นเหตุนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2013
  2. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    เมื่อองค์สมเด็จพระพุทธสมณะโคดมสยัมภูญาณเจ้า

    เริ่มแรกปรารถนาพระโพธิญาณ


    ..... บัดนี้ จักพรรณนาถึงการสร้างพระบารมี เพื่อพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสมณะโคดมปัญญาธิกะบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา ทรงมีพระมหากรุณาประกาศศาสนธรรมคำสั่งสอน ให้พวกเราชาวพุทธเวไนยนิกรได้ประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    ... เพื่อเป็นการสดุดีสรรเสริญคุณแห่งพระองค์ เท่าที่สามารถจะประมวลนำมากล่าวไว้ในที่นี้ได้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจงตั้งใจสดับตรับฟังด้วยดีเถิด เพื่อที่จะได้เกิดศรัทธาปสาทะความเชื่อความเลื่อมใสในองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า

    ... โดยมาเข้าใจทราบชัดว่า สมเด็จพระบรมศาสดาของพวกเราทั้งหลาย กว่าจะได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณนั้น พระองค์ท่านต้องทรงพระอุตสาหะพยายามสั่งสมบ่มพระบารมีมาเป็นเวลานาน และยากลำบากนักหนาเพียงไร



    ..... สมเด็จพระสรรเพชญ์ศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าของเรานี้ พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ คือทรงยิ่งด้วยพระปัญญา

    ... ฉะนั้น จึงปรากฎว่าพระองค์ทรงสร้างพระบารมีเพื่อพระพุทธภูมิได้ยิ่งยวดรวดเร็วนักหนา เร็วยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าประเภทอื่นทั้งหมด

    ... ตั้งแต่เริ่มปรารถนาพระพุทธภูมิจนกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แม้จะนับว่ารวดเร็วกว่าพระพุทธเจ้าประเภทอื่น ถึงกระนั้น

    ... พระองค์ก็ต้องทรงใช้เวลาสร้างพระบารมีถึง ๒๐ อสงไขยกับ ๑ แสนกัปพอดี

    ... ในบทนี้ จะกล่าวถึงตอนเริ่มแรกทรงสร้างพระบารมี คือตอนทรงปรารถนาพระพุทธภูมิ ได้แต่ดำริในพระหฤทัยมิได้ออกโอษฐ์เป็นวาจา นับเวลานานถึง ๗ อสงไขย ดังต่อไปนี้




    พรหมรำพึง


    ..... กาลครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าในโลกธาตุว่างจากพระบวรพุทธศาสนา คือ ไม่มีองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกเรานี้ เป็นเวลานับได้นานนักหนาถึง ๑ อสงไขยกัป

    ... เมื่อไม่มีพระพุทธศาสนา โลกธาตุก็ย่อมจะว่างเว้นจากการได้บรรลุมรรคผลธรรมวิเศษเป็นธรรมดา เพราะว่าธรรมพิเศษ คือ พระอริยมรรคอริยผลอันเป็นโลกุตรธรรมนั้น จักมีได้ก็แต่เฉพาะภายในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีในศาสนาลัทธิอื่นเป็นอันขาด

    ... ก็ในกาลครั้งนั้น จึงบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายผู้ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกบริษัทแลได้บรรลุมรรคผลธรรมวิเศษ คือ เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน พระสกิทาคามีมาแต่ศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน เทพยเจ้าพระอริยบุคคลเหล่านั้น ต่างก็พากันอนุโยคพยายามประกอบความเพียรบำเพ็ญเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล แล้วจึงจุติขึ้นไปอุบัติเกิดเป็นพระพรหมอนาคามี ณ พรหมโลกชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คือ อวิหาพรหมโลก อตัปพรหมโลก สุทัสสาพรหมโลก สุทัสสีพรหมโลก และอกนิฏฐพรหมโลก

    ... องค์ใดจะไปอุบัติเกิดในปัญจสุทธาวาสพรหมโลกชั้นไหนนั้น ก็สุดแต่วาสนาบารมีที่ตนอบรมให้แก่กล้าในอินทรีย์ไหน



    ..... เมื่อเทพยดาเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ไปอุบัติบังเกิดเป็นพระพรหมอนาคามีแล้ว

    ... ก็ย่อมเจริญกรรมฐานต่อไปจนกระทั่งได้บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุด คือ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ดับขันธ์ปรินิพพาน ณ พรหมโลกนั้นเอง

    ... อันนี้เป็นกฎธรรมดาของพระพรหมอนาคามีทั่วไป ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกไหนๆ อีก

    ... เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่พระอมตนิพพานไปทีละองค์สององค์เช่นนี้ พระพรหมอนาคามีก็เหลือน้อยลงทุกที เพราะผู้ที่จะมาอุบัติเกิดใหม่ก็ไม่มี โดยที่โลกธาตุนี้ว่างจากพระพุทธศาสนา จึงไม่มีพระอนาคามีบุคคลผู้ทรงคุณวิเศษมาอุบัติเกิดดังกล่าวแล้ว

    ... เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านสุทธาวาสมหาพรหมอนาคามี ได้ทอดทัศนาเห็นมหาพรหมที่เหลืออยู่น้อยนักหนา ทั้งยังจะต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานในวันหน้าอีกด้วยเล่า ท่านมหาพรหมเหล่านั้นจึงให้รำพึงปรึกษากันไปว่า

    ... " ดูรา เราท่านผู้นิรทุกข์เอ๋ย! กาลบัดนี้ บรรดามหาพรหมในชั้นปัญจสุทธาวาสเรานี้ น้อยลงๆ นักหนาแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในโลกธาตุว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา

    ... กาลที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นแล ปรากฎเป็นอันมากมายกว่ากาลที่มีพระพุทธเจ้าเป็นไหนๆ

    ... ฉะนั้น หมู่พระพรหมสุทธาวาสเรานี้ จึงค่อยน้อยไปๆ "

    ... เมื่อได้รำพึงปรึกษากันไปดังนี้ ต่างก็มีกมลหฤทัยบังเกิดความสังเวช แลคิดจะแก้ไขเหตุการณ์ให้ดีขึ้น จึงทอดทัศนาเล็งแลดูไปทั่วทั้งจักรวาลและอนันตจักรวาลน้อยใหญ่ ก็ไม่เห็นพระพุทธเจ้าจักเสด็จมาอุบัติขึ้นในกาลใกล้ๆ นี้เลย จึงรำพึงปรึกษากันต่อไปว่า

    ... " อันธรรมดาองค์สมเด็จพระสรรเพชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติตรัสในมงคลจักรวาลนี้เท่านั้น

    ... เว้นจากมงคลจักรวาลโลกธาตุแล้ว จักมิได้ไปเสด็จอุบัติตรัสในจักรวาลทั้งหลายอื่นเลย

    ... ก็แลใครผู้ใดเล่าหนา จักเป็นผู้มีความพยายามใหญ่ หฤทัยมั่นคงแข็งกล้าอุตสาหพยายามบำเพ็ญกุศลพุทธการกธรรมเพื่อจักได้ตรัสรู้ พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณได้ จำเราทั้งหลายจักต้องคอยค้นคว้าแสวงหาดู "



    ..... ครั้นสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลาย ปรึกษากันฉะนั้นแล้ว จึงค่อยสอดส่องแสวงหาดูทั่วทั้งหมู่มนุษย์และเทวดา เพื่อจักหาบุคคลผู้มีกมลหฤทัยผูกพันมั่นคงกล้าหาญ เต็มไปด้วยอนุโยคพยายามอันยิ่งใหญ่ อาจประกอบกิจที่ตนมุ่งหวังให้สำเร็จได้โดยมิได้อาลัยถึงร่างกายแลชีวิต

    ... โดยประสงค์ว่า เมื่อพบผู้มีน้ำใจองอาจมั่นคงชนิดนี้แล้ว จักได้เข้าบันดาลดลจิตของผู้นั้นให้บังเกิดมีน้ำใจรักใคร่ในทางที่จะปรารถนาพระพุทธภูมิเพื่อตรัสรู้พระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ในอนาคตกาลภายภาคหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  3. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    มานพหนุ่มผู้เข็ญใจ​




    ..... กาลครั้งนั้น ยังมีมาณพหนุ่มผู้ยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง เมื่อถึงกาลชนมายุเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาจึงคิดจะปลูกฝังแต่งตั้งให้มีครอบครัวตามประเพณี แต่มาณพนั้นมิได้มีความปรารถนาด้วยประมาณตัวว่าตนเป็นคนยากจน ครั้นชนกชนนีรบเร้าเฝ้ารำพันปลอบ จึงตอบว่า

    ... " ข้าแต่พ่อแม่ทั้งสอง! ทุกวันนี้ทรัพย์สมบัติอันหนึ่งอันใดที่มีค่าในเรือนของเราก็มิได้มี เพราะว่าเราเป็นคนเข็ญใจ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงยังมิพอใจจะมีเหย้ามีเรือน เมื่อมารดาบิดาทั้งสองยังครองชีวิตอยู่ตราบใด ข้าพเจ้าก็จักอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยงไปตามประสายาก จนกว่าชีวิตข้าพเจ้าจะหาไม่ "

    ... เมื่อให้คำตอบดังนี้แล้ว ก็ทำการงานเลี้ยงดูท่านทั้งสองเป็นนิตย์ ครั้งจำเนียรกาลนานมา ท่านบิดาก็ถึงแก่กรรมไปตามธรรมดาของสังขาร



    ..... ตั้งแต่นั้นมา มาณพหนุ่มก็มิได้มีความประมาท หมั่นระวังระไวเอาใจใส่อภิบาลมารดาด้วยความรัก เที่ยวแสวงหาหักไม้ในอรัญพอแก่ความต้องการแล้ว ก็นำมาขายได้มูลค่าเท่าใด ก็จ่ายจัดเครื่องภัตตาหารได้แล้วก็นำมาอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยงมารดา เป็นกิจวัตรตลอดมาทุกทิวาวาร



    ..... วันหนึ่งมาณพหนุ่มผู้ยากไร้นั้น ครั้นเสร็จการเรือนแล้วก็เข้าไปสู่อรัญประเทศเที่ยวหาฟืนแลผักได้มากเหลือกำลังนำกลับมา ในระหว่างทางก็ให้เหนื่อยกายกระหายหิวน้ำนัก จึงแวะเข้าอาศัยพักนั่งอยู่ริมฝั่งน้ำใต้ร่มไทรใบดกหนาแห่งหนึ่งใกล้ท่าเรือสำเภา นึกในใจว่า จักเอนกายพอคลายเหนื่อยสักหน่อย จึงจะค่อยเดินทางกลับบ้านต่อไป แล้วก็เอนกายระงับหลับม่อยไปครู่หนึ่ง พอตื่นขึ้นมาเหลือบไปเห็นเรือสำเภาจึงเกิดความคิดอันบรรเจิดคำนึงไปว่า

    ... " อา บัดนี้ เรากำลังเป็นคนหนุ่มอยู่ในปฐมวัย มีกำลังกายอุดมดี จึงอาจแสวงหาผักฟืนอันเป็นงานหนักถึงเพียงนี้ได้ ก็เมื่อกายแก่ชราล่วงกาลนานไปถอยกำลังลงก็ดี หรือเมื่อมีพยาธิความเจ็บไข้มาเบียดเบียนกายให้พิการลงแล้วก็ดี เราจักมีความสามารถประกอบการงานอันหนักอย่างที่กำลังกระทำอยู่ทุกวันนี้ได้หรือ

    ... จำเราจะคิดขยับขยายหนทางประกอบอาชีพเสียใหม่ เข้าไปหานายสำเภานั่นแล้ว ของานทำเพื่อนำค่าจ้างมาเลี้ยงดูมารดา เช่นนี้น่าจะเป็นการดี "




    ..... ครั้งคิดดังนั้นแล้ว จึงผันผายเข้าไปหาพ่อค้าใหญ่นายสำเภา แล้วกล่าวขึ้นว่า

    ... " ข้าแต่นาย! กาลบัดนี้ ข้าพเจ้าถึงซึ่งความยากจนเข็ญใจนัก จึงเซซังมาสู่สำนักท่านด้วยหวังใจว่า ถ้าท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าก็จักขอทำงานอยู่กับท่านด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อไป "




    ..... ฝ่ายนายเรือสำเภาผู้ใหญ่ ครั้นได้ฟังวาจาของมาณพหนุ่มมาอ้อนวอนของงานทำเช่นนั้น ก็พลันให้เกิดความเมตตา รับมาณพเป็นคนงาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  4. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ฝ่ายนายเรือสำเภาผู้ใหญ่ ครั้นได้ฟังวาจาของมาณพหนุ่มมาอ้อนวอนของงานทำเช่นนั้น ก็พลันให้เกิดความสงสาร กอปรทั้งได้เห็นรูปร่างของมาณพหนุ่มดูอุดมไพบูลย์ไปด้วยกำลังกาย อาจทำงานต่างๆ ได้โดยง่าย จึงตกลงใจอนุเคราะห์เร่งรับคำโดยเร็วว่า

    ... " เออ...พ่อนี่ร่างกายดี ทั้งมีปัญญาพูดจาก็คมสันสมควรอยู่ มาเถิดเราจักรับอนุเคราะห์จะต้องการค่าจ้างเท่าไร เราจักให้ตามต้องการ อีกทั้งเสบียงอาหาร เมื่อต้องการก็จงเอาไปก่อนเถิด เราจะรับเลี้ยงเจ้าไปตราบเท่าวันมรณะ เจ้าอย่าได้คิดรังเกียจเลย "

    ... มาณพหนุ่มคนเข็ญใจ เมื่อได้รับความอนุเคราะห์เช่นนั้นก็มีจิตยินดีนักหนา กล่าวคำอำลาแล้วเดินนึกสรรเสริญคุณของนายเรือสำเภาพ่อค้าใหญ่ไปพลาง จนมาถึงร่มไทรที่พักเพื่อจะนำผักและฟืนไปขายเสียก่อน ก็กลับวิตกไปอีกว่า

    ... " หากเราจะไปต่างประเทศกับพวกพ่อค้าพานิชในเรือสำเภา มารดาเราอยู่ข้างหลังใครจักอภิบาลบำรุงเลี้ยงดูเล่า

    ... เรานี้น่าจะเป็นคนคิดผิดเสียในครั้งนี้กระมังหนอ แต่จะอย่างไรก็ตาม จำเราจะต้องไต่ถามบอกความแก่มารดาดูเสียก่อน แล้วจึงจะค่อยผ่อนผันตามสมควรในภายหลัง "



    ..... คิดดังนี้แล้ว ก็ยกภาระอันหนักนั้นขึ้นใส่บ่าไปขาย ได้มูลค่าแล้วก็จับจ่ายภัตตาหารกลับมาสู่เรือน ประกอบสรรพกิจที่เคยทำมา

    ... ครั้นมารดาบริโภคอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าไปกราบกรานเล่าเรื่องที่ตนคิดจะไปทำงานกับพวากพานิชยังต่างประเทศให้ฟัง

    ... ฝ่ายชนนีของมาณพหนุ่มนั้น ครั้นได้ฟังวาจาของปิยบุตรสุดที่รักบอกว่าจักใคร่ไปทำงานเพื่อความก้าวหน้า จะกล่าวห้ามปรามเสียก็ไม่สมควร จึงกล่าวว่า

    ... " ดูกร พ่อผู้ปิยบุตร! ทุกวันนี้ชีวิตของแม่ย่อมเนื่องอยู่กับเจ้าผู้เป็นลูกรัก เพราะฉะนั้น เจ้าจะไปที่ไหนก็จงไปตามใจเถิด แต่ว่าขอให้แม่นี้ได้ไปกับเจ้า ได้อยู่ใกล้ๆ เจ้าเสมอไปก็แล้วกัน "

    ..... มาณพหนุ่มได้ฟังดังนี้ ก็มีความยินดีกึ่งวิตก จึงรีบลามารดาไปที่ท่าเรือสำเภา เข้าไปหานายพานิชผู้ใจดีแล้วแจ้งความว่า

    ... " ข้าแต่ท่านผู้มีจิตกรุณา! บัดนี้การที่ข้าพเจ้าจะทำงานในเรือไปกับท่านยังต่างประเทศนั้น ข้าพเจ้าจะไปแต่ตัวคนเดียวหาได้ไม่

    ... ถ้าท่านมีความกรุณา ขอจงอนุญาตให้ข้าพเจ้าพามารดาไปด้วยเถิด แท้จริงมารดาของข้าพเจ้านั้น เป็นคนชราอนาถาหาที่พึ่งมิได้

    ... บุตรธิดาคณาญาติผู้ใดใครผู้หนึ่งนอกจากข้าพเจ้าแล้ว ที่จะบำรุงอุปัฏฐากเป็นไม่มีเลย ข้าพเจ้าจึงไม่อาจสละละทิ้งมารดาไว้แต่เดียวดายได้ "

    ... ฝ่ายนายสำเภาได้ฟัง ก็ยิ่งมีจิตกรุณาหนักหนา จึงตอบเป็นมธุรวาทีว่า

    ... " ดูกรพ่อผู้เจริญ! เออ...พ่อนี้ก็เป็นคนมีกตัญญูรู้คุณอุตส่าห์ชุบเลี้ยงมารดาอยู่ด้วยหรือ

    ... เออ ดีแล้ว จงพามารดาไปด้วยเถิด เราจะรับอุปการะทั้งสิ้นโดยสุจริตใจ เพราะรักใคร่ในน้ำใจจริงๆ อย่าวิตกกังวลไปเลย "



    ..... มาณพก็มีจิตโสมนัสยินดี อัญชลีกรกล่าวขอบคุณนายพานิชแล้วรีบมายังเรือนของตน แจ้งความแก่มารดาให้ทราบแล้ว

    ... ก็เลือกเก็บทรัพย์สมบัติอันไม่ค่อยจะมีค่านัก ราบรวมได้ห่อหนึ่งแล้ว จึงพามารดาของตนสู่สำนักนายสำเภา

    ... ครั้นได้เวลาเรือออกจากท่าจะไปยังต่างประเทศแล้ว นายสำเภาผู้มีใจกรุณาก็มอบหมายหน้าที่ให้นายมาณพหนุ่มนั้นทำตามกำลังความสามารถ มาณพนั้นมิได้ประมาทอุตสาหะประกอบกิจทุกประการเป็นอันดีฃ



    ..... เมื่อเรือสำเภาแล่นไปในมหาสมุทรทะเลใหญ่ ประมาณได้ ๗ วันสำเภานั้นต้องลมพายุใหญ่เหลือกำลัง ก็เลยถึงซึ่งความอัปปางทำลายจมลงในท้องมหาสมุทร

    ... บรรดามนุษย์พานิชนิกรทั้งหลายรวมทั้งนายสำเภาผู้ใจดี ก็สิ้นชีวิตถึงแก่มรณาเป็นภักษาแห่งเต่าปลาทั้งหลายในมหาสมุทรนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  5. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ตามเอาโอเลี้ยงมาส่งเป็นกำลังใจให้ครับ ที่คุณธัมมะสามีวิริยะอุตสาหะรวบรวมเรื่องราวการบำเพ็ญเพียรสั่งสมบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เดินหน้าไปเรื่อยๆครับเป็นธรรมทาน ยิ่งตอนนี้หลายปีมาแล้วนี่ผมแทบไม่มีเวลาดูหนังสือเลย อาศัยทำงานไปด้วย เปิดเน็ตอ่านบ้างฟังเสียงหลวงพ่อเอาบ้าง ฟังธรรม ฟังชาดก ไปพร้อมกับทำงาน กลับถึงบ้านแต่ละวันเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ดีมากสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาไปเปิดพระไตรปิฎก อาศัยขอเดินตามหลังผู้รู้โบราณบอกว่าควายไม่กัด แต่วัวนี่ไม่แน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 สิงหาคม 2013
  6. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ฝ่ายมาณพหนุ่ม เมื่อพบประสบการณ์อันร้ายแรงเช่นนั้น ก็ตั้งสติมั่นคงจัดแจงแต่งตัวให้ทะมัดทะแมงเป็นอันดี พอได้ทีก็โลดโผนโจนออกไปจากเรือที่กำลังอับปาง เพื่อรักษาชีวิตแห่งตนไว้

    ... ครั้นแล้วรำลึกได้ถึงมารดาจึงเหลียวหลังกลับมาแลดู ก็บังเอิญให้เห็นมารดายังไม่ตาย ยังเหนี่ยวต้นไม้หักห้อยตัวอยู่จึงดีใจนักหนา

    ... ว่ายน้ำกลับมารับมารดาให้นั่งเหนือคอของตนแล้วก็พาว่ายน้ำไปในมหาสมุทร

    ... แม้ว่าจะแลเห็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่สุดวิสัย ไม่เห็นฟากฝั่งจะข้ามไปให้รอดชีวิตได้

    ... ถึงกระนั้นก็มิได้มีใจย่อท้อถอยความเพียรเสีย แม้จะเพลียแสนเพลียเหน็ดเหนื่อยนักหนา

    ... ก็สู้อุตสาหะอดทนต่อต้านทานกำลังน้ำเชี่ยวเค็มเต็มไปด้วยคลื่น ดัวยน้ำใจเด็ดเดี่ยวมากไปด้วยความพยายามอดทนเป็นยิ่งนัก

    ... เพื่อที่จักนำมารดาไปใด้รอดชีวิตให้จงได้



    ..... กล่าวฝ่ายท้าวสุทธาวาสมหาพรหมอนาคามี ซึ่งสถิตอยู่ ณ ชั้นอกนิฏฐภพพรหมโลกโพ้น

    ... เพื่อคอยแลเล็งเพ่งดูหมู่สัตว์ประสงค์จะเลือดคัดจัดสรรผู้มีหฤทัยองอาจเต็ม ไปด้วยความอุตสาหะใหญ่ใจกล้าสามารถที่จะกระทำพุทธการกธรรมได้

    ... คราวนั้น ครั้นทอดทัศนาลงมาเห็นมาณพผู้กำลังแบกมารดาว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทร จึงดำริว่า

    ... " โอ บุรุษนี้เป็นมหาบุรุษโดยแท้ ดูรึไม่เอื้อเฟื้อย่นย่อต่อมหาสมุทรอันลึกซึ้งกว้างไกล

    ... สู้อดทนพยายามว่ายน้ำ เพื่อพามารดาให้ข้ามพ้นบรรลุถึงฝั่ง

    ... ก็บุคคลผู้มีใจพยายามมั่นคงเต็มไปด้วยอุตสาหะใหญ่เห็นปานนี้

    ... จึงควรนับว่าเป็นผู้สามารถเพื่อที่จะบำเพ็ญพุทธการกธรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ "

    ... เมื่อท้าวมหาพรหมผู้วิเศษคำนึงฉะนี้แล้ว ก็เข้าดลจิตให้มาณพหนุ่มนั้นให้นึกปณิธานปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ



    ..... เวลานั้น มาณพหนุ่มผู้ซึ่งมีน้ำใจเด็ดเดี่ยวอดทนเป็นมหาบุรุษ

    ... เมื่อแบกมารดาว่ายอยู่ในหมู่คลื่นอันมีกำลังกล้า ซัดซ่ามาปะทะประหารจึงให้เกิดอาการอ่อนเพลียเหน็ดเหนื่อยนักหนา

    ... ก็จมลงไปในมหาสมุทรหน่อยหนึ่งแล้วก็โผล่ขึ้นมาอีก ในเวลานาทีอันเลวร้ายใกล้มรณะ

    ... ด้วยเดชอำนาจแห่งน้ำหฤทัยที่ท้าวมหาพรหมผู้วิเศษให้นึกนั้น ก็บังเกิดความคิดขึ้นมาว่า

    ... " ถ้าตัวเราถึง แก่ชีวิตพินาศขาดสูญลงไปในท้องมหาสมุทรทะเลใหญ่พร้อมกับมารดา ณ กาลบัดนี้

    ... ขอกุศลที่เราแบกมารดาว่ายน้ำในมหาสมุทรมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยนักหนานี้

    ... จงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ

    ... ขอเราพึงอาจนำสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นลุถึงฝั่งโน้น คือ อมตะมหานิพพาน "



    ..... ครั้นคิดดังนี้แล้ว มาณพหนุ่มนั้นก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า

    ... " เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ขอเราพึงนำสัตว์ทั้งหลายให้เปลื้องตนพ้นวัฏฏะสงสารด้วยเถิด

    ... อนึ่ง เมื่อเราข้ามจากวัฏสงสารได้แล้ว ขอให้เราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวัฏฏะสงสารได้ด้วยเถิด "



    ..... เมื่อนึกปณิธาน ดังนี้แล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ พละกำลังที่จวนจะหมดสิ้น ก็พลันเกิดมีขึ้นมาอีกด้วยกำลังแห่งพรหมอนุเคราะห์

    ... มาณพหนุ่มนั้นจึงอุตสาหะแบกมารดาว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร สองสามวันก็บรรลุถึงฝั่ง

    ... พอพามารดาขึ้นถึงฝั่งได้แล้ว ก็เข้าไปอาศัยบ้านแห่งหนึ่งอยู่ ทำงานเลี้ยงชีวิตด้วยความยากจนสืบไป

    ... ครั้นถึงแก่กาลกิริยาสิ้นชีวิต กุศลก็ส่งให้ได้ขึ้นไปอุบัติเกิดในสวรรค์



    ..... ชีวประวัติของมาณพหนุ่มเข็ญใจนี้ แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดั้งเดิมเริ่มแรก

    ... เพื่อต้องการพระพุทธภูมิ ขององค์สมเด็จพระสรรเพชญศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลาย

    ... พระองค์เริ่มตั้งปณิธานความปรารถนาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปางเมื่อเสวยพระชาติเป็นมาณพหนุ่มแบกมารดาว่ายข้ามมหาสมุทร

    ... แล้วต่อจากนั้น พระองค์ท่านก็มีหฤทัยมั่นคง ตั้งความปรารถนาในทุกๆ ชาติที่เกิด เรื่อยมาไม่เปลี่ยนแปลง

    ... ก็เป็นอันแสดงว่า พระองค์ทรงเริ่มเป็น พระโพธิสัตว์ ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา

    ... เพราะทรงปรารถนาพระพุทธภูมิหรือพุทธภาวะซึ่งเป็นคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว

    ... ฉะนั้น ต่อแต่นี้ไปจะเรียกคำแทนชื่อพระองค์ว่า " พระโพธิสัตว์ " ในพระชาติต่างๆ ที่จะนำมาเล่าให้ฟัง

    ... อนึ่งพระชาติต่างๆ ทีจะนำมาเล่าต่อไปนี้เป็นส่วนเล็กน้อยที่พระองค์เกิดเท่านั้น อย่าเข้าใจว่าพระองค์เกิดเพียงไม่กี่ชาติ

    ... ความจริง พระองค์เกิดเป็นพระโพธิสัตว์สร้างพระบารมีมากมายจนนับพระชาติไม่ถ้วน

    ... ไม่สามารถจะประมวลมาให้สิ้นสุดลงได้ จะยกย่องเอาแต่บางพระชาติที่สำคัญมาเล่าไว้ในที่นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  7. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สัตตุตาปะราชา​



    ..... หลังจากที่ได้ตั้งปรารถนาพระพุทธภูมิ ในพระชาติที่เป็นมาณพผู้ยากจนเข็ญใจเป็นประเดิมเริ่มแรกแล้ว

    ... พระโพธิสัตว์เจ้าก็ท่องเที่ยวเสวยสุขอยู่ ณ สวรรค์เทวโลกอยู่นานแสนนานแล้ว

    ... จึงจุติจากเทวโลกลงมาบังเกิดในขัตติยตระกูล ณ พระนครที่ปรากฎนามว่า สิริบดีนคร เมื่อพระชนมพรรษาทรงเจริญแล้ว

    ... สมเด็จพระชนกธิราชก็เสด็จทิวงคตล่วงลับไป พระองค์จึงได้เสวยมไหศูรย์สมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสัตตุตาปนราธิราช

    ... มีพระบรมเดชานุภาพเป็นอันมาก ทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาชนโดยทศพิธราชธรรม

    ... ก็สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงมีพระหฤทัยรักใคร่ในหัตถีพาหนะ คือ ช้างเป็นอย่างยิ่ง

    ... พระองค์ได้ทรงสดับว่ามีมงคลคชสารอยู่ ณ ประเทศที่ใดแล้ว ก็ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ ประเทศนั้น

    ... จนกว่าจะจับมงคลคชสารได้ จึงจะเสด็จกลับนำมาสู่พระนคร แล้วทรงมอบให้นายหัตถาจารย์ผู้วิเศษชำนาญเวทย์ฝึกสอนต่อไป



    ..... สมัยนั้น ที่แขวงเมืองสิรบดี มีพรานไพรพเนจรผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นคนเจนจัดสันทัดเที่ยวไปในทางเถื่อนทุรประเทศ

    ... วันหนึ่ง เขาสัญจรไปในอรัญราวป่าเพื่อแสวงหาเนื้อ แต่มิได้ประสบพบพานหมู่มฤคแลฟานโดยที่สุด แม้แต่สัตว์เดียรฉานสักตัวเดียวพอที่จะล่าได้ ก็ไม่อาจกลับบ้านได้ด้วยมือเปล่าตามวิสัยพราน จึงลดเลี้ยวเที่ยวไปในป่าลึก

    ... จนล่วงหนทางที่ท่องเที่ยวไปของมนุษย์ ก็บังเอิญไปพบมงคลคชสารสีเศวตผู้ผ่องพรรณงามด้วยงวงงาปรากฎขาวราวขนทรายจามรี ท่องเที่ยวอยู่ที่ถิ่นสถานสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง แล้วจึงคิดรำพึงว่า

    ... " แต่อาตมาเที่ยวป่ามาช้านานนับเดือนและปีก็ได้มากแล้ว ยังไม่เคยพบมงคลหัตถ์เช่นนี้เลย

    ... ก็คราวนี้ตั้งแต่ออกจากบ้านมา เราไม่ได้ประสบเนื้อถึกมฤคี แม้แต่หมีเม่น กระต่าย ฟานทราย นกกระทา ตัวใดตัวหนึ่งก็ไม่ได้พบพาน จึงได้ล่วงดงกันดารมาถึงสถานที่นี้ บุตรภริยาเราก็ไม่ได้สิ่งใดเลี้ยงชีวิต

    ... อย่ากระนั้นเลย เราจะนำเอาข่าวพญาคชสารสีเศวตนี้เข้าไปเป็นบรรณการกราบทูลให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงทราบ น่าที่จะได้ทรัพย์ข้าวของรางวัลพอสืบชีวิตได้ "



    ..... ครั้นคิดสำเร็จตกลงใจดังนี้แล้ว ตะแกก็ตั้งจิตกำหนดแนวพนารัญสิขรินทรบรรพตให้ถนัดแน่ แล้วก็กลับมาในเมืองเข้าไปหยุดอยู่แทบพระทวารพระราชวังแล้ว จึงบอกความนั้นให้ท่านข้างในนำไปกราบทูลสมเด็จพระบรมกษัตริย์เพื่อทราบเนื้อความ

    ... ครั้นสมเด็จพระเจ้าสัตตุตาปะบรมโพธิสัตว์ทรงทราบความแล้ว ก็พระราชทานทรัพย์เป็นรางวัลแก่พรานไพรเป็นอันมาก

    ... แล้วมีรับสั่งให้ตระเตรียมพลพาหนะเสด็จออกจากพระนคร ให้พรานนั้นเป็นมรรคนายกนำทาง เสด็จมาตามระหว่างเขาไม้ไพรพนมโดยลำดับ จนบรรลุถึงประเทศที่นั้น



    ..... ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นมงคลคชสาร ก็ทรงโสมนัสดำรัสส่งให้แวดล้อมด้วยคชพาหนะคชาธารเป็นอันมาก

    ... ก็ทรงจับพญาคชสารนั้นได้โดยไม่ยาก แล้วนำมาพระนครดำรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์ผู้ฝึกช้างเข้ามา เมื่อพระราชทานรางวัลแล้วจึงมีราชโองการว่า

    ... " ดูกร พ่อหัตถาจารย์ ในระหว่างกาล ๗-๘ วันนี้ ท่านจงเร่งฝึกสอนมงคลคชสารที่เราจับมาจากป่าให้มีมารยาทเป็นอันดี

    ... เราจะเล่นนักขัตฤกษ์มหรสพด้วยมงคลหัตถีสีเศวต(สีหินอ่อน)อันประเสริฐตัวนี้ "



    ..... ฝ่ายนายหัตถาจารย์ รับพระราชโองการแล้วก็เข้าทำการฝึกสอนคชสารให้สำเหนียกโดยให้โอสถ และให้หญ้าเป็นอาหาร

    ... เพราะความที่ตนเป็นผู้ชำนาญในการฝึกช้างเป็นอย่างเยี่ยม ทั้งรอบรู้ในคชวิชาเป็นอย่างดี ต่อมาไม่ช้าล่วงมาได้ ๓ วันพญาคชสารประเสริฐตัวนั้นเป็นอันถูกฝึกสอนทรมานเป็นอันดีแล้ว จึงนำมาถวายได้ตามกำหนด

    ... ครั้นพอถึงวันนักขัตฤกษ์ สมเด็จพระบรมกษัตริย์จึงสั่งให้ประดับมงคลคชสารนั้น ด้วยมงคลหัศดาภรณ์พิเศษ ซึ่งล้วนแล้วด้วยแก้วแลทองกุก่องตระการเสร็จแล้ว

    ... ก็เสด็จทรงมงคลคชสารนั้นออกด้วยจตุรงนิกรเสนาโยคะมหาราชบริวารเป็นอิสสริยยศใหญ่ยิ่ง เพื่อจะทรงเล่นนักขัตฤกษ์ แล้วก็เลยเสด็จทำประทักษิณพระนคร คือ เลียบเมืองเป็นที่พระสำราญพระราชหฤทัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  8. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ก็ในเวลาราตรีที่ล่วงหน้า ได้มีฝูงช้างโขลงทั้งหลายมาแต่ราวป่าเข้าลุยเล่นในสวนพระราชอุทยาน ไล่หักรานพรรณพฤกษาที่ทรงผลพวงผกาบุบผาชาติใหญ่น้อยทั้งสิ้นให้แหลกย่อยยับ แล้วมิหนำซ้ำยังถ่ายมูตรกรีสลงไว้ในที่นั้นเกลื่อนกลาดแล้วก็พากันหลีกไป

    ... ครั้นเวลารุ่งสางสว่างกาล นายอุทยานบาลเห็นอุทยานยับอยู่เช่นนั้น จึงด่วนพลันนำเอาเนื้อความเข้าไปเพื่อจะกราบทูล

    ... ในขณะที่สมเด็จพระบรมกษัตริย์เสด็จกลับจากประทักษิณพระนคร เมื่อถึงที่เฝ้าแล้ว ก็ยอกรประณมบังคมทูลว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ เมื่อเวลารัตติกาลนี้มีฝูงช้างโขลงมาแต่ไพร บุกเข้ามาลุยไล่หักรานพรรณพฤกษาในพระราชอุทยานแหลกเหลวสิ้นแล้วพระเจ้าข้า "



    ..... สมเด็จพระบรมกษัตริย์ได้ทรงสดับเช่นนั้น ก็ตรัสสั่งให้เดินขบวนด่วน เสด็จออกไปเพื่อจะทรงทอดพระนครพระราชอุทยาน

    ... ครั้นถึงแล้วก็ทรงเที่ยวทอดพระเนตรดูไปจนทั่ว

    ... ในขณะนั้น พญามงคลคชาธารพระที่นั่งทรงตัวประเสริฐก็บังเอิญได้สูดดมกลิ่นแห่งนางพัง ช้างตัวเมียทั้งหลายซึ่งมีกลิ่นติดอยู่ในที่นั้นๆ

    ... ก็เกิดความเมามัวขึ้นมาภายในด้วยอำนาจราคะดำกฤษณาให้เกิดความเสียวกระสัน

    ... จึงสลัดกายให้นายควาญท้ายตกลงแล้ว ก็คลุ้มคลั่งแทงสถานกำแพงอุทยานทะลายลง แล้วก็ลุแล่นไปไม่หยุดยั้ง

    ... สมเด็จพระบรมกษัตริย์จึงทรงพระแสงขอคอเกี่ยวเหนี่ยวไว้ด้วยพละกำลัง ก็มิสามารถจะให้พญาคชสารนั้นหมดความบ้าคลั่ง และรู้สึกตัวกลัวเจ็บได้

    ... พญามงคลคชสารตัวใหญ่จึงพาพระองค์สละจาตุรงค์นิกายน้อยใหญ่ทั้งปวงไปโดยเร็ว

    ... ครั้นแล่นเข้ามาถึงอรัญราวไพรแล้ว พระองค์ได้เสวยความลำบากบอบช้ำระกำพระองค์ แต่ก็จำต้องทรงพระทรมานมากับพญาหัตถี ทรงหมดพระปัญญาที่จะหยุดยั้งไว้ได้

    ... ครั้นยิ่งแล่นไปนานนักหนา สมเด็จพระราชก็ให้เกิดมีอันเป็นทรงพระมึนงง มิอาจที่จะทรงกำหนดทิศานุทิศได้ จึงทรงวินิจนึกในพระหฤทัยว่า

    ... " ถ้าเราจักไม่ปล่อยพญาช้างที่กำลังบ้าคลั่งตัวนี้เสียแล้ว เกลือกกว่าไปประสบได้ประสานสัปยุทธกับช้างอื่นก็น่าที่จะทำให้อาตมาแตกกาย ทำลายชีวิตเสียเป็นแน่แท้ อย่ากระนั้นเลย จำเราจะสละพญาหัตถีนี้เสียก่อนเถิด "



    ..... มีพระสติดังนี้แล้ว จึงทอดพระเนตรสังเกตดูหมู่ไพรริมทางจร ครั้นถึงไม้อุทุมพรคือมะเดื่อใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งทิ้งทอดห้อยลง พระองค์จึงโน้มพระกายขึ้นเกาะบนกิ่งไม้อุทุมพรนั้นได้ แล้วปล่อยให้พญาหัตถีวิ่งเตลิดไปตามเรื่อง ส่วนพระองค์ทรงนั่งบนกิ่งไม้ให้ทรงหิวกระหายนักหนา จึงทรงเสวยผลมะเดื่อนั้นไปพลาง



    ..... ข้างฝ่ายพวกพลนิกาย ก็มีใจเป็นห่วงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของตนยิ่งนัก จึงพากันเร่งรีบตามรอยช้าง

    ... ล่วงทางมาได้ไกลนักหนาจนเข้ามาถึงป่าใหญ่ ครั้นยังไม่พบพระบรมกษัตริย์ ก็กระทำอุโฆษประสานศัพท์สำเนียงบันลือลั่นสนั่นมา

    ... สมเด็จพระราชาได้ทรงสดับ จึงทรงอุโฆษร้องรับ พวกพลนิกายได้ยินพระสุรเสียงก็พากันเข้าไปถึง จึงเห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสถิตอยู่บนคบไม้มะเดื่อ ก็เชิญเสด็จรับพระองค์ลงมาจากคบพฤกษาแล้ว

    ... ก็ประโคมดุริยดนตรีเชิญองค์บรมนราธิบดีเสด็จกลับสู่พระนคร ครั้นประทับแท่นสีห์อาสน์อันประเสริฐแล้ว

    ... จึงดำรัสสั่งให้หานายหัตถาจารย์เข้ามาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า

    ... " ดูกร นายหัตถาจารย์ผู้เจริญ ตัวท่านนี้มีความผิด ด้วยประสงค์จะใคร่ฆ่าเราเสียมิใช่หรือ "



    ..... นายหัตถาจารย์ผู้ฝึกช้าง จึงกลับทูลสนองพระราชปุจฉาว่า

    ... " ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ เหตุไฉน พระองค์จึงดำรัสเหนือเกล้ากับข้าพระพุทธเจ้าฉะนี้

    ... ก็พญามงคลราชหัตถีนั้น เกล้ากระหม่อมก็ได้ฝึกสอนด้วยดีเป็นอย่างยิ่งแล้ว พระเจ้าข้า "

    ... พระราชาทรงถามด้วยความขุ่นพระทัยว่า

    ... " ก็...เหตุใด พญาช้างจึงอาละวาดวิ่งพาเราเข้าป่าไปให้ได้รับความลำบากแทบล้มประดาตาย "

    ... นายหัตถาจารย์ทูลตอบว่า

    ... " ซึ่งพญาหัตถีให้มีอันเป็นวิปริตไปเช่นนี้นั้น เป็นเพราะอำนาจความเร่าร้อนแห่งราคะกิเลส

    ... แม้ได้สมความต้องการของตนแล้ว ก็คงจะกลับมาดอก พระเจ้าข้า "

    ... เขาทูลอธิบายด้วยความเชี่ยวชาญมั่นใจในวิทยาการ

    ... " ถ้ากระนั้น จงยับยั้งอยู่ก่อน กว่ามงคลกุญชรนั้นจะกลับมา ถ้าพญามงคลหัตถีกลับมาก็เป็นบุญวาสนาของเจ้า

    ... ถ้าแม้นมิได้กลับมา ชีวิตของเจ้าก็จักมิได้มี "

    ... ดำรัสฉะนี้แล้ว ก็รับสั่งให้คุมตัวนายหัตถาจารย์ผู้วิเศษนั้นไว้ให้มั่นคง เพื่อรอการลงพระราชอาญา หากว่าพญามงคลหัตถีไม่กลับมาตามคำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  9. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ส่วนพญามงคลหัตถีตัวประเสริฐนั้น ครั้นวิ่งคลุ้มคลั่งไปด้วยอำนาจราคะดำกฤษณาไปทันนางช้างเถื่อนในไพร สำเร็จมโนรถประสงค์ของตนแล้ว ก็รีบกลับมาในเมืองเข้าไปในที่ตนอยู่

    ... เมื่อเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง นายหัตถาจารย์ก็ตื่นขึ้นเห็นมงคลคชสารยืนอยู่ในโรงแล้ว รุ่งเช้าจึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลแต่สมเด็จพระราชา พระองค์ก็ทรงพระโสมนัสปรีดาหายโกรธเคือง รีบเสด็จลงมาจากปราสาทโดยด่วน ถึงโรงมงคลคชาธารทอดพระเนตรเห็นมงคลคชสารสีเศวต จึงเสด็จเข้าไปใกล้ ยกพระกรขึ้นปรามาสลูบคลำท้องและงาพญาช้างแล้ว จึงมีพระดำรัสว่า

    ... " เออ ก็มงคลราชหัตถี ท่านสามารถฝึกสอนให้รู้ดีถึงเพียงนี้แล้ว เหตุไฉน เมื่อยามแล่นไปในวันนั้น เรากดเกี่ยวเหนี่ยวไว้โดยแรงด้วยพระแสงขออันคมยิ่ง ยังไม่สามารถที่จะห้ามได้ มันเป็นเพราะเหตุใดหนอ พ่อหัตถาจารย์ "

    ... " พระเจ้าข้า เหตุไฉน พระองค์จึงตรัสดังนี้เล่า " ท่านอาจารย์ช้างผู้ขมังเวทย์ได้ทีจึงรับทูลตอบ



    ..... " ขึ้นชื่อว่าราคะดำกฤษณานี้ ย่อมมีคมเฉียบแหลมยิ่ง เกินกว่าคมแห่งพระแสงขอนั้นไปร้อยพันทวี

    ... อนึ่ง ถ้าจะว่าข้างร้อนเล่า ขึ้นชื่อว่าร้อนแห่งเพลิงคือราคะดำกฤษณานี้ ย่อมร้อนรุ่มอยู่ในทรวงของสัตว์บุคคลอย่างเหลือร้อน ยิ่งกว่าความร้อนแห่งกองเพลิงเป็นไหนๆ

    ... อนึ่ง ถ้าจะว่าไปข้างเป็นพิษเล่า ขึ้นชื่อว่าพิษคือราคะดำกฤษณานี้ ย่อมมีพิษซึมซาบฉุนเฉียวเรี่ยวแรงรวดเร็วยิ่งเกินกว่าพิษแห่งจตุรภิธภุชงค์ คือพิษพระยานาคทั้งสี่ชาติ สี่ตระกูลเป็นไหนๆ

    ... เพราะเหตุนั้น ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวกดพญามงคลราชหัตถี ซึ่งแล่นได้ด้วยแรงแห่งราคะดำกฤษณานั้น ให้หยุดยั้งด้วยกำลังพระแสงขอได้ พระเจ้าข้า "

    ... นายหัตถาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพูดอธิบายอย่างยืดยาว

    ... " เออ...ก็ไฉนพญาคชสารนี้ จึงกลับมาโดยลำพังใจตนเอง "

    ... พระเจ้าอยู่หัวทรงถามขึ้น หลังจากที่ทรงนิ่งฟังท่านอาจารย์ช้างอธิบายอยู่ นายหัตถาจารย์จึงทูลตอบว่า

    ... " พระเจ้าข้า ข้อซึ่งพญาช้างไปแล้วและกลับมานั้น ใช่ว่าจะมาโดยใจตนก็หาไม่

    ... โดยที่แท้ กลับมาด้วยกำลังอำนาจมนตรามหาโอสถของข้าพระพุทธเจ้า "

    ... ได้ทรงสดับดังนั้น พระองค์จึงดำรัสว่า

    ... " ถ้ากระนั้น ท่านจงแสดงกำลังมนต์และโอสถให้เราเห็นสักหน่อยเถิดเป็นไร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  10. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... นายหัตถาจารย์ผู้เรืองเวทย์ รับพระราชโองการแล้ว หวังจักสำแดงอำนาจมนต์ของตนให้ประจักษ์แก่สายตาชาวพระนคร จึงสั่งให้บริวารไปนำเอาก้อนเหล็กก้อนใหญ่มา แล้วให้ช่างทองเอาใส่เตาสูบ เผาด้วยเพลิงให้ก้อนเหล็กนั้นสุกแดงแล้ว จึงเอาคีมหยิบออกจากเตา เรียกพญาช้างเข้ามาแล้วก็ร่ายมนต์มหาโอสถประเสริฐ พลางบังคับให้คชสารจับเอาก้อนเหล็กแดงนั้นด้วยคำกำชับสั่งว่า

    ... " ดูกร พญานาคินทร์ผู้ประเสริฐ ตัวท่านจงหยิบเอาก้อนเหล็กนั้นในกาลบัดนี้ แม้นเรายังไม่ได้บอกให้วาง ท่านจงอย่าได้วางเลยเป็นอันขาด "


    ..... พญาคชสารตัวทรงพลัง ครั้นได้ฟังคำนายหัตถาจารย์สั่งบังคับ ก็ยื่นงวงมาจ้องจับเอาก้อนเหล็กซึ่งลุกเป็นไฟ แม้ว่าจะร้อนงวงเหลือหลาย จนงวงไหม้ลุกเป็นเปลวควันขึ้นก็ดี ก็ไม่อาจจะทิ้งก้อนเหล็กนั้นเสียได้ ด้วยกลัวต่อกำลังมนตราของนายหัตถาจารย์นั้นเป็นกำลัง

    ... สมเด็จพระบรมกษัตริย์ทอดพระเนตรเห็นงวงคชสารถูกเพลิงไหม้อยู่เช่นนั้น ก็ทรงเกรงพญาช้างจะถึงแก่กาลมรณะ จึงดำรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์ บอกให้พญาช้างสารทิ้งก้อนเหล็กนั้นเสียแล้ว

    ... ทรงหวนคิดถึงราคะดำกฤษณาของพญาช้างที่ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ พร้อมกับคำชักอุปมาอธิบายของนายหัตถาจารย์เมื่อครู่นี้ ทรงรำพึงไป ก็ยิ่งทรงสังเวชในพระราชหฤทัยแสนทวี จึงทรงเปล่งออกซึ่งสังเวชวาทีว่า


    ... " โอหนอ น่าสมเพชนักหนา ด้วยฝูงสัตว์มาติดต้องข้องขัดอยู่ด้วย ราคะดำกฤษณาอันมีพิษพิลึกน่าสะพรึงกลัวร้ายกาจยิ่งนัก

    ... ราคะ คือ ความกำหนัดนี้ย่อมมีอาทีนวโทษเป็นอันมาก ก็เพราะเพลิงราคะมีกำลังหยาบช้ากล้าแข็ง ร้อนรุ่มสุมทรวงสัตว์ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายจึงต้องถูกราคะกิเลสย่ำยีบีฑา นำทุกข์มาทุ่มถมให้จมอยู่ในอู่แอ่งอ่าวโลกโอฆสงสาร ไม่มีวันสิ้นสุดลงได้

    ... เพราะราคะกิเลสนี่แล สัตว์ทั้งหลายจึงต้องไปตกนรกหมกไหม้อยู่ในมหานรกทั้งแปดขุม และสัตว์ทั้งหลายบางหมู่ต้องไปเกิดอยู่ในอุสสทนรกบริวารมีประมาณร้อยยี่สิบแปดขุม

    ... อนึ่ง เพราะอาศัยราคะกิเลสนี้ สัตว์ทั้งหลายจึงต้องทนทุกขเวทนาอยู่ในเปติวิสัยภูมิ และสัตว์ทั้งหลายบางหมู่ต้องไปเกิดอยู่ในกำเนิดเดียรฉาน สัตว์ทั้งหลายที่ต้องบ่ายหน้าไปสู่อบายภูมิ ก็เพราะอาศัยราคะดำกฤษณาเป็นประการสำคัญ ฉะนั้น จึงน่าสมเพชนัก "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  11. saeioo

    saeioo สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +2
    เถียงกันไป เถียงกันมา ใจหนอ ใจ
     
  12. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ครั้นทรงแสดงสังเวชวาทีฉะนี้แล้ว สมเด็จพระบรมกษัตริย์หน่อพระพุทธากูร จึงตรัสแสดงอาทีนวโทษแห่งราคะดำกฤษณาต่อไปว่า

    ... " บรรดาสัตว์ทั้งหลายในโลกสันนิวาสนี้ เพราะอาศัยราคะดำกฤษณาย่อมเบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกัน เป็นต้นว่า บิดาย่อมเบียดเบียนบุตร บางทีฆ่าเสียก็มี บุตรย่อมเบียดเบียนบิดา บางทีฆ่าเสียก็มี

    ... บิดาย่อมเบียดเบียนธิดาตน เพราะร้อนรนด้วยราคะกฤษณาก็มี

    ... อนึ่ง ฝูงสัตว์ในโลกสันนิวาสนี้เพราะร้อนด้วยราคะย่อมเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นต้นว่า

    ... บุตรย่อมเบียดเบียนชนนี บางทีฆ่าเสียก็มี

    ... ชนนีย่อมเบียดเบียนบุตร บางทีฆ่าเสียก็มี

    ... บางทีพี่ชายมุ่งหมายปองร้าย ราวีตีรันฟันฆ่าน้องชายของตนให้ตายก็มี

    ... บางมีพี่หญิงย่อมบีฑาฆ่าน้องสาว ที่สืบกษิรมารดาเดียวกันมาก็มี

    ... บางทีหลานสาวบีฑาลุงตัวให้ตายก็มี

    ... บางทีลุงลุ่มหลงลงทัณฑกรรมบีฑาหลานสาวตนเองก็มี

    ... บางทีภัสดาย่อมบีฑาโบยรันฟันแทงภริยาตน ให้ถึงตายก็มี

    ... บางทีภริยาบีพ่าฆ่าตีสามีตน ให้ถึงตายก็มี

    ... สัตว์ทั้งหลายเห็นเช่นนี้เพราะอาศัยความร้อนแห่งพลังราคะดำกฤษณามาบีฑาให้ ระทมตรมทุกข์ ถึงซึ่งความพินาศนานาประการ

    ... แม้แต่บุตรธิดา มารดาบิดา และภรรยาสามีที่แสนรักนักหนาแล้ว ยังเบียดเบียนบีฑากันเพราะอำนาจราคะกิเลสเป็นมูลฐานมากกว่ามากสุดประมาณ

    ... อีกประการหนึ่ง ฝูงสัตว์ในโลกสันนิวาสนี้ เพราะอาศัยอำนาจราคะดำกฤษณา

    ... บางคราย่อมจ่ายทรัพย์สินไปในทางไร้ประโยชน์ บางทีย่อมเสื่อมจากยศและเกียรติคุณ

    ... บางทีย่อมประกอบกรรมทำสิ่งที่เป็นโทษ

    ... บางทีย่อมทำความสุขให้เสื่อมสิ้นทุกเมื่อและให้ใจเชือนเบือนเบื่อจากกุศล ห้ามทางข้างฝ่ายสุคติภพ

    ... บางทีให้ลุอำนาจแก่ความโลภและความโกรธ และให้เจริญโทษทุกภพทุกชาติที่เกิด ให้ถือกำเนิดในอบายภูมิทั้งสี ๔

    ... เพียงเท่านี้ก็หาไม่ ฝูงสัตว์ทั้งหลายในโลกสันนิวาสนี้ เพราะอาศัยอำนาจราคะดำกฤษณา

    ... บางคราย่อมทำตนให้พินาศจากศีลสมาทาน

    ... บางกาลย่อมทำตนให้เสื่อมจากภาวนาสมาธิจิตเป็นนิจกาล

    ... ก็อันว่าความอากูลด้วยราคะกิเลส ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอาทีนวโทษให้เสวยทุกข์มากกว่ามาก

    ... และเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายต้องเศร้าหมองมีประการต่างๆ อย่างพรรณนามาฉะนี้ "




    ..... สมเด็จพระนราธิบดีสัตตุตาประชา ตรัสแสดงอาทีนวโทษแห่งราคะดำกฤษณาอย่างมากมายดังนี้แล้ว

    ... จึงพระราชทานรางวัลแก่นายหัตถาจารย์เป็นอันมาก แล้วก็ทรงคำนึงในพระราชหฤทัยว่า

    ... " สัตว์ทั้งหลายในโลกสันนิวาสนี้ จักพ้นจากอำนาจราคะดำกฤษณา อันเป็นทุกข์ภัยในวัฏฏะนี้ได้ด้วยประการใด "




    ..... แล้วจึงทรงเห็นแท้แน่ในพระราชหฤทัยว่า รวมทั้งหลายอื่นนอกจากพุทธกรกธรรมแล้ว ก็ไม่เห็นว่าสิ่งไรอื่นจะมี ที่จะเปลื้องตนไปให้พ้นจากวัฏฏะเพราะฉะนั้น พระองค์จึงหยั่งพระราชหฤทัยลงเที่ยง ถือเอาพระพุทธภูมิปณิธานว่า

    ... " เราได้ตรัสรู้ซึ่งพระโพธิญาณแล้ว ก็จักทำสัตว์ทั้งหลายให้รู้ด้วย

    ... เราพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารเมื่อใด ก็จักทำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารเมื่อนั้นด้วย "




    ..... ครั้นทรงกระทำปณิธานปรารถนาเฉพาะพระพุทธภูมิในพระราชหฤทัยด้วยประการฉะนี้แล้ว

    ... ก็ทรงสละสิริราชสมบัติประหนึ่งบุคคลสลัดเสียซึ่งก้อนข้าวอันคั่งค้างอยู่ปลายลิ้น สิ้นเยื่อใยในฆราวาสวิสัย

    ... พระองค์แต่ผู้เดียวเที่ยวไปสู่ป่าหิมวันต์ประเทศ แล้วทรงเพศเป็นดาบสบำเพ็ญพรตปฏิบัติชอบอยู่ตราบเท่าพระชนมายุขัยแล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลกเสวยสุขอยู่สิ้นกาลนาน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  13. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... เรื่อง ในอดีตที่พรรณนามานี้ มีข้อความประการหนึ่งซึ่งควรนำมากล่าวไว้ในทีนี้ด้วย เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอย่างแจ่มชัดก็ คือว่า



    ..... องค์สมเด็จพระนราธิบดีสัตตุตาปะราชาก็คือ องค์สมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าของชาวเราพุทธบริษัททั้งหลาย




    ..... พญามงคลหัตถี ในชาติสุดท้าย คือ พระมหากัสสปะเถระเจ้าสังหวุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระมหาเถระอรหันต์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในศาสนาของเรานี้



    ..... นายหัตถาจารย์ผู้ชำนาญเวทย์ ในชาติสุดท้าย จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมาตรัสในอนาคตกาล หลังจากศาสนาของสมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้า ที่เราท่านทั้งหลายเคารพนับถือกันอยู่ทุกวันนี้ เสื่อมคลายสลายไปจากโลกนี้แล้ว

    ... และเมื่อสมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยได้ตรัสรู้ประกาศพระศาสนาแล้ว คราวหนึ่งพระองค์จักเสด็จไปที่ภูเขากุกกุฏสัมปาตะบรรตเขาลูกนี้ได้ยินว่าปัจจุบันอยู่แถวเขตของประเทศไทยเก่าคือแถวเชียงตุงสิบสองปันนา อันเป็นที่บรรจุศพของพระมหากัสสปะเถรเจ้าแล้ว พระองค์เจ้าจักยื่นพระหัตถ์เบื้องขวาช้อนเอาซากศพของพระสังฆวุฒาจารย์อรหันต์กัสสปะนั้น ขึ้นชูไว้บนฝ่าพระหัตถ์อันประกอบด้วยจักรลักษณะแล้ว จึงมีพระพุทธฏีกาตรัสแก่พระอริยสงฆ์ทั้งหลายว่า

    ... "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพากันมองดูซึ่งซากศพนี้ นี่คือศพของผู้เป็นพี่ชายของตถาคต ซึ่งเป็นสาวกผู้ใหญ่ในศาสนาของสมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้า (สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย เคยบวชเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีนามว่า พระอชิตะภิกษุ เป็นภิกษุหนุ่มมีพรรษาน้อย ฉะนั้น พระองค์จึงทรงเรียกพระมหากัสสปะเถระเจ้าด้วยคำกล่าวออกนามว่า " พี่ชายของตถาคต ") ในกาลครั้งนั้น มีนามว่าพระอริยกัสสปะเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงควัตร "




    ..... ทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสแนะนำดังนี้แล้ว สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยก็ทรงสรรเสริญคุณแห่งพระมหากัสสปะเถระเจ้าอีกมากมาย ลึกซึ้งนักหนา ต่อหน้าพระอริยสงฆ์ทั้งหลายเป็นอันมาก

    ... ในขณะนั้น เปลวอัคคีก็จะบันดาลมีเกิดขึ้นเองในซากอสุภของพระมหาเถระเจ้า แล้วก็ค่อยลามเลียลุกไหม้ศพให้สิ้นซากปราศจากเถ้าถ่าน อยู่บนฝ่าพระหัตถ์ของสมเด็จพระสรรเพชญศรีอาริยเมตไตรย ในกาลครั้งนั้นเป็นอัศจรรย์ (ท่านพระอรรถกถาจารย์ว่า เพราะเหตุนี้เป็นสำคัญ สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยจึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  14. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    พระพรหมดาบสโพธิสัตว์


    ..... กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้าจุติจากเทวโลกแล้ว ก็มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล มีพระนามว่า พรหมกุมาร ครั้นเจริญวัยวัฒนาการแล้ว ก็ได้ศึกษาจนสำเร็จในไตรเวทางค์ และได้เป็นอาจารย์ผู้บอกเวทย์แก่มานพห้าร้อยคนผู้เป็นนักศึกษา ครั้นจำเนียรกาลนานมา เมื่อท่านมารดาบิดาทั้งสองล่วงลับไปแล้ว พรหมกุมารจึงเรียนมาณพทั้งหลายผู้เป็นศิษย์มาพร้อมหน้ากันแล้ว ก็เร่งบอกมนต์ซึ่งตนควรจะสอนให้เสร็จสิ้นแล้ว ได้จัดการแบ่งปันทรัพย์สมบัติของตนสิ้นทั้งเรือนนั้น ให้แก่มาณพผู้เป็นศิษย์ถ้วนทุกคนแล้วก็ให้โอกาสอนุสาสนี และกล่าวคำอำลาเพื่อจะไปบรรพชาเป็นดาบส มิใยที่ศิษย์ทั้งหลายจะอาลัยไหว้วอนกล่าวห้ามด้วยความคารวะเป็นอันมากประการใด ก็มิได้เอื้อเฟื้ออาลัย สละฆราวาสวิสัยเที่ยวไปแต่พระองค์เดียว เข้าไปอาศัยบัณฑรบรรพต บรรพชาเป็นดาบส ปฏิบัติตนเลี้ยงชีวิตด้วยผลาผลอยู่เป็นสุขสืบมา



    ..... ฝ่ายมานพทั้งหลาย ผู้เป็นศิษย์ของพระพรหมดาบสนั้น ครั้นมารดาบิดาของตนๆ ล่วงลับไปแล้ว ต่างก็พากันออกมาบวชเป็นดาบสอยู่กับพระโพธิสัตว์ทั้งนั้น ด้วยเหตุที่มีความรักเป็นกำลังมาแต่ปางก่อน พระโพธิสัตว์ก็สอนให้ประพฤติวัตร บำเพ็ญพรตตามแบบอย่างของดาบสโดยถ้วน อยู่ร่วมกันมาโดยความผาสุกตามสมควร



    ..... วันหนึ่ง เมื่อดาบสทั้งหลายไปเที่ยวแสวงหาผลาผลยังมิได้กลับมา ท่านอาจารย์พรหมดาบสจึงเรียกศิษย์ผู้ใหญ่ซึ่งอยู่เฝ้ากุฏิใกล้ตนมาแล้ว ชวนกันขึ้นไปสู่บัณฑรภูผาเพื่อจะแสวงหาผลไม้ เมื่อเที่ยวไปในที่นั้นๆ ก็มิได้ผลไม้อันใดอันหนึ่งเลย จึงแสลงไปที่เชิงภูเขาก็ได้เห็นแม่เสือตัวหนึ่ง มีลูกอ่อนออกใหม่ได้ประมาณสองสามวัน แม่เสือตัวนั้นอดอาหารอยู่ แลเขม่นดูลูกน้อยของตนด้วยจิตโหดร้าย คิดจะใคร่จับลูกของตนเองเคี้ยวกินเป็นภักษา พระพรหมดาบสแลเห็นอาการก็รู้ว่าแม่เสือจะกินลูกของตนเองแน่แล้ว จึงรำพึงในหฤทัยว่า


    ..... " โอ้หนอ...วัฏสงสารนี้ ควรที่จะพึงติเตียนโดยแท้ ดูรึ แม่เสือตัวนี้คิดจะขบกัดเคี้ยวกินลูก ที่เกิดแต่สายโลหิตตน เพื่อจะรักษาชีวิตแห่งตนไว้ถ่ายเดียว เช่นนี้ จึงควรที่จะเห็นว่าวัฏสงสารนี้ เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลังยิ่งนัก "



    ..... ครั้น รำพึงดังนั้นแล้ว พระพรหมดาบสจึงใช้ดาบสศิษย์ผู้ใหญ่ซึ่งไปด้วยกันนั้นว่า

    " ท่านจงรีบไปหาเนื้อเดนเสื้อหรือราชสีห์ตามข้างๆ ภูเขานี้ดูทีหรือ หากว่าจะมีอยู่บ้าง แม้นได้แล้วจงรีบนำมาโดยเร็ว เราจักให้แก่แม่เสือตัวนี้"

    ดาบสศิษย์ผู้ใหญ่รับคำแล้ว ก็รีบไปหาเดนมังสะ ในที่ทั่วๆ ไป แต่ก็หามิได้

     
  15. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ฝ่ายพระพรหมดาบสผู้โพธิสัตว์ เมื่อศิษย์ผู้ใหญ่ไปนานแล้ว และยังมิได้กลับมา จึงรำพึงในหฤทัยว่า
    “ โอ... ร่างกายนี้ เป็นของเปล่าปราศจากแก่นสารเป็นที่อาศัยแห่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะและมีโสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความร่ำไร รำพัน ทุกข์ความลำบากกายไม่สบายใจ โทมนัสความขุ่นข้องหมองใจ อุปายาสะ ความคับแค้นใจ อนึ่ง กายนี้เป็นที่เกิดของกองทุกข์ กับทั้งมีราคะกิเลสเป็นประดุจหัตถีที่บ้าคลั่งเมามัน มีโมหะมืดมิดปิดธรรมเป็นประดุจดังผีเสื้อน้ำรักษาสระ มีอุปนาหะความผูกโกรธ เป็นประดุจดังแว่นแคว้นเมืองมากด้วยคนพาล มีมักขะความลบหลู่คุณท่านเป็นประดุจที่อยู่ของพวกกุมภัณฑ์ มีปลาสะความสำคัญวิปลาส เป็นประดุจดังนายทวารผู้มีสันดานดื่มไปด้วยอิสสาฤษยา มีทุจริตเป็นบริวารแวดล้อมไปด้วยโลภ มีนันทิภวราคะ ความกำหนัดยินดีในภพเป็นมหาโยธา มีมิจฉาทิฐิเป็นธรรมวินิจฉัย คือราชบัญญัติบทอัยการ มี อวัณณะความพรรณนาโทษเป็นกองทุกข์มาก มีวิตกความตรึกตรองเป็นหมู่แมลงวันพึงเกลียดชัง มีมทะความมัวเมาเป็นเหล่าคนธรรพ์ขับร้อง มีปมาทะความเมาทั่วเป็นช่างฟ้อนมาซ่องเสพอยู่ มีทิฐิเป็นที่อาศัย มีอนุสัยเป็นบ้านที่อยู่ของหมู่พราหมณ์ มีสัญโพชน์ความผูกล่ามไว้ในสามภพ เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ในกายนคร และมีอวิชชาเป็นอันธการราชบรมกษัตริย์เถลิงราชสมบัติเป็นอิสสราธิบดีอยู่ใน กายนครนี้ ”




    ..... ครั้นพระมุนีพรหมดาบส พิจารณารำพึงถึงธรรมสรีระ ดังนี้แล้ว ดาบสศิษย์ผู้ใหญ่ที่ตนใช้ให้ไปหาเศษเนื้อก็ยังไม่กลับมา จึงจินตนาสืบไปอีกว่า ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายบรรดาที่มีรูปกายครองอยู่ ได้เสวยทุกข์เห็นปานนี้ จะมีทางปลดเปลื้องทุกข์นี้ด้วยธรรมสิ่งไร? เมื่อนึกไปก็เห็นว่าพุทธการกธรรมเท่านั้นที่สามารถจะทำสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อมองเห็นแท้แน่ฉะนี้แล้วจึงจินตนาต่อไปว่า




    ..... “ อันพุทธการกธรรมนี้ ถ้าบุคคลใดไม่สามารถที่จะทำกรรมที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่สามารถบริจาคสิ่งที่บุคคลอื่นบริจาคได้ยาก ไม่สามารถให้ทานที่บุคคลอื่นให้ได้โดยยาก ไม่สามารถอดกลั้นกรรมที่บุคคลอื่นอดกลั้นได้ยาก อย่างนี้แล้วบุคคลนั้นจะบำเพ็ญพุทธการกธรรมนี้ ให้สำเร็จหาได้ไม่ ก็แลสรีราพยพ คือร่างกายของเรานี้ ย่อมมีอาทีนวโทษเป็นอันมาก มิได้ยั่งยืนอยู่สิ้นกาลนาน และจิตใจเราที่อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ย่อมมีอารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอนย่อมแปรปรวนไปเป็นนิตย์ เอาเถิด... บัดนี้เราจักให้สรีระร่างของเรากับทั้งชีวิตนี้ให้เป็นทานแก่แม่เสือหิวตัวนี้ให้ทันกาลที่จิตกำลังเลื่อมใสใคร่บริจาคในกาลนี้เถิด เออ.. ก็เราจะเป็นห่วงอันใดด้วยการจะให้อาหารที่อื่นเล่า ”




    ..... พระโพธิสัตว์เจ้าคำนึกจินตนาการดังนี้แล้ว จึงตั้งจิตปณิธานว่า

    “ ด้วยเดชะบุญกรรมนี้ ขอเราจงได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ให้เรานำสัตว์ทั้งหลายออกจากวัฏสงสารให้ถึงความระงับดับทุกข์ด้วยเถิด ”




    .....ครั้นตั้งจิตปณิธานปรารถนาพระพุทธภูมิดังนี้แล้ว เพื่อจะประกาศแก่หมู่เทพยดาให้รู้ทั่วกันอีกเล่า พระพรหมดาบสโพธิสัตว์เจ้าจึงประกาศเป็นเนื้อความว่า

    " ขอทวยเทพเจ้าทั้งปวง คือ ภูมิพฤกษาเทวา และอากาสเทวาทั้งสมเด็จอัมรินทราธิราชเจ้า และท้าวมหาพรหมปชาบดี ศศิธรเทพบุตร ทั้งพญายมและท้าวจตุมหาราชโลกบาลทั้งสี่ ทวยเทพซึ่งสถิตอยู่ ณ สถานทุกถิ่นที่ ตลอดจนนารถบรรพตจอมภูผาขออัญเชิญทั่วทุกพระองค์ จงมาทำการอนุโมทนาในชีวิตสรีระทานของข้าที่ได้อบรมสั่งสมกระทำ ณ กาลบัดนี้เถิด "



    ..... ครั้นกระทำแก่ทวยเทพเจ้าดังนี้ ขณะที่ดาบสศิษย์ผู้ใหญ่ยังมิทันได้กลับมาถึง พระพรหมดาบสซึ่งมีน้ำใจกล้าหาญ ก็โจนทะยานจากยอดบัณฑูรภูผา ตกลงเฉพาะหน้าเสือโคร่งแม่ลูกอ่อน ขณะนั้นนางพยัคฆ์ที่กำลังหิวกระหายนักหนา เมื่อเห็นอาหารตกลงมากองอยูเช่นนั้น ก็ละไม่กินลูกของมัน แล่นมาบริโภคมังสะสรีราพยพของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าในกาลบัดนั้นทันที


    ..... พรหมดาบสในครั้งนั้น ก็คือ องค์สมเด็จพระบรมครูพุทธอังคีรสของชาวเราทั้งหลาย
    ส่วนดาบสศิษย์ผู้ใหญ่นั้น ท่านกล่าวว่า คือ หน่อพระพุทธางกูรศรีอาริยเมตไตรยแล

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2013
  16. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    มานพหนุ่มช่างทอง



    ..... หลังจากที่ได้อุบัติเกิดเป็นเทพบุตร ในสรวงสวรรค์แดนสุขาวดี และเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ด้วยอำนาจการเวียนว่ายตายเกิดหลายชาตินักแล้ว ต่อมากาลครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลช่างทอง ทรงรูปสิริเลิศล้ำบุรุษงดงามนักหนา เมื่อเจริญวัยใหญ่กล้าขึ้นก็มีอาชีพเป็นช่างทองผู้ชำนาญสืบสายตระกูลของตน วันหนึ่งมีเศรษฐีมาว่าจ้างให้ไปทำเครื่องประดับให้แก่ธิดาสาวโสภา ซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาหมงคล ครั้นไปถึงคฤหาสน์แล้ว เศรษฐีจึงถามว่า
    " ดูกรช่างทองผู้เจริญ! ถ้าท่านได้เห็นเพียงมือและเท้าเท่านั้น ท่านยังจะสามารถทำเครื่องประดับได้หรือไม่? "


    ..... เมื่อช่างทองหนุ่มรับคำว่าทำได้ เศรษฐีจึงให้ธิดาของตนยื่นแต่มือและเท้ามาแสดงให้ปรากฏ ช่างทองหนุ่มก็สังเกตกำหนดบาทและหัตถาวัยวะที่ได้เห็นแต่ห่างๆ แล้วกระทำได้ด้วยความชำนาญ



    ..... ขณะนั้น ธิดาเศรษฐีซึ่งมีนามว่า กาญจนวดีกุมารีให้นึกสงสัยอยู่เป็นกำลังว่า
    " เหตุไฉนหนอ บิดาจึงมิให้เราปรากฎกายต่อหน้าช่างทอง ให้แสดงแต่เพียงมือและเท้าเท่านั้น "
    ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงลอบแลดูตามช่องไม้ แต่พอได้เห็นสิริรูปสมบัติของช่างทอง ก็ให้เกิดปฏิพัทธ์รักใคร่เป็นกำลัง คลุ้มคลั่งในดวงใจด้วยอำนาจราคะดำกฤษณา นางจึงจารึกอักษรสารเป็นใจความว่า




    ....." ดูกรพ่อช่างทองผู้เป็นที่รัก! หากท่านมีจิตใจรักใคร่เราแล้ว ณ ที่หลังเรือนใหญ่นี้มีบุปผาพฤกษชาติต้นหนึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ ในค่ำคืนวันนี้ ท่านจงมานั่งซุ่มอยู่บนต้นไม้นั้น ถึงราตรีกาล เราจะออกไปพบกับท่านด้วยใจรัก "
    จารึกเรื่องความรักดังนี้แล้ว จึงค่อยทิ้งลงไปให้ตกลงตรงหน้าช่างทอง เมื่อช่างทองหนุ่มอ่านดูแล้วก็กำหนดไว้ในใจ ถึงเวลาสายัณหสมัย เลิกงานแล้ว จึงกลับมาอาบน้ำชำระกายรับประทานอิ่มหนำสำราญแล้ว พอเวลาสุริยอัสดงคตพลบค่ำลง ก็รีบตรงมาสถานที่นางนัด ขึ้นไปบนต้นพฤกษชาตินั้น ตั้งตาชะแง้ดูทางที่กาญจนวดีกุมารีนั้นจะมา ณ ระหว่างคาคบไม้ แต่นางก็ยังไม่มา มิช้าตนเองก็ได้เผลอม่อยง่วงงุนนักหนา เพราะว่าเมื่อตอนกลางวันนั้น ตนเร่งทำงานอยู่วันยังค่ำ ก็ลำบากกายพออยู่แล้ว เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแลมานั่งเงียบเหงาเฝ้าคอยอยู่แต่ผู้เดียวฉะนี้ จึงเอนองค์ลงกับที่กิ่งไม้ใหญ่ ก็เลยเผลอม่อยผล็อยหลับไป



    ..... ก็กาญจนวดีกุมารีทรามวัยนั้น นางเป็นกุลสตรีธิดาของคหบดีมหาศาลย่อมมีความยำเกรงบิดามารดาอยู่โดยมากเป็นธรรมดา เมื่อมารดาบิดายังมิได้หลับนอน นางจึงไม่มีโอกาสออกมาได้ ครั้นท่านทั้งสองหลับไปแล้ว นางจึงค่อยลุกมาจากที่นอนออกมาจัดหาอาหาร ได้ข้าวสาลีกับแกงมังสะสดใส่ลงในขันทองเสร็จแล้ว ก็รีบลอบนำลงมาจากปราสาทไปสู่ที่นัด ณ ต้นไม้ใหญ่ เพื่อไปหาชายสุดที่รัก ครั้นเห็นเขาหลับอยู่ก็มิรู้ที่จะปลุกให้รู้สึกตนตื่นขึ้นได้ ด้วยเหตุว่ามนุษย์ในสมัยนั้นถือลัทธิธรรมเนียมอยู่อย่างหนึ่งว่า
    " ถ้าบุคคลหลับสนิทอยู่ ผู้ใดปลุกให้ลุกตื่นขึ้นแล้ว ผู้ปลุกนั้นย่อมมีบาป ตายไปต้องตกนรกหมกไหม้ตลอดกัปหนึ่ง "



    ..... เพราะฉะนั้น นางจึงไม่สามารถปลุกช่างทองนั้นให้ตื่นขึ้นมาได้ แต่คอยอยู่นานนักหนา เมื่อเห็นว่าไม่ตื่นแน่ นางจึงเก็บใบรุกขชาติปูลาดลงตั้งขันทองใส่อาหารไว้แล้วกลับลับไป
     
  17. พงศ์ภูพาน

    พงศ์ภูพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2013
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +4,432
    ...ท่าน "ธัมมะสามี "...ผมติดตามอ่านข้อเขียน ของท่าน ในหลายๆกระทู้" ขอ อภิโมทนา ใน ธรรมทานบารมี วิริยะ บารมี เเละ ทุกกองทานการกุศล ของท่านะครับ "

    ...ติดตาม " โมทนาอยู่นะครับ"...

    ...อ้อเรื่อง "สุขภาพเป็นไงครับ "....
     
  18. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    อ้างอิง พงศ์ภูพาน

    พระพุทธภาษิต

    จะชะ ทุชชะนะสัคคัง
    จงละเว้นการคบคนชั่ว

    ภะชะ สาธุมาคะตัง
    จงหมั่นสมาคมด้วยบัณฑิต

    กะระ ปุญญะมะโหรัตตัง
    จงหมั่นประกอบการบุญทั้งกลางวันและกลางคืน

    สะระ นิจจะมะนิจจะตัง
    จงระลึกถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังขาร(คือร่างกายนี้)ไว้เสมอ

    ปุญฺญกมฺเมน วิริยาธิกสมฺมาสมฺพุทฺโธ โหมิ อนาคเต
    สงฺสารโมจนตฺถาย สฺพเพสฺตเต อเสสโต ฯ.
    ด้วยผลบุญนี้ จงปัจจัยเป็นให้ข้าพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ
    ตรัสเป็นพระพุทธมหามุนีธัมมะสามีวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต
    เพื่อจะปลดเปลื้องเวไนยสัตว์ทั้งหลายจากวัฏฏะสงสาร
    ขึ้นสู่แดนเอกันตบรมสุข คือ พระนิพพาน ฯ.
    ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังเป็นผู้มีบารมียังอ่อน ยังจักต้องเร่ร่อนไปในชาติภพใดๆ
    ขอความอดอยากยากจน ความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ
    คำว่าไม่มี และคำว่าความปรารถนาไม่สมหวัง
    ความท้อแท้เหนื่อยหน่ายคลายความเพียรในการสร้างบารมี ๓๐ ทัศ
    ความท้อแท้เหนื่อยหน่ายคลายความเพียรในการสร้างพระโพธิญาณ
    และการลาพระพุทธภูมิ จงอย่าพึงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเลย
    นับตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเถิด สาธุฯ.
    ดนัย สิริเวช


    ...ท่าน "ธัมมะสามี "...ผมติดตามอ่านข้อเขียน ของท่าน ในหลายๆกระทู้" ขอ อภิโมทนา
    ใน ธรรมทานบารมี วิริยะ บารมี เเละ ทุกกองทานการกุศล ของท่านะครับ "

    ...ติดตาม " โมทนาอยู่นะครับ"...

    ...อ้อเรื่อง "สุขภาพเป็นไงครับ


    โมทนาสาธุอย่างยิ่งทุกรายการบุญทานกองการกุศล โดยฉเพาะอย่างยิ่งธรรมทาน วิริยาธิกะมันก็ต้องมีปฏิภาณปัญญาตามแบบวิริยาธิกะนั่นแหละ ต้องนำมหาชนขบวนมหาศาลไม่มีปัญญามันจะนำเขาได้ไง ตามคอยส่งโอเลี้ยง นวดน้ำมันมวย แบกเปลเดินตาม เดินหน้าสู้สถานเดียวนะถอดใจเมื่อไรผมจะหวดด้วยก้านมะยม
     
  19. พงศ์ภูพาน

    พงศ์ภูพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2013
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +4,432
    ..." ท่านธัมมะสามี".. ผมส่งข้อความทาง pm เเล้วครับ... (ตามที่ท่าน pm มาผมใด้รับเเล้ว)....

    หนังสือ "เรื่องจริง อิงนิทาน พิเศษ "...(พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดท่าซุง)

    หนังสือ "นิทานอิงประวัติศาสตร์ "... (พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดท่าซุง) มีเรื่อง "สอนลูกที่ ภูกระดึง " ด้วย

    หนังสือ " หลวงปู่ ฝากไว้ " .... (พระเดชพระคุณ หลวงปู่ ดูลย์ อตุโล ) วัด บูรพาพาราม จ.สุรินทร์

    ...ผมจะจัดส่งให้ เลย (ไม่คิดมูลค่าครับ) ไม่ทราบว่าท่านจะ สะดวกให้ผมส่งทางใด (ถ้าเป็นการไม่รบกวน ส่งที่อยู่ทาง pm ก็ใด้ครับ)

    ..(ผมส่งข้อความส่วนตัว ให้เเล้ว เกรงท่านไม่ใด้รับจึง โพสเอาใว้ ตรงนี้อีก)
     
  20. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ฝ่ายนายช่างทอง ตื่นขึ้นมาได้เห็นภาชนะขันทองนั้น จึงกำหนดว่า ชะรอยนางกุมารีมาแล้วเห็นเราหลับ จึงกลับไปเป็นมั่นคง เมื่อผันแปรแลไปดูข้างโน้นข้างนี้ ก็ได้แลเห็นนางดำเนินกลับเข้าไปภายในปราสาท ในขณะนั้น ก็ให้น้อยจิตคิดโกรธตัวเองเป็นหนักหนาว่า ควรหรือมานอนหลับใหลเสียได้ น่าเคืองตัวเองนัก รำพึงพลางก็ถือสุพรรณภาชน์โภชนะนั้นกลับมาเรือนตน ครั้นรุ่งวันใหม่ได้เวลาก็ไปทำงานอยู่ที่เก่าอีก ไม่ช้าก็มีสารตกลงมาอีก จารึกอักษรมีใจความว่า
    ... " วันนี้ท่านจงอุตสาหะข่มใจไว้ อย่าให้หลับใหลไปเสียอย่างเมื่อคืนอีกเล่า "
    ...นายช่างอ่านรู้ความแล้ว ก็ไม่พูดว่าอะไร ประกอบการงานทำเครื่องประดับต่อไป พอได้เวลาตอนราตรี จึงมานั่งคอยทำอยู่เช่นเคย ไม่ช้าก็บังเอิญให้หลับไปเสียอีกเล่า กาญจนวดีกุมารีเมื่อถือโภชนาหารมาเห็นเขาหลับไปแล้ว ก็กลับไปเหมือนคืนก่อน




    ..... ครั้นถึงคืนที่สาม กาญจนวดีกุมารีเมื่อได้มาเห็นนายช่างทองสุดที่รักหลับไปเหมือนเดิม นางมีความเศร้าในน้ำใจหนักหนา จึงพิไรร่ำด้วยคำว่า
    ... " น่าเสียดายนัก กุมารน้อยนี้เป็นที่รักใคร่เจริญใจแห่งเรา ชะรอยสันนิวาสเรานี้มิได้มีแต่ปางก่อน จึงเผอิญให้กุมารนี้เป็นผู้มักหลับเสียได้สามวาระสามหน ความพยายามของเราสองคนนี้ปราศจากประโยชน์เสียแล้ว พ่อจงไปโดยสุขสวัสดีเถิดหนาเจ้า แต่วันนี้ไปเราก็จักหมดอิสระมิได้มาพบหน้าอีกแล้ว "



    ..... เธอพิไรรำพันด้วยความโศกศัลย์เป็นอันมากแล้ว ก็ยกโภชนะนั้นวางตั้งไว้ แล้วก็ตัดความอาลัยกลับไป นายช่างทองเมื่อตื่นขึ้นก็ให้เจ็บใจตนเองยิ่งกว่าวันก่อน มีความโศกอาดูรด้วยความรักเป็นหนักหนา จึงรำพึงรำพันออกมาว่า



    ..... " กุมารีมีรูปงามอย่างนี้ ควรที่จะทอดทัศนานำความภิรมย์มาให้แก่ใจ นี่เป็นกรรมอะไร จึงตักเตือนให้หลับใหล ไม่รู้สึกตัวตื่นได้สามวาระ บุญญาภิสมภารเราแต่ก่อนมิได้มี ชะรอยเรากับนารีนี้มิได้เคยร่วมกันกระทำทานหรือว่าตัวเรานี้มิได้มีกมลสันดาน เคยอนุโมทนากุศลของเศรษฐี จึงให้มีอันเป็นสักแต่ว่าได้พบเห็นนารีงามเท่านั้น มิทันได้ร่วมภิรมย์ก็ให้จางจากกันไป "
    ...นายช่างทองรำพันพลางถือเอาโภชนาหารที่นางตั้งไว้ แล้วกลับไปสู่เรือนตนด้วยความเศร้าเป็นล้นพ้น




    ..... ครั้นรุ่งขึ้นถึงวันอาวาหสมัย ฝ่ายเศรษฐีบิดาเจ้าบ่าว จึงบรรทุกข้าวของสำหรับการแต่งงานมามากมายหลายร้อยเล่มเกวียน พอมาถึงแล้วทั้งสองฝ่ายก็ประชุมกันทำอาวาหมงคล เลี้ยงดูกันเป็นนักษัตรฤกษ์โกลาหล ฉลองกันอยู่สิ้นกาลประมาณหนึ่งเดือนโดยกำหนด ครั้นการฉลองอันมีเวลาถึงหนึ่งเดือนล่วงแล้ว เศรษฐีผู้เป็นบิดาเจ้าบ่าวก็พาบริวารกลับไปบ้านตน
     

แชร์หน้านี้

Loading...