มือใหม่ฝึกนั่งสมาธิด้วยตัวเอง ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Penty, 17 มกราคม 2014.

  1. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    ก่อนอื่นก็ขอสวัสดีและฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ เข้ามาอ่านเว็บนี้บ่อยๆ แต่เพิ่งสมัครสมาชิก พอดีอยากขอความรู้ หรือข้อแนะนำในการนั่งสมาธิหน่อยคะ คือ แต่ก่อนเราเป็นคนชอบทำบุญ เน้นไปวัด บริจาคทาน แต่ข้อเสียคือ ไม่ค่อยไหว้พระก่อนนอน หัวถึงหมอนหลับ ถ้าขยันมานิดจะนอนท่องชินบัญชรไปเรื่อยจนหลับ ถ้าขยันเวอร์จะสวดบูชาพระรัตนตรัย พาหุง มหากา....เรียกว่าครบกระบวนการ อยู่ๆเมื่อปีที่แล้วนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา เลยสวดมนตร์นั่งสมาธิเองที่ห้อง ที่นี่แหล่ะแนะนำให้เราจดจำหรือยึดพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์ในการทำสมาธิ เราก็เลยอ้ะ หลวงพ่อโตและกัน พร้อมทั้งภาวนา พุท โธ ไปเรื่อยๆ รู้สึกจากที่ท่องคำภาวนาๆ หายไปเฉยๆ รู้สึกมีแสงวาบสว่าง เหมือนตัวลอยๆสูงขึ้นๆเรื่อยๆ หายใจแทบไม่ออก เหมือนคนจะตาย ตอนนั้นก็คิด เป็นงายเป็นกัน ทำไปเรื่อยๆ ไม่มีใครนั่งสมาธิแล้วตายหรอก ทำไปได้สักระยะนึง คิดว่าพอก่อนดีกว่า คิดเองเฉยว่า ต้องพาตัวเองลอยต่ำลงเรื่อยๆๆก่อน ให้ตัวเตี้ยเหมือนเดิม พอบังคับให้ตัวเองลงมาได้ ก้อลืมตา เป็นความรู้สึกปลื้มมาก รู้สึกดีแบบไม่เคยนั่ง สมาธิแล้วดีแบบนี้มาก่อน หลังจากนั้นมีพี่ที่ทำงานชวนไปสวดมนตร์ไหว้พระนั่งสมาธิที่วัดใกล้ๆ เริ่ม 1 ทุ่ม เสร็จอีกที 4 ทุ่ม กลับรู้สึกได้สวดมนตร์อย่างเดียว แต่ไม่ได้สมาธิเลยซะงั้น งงมาก ห่อเหี่ยวเลย เราก้อเลยคิดว่า กลับห้องมาทำคนเดียวดูมีสมาธิมากกว่า เมื่อสักสามสี่วันที่แล้ว สวดมนตร์เสร็จเราก็นั่งสมาธิต่อ เราภาวนาเหมือนเดิม สูดลมหายใจยาวๆ จนอยู่ๆความรู้สึกนั้นกลับมาอีกแล้ว จากที่รู้สึกหายใจเสียงดัง กลายเป็นเสียงหายใจตัวเองเบาลงๆ เริ่มไม่หายใจ มีแสงสว่าง ตัวเหมือนสูงเรื่อยๆ อยู่ๆมันค้างนานมาก จนเหนื่อยเราเลยไม่เอาแล้ว ต้องออกมา เลยลืมตาออกมาเลย แล้วสวดมนตร์แผ่เมตตา แต่กลายเป็นรู้สึกเหนื่อยหอบมากๆ อย่างกะไปออกกำลังกายมาก สัก 2-3 ชมก้อยังไม่หาย ง่วงก้อง่วงแต่นอนไม่ได้ เพราะหอบ เลยต้องนั่งหลับแทน จนหลับตอนไหนไม่รู้ ตอนเช้ามาทำงานอีกที รู้สึกยังมีแอบๆหอบอยู่ เลยหลับตาทำสมาธิ ภาวนาพุทโธๆ แล้วปรับระดับการหายใจ คือคิดเองงาย แฮ่ะๆ พอสักพัก ค่อยลืมตา อาการหอบก้อหายไป เราเลยคิดว่าอาจเป็นเพราะเราไม่ค่อยๆลดระดับแล้วลืมตาออกมาก่อนเฉยๆรึเปล่า หรือที่เราทำไม่ใช่สมาธิ หรืออะไรยังงาย รบกวนผู้รู้ตอบเราที ขอบคุณมากๆนะคะ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่มีอ่ะไรมาก

    เพียงแต่ ควรรู้จัก ฟัง พระเทศน์ สอนวิธีก่อน

    หาโหลด ฟังได้ ตามเวปทั่วไป

    เช่น เวป ฟังธรรม.คอม
     
  3. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    เราก็เป็นแต่ หนักกว่า คือ ถ้าง่วงเมื่อไรจะเข้าฌาณทันที มันจะมีอาการคล้ายๆ วิญญาณจะออกจากร่าง คือ เหมือนกำลังจะตาย แต่ไม่ต้องกลัว ก็แค่มีสติให้รู้ว่าเราเข้าไปติดในฌาณแล้วแทนที่จะนอน มันก็เห็นดวงกสิณอยู่อย่างนั้น แต่เราจะต่างจากกรณีของคุณ ตรงที่ เราจะไม่สามารถพัฒนาฌาณไปถึงฌาณสี่ได้ด้วยการนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว ต้องมีการสร้างภาพกสิณขณะนั่งสมาธิด้วย จึงจะพัฒนาไปจนถึงฌาณสี่ แต่จะมีอาการ เหาะเหินตีลังกา ร่วมด้วย และไม่สามารถออกจากสภาวะนั้นได้ บังคับไม่ได้ ตองฮึดอย่างมาก หรือรอเวลามันจะออกจากสภาวะดังกล่าวเอง ก็ไม่ใช่อาการแปลกประหลาดอะไร บางคนก็มีอาการ ตาพอง ปากพอง ฯลฯ ก็เป็นไปต่างกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2014
  4. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    คุณปราบเทวดา ขอบคุณมากค่ะ เอาจริงๆเลย เรานี่ไม่รู้จักเลย กสิน ฌาณ รู้พื้นฐานอย่างเดียวในการนั่งสมาธิ คือ หายใจเข้าท่องพุท หายใจออกท่องโธ ต้องหาความรู้เพิ่มอีกเยอะ ขอบคุณค่ะ
    คุณ Duchess ครั้งแรกเป็นการนั่งสมาธิค่ะ ครั้งที่สองที่หอบคือ เรานอนสมาธิทำ นี่เราเข้าฌานสี่รึคะ

    ขอถามเพิ่มค่ะ เมื่อคืนเราเริ่มง่วงแล้ว แต่ว่ากะจะท่องพุทโธ แล้วกะจะท่องจนหลับแบบสวดชินบัญชร แต่พอท่องไปสักพัก อาการเดิมมาอีกและ เริ่มหายใจเบามาก แทบไม่หายใจ รู้สึกนิ่งมาก เลยสับสนตกลงจะปล่อยให้มันเป็นไปจนหายแล้วหลับไปเอง รึไม่ดีควรจะออกมาแล้วรีบนอนเพราะมันดึกแล้ว เราเลยตัดสินใจออกมาเลยแต่ครั้งนี้รู้และ กลัวเป็นแบบครั้งที่สาม เราเลยค่อยๆออกมา แล้วหลับต่อ ตื่นเช้ามาก็สดชื่นไม่หอบนะคะ คือถ้าเจอแบบนี้ควรจะทำต่อไปจนหลับไปเองเลยดีมั้ยค่ะ รบกวนเเนะนำ
     
  5. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301

    อันนั้นคือ ปฐมฌาณไปทุตติยฌาณ ยังไม่ใช่ฌาณสี่
    ฌาณสี่อารมย์ดับสนิท ตัดขาดจากสภาวะทางกายค่อนข้างสมบูรณ์

    จะมี ปาฏิหารหรือฤทธิ์เกิดขึ้นด้วย เช่นนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่
    แต่สามาถมองเห็นห้องที่เรานั่งอยู่ได้ชัดเจนราวตาเนื้อ หรือเห็นวิญญาณ
    ดิฉันเคยทำได้แค่ครั้งเดียว แบบนั่งสมาธิ ไม่ใช่นอนสมาธิ
    ( ทำฌาณสี่ขณะนั่ง จะยากที่สุด ต้องใช้กสิณช่วยให้เข้าสมาธิเร็ว)
    แบบนั่งจะยากกว่า แต่ทำได้แม้เพียงครั้งเดียว ในอาทิตย์นั้น
    จะเห็น วิญญาณด้วยตาเนื้อ เหมือนคนเลย
    ศีล สำคัญมาก จะขอบารมีใคร ตัวเราต้องบริสุทธิ์ ทั้งกายใจอันนี้ มีผีที่สิงค์ คน
    ฝากมาบอกดิฉัน ว่าชอบคนบริสุทธิ์ ทานมังสาวิรัต แต่งตัวสวยๆแบบ เรียบร้อยนะสีอ่อนๆ ฯลฯ ผีบอกมา
    อย่าง ชมพูอ่อน ฟ้าอ่อน สีขาว แบบชุด แขกทางเหนือๆเมืองหนาว ที่เป็นชุดกระโปรง ซาวาคามิซ อนากาลี่

    [๓๔๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่.

    ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนาน ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสิตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.

    [๓๔๔] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลไปมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตกด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

    [๓๔๕] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
    ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มแช่ เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.

    [๓๔๖] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแล้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแลเธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2014
  6. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ถ้า เทวดา วิญญาณ ชอบคุณ เขาจะมาช่วยคุณเรื่องต่างๆอย่างมากมาย
    อย่างที่ดิฉันประสบมาจากการบำเพ็ญ ปฏิบัติ มีสิ่งดีๆในชีวิตมากมาย
    แม้แต่คน ไม่รู้จัก คุยแค่ครั้งเดียวยอมจ่ายเงินซื้อหนี้ของเราหมดเลย

    ดิฉันมีหนี้ติดธนาคารเป็นล้านนะที่ ตปท แต่มีคนจ่ายหนี้ให้ฟรีๆ
    เพียงแค่คุยด้วยไม่กี่ครั้ง ดิฉันเชื่อว่ามันเป็นบารมีมาจาก เทพเทวดา
    ที่มาคุ้มครองผู้ที่ทำดีเพราะเราถือศีลมากกว่า ห้าข้อ และ สังโยชน์ข้อ
    สี่ตัดได้เกือบสมบูรณ์แล้ว อาจจะมี ชอบของสวยงามบ้าง แต่ไม่ถึงกับหลง
    ส่วน คนต่างเพศ เรามองเหมือนเป็นเพศเดียวกันหมด เสมือน พี่น้อง
    ถ้าตัดสังโยชน์ได้มากข้อ การทำสมาธิยิ่งดี
    แต่ ข้อสีลพตปรามาสนั้น เรายังต้องแก้ไขอยู่
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ทำไปแบบเดิมนั้นละครับ ไม่ต้องไปแก้ไขอะไร ปฏิบัติดีแล้วครับ

    ส่วนอาการต่างๆนาๆ ที่ จขกท สงสัยนั้น เป็นอาการของคนที่ปฏิบัติครับ

    ไม่ต้องแปลกใจอะไร ที่สงสัยก็เพราะว่า ปฏิบัติใหม่ๆ พึ่งเคยเจอ เดี่ยวก็ชินเองครับ

    .
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ได้เข้าฌานสี่ นะครับ

    เป็นอาการของคนปฏิบัติกรรมฐาน อานาปานสติ เป็นฐานครับ

    เริ่มหายใจเบามาก จนเหมือน แทบเหมือนไม่หายใจ มันจะนิ่งมาก เหมือนคนหยุดหายใจก็ไม่ต้องไปสนใจใดๆ รับรองว่า ไม่ตายแน่นอนครับ

    ดังนั้นไม่ต้องกลัวตายถ้าไม่หายใจ

    ให้มีสติ อยู่กับ คำภาวนา มีสติอยู่กับผู้รู้ ครับ

    ผ่านไปเรื่อยๆ จะหลับ หรือจะออก ก็อยู่ที่ กำลังของจิตเอง ไม่ต้องไปบังคับออกเพราะจะนอนก็ได้ เดี่ยวพอถึงที่ ก็หลับเอง ออกเองครับ


    สรุปให้ว่า ไม่ต้องสับสนใดๆ มันเป็นอาการของผู้ปฏิบัติ ที่จิตสงบ ครับ

    ปฏิบัติครั้งต่อๆไป แนะนำว่า ให้มีสติ ครับ

    แล้วคุณจะสามารถ อยู่ในสมาธิได้ทั้งคืน จนถึงเวลาปลุกตื่นนอนตามปรกติได้ครับ ถ้าไม่ขาดสติ หลับเองไปซะเองก่อนนะ

    .
     
  9. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    ขอบคุณค่ะ งั้นขอถามอีกนะคะ เท่าที่สังเกตุมาหลายครั้ง เรารู้สึกว่าตอนนั่งรึนอนสมาะ จะภาวนาพุทโธได้ไม่นาน แล้วจะเริ่มรู้สึกนิ่งกลายเป็นเข้าสมาธิเร็วมาก อันนี้ถือว่าผิดปกติมั้ย แล้วก็รวมเวลาตั้งแต่นั่งสมาธิหรือออกจากสมาธิ แค่ 20-30 นาที แต่เราก็รู้สึกนะว่าแปบเดียวก็จริง แต่มันรู้สึกดีมาก เราควรจะยืดเวลาในการนั่งให้นานขึ้นมั้ยคะ สงสัยทำไมบางคนนั่งสมาธิกันได้เป็นชั่วโมงเลย
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    การปฏิบัติ มี ยืน เดิน นั่ง นอน

    นั่ง กับ นอน จะเป็น วิธีที่ทำให้ จิตสงบ เป็นสมาธิ ได้ง่ายที่สุดนะครับ

    เพราะ กาย กายหยาบตัวเรามันสงบ แบบที่เรียกว่า ไม่โดนธาตุขันร่างกาย เบียดเบียน จิต บลาๆๆ ก็ว่ากันไป นั้นเองครับ

    ดังนั้นที่จะสังเกตว่า สมาธิ จิตสงบได้ง่าย ไวมาก ก็ไม่แปลกครับ

    เพียงแต่ การนั่ง การนอน ในการปฏิบัตินั้น มีข้อเสียคือ สมาธิ เสื่อมได้ง่าย มากๆ

    ไม่เหมือน บางคน ที่ สมาธิ ทำสมาธิ ได้ในการ เดิน จะเป็นประเภท สมาธิเสื่อมยากครับ


    และการที่จะช้าหรือเร็วนั้น อยู่ที่ความชำนาญในการปฏิบัติ ครับ บางคนนั่งปุบ ไม่ถึงนาที ก็ สงบจิต ได้แล้ว บางคนก็นานหน่อย แล้วแต่ตัวบุคคล


    ที่ว่าบางคนนั่งเป็น ชั่วโมงนั้น ขอบอกว่า ไม่ต้องไป สงสัยหรอกนะเค้าทำ เค้าฝึกมา มันเป็นผลของการปฏิบัติ ครับ

    ที่บางคนนานเป็น ชั่วโมงนั้น อันนี้ผมขอบอกว่า นั้นแค่เด็กๆ นะครับ

    ดังนั้นไม่ต้องไปกำหนดเวลาหรอก และอีกอย่างเดี่ยวจะกลายเป็น อุปทานเอาได้ง่ายๆ

    ผูู้ปฏิบัติจริงๆ นั้น 24 ชั่วโมง กันเป็น อาทิตย์ เป็นเดือน เป็นปี ทุกลมหายใจ เข้าออก กันเลยครับ

    ดังนั้น ผมแนะนำนะ ว่า ให้ฝึกปฏิบัติ ทุกลมหายใจ เข้า ออก อย่าหายใจทิ้ง จะปฏิบัติ ไปไวมากครับ
     
  11. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    ขอบคุณค่ะ
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่ต้องทำอะไรมาก
    ทำอย่างไรมาก็ทำแบบเดิมเรื่อยไป

    ขึ้นด้วยพุทโธ ก็พุทโธ ของคุณต่อไป
    ทำ ให้บ่อยๆ เนื่องๆ ต่อเนื่อง อย่าไปวอกแวก
    หมั่นฟังพระเทสน์ ประจำ
     
  13. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    อ้อ คำถามอีกข้อ หลายข้อเหลือเกิน แฮ่ะๆ พี่ที่ชวนเราไปสวดมนตร์นั่งสมาธิที่วัด ที่เราเคยไปนะค่ะ เค้าบอกว่าที่ปฏิบัติกันในวัด มีพระนำสวดด้วย สอนนั่งสมาธิ แล้วจะทำให้เรามีสมาธิ นั่งได้ดีเลย เพราะในอุโบสถเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่พอเราเข้าไปปฎิบัติจริงๆ คือ จิตใจสงบ รู้สึกดีที่ได้สวดมนตร์ ได้ทำบุญ แต่พอถึงช่วงทำสมาธิทีไร เราจะรู้สึกไม่อยากทำ ในใจคิดแต่เมื่อไรจะเสร็จ ไม่เข้าสมาธิ ไม่ได้สมาธิเลยค่ะ ฟุ้งซ่าน กลายเป็นนั่งหลับตาพุทโธเฉยๆซะงั้น เลยทำให้ตอนนี้เราใช้การสวดมนตร์ นั่งสมาธิที่ห้องแทน กลายเป็นสงบ ชอบที่จะปฎิบัติมากกว่าไปวัดอีก เป็นเพราะอะไรรึค่ะ น่าสงสัยตัวเอง ขอบคุณทุกคนที่ให้คำแนะนำ มากๆล่วงหน้าเลยค่ะ
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สั้นๆ จริต แต่ละคน ไม่เหมือนกันครับ

    บางคนเห็นว่าดี บางคนไปแล้วก็ว่าไม่ถูกใจ บางทีสิ่งรบกวนอื่นๆก็มากอยู่


    .
     
  15. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขออนุโมทนากับความตั้งใจในการปฏิบัติ

    ที่รู้สึกว่าทำสมาธิที่บ้านได้ดีกว่าทึ่วัดนั้น เป็นเพราะเราปฏิบัติในที่ส่วนตัวปราศจากความวุ่นวายจากผู้คน ไม่ต้องกลัวว่าใครจะแอบมอง ไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครเห็นตอนที่เราเกิดอาการแปลกๆทางกายขณะปฏิบัติ

    และความตั้งใจผสมกับความยึดมั่นที่จะให้ได้ความสงบตามที่ตัวเองได้เคยสัมผัสมามีอยู่มาก แม้แค่เสียงกระแอมเบาๆจากคนข้างๆก็รู้สึกว่ารบกวนเราเหลือเกิน แมลงก็ชุกชุม เพราะเราวางจิตไว้ผิดจากความกังวลต่างๆจึงไม่สงบ

    ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ปฏิบัติที่บ้านให้ได้ความสงบ แต่ปฏิบัติที่วัดเพื่อให้ได้ขันติ จะคิดอย่างนี้ก็ได้

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
  16. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    อ้อขอบคุณ คุณsaber และคุณ supop มาเลยค่ะ สงสัยตัวเองมานาน หายข้องใจและ นึกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดจะไม่ชอบเราซะอีก 555 นี่คิดเองงายคะ แล้วอีกอย่างนึง ที่วัดแห่งนี้อ้ะค่ะ เริ่มแรกสวดมนตร์บูชาพระรัตนตรัย แล้วก้ออย่างอื่นเป็น stepๆ ไป มีสวดแบบที่ไม่เคยสวดบ้าง เช่น ธรรมจัก คือก็ดีค่ะ เราชอบนะ สักพักจะปล่อยให้ไปเดินจงกรม ต่อด้วยสมาธิ ซึ่งต้องรอจนกว่าทุกคนจะออกจากสมาธิ ที่รอได้ก็เพราะจำนวนคนที่สนใจก็จะประมาณ 10 คนคือเป็นกลุ่มเล็กๆ อารมณ์ประมาณวัดแถวบ้าน ใครสนใจมาทำวัตรกะพระก็ได้ค่ะ แล้วประเด็นที่พึ่งนึกขึ้นได้คือ ไม่ได้ว่านะค่ะ อาจจะเป็นเพราะในวัดที่เราไปเราเด็กสุด นอกนั้นจะอายุ 50-60 ปี ขนาดพี่ที่ชวนก็ 50 ปีแล้ว คือเป็นอายุที่มากๆแบบมีคุณภาพ คือเค้าปฏิบัติกันมาก่อนเรา เรียกได้ว่าทุกคนนิ่งสงบอ้ะ พอให้เข้าสมาธิปุ๊บ เอาและเรา 15-20 นาทีเราลืมตาและ แล้วก็ต้องมาทำตากระพริบ ปิ้บๆ เฮ่ยเมื่อไรพี่ๆเค้าจะลืมตากันสักที เหมือนมันเกิดข้อเปรียบเทียบ ทำให้เรารู้สึกแย่ว่าทำไมเราทำไม่ได้ เพราะเฉลี่ยอย่างต่ำพี่ๆเค้านั่งกันเป็นชม. เลยทำให้เรางอแง และท้อที่จะปฏิบัติ 555 น่าจะใช่ค่ะ ยังไงก็ตั้งใจไว้แล้วจะสวดมนตร์นั่งสมาธิให้ได้ทุกวัน :)
     
  17. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    เอาในประเด็นการปฏิบัตินะครับ.
    ที่หลายท่านแนะนำว่าเป็นกิริยาธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับผู้ปฏิบัตินะถูกแล้วครับ..
    กิริยาที่เกิดกับคุณเป็นปิติอย่างอย่างหนึ่งซึ่งถ้าเราคิดว่าปล่อย
    ไปเรื่อยๆก็ถูกครับเพราะจะผ่านในขั้นตอนนี้ไปได้แต่ว่าต้องปล่อย
    ให้สุดๆจนกว่าจะกลับมาเป็นปกติเองนะครับถึงจะไม่ค่อยเกิดขึ้นอีกช่วงนี้
    ที่ให้ปล่อยไปเรื่อยๆเพราะว่ามันยังอยู่ในช่วงความถี่
    แบบไหนอย่างไร ลองดูในมุมนี้นะครับ

    คือขอพูดในมุมของคลื่นความถี่เปรียบเทียบให้ฟังนะครับ..
    มนุษย์ธรรมดาจะมีอยู่ในช่วงคลื่นความถี่ครับ
    และคลื่นมันจะไล่ระดับลงมาอย่างนี้ครับ.
    ๑. คลื่นช่วงในขณะที่เราลืมตาปกติทั่วๆไป
    ๒.ช่วงหลับตาที่ยังสามารถปรุงแต่งได้.อาจะจริงหรือไม่จริงก็ได้
    ๓.ช่วงหลับตาที่มันตัดหลับ อาการปิติคุณยังอยู่
    หรือคนที่ฝึกสมาธิจะอยู่ในช่วงของคลื่นความถึ่ที่ ที่ยังมีการปรุงแต่งได้แม้ว่าอาจเป็นผลจริงได้
    .ทั่วๆไปเค้าเลยบอกว่าให้ปล่อยไปเลยไม่ต้องสนใจ
    เพราะยังอยู่ในกิริยาของการปฏิบัติทั่วไป.และก็ถือว่าปลอดภัยครับ
    .แต่ถ้าระดับคลื่นต่ำกว่านี้ เช่นตอนสวดๆมนต์คลื่นความถึ่งมันจะตกมาช่วงที่ ได้เป็นปกติมนุษย์ครับ.
    และมันก็จะตัดหลับไปซึ่งถ้าหลับก็ไม่มีปัญหาครับแต่ว่า
    ไม่มีผลต่อการพัฒนาจิต
    แต่ก็ส่งผลดีกับร่างกายได้เป็นปกติ.
    ส่วนการออกจากช่วงที่ ที่รู้สึกเหนื่อยก็เพราะกำลังสมาธิสะสมเรายังไม่เพียงพอ
    ในการหลับตาปรับคลื่น.ซึ่งถือว่าเป็นธรรมดา

    .ส่วนการไปวัดบางครั้งในเรื่องของพิธีการมันจะเป็นการสร้างความเครียด
    ให้กับจิตโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ครับมันอยู่ในช่วงที่คลื่นที่๑.
    มันไปสร้างให้จิตอยู่ในช่วงคลื่นความถี่นี้มากไป.มันส่งผลให้ลด
    คลื่นลงมาช่วงที่ ยากครับ.ผลที่ออกมาเลยไม่ดีอย่างที่เราเคยคาดไว้
    .เรื่องสมาธิช่วงของความห่างของคลื่นสมองในช่วง
    ที่ มันค่อนข้างกว้าง.เราเลยใช้วิธีทำปล่อยๆ
    ไม่นาน ๒-๕ นาทีในระหว่างวันเพื่อให้จิตเกิดการความเคยชิน
    คุ้นเคย จากช่วงคลื่นลืมตามาเป็นหลับตา..มันถึงจะไม่เหนื่อย

    ส่วนการสวดมนต์ลืมตาคลื่นความถี่ระดับต่างกันไม่มาก
    และด้วยบทสวดมนต์ทำให้มีการสั่นสะเทือนเราอาจจะทำ
    ได้นาน เพราะอยู่ในระดับคลื่นเทียบเท่าลืมตาปกติแต่ก็อยู่ในระดับต่ำสุดที่จะเข้าช่วงที่ ๒ ได้.
    เพราะว่าความยาวของบทคาถาทำเราให้เราเคยชิน..
    .แต่มันก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วงที่ได้..ถ้าเราสวดๆมนต์ไป
    แล้วเราลืมบทสวด เราจะเข้าช่วงที่โดยที่เราไม่รู้ตัวครับ.แต่ถ้าเลยช่วงที่
    ไป มันก็จะทำให้เราหลับ..เคยได้ยินไหมครับว่า สวดมนต์ถ้าสวดๆไปแล้ว
    ลืมบทสวดเองอัตโนมัติมันจะดีนั่นคือมันลดระดับคลื่นจาก เข้า เอง
    แต่ไม่ใช่ว่าลืมว่าบทนี้สวดว่าอะไรนะครับ ๕๕๕ คนละอย่างกันนะคับ

    ถ้าเราสวดมนต์แล้วเกิดอาการหลับ.ถ้าเราอยากนั่งต่อ.เค้าถึงให้เราประคอง
    ลมหายใจและค่อยๆยกกายขึ้นให้หน้าอกตรงแต่ว่าจะไม่ให้ลืมตา เพราะถ้า
    ลืมตาคลื่นสมองมันจะข้ามไปช่วงที่ นั่นยังไงครับ..
    แต่ร่างกายเรามันต้องการที่จะหลับแล้ว เราเลยรู้สึกว่าไปนอนดีกว่า
    พูดประมาณนี้พอเข้าใจไหมครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2014
  18. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    ขอบคุณ คุณ nopphakan มากนะคะ น่าจะเข้าใจนะคะ อิอิ พาให้นึกถึงคุณครูฟิสิกส์ เรียนเรื่องคลื่น ความถี่ แลมด้า 555 ดีค่ะ อธิบายพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ดี ได้ความรู้ขึ้นเยอะเลย ขอบคุณค่ะ
    -//\\-
     
  19. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ถ้าพูดถึงเรื่องฌานนะคับ จะขออธิบายแบบง่ายๆคับ

    ฌานที่ 1 เมื่อเริ่มคำบริกรรมคู่กับลมหายใจ จิตมีความนิ่งสงบ จนเกิดปีติ มีอาการขนรุก เป็นต้น ซึ่งปิติมีอยู่ 5 ลักษณะ จากนั้น จิตก็เกิดความสุขเกิดจากกายเบาจิตเบา เป็นต้น แล้วจิตนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวแม้มีเสียงมารบกวนจิตก็ไม่ได้หวั่นไหวตามแน่วแน่อยู๋อย่างนั้น

    ฌานที่ 2 คำบริกรรมที่เราบริกรรมคู่กับลมหายใจนั้นดับ คือ พอจิตนิ่งสงบอยู่อย่างนั้นคำบริกรรมจะละเอียดเข้าจนดับไป นึกบริกรรมก็นึกไม่ออก เหลือแต่ ความสงบ ปิติ สุข อยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่

    ฌานที่ 3 เมื่อคำบริกรรมดับแล้ว ลมหายใจจะละเอียดลงเรื่อยๆ จนแทบจะดับ ตอนนั้นกายจะละเอียดจิตก็ละเอียดสงบนิ่งมาก จะมีแต่ความสงบสุขกับลมหายใจที่ละเอียดแทบจะดับ อยู่ในอารมณ์เดียว

    ฌานที่ 4 ลมหายใจดับ พอลมหายใจละเอียดเบาเข้ามากๆลมหายใจในที่สุดก็ดับ คงเหลือแต่จิตดวงเดียวกับอุเบกขา คือ แน่วแน่มากไม่หวั่นไหว มีกายก็เหมือนไม่มี แค่รู้ว่า จิตยังอยู่ในกายอยู่แต่จิตไม่ไปรับรู้สุขและทุกข์ แต่แค่รู้ว่ากายยังมีอยู่ยังอยู่ในกาย จุดนี้เอง สุข และลมหายใจดับ เหลือแต่จิตที่เป็นกลาง ถ้าฌาน 4 ที่ยังไม่ละเอียด ก็ยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ถ้าอยู่ในขั้นที่ละเอียดเข้าไป แม้เสียงก็ดับ ส่วนฌานที่ 5 ขึ้นไป จิตไม่รับรู้กายแล้ว แม้เอาไฟมาเผาก้ไม่รู้สึก ส่วนการถอดจิตหรือกายทิพย์นั้น อยู่อยู่ระหว่าง ฌานที่ 4 กับ ฌานที่ 5 คือเมื่อออกจาก ฌาน 4 แล้วไม่เข้า ฌาน 5 จะเป็นการถอดจิต หรือกายทิพย์ นะคับ

    สมาธิเป็นไปได้หลายอย่างบางคนนั่งไป แล้วรู้สึกตัวโตขึ้น บางคนรู้สึกตัวเล็กลง บางคนรู้สึกตัวโน้มไปข้างหน้า บางคนรู้สึกตัวสั่น บางคนนั่งหันหน้าแต่รู้สึกว่ากลายเป็นหันหลัง บางคนเหมือนตัวลอยขึ้น บางคนเหมือนตัวจมลงไปข้างล่าง บางคนนั่งแล้วไม่เกิดอะไร บางคนรู้สึกขนรุก บางคนรู้สึกอิ่มกายอิ่มใจ บางคนน้ำตาไหล บางคนรู้สึกเหมือนอะไรมาไต่

    ทั้งหมด เป็นอาการของสมาธิ เป็นอาการของปีติ แต่ก็อย่าไปสงสัยเลยนะครับเพราะเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำสมาธิ ที่ต้องได้เจอไม่อย่างใดก้อย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าเราเจอหลายๆอย่างเราก้จะยิ่งมีความสงสัยมาก ซึ่งไม่ค่อยดีนัก

    สิ่งที่ต้องทำคือเมื่อเกิดอาการใดเกิดขึ้นก็ให้เห็นเป็นเพียง สักแต่ว่า สภาวะที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยแล้วในที่สุดก็จะดับไปตามเหตุปัจจัยเอง ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่สมาธิและปัญญาก็เป็นเพียงเครื่องอาศัยให้เราได้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของใคร เมื่อมีเหตุให้เกิดขึ้น สิ่งนั้นๆก็เกิดขึ้น เมื่อหมดเหตุสิ่งนั้นๆก็ดับไป

    ในขณะนั้นไม่ควรกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้จิต ไม่นิ่ง จะเกิดอาการอย่างไรก็ตาม ขอให้จิตนิ่งไว้ การทำสมาธิก็เพื่อให้ จิตสงบนิ่ง ส่วนจะเกิดญาณอะไรนั้นก็ถือเป็นกำไรที่เกิดจากการทำสมาธิ

    ยิ่งถ้าอยู่ในสาธิที่ละเอียดแล้ว แค่เกิดสงสัยหรือกังวล จิตก็ถอนขึ้นมาแล้วนะครับ ถ้า จิตยิ่งนิ่งจิตก็ยิ่งสงบ ส่วนจะบริกรรมอะไรนั้นก็แล้วแต่ถนัดนะครับ ทีสำคัญพยายามให้จิตนิ่งไม่ส่ายไปส่ายมา เดี๋ยวก็จะเกิดสมาธิเอง อาจได้เจอของเก่าด้วยถ้ามี และที่สำคัญเวลาออกจากสมาธิก็ให้ทรงอาการนั้นด้วย หรือจดจำอาการที่จิตเป็นสมาธิ ว่าเป็นสมาธิด้วยอาการอย่างไร แล้วเวลาทำสมาธิอีกก็ค่อยๆปรับสภาพจิตให้เหมือนครั้งก่อน จิตก็จะเป็นสมาธิไวนะคับ

    ซึ่งเป็นการฝึกให้จิตเคยชิน จิตจะได้สงบง่ายขึ้นด้วยครับ
    พยายามต่อไปนะครับ ดีแล้วครับสู้ๆ คนในโลกนี้มีเป็นพันล้าน แต่จะมีสักกี่คน ที่รู้จักให้ทาน รู้จักรักษาศีล รู้จักทำสมาธิภาวนา ขอ อนุโมทนาด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2014
  20. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    คัดลอกจากข้อความเดิมๆครับเผื่อจะมีประโยชน์

    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ polyester
    หากเราจะรู้ว่าตนเองนั้นอยู่ในฌาณไหน จะสามารถรู้ได้โดยอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับฌานใช่หรือไม่ครับ มีหรือไม่ที่ความรู้สึกที่เกิดกับจิตนั้นไม่เป็นไปตามตำรา


    เพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานไป เธอจงเอาพระธรรม และวินัย เป็นองค์แทน ศาสดา คือเอา พระธรรมวินัย เป็นองค์แทน พระพุทธเจ้า


    ตำรานั้นมีไว้ให้เราศึกษาและเทียบเคียง หรือเป็นหลักเป็นแนวทางให้เราได้ใช้อิงในการปฏิบัติครับ จะให้ตรงกับตำราทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ เพราะทางปฏิบัติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่อาการพอเทียบเคียงได้

    อย่างบางครั้งถ้าเราจิตรวมโดยเร็ว ใช้เวลาทำสมาธิไม่ถึง 5 นาที จิตรวมทีเดียวถึงฌาน 4 เลย อย่างนี้ เราจะมาไล่อารมณ์ไปทีละขั้นว่า ฌาน 1 2 3 เป็นอย่างไรนั้นคงยาก จึงได้แต่เทียบเคียงเอา อย่างฌาน 2 นั้นถ้าเราบริกรรมไม่ว่าจะบริกรรรมคำอะไร เมื่อจิตถึงฌาน 2 คำบริกรรมจะดับทันที ต่อให้นึกอย่างไรก็นึกไม่ออกเพราะมันละเอียดเกินที่จะนึกคำบริกรรมให้ออกมาเป็นภาษาได้ จิตจึงได้แต่นิ่งอยู่ และรู้อยู่แต่กับลมหายใจที่ละเอียด พูดง่ายๆคือ จิตมันเริ่มละการรับรู้ เริ่มจากการละการรับรู้ วิตก วิจาร คือ คำบริกรรมนั้นๆ ต่อมาก็จะละการรับรู้ ปิติ แล้วก็ละการรับรู้ความสุข ละการรับรู้ลมหายใจ แล้วก็มาละการรับรู้ เสียง จนกระทั้งละการรับรู้ร่างกายทั้งหมด
    แต่ว่า เพียงจิตละการรับรู้ ลมหายใจ ก็ถือว่าถึงฌาน 4 แล้ว ถ้าฌาน 4 ที่ละเอียด เสียงก็จะดับไปด้วย

    ฌานนั้นนะคับ แต่ละท่านคงน่าจะเข้าใจอยู่แล้วว่า ทำให้เกิดอภิญญาได้ก็จริง แต่ไม่ได้ทำให้ละกิเลสได้ เป็นเหมือนกับ หินทับบนหญ้า พอยกหินออกหญ้าก็ขึ้นใหม่อีก หนักกว่านั้นถ้าหลงว่า วิเศษ จนเกิดหลงตนเองว่าตนวิเศษ อาจจะเกิดความเห็นสุดโต่ง ยากจะละได้ ฤทธิ์นั้น เป็นของเล่นพระอริยเจ้า ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ทางอันประเสริฐสุด คือ อริยสัจ 4

    เรื่องลึกลับมีมากมาย เราก็คงรู้กันอยู่แล้วว่า สิ่งที่เรายังไม่รู้นั้นยังมีอีกมากมาย ธรรมที่พระองค์นำมาตรัสสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือ ที่ทรงรู้แต่ไม่ได้เอามาสอนนั้นมีมากมายเหมือนใบไม้ในป่า ทรงเอาแต่สิ่นที่เป็นประโยชน์นำมาสอนเรา

    ถ้าหากเราปฏิบัติธรรมแล้ว ไม่ว่าจะแนวทางไหนก็ตาม ถ้าทำให้จิตใจเรา ดีขึ้น กิเลสเบาบางลง ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เป็นต้นนั้น ก็ถือว่า เราได้ทั้งกำลังจิต และการขัดเกลาจิต แสดงว่ามาถูกทางแล้ว

    แต่ถ้าหากเราปฏิบัติแล้ว จิตใจเรา มีกิเลสเพิ่มขึ้น หรือกิเลสไม่ได้ลดลง ความยึดมั่นถือมั่นเพิ่มขึ้น หรือไม่ได้ลดลง เราก็ควรพิจารณา ควรหันกลับไปพิจารณาแน้วทางของเราดูว่า เรามาถูกทางมั้ย มันขาดอะไรไปมั้ย ถ้าหากถูกทางแล้ว ควรเพิ่มอะไรเข้าไปบ้าง เป็นต้น เพื่อให้จิตเรา มีแต่ส่วนได้ไม่มีส่วนเสีย ถ้าได้อีกอย่างกลับเสียอีกอย่าง มันคงไม่ค่อยดีนัก หรืออาจจะไม่คุ้มกันเลยก็ได้

    พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุแสดงฤทธิ์ ถ้าพระภิกษุแสดงฤทธิ์ต้องอาบัติทุกกฏ

    มองอีกมุมนึงถ้าหากคนทั้งหลายคิดว่าพระอรหันต์ ต้องเป็นผู้มีฤทธิ์เท่านั้น ถ้าพระอริยเจ้า ที่เป็นแบบสุกขวิปัสโก บรรลุด้วยวิปัสสนา แต่ไม่ได้ ฤทธิ์ กับอีกคน ที่มี ฤทธิ์ แต่มีกิเลสเต็มหัวใจ ก็จะทำให้เกิดเห็นผิดเป็นถูก เห็นพระอรหันต์เป็นปุถุชน เห็นปุถุชนเป็นพระอรหันต์ได้ มันก็น่าคิดนะคับ
    แต่ถ้าได้ฤทธิ์แล้วไม่หลงยึดติด นำฤทธิ์ไปใช้ประโยชน์ ในทางที่ดีเป็นประโยชน์เพื่อผู้อื่นนั้นก็ถือว่าดีมากคับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...