ติดขัดกับคำภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เรืองรักข์, 21 กันยายน 2013.

  1. เรืองรักข์

    เรืองรักข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +174
    ก่อนอื่น ต้องขออภัยน่ะค่ะ หากเรื่องที่ดิฉันสงสัย จะเป้นเรื่องไร้สาระ
    แต่ว่าอยากจะก้าวหน้า เพิ่มสติ และได้บุญกุศล ขอความรู้จากท่านที่เคยประสบปัญหา หรือ ชี้แนะนำแนวทางให้ด้วยน่ะค่ะ

    เนื่องด้วยเป็นเด็ก อยู่กับการนั่งดูลมหายใจ บ้าง ภาวนาพุทโธ มาก แต่ไม่ได้ปฎิบัติจิงจัง สะสมเพราะตอนเด็กเป็นการบังคับให้ทำก่อนเข้าเรียน

    เริ่มมาสายแนวสติปฏิฐาน 4 ยืน เดิน นั่งนอน บริกรม หมด และเวลานั่งต้อง ยุบหนอ พองหนอ หรือนั่งหนอไป เวลาไปวัด ทำได้ดีมากกับพระอาจารย์
    ทำตามครบเวลา และจิตแข็งจิง เพราะผ่านเวทนาได้ เข้าใจได้ว่าไม่มีไหนทุกข์กว่าเวทนาที่เจอแล้ว และรู้สึกสบายกับร่างกายมากเหมือนปลดปล่อยของหนักที่หัวที่บ่าออกไป

    แต่ผ่านไป กลับมาจะทำที่บ้าน ก็กิเลสบอกให้ขี้เกียจ
    อึดอัด เล็กน้อย ถ้าเวลาต้องกลับบ้านเอง
    ไม่อยากเดินจงกรมค่ะ อยากนั่งเลย
    พอนั่งก็ขี้เกียจ กำหนด เป็นอะไรที่อึดอัดมาก

    และเคยไปวัดครั้งล่าสุด อึดอัดมาก
    จนบริกรมต่อว่าในใจ ว่าพระอาจารย์แกล้งต่างๆ นา นา


    ต้องขออภัยที่ให้อ่านซะยาวค่ะ ขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ

    1. เจโต คืออะไร และแนวทางการปฏิบัตินี้ทำอย่างไรค่ะ
    2. เดินจงกรม นี้จำเป็นมากไหมค่ะ ต้องทำด้วยใช่ไหมค่ะ ถึงจะแผ่เมตตาได้ นี้สงสัยจริง ๆ ค่ะ
    3. รู้สึกเบาสบายมากค่ะ เวลาดูลมหายใจ บางทีก็หาย ก้นั่งนิ่ง ๆ อย่างนั้นไป ไม่กำหนด อะไร บางครั้งอยากนึกดูลมหายใจ ก็ภาวนา พุทโธ บ้าง
    พอเวทนามา ก็บอกปวดหนอ ไป แล้วมาภาวนา นั่งหนอ ยุบหนอไป
    แล้วนิ่งก็กลับมาดูลม สับสนอยู่อย่างนี้ ค่ะ


    นี้เป็นการปฏิบัติไม่ถูกใช่ไหมค่ะ เคยปรึกษาพระอาจารย์ บ้างท่าน
    และก็ได้หลากหลายแนวทางดังนี้ค่ะ
    ท่านก้บอกว่าเราอาจจะมาทางเจโตบ้าง
    บางท่านก็บอกให้มา หนึ่งแนวทางเท่านั้น
    อีกท่านก็บอกว่าอะไรก็ได้ไม่ผิด ขอมีสติไป แค่คำบริกรมเฉย ๆ
    แต่อีกท่านก็บอก ว่าการภาวนาเป็นการได้บุญ การไม่กำหนดคำภาวนานั้นไม่ได้ และให้อดทนทำแนวนี้ไป โดย นั่ง เดิน ต้องทำอย่างละครึ่ง ๆ



    ตอนนี้ก็เลยสับสนค่ะ
    ว่าทำอย่างไร จะก้าวหน้าขึ้นค่ะ
    เพราะความลังเลสงสัย มันขัดขวางค่ะ
    แต่ก็ยังหาคำตอบแก้ไม่ได้ และหากทุกวันนี้หากต้องกลับไปปฎิบัติ
    ก็ยังคงศรัทธา หลวงพ่อ ก็เลยยังไปแนวสติปฏิธาน 4 อยู่คำชี้แนะด้วยน่ะค่ะ
    เพราะหากไปลองทำ 7 วันตามที่หลวงพ่อสอนก็เห็นชีวิต ดี จริง ๆ ค่ะ


    เนื่องจากเป็น ญ เลยไม่กล้าซักไซ้มาก ท่านไหนมีเวลาช่วยด้วยน่ะค่ะ

    หรืออย่างน้อย ให้เป็นแนวทางให้จิตแน่วแน่ ก็ยิ่งดีค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    "1. เจโต คืออะไร และแนวทางการปฏิบัตินี้ทำอย่างไรค่ะ
    2. เดินจงกรม นี้จำเป็นมากไหมค่ะ ต้องทำด้วยใช่ไหมค่ะ ถึงจะแผ่เมตตาได้ นี้สงสัยจริง ๆ ค่ะ
    3. รู้สึกเบาสบายมากค่ะ เวลาดูลมหายใจ บางทีก็หาย ก้นั่งนิ่ง ๆ อย่างนั้นไป ไม่กำหนด อะไร บางครั้งอยากนึกดูลมหายใจ ก็ภาวนา พุทโธ บ้าง
    พอเวทนามา ก็บอกปวดหนอ ไป แล้วมาภาวนา นั่งหนอ ยุบหนอไป
    แล้วนิ่งก็กลับมาดูลม สับสนอยู่อย่างนี้ ค่ะ"
    ข้อ1.ผมขอผ่านเพราะไม่ทราบ
    ข้อ 2. การเดินจงกลมสำหรับสายที่ผมปฏิบัติไม่ถือว่าจำเป็น แต่สายอื่นผมไม่ทราบ สายผมเป็นฌานสมาบัติ
    ข้อ 3. ก็ทำอย่างใดอย่างหนึ่งซิครับ เมื่อมันนิ่งกดูความนิ่งนั้น เมื่อมันหยุดก็ดูอาการหยุดนั้น เมื่อหายนิ่ง หายหยุด ก็ปฏิบัติเช่นเดิมครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  3. qillip

    qillip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +366
    ความเห็นผมอาจไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่ครับ แล้วตอบไม่เรียงตามประเด็น
    ตอนไหนทำอย่างไรแล้วสบาย ไม่เครียด ยืน นอน นั่ง เดิน จะกำหนดลมไปด้วยก็ดีครับ ได้หมดครับ นอกจากทรงฌานได้ก็ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลยครับ เพราะถ้าทรงฌานได้นึกปุ๊ปก็เข้าปั๊ป
    เกิดวันไหนฮึดสู้ขึ้นมาหมายถึงกำลังใจอยากปฏิบัติ อยากทำในสิ่งที่คุณไม่ถนัดเช่น เคยเดินแล้วคุมไม่อยู่หงุดหงิด ก็ลองทำดูครับ หรืออาจนั่งในที่ร้อนๆอบอ้าวแล้วทรงอยู่ได้ ก็นั่งต่อไปเลยครับ ผมทำบนรถประจำทางบ่อยๆ

    ส่วนเรื่องคำแนะนำ ผมคิดว่าแต่ละคนแต่ละท่านแตกต่างกันอยู่แล้ว ผมก็เป็นคล้ายๆคุณเลย วันไหนจิตใจไม่สงบผมใช้วิธีสวดมนต์ก่อนแล้วค่อยปฏิบัติครับ

    แพ้บ้างชนะบ้างสลับกันไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  4. polka1

    polka1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +84
    การเดินจงกรมถ้าทำได้ก็ควรทำเพราะจะได้เป็นการฝึกสติในอิริยาบถต่างๆ
    จะดูลมหายใจหรือภาวนายุบหนอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
    หากรู้สึกเบาสบายหรือมีอาการเวทนา ให้ทำอารมณ์ปล่อยวางอย่าไปสนใจกับมัน
    อย่าใจร้อนค่อยๆทำ ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งจนถึงที่สุดแล้วจะไม่สับสน
    แค่มีสติในคำภาวนาหรือลมหายใจเข้าออกก็ได้บุญแล้ว
     
  5. เรืองรักข์

    เรืองรักข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +174
    4.เป็นหญิงก็ดีนี่ครับ ลองซักไซ้มาสิครับ อยากตอบครับ อยากรู้เหมือนกันว่า จะซักไซ้ได้ดีแค่ไหนกัน[/QUOTE]


    คือการซักไซ้ เพราะเราเป็นเพียงฆราวาสผู้หญิง
    ประกอบกับการไม่รู้ ไม่เข้าใจ
    กับสภาวะจริต ว่ามันถูกกับสายไหน
    จะให้ท่านช่วยพิจารณา เป็นพระครูพี่เลี้ยงก็เกรงใจค่ะ
    แต่ก็มุ่งมั่น นั่งทำต่อไปค่ะ สะสมบุญเท่าสติ และกำลังไปค่ะ

    ขอบคุณน่ะค่ะ
     
  6. เรืองรักข์

    เรืองรักข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +174


    ไม่ไร้สาระน่ะค่ะ
    หนทางปีนเขาขึ้นไป แค่ต่างวิธีค่ะ จะอย่างนี้ดีกว่า
    แค่อยากทำไปเรื่อย ๆ โดยที่เรามาถูกทางไม่อยากหลงทางเสียเวลา
    เพราะรู้เลยว่ากำลังเดินวน ไปมา ไม่แน่วแน่
    ขี้ลังเล สงสัยอ่ะค่ะ
     
  7. เรืองรักข์

    เรืองรักข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +174
    สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
    ให้ทำอย่างหนึ่งจนถึงที่สุด นี้เอง

    ขอบคุณน่ะค่ะ
     
  8. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    เจโต คืออะไร และแนวทางการปฏิบัตินี้ทำอย่างไร
    "เจโวิมุติ" ก็คือความหลุดพ้นแห่งจิต , การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต
    การทำสมาธิ ก็ทำได้ทั้ง ท่านั่ง ท่านอน ท่าเดิน (เดินจงกรม) และยืน
     
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    1. เจโต นี้มีสองคำ คือ เจโตวิมุติ กับ เจโตปริยญาณ คำแรก ท่าน Piagk3 ได้บอกความหมายแล้ว คำที่สอง เจโตปริยญาณ คือ การรับรู้ถึงจิตผู้อื่นได้
    2. การเดินจงกรมนั้น มีอานิสงส์มาก โดยเฉพาะผู้ที่ติดสมาธิ ติดความเบาสบาย ในการปฏิบัติ ควรจะเดินจงกรมให้มากๆ
    แต่ก็อีกนั่นแหละ ผู้ที่ติดความเบาสบายของสมาธิ จะไม่ชอบเดินจงกรมอย่างที่สุด เวลาปฏิบัติธรรม ก็อยากจะนั่งอย่างเดียว ให้มันถึงความเบาสบายอย่างเดียว
    สำหรับท่านเจ้าของกระทู้ ก็ให้แบ่งเวลา เดินจงกรม กับ นั่งสมาธิ ให้เท่าๆ กัน นะครับ ในช่วงนี้ ยังต้องฝืนอยู่ แต่อีกหน่อย จะเห็นประโยชน์ด้วยตนเอง
    (เมื่อก่อนผมก็ชอบนั่ง และไม่ชอบการเดินมากๆ ถึงขนาดครูบาอาจารย์ให้เดิน ก็ยังแอบไม่เดิน แอบมานั่งสมาธิ แต่ภายหลังมานี้ เห็นอานิสงส์ของการเดินจงกรมมากกว่า และหลังๆ มานี้ ใช้การเดินจงกรม มากกว่านั่งสมาธิครับ)
    3. การเบาสบาย ในสมาธิ ในชั้นที่ท่านเจ้าของกระทู้เจอ ยังเป็นชั้นเริ่มต้นอยู่ครับ ยังเป็นเพียงแค่ปากประตูรั้วเท่านั้นเอง ความสบาย ความสุข ในสมาธิ ยังมีอีกหลายชั้น ให้ได้ศึกษาครับ แต่สำคัญว่า อย่าไปติดมัน เพราะมันเป็นกิเลสละเอียดชนิดหนึ่งครับ
    ผู้ปฏิบัติหลายๆ ท่าน เสียเวลาไปหลายสิบปี ก็เพราะความสบายตัวนั้นแหละ นั่งเป็นวัน ข้ามวันข้ามคืน เพื่อเสพความสบายอย่างนั้นอย่างเดียว แต่ความสุขสบายในสมาธินั้น จะไม่พาไปถึงนิพพาน ครับ
     
  10. pagapong

    pagapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +531
    ขอออกตัวว่าผมก็ยังปฏิบัติไม่มากนัก แต่ก็พอมีความรู้ที่ได้ศึกษาและถามครูบาอาจารย์พอที่จะช่วยเพื่อนนักปฏิบัติได้บ้างไม่มากก็น้อย
    ตรงนี้ต้องใช้ความเพียรสู้กับกิเลสนะครับ มันจะมาในรูปแบบนี้แหละ ขอให้ผ่านไปได้นะครับ


    ส่วนนี้เพื่อนนักธรรมได้ตอบไปแล้วนะครับ แต่จะขอเพิ่มเติมให้ตรงกับคุณ จกท.
    1. เจโต ในที่นี้คงหมายถึง เจโตวิมุตติ เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจกำลังฌานในกรรมฐาน 40 ในแนวทางปฏิบัติคือ ฝึกสมาธิหรือสมถะให้เกิดฌาน ถอนจากฌานแล้วมาพิจารณาเป็นวิปัสสนา พิจารณาจนจิตเหนื่อยล้าก็เข้าฌานแล้วกลับมาพิจารณากลับไปกลับมาจนจิตหลุดพ้น ตัวอย่างแนวทางนี้คือ สายหลวงปู่มั่น เป็นต้น
    เพิ่มเติมอีกแนวทางคือ ปัญญาวิมุตติ เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสด้วยปัญญา ในแนวทางปฏิบัติคือ สายมหาสติปัฏฐาน 4 ตัวอย่างก็คือ ยุบหนอพองหนอของหลวงพ่อจรัญ
    2. เดินจงกรม จำเป็นครับ ถ้าสายเจโต เป็นการเดินเพื่อให้เกิดกำลังสมาธิถ้าสามารถเข้าฌานได้ยิ่งดีเพราะจะทำให้ฌานเสื่อมยากและมีกำลังตัดกิเลสต่อไป
    สายปัญญา จะเดินเพื่อเจริญสติให้รู้สึกตัวทั่วพร้อม พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง
    3.สับสนจริงๆ ครับ อาการเบาสบาย เป็นอาการของสมาธิ ในสายเจโต พออาการปวดมาต้องดูว่าเราปฏิบัติสายไหนเอาสักทาง ทางเจโตให้กำหนดอยู่ที่ องภาวนา พุทโธ หรือจะจับลมหายใจก็ได้ ไม่ต้องสนอาการปวดหรืออาการทางร่างกาย ให้เข้าฌาณไปเลย ถอนมาแล้วค่อยพิจารณา
    แต่ถ้าสายปัญญาจะกำหนด ปวดหนอ เพื่อที่จะพิจารณา ทุกขเวทนา ให้เห็นตามเป็นจริง



    หวังว่าคุณ จกท. จะหายสับสนและเลือกทางเดินเพื่อก้าวไปในเส้นทางธรรม ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  11. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    แถมนิดนึงแล้วกันครับ
    เรื่องการแผ่เมตตา
    จะแผ่เมตตาได้ หมายถึงแผ่เป็นกระแสของเมตตาออกมาจริงๆ
    ไม่ได้หมายถึง เอาบทแผ่เมตตามานั่งท่องแล้วบอกว่าแผ่ไปแล้วนะครับ

    ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเดินจงกรม
    แต่ต้องอาศัยกำลังอย่างน้อย ของปฐมฌานขึ้นไป

    จึงจะกำหนดให้การแผ่เมตตา แผ่ออกมาเป็นกระแสได้จริงๆ
    ตอนแผ่จะเห็นเลยว่ามัน แผ่พุ่งผ่านไปในทิศทาง ทุกทิศที่เรากำหนด
     
  12. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    1. เจโต คืออะไร และแนวทางการปฏิบัตินี้ทำอย่างไรค่ะ

    ( เจโตปริยญาณ และ จิตตานุปัสสนา)ถ้าไม่เข้าใจแนะนำให้ไปฟังหลวงพ่อปราโมทย์)

    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


    เจโตปริยญาณ
    [๑๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ
    เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ

    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตน
    ในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้า
    ไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
    จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
    ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
    หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
    โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่น
    ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ
    ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
    หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    หน้าที่ ๗๔/๓๘๓

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตในจิตภายในบ้าง
    พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง
    ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่
    ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้
    อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

    จบจิตตานุปัสสนา
    ------------------------

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
    หน้าที่ ๒๒๒/๒๖๑
     
  13. เรืองรักข์

    เรืองรักข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +174

    เข้าให้เข้าฌาณไปเลย ถอนมาแล้วค่อยพิจารณา
    ถ้าจะเข้าฌาณแล้วต้องทำไร ค่ะ .......

    และปกติแล้วเป็นคนมีทุกข์กับสังขาร และร่างกายที่ไม่อำนวยอยู่แล้ว การภาวนาทางสายปัญญาการกำหนด ยิ่งให้เห็นทุกข์ก็ไำม่หาย แต่เข้าใจว่าร่างกายมันบังคับไม่ได้จริง ๆ และรู้ว่ามันไม่ใช่ของเรา และอย่างอ่อนชอบตามกิเลสและเพิ่มความเจ็บร่างกาย ก็กำหนดตามดูอย่างอดทน แต่ก็เคยหายจากเวทนาได้ค่ะ อย่างนี้เสมือนการออกกรรมด้วยไหมค่ะ

    แต่ถ้าลองจับลม ก้รู้สักแต่ว่าปวด แต่ไม่ได้ทรมาณอะไร
    ก็นิ่งได้วางได้

    สาธุค่ะ
     
  14. เรืองรักข์

    เรืองรักข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +174
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การไปรู้ คนอื่น ความจริงเป็นเรื่อง ธรรมดา ธรรมชาติของ จิตที่ฝึกหัด

    แต่ การสำคัญไปว่า " เฮ้ย กู รู้ของคนอื่น ได้หว่ะ " ตรงนี้ จะเริ่มแสดง
    ให้เห็น ความพร่องของ ศีล5 ของผู้ภาวนา

    ถ้า ศีล5 บริบูรณ์บริสุทธิดีอยู่ แม้นจะรู้ เรื่องราวคนอื่น ก็จะ ข้าม

    ทำไมข้าม เพราะ เขาก็เป็นเพียงสัตว์ที่ต้องถูกทุกข์บีบคั้นเป็น
    ธรรมดา เราจึงไม่มุ่งไป ริบทรัพย์ ด้วยการเข้าไป รู้ เข้าไปคำนึง
    เข้าไปต๊ะเอาไว้ว่า รู้ ของคนอื่น .....เพราะ สัตว์ที่ทุกข์นั้น มีเยอะ
    มาก คนฟังธรรมมีน้อย คนฟังธรรมได้มีน้อย คนฟังธรรมแล้วน้อม
    มาปฏิบัติได้มีน้อย คนที่ปฏิบัติได้แล้วมีศีลมีน้อย คนที่ปฏิบัติได้
    มีศีลมีสติมีสัมปชัญญะมีน้อย ......โอย เยอะ นี่ยังไล่ไม่ถึง คน
    บรรลุธรรมได้มีน้อย เลยนะนี่

    เพราะอะไร มีน้อย

    เพราะ ปฏิบัติมาได้นิดหน่อย จิตมันส่งออกไปรู้ของคนอื่น แต่ พิจารณา
    ไม่ทันว่า นั่นคือ พวงดอกไม้แห่งมาร ที่เอามา ล่อ ให้หลุดออกจาก ฐาน
    การภาวนา ไปเป็น ญาณถีบบ้าง ญาณทิพย์บ้าง ฟ้องเขากลับ3ล้านบ้าง
    ออกทีวีบ้าง ตายเปล่าบ้าง
     
  16. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    หลวงพ่อจรัญเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์แรกของผมเหมือนผู้ให้กำเนิดทางธรรม
    หลวงพ่อปราโมทย์เป็นองค์ที่๒เหมือนครูบาอาจารย์ที่เลี้ยงดูอย่างดี

    http://www.dhammada.net/2013/09/21/23189/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2013
  17. อิ๊ด

    อิ๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +551
    ไม่ก้าวหน้าคือก้าวหน้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...