สรรพคุณสมุนไพรไทย 200 ชนิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤศจิกายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : พริกไทย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum L.

    ชื่อสามัญ : Black Pepper

    วงศ์ : Piperaceae

    ชื่ออื่น : พริกน้อย (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3.5 - 6 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว 10 - 20 มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3 - 6 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลรวมกันบนช่อยาว 5 - 15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 4 - 5 ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี 2 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เมล็ด ดอก

    สรรพคุณ :

    ใบ - แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ

    ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร

    เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ อาหารไม่ย่อย

    ดอก - แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง

    สารเคมี : มีน้ำมันหอมระเหย 2-4 % มีแอลคาลอยด์หลักคือ piperine 5-9% ซึ่งเป็นตัวทำให้มีความเผ็ด นอกจากนี้ยังพบ piperidine, pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด (ซึ่งเดิมคิดว่าเป็น chavicine) พริกไทยอ่อนนั้นมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่า พริกไทยดำ และมีโปรตีน 11% คาร์โบไฮเดรต 65%
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : ไพล

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.

    ชื่อพ้อง : Z.purpureum Roscoe

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่จัด เก็บหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

    สรรพคุณ :

    เหง้า
    - เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
    - เป็นยารักษาหืด
    - เป็นยากันเล็บถอด
    - ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด

    น้ำคั้นจากเหง้า - รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย

    หัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน

    ดอก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย

    ต้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ

    ใบ - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
    ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม

    รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
    ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก
    ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)

    แก้บิด ท้องเสีย
    ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน

    เป็นยารักษาหืด
    ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    เป็นยาแก้เล็บถอด
    ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง

    ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
    ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย

    สารเคมี - Alflabene : 3,4 - dimethoxy benzaldehyde, curcumin, beta-sitosterol, Volatile Oils
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : มะรุม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.

    ชื่อสามัญ : Horse radish tree, Drumstick

    วงศ์ : Moringaceae

    ชื่ออื่น : กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก

    ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก

    สรรพคุณ :

    ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

    เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

    ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
    - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ

    แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : เร่ว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.

    ชื่อสามัญ : Bustard cardamom, Tavoy cardamom

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป

    ส่วนที่ใช้ : เมล็ดจากผลที่แก่จัด ราก ต้น ใบ ดอก ผล

    สรรพคุณ :

    เมล็ดจากผลที่แก่จัด
    - เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร

    ราก - แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม

    ต้น - แก้คลื่นเหียน อาเจียน

    ใบ - ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ

    ดอก - แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย

    ผล- รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมแน่นจุกเสียด
    โดยนำเมล็ดในของผลแก่มาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

    ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้เมล็ด

    สารเคมี - Essential Oil น้ำมันหอมระเหยจากผล P-Methyloxy- trans ethylcinnamate
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : ว่านน้ำ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acorus calamus L.

    ชื่อสามัญ : Mytle Grass, Sweet Flag

    วงศ์ : Araceae

    ชื่ออื่น : คงเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี) ทิสีปุตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านน้ำ ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ว่านน้ำมีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน มีใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบนเรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ

    ส่วนที่ใช่ : ราก เหง้า น้ำมันหอมระเหยจากต้น

    สรรพคุณ :

    ราก
    - รับประทานมาก ทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ธาตุเสีย บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ดี
    - ในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน acorine มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ อยู่ในนี้เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้อย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี ชาวอินเดียใช้ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและเจ็บคอ และใช้ปรุงกับยาระบายเพื่อเป็นยาธาตุด้วยในตัว
    - เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน
    - เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้ Hysteria และ Neuralgia แก้ปวดกล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง

    เหง้า - ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอม

    น้ำมันหอมระเหยจากต้น - แก้ชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย

    วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

    บำรุงธาตุ - ใช้เหง้าสด 9-12 กรัม หรือแห้ง 3-6 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ

    แก้ปวดท้องและจุกแน่น -ใช้รากว่านน้ำ หนัก 60 กรัม โขลกให้ละเอียด ชงลงในน้ำเดือด 420 ซีซี. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

    เป็นยาดูดพิษ แก้อาการอักเสบของหลอดลมและปอด - ใช้รากฝนกับสุรา เจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก

    เป็นยาแก้ไอ - ใช้ชิ้นเล็กๆ ของรากว่านน้ำแห้ง อมเป็นยาแก้ไอ มีกลิ่นหอมระเหยทางลมหายใจ

    เป็นยาถอนพิษของสลอด และแก้โรคลงท้องปวดท้องของเด็ก - ใช้รากว่านน้ำเผาจนเป็นถ่าน ทำผงรับประทานมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม ใช้ใบว่านน้ำสดตำละเอียดผสมน้ำสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ ตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อ ตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง

    เป็นยาขมหอม เจริญอาหาร ขับแก๊ส ช่วยย่อยอาหาร - ในน้ำมันหอมระเหยมีวัตถุขมชื่อ acorin และมีแป้งและแทนนินอยู่ด้วย ทำเป็นยาชง (1 ใน 10) รับประทาน 15-30 ซีซี. หรือทิงเจอร์ (1 ใน 5) รับประทาน 2-4 ซีซี. ขนาดใช้ 1-4 กรัม

    สารเคมี : มีน้ำมันหอมระเหย (Calamus oil) 2-4% ในน้ำมันประกอบด้วย Sesquiterpene เช่น asarone, Betasalone (มี 70-80 %) และตัวอื่นๆ ยังมี glucoside รสขมชื่อ acorin
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : โหระพา

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.

    ชื่อสามัญ : Sweet Basil

    วงศ์ : Labiatae

    ชื่ออื่น : ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น

    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก

    ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

    เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)

    ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    ทั้งต้น
    - รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร
    - แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร
    - จุกเสียดแน่น ท้องเสีย
    - ประจำเดือนผิดปกติ
    - ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด
    - ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง

    เมล็ด
    - รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก
    - ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา
    - ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)

    ราก - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    ทั้งต้น - แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา

    เมล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา

    ราก - เผา เป็นเถ้าพอก

    ใบ
    - ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ
    - ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน

    สารเคมี
    น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : อบเชยเทศ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum J.Presl

    ชื่อสามัญ : Cinnamon Tree

    วงศ์ : Lauraceae

    ชื่ออื่น : -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบสามเส้น ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่

    ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ

    สรรพคุณ :

    เปลือกต้น
    - ใช้บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ทำให้มีกำลัง
    - ใช้ขับลม บำรุงธาตุ
    - บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร
    - ใส่เครื่องสำอาง
    - ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน และจุกเสียด

    ใบ
    - มีน้ำมัน ใช้แต่งกลิ่น
    - ฆ่าเชื้อ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ : อบเชยต้น (เชียด)

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume

    ชื่อสามัญ : Cinnamon

    วงศ์ : Lauraceae

    ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ใบและเปลือกหอม ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ

    ส่วนที่ใช้ : เปลือก ใบ

    สรรพคุณและวิธีใช้

    เปลือก
    - หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม
    - เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
    - ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต

    ใบ - เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ

    รากกับใบ - ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : กระทือ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ

    ส่วนที่ใช้ : ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก หัว หรือ เหง้าแก่สด เก็บใบช่วงฤดูแล้ง

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก

    เหง้า
    - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี

    ต้น
    - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้

    ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต

    ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิด
    โดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ

    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย

    สารเคมี :
    Afzelin, Camphene, Caryophyllene
    น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : กระชาย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

    ชื่อสามัญ : Kaempfer

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ละแอน (ภาคเหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่

    สรรพคุณ :

    เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

    เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก

    ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ

    วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

    แก้ท้องร่วงท้องเดิน
    ใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส หรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

    แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดมวนในท้อง
    ใช้เหง้าและราก ประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

    แก้บิด
    ใช้เหง้าสด 2 เหง้า บดให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่ม

    เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ½ ถ้วยชา รับประทานครั้งเดียว

    ยารักษาริดสีดวงทวาร
    ใช้เหง้าสด 60 กรัม ประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน ริดสีดวงทวารควรจะหาย

    สารเคมี :
    ทั้งส่วนรากและส่วนต้น ประกอบด้วยสาร alpinetin, pinocembrin, cardamonin,boesenbergin A, pinostrobin และน้ำมันหอมระเหย และในส่วนรากยังพบ chavicinic acid อีกด้วย
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : กระท้อน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.

    ชื่อสามัญ : Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol

    วงศ์ : MELIACEAE

    ชื่ออื่น : เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
    ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม - พฤษภาคม

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด เปลือก ผล ราก

    สรรพคุณ :

    ใบสด - ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้

    เปลือก - รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

    ผล - ฝาดสมาน เป็นอาหาร

    ราก - เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ

    ต้น - เป็นไม้ใช้สอย
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : ทับทิม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.

    ชื่อสามัญ : Pomegranate , Punica apple

    วงศ์ : Punicaceae

    ชื่ออื่น : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด

    สรรพคุณ :
    ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา

    ดอก - ใช้ห้ามเลือด

    เปลือกและผลแห้ง
    - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
    - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

    เปลือกต้นและเปลือกราก
    - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม

    เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดี
    ใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา

    ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
    ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้

    บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
    ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้

    สารเคมี
    เปลือกผลมีรสฝาด เนื่องจากมี tannin 22-25% gallotannic acid สารสีเขียวอมเหลือง รากมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ pelletierine และอนุพันธ์ของ pelletierine
    คุณค่าด้านอาหาร

    ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : บานไม่รู้โรยดอกขาว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gomphrena globosa L.

    ชื่อสามัญ : Everlasting, Globe Amaranth

    วงศ์ : AMARANTHACEAE

    ชื่ออื่น : กุนนีดอกขาว, กุนหยินขาว, สามเดือนดอกขาว, ตะล่อม, สามปีบ่อเหยี่ว

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 2 ฟุต ลำต้นตั้งตรง กิ่งมีขนเล็กน้อย ใบเดี่ยวรูปรีปลายแหลม ขอบเรียบ มีขนนุ่มทั้งใบ ดอกเป็นกระจุกทรงกลมมีสีขาว แดง ชมพู นิยมใช้ชนิดดอกขาวทำยา ปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ดอก ทั้งต้น และราก
    ดอก เก็บเมื่อดอกแก่ เอามาตากแห้ง เอาก้านดอกออกเก็บไว้ใช้ ดอกแห้งมีลักษณะกลมหรือยาวรี ส่วนมากออกเป็นช่อเดี่ยว แต่มีบางครั้งอาจติดกัน 2-3 ช่อ ดอกที่ดีคือดอกที่มีขนาดโตๆ

    สรรพคุณ :

    ดอก - รสจืด ชุ่มสุขุม
    ใช้บำรุงตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอระงับหอบหืด ขับปัสสาวะ แก้ปวดศีรษะ บิด ไอกรน แผลผื่นคัน ฝีประคำร้อย

    ราก - ขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ดอกแห้ง - ใช้หนัก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ทั้งต้น - ใช้หนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ใช้ภายนอก - ใช้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง

    ตำรับยา

    แก้หอบหืด
    ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง

    แก้บิดมูก
    ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อยดื่ม

    แก้ปัสสาวะขัด
    ใช้ดอก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่มบ่อยๆ

    แก้เด็กเป็นโรคลมชัก
    ใช้ดอก 10 ดอก รวมกับตั๊กแตนแห้ง (oxya chinensis thumb.) 7 ตัว ตุ๋นรับประทาน

    แก้เด็กตัวร้อนตาเจ็บ
    ใช้ดอกสด 10-14 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือผสมกับฟังเชื่อมแห้ง ต้มน้ำดื่ม
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : เปล้าน้อย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton stellatopilosus Ohba
    ชื่อพ้อง : Croton sublyratus Kurz

    วงศ์ : EUPHORBIACEAE

    ชื่ออื่น : เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 1-4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ออกดอกเมื่อใบแก่ ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอก ผล เปลือก แก่น

    สรรพคุณ :

    ใบ - ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิตประจำเดือน
    มีสาร disterpene alcohol (CS-684 หรือ plaunotol) มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ

    ใบ ราก
    - แก้คัน รักษามะเร็งเพลิง
    - รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
    - แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร
    - แก้ไอเป็นโลหิต
    - เป็นยาปฏิชีวนะ

    ดอก - ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ

    ผล - แก้โรคน้ำเหลืองเสีย

    เปลือก - บำรุงธาตุ

    แก่น - ขับโลหิต

    วิธีใช้
    นำใบ ค่อนข้างใบอ่อน ตากแห้ง บดละเอียด ต้มหรือชงน้ำดื่ม (ต้นเปล้าน้อยที่ปลูกมีอายุ 2 ปี ตัดใบนำมาใช้ได้ เก็บใบได้ปีละ 2 ครั้ง)

    ข้อเสียของยาชงนี้
    ทำให้คนไข้ได้ตัวยาไม่สม่ำเสมอ ตัวยาไม่แน่นอน และได้ตัวยาอื่นๆ เจือปนด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่สมบูรณ์ มีอาการข้างเคียง
    นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีการสกัดตัวยาเปล้าน้อยบริสุทธิ์ได้คือ Plaunotol ออกมา

    ขนาดรับประทานที่เหมาะสม คือ 3x8 มก./วัน ประมาณ 8 อาทิตย์ อาการคนไข้ดีขึ้น 80-90% และเมื่อส่องดูแผลพบว่าได้ผล 60-80%

    อาการข้างเคียง น้อย มีเพียง 1-2 ราย ที่มีอาการผื่นขึ้น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก Plaunotol ดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ส่วนใหญ่ถูก Oxidise ในตับ และขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ

    ข้อดีของตัวยาบริสุทธิ์ Plaunotol คือ

    มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้เป็นอย่างดี

    มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุลำไส้ที่เสียไป ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

    มีฤทธิ์ลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง และทำให้ระบบป้องกัน การดูดซับกรดของเนื้อเยื่อบุกระเพาะซึ่งถูกทำลายด้วยสารบางชนิด กลับคืนดี

    มีความเป็นพิษต่ำ
    นับว่าสมุนไพรเปล้าน้อยนี้ มีตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม เป็น Broad Spectrum antiseptic ulcer drug

    สารเคมี
    (E.Z,E) -7- hydroxymethyl -3, 11, 15-trimethy-2,6,10,14-hexadecate traen-1-01 มีชื่อว่า CS-684 หรือ Plaunotol, Plaunotol A,B,C,D,E

    หมายเหตุ
    การขยายพันธุ์ ควรได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือรากไหล จะได้พันธุ์แท้ เพาะจากเมล็ดมีการกลายพันธุ์ได้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : ฝรั่ง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava L.

    ชื่อสามัญ : Guava

    วงศ์ : MYRTACEAE

    ชื่ออื่น : สุราษฎร์ธานี จุ่มโป่, ปัตตานี ชมพู่, เชียงใหม่ มะก้วย, เหนือ มะก้วยกา มะมั่น, แม่ฮ่องสอน มะกา, ตาก มะจีน, ใต้ ยามู ย่าหมู, นครพนม สีดา, จีนแต้จิ๋ว ปั๊กเกี้ย

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 3-5 เมตร ผิวเปลือกต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ หนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้ว เห็นเส้นใบชัดเจน ขนขึ้นนวลบาง ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 - 5 ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแข็ง ผล รูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปรี ผิว เกลี้ยง สีเขียว เนื้อในขาว รสหวาน กรอบ ผลสุกสีเหลือง- เขียว มีเมล็ดเล็กๆ แข็งอยู่ภายใน

    ส่วนที่ใช้ : ใบเพสลาด ผลอ่อนสด ผลสุก เปลือกต้นสดๆ ราก

    สรรพคุณ :
    ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง

    ใบ - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง

    ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ

    ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้

    ราก - แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    ใช้ฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน
    วิธีที่ 1 รับประทานสด
    - ใช้ส่วนที่เป็นยอดอ่อนๆ 7 ยอด หรือใบเพสลาด 6-8 ใบ ค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดทีละน้อย ค่อยๆ กลืน แล้วดื่มน้ำตาม ถ้าเคี้ยวทีละมากๆ จะรู้สึกฝาดขม ถ้าเคี้ยวกับเกลือเล็กน้อย จะช่วยให้รับประทานง่ายขึ้น
    วิธีนี้ได้ผลมาก เพราะรับประทานทั้งน้ำและเนื้อของใบฝรั่งจนหมด ได้ตัวยาครบถ้วน
    - อาจรับประทานผลดิบ ครั้งละ 1-2 ผล โดยเคี้ยวก่อนค่อยกลืนก็ได้

    วิธีที่ 2 ต้มดื่ม
    - ใช้ใบเพสลาด 5-10 ใบ หรือเปลือกต้นสดๆ 1 ฝ่ามือ ใส่น้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเดือดนาน 5-30 นาที เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ รับประทานครั้งละ ½ - 1 แก้ว วันละ 2 ครั้งรับประทานตามอาการหนักเบา เวลาดื่มเติมเกลือเล็กน้อยทำให้ดื่มง่ายขึ้น

    วิธีที่ 3 ชงน้ำร้อนดื่ม
    - เอายอดฝรั่ง 7 ยอด หรือใบฝรั่ง 6-10 ใบ ชงกับน้ำเดือด 2 แก้ว ปิดฝาไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ดื่มบ่อย ๆ

    วิธีที่ 4 ต้มคั้นเอาน้ำ
    - เอาใบฝรั่ง 6-10 ใบ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำสุก 3-5 ช้อนแกง ต้มให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาว เอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยดื่มจนหมด

    วิธีที่ 5 บดผงรับประทาน
    - ใช้ผลฝรั่งที่เกือบแก่ หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½-1ช้อนชา โดยผสมน้ำ วิธีนี้รสชาติดีเด็กดื่มได้ง่าย
    ใช้เป็นยาห้ามเลือด
    - ใช้ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด ช่วยระงับกลิ่นปาก
    - ใช้ใบสด 3-5 ใบ เคี้ยวและคายกากออกทิ้ง
    เป็นยากันหรือแก้โรคลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีไวตามินซีมาก
    - ใช้ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก รับประทานเป็นผลไม้ จะเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาท้องลำไส้ไม่ให้ผูก ช่วยบำรุงผิวพรรณ คนที่ชอบเป็นฝีเป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานฝรั่งบ่อย ๆ ก็ช่วยบรรเทาลงไปได้

    หมายเหตุ
    ฝรั่งที่ควรปลูก ควรเป็นฝรั่งขี้นก เพราะมีโรคน้อย มีเพลี้ยแป้งน้อย ดูแลรักษาง่าย ที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด มีไวตามินซีสูงกว่าฝรั่งพันธุ์อื่น ๆ
    สารเคมี
    ใบ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย Caryophyllene cineol, นอกจากนี้ยังมี Tannin, sesquiter penoids และ triterpenoid compounds.
    ผล มี fixed oil 6% Volatile oil 0.365% tannin 8-15% beta-sitosterol, quercetin, Vitamin C (330 mg.%), Arabinose,
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : เพกา

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz

    ชื่อสามัญ : Broken Bones Tree

    วงศ์ : Bignoniaceae

    ชื่ออื่น : มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง

    ส่วนที่ใช้ : ราก เปลือกต้น ฝักอ่อน เมล็ด

    สรรพคุณ :

    ราก
    - มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
    - แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต
    - ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม

    เพกาทั้ง 5 - คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด

    ฝักอ่อน - รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ

    เมล็ด - ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

    เปลือกต้น -รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด

    เปลือกต้นตำผสมกับสุรา
    - ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง
    - แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้
    - ใช้ฉีดพ่นตามตัวคนคลอดบุตรที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา
    - ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ

    เปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์
    - รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด
    - รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต

    นอกจากนี้เปลือกเพกา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ

    เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้
    - แก้องคสูตร
    - แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา
    - แก้ฟกบวม แก้คัน

    สารเคมี
    ราก มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols
    แก่น มี Prunetin, B- sitosterols
    ใบ มี Aloe emodin
    เปลือก มี Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : ฟ้าทะลายโจร

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees

    ชื่อสามัญ : Kariyat , The Creat

    วงศ์ : ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น : หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน

    สรรพคุณ
    มี 4 ประการคือ
    1.แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
    2.ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ
    3.ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
    4.แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
    เป็นยาขมเจริญอาหาร

    และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

    ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
    สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide)
    สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)
    14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
    ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    1. ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
    ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ

    2. ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
    ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน

    ตำรับยาและวิธีใช้

    1. ยาชงมีวิธีทำดังนี้
    - เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
    - เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
    - ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทาน
    ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน

    2. ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
    - เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้
    แห้งเร็ว
    - บดเป็นผงให้ละเอียด
    - ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250 มิลลิกรัม)
    แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน

    3. แค๊ปซูล มีวิธีทำคือ
    แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแค๊ปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แค๊ปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน

    4. ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
    เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง 40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร

    5. ยาผงใช้สูดดม
    คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย

    ขนาดที่ใช้
    สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
    สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
    ข้อควรระวัง
    บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : มะเดื่อไทย

    [​IMG]

    หมายเหตุ : มะเดื่อไทย Ficus spp. ในที่นี้ขอใช้มะเดื่ออุทุมพรเป็นข้อมูล

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa L.

    วงศ์ : Moraceae

    ชื่ออื่น : เดื่อเกลี้ยง (ภาคเหนือ มะเดื่อเกลี้ยง มะเดื่อ มะเดื่อชุมพร กูแซ เดื่อน้ำ (ภาคใต้) มะเดื่อน้ำ เดื่อเลี้ยง มะเดื่อหอม หมากเดื่อ (ภาคอีสาน) มะเดื่อดง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผล ผลสุกมีสีแดง

    ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน เปลือกต้น ราก

    สรรพคุณ :

    ผลอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร

    เปลือกต้น
    - มีรสฝาด
    - รับประทานแก้ท้องร่วง
    - ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี

    ราก
    - เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด
    - กล่อมเสมหะ และโลหิต
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : โมกหลวง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don

    วงศ์ : APOCYNACEAE

    ชื่ออื่น : ซอทึ, พอแก, ส่าตึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); พุด (กาญจนบุรี); พุทธรักษา (เพชรบุรี); มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกหลวง (ภาคเหนือ); โมกใหญ่ (ภาคกลาง); ยางพูด (เลย); หนามเนื้อ (เงี้ยว-ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 3.5-14 ซม. ยาว 7-30 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบขนาน โคนใบป้านหรือรูปลิ่ม ปลายเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเป็นมัน เกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยมีก้าน ดอกย่อยที่ด้านข้างเท่ากัน มีขนาดเล็กกว่าดอกย่อยที่ตรงกลางช่อ ช่อดอกยาว 4-14 ซม. ก้านช่อยาว 0.9-3.5 ซม. หรือไม่มีก้านช่อ ทุกส่วนเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกย่อยประกอบด้วย ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ปลายของแต่ลุแฉกแหลม วงกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปดอกเข็ม ปลายแยก 5 แฉก กว้างประมาณ 0.4-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.7-2.3 ซม. สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศจำนวน 5 อัน แยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผลแตกแนวเดียว รูปแถบเรียวยาว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 37-45 ซม. ก้านผลยาว 1.6-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบาง

    ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ผล เมล็ดใน กระพี้ แก่น ราก

    สรรพคุณ :

    เปลือกต้น - แก้บิด แก้ไข้พิษ
    ใบ - ขับไส้เดือนในท้อง
    ผล - ขับโลหิต
    เมล็ดใน - แก้ไข้
    กระพี้ - ฟอกโลหิต
    แก่น - แก้โรคกลาก
    ราก - ขับโลหิต

    วิธีและประมาณที่ใช้
    แก้บิด แก้ไข้พิษ
    ใช้เปลือกต้นโมกหลวง ครึ่งกำมือ (6-10 กรัม) ผสมกับผลมะตูมแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน รวมกับเปลือกรากทับทิมครึ่งส่วน ตำให้เป็นผง ผสมน้ำผึ้ง ทำเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม (ของยาที่ผสมแล้ว) ประมาณ 3-5 เมล็ดพุทรา หรือใช้ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : โมกมัน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia pubescens R.br.

    วงศ์ : Apocynaceae

    ชื่ออื่น : โมก, มูก (ภาคกลาง); มูกเกื้อ (จันทบุรี); โมกมัน (ชลบุรี, กาญจนบุรี, นครราชสีมา)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูง 8-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาอ่อนถึงน้ำตาล ลักษณะคล้ายไม้ก๊อก ถ้าตัดทุกส่วนที่ยังสดอยู่จะมีน้ำยางสีขาวเหนียวๆ ซึมออกมา เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ กิ่งและยอดอ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามเป็นคู่ๆ ทรงใบรูปรีๆ รูปไข่และไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบาง มีขนนุ่มทั้งสองด้าน บางทีด้านหลังใบของใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ มี 8-15 คู่ เส้นใบย่อยเห็นไม่ค่อยชัด ดอก สีขาวอมเหลือง บิดเวียนเป็นรูปกังหัน ออกรวมกันเป็นช่อแบบเป็นพวงกระจายตามปลายกิ่ง ช่อยาว 4-6 ซม. มีหลายดอก ดอกเมื่อเริ่มบานใหม่ๆ ภายนอกสีเขียวอ่อน ส่วนด้านในสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นกรวยที่โคนกลีบ ปลายแยกเป็นแฉกมนๆ 5 แฉก มีขนแน่นทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวถึง 10 มม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 5 กลีบ ในดอกตูมกลีบจะบิดเป็ฯเกลียวตามเข็มนาฬิกา เมื่อดอกบานกลีบจะบิดเวียนกันเป็นรูปกังหัน แต่ละกลีบยาว 8-16 มม. และมีระยางพิเศษสีส้มคล้ำจนถึงสีม่วงอยู่ถัดจากชั้นกลีบดอกเข้าไป ระยางนี้สั้นกว่าเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้ มี 5 อัน ติดอยู่ใกล้ๆ ปากหลอดกลีบดอกด้านใน ก้านเกสรสั้น ส่วนอับเรณูสีขาว รังไข่ รูปรีๆ ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนมาก ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว 17-35 ซม. โตวัดผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวฝัก ทำให้ฝักดูเป็นสองพู เมื่อฝักแก่จัดจะแตกอ้าออกตามแนวร่องนี้ ผิวฝักแข็งขรุขระไปด้วยตุ่มช่องระบายอากาศ เมล็ด รูปรีๆ คล้ายข้าวเปลือก ปลายข้างหนึ่งจะมีขนสีขาวเป็นพู่ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลๆ

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เปลือก แก่น ราก กระพี้

    สรรพคุณ :

    ใบ - ขับเหงื่อ

    ดอก - เป็นยาระบาย

    ผล - แก้โรครำมะนาด

    เปลือก - แก้โรคคุดทะราด

    กระพี้ - บำรุงถุงน้ำดี

    แก่น - ขับโลหิตเสีย

    ราก - ขับลม
     

แชร์หน้านี้

Loading...