ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. pong_06

    pong_06 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    683
    ค่าพลัง:
    +4,634
    รบกวนช่วยแปล+สรุปให้สักหน่อยครับ..
     
  2. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,982
    UFO ไม่เคยสงสัย เพราะเจอมากับตัว คล้ายกับเหตุการณ์ที่ อ.อาจอง เจอเลยครับ เข้ามาแบบนิ่ง ๆ แล้วเคลื่อนไหวแบบหักศอกออกไปได้อย่างรวดเร็ว (โปรดใช้วิจารณญาณ)
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ตีความแห่ง"ตีความ" คดีพระวิหาร11พ.ย.

    [​IMG]

    ผ่านพ้นกันไปแล้ว หลังนั่งรอลุ้นฟังผลคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ในคดีตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหารปี 2505

    เชื่อว่าหลายต่อหลายคนที่ได้รับฟังการอ่านคำพิพากษาที่ถ่ายทอดสดตรงมายังประเทศไทยแบบนาทีต่อนาทีคงยังงงๆไม่หาย หลังผู้พิพากษา ปีเตอร์ ทอมก้า ประธานองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกอ่านคำตัดสินจบลง

    คำถามที่กลายเป็นคำถามยอดฮิตนาทีนี้คือตกลงเรา "ได้" หรือ "เสีย" อะไรกันแน่

    เมื่อพิเคราะห์เนื้อหาในคำพิพากษาของศาล จะเห็นได้ว่าศาลรับฟังข้อชี้แจงทั้งจากฝ่ายไทยและกัมพูชาอย่างละเอียด

    ซ้ำยังไปอ่านเอกสารคำพิพากษาเดิมเพิ่มเติมอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ก่อนที่จะมีคำพิพากษาที่พูดได้ว่าทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาต้องกลับไปพูดคุยเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป

    สาระ "หลัก" ในการยื่นคำร้องขอตีความของกัมพูชาในครั้งนี้คือต้องการให้ศาลชี้ว่าศาลโลกเมื่อปี 2505 ได้ตัดสินแล้วว่าแผนที่ 1:200,000 คือเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา

    พร้อมกับรับรองสถานะทางกฎหมายของแผนที่ดังกล่าว

    เพราะศาลพิพากษาคดีได้โดยใช้แผนที่ฉบับนี้หรือที่เรียกกันว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเหตุผลสำคัญ กัมพูชาถือด้วยว่าเส้นเขตแดนในแผนที่คือสิ่งที่แสดงขอบเขตของ "บริเวณโดยรอบ" ปราสาท ดังนั้น การถอนทหารของไทยย่อมต้องเป็นไปตามเส้นเขตแดนในแผนที่ดังกล่าว ซึ่งไทยได้ให้การยอมรับไปแล้วด้วยเช่นกัน

    นอกเหนือจากเรื่องการยอมรับสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 สิ่งที่กัมพูชาชี้แจงเพิ่มเติมคือเส้นมติ ครม.ปี 2505 และแนวรั้วลวดหนามของไทยเป็นการตีความข้างเดียวไม่สอดคล้องกับคำพิพากษา ที่กัมพูชาไม่เคยยอมรับเส้นดังกล่าวที่ไทยกำหนดขึ้น

    จริงอยู่ที่เนื้อหาในข้อบทปฏิบัติการที่เป็นคำสั่งของศาลมีเพียง 2 ข้อ จะคล้ายกับว่าศาลตอกย้ำใน "อธิปไตย" เหนือปราสาทพระวิหารของกัมพูชา พร้อมกับบอกให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาท เป็นพื้นที่ซึ่งศาลได้ให้รายละเอียดไว้ในข้อ 98 ของเอกสารคำตัดสินฉบับละเอียดว่าบริเวณใดคือพื้นที่ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นยอดเขา (โพรมอนทอรี่ หรือ promontory มีหลายคน รวมทั้งล่ามที่แปลสดอย่างไม่เป็นทางการ แปลว่า "ชะง่อนผา") พระวิหาร ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังไปศึกษาว่าน่าจะกินความเท่าใด

    ยังไม่มีทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชา ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการให้ "ผูกมัด" ตัวเองว่า คำนี้นั้น ศาลหมายถึง "ตรงไหน" กันแน่

    แต่หนึ่งในประเด็นที่ถูกระบุชัดเจนในหัวข้อเดียวกันคือ การที่ศาลระบุว่าพื้นที่บริเวณที่กัมพูชาเรียกว่า "พนมตรับ" ซึ่งไทยเราเรียกว่าภูมะเขือ หรือที่เรียกกันกว้างกว่านั้นว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร อยู่นอกพื้นที่พิพาทในปี 2505

    ซึ่งคำพิพากษาของศาลในเวลานั้นก็มิได้ชี้ว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในดินแดนไทยหรือกัมพูชา เพราะเห็นว่า "ยอดเขาพระวิหาร" สิ้นสุดลงตรงตีนเขาพนมตรับนั่นเอง

    ส่วนการถอนทหารตามคำสั่งศาลในข้อบทปฏิบัติการข้อที่ 2 ในคำตัดสินของศาลในปี 2505 ที่ให้มีการถอนทหารออกจาก "บริเวณโดยรอบ" ปราสาทพระวิหาร ก็คือพื้นที่ในบริเวณยอดเขาพระวิหารที่ทหารไทยไปตรึงกำลังอยู่เท่านั้น

    ทั้งนี้ ศาลรับฟังข้อเสนอของกัมพูชาที่ว่าศาลจำเป็นต้องตีความคำพิพากษาเพราะมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ และเห็นว่าเส้นมติ ครม.ปี 2505 เป็นเส้นที่ไทยร่างขึ้นฝ่ายเดียวนั้นไม่ใช่ "บริเวณใกล้เคียง" หรือ "วิซินิตี้" (Vicinity) ของปราสาทตามคำพิพากษาปี 2505

    อีกทั้งแผนที่ 1:200,000 ถือว่ามีความสำคัญและมีบทบาทหลักในการพิจารณาคดีของศาลในปี 2505 และเส้นเขตแดนบนแผนที่นั้นถือว่ามีผลผูกพันต่อคู่กรณี แต่เป็นการผูกพันเฉพาะใน "พื้นที่เล็กๆ" เป็นพื้นที่พิพาทหรือยอดเขา (promontory) พระวิหาร ไม่ได้รวมถึงบริเวณอื่นๆ เพราะศาลจะไม่ก้าวล่วงไปตีความ "เกิน" กว่าคำพิพากษาเดิม

    ฉะนั้นหากพิจารณาในรายละเอียดแล้ว จะเห็นว่าข้อเรียกร้องหลักของกัมพูชาคือการรับรองสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ได้รับการรับรองจากศาลอย่างที่กัมพูชาต้องการ

    ขณะที่ข้อบทปฏิบัติการของศาลทั้ง 2 ข้อก็เป็นการล้อคำพิพากษาเดิมมาเกือบทั้งหมด เพียงแต่ให้รายละเอียดที่ชัดเจนขึ้นในมุมมองของศาลเกี่ยวกับสิ่งที่ศาลเห็นว่าเป็น "พื้นที่รอบปราสาท" ทั้งสองฝ่ายต้องไปพูดคุยหารือกันต่อไปเพราะศาลโลกก็ยอมรับว่าการถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 ลงบนภูมิประเทศจริงทำได้ยากมาก

    หันกลับมาดูคำขอของฝ่ายไทย สิ่งที่ศาลได้ให้คำยืนยันคือแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพื้นที่นอกขอบเขต "ยอดเขาพระวิหาร" ซึ่งเป็นเพียงพื้นที่ที่ศาลได้ให้รายละเอียดมาใหม่ในคราวนี้

    ดังนั้น แผนที่ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันไทยและกัมพูชาในส่วนอื่นๆ และพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รวมถึงภูมะเขือที่กัมพูชาอ้างสิทธิ "ไม่ใช่" พื้นที่พิพาทในคดีเดิม เท่ากับเป็นการลบล้างท่าทีที่กัมพูชายืนยันตลอดมาว่าศาลโลกได้ให้การรับรองเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาตามแผนที่ดังกล่าวแล้ว

    และตอกย้ำว่าเรื่อง "เขตแดน" ไม่ใช่สิ่งที่ศาลได้ตัดสินไปแล้วในคดีเดิม ดังนั้น กัมพูชาจึงไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลไม่ได้ตัดสินไว้เดิมมาขอตีความได้

    นัยของคำพิพากษายังส่งผลกระทบต่อการยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา เพราะการที่ศาลชี้ชัดว่าพื้นที่ "รอบปราสาท" โดยศาลตัดสินให้อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาแต่เดิมมีเพียง "ยอดเขาพระวิหาร" นั่นย่อมหมายถึงพื้นที่ ซึ่งกัมพูชาเคยยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่าเป็นส่วนหนึ่งในแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ครอบคลุมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ก็มิใช่พื้นที่ที่กัมพูชาจะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นดินแดนกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505 อีกต่อไป

    ที่สุดแล้วไม่อยากให้เราต้องสรุปด้วยคำจำกัดความเพียงว่าใคร "ได้" ใคร "เสีย" แต่อยากให้มองเช่นที่นายฮอ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา บอกไว้หลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า คำตัดสินของศาลคือชัยชนะร่วมกันของสองประเทศ เพราะเราได้ความชัดเจนมากขึ้นในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล

    เมื่อคำนึงถึงจุดยืนที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ชัดเจนแล้วว่าจะต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาและการดำเนินการภายใต้กระบวนการกฎหมายภายในประเทศทุกขั้นตอน

    ข้อสรุปที่บอกได้ขณะนี่คือต้องว่ากันอีกยาว

    (ที่มา:มติชนรายวัน 13 พ.ย.2556)
    www.facebook.com/MatichonOnline

    ตีความแห่ง"ตีความ" คดีพระวิหาร11พ.ย. : มติชนออนไลน์
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ภาพดาวหางไอซอนล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2556

    จากการเฝ้าติดตามดาวหางไอซอนในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก และหอดูดาวควบคุมระยะไกล Cerro Tololo Inter- American Observatory (CTIO) ประเทศชิลี ซึ่งจากภาพถ่ายดาวหาง ในช่วงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ดาวหางไอซอน มีความสว่างเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 6.65 โดยสามารถสังเกตเห็นหางฝุ่นและหางแก๊สที่แยกออกจากกันได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
    [​IMG]
    ภาพถ่ายดาวหางไอซอน Comet ISON (C/2012 S1) ถ่ายเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 โดยทีมเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยสามารถสังเกตเห็นหางฝุ่นและหางแก๊สที่แยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน (ภาพที่ 1)

    ทั้งนี้ ในช่วงนี้นอกจากดาวหางไอซอนที่สามารถสังเกตเห็นผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้ ยังมีดาวหางสว่างอีกดวง คือ ดาวหางเลิฟจอย Comet Lovejoy (C/2013 R1) ที่สามารถสังเกตเห็นได้อีกดวงหนึ่ง ซึ่งมีระดับความสว่างที่ 8.3 โดยปรากฏอยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวสิงโต (Leo) ด้วยเช่นกัน

    [​IMG]
    ภาพถ่ายดาวหางเลิฟจอย Comet Lovejoy (C/2013 R1) ถ่ายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 โดยทีมเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (ภาพที่ 2)

    [​IMG]
    ภาพถ่ายดาวหางเลิฟจอย Comet Lovejoy (C/2013 R1) ถ่ายเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2556 จากหอดูดาวควบคุมระยะไกล Cerro Tololo Inter- American Observatory (CTIO) ประเทศชิลี โดยทีมเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (ภาพที่ 3)

    สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) - ภาพดาวหางไอซอนล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2556
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.1.jpg
      0.1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.9 KB
      เปิดดู:
      658
    • 0.2.jpg
      0.2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.2 KB
      เปิดดู:
      1,156
    • 0.3.jpg
      0.3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.1 KB
      เปิดดู:
      1,156
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Tribulation Now ได้แชร์ลิงก์
    3 ชั่วโมงที่แล้ว

    ดาวหาง ISON ระเบิด! ขณะนี้ ISON ด้ประกอบด้วย 3 หาง และวัตถุรองใกล้โคม่า! (Comet ISON Outburst! ISON With 3 Tails & Secondary Object Near Coma!)

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/miCBirC220g?feature=player_embedded" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    Comet ISON Outburst! ISON With 3 Tails & Secondary Object Near Coma! - YouTube
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Tribulation Now
    43 นาทีที่แล้ว
    ดาวหาง Lovejoy มีความสว่างกว่าดาวหาง ISON 10 เท่า

    [​IMG] [​IMG]

    THIS COMET IS BRIGHTER THAN ISON: Comet ISON is getting all the press, but another comet is outshining the media-favorite by nearly an order of magnitude. Comet Lovejoy (C/2013 R1) is almost 10 times brighter than Comet ISON as it passes just outside the orbit of Earth in mid-November: 3D orbit. Rolando Ligustri took this picture of Comet Lovejoy on November 12th using a remotely-controlled telescope in New Mexico ~ The comet's pale green atmosphere is almost twice as wide as the planet Jupiter, and there are no fewer than three tails streaming behind the comet's nucleus. Sky watchers in dark sky sites say that can now see this lovely comet as a faint smudge using averted vision--no optics required. A telescope is, however, recommended.

    Comet Lovejoy is one of four comets now rising in the east before dawn. The other three are exploding Comet LINEAR X1, sungrazing Comet ISON, and short-period Comet Encke, and the brightest of them all. All four are easy targets for backyard optics. Dates of special interest include Nov. 15-18 when Comet LINEAR X1 passes by the bright star Arcturus, Nov 17-18 when Comet ISON has a close encounter with Spica, and Nov. 18-20 when Comet Encke buzzes Mercury. These stars and planets make excellent naked-eye guideposts for finding the comets. Meanwhile, bright Comet Lovejoy is approaching the Big Dipper; if you can't see it with your unaided eye, a quick scan with binoculars will reveal it.

    SpaceWeather.com -- News and information about meteor showers, solar flares, auroras, and near-Earth asteroids
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.7 KB
      เปิดดู:
      505
    • 0.4.gif
      0.4.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.6 KB
      เปิดดู:
      479
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    matichononline

    [​IMG]

    แผ่นดินไหว SIMEULUE อินโดนีเซีย 4.7 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดินแค่ 2 กิโลเมตร

    กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2556 เวลา 05.36 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ SIMEULUE ประเทศอินโดนีเซีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.7 ริกเตอร์ ลึกจากระดับผิวดินแค่ 2 กิโลเมตร

    แผ่นดินไหวที่ SIMEULUE, INDONESIA
    ขนาด : 4.7 ริกเตอร์
    จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว : SIMEULUE, INDONESIA
    วันที่ : 14 พฤศจิกายน 2556 05:36 น.
    ละติจูด : 2° 34′ 12′′ เหนือ
    ลองจิจูด : 95° 43′ 48′′ ตะวันออก
    ความลึกจากระดับผิวดิน : 2 กิโลเมตร

    แผ่นดินไหว SIMEULUE อินโดนีเซีย 4.7 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดินแค่ 2 กิโลเมตร : มติชนออนไลน์
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    พิธีอาบน้ำเพ็ญ-วัดสุทัศน์ ตำรับพระสังฆราช(แพ)

    [​IMG]

    วัดสุทัศนเทพ วรารามเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นปีพ.ศ.2350 เดิมพระราชทานนามว่า "วัดมหาสุทธาวาส"

    นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง

    จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อและทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

    การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ.2390 และพระราชทานนามว่า "วัด สุทัศนเทพวราราม" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า "วัดสุทัศนเทพธาราม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า พระศรีศากยมุนี, พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ และพระพุทธเสรฏฐมุนี

    ที่ผ่านมาวัดแห่งนี้ได้จัดพิธีกรรมสำคัญเนื่องในวันทางพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ

    "พระครูใบฎีกาพิทยา ญาณิกวังโส" พระผู้รับผิดชอบดูแลพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม กล่าวว่า เนื่องด้วยวันสำคัญในทางศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือที่เรียกว่า "คืนเพ็ญ" จึงเกิดเป็นพิธีกรรมหนึ่งขึ้นมาคือ "พิธีอาบน้ำเพ็ญ" เพราะเชื่อว่าเมื่ออาบน้ำเพ็ญแล้วจะโชคดีมีลาภ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้ชะตาชีวิตรุ่งโรจน์ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

    พิธีอาบน้ำเพ็ญเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน "ประเพณีลอยกระทง" คือ เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนที่พระจันทร์เต็มดวงตรงศีรษะ ก็จะลงอาบน้ำเพ็ญตามแม่น้ำลำคลอง พิธีการอาบน้ำมนต์น้ำเพ็ญนั้น มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานคือการประกอบพิธีอาบน้ำเพ็ญที่วัดสุทัศนเทพวราราม สมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ เสด็จท่านจะประกอบพิธีเพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยเลือกเอาวันเพ็ญเดือน 12 ถือว่าเป็นวันที่พิเศษอย่างยิ่ง

    พิธีจะเริ่มจากพระสงฆ์ทำสังฆกรรม สวดพระปาติโมกข์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งสงฆ์ทั้งปวง ต่อด้วยปฐมเทศนา เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร จากนั้นจะเป็นการสวดนพเคราะห์ บูชาเทพยดาประจำวันเกิด เสริมดวงชะตา เสริมวาสนา บารมี โดยพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ประจำแต่ละวัน สลับกับโหรหรือบัณฑิตอ่านโองการบูชาเทพยดานพเคราะห์ทั้ง 9

    ต่อด้วยเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก หมายถึง พระพุทธ มีความยิ่งใหญ่ดุจดวงอาทิตย์ พระธรรม มีความเยือกเย็น งดงามดุจพระจันทร์ พระสงฆ์ เปรียบเหมือนดวงดาวที่รายล้อมอยู่ บารมี 10 ทัศ สรรเสริญพุทธลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 ประการ และบทเจริญเมตตาใหญ่ ต่อด้วยเจริญพระคาถาภาณวาร เป็นพระคาถาที่สวดตามวาระ ไม่ค่อยสวดบ่อยนัก เป็นพระคาถาขับไล่เสนียด สิ่งอัปมงคล ป้องกันภัย แลโรคร้ายต่างๆ และเจริญอายุวัฒนะดังเช่น พระมหากัสสปะ อาพาธ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงอาพาธ พระมหาจุนนะก็แสดงถวาย และจบลงด้วยพระคาถาทิพย์มนต์ หมายถึง มนต์อันเป็นทิพย์ มีความสะอาด สดใสและให้ความสำเร็จแก่ผู้ได้ฟังสังวัธยายทิพย์มนต์ ให้รุ่งโรจน์ รุ่งเรือง ขจัดปัญหาอุปสรรคทที่ขัดข้อง ป้องกันภัยจากหมู่อมิตร

    คัดลอกมาบางส่วนจาก ข่าวสดรายวัน วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7646

    อาบแสงเพ็ญคืนลอยกระทง...ความเชื่อโบราณเสริมมงคลชีวิต เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    "ความเชื่อ" เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมานานแสนนาน จึงไม่แปลกที่ในเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ เราจะได้ยินชื่อของพิธีกรรม และความเชื่อมากมายที่เราอาจไม่เคยรู้ อย่างเช่น "วันลอยกระทง" นอกจากจะมีพิธีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ ปล่อยโคมลอย การประกวดนางนพมาศ อย่างที่เรารู้จักกันดีแล้ว อีกหนึ่งพิธีกรรมความเชื่อที่ชาวบ้านบางแห่งปฏิบัติกันก็คือ "พิธีอาบน้ำเพ็ญ" หรือ "อาบแสงเพ็ญ"

    สำหรับ "พิธีอาบน้ำเพ็ญ" นี้ เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณ ที่คนเชื่อกันว่า การได้อาบน้ำตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ หรือแม้แต่อาบน้ำในภาชนะที่รองไว้ในที่โล่งแจ้งกลางแสงจันทร์ในวันพระจันทร์ เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และอธิษฐานในสิ่งดี ๆ จะช่วยเสริมบารมี และสิริมงคลให้แก่ชีวิต เพราะน้ำที่ต้องแสงจันทร์จะช่วยชำระบาป สาปส่งสิ่งที่ไม่ดี ช่วยสะเดาะเคราะห์ และขจัดสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายให้หายไปจากจิตใจและร่างกาย

    ทั้งนี้ พิธีดังกล่าวเป็นการเอาเคล็ดเอาชัยซึ่งถือปฏิบัติกันมาในบางแห่ง และในบางครอบครัวที่มีความเชื่อเท่านั้น ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก ในสมัยก่อน ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเป็นบุคคลที่ได้รับรู้มา หรือได้รับการสืบทอดวิชาประเภทศาสตร์ลี้ลับ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลหรือสาธารณชนทั่วไป

    อย่าง ไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ยังมีวัดบางแห่งที่มีการกระทำพิธีกรรมนี้เป็นประจำทุกปีในคืนวันลอยกระทง ที่จะมีพระสงฆ์ และฆราวาสมาร่วมพิธีในลานกลางแจ้ง และใช้น้ำที่พระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์แล้ว บางแห่งก็จะมีสายสิญจน์โยงสู่ภาชนะที่เก็บน้ำต่อเนื่องไปยังผู้เข้าร่วมพิธี ทุกคน เพื่อให้มนต์และคาถาแผ่เมตตาเชื่อมโยงไปให้บังเกิดแต่สิ่งที่ดี มีความสำเร็จ มีความสุข สุขภาพแข็งแรง

    สำหรับช่วงเวลาที่คนนิยมทำพิธีอาบแสงเพ็ญก็คือ ช่วงที่พระจันทร์เต็มดวงลอยเด่นเห็นประกายแสงจ้าอยู่บนฟากฟ้า โดยเฉพาะช่วงเที่ยงคืน ที่ดวงจันทร์อยู่ตรงศีรษะพอดี ถือเป็นช่วงที่มีมนต์ขลัง และมีพลังมากที่สุด ที่เราจะสามารถดูดพลังจากพระจันทร์ได้ และในบางพื้นที่อาจไม่จำเป็นต้องอาบน้ำ หรือใช้น้ำเป็นสื่อกลางในการดูดพลังเลยก็ได้

    ขณะเดียวกัน ยังมีข้อมูลระบุด้วยว่า
    "พิธีอาบแสงเพ็ญ" ในสมัยโบราณ เป็นพิธีทางไสยเวท ว่ากันว่า ผู้หญิงที่ทำพิธีนี้จะมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่จากเพศตรงข้าม
    ส่วนผู้ชายที่มีวิชาคาถาอาคมก็จะกระทำพิธีอาบแสงเพ็ญ เพื่อให้วิชาแกร่งกล้ามากยิ่งขึ้น และหากใครเจ็บไข้ได้ป่วย การอาบแสงเพ็ญก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น แม้แต่เด็กนักเรียนที่ได้อาบแสงเพ็ญก็จะช่วยให้ความจำดีขึ้นด้วย

    และ "มีคติความเชื่อว่า เมื่ออาบน้ำเพ็ญแล้วก็จะโชคดีมีลาภ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม คนที่ป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บ หน้าตาเศร้าหมอง เมื่อได้อาบน้ำเพ็ญไปแล้วก็จะหายจากอาการเจ็บป่วย ในขณะที่ผู้เป็นหมอดู นักพยากรณ์ เป็นแพทย์แผนโบราณ เมื่อได้อาบน้ำเพ็ญแล้วก็เชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถในการพยากรณ์ ในการรักษาโรคดีขึ้น

    ผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษาก็เชื่อว่า หากได้รับอาบน้ำมนต์น้ำเพ็ญเมื่อทำการอาบนั้นให้อธิษฐานอยู่ในใจจะทำให้เรียนเก่งความจำดี มีปฏิภาณไหวพริบ การอาบน้ำเพ็ญจึงดีทั้งเสน่ห์เมตตามหานิยม โชคลาภ คุ้มครองป้องกัน ความจำดีมีปฏิภาณไหวพริบ เรียนหนังสือเก่ง เสริมสง่าราศีให้ผุดผ่องดังพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ เสริมบารมีแก่ผู้ที่มีญาณเทพ มีองค์เทพคุ้มครอง ขจัดอำนาจมนต์ดำ คุณไสย ภูตผีปีศาจที่เข้าแฝงอยู่ในร่างกาย ทำให้ชะตาชีวิตรุ่งโรจน์ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยจากโรคต่างๆ (คัดลอกมาจากข่าวคมชัดลึกบางส่วน"

    ก็เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมความเชื่อของคนโบราณที่คนรุ่นใหม่ควรจะรู้จักไว้ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงคติ และวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนอย่างเห็นได้ชัด...
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    ชี้แบบแผน “พลังงานโลก” กำลังเปลี่ยนแปลงใหญ่ ทำให้ สหรัฐฯ มีต้นทุนถูกลง-แข่งขันได้เปรียบมากขึ้น
    เอเอฟพี – การที่สหรัฐฯและแคนาดาสามารถใช้ประโยชน์จาก “หินน้ำมัน” ขณะที่พลังงานทางเลือกที่สามารถสร้างทดแทนได้ก็กำลังเฟื่องฟู ประกอบกับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นในพวกเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ เหล่านี้ทำให้แผนที่ทางด้านพลังงานของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โต นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนพลังงานและความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศต่างๆ รวมทั้งต่อความพรักพร้อมในการรับมือภาวะโลกร้อนด้วย
    รายงานประจำปีของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ที่เผยแพร่ออกมาในวันอังคาร (12 พ.ย.) คาดการณ์ว่า แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลสำรอง โดยเฉพาะทรัพยากรหินน้ำมันในอเมริกาและแคนาดาจะชดเชยแหล่งน้ำมันและก๊าซปัจจุบันที่เริ่มแห้งเหือดลง ส่งผลให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงประเภทนี้ มีสถานการณ์แข่งขันเข้มแข็งขึ้น
    ในรายงานล่าสุดฉบับนี้ องค์การระหว่างรัฐบาลทางด้านพลังงาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายในกรอบขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) แห่งนี้ ประเมินราคาเฉลี่ยน้ำมันที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อในปี 2035 ไว้ที่ 128 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับประมาณ 125 ดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ขณะที่สำหรับปีนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์โดยประมาณ

    พวกประเทศกำลังพัฒนานั้นได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นตัวขับเคลื่อนดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานในช่วง 3 ทศวรรษข้างหน้า
    ไออีเอแจงว่า ขณะนี้การบูมของการขุดค้นนำเอาหินน้ำมันและน้ำมันขึ้นมาใช้ในอเมริกาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในตลาดพลังงาน ซึ่งเมื่อประกอบกับการพุ่งขึ้นของอุปสงค์ในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ทำให้คาดว่า ตลาดพลังงานโลกจะพลิกโฉมหน้าอย่างใหญ่โตในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้

    หนึ่งในผลลัพธ์จากการเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมหินน้ำมันคือ ต้นทุนพลังงานสำหรับบริษัทอเมริกันกำลังลดลง ทำให้ประเทศอื่นกังวลมากขึ้นว่า ผู้เล่นแดนอินทรีกำลังมีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงขึ้น
    ขณะเดียวกัน มีแนวโน้มว่า บราซิลจะกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานไฮโดรคาร์บอน ตลอดจนพลังงานที่สามารถสร้างทดแทนใหม่ได้ ที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

    รายงานของไออีเอระบุว่า หลักการมากมายที่เชื่อถือกันมานานนั้น กำลังจะถูกลบทิ้งและเขียนกันใหม่ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ก๊าซธรรมชาติในอเมริกาขณะนี้มีราคาเพียง 1 ใน 3 ของราคานำเข้าสู่สหภาพยุโรป (อียู) และ 1 ใน 5 ของราคาในญี่ปุ่น

    ทว่าแม้คาดหมายว่าในที่สุดแล้วราคาก๊าซจะปรับตัวอยู่ในระดับเดียวกันเนื่องจากตลาดมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นจากการขยายการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) แต่ไออีเอเชื่อว่า ค่าไฟฟ้าในแต่ละประเทศหรือภูมิภาคจะยังคงแตกต่างกันอยู่

    ขณะเดียวกัน การที่เอเชียมีความต้องการสินค้าที่ต้องใช้พลังงานในการผลิตสูง มีแนวโน้มผลักดันให้มีการผลิตสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นในภูมิภาคดังกล่าว

    ทั้งนี้ ต้นทุนสัมพัทธ์ของพลังงานอาจมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ต่อการผลิตเคมีภัณฑ์ อลูมิเนียม ปูนซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า กระดาษ กระจก และผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่น

    ไออีเอทำนายว่า อเมริกาจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการส่งออกสินค้าที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงออกสู่ตลาดโลก และนี่คือเครื่องบ่งชี้ชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างราคาพลังงานที่ต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบ กับทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมแห่งสินค้าเหล่านี้

    ในทางกลับกัน อียูและญี่ปุ่นจะมีส่วนแบ่งการส่งออกลดฮวบลงรวมกันถึงราว 1 ใน 3 จากส่วนแบ่งปัจจุบัน

    รายงานของไออีเอเสนอแนะว่า ประเทศต่างๆ สามารถที่จะลดปัจจัยต้นทุนพลังงานไม่พึงประสงค์ได้ ด้วยการส่งเสริมประสิทธิภาพในตลอดทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจของพวกตน ขณะเดียวกันการขยายการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จะสามารถขจัดความเชื่อมโยงระหว่างราคาส่งออกก๊าซกับราคาน้ำมันได้

    ไออีเอซึ่งเป็นองค์การที่จัดทำข้อมูลและคำแนะนำให้แก่ประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าต่างๆ 34 ชาติ ยังบอกอีกว่า ขณะที่แผนที่พลังงานด้านอุปทานกำลังเปลี่ยนแปลงจากการบูมของหินน้ำมันที่ทำให้อเมริกามีแนวโน้มสามารถพึ่งพิงตนเองด้านพลังงานได้ใน 3 ทศวรรษข้างหน้านั้น ด้านอุปสงค์ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันโดยที่ศูนย์กลางแรงดึงดูดเคลื่อนไปอยู่ที่พวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ที่ช่วยกันผลักดันให้การใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1 ใน 3
    อีกไม่นานจีนจะแทนที่อเมริกาในฐานะผู้นำเข้าน้ำมันหมายเลข 1 ส่วนอินเดียมีแนวโน้มแย่งตำแหน่งผู้นำเข้าถ่านหินสูงสุดในโลกจากจีนในทศวรรษ 2020

    รายงานระบุว่า ภาคพลังงานซึ่งเป็นแหล่งแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกถึงราว 2 ใน 3 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ว่า เป้าหมายของการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะสามารถบรรลุได้หรือไม่

    ไออีเอคาดว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเนื่องมาจากพลังงาน จะยังคงเพิ่มขึ้น 20% เมื่อถึงปี 2035 ถึงแม้มีการใช้ความพยายามต่างๆ เพื่อลดการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกแล้วก็ตาม และเมื่อเป็นเช่นนี้ โลกก็กำลังเคลื่อนเข้าสู่สภาวะที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นในระยะยาวเฉลี่ย 3.6 องศาเซลเซียส สูงกว่าเป้าหมายที่พยายามจะจำกัดเอาไว้ที่ระดับ 2 องศา

    ผู้จัดการ
    เขียนโดย Schau-Thai ที่ 01:00 ไม่มีความคิดเห็น:

    ป้ายกำกับ: Germany and Around the World
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สลด! 8 ชาวฟิลิปปินส์ ถูกกำแพง “ทับ” ดับคาที่ ขณะเบียดกันรับข้าวสารบริจาค
    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – ชาวฟิลิปปินส์เรือนพันเบียดเสียดกัน เพื่อร้องขอที่นั่งในเที่ยวบินที่มีน้อยเต็มทีในวันนี้ (13 พ.ย.) โดยพวกเขาต้องการเดินทางออกจากเมืองตาโกลบาน ซึ่งถูกมหาพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนพัดกวาดจนราบพนาสูญแห่งนี้ ในขณะที่รู้สึกขุ่นเคืองที่ความช่วยเหลือเข้ามาถึงเมืองที่ถูกภัยธรรมชาติกระหน่ำย่อยยับอย่างล่าช้า จนประชาชนตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าหวั่นวิตก
    รายงานข่าวชี้ว่า มีผู้เสียชีวิต 8 คนจากเหตุเบียดกันตายเมื่อวานนี้ (12) เมื่อฝูงชนผู้รอดชีวิตจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งเป็นหนึ่งในพายุลูกรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ พากันกรูไปที่โกดังเก็บข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในเมืองอลังกาลัง ซึ่งห่างจากเมืองตาโกลบานที่พังพินาศยับเยินไป 17 กิโลเมตร
    เร็กซ์ เอสโตเปเรซ โฆษกของการอาหารแห่งชาติฟิลิปปินส์เล่าว่า “กำแพงด้านหนึ่งของโกดังพังทลายลงมา และมีชาวบ้าน 8 คนถูกทับตายคาที่” ในเหตุการณ์เมื่อวานนี้ (12)
    แม้เหตุการณ์พายุไห่เยี่ยนพัดถล่มย่านริมชายฝั่งทั้งหมดจะผ่านมาได้ 5 วันแล้ว แต่สถานการณ์ในเมืองตาโกลบานกลับทวีความน่าวิตกกว่าเดิม เนื่องจากการขาดแคลนข้าวของเครื่องใช้จำเป็น และบรรดาผู้รอดชีวิตซึ่งรู้สึกสิ้นหวังมากขึ้นทุกทีพากันไปออกันอยู่ที่สนามบิน
    “ทุกคนกำลังตื่นตระหนก” นาวาเอก เอมิลี ชาง แพทย์ของกองทัพเรือบอกกับเอเอฟพี
    เธอกล่าวเสริมว่า “พวกเขาบอกว่าไม่มีอาหารและน้ำดื่ม จึงอยากออกไปจากที่นี่” และระบุว่าบรรดาแพทย์ที่อยู่ในสนามบินเองก็เริ่มขาดแคลนยารักษาโรค อย่างยาปฏิชีวนะ
    “เราให้การรักษากับทุกคน แต่จนกว่ายารักษาโรคจะมาถึงที่นี่ เราก็ยังทำอะไรไม่ได้มากนัก”
    ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ ประมาณการว่ามีประชาชน 10,000 คนเสียชีวิตในตาโกลบาน เมืองเอกของจังหวัดเลย์เต ที่ซึ่งคลื่นสูง 5 เมตรกลืนกินแทบจะทุกอย่างที่ตั้งขวางหน้า ในขณะที่มันพัดกวาดพื้นที่ราบลุ่มเป็นระยะทางหลายร้อยเมตร
    อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี เบนิญโญ อากีโน แห่งฟิลิปปินส์ แถลงเมื่อช่วงดึกของคืนวานนี้ (12) ว่าเขาเชื่อว่ายอดเหยื่อผู้เสียชีวิตที่ยูเอ็นคาดการณ์นั้นสูงกว่าความเป็นจริง โดยระบุเพิ่มเติมว่าตัวเลขที่ทางการฟิลิปปินส์ยืนยันคือ 2,500 ราย
    ที่สนามบินในเมืองตาโกลบาน ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีพบเห็นชาวบ้านผู้รอดชีวิตซึ่งมีสภาพอ่อนเพลีย และอดอยากต่างเบียดเสียด และผลักกันเพื่อให้ตัวเองได้โดยสารเที่ยวบินที่มีน้อยเต็มที ที่จะพาพวกเขาออกไปจากเมืองนี้ ซึ่งยังมีศพเกลื่อนกลาดตามถนนหลายสาย
    เอ็นริเก โอนา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของฟิลิปปินส์ ยอมรับว่าทางการฟิลิปปินส์กำลังเพียรพยายามอย่างหนักเพื่อจัดการกับร่างของผู้เสียชีวิตที่มีจำนวนมาก
    เขาให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุ DZMM ว่าเหตุที่พวกเขาเก็บศพล่าช้า “ก็เพราะขาดแคลนถุงใส่ศพ … เราตั้งใจจะเร่งดำเนินการ เมื่อได้รับถุงใส่ศพเพิ่มขึ้น”

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/DYbUk4KeSSs?feature=player_embedded" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/5ChXvgQe2cs?feature=player_embedded" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ผู้จัดการ
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    น้ำมัน-ห้นสหรัฐฯขึ้น ทองคำลง5วันติดหลังกังวลภาวะศก.จีน
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 พฤศจิกายน 2556 05:33 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี - ราคาน้ำมันขึ้นวานนี้(13) จากการเข้าซื้อของนักลงทุน หลังดิ่งหนักก่อนหน้านี้จนแตะระดับต่ำสุดรอบ 5 เดือน ผิดกับวอลล์สตรีทที่ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลอีกครั้งท่ามกลางผลประกอบการอันสดใสของบริษัทยักษ์ ส่วนทองคำปิดลบเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันแล้ว

    สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 84 เซนต์ ปิดที่ 93.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.31 ดอลลาร์ ปิดที่ 107.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    นักวิเคราะห์มองว่าการปรับขึ้นในวันพุธ(13) เป็นผลจากการเข้าซื้อตามหลังการเทขายเมื่อวันอังคาร(12) มากกว่าปัจจัยทางอุปสงค์และอุปทาน

    ด้านตลาดหุ้นวานนี้(13) ดาวโจนส์ทุบสถิติสูงสุดตลาดกาลรอบใหม่ เมื่อได้ปัจจัยหนุนจากรายงานผลประกอบการอันแข็งแกร่งของห้างเมซีย์ส เพิ่มความหวังต่อฤดูกาลช้อปปิ้งช่วงวันหยุดยาวที่กำลังมาถึง

    ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 69.10 จุด (0.44 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,819.77 จุด แตะระดับสูงสุดตลอดกาลรอบใหม่ เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 14.18 จุด (0.80 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,781.87 จุด ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลรอบใหม่เช่นกัน แนสแดค เพิ่มขึ้น 45.66 จุด (0.01 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,965.58 จุด

    หุ้นของเมซีย์ส ทะยานขึ้นมากกว่าร้อยละ 9 หลังบริษัทคาดหมายว่าจะมีกำไรตลอดทั้งปีเหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ ปัจจัยนี้เองที่ก่อความคึกคักแก่นักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความหวังต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลวันหยุด

    ส่วนราคาทองคำวานนี้(13) ปิดลบเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน จากความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน ชาติผู้บริโภครายใหญ่ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 2.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,268.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.1.JPEG
      0.1.JPEG
      ขนาดไฟล์:
      66.5 KB
      เปิดดู:
      742
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฟิลิปปินส์อลหม่านไร้ขื่อแป เหยื่อไห่เยี่ยนดิ้นรนหนีจากฝันร้าย ตายอีก8หลังรุมแย่งข้าวในโกดังรัฐ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2556 21:53 น.

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/Kox-RHiUMq4?feature=player_embedded" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Kox-RHiUMq4

    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - ภาวะอนาธิปไตยวุ่นวายไร้ขื่อแป กำลังคุกคามตาโกลบาน เมืองเอกของเกาะเลย์เต ตอนกลางของฟิลิปปินส์ ซึ่งถูกมหาพายุไต้ฝุ่น “ไห่เยี่ยน” ถล่มเล่นงานอย่างแหลกลาญ โดยที่เมื่อวันพุธ (13 พ.ย.) ได้เกิดการยิงปืนจนทำให้ทางการต้องยกเลิกการฝังศพหมู่ผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติ แล้วยังมีคนนับพันๆ แย่งชิงที่นั่งบนเครื่องบินเพื่อออกไปเมืองนี้ เวลาเดียวกันนั้นพวกผู้รอดชีวิตที่อดอยาก ก็หมดความอดทนกับความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ จนกลายเป็นต้นเหตุโศกนาฏกรรมการสูญเสียอีก 8 ชีวิต

    ความพยายามของเทศบาลเมืองตาโกลบาน ที่จะฝังศพเหยื่อส่วนหนึ่งของมหาไต้ฝุ่นซึ่งสร้างความเสียหายย่อยยับมาตั้งแต่วันศุกร์ (8 พ.ย.)ที่ผ่านมา ต้องยุติลงอย่างกะทันหันเมื่อมีผู้ยิงปืนเข้าใส่ จนต้องระงับขบวนเดินทางที่กำลังมุ่งหน้าสู่บริเวณที่จะใช้เป็นหลุมฝังศพรวม

    “เราต้องยุติการขุดสถานที่ฝังศพรวมแล้ว เรามีรถบรรทุกที่มีศพอยู่เต็มคัน แต่แล้วก็เกิดมีการยิงปืนขึ้นมา” อัลเฟรด โมรูอัลเดซ นายกเทศมนตรีเมืองตาโกลบาน กล่าวกับเอเอฟพี “ก็เลยเดินหน้าต่อไปไม่ได้”

    ขณะที่ก่อนหน้านั้น เร็กซ์ เอสโทเปเรซ เจ้าหน้าที่สำนักงานอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า มีประชาชน 8 คนเสียชีวิตเมื่อวันอังคาร (12) จากเหตุฝูงชนแห่ไปที่โกดังข้าวของทางการในเมืองอารังกาตัง ที่อยู่ห่างจากตาโกลบาน 17 กิโลเมตร กระทั่งกำแพงด้านหนึ่งพังลงทับเหยื่อ

    แม้ภัยพิบัติจากมหาไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนผ่านพ้นมาถึง 5 วัน แต่สถานการณ์ในตาโกลบาน กลับเลวร้ายลงเนื่องจากเสบียงสำคัญทั้งอาหาร น้ำ และ ยาขาดแคลน และผู้รอดชีวิตพยายามดิ้นรนหนีออกจากเมืองที่เรียกได้ว่าราบเป็นหน้ากลอง บางครอบครัวเล่าว่า รออยู่ที่สนามบินถึง 3 วันแต่ยังไม่มีที่นั่งว่างให้ไปได้

    สหประชาชาติ (ประเมินว่า ไห่เยี่ยนอาจมีผู้เสียชีวิตในฟิลิปปินส์สูงถึง 10,000 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 11.3 ล้านคน โดยที่ 673,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย

    ทว่า ประธานาธิบดีเบนิโญ อากิโนแถลงเมื่อคืนวันอังคาร (12) แสดงความเชื่อมั่นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าว “สูงเกินไป” โดยน่าจะมีเพียง 2,500 คนเท่านั้น แม้จำนวนเหยื่อที่ได้รับการยืนยันจากทางการแดนตากาล็อกก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยยอดล่าสุดเมื่อบ่ายวันพุธ (13) อยู่ที่ 2,275 ราย และสูญหาย 80 คน ขณะที่ในเมืองตาโกลบาน ยังคงมีศพถูกทิ้งเกลื่อนกลาดให้เห็นคาตา อย่างชนิดยังไม่ต้องไปค้นหาในที่ไกลๆ

    แพทริก ฟูลเลอร์ โฆษกสภากาชาดเอเชีย-แปซิฟิก แสดงความเป็นห่วงว่า สถานการณ์ในตาโกลบานเลวร้ายมาก แต่เขากลัวว่า ในเกาะอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลอาจมีสภาพเลวร้ายกว่าด้วยซ้ำ และคงต้องใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะได้ข้อมูลที่ชัดเจน

    ในส่วนความพยายามบรรเทาทุกข์ของนานาชาตินั้นเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังจากที่หลายประเทศประกาศให้ความช่วยเหลือ อาทิ อเมริกาและอังกฤษที่กำลังส่งกองเรือรบขนลูกเรือและความช่วยเหลือไปยังฟิลิปปินส์

    ทั้งนี้สหรัฐฯระบุว่าจัดส่งยานโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกหลายลำไปด้วย โดยยานแบบนี้บวกกับอากาศยาน “ออสเปรย์” ที่เป็นลูกผสมระหว่างเครื่องบินกับเฮลิคอปเตอร์ และบางลำไปถึงแดนตากาล็อกแล้ว น่าจะใช้บรรเทาทุกข์ได้อย่างเหมาะสม ในสภาพที่ระบบสื่อสารและคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภัยพิบัติของฟิลิปปินส์ ถูกทำลายยับเยิน

    ล่าสุดญี่ปุ่นที่ส่งทหาร50 คนไปให้การสนับสนุนด้านการแพทย์และขนส่งตามคำขอของทางการมะนิลาแล้ว เผยว่า ยินดีที่จะส่งทหารอีก 1,000 คนไปช่วยกู้ภัยในตาโกลบาน พร้อมเรือของกองทัพเรือ 3 ลำและเครื่องบินจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะถือเป็นทีมบรรเทาทุกข์ขนาดใหญ่ที่สุดที่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเคยส่งไปปฏิบัติการในต่างประเทศ

    อย่างไรก็ตาม กว่าที่ความช่วยเหลือต่างๆ เหล่านี้จะไปถึงพื้นที่ประสบภัย ก็ยังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 วัน ขณะที่ผู้รอดชีวิตเริ่มสิ้นหวังกระทั่งเดือดดาลกับความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ

    ตำรวจและทหารหลายร้อยคนลาดตระเวนและตั้งจุดตรวจในตาโกลบานเพื่อป้องกันการปล้นชิง และเอดูอาร์โด เดล โรซาริโอ ประธานสภาการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติเผยว่า ถนนทุกสายและสะพานส่วนใหญ่ในเลย์เตและซามาร์ สองจังหวัดที่เสียหายหนักที่สุด เริ่มใช้การได้แล้ว ทำให้มีความหวังเพิ่มขึ้นว่า ความช่วยเหลือจะไปถึงผู้ประสบภัยในเร็วๆ นี้

    นอกจากนั้น ผู้นำฟิลิปปินส์ยังได้ประกาศภาวะภัยพิบัติทั่วประเทศ เพื่อให้รัฐบาลสามารถควบคุมราคาสินค้า และอนุมัติกองทุนฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

    [​IMG]

    [​IMG]

    http://palungjit.org/attachments/a.2959947/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.1.JPEG
      0.1.JPEG
      ขนาดไฟล์:
      42.2 KB
      เปิดดู:
      767
    • 0.2.JPEG
      0.2.JPEG
      ขนาดไฟล์:
      60.3 KB
      เปิดดู:
      835
    • 0.3.JPEG
      0.3.JPEG
      ขนาดไฟล์:
      72.6 KB
      เปิดดู:
      211
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Norimaki Arale
    Thailand Investment Forum
    6 ชั่วโมงที่แล้ว · แก้ไขแล้ว

    [​IMG]

    ตลอดเดือนนี้ ฝรั่งซัดไม่ยั้ง ถล่มขายทั้งหุ้นและ Futures ถึงแม้วันนี้จะมีรายการ Big lot หุ้น BAY 2 พันกว่าล้าน ซึ่ง "อาจจะ" เป็นฝรั่งขายออกมาก่อนจะ Tender ก็ได้ (ขี้เกียจรอ) แต่ต่อให้ไม่นับยอดนี้ ก็ยังเยอะอยู่ดี (ในภาพ กรอบน้ำเงินคือหุ้น กรอบเทาคือ SET50 Index Futures)
    ทางด้าน SET Index ร่วงไป 38 จุด และเงินบาทอ่อนค่าลง 0.34 THB/USD
    ไม่รู้จะเป็นเหตุเป็นผลกันมากน้อยแค่ไหน (ฝรั่งขาย - หุ้นตก - เงินบาทอ่อน) แต่ที่แน่ ๆ คือมันเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
    FYI
    • ข้อมูลจาก Aspen
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.1.jpg
      0.1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.1 KB
      เปิดดู:
      718
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    [​IMG]

    Toyota K.Motors กับ Min Min
    เมื่อวันอาทิตย์
    เตือนภัยครับ!! ... เกิดเหตุแก๊งวางหินก้อนใหญ่ โผล่แถวถนนเพชรเกษม-นครปฐม โดยวางดักบนถนนตอนกลางคืน พบรถเกิดอุบัติเหตุคืนเดียว 5 คันรวด โดยจะมีการเอาหินก้อนใหญ่ ๆ มาวาง เพื่อให้เกิดเหตุรถชน ซึ่งกำลังระบาด เกือบ 2 อาทิตย์มาแล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยแจ้งพักหลัง ๆ จะมีการวางทุกคืน บางทีก็เอาหินใส่ถุงดำ ให้นึกว่าถุงพลาสติก
    ที่มา : จส.100
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.1.jpg
      0.1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.3 KB
      เปิดดู:
      718
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    [​IMG]

    Active volcanoes in the world: November 6 - November 12, 2013
    Posted by Adonai on November 13, 2013 in category Solar activity

    During past seven days 4 volcanoes had new activity, ongoing activity was reported for 8 volcanoes. This report covers active volcanoes in the world from November 6 - November 12, 2013 based on Smithsonian/USGS criteria.

    New activity/unrest: | Colima, México border | Etna, Sicily (Italy) | Sinabung, Sumatra (Indonesia) | Tungurahua, Ecuador

    Ongoing activity: | Batu Tara, Komba Island (Indonesia) | Chirinkotan, Kuril Islands | Chirpoi, Kuril Islands (Russia) | Copahue, Central Chile-Argentina | Karymsky, Eastern Kamchatka (Russia) | Kilauea, Hawaii (USA) | Sakura-jima, Kyushu | Shiveluch, Central Kamchatka (Russia)

    The Weekly Volcanic Activity Report is a cooperative project between the Smithsonian's Global Volcanism Program and the US Geological Survey's Volcano Hazards Program. Updated by 23:00 UTC every Wednesday, notices of volcanic activity posted on these pages are preliminary and subject to change as events are studied in more detail. This is not a comprehensive list of all of Earth's volcanoes erupting during the week, but rather a summary of activity at volcanoes that meet criteria discussed in detail in the "Criteria and Disclaimers" section. Carefully reviewed, detailed reports on various volcanoes are published monthly in the Bulletin of the Global Volcanism Network.

    New activity/unrest

    COLIMA, México
    19.514°N, 103.62°W; summit elev. 3850 m

    The Washington VAAC reported that between 2315 and 2345 on 9 November a bright thermal anomaly over Colima was detected in satellite images. A diffuse puff of gas and steam observed at 0115 on 10 November possibly contained ash.
    Geologic summary: The Colima volcanic complex is the most prominent volcanic center of the western Mexican Volcanic Belt. It consists of two southward-younging volcanoes, Nevado de Colima (the 4,320 m high point of the complex) on the N and the historically active Volcán de Colima on the S. Volcán de Colima (also known as Volcán Fuego) is a youthful stratovolcano constructed within a 5-km-wide caldera, breached to the S, that has been the source of large debris avalanches. Major slope failures have occurred repeatedly from both the Nevado and Colima cones, and have produced a thick apron of debris-avalanche deposits on three sides of the complex. Frequent historical eruptions date back to the 16th century. Occasional major explosive eruptions (most recently in 1913) have destroyed the summit and left a deep, steep-sided crater that was slowly refilled and then overtopped by lava dome growth.

    ETNA, Sicily (Italy)
    37.734°N, 15.004°E; summit elev. 3330 m

    INGV reported that ash emissions from Etna’s New Southeast Crater (NSEC) occurred at 1251 and 1254 on 6 November and were quickly dispersed by the wind. During 6-7 November several phases of frequent explosions produced ash puffs visible during the daytime and ejected incandescent material from Strombolian activity was visible at night. On 8 November the explosions occurred at intervals of several hours, producing small ash plumes that rose a few hundred meters above the summit and drifted ENE.
    A culminating phase of lava fountains, ash emissions, and lava flows began at 0500 on 11 November, after about 10 hours of gradually intensifying Strombolian activity. Weather conditions prevented visual observations, but a strong increase in the volcanic tremor amplitude was detected. The phase of maximum intensity lasted about 7.5 hours, ending around 1130; the cessation of lava fountaining was followed by a long series of powerful explosions that generated loud bangs heard mostly in the N sector of the volcano. Ash and lapilli fell in areas E and NE. A voluminous lava flow expanded S from the NSEC, and two smaller lava flows traveled ESE and NE. Vigorous Strombolian activity continued, with explosions at intervals of 1-2 minutes, which launched incandescent material as high as 150 m above the crater rim. At night during 11-12 November Strombolian activity ceased and the lava flows were no longer active.

    Geologic summary: Mount Etna, towering above Catania, Sicily's second largest city, has one of the world's longest documented records of historical volcanism, dating back to 1500 BC. Historical lava flows cover much of the surface of this massive basaltic stratovolcano, the highest and most voluminous in Italy. Two styles of eruptive activity typically occur at Etna. Persistent explosive eruptions, sometimes with minor lava emissions, take place from one or more of the three prominent summit craters, the Central Crater, NE Crater, and SE Crater. Flank eruptions, typically with higher effusion rates, occur less frequently and originate from fissures that open progressively downward from near the summit. A period of more intense intermittent explosive eruptions from Etna's summit craters began in 1995. The active volcano is monitored by the Instituto Nazionale di Geofisica e Volcanologia (INGV) in Catania.

    SINABUNG, Sumatra (Indonesia)
    3.17°N, 98.392°E; summit elev. 2460 m

    Based on information from the Jakarta Meteorological Watch Office, webcam data, wind data, and satellite images, the Darwin VAAC reported that on 6 November an ash plume from Sinabung rose to an altitude of 3 km (10,000 ft) a.s.l. The next day an ash plume rose to the same altitude but was not observed in satellite images due to meteorological cloud cover. According to webcam views an eruption on 8 November produced a low-level ash plume. The Jakarta Meteorological Watch Office, the webcam, and satellite data detecting sulfur dioxide indicated two explosions on 10 November. The first one, at 0720, generated an ash plume that rose to an altitude of 3.7 km (12,000 ft) a.s.l. The altitude of the second plume, from an explosion at 1600, was unknown. An ash plume on 11 November rose to an altitude of 3 km (10,000 ft) a.s.l. and drifted less than 20 km SW. The next day an ash plume rose to an altitude of 3.7 km (12,000 ft) a.s.l. and drifted almost 40 km NW.
    According to a news article posted on 12 November, more than 5,000 people from seven villages had evacuated their homes in recent days. The article noted that the government had called for an evacuation of people living within a 3-km radius of Sinabung, but people outside of that zone had also been evacuating.
    Geologic summary: Gunung Sinabung is a Pleistocene-to-Holocene stratovolcano with many lava flows on its flanks. The migration of summit vents along a N-S line gives the summit crater complex an elongated form. The youngest crater of this conical, 2460-m-high andesitic-to-dacitic volcano is at the southern end of the four overlapping summit craters. An unconfirmed eruption was noted in 1881, and solfataric activity was seen at the summit and upper flanks of Sinabung in 1912, although no confirmed historical eruptions were recorded prior to 2010.

    TUNGURAHUA, Ecuador
    1.467°S, 78.442°W; summit elev. 5023 m

    IG reported that activity at Tungurahua remained at moderate levels during 6-12 November. Although cloud cover sometimes prevented visual observations of the crater, ash plumes were observed on most days. An ash plume rose 1 km and drifted W on 7 November. The next day ashfall was reported in Runtún (6 km NNE), Pondoa (8 km N), and Baños (8 km N). On 9 November an ash plume rose 3 km and drifted W, and blocks rolled down the flanks. Ash fell in Choglontus (SW), Bilbao (W), and Cusúa (8 km NW). On 10 and 12 November ash plumes rose 1 km and drifted SW, and 1.5 km and drifted W, respectively. Ashfall was reported in El Manzano (8 km SW) on 12 November.

    Geologic summary: The steep-sided Tungurahua stratovolcano towers more than 3 km above its northern base. It sits ~140 km S of Quito, Ecuador's capital city, and is one of Ecuador's most active volcanoes. Historical eruptions have all originated from the summit crater. They have been accompanied by strong explosions and sometimes by pyroclastic flows and lava flows that reached populated areas at the volcano's base. The last major eruption took place from 1916 to 1918, although minor activity continued until 1925. The latest eruption began in October 1999 and prompted temporary evacuation of the town of Baños on the N side of the volcano.

    Ongoing activity

    BATU TARA, Komba Island (Indonesia)
    7.792°S, 123.579°E; summit elev. 748 m

    Based on analyses of satellite imagery and wind data, the Darwin Volcanic Ash Advisory Centre (VAAC) reported that on 6 November an ash plume from Batu Tara drifted almost 20 km W.
    Geologic summary: The small isolated island of Batu Tara in the Flores Sea about 50 km north of Lembata (formerly Lomblen) Island contains a scarp on the eastern side similar to the Sciara del Fuoco of Italy's Stromboli volcano. Vegetation covers the flanks of Batu Tara to within 50 m of the 748-m-high summit. Batu Tara lies north of the main volcanic arc and is noted for its potassic leucite-bearing basanitic and tephritic rocks. The first historical eruption from Batu Tara, during 1847-52, produced explosions and a lava flow.

    CHIRINKOTAN, Kuril Islands
    48.980°N, 153.480°E; summit elev. 724 m

    SVERT reported that during 4-6 November a thermal anomaly over Chirinkotan was observed. Steam-and-gas emissions during 5-6 November drifted 55-100 km SE. The Aviation Color Code remained at Yellow.

    Geologic summary: The small, mostly unvegetated 3-km-wide island of Chirinkotan occupies the far end of an E-W-trending volcanic chain that extends nearly 50 km west of the central part of the main Kuril Islands arc. Chirinkotan is the emergent summit of a volcano that rises 3000 m from the floor of the Kuril Basin. A small 1-km-wide caldera about 300-400 m deep is open to the SE. Lava flows from a cone within the breached crater reached the north shore of the island. Historical eruptions have been recorded at Chirinkotan since the 18th century. Fresh lava flows also descended the SE flank of Chirinkotan during an eruption in the 1880s that was observed by the English fur trader Captain Snow.

    CHIRPOI, Kuril Islands (Russia)
    46.525°N, 150.875°E; summit elev. 742 m

    SVERT reported that a thermal anomaly from Snow, a volcano of Chirpoi, was detected in satellite images during 4-6 November. Weak steam-and-gas emissions were detected on 4 and 6 November. The Aviation Color Code remained at Yellow.
    Geologic summary: Chirpoi, a small island lying between the larger islands of Simushir and Urup, contains a half dozen volcanic edifices constructed within an 8-9 km wide, partially submerged caldera. The southern rim of the caldera is exposed on nearby Brat Chirpoev Island. Two volcanoes on Chirpoi Island have been historically active. The symmetrical Cherny volcano, which forms the 691 m high point of the island, erupted twice during the 18th and 19th centuries. The youngest volcano, Snow, originated between 1770 and 1810. It is composed almost entirely of lava flows, many of which have reached the sea on the southern coast. No historical eruptions are known from 742-m-high Brat Chirpoev, but its youthful morphology suggests recent strombolian activity.

    COPAHUE, Central Chile-Argentina border
    37.85°S, 71.17°W; summit elev. 2997 m

    OVDAS-SERNAGEOMIN reported that during 16-31 October the webcam installed 18 km SW of Copahue recorded steady fumarolic activity from Del Agrio Crater, which produced plumes that rose 1.8 km above the crater rim. On 28 October the plume changed color, suggesting ash content, and was accompanied by a small explosion recorded at 1252. The Alert Level remained at Yellow.
    Geologic summary: Volcán Copahue is an elongated composite cone constructed along the Chile-Argentina border within the 6.5 x 8.5 km wide Trapa-Trapa caldera that formed between 0.6 and 0.4 million years ago near the NW margin of the 20 x 15 km Pliocene Caviahue (Del Agrio) caldera. The eastern summit crater, part of a 2-km-long, ENE-WSW line of nine craters, contains a briny, acidic 300-m-wide crater lake (also referred to as El Agrio or Del Agrio) and displays intense fumarolic activity. Acidic hot springs occur below the eastern outlet of the crater lake, contributing to the acidity of the Río Agrio, and another geothermal zone is located within Caviahue caldera about 7 km NE of the summit. Infrequent mild-to-moderate explosive eruptions have been recorded at Copahue since the 18th century. Twentieth-century eruptions from the crater lake have ejected pyroclastic rocks and chilled liquid sulfur fragments.

    KARYMSKY, Eastern Kamchatka (Russia)
    54.05°N, 159.45°E; summit elev. 1536 m

    KVERT reported that moderate seismic activity at Karymsky was detected during 1-8 November. Satellite images detected a daily bright thermal anomaly on the volcano, possibly indicating weak Vulcanian and Strombolian activity. Ash plumes drifted 184 km SE and E during 2-3 and 5-6 November. The Aviation Color Code remained at Orange.

    Geologic summary: Karymsky, the most active volcano of Kamchatka's eastern volcanic zone, is a symmetrical stratovolcano constructed within a 5-km-wide caldera that formed about 7,600-7,700 radiocarbon years ago. Construction of the Karymsky stratovolcano began about 2,000 years later. The latest eruptive period began about 500 years ago, following a 2,300-year quiescence. Much of the cone is mantled by lava flows less than 200 years old. Historical eruptions have been Vulcanian or Vulcanian-Strombolian with moderate explosive activity and occasional lava flows from the summit crater. Most seismicity preceding Karymsky eruptions has originated beneath Akademia Nauk caldera, which is located immediately S of Karymsky volcano and erupted simultaneously with Karymsky in 1996.

    KILAUEA, Hawaii (USA)
    19.421°N, 155.287°W; summit elev. 1222 m

    During 6-12 November HVO reported that the circulating lava lake occasionally rose and fell in the deep pit within Kilauea's Halema'uma'u Crater. The plume from the vent continued to deposit variable amounts of ash, spatter, and Pele's hair onto nearby areas. At Pu'u 'O'o Crater, glow emanated from spatter cones on the N and S portions of the crater floor. On 5 November a cone erupted a low fountain of lava which waned quickly; it was the first lava erupted in Pu'u 'O'o in several months.

    The 6.4-km-long Kahauale’a 2 lava flow, fed by the NE spatter cone, was active with scattered break-out flows and burned the forest N of Pu'u 'O'o. On 7 November geologists confirmed that, after being active for more than two years and producing some memorable ocean entries, the Peace Day flow, to the SE of Pu'u 'O'o, was no longer active.

    Geologic summary: Kilauea, one of five coalescing volcanoes that comprise the island of Hawaii, is one of the world's most active volcanoes. Eruptions at Kilauea originate primarily from the summit caldera or along one of the lengthy E and SW rift zones that extend from the caldera to the sea. About 90% of the surface of Kilauea is formed of lava flows less than about 1,100 years old; 70% of the volcano's surface is younger than 600 years. A long-term eruption from the East rift zone that began in 1983 has produced lava flows covering more than 100 sq km, destroying nearly 200 houses and adding new coastline to the island.

    SAKURA-JIMA, Kyushu
    31.585°N, 130.657°E; summit elev. 1117 m

    The Tokyo VAAC reported that during 6-8 and 10-11 November, explosions from Sakura-jima generated plumes that rose to altitudes of 1.8-3 km (6,000-10,000 ft) a.s.l. and drifted N, NE, E, and SE. On 8 November a pilot observed an ash plume drifting at an altitude of 2.1 km (7,000 ft) a.s.l.
    Geologic summary: Sakura-jima, one of Japan's most active volcanoes, is a post-caldera cone of the Aira caldera at the northern half of Kagoshima Bay. Eruption of the voluminous Ito pyroclastic flow was associated with the formation of the 17 x 23-km-wide Aira caldera about 22,000 years ago. The construction of Sakura-jima began about 13,000 years ago and built an island that was finally joined to the Osumi Peninsula during the major explosive and effusive eruption of 1914. Activity at the Kita-dake summit cone ended about 4,850 years ago, after which eruptions took place at Minami-dake. Frequent historical eruptions, recorded since the 8th century, have deposited ash on Kagoshima, one of Kyushu's largest cities, located across Kagoshima Bay only 8 km from the summit. The largest historical eruption took place during 1471-76.

    SHIVELUCH, Central Kamchatka (Russia)
    56.653°N, 161.360°E; summit elev. 3283 m

    KVERT reported that during 1-8 November several strong explosions from Shiveluch generated ash plumes that rose to an maximum altitude of 7 km (24,600 ft) a.s.l. Ash plumes drifted more than 290 km SE. Viscous lava continued to effuse onto the N and NE flanks of the lava dome, accompanied by hot avalanches, incandescence, ash explosions, and fumarolic activity. A thermal anomaly was detected daily in satellite images. The Aviation Color Code remained at Orange.

    Geologic summary: The high, isolated massif of Shiveluch volcano (also spelled Sheveluch) rises above the lowlands NNE of the Kliuchevskaya volcano group and forms one of Kamchatka's largest and most active volcanoes. The currently active Molodoy Shiveluch lava-dome complex was constructed during the Holocene within a large breached caldera formed by collapse of the massive late-Pleistocene Strary Shiveluch volcano. At least 60 large eruptions of Shiveluch have occurred during the Holocene, making it the most vigorous andesitic volcano of the Kuril-Kamchatka arc. Frequent collapses of lava-dome complexes, most recently in 1964, have produced large debris avalanches whose deposits cover much of the floor of the breached caldera. Intermittent explosive eruptions began in the 1990s from a new lava dome that began growing in 1980. The largest historical eruptions from Shiveluch occurred in 1854 and 1964.

    Source: GVP
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.0.jpg
      0.0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.8 KB
      เปิดดู:
      674
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร

    [​IMG]

    (พระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์) พระสังฆปาละ พระเถระชาวอินเดียเชื้อสายทิเบต แห่งอาณาจักรฟูนัน ในสมัยเหลียง แปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน
    พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก (釋聖傑) แปลไทย ... วันที่ 27 มิถุนายน 2553 ถึง 3 กรกฎาคม 2553

    ส่วนที่ 1

    ข้าพเจ้าขออุทิศศรัทธาและความเพียรทั้งกรรมสาม ด้วยการแปลพระสูตรนี้ น้อมบูชาพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ ผู้เป็นธรรมราชกุมาร พระองค์ได้สมญานามว่า อจินไตยพุทธมารดา โดยชอบแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งความเป็นอจินไตยบุตรของพระองค์ จนสิ้นชาติอันเป็นที่สุด เบื้องหน้า เพื่อสืบพระพุทธโคตรอจินไตย ขออานาจกุศลนี้จงสาเร็จเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กับท่านบิดามารดาผู้ทรงพระคุณ ของข้าพเจ้าในชาตินี้แลในชาติอดีตที่ไม่มีประมาณ ขอให้ท่านเหล่านั้น และข้าพเจ้ามีปัญญาญาณวิมลและไพบูลย์ ประดุจพระมัญชุศรี ผู้เลิศแห่งอจินไตยปัญญา พระองค์นี้ด้วยเทอญ..

    ข้าพเจ้าสดับมาดั่งนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในสวนของท่านอนาถบิณฑิกะในเมืองสาวัตถี พร้อมด้วยบรรดามหาภิกษุจานวนหนึ่งหมื่น และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจานวนหนึ่งแสน ที่ล้วนแต่ตั้งอยู่ในภูมิอันไม่เสื่อมถอย ในอดีตที่ผ่านมาแสนนานก็ได้สักการะพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประมาณพระองค์ไม่ได้มาแล้ว แลได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ยังประโยชน์ให้สาเร็จแก่หมู่สัตว์ ชาระพุทธโลกธาตุให้บริสุทธิ์ ได้บรรลุถึงธารณี มีปฏิภาณไหวพริบ ได้สาเร็จแล้วซึ่งปัญญาญาณ สมบูรณ์ในมวลหมู่กุศล ได้ใช้อภิญญาอันเป็นอิสระเที่ยวไปในพุทธเกษตรทั้งปวง และเปล่งประภาสรัศมีที่ไม่มีประมาณ กล่าวแสดงพระสัทธรรมที่ไม่มีประมาณ ได้สั่งสอนพระโพธิสัตว์ทั้งปวงให้เข้าสู่ความเป็นเอกลักษณะ(ความเป็นหนึ่งเดียว, ไม่มีสอง) ได้บรรลุถึงความไม่หวาดกลัว ใช้ความดีบาราบหมู่มาร ทั้งสั่งสอนเหล่าพาหิระที่เห็นผิดให้หลุดพ้น หากมีสรรพสัตว์ที่ยินดีในสาวกก็จะกล่าวสาวกยาน ผู้ยินดีปัจเจกก็จะกล่าวปัจเจกยาน ผู้ยินดีในโลกก็กล่าวโลกยาน ได้ใช้ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญาสงเคราะห์สรรพสัตว์ทั้งหลาย โปรดผู้ยังไม่ได้โปรด ผู้ยังไม่หลุดพ้นก็ช่วยให้หลุดพ้น ผู้ไม่สงบก็ช่วยให้สงบ ผู้ยังไม่นิพพานก็ยังให้นิพพาน ได้ประพฤติโพธิสัตวจรรยาอย่างถึงที่สุด สามารถเข้าสู่พุทธธรรมปิฎกทั้งปวงได้อย่างช่าชอง อันกุศลนานาเหล่านี้ก็ล้วนแต่บริบูรณ์พร้อม นามกรแห่งท่านเหล่านั้นมี พระมัญชุศรีธรรมราชกุมารโพธิสัตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระสมันตประภาสโพธิสัตว์ พระศูรวีริยโพธิสัตว์ พระไภษัชยราชโพธิสัตว์ พระรัตนปาณีโพธิสัตว์ พระรัตนมุทราโพธิสัตว์ พระจันทรประภาสโพธิสัตว์ พระอาทิตยศุทธิโพธิสัตว์ พระมหาพละโพธิสัตว์ พระอนันตพลโพธิสัตว์ พระวิริยปราปต์โพธิสัตว์ พระมหาธวัชพลโพธิสัตว์ พระธรรมลักษณโพธิสัตว์ พระอิศวรราชโพธิสัตว์ บรรดาพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ดังนี้จานวนหนึ่งแสน พร้อมทั้งเทวดา นาค ปีศาจอื่นๆ อีกเป็นมหาชนหมู่ใหญ่ ที่ล้วนแต่มาประชุมกันอยู่

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคในยามราตรีทรงเปล่งมหารัศมีที่รุ่งเรือง มีวรรณะเขียว เหลือง แดง ขาว และสีประภัสสรดังผลึกหลากสี ส่องสว่างไปยังโลกธาตุต่างๆทั่วทศทิศไม่มีขอบเขตประมาณ หมู่สัตว์ทั้งปวงที่ได้สัมผัสรัศมีนี้ ต่างลุกขึ้นมาจากที่นอน เมื่อได้ทอดทัศนารัศมีนี้จึงบรรลุถึงธรรมปีติ ต่างก็มีความสงสัยว่า “รัศมีนี้มาแต่ที่ใดหนอ ถึงสว่างไปทั่วโลกธาตุ ยังให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้บรรลุถึงความผาสุกได้เช่นนี้” เมื่อมีมนสิการเช่นนี้แล้ว แต่ละรัศมีหนึ่งๆ ยังบังเกิดเป็นมหารัศมีอีก สว่างออกไปเป็นที่วิเศษอัศจรรย์ยิ่งกว่ารัศมีก่อนหน้านั้น เช่นนี้เรื่อยไปจนถึงสิบเท่า บรรดาพระโพธิสัตว์และภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทพ นาค ยักษ์ ครุฑ อสุร กินนร คนธรรพ์ มโหราค มนุษย์แลอมนุษย์เป็นอาทิ ต่างเกิดอุเพงคปีติ ปลาบปลื้มใจจนตัวฟูลอย เพราะสัมผัสสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต่างก็คิดว่า “จะต้องเป็นพระตถาคตที่ทรงเปล่งรัศมีอย่างนี้ เราทั้งหลายพึงรีบไปเฝูาฯพระพุทธองค์ แล้วนมัสการอย่างใกล้ชิดเถิด” ในเวลานั้น พระมัญชุศรีและพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายที่ได้เห็นรัศมีนี้ ก็โสมนัสปลาบปลื้มเป็นอุเพงคปีติไปทั่วสรรพางค์แลจิตใจ ต่างได้มาจากที่ของตนถึงยังประตูของเชตวันวิหาร เวลานั้น พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระปูณณมันตาณีบุตร พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระมหาโกฏฐิตะ ก็ล้วนได้มาจากที่ของตนถึงยังประตูของ เชตวันวิหาร ท้าวศักระ จตุโลกบาล สูงขึ้นไปจนถึงอกนิษฐาพรหมโลก ก็ได้เห็นรัศมีนี้ แล้วอุทานว่าไม่เคยมีมาแต่กาลก่อน กับทั้งบริษัทบริวารต่างก็จัดแจงนาทิพยมาลี ทิพยสุคนธ์ ทิพยดนตรี ทิพยรัตนอาภรณ์ทั้งหลายทั้งปวงมายังประตูของเชตวันวิหาร ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาอื่นๆ เทพ นาคอันมีหมู่สัตว์ในคติแปดอื่นๆ ที่ได้พบรัศมีที่น่ายินดีนี้ ก็ล้วนมาถึงยังประตูแห่งนี้ด้วย

    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสัพพัญญุตญาณ ทรงทราบว่ามหาชนต่างมาประชุมอยู่ประตูด้านนอกแล้ว ทรงลุกขึ้นจากที่ประทับแล้วเสด็จไปยังนอกประตู ประทับขัดสมาธิบนธรรมอาสน์ของพระองค์ แล้วตรัสกะพระสารีบุตรว่า “ในยามเช้านี้ เธอได้มาถึงนอกประตูเป็นคนแรกหรือ?” พระสารีบุตรทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระมัญชุศรีกับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ได้มาถึงก่อนพระเจ้าข้า”

    เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีรับสั่งกะพระมัญชุศรีว่า “ยามเช้านี้ เธอได้มาถึงประตูเป็นคนแรกหรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “เป็นเช่นนั้นๆ พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ในยามราตรีได้เห็นมหารัศมีที่ส่องสว่างไปสิบเท่า ไม่เคยปรากฏมีมาก่อน ดวงจิตโสมนัสเป็นอุเพงคปีติพ้นประมาณ เหตุนี้จึงมานมัสการพระตถาคตอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งปรารถนาจะได้สดับอมฤตธรรมอันวิเศษด้วย พระเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “บัดนี้ เธอได้เห็นตถาคตอย่างแท้จริงหรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! ธรรมกายแห่งพระตถาคตแต่เดิมมาก็ไม่อาจเห็นได้ เพื่อสรรพสัตว์เป็นเหตุข้าพระองค์จึงมาทัศนาพระพุทธองค์ ธรรมกายของพระองค์นั้นเป็นอจินไตย(นึกคิดเอาไม่ได้) ไร้ลักษณะ ไร้รูปร่าง มิได้มาแลมิได้ไป มิใช่มีแลมิใช่ไม่มี มิใช่เห็นแลมิใช่ไม่เห็น ดั่งตถตา (ความเป็นไปอย่างนั้นเอง) ที่ไม่ได้มาและไม่ได้ไป มิใช่การปราศจาก และมิใช่การไม่ปราศจาก มิใช่สถานที่แลมิใช่การไม่ใช่สถานที่ มิใช่การเป็นหนึ่ง มิใช่การเป็นสอง มิใช่ความบริสุทธิ์ มิใช่มลทิน ไม่เกิดไม่ดับ ข้าพระองค์ทัศนาพระตถาคตอยู่อย่างนี้พระเจ้าข้า”

    มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า “บัดนี้เธอได้เห็นตถาคต ด้วยลักษณะเช่นนี้หรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! ที่แท้แล้วข้าพระองค์ไร้ซึ่งการเห็น จึงไร้ซึ่งการเห็นลักษณะใดๆ” ครั้งนั้นพระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ข้าพเจ้าไม่เข้าใจที่ท่านกล่าว เหตุไฉนจึงทัศนาพระตถาคตอย่างนี้?” พระมัญชุศรีตอบว่า “พระคุณท่านสารีบุตร ข้าพเจ้าไม่ได้ทัศนาพระตถาคตอย่างนี้”

    พระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ที่ท่านกล่าวมานี้ ยิ่งไม่อาจเข้าใจ” พระมัญชุศรีตอบว่า “อันการไม่อาจเข้าใจก็คือปัญญาปารมี ปัญญาปารมี มิใช่การสามารถเข้าใจแลมิใช่การไม่อาจเข้าใจ” พระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านเกิดจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์หรือไม่? ท่านประพฤติบารมีทั้งหก เพื่อสรรพสัตว์หรือไม่? แลได้เข้าสู่นิพพานเพื่อสรรพสัตว์หรือไม่เล่า?”

    พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า “ดั่งที่ท่านกล่าวมา ว่าเรานั้นเกิดจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ ได้ประพฤติบารมีหก ได้เข้าสู่นิพพาน แต่ทว่าที่แท้แล้วความเป็นสรรพสัตว์ก็ไม่อาจเข้าถึง ไร้ลักษณะไร้รูปร่าง ไม่เพิ่มไม่ลด ดูก่อนสารีบุตร ท่านมีความคิดอยู่เสมออย่างนี้ว่า “แต่ละโลกธาตุหนึ่งๆ มีพระพุทธเจ้าเท่าเม็ดทรายในคงคานที ที่ได้ดารงพระชนม์อยู่เป็นกัลป์เท่าเม็ดทรายในคงคานที ได้ตรัสธรรมหนึ่งๆ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ให้หลุดพ้น และสรรพสัตว์หนึ่งๆ ก็ล้วนได้ดับลง” ท่านมีความคิดเช่นนี้หรือไม่?” พระสารีบุตรตอบ “ท่านมัญชุศรี เรามีความคิดอย่างนี้อยู่เสมอ”

    พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า “อุปมาอากาศที่นับคานวณไม่ได้ สรรพสัตว์ก็นับคานวณไม่ได้ เมื่อไม่อาจข้ามพ้นอากาศไปได้ ก็ไม่อาจข้ามพ้นสรรพสัตว์เช่นกัน เหตุไฉนนั้นฤๅ? สรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยอากาศ แล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะสั่งสอนสรรพสัตว์ได้อย่างไร?” พระสารีบุตรกล่าวว่า “หากสรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยอากาศ แล้วเหตุไฉนท่านจึงแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ยังให้บรรลุโพธิญาณเล่า?” พระมัญชุศรีตอบว่า “อันโพธินั้นที่แท้ไม่อาจเข้าถึง แล้วเราจะกล่าวธรรมอันใดเพื่อยังให้สรรพสัตว์เข้าถึงเล่า? เหตุไฉนนั้นฤๅ ท่านสารีบุตร โพธิกับสรรพสัตว์ ไม่เป็นหนึ่งไม่เป็นสอง ไม่แตกต่างไม่ปรุงแต่ง ไร้นามไร้ลักษณะ ที่แท้แล้วมิได้มี”

    สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งพระรัศมีออกจะพระอุษณีมังสะ อันเป็นมหาบุรุษลักษณะ มีความวิเศษหาได้ยากยิ่ง มิอาจพรรณนาได้ เข้าสู่เศียรของพระมัญชุศรีธรรมราชกุมารโพธิสัตว์มหาสัตว์ แล้วย้อนออกจากเศียรส่องไปยังมหาชน เมื่อส่องมหาชนแล้ว ก็ยังแผ่ไปทั่วโลกธาตุทั้งหลายในทศทิศ เวลานั้นเมื่อมหาชนได้สัมผัสรัศมีนี้ กายและจิตก็เป็นสุขเกษมอย่างไม่เคยมีมาก่อน ต่างก็ลุกขึ้นจากอาสนะ แล้วแลมองพระโลกนาถเจ้ากับพระมัญชุศรี ต่างก็มีมนสิการว่า “วันนี้พระตถาคตทรงเปล่งรัศมีประเสริฐและอัศจรรย์อย่างนี้ เข้าสู่เศียรของท่านมัญชุศรีธรรมราชกุมาร แล้วยังย้อนจากเศียรส่องไปยังมหาชน เมื่อส่องมหาชนแล้วยังแผ่ไปในทิศทั้งสิบ อันจะไร้ซึ่งเหตุปัจจัยก็หาไม่ จะต้องทรงแสดงพระสัทธรรมเป็นแน่ เราทั้งหลายจะต้องพากเพียรบาเพ็ญ ยินดีประพฤติตามธรรมที่ทรงแสดง” เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ต่างก็ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! วันนี้พระตถาคตทรงเปล่งรัศมีนี้ จะไร้ซึ่งเหตุปัจจัยก็หาไม่ จะทรงแสดงพระสัทธรรมเป็นแน่แท้ ข้าพระองค์ทั้งหลายใคร่จะได้สดับยิ่งนัก ยินดีจะประพฤติตามธรรมที่ทรงแสดง” เมื่อกล่าวจบเช่นนี้ จึงยืนนิ่งอยู่

    ครั้งนั้นพระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระองค์ทรงฉายพระรัศมีมาพูนเพิ่มธรรมพละให้ข้าพระองค์ อันพระรัศมีนี้หาได้ยากยิ่งนัก ไร้รูปไร้ลักษณะ ปราศจากการไป ปราศจากการมา ไม่เคลื่อนไหวไม่แน่นิ่ง มิใช่การได้เห็น มิใช่การได้ยิน มิใช่ความรู้สึก มิใช่ความเข้าใจ สรรพสัตว์ทั้งปวงมิอาจพิจารณาเห็นได้ ไร้ซึ่งความยินดี ไร้ซึ่งความหวาดกลัว แลไร้ซึ่งการแบ่งแยก ข้าพระองค์ได้รับพระพุทธ บัญชา จึงพรรณนาถึงรัศมีนี้ ยังให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้เข้าสู่ปัญญาที่ปราศจากสัญญา(ปัญญาที่ไม่ได้มาจากการจดจามา)”

    ครั้งนั้น พระพุทธองค์ตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอจงกล่าวโดยเร็วเถิด ตถาคตยินดีกับเธอด้วย” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! อันรัศมีนี้คือปัญญาปารมี ปัญญาปารมีคือพระตถาคต พระตถาคตคือสรรพสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์บาเพ็ญปัญญาปารมีอยู่อย่างนี้”

    พระพุทธองค์ตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “ดูก่อนกุลบุตร บัดนี้เธอกล่าวปัญญาปารมีที่ลึกซึ้งอยู่อย่างนี้ ตถาคตจะถามเธอว่า หากมีบุคคลถามเธอว่า “มีสรรพสัตวธาตุอยู่เท่าใด?” เธอจะตอบว่าอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า “สรรพสัตวธาตุนับได้เท่ากับตถาคตธาตุ”

    “มัญชุศรี หากถามเธออีกว่า “สรรพสัตวธาตุกว้างหรือแคบอย่างไร?” เธอจะตอบอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า “กว้างและแคบเท่าพุทธธาตุ”

    “มัญชุศรี หากถามเธออีกว่า “สรรพสัตวธาตุข้องเกี่ยวกับสถานที่ใด?” เธอจะตอบอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า พระตถาคตข้องเกี่ยวอย่างไร สรรพสัตว์ก็อย่างนั้น”

    “มัญชุศรี หากถามเธออีกว่า “สรรพสัตวธาตุตั้งอยู่ที่แห่งใด?” เธอจะตอบอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า “ตั้งอยู่ที่นิพพานธาตุ”

    มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า “เธอบาเพ็ญปัญญาปารมีอย่างนี้ แล้วปัญญาปารมีมีที่ตั้งอยู่หรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! ปัญญาปารมีไม่มีที่ตั้งอยู่”

    มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า “หากปัญญาปารมีไม่มีที่ตั้งอยู่ แล้วเธอบาเพ็ญอย่างไร? ศึกษาอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากปัญญาปารมีมีที่ตั้งอยู่แล้วไซร้ ก็ย่อมไม่มีการบาเพ็ญแลศึกษา”

    มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า “เมื่อสมัยที่เธอบาเพ็ญปัญญา กุศลมีเพิ่มและลดหรือไม่? ” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! กุศลไม่อาจเพิ่มแลไม่อาจลด หากมีการเพิ่มและลดย่อมมิใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมี

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ไม่ว่าธรรมจะเพิ่ม ไม่ว่าธรรมจะลด ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี ไม่ขาดสิ้นจากธรรมของบุถุชน ไม่ยึดมั่นในธรรมแห่งพระตถาคต จึงเป็นการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? พระผู้มีพระภาค! อันปัญญาปารมี มิใช่ต้องบรรลุธรรมแล้วจึงบาเพ็ญ มิใช่ไม่บรรลุธรรมแล้วจึงบาเพ็ญ มิใช่ประพฤติธรรมแล้วจึงบาเพ็ญ มิใช่ไม่ประพฤติธรรมแล้วจึงบาเพ็ญ

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! การไม่เข้าถึง การไม่เพิกเฉย คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี ด้วยเหตุไฉนนั่นฤๅ? เพราะเหตุที่ไม่ใช่ความทุกข์ของสังสารวัฏ แลไม่ใช่กุศลของพระนิพพาน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากบาเพ็ญปัญญาปารมีอย่างนี้ เป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่น ไม่น้อมรับ ไม่วางเฉย ไม่ปล่อยวาง ไม่เพิ่ม ไม่ลด ไม่เกิดขึ้น ไม่ดับลง

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา จะมีมนสิการอย่างนี้ว่า “ธรรมนี้สูง ธรรมนี้กลาง ธรรมนี้ต่า” อันหาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุที่ธรรมไม่มีสูง กลาง ต่า พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ได้บาเพ็ญปัญญาปารมีอยู่อย่างนี้”

    มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “บรรดาพุทธธรรมทั้งปวงมิใช่อธิบดีเป็นเลิศกระนั้นหรือ? ” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! อันพุทธธรรม โพธิสัตวธรรม สาวกธรรม ปัจเจกโพธิธรรม จนถึงบุถุชนธรรม ล้วนไม่อาจเข้าถึงได้ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะที่สุดก็เป็นศูนยตา ในศูนยตาอันเป็นที่สุดนั้นก็ไร้ซึ่งพุทธธรรมและบุถุชนธรรม ในบุถุชนธรรมนั้นก็ไม่ได้
    มีศูนยตาเป็นที่สุด เหตุไฉนนั่นฤๅ? เหตุเพราะศูนยตาหรือไม่ศูนยตาก็ไม่อาจบรรลุถึงได้ทั้งสิ้น”

    มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “พุทธธรรมไม่เป็นอนุตตระกระนั้นหรือ? ” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ไม่มีธรรมประการเดียวแม้เท่ากับปรมาณูธุลีที่จะชื่อว่าอนุตตระ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะทานปารมีนั้นก็ศูนยตา จนถึงปัญญาปารมีก็ศูนยตา ทศพละก็ศูนยตา (1) เวสารัชชะ ก็ศูนยตา (2) อาเวณิกพุทธธรรม ก็ศูนยตา (3) จนถึงความเป็นสัพพัญญูก็ศูนยตา (4) ในศูนยตาไร้ซึ่งความเป็นอนุตตระ ในความเป็น อนุตตระก็ไร้ซึ่งศูนยตา เหตุเพราะศูนยตาหรือไม่ศูนยตาก็ไม่อาจบรรลุถึงได้ พระผู้มีพระภาค! อจินไตยธรรมก็คือปัญญาปารมี”

    หมายเหตุ
    (1) ทสพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ ๑๐ คือ พระญาณอันเป็นกาลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทาให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
    ๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
    ๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกาหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
    ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนาไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนาไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทาอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
    ๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
    ๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสงบใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
    ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
    ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
    ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทาให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
    ๙. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the decease and rebirth of beings)
    ๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants) M.I.69; A.V.33; Vbh.336. ม.มู.๑๒/๑๖๖/๑๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๒๑/๓๕; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๙/๔๕๔.
    (2) เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ ๔ (ความไม่ครั่นคร้าน, ความแกล้วกล้าอาจหาญ, พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม - intrepidity; self-confidences) พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตาม จักทักท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะเหล่านี้ คือ (The Perfect One sees no grounds on which anyone can with justice make the following charges;)
    ๑. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้ - You who claim to be fully self-enlightened are not fully enlightened in these things.)
    ๒. ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น - You who claim to gave destroyed all taints have not utterly destroyed these taints.)
    ๓. อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง - Those things which have been declared by you to be harmful have no power to harm him that follows them.
    ๔. นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนาผู้ทาตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบจริง - The Doctrine taught by you for the purpose of utter extinction of suffering does not lead him who acts accordingly to such a goal.)
    /จบ/

    มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “เธอไม่ตรึกถึงพุทธธรรมกระนั้นหรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากข้าพระองค์ตรึกถึงพุทธธรรมแล้วไซร้ ข้าพระองค์ย่อมเห็นพุทธธรรมว่าเป็นอนุตตระ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะความเป็นอนุตตระนั้นไม่มีอยู่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เบญจขันธ์ (5) อายตนะภายใน และภายนอก (6) ธาตุสิบแปด (7) ที่สุดแล้วก็ไม่อาจเข้าถึง บรรดาพุทธธรรมก็ไม่อาจเข้าถึง ในความไม่อาจเข้าถึงนั้นก็เข้าถึงไม่ได้ เหตุเพราะไม่อาจเข้าถึงสิ่งใดได้ พระผู้มีพระภาค! ในปัญญาปารมี ความเป็นบุถุชนจนถึงความเป็นพระพุทธะ ความปราศจากธรรม ความปราศจากอธรรม ข้าพระองค์จะต้องตรึกถึงธรรมใดอีกเล่า พระเจ้าข้า?”

    หมายเหตุ
    ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าไม่ครั่นคร้ามอยู่ (Since this is so, he abides in the attainment of security, of fearlessness and intrepidity.) เวสารัชชะ ๔ นี้ คู่กับทศพล หรือ ตถาคตพล ๑๐ (เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ทศพลญาณ) เป็นธรรมที่ทาให้พระตถาคต ทรงปฏิญญาฐานะแห่งผู้นา เปล่งสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป (Endowed with these four kinds of intrepidity, the Perfect One claims the leader's place, roars his lion's roar in assemblies, and sets rolling the Divine Wheel.)
    (3) พุทธธรรม ๑๘ ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทสระบุจานวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จาแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่
    ๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทาอะไรทาด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ)
    ๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
    ๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
    ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
    ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน; คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จาแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ ๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต ๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน ๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๑๐. ไม่มี ความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย) ๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย )๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย) ๑๓. ไม่มีการเล่น ๑๔. ไม่มีการพูดพลาด ๑๕. ไม่มีการทาพลาด ๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน๑๗. ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑๘. ไม่มีอกุศลจิต

    (4) สัพพัญญู แปลว่า พระพุทธเจ้า,พระสัพพัญญู,ผู้รู้ธรรมทั้งปวง. ที่ทรงได้นามว่าสัพพัญญู เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวงโดยปรกติ
    (5) ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต — the Five Groups of Existence; Five Aggregates) 1. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ — corporeality) 2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ — feeling; sensation) 3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกาหนดหมาย, ความกาหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดา แดง เป็นต้น — perception) 4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนา ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต — mental formations; volitional activities) 5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6 — consciousness)
    (6) อายตนะ หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ ทาให้จิตและเจตสิก ประกอบด้วย 1.อายตนะภายใน มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2.อายตนะภายนอก มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ รวมอายตนะภายในและภายนอก เรียกว่า “อายตนะ 12”
    (7) ธาตุ 18 (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกาหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจาเพาะตัว อันพึงกาหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ — elements) 1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — eye element) 2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์ — visible-data element) 3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ — eye-consciousness element) 4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท — ear element) 5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์ — sound element) 6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ — ear-consciousness element) 7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท — nose element) 8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์ — odor element) 9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ — nose-conscious-ness element) 10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท — tongue element) 11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์ — flavor element) 12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ — tongue-consciousness element) 13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท — body element) 14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ — tangible-data element) 15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ — body-consciousness element) 16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน — mind element) 17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element) 18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ — mind-consciousness element)
    /จบ/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.1.jpg
      0.1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123.4 KB
      เปิดดู:
      1,111
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร

    [​IMG]

    ส่วนที่ 2

    มีพระพุทธดารัสว่า “ดูก่อนกุลบุตร หากไร้ซึ่งการตรึกถึง เธอก็ไม่พึงกล่าวว่า “นี่คือบุถุชนธรรม นี่คือปัจเจกโพธิธรรม” จนถึงไม่พึงกล่าวว่า “นี่คือพุทธธรรม” เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะ(สิ่งเหล่านั้น) ไม่อาจเข้าถึง” (พระมัญชุศรีทูลว่า) “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ที่จริงข้าพระองค์ไม่ได้กล่าวบุถุชนธรรมจนถึงพุทธธรรมเลย เหตุไฉนนั่นฤๅ? เหตุเพราะไม่ได้บาเพ็ญในปัญญาปารมี”

    มีพระพุทธดารัสว่า “ดูก่อนกุลบุตร เธอก็ไม่พึงมีมติเช่นนี้ว่า “นี่คือกามธาตุ นี้คือรูปธาตุ นี่คืออรูปธาตุ” เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะ(สิ่งเหล่านั้น)ไม่อาจเข้าถึง” (พระมัญชุศรีทูลว่า) “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! กามธาตุนั้นว่างจากสภาวะของกามธาตุ จนถึงอรูปธาตุก็ว่างจากสภาวะของอรูปธาตุ ในความว่างไร้ซึ่งการกล่าว ข้าพระองค์ก็ไม่ได้กล่าว พระผู้มีพระภาค! อันการบาเพ็ญปัญญาปารมี ไม่เห็นว่าสูง ไม่เห็นว่าไม่สูง เหตุไฉนนั้นฤๅ? พระผู้มีพระภาค! การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ติดยึดในพุทธธรรม ไม่เพิกเฉยในบุถุชนธรรม เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะที่สุดแล้วในศูนยตาก็ไร้ซึ่งความยึดมั่นและการวางเฉย”

    มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอสามารถกล่าวปัญญาปารมีที่ลึกซึ้งเช่นนี้ นี่คือเครื่องหมายแห่งพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ดูก่อนมัญชุศรี หากกุลบุตร กุลธิดา มิใช่แค่การได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าจานวนสิบล้านพระองค์ จนถึงการได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าจานวนไม่มีประมาณไม่มีขอบเขต ถึงจะได้สดับปัญญาปารมีอันคัมภีรภาพนี้ โดยไม่ตื่นตระหนกหวั่นเกรง”

    พระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์อีกว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เพราะข้าพระองค์ได้รับพระพุทธานุภาพ จึงจะขอกล่าวปัญญาปารมีอันคัมภีรภาพอีก” มีพุทธดารัสว่า “สาธุๆ ขอให้เธอกล่าวเถิด” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่ได้บรรลุถึงการเกิดแห่งธรรม (คือไม่มีธรรมใดที่จะเกิดขึ้น) ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมไร้ซึ่งการเกิด หากไม่ได้บรรลุถึงการตั้งอยู่แห่งธรรม (คือไม่มีธรรมใดที่ตั้งอยู่) ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมเป็นเช่นนั้นเอง(ตถตา) หากไม่ได้บรรลุถึงการดับไปแห่งธรรม (คือไม่มีธรรมใดที่จะดับไป) ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมเป็นความดับอยู่แล้ว”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่เข้าถึงรูปก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงการไม่เข้าถึงวิญญาณ ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมดุจมายา ดุจพยับแดด”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่เข้าถึงจักษุ ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงการไม่เข้าถึงมโน ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี หากไม่เข้าถึงรูปจนถึงธรรมารมณ์ ไม่เข้าถึงจักษุธาตุ รูปธาตุ จักษุวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี หากไม่เข้าถึงกามธาตุ ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงอรูปธาตุก็เช่นเดียวกันนี้”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่เข้าถึงทานปารมี ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงการไม่เข้าถึงปัญญาปารมี ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี หากไม่เข้าถึงพุทธทศพละ เวสารัชชะ จนถึงอาเวณิกพุทธธรรม ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะภายในว่าง จนถึงความปราศจากธรรมและความมีธรรม ก็เป็นศูนยตา”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากเข้าถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง ก็หาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ หากเข้าถึงเบญจขันธ์ อายตนะภายในและภายนอก ธาตุสิบแปด ก็หาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ หากเข้าถึงกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ ก็หาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ หากมีการเข้าถึงทานจนถึงปัญญา หากเข้าถึงพุทธทศพละจนถึงอาเวณิกธรรม ก็หาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะมีการเข้าถึง”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา ได้ฟังปัญญาปารมีที่คัมภีรภาพนี้แล้วไม่ตระหนก ไม่สงสัย ไม่หวาดกลัว ไม่ท้อถอย พึงทราบได้ว่าบุคคลนี้ได้ปลูกฝังกุศลมูลกับพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้งมาก่อนแล้ว”

    พระมัญชุศรีทูลอีกว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่พบธรรมที่แปดเปื้อน ธรรมที่วิศุทธิ์ ไม่พบผลแห่งสังสารวัฏ ไม่พบผลแห่งนิพพาน ไม่พบพระพุทธ ไม่พบพระโพธิสัตว์ ไม่พบพระปัจเจกโพธิ ไม่พบพระสาวก ไม่พบบุถุชน ก็คือการบาเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมไม่มีความแปดเปื้อนและไม่มีความบริสุทธิ์ จนถึงปราศจากบุถุชน พระผู้มีพระภาค! หากเห็นว่ามีมลทินฤๅบริสุทธิ์ จนถึงเห็นความเป็นบุถุชน ก็หาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ พระผู้มีพระภาค! หากเห็นว่ามลทินธรรมมีความแตกต่าง วิศุทธิธรรมมีความแตกต่าง จนถึงได้เห็นว่าพระพุทธะมีความแตกต่าง บุถุชนธรรมมีความแตกต่าง ก็หาใช่การบาเพ็ญปัญญาปารมีไม่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะปัญญาปารมีไร้ซึ่งความแตกต่าง”
    มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ นี่คือการบาเพ็ญจริยาแห่งปัญญาปารมีอย่างจริงแท้ ดูก่อนมัญชุศรี เธอสักการะพระพุทธเจ้าอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากมายาในจิตบุคคลดับสิ้น ข้าพระองค์จึงจักสักการะพระพุทธเจ้า”

    พ. “เธอไม่ได้ตั้งอยู่ในพุทธธรรมหรือกระไร?” ม. “พระพุทธองค์ไร้ซึ่งธรรมที่จะตั้งอยู่ แล้วข้าพระองค์จะตั้งอยู่ได้อย่างไร?”

    พ. “หากไม่มีธรรมที่จะเข้าถึง แล้วใครที่มีพุทธธรรมอยู่?” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ไม่มีผู้ใดเลยที่มีพุทธธรรม”

    พ. “เธอได้ถึงความไม่ยึดมั่นแล้วหรือ?” ม. “การไม่ยึดมั่นย่อมเข้าถึงไม่ได้ แล้วพระผู้มีพระภาคทรงถามว่าได้เข้าถึงความไม่ยึดมั่นได้อย่างไร?”

    พ. “เธอตั้งอยู่ที่โพธิหรือไม่” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระพุทธองค์ยังไม่ตั้งอยู่ในโพธิ แล้วข้าพระองค์จะตั้งอยู่ในโพธิได้อย่างไร”

    พ. “เธออาศัยอะไร ที่กล่าวมาเช่นนี้” ม. “ข้าพระองค์ไม่ได้อาศัยสิ่งใด ในการกล่าวเช่นนี้”

    พ. “หากเธอไม่ได้อาศัย แล้วกล่าวได้อย่างไร” ม. “เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาค! ที่ข้าพระองค์ไม่ได้กล่าว เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะสรรพธรรมไร้ซึ่งนาม”

    เวลานั้นท่านอาวุโสสารีบุตรทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว จะได้เข้าใกล้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิอย่างแน่นอนหรือไม่?”

    เวลานั้นพระเมตไตรยโพธิสัตว์ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว จะได้เข้าใกล้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิหรือไม่?”
    เวลานั้นมีเทพธิดา ชื่อ อปัจจัย ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา ที่ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว จะได้บรรลุถึงสาวกธรรม ปัจเจกโพธิธรรม โพธิสัตวธรรม พุทธธรรมหรือไม่?”

    เวลานั้นพระพุทธองค์รับสั่งกับพระสารีบุตรว่า “เป็นเช่นนั้นๆ สารีบุตร หากโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ได้สดับธรรมอันลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว ย่อมจะบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิอย่างแน่นอน อันกุลบุตร กุลธิดานี้ จะเป็นมหาทานบดี (เป็นผู้นาการบริจาคทานที่ยิ่งใหญ่) เป็นเอกทานบดี (เป็นผู้นาการบริจาคทานที่เป็นเลิศ) เป็นวิชยทานบดี (เป็นผู้นาการบริจาคทานที่ประเสริฐ) จะสมบูรณ์ด้วยศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา จะสมบูรณ์ในความดีงามและลักษณะมงคลทั้งปวง ตนเองย่อมไม่หวั่นกลัวและยังให้ผู้อื่นไม่หวั่นกลัวด้วย ย่อมเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งปัญญาปารมี เหตุเพราะได้อาศัยการไม่อาจเข้าถึงความไร้ลักษณะ ความไม่ปรุงแต่ง (การไม่บรรลุถึงความไร้ลักษณะและการไม่ปรุงแต่ง) แล้วได้สาเร็จถึงอจินไตยธรรมที่เป็นเลิศ”

    มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “เธอเห็นอยู่อย่างไร เธอยินดีอย่างไร ที่ปรารถนาพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ไม่มีความเห็นและไม่มีความยินดี เป็นเหตุให้ปรารถนาโพธิ”

    พ. “หากไม่มีความเห็น และไม่มีความยินดี ก็พึงไม่มีความปรารถนา” ม. “เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ที่แท้แล้วไร้ซึ่งความปรารถนา เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะหากมีความปรารถนา ก็คือบุถุชนลักษณะ”

    พ. “บัดนี้เธอมิได้ปรารถนาโพธิอย่างแท้จริงแล้วหรือ?” ม. “ข้าพระองค์ มิได้ปรารถนาโพธิอย่างแท้จริง เหตุไฉนนั้นฤๅ? หากปรารถนาโพธิ ก็คือบุถุชนลักษณะ”

    พ. “เธอปรารถนาอย่างแน่นอน หรือเธอไม่ปรารถนาแน่นอน?” ม. “หากกล่าวว่าปรารถนาแน่นอน ไม่ปรารถนาแน่นอน การปรารถนาหรือไม่ปรารถนาแน่นอน การแน่นอนว่าจะปรารถนาก็ไม่ใช่ ไม่ปรารถนาก็ไม่ใช่ ล้วนคือบุถุชนลักษณะ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะโพธินั้น ไร้ซึ่งสถานที่ตั้งอยู่”

    มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอสามารถแสดงปัญญาปารมีอย่างนี้ เธอได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าหาจานวนมิได้มาแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์มานานแล้ว บรรดาพระโพธิสัตว์มหาสัตว์พึงประพฤติตามที่เธอกล่าว” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าพระองค์มิได้ปลูกฝังกุศลมูล มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะหากข้าพระองค์ได้ปลูกฝังกุศลมูลแล้วไซร้ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ย่อมได้ปลูกฝังกุศลมูลด้วย หากข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์แล้วไซร้ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ย่อมได้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายคือลักษณะแห่งพรหมจรรย์”

    พ. “เธอได้เห็น ได้บรรลุ ตามคาที่กล่าวนี้ได้อย่างไร” ม. “ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น ไม่ได้บรรลุ แลมิได้กล่าว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์มิเห็นความเป็นบุถุชน มิเห็นความเป็นผู้ต้องศึกษา(เสขะ) มิเห็นความเป็นผู้ไม่ต้องศึกษา(อเสขะ) มิเห็นความมิใช่เสขะ ความมิใช่อเสขะ เพราะไม่เห็นเป็นเหตุให้ไม่บรรลุถึง”

    เวลานั้น พระสารีบุตรได้กล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ท่านได้เห็นพระพุทธะอยู่ฤๅไม่?” พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นแม้ผู้เป็นสาวก และจะประสาใดที่ข้าพเจ้าจะเห็นพระพุทธะเล่า? เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะการไม่เห็นสรรพธรรมนั้นแล จึงเป็นโพธิสัตว์”

    พระสารีบุตรกล่าวว่า “บัดนี้ท่านไม่แลเห็นธรรมทั้งปวงแน่หรือ?” พระมัญชุศรีตอบว่า “พระคุณเจ้าผู้เป็นมหาภิกษุ ท่านหยุดเถิด มิต้องกล่าวอีก”

    พระสารีบุตรกล่าวว่า “แล้วพระพุทธะที่ตรัสอยู่นี้คือผู้ใด?” พระมัญชุศรีตอบว่า “อันพระพุทธะ หรือมิใช่พุทธะก็มิอาจเข้าถึง ไร้ซึ่งวาจา ไร้ซึ่งผู้กล่าว ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็โพธินั้นแลไม่อาจกล่าวด้วยวจนะ แล้วจะประสาใดกับการจะมีพระพุทธะที่กล่าววาจาอีกเล่า? ยังมีอีก พระคุณเจ้าสารีบุตร ท่านกล่าวว่า “พระพุทธะที่ตรัสอยู่คือผู้ใด?” คานี้ไม่รวมไม่แยก ไม่เกิดไม่ดับ ไม่ไปไม่มา ไร้ซึ่งธรรมแม้ประการเดียวที่เป็นโยคะสอดคล้องต้องกัน ปราศจากอักขร ปราศจากโวหาร พระคุณเจ้าสารีบุตร เมื่อปรารถนาได้พบพระพุทธะ ก็ศึกษาอย่างนี้เถิด”

    เวลานั้น พระสารีบุตรได้ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! การกล่าวของพระมัญชุศรีนี้ โพธิสัตว์ผู้เกิดโพธิจิตยังไม่นานจักไม่อาจเข้าใจ” พระมัญชุศรีตอบว่า “เป็นอย่างนั้นๆ พระคุณเจ้าสารีบุตร โพธิยังเข้าใจมิได้ แล้วผู้เกิดโพธิจิตยังไม่นานจะศึกษาได้อย่างไรเล่า?” พระสารีบุตรว่า “พระพุทธตถาคตทั้งหลายมิได้ตรัสรู้ซึ่งธรรมธาตุ(ธรรมภาวะ) ฤๅหนอ?” พระมัญชุศรีตอบว่า “ความเป็นพระพุทธะทั้งหลายนั้นยังไม่อาจเข้าถึงได้ แล้วจะมีพระพุทธะผู้ตรัสรู้ธรรมธาตุได้อย่างไรกัน? ท่านสารีบุตร ความเป็นธรรมธาตุนั้นก็ไม่อาจเข้าถึง แล้วจะมีธรรมธาตุให้พระพุทธะทั้งหลายตรัสรู้ได้อย่างไร? ท่านสารีบุตร ธรรมธาตุนั่นแลคือโพธิ โพธินั่นแลคือธรรมธาตุ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมไร้ซึ่งธาตุ พระคุณเจ้าสารีบุตร ธรรมธาตุแลพุทธวิสัยไม่มีความต่างกัน ความไม่ต่างกันนั้นแลก็คือการปราศจากผู้กระทา ความปราศจากผู้กระทานั่นแลก็คือความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตะ) ความไม่ปรุงแต่งนั้นแลก็คือการไม่มีการกล่าว การไม่มีการกล่าวนั่นแลก็คือความไม่ได้มีอยู่”

    พระสารีบุตรได้กล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “บรรดาธรรมธาตุแลพุทธวิสัย ล้วนไม่มีอยู่ฤๅหนอ? พระมัญชุศรีตอบว่า “ไม่มีแลไม่ใช่ไม่มี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะความมีกับความไม่มี เอกลักษณะ อลักษณะ มิได้เป็นหนึ่ง มิได้เป็นสอง (ไม่ได้ต่างกัน)”

    ส. “ผู้ศึกษาอย่างนี้ จะได้บรรลุโพธิหรือไม่หนอ?” ม. “อันการศึกษาอย่างนี้คือการไม่ได้ศึกษา มิได้ยังให้เกิดกุศลมรรค มิได้ยังให้ตกอบายภูมิ มิได้บรรลุโพธิ มิได้เข้าสู่นิพพาน เหตุไฉนนั้นฤๅ? ท่านสารีบุตร เหตุเพราะปัญญาปารมีเป็นศูนยตาอย่างที่สุด ก็ความเป็นศูนยตาอย่างที่สุด ก็ไร้ซึ่งความเป็นหนึ่ง สอง สาม สี่ ไร้ซึ่งการไปมา ไม่อาจนึกคิดเอาได้ พระคุณเจ้าสารีบุตร หากกล่าวว่า ตัวข้าพเจ้าได้บรรลุโพธิ ก็คือการ
    กล่าวด้วยอัสมิมานะถือตนเป็นใหญ่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะการไม่บรรลุก็คือการบรรลุ ผู้ที่มีอัสมิมานะถือตนเป็นใหญ่อย่างนี้ มิอาจรับทานที่บุคคลให้ด้วยศรัทธาได้ ผู้มีศรัทธามิควรถวายบูชา”

    พระสารีบุตรได้กล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ท่านอาศัยสิ่งใด ในการกล่าวอย่างนี้?” พระมัญชุศรีตอบว่า “ข้าพเจ้ามิได้อาศัยสิ่งใดในการกล่าวอย่างนี้ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะปัญญาปารมีกับสรรพธรรมนั้นเสมอกัน จะหาที่อาศัยตั้งอยู่ของธรรมมิได้ เหตุนี้จึงมีความเสมอกัน”

    ส. “ท่านมิได้ใช้ปัญญาญาณกาจัดกิเลสให้ขาดสิ้นฤาหนอ?” ม. “แล้วอย่างนั้น ท่านคืออรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้วหรือไม่เล่า?” ส. “หามิได้” ม. “ข้าพเจ้าก็มิได้ใช้ปัญญาญาณกาจัดกิเลสให้ขาดสิ้นเช่นกัน” ส. “ท่านอาศัยสิ่งใดในการกล่าวเช่นนี้หนอ ถึงมิได้มีความตระหนกหวาดกลัว?” ม. “ความเป็นตัวข้าพเจ้ายังไม่อาจเข้าถึง แล้วจะมีตัวข้าพเจ้าให้เกิดความหวาดกลัวได้อย่างไรเล่า?” ส. “สาธุ ท่านมัญชุศรี โปรดกล่าวปัญญาปารมีอันคัมภีรภาพอย่างนี้โดยเร็วเถิด”

    จบส่วนที่ 2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.2.jpg
      0.2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.7 KB
      เปิดดู:
      731
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2013
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร
    ส่วนที่ 3

    [​IMG] [​IMG]

    สมัยนั้นพระพุทธองค์รับสั่งกับพระมัญชุศรีว่า “ดูก่อนกุลบุตร มีโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่ตั้งอยู่ในโพธิจิต ที่ปรารถนาอนุตรสัมโพธิหรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! มิได้มีโพธิสัตว์ผู้ดารงอยู่ในโพธิจิตแล้วปรารถนาอนุตรสัมโพธิเลยพระเจ้าข้า เหตุไฉนนั้นฤๅ? โพธิจิตนั้นไม่อาจเข้าถึง อนุตรสัมโพธิก็ไม่อาจเข้าถึง อนันตริยบาปทั้งห้าก็คือโพธิภาวะ ทั้งไร้ซึ่งโพธิสัตว์ที่เกิดจิตแห่งอนันตริยะแล้วปรารถนาผลบาปแห่งอนันตริยะด้วย แล้วจะมีโพธิสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโพธิจิตที่ปรารถนาอนุตรสัมโพธิได้อย่างไร? อันว่าโพธินั้นก็คือสรรพธรรม เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะว่ารูป ความไม่ใช่รูปก็ไม่อาจเข้าถึงได้ จนถึงวิญญาณ ความไม่ใช่วิญญาณก็ไม่อาจเข้าถึง จักษุไม่อาจเข้าถึงจนถึงมโนก็ไม่อาจเข้าถึง รูปก็ไม่อาจเข้าถึงจนถึงธรรมก็ไม่อาจเข้าถึง จักษุธาตุจนถึงธรรมธาตุก็ไม่อาจเข้าถึง ชาติคือความเกิดไม่อาจเข้าถึง จนถึงชรา มรณะก็ไม่อาจเข้าถึงได้ ทานปารมีไม่อาจเข้าถึง จนถึงปัญญาปารมีก็ไม่อาจเข้าถึง พุทธทศพละไม่อาจเข้าถึง จนถึงอาเวณิกพุทธธรรมทั้งสิบแปดก็ไม่อาจเข้าถึงได้ โพธิจิต อนุตรสัมโพธิล้วนไม่อาจเข้าถึงได้ ก็ความไม่อาจเข้าถึงสิ่งที่เข้าถึงไม่ได้ ก็ยังเข้าถึงไม่ได้ เหตุนี้แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระโพธิสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโพธิจิต ที่ปรารถนาอนุตรสัมโพธิจึงไม่มี”

    มีพระพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “มติของเธอว่าพระตถาคตเป็นครูของเธอหรือไม่” พระมัญชุศรีตอบทูลถวายว่า “ข้าพระองค์ ไร้ซึ่งมติว่าพระพุทธะเป็นครูของข้าพระองค์ เหตุไฉนนั้นฤๅ? ตัวข้าพระองค์เองนั้นยังหาเข้าถึงมิได้ แล้วจะมีมติว่าพระพุทธะเป็นครูได้อย่างไร?”

    พ. “เธอสงสัยในเราหรือไม่?” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์เองยังหาความแน่นอนมิได้ แล้วจะประสาใดกับการมีความสงสัยเล่า? เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะมีความแน่นอนอยู่ก่อน ภายหลังจึงเคลือบแคลง”

    พ. “เธอกล่าวโดยไม่แน่ใจ ว่าพระตถาคตได้อุบัติขึ้นหรือกระไร?” ม. “หากพระตถาคตทรงอุบัติขึ้น ธรรมธาตุก็พึงอุบัติขึ้นเช่นกัน เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะธรรมธาตุก็ดี พระตถาคตก็ดี เป็นเอกลักษณะ มิเป็นทวิลักษณะ เหตุเพราะไม่อาจเข้าถึงซึ่งความเป็นสอง”

    พ. “ดูก่อนมัญชุศรี เธอเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเข้านิพพานหรือไม่?” ม. “พระพุทธเจ้าก็คือนิพพานลักษณะ (ลักษณะแห่งความดับสนิทกิเลสไม่กาเริบอีก เย็นเพราะไม่ร้อนเพราะกิเลสทั้งปวง) อันนิพพานลักษณะนั้นก็มิได้มีการเข้า แลมิได้มีการไม่เข้า”

    พ. “เธอว่าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีการย้อนกลับหรือไม่” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! การไม่ย้อนกลับนั้นก็ยังไม่อาจเข้าถึง แล้วจักประสาใดกับการจะเข้าถึงการย้อนกลับได้เล่า?”

    พ. “พระตถาคตไร้จิต” จะกล่าวคานี้ก็แต่เฉพาะเบื้องหน้าพระตถาคต หรือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกับพระโพธิสัตว์ผู้ไม่ย้อนกลับเท่านั้น หากบุคคลอื่นๆได้ยินคานี้แล้วย่อมไม่เชื่อถือ จะตระหนกหวั่นใจและสงสัย เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะปัญญาปารมีอันลึกซึ้งคัมภีรภาพนี้ ศรัทธาได้โดยยาก เข้าใจได้โดยยาก”

    ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! แล้วยังจะมีผู้ใดที่สามารถน้อมใจเชื่อธรรมที่แยบคายนี้เล่า พระเจ้าข้า?” พ. “บุถุชนทั้งปวงก็สามารถศรัทธาต่อธรรมนี้ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะตถาคตไร้จิต บุถุชนทั้งหลายก็ไร้จิตเช่นกัน”

    ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เหตุใดฤๅหนอจึงทรงแสดงธรรมเช่นนี้? โพธิสัตว์ผู้เกิดโพธิจิตยังไม่นานและอรหันตสาวกล้วนจะมีความสงสัย ขอพระองค์โปรดประทานอธิบายด้วยเถิด พระเจ้าข้า”

    มีพระพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “ความเป็นอย่างนั้น(ตถตา) ลักษณะที่จริงแท้ สภาวะแห่งธรรม ที่ตั้งแห่งธรรม ฐานะแห่งธรรม ในความจริงแล้ว มีความแตกต่างของพุทธะและบุถุชนหรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลตอบว่า “หามิได้ พระเจ้าข้า” ตรัสว่า “หากไม่มีความแตกต่าง แล้วเหตุใดจึงเกิดความสงสัย?”

    ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ในความไม่แตกต่าง มีพุทธะ มีบุถุชนหรือไม่เล่า พระเจ้าข้า?” พ. “มีอยู่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะพุทธะแลบุถุชน มิเป็นสอง มิแตกต่าง เป็นลักษณะเดียว แลไร้ซึ่งลักษณะ”

    พ. “เธอเชื่อว่าตถาคตประเสริฐสุดในหมู่สรรพสัตว์ทั้งปวงหรือไม่?” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์เชื่อว่าพระตถาคตประเสริฐสุดในหมู่สรรพสัตว์ทั้งปวง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากข้าพระองค์เชื่อว่าพระตถาคตประเสริฐสุดในหมู่สรรพสัตว์ทั้งปวงแล้วไซร้ พระตถาคตย่อมไม่ได้ประเสริฐสุด”

    พ. “เธอเชื่อว่าตถาคตสาเร็จอจินไตยธรรมทั้งปวงหรือไม่” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์เชื่อว่าพระตถาคตสาเร็จอจินไตยธรรมทั้งปวง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากข้าพระองค์เชื่อว่าพระตถาคตสาเร็จอจินไตยธรรมทั้งปวงแล้วไซร้ พระตถาคตย่อมเป็นผู้ที่สามารถคาดเดาได้ (ไม่เป็นอจินไตย)”

    มีพระพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “เธอเชื่อว่าพระสาวกทั้งหลายได้รับการสั่งสอนจากตถาคตหรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลตอบว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์เชื่อว่าพระสาวกทั้งหลายได้รับการสั่งสอนจากตถาคต พระผู้มีพระภาค! หากข้าพระองค์เชื่อว่าพระสาวกทั้งหลายได้รับการสั่งสอนจากตถาคตแล้วไซร้ ธรรมธาตุก็ย่อมได้รับการสั่งสอนด้วย”

    พ. “เธอเชื่อว่าตถาคตเป็นบุญเกษตรที่ไม่มีสิ่งใดสูงไปกว่าหรือไม่?” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์เชื่อว่าพระตถาคตเป็นบุญเกษตรที่ไม่มีสิ่งใดสูงไปกว่า พระผู้มีพระภาค! หากข้าพระองค์เชื่อว่าพระตถาคตเป็นบุญเกษตรที่ไม่มีสิ่งใดสูงไปกว่าแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าย่อมมิใช่บุญเกษตร”

    พ. “เธออาศัยสิ่งใดจึงตอบเราอย่างนี้?” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์มิได้อาศัยสิ่งใดในการตอบพระองค์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค! ก็ในความที่ไม่ได้อาศัยสิ่งใด จึงไม่ใช่ความประเสริฐ หรือไม่ใช่ความไม่ประเสริฐ ไม่ใช่การคาดคิดได้ หรือไม่ใช่คาดคิดไม่ได้ ไร้ซึ่งการสั่งสอน ไร้ซึ่งการไม่สั่งสอน มิได้เป็นบุญเกษตร มิได้เป็นทั้งความไม่ใช่บุญเกษตรด้วย”

    เวลานั้น ด้วยพระพุทธานุภาพบันดาลให้พื้นปฐพีสั่นไหวหกลักษณะ บรรดาภิกษุจานวนหนึ่งหมื่นหกพันรูป ด้วยความที่ไม่ยึดถือซึ่งสิ่งใดๆ จิตจึงบรรลุถึงความหลุดพ้น บรรดาภิกษุณีจานวนเจ็ดร้อยรูป อุบาสกจานวนสามพัน อุบาสิกาจานวนสี่หมื่น ก็ได้ไกลจากธุลีคือกิเลส ได้ห่างจากมลทินแล้วบรรลุถึงธรรมจักษุที่บริสุทธิ์ หมู่เทวนิกรจานวนนับได้หกหมื่นโกฏินยุตะ ก็ได้ไกลจากธุลีคือกิเลส ได้ห่างจากมลทินแล้วบรรลุถึงธรรมจักษุที่บริสุทธิ์

    บัดนั้น ท่านอาวุโสอานนท์ ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ ลดผ้าอุตราสงค์ที่บ่าขวาลงแล้วคุกเข่าด้านขวาจรดแผ่นดิน พนมกรด้วยความเคารพแล้วกราบทูลพระพุทธบรมศาสดาว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ด้วยเหตุใด ด้วยปัจจัยใดปฐพีนี้ จึงสั่นสะเทือนมากยิ่งขนาดนี้ พระเจ้าข้า?” เมื่อนั้นมีพระพุทธดารัสตอบว่า “ก็การกล่าวปัญญาปารมีนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตบรรพกาลที่เนิ่นนานมาแล้ว ก็ล้วนได้แสดงธรรมนี้ยังสถานที่แห่งนี้ เพราะเหตุปัจจัยอย่างนี้แลแผ่นดินจึงสั่นสะเทือน”

    สมัยนั้น ท่านอาวุโสสารีบุตร ได้ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระมัญชุศรีนี้ ได้กล่าวสิ่งที่เป็นอจินไตย(สิ่งที่ไม่อาจคาดคิดเอาได้)”

    แล้วทรงมีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า “เป็นดั่งที่สารีบุตรกล่าวแล้ว พระมัญชุศรีนี้ ได้กล่าวสิ่งที่เป็นอจินไตย”

    พระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากเป็นอจินไตยก็ย่อมจักกล่าวแสดงมิได้ หากยังกล่าวแสดงได้ก็เป็นสิ่งที่สามารถคาดคิดเอาได้ (ไม่เป็นอจินไตย) ความเป็นอจินไตยนั้นก็ไม่ได้มีอยู่ บรรดาสาเนียงเสียงทั้งปวงนั้นก็เป็นอจินไตย แลความเป็นอจินไตยก็ไร้ซึ่งสาเนียงเสียงใดๆ”

    มีพุทธดารัสว่า “เธอได้เข้าสู่อจินไตยสมาธิหรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “หามิได้พระเจ้าข้า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ก็เป็นอจินไตย มิได้เห็นว่ามีจิตที่จะคาดคิดเอาได้อยู่ แล้วจะกล่าวว่าได้เข้าถึงอจินไตยสมาธิได้อย่างไร? นับแต่ข้าพระองค์เริ่มเกิดโพธิจิตมาก็ปรารถนาเข้าสู่สมาธิอย่างนี้ ทำให้บัดนี้คิดได้ว่า ที่แท้แล้วนั้นไร้ซึ่งลักษณะของจิตแล้วจึงได้เข้าสู่สมาธิ อุปมาบุคคลที่ศึกษาการยิงศร เมื่อฝึกฝนมานานจึงย่อมสามารถฉันใด เพราะอาศัยเหตุที่ได้ฝึกฝนมานาน จึงแผงศรได้ตามหมายฉันนั้น ข้าพระองค์ก็อย่างนี้ ที่นับแต่เริ่มศึกษาอจินไตยสมาธิมาก็มีจิตพันผูกกับปัจจัยหนึ่งนี้ หากได้ศึกษามานานแลสาเร็จแล้ว ก็จะไร้ซึ่งสัญญาแห่งจิต ตั้งมั่นพร้อมอยู่เป็นนิตย์”

    พระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “แล้วยังมีสิ่งใดที่วิเศษอัศจรรย์ไปกว่านิโรธสมาธิ (สมาธิที่ดับสนิทโดยรอบ)อีกหรือไม่หนอ?” พระมัญชุศรีตอบว่า “ถ้าหากมีอจินไตยสมาธิอยู่แล้ว ท่านพึงถามว่า “แล้วยังมีนิโรธสมาธิอีกหรือไม่?” ตามความเข้าใจของข้าพเจ้านั้น ความเป็นอจินไตยสมาธิมิอาจเข้าถึงได้ แล้วจะมาถามข้าพเจ้าถึงนิโรธสมาธิได้อย่างไรเล่า?”

    พระสารีบุตรกล่าวว่า “อจินไตยสมาธิมิอาจเข้าถึงได้ฤๅหนอ?” พระมัญชุศรีตอบว่า “จินตสมาธิ(คือสมาธิที่คาดคิดเอาได้ ตรงข้ามกับ อจินไตยสมาธิ) มีลักษณะให้เข้าถึงได้ แต่อจินไตยสมาธินั้นไร้ซึ่งลักษณะให้เข้าถึง สรรพสัตว์ทั้งหลายที่แท้ก็ได้สาเร็จอจินไตยสมาธิมาแล้ว เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะจิตลักษณะทั้งปวงนั้นหาใช่จิตไม่ จึงได้ชื่อว่าอจินไตยสมาธิ เหตุนี้แลสรรพสัตวลักษณะ กับ อจินไตยสมาธิลักษณะ จึงเสมือนกันมิแตกต่าง”

    พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอได้ปลูกฝังกุศลมูลและประพฤติพรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์ต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายมานานแล้ว จึงสามารถกล่าวแสดงสมาธิที่คัมภีรภาพได้ บัดนี้เธอยังตั้งอยู่ในปัญญาปารมีอย่างนี้”

    พระมัญชุศรีทูลว่า “หากข้าพระองค์ได้ตั้งอยู่ในปัญญาปารมีก็จะกล่าวได้อย่างนี้ว่า เป็นภวสัญญา (ความจาได้หมายรู้ในการเกิด,การมี,ภพ) ทาให้ยิ่งตั้งอยู่ในอัตตสัญญา (ความจาได้หมายรู้ในตัวตน) หาก
    ตั้งอยู่ในภวสัญญาและอัตตสัญญาแล้วไซร้ ปัญญาปารมีก็ยิ่งมีสถานที่ให้ตั้งอยู่ ก็ปัญญาปารมีหากได้ตั้งอยู่ในความไม่มีด้วยแล้ว ก็คือการได้ตั้งอยู่ในอัตตสัญญาด้วย จะได้ชื่อว่า อายตนะ(8) แต่เมื่อไกลจากสองสิ่งนี้ (คือภวสัญญาและอัตตสัญญา) จึงจะดำรงอยู่ในการไม่ได้ตั้งอยู่ ดุจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตั้งอยู่ในความดับสนิท อันหาใช่วิสัยของความนึกคิด (จินตะ) ไม่ ความอจินไตยอย่างนี้จึงชื่อว่า ที่ตั้งแห่งปัญญาปารมี อันปัญญาปารมีก็คือธรรมทั้งปวงที่ไร้ลักษณะ ธรรมทั้งปวงที่ไร้ซึ่งผู้กระทา ปัญญาปารมีก็คืออจินไตย อจินไตยก็คือธรรมธาตุ ธรรมธาตุก็คืออนิมิต (9) อนิมิตก็คืออจินไตย อจินไตยก็คือปัญญาปารมีธาตุ ปัญญาปารมีธาตุก็คืออจินไตยธาตุ อจินไตยธาตุก็คือธาตุแห่งการไม่เกิดไม่ดับ ก็ธาตุแห่งการไม่เกิดไม่ดับก็คืออจินไตยธาตุนั่นแล”

    พระมัญชุศรีทูลว่า “ตถาคตธาตุและอัตตธาตุ (คือธาตุของตนเอง หมายถึงพระมัญชุศรี) ก็ไร้ทวิลักษณ์ (10) อันผู้ประพฤติปัญญาปารมีอย่างนี้ย่อมมิได้ปรารถนาโพธิ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะได้ไกลจากโพธิจึงเป็นปัญญาปารมี ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากรู้ว่าอัตตลักษณ์นั้นก็ไม่อาจยึดมั่น การไม่ได้รู้และการไม่ยึดมั่นพันผูกอย่างนั่นแลคือการรู้ของพระพุทธะ ก็อจินไตยนั้นแลมิอาจล่วงรู้ได้ มิอาจยึดมั่นพันผูกจึงจะเป็นการรู้ของพระพุทธะ เหตุไฉนนั้นฤๅ? การรู้ว่าสังขารภาวะแต่เดิมมิได้มีลักษณะ แล้วจะเปลี่ยนแปรเป็นธรรมธาตุได้อย่างไรเล่า?” หากรู้ว่าภาวะแต่เดิมไร้ซึ่งสังขาร ไร้ซึ่งการยึดมั่นพันผูกก็จะได้ชื่อว่าปราศจากซึ่งสิ่งใดๆ หากไม่มีสิ่งใดๆ ก็คือการไร้สถานที่ตั้งอยู่ ไร้ที่อาศัย ไร้ที่ตั้ง ก็การปราศจากที่อาศัยและที่ตั้งอยู่ก็คือการไม่เกิด ไม่ดับ การไม่เกิดไม่ดับก็คือกุศลของสังขตะ(คือกุศลที่ยังมีการปรุงแต่งอยู่) หากรู้อย่างนี้ย่อมปราศจากสัญญาแห่งจิต (คือจิตไม่ทาหน้าที่จาได้หมายรู้เพื่อปรุงแต่งอีกต่อไป) เมื่อปราศจากสัญญาแห่งจิตแล้วจะรู้จักกุศลแห่งสังขตะและอสังขตะได้อย่างไรเล่า? การไม่อาจรู้ได้นั่นแลคืออจินไตย อจินไตยคือสิ่งที่พระพุทธะรู้ ทั้งไม่อาจยึดมั่นและไม่อาจไม่ยึดมั่น มิเห็นว่ากาลทั้งสาม(อดีต ปัจจุบัน อนาคต)มีลักษณะแห่งการไปและการมา ไม่ยึดมั่นในการเกิดดับและการก่อเกิดใดๆทั้งปวง อีกไม่ขาดสิ้นไม่เป็นนิรันดร์ อันผู้ที่รู้อย่างนี้ จะชื่อว่าสัมมาปัญญา อจินไตยปัญญา อุปมาอากาศที่มิใช่นี้แลมิใช่นั้น มิอาจนามาเปรียบกับสิ่งใด ปราศจากความดีเลว ไร้ซึ่งสิ่งใดมาเสมอ แลไร้ซึ่งลักษณะไร้ซึ่งรูปร่าง”

    หมายเหตุ
    (8) อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสาหรับติดต่อกัน ทาให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 อย่างคือ
    อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก
    อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น อายตนะภายนอกนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ เมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า สัมผัส รู้ว่ามีการเห็น เรียกว่าวิญญาณ เกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า เวทนา
    9 อนิมิต คือ การไม่มีเครื่องหมายหรือลักษณะของนามรูปให้จดจา หรือกาหนดให้ยึดถืออีกต่อไป เพราะพิจารณาเห็นแจ้งทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้, คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้
    (10) ทวิลักษณะ, ทวิภาวะ คือ คือความเป็นสองลักษณะ, สิ่งที่เป็นคู่เปรียบ, สังขตะ
    / จบ/

    มีพุทธบรรหารกับพระมัญชุศรีว่า “หากรู้อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า ปัญญาที่ไม่เสื่อมถอย”

    พระมัญชุศรีทูลว่า “ปัญญาที่ไร้ซึ่งผู้กระทาจึงจะได้ชื่อว่า ปัญญาที่ไม่เสื่อมถอย อุปมาแท่งทองคาที่ต้องทุบก่อนจึงจะรู้ว่าดีเลวอย่างไร หากไม่ทุบก็มิอาจทราบได้ฉันใด ลักษณะของปัญญาที่ไม่เสื่อมถอยก็ฉันนั้น เมื่อจักประพฤติในวิสัยนี้ มิต้องระลึก มิต้องยึดมั่นพันผูก มิต้องให้เกิดขึ้น มิต้องกระทา มิเคลื่อนไหวโดยสมบูรณ์ มิเกิด มิดับ แล้วจึงจักปรากฏขึ้นมาได้”

    ครั้งนั้นพระพุทธองค์รับสั่งกับพระมัญชุศรีว่า “พระตถาคตทั้งหลายเมื่อกล่าวปัญญาของตนด้วยตนเอง แล้วผู้ใดเล่าจะสามารถน้อมใจเชื่อได้?”

    ม. “ก็ปัญญาอย่างนี้แลที่มิใช่นิพพานธรรม มิใช่สังสารวัฏธรรม เป็นนิโรธจริยา มิได้ตัดสิ้นจากความโลภ โกรธ หลง แลทั้งมิใช่การไม่ตัดสิ้นด้วย เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะไม่สิ้นสุด ไม่ดับ ไม่ไกลจากสังสารวัฏ แลทั้งมิใช่ไม่ไกล(จากสังสารวัฏ) ไม่ไกลจากการประพฤติธรรม แลทั้งมิใช่การไม่ประพฤติธรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างนี้จึงชื่อว่า สัมมาศรัทธา”

    พ. “สาธุๆ เป็นตามที่เธอกล่าวเป็นอรรถะที่คัมภีรภาพยิ่งนัก”

    สมัยนั้นท่านอาวุโสมหากัสสปะ ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ในอนาคตจะมีผู้สามารถน้อมใจเชื่อในธรรมที่ลึกซึ้งนี้หรือไม่ ผู้ใดจะยินดีในการได้สดับธรรมนี้พระเจ้าข้า?”

    พ. “ก็ในวันนี้มีบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในอนาคตผู้ที่สามารถน้อมใจเชื่อต่อธรรมนี้ ได้ยินการกล่าวแสดงปัญญาปารมีอันลึกซึ้งนี้ แล้วรู้ว่าอันธรรมนี้แหละ แล้วปรารถนาในธรรมนี้ ดูก่อนกัสสปะ! อุปมาคหบดีหรือบุตรของคหบดี ที่ได้สูญเสียแก้วมหารัตนะไปดวงหนึ่ง อันมีค่าเสมอด้วยทองคาหมื่นโกฏิชั่ง เกิดความทุกข์โศกอย่างใหญ่หลวง มาบัดนี้ได้กลับคืนมาอีกก็เกิดปีติโสมนัสอย่างใหญ่หลวง ความทุกข์โศกล้วนสิ้นไป เป็นอย่างนี้แล กัสสปะ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในอนาคต ที่ได้ยินปัญญาปารมิตาสูตรที่คัมภีรภาพลึกซึ้งเป็นที่สุดนี้ พร้อมกับเกิดปัญญา เมื่อได้ยินแล้วก็เกิดโสมนัส จิตบรรลุถึงความผาสุก มิเกิดความทุกข์โศกขึ้นอีก แล้วยังจะมีมนสิการอย่างนี้อีกว่า “บัดนี้พวกเราได้พบพระตถาคตแล้ว ได้สักการะพระตถาคตแล้ว เพราะเหตุใดนั้นฤๅ? ก็เพราะว่าได้สดับปารมีทั้งหกที่สุขุมคัมภีรภาพประเสริฐยิ่งอย่างนี้”

    พ. “ดูก่อนกัสสปะ! อุปมาตรัยตรึงส์เทพที่ได้เห็นต้นปาริฉัตรเริ่มผุดขึ้น จักมีมนสิการว่า “หน่อนี้ไม่นานจักผลิดอกแน่นอน” ฉันใด กัสสปะ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ได้ฟังปัญญาปารมีธรรมนี้ จิตจึงโสมนัสได้ฉันนั้น ตถาคตจะยังให้(สรรพสัตว์)ในอนาคตได้ฟังธรรมนี้อย่างแน่นอน ดูก่อนกัสสปะ! ปัญญาปารมีที่คัมภีรภาพนี้ เมื่อตถาคตนิพพานแล้ว พึงยังให้คงอยู่มิสิ้นไป ให้แพร่หลายไปในสถานที่ทั้งปวง กัสสปะ! เหตุเพราะพุทธานุภาพจะยังให้ กุลบุตร กุลธิดาในอนาคตได้รับฟังปัญญาปารมีอันลึกซึ้งนี้”

    “ดูก่อนกัสสปะ! อุปมาผู้เป็นมณียาจารย์ เมื่อได้พบรัตนมณีแล้วดวงจิตก็โสมนัสยินดี แม้ยังมิได้พิจารณาก็รู้ได้ว่าเป็นของแท้หรือปลอม เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะได้ชั่งวัดเอาแล้ว เป็นเช่นนั้นแหละ กัสสปะ! หากบุคคลผู้ได้สดับปัญญาปารมิตาธรรมนี้ เมื่อได้สดับแล้วก็โสมนัสยินดี เกิดจิตเลื่อมใสเป็นสุขเกษม พึงทราบเถิดว่าบุคคลนี้เมื่ออดีตได้เคยสดับปัญญาปารมิตาธรรมนี้มาแล้ว เป็นเวลายาวนานหลายกัลป์ที่ล่วงมาแล้วเคยได้บูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

    พระกัสสปะทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! กุลบุตร กุลธิดาเหล่านี้ ผู้ที่ได้สดับอยู่ในบัดนี้ ในกาลเบื้องหน้าก็จะยิ่งทวีความเลื่อมใส”

    มีพุทธดำรัสว่า “เป็นอย่างนั้นๆ ดั่งที่เธอกล่าว”

    สมัยนั้น พระมัญชุศรีได้ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! อันธรรมนี้ปราศจากการเป็นไป ทั้งไร้ซึ่งลักษณะ แล้วพระองค์ตรัสว่ามีลักษณะแห่งการเป็นไปได้อย่างไรเล่าพระเจ้าข้า?”

    มีพระพุทธดำรัสกะพระมัญชุศรีว่า “เมื่อกาลก่อนที่ตถาคตประพฤติโพธิสัตวจริยา ได้บาเพ็ญกุศลมูลทั้งปวง เพื่อหมายตั้งอยู่ในภูมิแห่งเอกชาติปฏิพันธ์ (11) จึงศึกษาปัญญาปารมี เพื่อปรารถนาสาเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิจึงศึกษาปัญญาปารมี หากกุลบุตร กุลธิดาปรารถนาเข้าใจธรรมลักษณะทั้งปวง ปรารถนาล่วงรู้จิตธาตุของสรรพสัตว์ทั้งหลายว่าล้วนเสมือนกัน ต้องศึกษาปัญญาปารมี”


    “ดูก่อนมัญชุศรี !เมื่อปรารถนาศึกษาพุทธธรรมทั้งปวงด้วยความสมบูรณ์ไม่ติดขัด พึงต้องศึกษาปัญญาปารมี เมื่อปรารถนาศึกษามงคลลักษณะ อิริยาบถและวิธีต่างๆไม่มีประมาณที่ยังให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิพึงศึกษาปัญญาปารมี เมื่อปรารถนาล่วงรู้วิธีและอิริยาบถทั้งปวงที่ยังให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิพึงศึกษาปัญญาปารมี เพราะเหตุใดนั้นฤๅ? ก็เพราะว่าในศูนยตาธรรมนี้มิได้พบว่ามีพุทธโพธิทั้งปวง หากกุลบุตร กุลธิดาปรารถนารู้เสมอด้วยลักษณะอย่างนี้ด้วยความไม่เคลือบแคลงพึงศึกษาปัญญาปารมี เหตุใดนั้นฤๅ? เพราะปัญญาปารมีไม่เห็นว่าธรรมทั้งปวงมีเกิด ดับ มลทิน บริสุทธิ์ เหตุนี้กุลบุตร กุลธิดาพึงศึกษาปัญญาปารมีอยู่อย่างนี้ เมื่อปรารถนาล่วงรู้สรรพธรรมอันไร้ซึ่งลักษณะแห่งอดีต อนาคตแลปัจจุบันแล้วไซร้พึงศึกษาปัญญาปารมี เหตุใดนั้นฤๅ? เพราะสภาวะลักษณะของธรรมธาตุไร้ซึ่งอดีต อนาคตแลปัจจุบัน เมื่อปรารถนาล่วงรู้สรรพธรรมแล้วเข้าสู่ความเสมอกับธรรมธาตุ มีจิตไม่ข้องขัดแล้วไซร้พึงศึกษาปัญญาปารมี เมื่อปรารถนาบรรลุถึงการหมุนธรรมจักรทั้งสามครั้งสิบสองคราว12 อีกตนเองก็ได้ตรัสรู้แลไม่ยึดมั่นพันผูกด้วยก็พึงศึกษาปัญญาปารมี เมื่อปรารถนาให้เมตตาจิตปกแผ่ไปในหมู่สัตว์ทั้งปวงโดยไม่มีขอบเขตประมาณ ทั้งจะไม่ทาความระลึกว่ามีสรรพสัตวลักษณะพึงศึกษาปัญญาปารมี เมื่อปรารถนาบรรลุถึงความไม่โต้แย้งอรรถะในหมู่สัตว์ทั้งปวง ทั้งจะไม่ยึดมั่นในลักษณะที่ไม่โต้แย้งนั่นด้วยพึงศึกษาปัญญาปารมี เมื่อปรารถนาล่วงรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ (13) ทศพละ เวสารัชชะ แล้วตั้งอยู่ในพุทธปัญญาญาณบรรลุถึงปฏิภาณที่ไม่ติดขัดพึงศึกษาปัญญาปารมี”

    เวลานั้น พระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์พิจารณาพระสัทธรรมว่าไร้ซึ่งการปรุงแต่ง ไร้ซึ่งลักษณะ ไม่มีการเข้าถึง ไม่มีประโยชน์ ไม่เกิดไม่ดับ ไม่ไปไม่มา ไร้ซึ่งผู้รู้ ไร้ซึ่งผู้เห็น ไร้ซึ่งผู้กระทา มิได้พบเห็นแม้ปัญญาปารมี แลมิได้พบเห็นแม้วิสัยแห่งปัญญาปารมี จะบรรลุก็มิใช่ จะไม่บรรลุก็มิใช่ ไม่ใช่การกล่าววาจาหยอกเย้ามากสานวน ไร้ซึ่งการแบ่งแยก สรรพธรรมไม่มีสิ้นสุดทั้งไกลจากความสิ้นสุด ไร้ซึ่งบุถุชนธรรม ไร้ซึ่งสาวกธรรม ไร้ซึ่งปัจเจกพุทธธรรม ไร้ซึ่งพุทธธรรม จะเข้าถึงก็มิใช่ จะไม่เข้าถึงก็มิใช่ มิได้วางเฉยในสังสารวัฏ มิได้บรรลุพระนิพพาน จะคาดคิดได้ก็มิใช่ จะเป็นอจินไตยคาดคิดไม่ได้ก็มิใช่เช่นกัน มิใช่การกระทา มิใช่การไม่กระทา ลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่างนี้ จึงไม่ทราบว่าจะศึกษาปัญญาปารมีอย่างไรหนอ?”

    พระพุทธองค์รับสั่งกะพระมัญชุศรีว่า “หากสามารถรู้ว่าธรรมลักษณะทั้งปวงเป็นอย่างนี้ จึงชื่อว่าศึกษาปัญญาปารมี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์หากปรารถนาศึกษาโพธิศวรสมาธิ (14) ที่เมื่อบรรลุสมาธินี้แล้ว จะสามารถส่องเห็นพุทธธรรมที่ลึกซึ้งทั้งปวง และรู้จักนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง อีกทั้งได้แทงตลอดซึ่งพุทธเกษตรทั้งปวงโดยไร้อุปสรรค ก็โดยการศึกษาปัญญาปารมีตามที่มัญชุศรีกล่าวนี้แล”

    หมายเหตุ
    (11) คือ พระโพธิสัตว์ที่มีพันธะกับการเกิดอีกเพียงชาติเดียว ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า, หมายถึงพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีเกือบเต็ม เช่นพระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เป็นต้น
    (12) ความหมายคือ เมื่อสมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับที่ป่าอิสิปตนมฤคทานวัน ทรงแสดงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หรือการหมุนธรรมจักรแก่พระสาวก ถึง 3 ครั้ง ดังนี้... ครั้งที่ 1 คือทรงแสดง คือทรงกล่าวว่านี้คือทุกข์ นี้คือสมุทัย นี้คือนิโรธ นี้คือมรรค อันเป็นการกล่าวถึงลักษณะของอริยสัจสี่อย่าง ครั้งที่ 2 ทรงแนะ คือทรงกล่าวว่าทุกข์ควรรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรบรรลุ มรรคควรเจริญ อันเป็นการกล่าวถึงการประพฤติอริยสัจ ครั้งที่ 3 ทรงบรรลุถึง คือทรงกล่าวว่าทุกข์เราได้รู้แล้ว สมุทัยเราได้ละแล้ว นิโรธเราได้บรรลุแล้ว มรรคเราได้เจริญแล้ว ข้อนี้เป็นการยืนยันพระองค์เอง รวมแล้วคือการหมุนธรรมจักร (อริยสัจ 4) 3 ครั้ง จึงรวมเป็น 12 คราว (3 คูณ 4)
    (13) คือ ธรรมหมวดหนึ่งใน ทศพละ
    (14) หมายถึง สมาธิที่ทาให้รู้แจ้ง ถึงความเป็นอิสรเสรี
    /จบ/

    พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เหตุใดหนอจึงได้ชื่อว่าปัญญาปารมี?”

    ตรัสว่า “ปัญญาปารมี ไร้ขอบเขตไม่มีประมาณ ไร้นาม ไร้ลักษณะ ไม่ใช่การคิดหยั่งเอาได้ ปราศจากที่พึ่งพิงอาศัย ปราศจากแกะแก่ง ไร้ความผิด ไร้บุญ ปราศจากความมืด ปราศจากความสว่าง ดุจธรรมธาตุที่ไม่ได้แบ่งแยกทั้งจะนับหาขอบเขตมิได้ จึงมีชื่อว่าปัญญาปารมี ทั้งมีชื่อว่าวัตรแห่งโพธิสัตว์มหาสัตว์ อันจะเป็นจริยาวัตรก็มิใช่ มิได้เป็นจริยาวัตรก็มิใช่ ซึ่งล้วนเข้าสู่ยานเดียว จึงได้ชื่อว่า การไม่ใช่จริยาวัตร เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะไม่มีการระลึก ไม่มีการกระทา จึงเป็นมารดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง เหตุเพราะเป็นที่กาเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะไร้ซึ่งการเกิด”

    พ. “เหตุนี้แล มัญชุศรี หากกุลบุตร กุลธิดา ที่ปรารถนาประพฤติโพธิสัตวจริยาให้สมบูรณ์ด้วยปารมีทั้งปวงพึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ หากปรารถนานั่งบนธรรมบัลลังก์สาเร็จพระอนุตรสัมโพธิพึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ หากปรารถนาใช้มหาเมตตามหากรุณาปกแผ่ไปทั่วในหมู่สัตว์ทั้งปวงพึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ หากปรารถนาบังเกิดสมาธิและอุปายะทั้งปวงพึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ หากปรารถนาบรรลุสมาบัติทั้งปวงพึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ ด้วยเหตุไฉนนั้นฤๅ? ก็เพราะบรรดาสมาธิมิได้ปรุงแต่ง สรรพธรรมทั้งปวงมิได้ไกลจากการไม่ห่างไกล หากบุคคลปรารถนาอนุโลมตามคากล่าวนี้พึงศึกษาปัญญาปารมี สรรพธรรมที่แท้แล้วไม่อาจเข้าถึงได้ หากปรารถนาแลยินดีล่วงรู้อย่างนี้พึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ สรรพสัตว์ทั้งปวงเหตุเพื่อโพธิญาณจึงบำเพ็ญโพธิมรรค แต่ที่แท้แล้วก็ไร้ซึ่งสรรพสัตว์ทั้งไร้ซึ่งโพธิ หากบุคคลปรารถนาศรัทธายินดีในธรรมนี้พึงศึกษาปัญญาปารมีนี้ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะสรรพธรรมก็เป็นตถตาคือเป็นจริงอยู่อย่างนั้นเสมือนโพธินั้นแล มิใช่ความเป็นไปของสรรพสัตว์ มิใช่วางเฉย สวภาวะ (15) ก็ความเป็นไปของสรรพสัตว์นั้นคือความไม่ได้เป็นไป ความไม่ได้เป็นไปนั้นก็คือโพธิ โพธินั้นคือธรรมธาตุ หากปรารถนาไม่ถูกเคลือบย้อมพันผูกด้วยธรรมนี้พึงศึกษาปัญญาปารมี”

    พ. “ดูก่อนมัญชุศรี! หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หากจดจาปัญญาปารมี หนึ่งประโยคหรือสี่บาทแล้วกล่าวแสดงต่อผู้อื่น ตถาคตกล่าวว่าผู้นี้จักไม่เสื่อมตกจากธรรม แล้วจะประสาใดกับการประพฤติจริยาด้วยความเป็นตถตาคือเป็นจริงอย่างนั้น พึงทราบว่ากุลบุตร กุลธิดานั้นได้ตั้งอยู่ในพุทธวิสัย”

    พ. “ดูก่อนมัญชุศรี! หากกุลบุตร กุลธิดา ได้ยินได้ฟังปัญญาปารมีที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่เกิดความตระหนกหวั่นเกรง พึงทราบว่าผู้นี้ ได้รับพุทธธรรมมุทรา อันธรรมมุทรานี้คือพระพุทธะสร้างขึ้น คือสิ่งล้าค่าของพระพุทธะ เหตุไฉนนั่นฤๅ? ด้วยธรรมมุทรานี้ เป็นลัญจกรแห่งอสังคธรรม คือธรรมที่ไม่ผูกมัดกับสิ่งใด หากกุลบุตร กุลธิดาได้ประทับด้วยลัญจกรนี้แล้ว พึงทราบว่าผู้นี้จะไปตามโพธิสัตวยานไม่เสื่อมถอยอย่างแน่นอน ไม่ตกสู่ภูมิแห่งพระสาวก และพระปัจเจกพุทธ”

    หมายเหตุ
    15 สวภาวะ แปลว่า ความเห็นที่ว่าสรรพสิ่งล้วนมีคุณลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เช่น รถยนต์มีสวภาวะของความเป็นรถยนต์ จึงทาให้เป็นรถยนต์ แต่นัยยะของพระสูตรนี้ มุ่งแสดงให้เห็นว่าทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่าจากสวภาวะ กล่าวคือ ทุกสิ่งไม่ได้มีคุณลักษณ์เฉพาะที่แท้จริงเลย สรรพสิ่งเกิดขึ้นมาได้ ล้วนเป็นเพราะมีเหตุปัจจัยจากสิ่งอื่น หรือเพราะการอิงอาศัยกับสิ่งอื่นๆ ในรูปแบบของปฏิจจสมุปปบาทหรืออิทัปปัจจัยตา เช่น เพราะมีประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ มาประกอบกันจึงเกิดเป็นรูปร่างของรถยนต์ขึ้นมา ซึ่งรถยนต์ที่แท้นั้นไม่ได้มีอยู่จริง หรือแม้แต่ประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ ก็ไม่ได้มีความเป็น ประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ อยู่ด้วยเช่นกัน เพราะแต่ละสิ่งล้วนเกิดจากการประกอบกันขึ้นของแร่เหล็ก และสารทางเคมีอื่นๆ สรุปคือ สรรพสิ่งเกิดขึ้นได้เพราะต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งประกอบกันเข้า เมื่อหลายๆสิ่งรวมเป็นสิ่งเดียวแล้ว เราจึงสมมุติชื่อเรียกสิ่งๆนั้นต่อไป
    /จบ/

    ครั้งนั้น ท้าวศักรอินทรเทวราชกับหมู่เทวบุตร ได้เสด็จมาแต่ตรัยตรึงส์เทวโลก แล้วโปรยปรายผงจุณจันทน์และผงทอง อีกทั้งโปรยปรายดอกอุบล ปัทมา โกมุท ปุณฑริก16และดอกมณฑารพ มาสักการะปัญญาปารมี เมื่อสักการะแล้ว ก็มีมนสิการอย่างนี้ว่า “เราได้บูชาธรรมอันเป็นเอกยอดเยี่ยมไร้ซึ่งสิ่งผูกมัดแลเป็นอนุตระแล้ว ในชาติอนาคตขอให้เราได้ฟังปัญญาปารมีอันสุขุมลึกซึ้งนี้อีก หากผู้ใดได้ประทับลัญจกรแห่งปัญญาปารมิตาอันสุขุมลึกซึ้งนี้แล้ว ขอให้ผู้นั้นจงได้สดับฟังธรรมนี้อีกในอนาคต แล้วได้สาเร็จสัพพัญญุตญาณในที่สุดเถิด”

    ท้าวศักรอินทรเทวราชกราบทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา ทีได้ฟังปัญญาปารมีธรรมผ่านโสตเพียงครั้ง ข้าพระองค์เพื่อจะยังให้พุทธธรรมยืดยาวออกไป จะปกปูองบุคคลนั้น บันดาลให้เบื้องหน้าผู้นั้นห่างออกไปหนึ่งร้อยโยชน์อมนุษย์ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ ก็กุลบุตร กุลธิดานี้ เบื้องอันเป็นที่สุดจะได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ ทุกวันข้าพระองค์จะมายังผู้นั้นเพื่อสักการะ”

    สมัยนั้นพระพุทธองค์ตรัสกับท้าวศักรอินทรเทวราชว่า “เป็นอย่างนั้นๆ ท่านโกสีย์! พึงทราบว่ากุลบุตร กุลธิดานั้นสมบูรณ์ซึ่งพุทธธรรม จะได้บรรลุถึงพระอนุตรสัมมาสัมโพธิเป็นแน่แท้”

    เมื่อนั้นพระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์ว่า “ขอพระองค์ โปรดใช้พุทธานุภาพปกปูองปัญญาปารมีนี้ ให้ตั้งอยู่เนิ่นนานในโลก เพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงด้วยเถิดพระเจ้าข้า”

    เมื่อพระมัญชุศรีทูลแล้ว ด้วยพระพุทธานุภาพ มหาปฐพีดลจึงสั่นสะเทือนกัมปนาทหกลักษณะ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคจึงแย้มพระสรวล ทรงเปล่งมหารัศมี ส่องสว่างไปในตรีสหัสมหาสหัสโลกธาตุ ทรงใช้ฤทธานุภาพ ธารงปัญญาปารมีนี้ให้คงอยู่เนิ่นนานในโลก

    บัดนั้นพระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์อีกว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! อันการประภาสรัศมีนี้ คือการธารงไว้ซึ่งปัญญาปารมีหรือไม่พระเจ้าข้า?” ตรัสว่า “เป็นเช่นนั้นๆ มัญชุศรี! ตถาคตเปล่งรัศมีนี้ก็คือการธารงไว้ซึ่งปัญญาปารมี มัญชุศรี! เธอพึงทราบเถิดว่าตถาคตได้ธารงรักษาปัญญาปารมีนี้ให้ตั้งอยู่นานในโลก หากมีผู้ใดไม่ดูแคลนทาลายธรรมนี้ มิกล่าวโทษแก่ธรรมนี้ พึงทราบได้ว่าผู้นี้ได้ประทับปัญญาปารมีมุทราอันคัมภีรภาพแล้ว เหตุนี้แหละ มัญชุศรี! ตถาคตก็ตั้งอยู่ในมุทรานี้นานมาแล้ว หากผู้ใดได้ประทับซึ่งมุทรานี้ พึงทราบว่าผู้นี้ เป็นผู้ที่พญามารจะใช้กลอุบายด้วยไม่ได้”

    มีพุทธฎีกากะท้าวศักระว่า “เธอพึงจดจา สาธยายธรรมนี้ แล้วปุาวประกาศให้แพร่หลายออกไปเถิด ยังให้กุลบุตร กุลธิดาทั้งหลายในอนาคตได้บรรลุถึงมุทราแห่งธรรมนี้โดยทั่วกัน” และมีรับสั่งกับพระอานนท์ว่า “เธอก็จงจดจา สาธยาย แล้วป่าวประกาศแก่ชนทั้งปวงด้วย ”

    เวลานั้นท้าวศักรเทวราชกับท่านอาวุโสอานนท์ได้ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ธรรมนี้จะมีชื่อว่ากระไรหนอ หมู่ข้าพระองค์จะน้อมรับอย่างไรพระเจ้าข้า?” มีรับสั่งว่า “ธรรมนี้มีชื่อว่า “การกล่าวแสดงของพระมัญชุศรี” อีกชื่อคือ “ปัญญาปารมี” พึงจดจาอย่างนี้ กุลบุตร กุลธิดาทั้งหลายที่ในกัลป์นับจานวนได้เท่าเม็ดทรายแห่งคงคานที ได้นาแก้วรัตนะที่มีค่าไม่อาจประมาณมาบริจาคเป็นทานแก่สรรพสัตว์จานวนเท่าเม็ดทรายในคงคานที สรรพสัตว์เหล่านั้นเมื่อรับแล้วก็ล้วนเกิดมรรคจิต เวลานั้นผู้เป็นทานบดียังได้แสดงธรรมเพื่อยังประโยชน์และยังความยินดีตามอัธยาศัยของสรรพสัตว์เหล่านั้น ยังให้สรรพสัตว์เหล่านั้นบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหันตผล บุคคลนี้จะได้รับกุศลมากหรือไม่หนอ?” พระอานนท์ทูลว่า “มากมายยิ่งนัก พระเจ้าข้า”

    มีพุทธบรรหารว่า “ดูก่อนกุลบุตร หากบุคคลผู้เกิดจิตศรัทธาต่อปัญญาปารมีธรรมสูตรนี้เพียงระลึกเดียว ไม่ให้ร้ายทาลาย กุศลที่ได้ยังมากกว่าบุคคลข้างต้น มากกว่าร้อยเท่า พันเท่า ร้อยพันหมื่นโกฏิเท่า จนถึงด้วยการนับคานวณ และการอุปมาทั้งปวงก็ยังไม่อาจทราบถึงปริมาณของกุศลนั้นได้ แล้วจักประสาใดที่ได้จดจา สาธยายแลอธิบายแก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์ บุคคลนี้ย่อมได้รับกุศลที่ไม่มีประมาณไม่มีขอบเขต พระพุทธตถาคตทั้งหลายก็จะกล่าวแสดงไปไม่สิ้นสุด เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะ(ธรรมนี้)เป็นที่กาเนิดสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หากจักรวาลมีสิ้นสุดกุศลแห่งธรรมนี้ย่อมสิ้นสุด หากธรรมภาวะมีสิ้นสุดกุศลแห่งธรรมนี้ย่อมสิ้นสุด เหตุนี้แล มัญชุศรี! กุลบุตร กุลธิดาพึงพากเพียรวิริยะในการปกปูองธรรมนี้ อันธรรมนี้สามารถดับความหวั่นเกรงทั้งปวงของสังสารวัฏ สามารถหักโค่นธงธวัชแห่งชัยชนะของเทวมาร สามารถยังให้โพธิสัตว์เข้าถึงผลแห่งนิพพาน อันสั่งสอนชี้นาให้ไกลจากทวิยาน (คือไกลจากสาวกยาน และปัจเจกพุทธยาน)”

    สมัยบัดนั้นแล ท้าวศักระ ท่านอาวุโสอานนท์ต่างทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เป็นอย่างนั้นๆ เป็นดั่งที่พระองค์ตรัสแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจะจดจาใส่เกล้าไว้ แล้วปุาวประกาศไปให้แพร่หลาย ขอพระตถาคตมิต้องทรงเป็นกังวลพระเจ้าข้า” ได้ทูลเช่นนี้สามครั้งว่า “ขอพระองค์อย่าทรงกังวล ข้าพระองค์ทั้งหลายจะจดจาใส่เกล้าไว้”

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมสูตรนี้จบแล้ว พระมัญชุศรีพร้อมกับโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งปวง พระสารีบุตรกับทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทพ นาค ยักษ์ ครุฑ อสุร กินนร คนธรรพ์ มโหราค มนุษย์และอมนุษย์ทั้งปวง อันมหาชนทั้งปวงที่ได้สดับพระพุทธภาษิต ล้วนเกิดมหาโสมนัส มีศรัทธาน้อมรับสืบไป.

    จบ...มัญชุศรีปรัชญาปารมิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.3.jpg
      0.3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.8 KB
      เปิดดู:
      588
    • 0.4.jpg
      0.4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.3 KB
      เปิดดู:
      569
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2013
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    [​IMG]

    Kaokala Fc
    2 ชั่วโมงที่แล้ว
    ...wow !! ม้วนขนาดนี้ไม่เคยเห็นจริงๆ ต้องดูในคลิปค่ะ

    14 พ.ย. "เมฆม้วน" ปรากฎการณ์หาชมยาก

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/ZNOsjQ1ZpII?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    (ชมคลิป [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ZNOsjQ1ZpII]Tube Cloud - YouTube[/ame])

    Todd Mask ผู้จับภาพ "เมฆม้วน" ปรากฎการณ์ที่หาได้ยาก โดยเมฆลักษณะดังกล่าวมักเกิดเมื่อมีสภาพอากาศพายุฝนฟ้าคะนอง มีรูปร่างเป็นทรงกลมและลอยต่ำ Todd ได้นำคลิปมาโพสต์ใน Youtobe เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา ทอดด์ เล่าว่า เขาถ่ายได้ในเช้าวันหนึ่งที่มีอากาศเย็น เมฆม้วนนี้ปรากฎอยู่ราว 20-30 นาที ซึ่งภาพเมฆม้วนบางครั้งก็ทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นยูเอฟโอ (เครดิต:ประชาชาติออนไลน์)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.3 KB
      เปิดดู:
      484
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,215
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Kaokala Fc
    ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว

    [​IMG]
    (admin ดูหนังอเมริกันสไตล์ Thor: The Dark World วันนี้พอดี ^^)

    12 พ.ย. อเมริกันสไตล์ฉลองเลขปฏิทินเรียง 11/12/13

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ถือเป็นวันของการเฉลิมฉลองวันหนึ่งของอเมริกันชน เนื่องจากเป็นวันปฏิทินที่มีเลขเรียงกันคือ 11/12/13 จากการนับตามสไตล์อเมริกันที่เริ่มจากนับเดือนก่อนตามด้วยวันที่และปีค.ศ. ซึ่งก็คือเดือน 11 วันที่ 12 ปี 2013 และวันที่จะมีเลขเรียงกันในลักษณะนี้ที่จะเกิดขึ้นอีกในศตวรรษนี้คือปีหน้าคือ 12/13/14 ซึ่งก็คือเดือน 12 วันที่ 13 ปี 2014 หลังจากนั้นจะต้องรอไปอีก 90 ปีที่จะมีตัวเลขเรียงกันอีกคือ 01/02/03 คือเดือน 1 วันที่ 2 ปี 2103 ข้อมูลข้างต้นได้จากเว็บไซต์ numerology.com

    ข่าวระบุว่า การฉลองวันเลขเรียงกันดังกล่าวในสหรัฐ มีอาทิ มีข้อความ"แฮปปี้ 11/12/13" ปรากฎขึ้นพรึ่บในโลกออนไลน์ และบนทวิตเตอร์ของ AsapScience ขอให้คนร่วมกันขอพรในเวลา 14.15 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่เรียงกันอีกที่ต่อจาก11/12/13 ขณะที่มีคู่รักชาวอเมริกันหลายคู่ก็ทำตัวเลขเรียงกันนี้ให้เป็นความทรงจำที่ดีด้วยการแลกเปลี่ยนคำสาบานกันในพิธีแต่งงานที่จัดในวันเดียวกัน เช่น ในรายการทูเดย์โชว์ของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีมีคู่รักกล่าวคำสาบานกันในเวลา 09.10 น.ของวันเดียวกัน ซึ่งได้เลขเรียงกันเป็น 9-10-11-12-13 ส่วนที่ทำการศาลเมืองลอว์เรนซ์วิล รัฐจอร์เจียยังยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการสมรสในวันเดียวกันนี้ด้วย

    อเมริกันสไตล์ฉลองเลขปฏิทินเรียง 11/12/13 : มติชนออนไลน์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.4 KB
      เปิดดู:
      475

แชร์หน้านี้

Loading...