อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,554
    ค่าพลัง:
    +53,107
    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด คงฺคสโร)
    วัดบางกระเบา (พระอารามหลวง)
    ต.บางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี


    ๐ ปฐมวัย

    หลวงพ่อจาด คงฺคสโร หรือพระครูสิทธิสารคุณ
    เดิมชื่อ จาด วงษ์กำพุช เกิดเมื่อวันที่่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2415
    ตรงกับวันอังคาร เดือน 4 ปีวอก แรม 6 ค่ำ
    ที่บ้านตลาดดงน้อย ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา

    บิดาชื่อนายปอ (บางตำราว่าชื่อ นายเป๊อะ) วงษ์กำพุช
    ส่วนมารดานั้นไม่ทราบชื่อ เนื่องจากถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเยาว์
    ต่อมาบิดาได้ยกท่านให้เป็นบุตรบุญธรรม
    ของนายถิน และนางหลิน สีซัง คหบดีชาวบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
    ซึ่งทั้งสองท่านได้ให้ความรักและความเมตตาแก่ท่านมาก เพราะไม่มีลูกเป็นของตนเอง

    ประวัติในวัยเยาว์ของท่านมิได้บันทึกไว้
    แต่เมื่อท่านอายุครบ 20 ปี บิดาบุญธรรมของท่าน
    ได้นำท่านไปฝากกับพระอาจารย์ที่วัดบ้านสร้าง เพื่อเรียนการขานนาค
    การอยู่กับพระภิกษุรูปอื่น และการปรนนิบัติอาจารย์


    ๐ ชีวิตบรรพชา

    เมื่อฝึกอบรมได้เป็นเวลาพอสมควรแล้วก็ถือเอาวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2436
    ทำพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
    โดยมีท่านพระครูปราจีนบุรี วัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    และพระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ได้เดินทางไปโปรดบิดา
    คือนายปอ ที่วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ตำบลดงน้อย อำเภอพนมสารคาม
    จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วได้จำพรรษาที่วัดนี้

    ขณะที่ท่านจำพรรษาที่วัดเวฬุวันนั้น ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิชาจากพระอาจารย์จัน
    (บางตำราว่าชื่อ พระอาจารย์จีน) ซึ่งเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น
    และยังเป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ พระภิกษุจาดจึงได้ฝึกกรรมฐานจนแก่กล้า

    ครั้นพรรษาที่สอง จึงได้ติดตามพระอาจารย์อ้วน
    ไปศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์อยู่ วัดไกรสีห์ บางกะปิ กรุงเทพมหานคร
    และเมื่อพรรษาที่สี่ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบางกระเบา

    หลังจากนั้นท่านได้ออกธุดงค์อยู่ในป่าเป็นเวลาหลายปี
    ได้พบพระภิกษุมากมาย อาทิ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ฯลฯ

    พระภิกษุจาดได้ศึกษาวิชาหลายแขนง เช่น คาถาการปล่อยคุณไสย
    เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน เมื่อพระภิกษุจาดอายุประมาณ 40 ปี
    ท่านได้เดินทางกลับไปจำพรรษา ณ วัดบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

    หลวงพ่อจาดเป็นพระที่เก่งทางด้านคาถาอาคม ทั้งวิชาบังไพรล่องหน หายตัว
    และวิชามหาอุดอยู่ยงคงกระพัน แต่จะไม่แสดงตนว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์
    โดยท่านจะใช้วิชาดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

    ยุคสมัยนั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามมหาเอเชียบูรพา
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด ได้มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง
    แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่ และสร้างกันเป็นจำนวนมากนั้น
    เห็นจะได้แก่เมื่อคราวเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี พ.ศ. 2483
    ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาคมต่างๆ ทั่วประเทศ
    ก็ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญกันในปีนี้เป็นจำนวนมาก
    หลวงพ่อจาดก็ได้รับอาราธนาจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม
    ให้ไปปลุกเสกเครื่องรางของขลัง
    เพื่อแจกจ่ายให้กับทหารตำรวจและประชาชนจังหวัดปราจีนบุรี

    หลวงพ่อจาด สร้างเป็นเหรียญ นั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์ นั่งอยู่กลางดอกบัว
    มีทั้งเนื้อเงินลงยา และทองแดง เกียรติคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อจาดได้มาประจักษ์ขึ้น
    เมื่อมีเครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิด ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
    ซึ่งเกิดปาฏิหาริย์เลื่องลือไปทั่ว จนได้รับสมญานามว่า เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

    หลวงพ่อจาดก็ได้รับนิมนต์ให้ปลุกเสกของขลังมากมาย
    แต่ที่สำคัญ คือ แหวนมงคล 9 ที่ทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่ออกรบ
    จนเกิดเหตุอัศจรรย์เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูคือทหารไทยอยู่ยงคงกระพันชาตรี
    จนทำให้ชาวต่างชาติตั้งชื่อเรียกขานทหารไทยว่า ทหารผี

    หลวงพ่อจาดดำรงสมณเพศเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั่วไป
    และเป็นที่เคารพนับถือของพระเถระผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    คุณความดีของท่านเป็นที่ทราบไปถึงทางการจึงได้รับสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้

    พ.ศ. 2447 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูจาด

    พ.ศ. 2457 เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอบ้านสร้าง

    พ.ศ. 2461 เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูสิทธิสารคุณ ระดับชั้นโท

    หลวงพ่อจาดมรณภาพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน (บางตำราว่า มิถุนายน) พ.ศ. 2499
    สิริอายุรวมได้ 85 ปี พรรษา 63


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]
     
  3. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]
     
  4. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    จอง.............................................
    ยังไม่เคยเหงเหรียญใดสวยเท่าเหรียญนี้เลยครับพี่ปู
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,554
    ค่าพลัง:
    +53,107

    อ้าว พี่ได้ยินแต่พระรอด งั้นต้องเช็คๆ ใหม่หละ
     
  6. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    สวยจริงๆ :cool::cool::cool:
     
  7. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    พระรอด ดูแล้วไม่น่ารอดใช่ไหมครับคุณเอ็ม



    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  8. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    พี่ปูแกกะเก็บเอามาแจกน่ะครับพี่โญ ผมเดาว่าอย่างนี้นะ...
     
  9. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    พี่ปูย้ายลงไปอยู่ปัตตานีแล้วเหรอครับ

    เมื่อคืนมีข่าวรุนแรงพอสมควร ไฟดับทั้งเมือง
    :':)':)'(
     
  10. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    เหรียญนี้มาพร้อมบาตรน้ำมนต์หลวงปู่หมุน

    สำนวนจีนกล่าวว่าบาตรน้ำมนต์อยู่เหรียญก็อยู่คร๊าบบ
     
  11. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    จอง...
    ถึงรอดพี่เอ็ม ก็ไม่รอดผมครับ
     
  12. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    งั้นเรามาเชียร์พี่ปูกันต่อเลย
    ....<a href="http://emoticon.ohozaa.com" target="_blank"><img src="http://emoticon.ohozaa.com/datas/emoticon/Onion/onion29.gif" border="0" alt="onion29.gif" /></a>
     
  13. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    ชิ..หลายใจจริงๆ
     
  14. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    <a href="http://emoticon.ohozaa.com" target="_blank"><img src="http://emoticon.ohozaa.com/datas/emoticon/Onion/onion23.gif" border="0" alt="onion23.gif" /></a> พี่ปูใจดีจัง แจกทั้งเหรียญทั้งบาตรเลย
     
  15. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    หึหึหึ.... อย่างนั้น ผมจองบาตรน้ำมนต์แทนละกันพี่ปู... เด่วเหรียญตามมาเอง

    ปล.ขอชมบาตรน้ำมนต์ด้วยนะครับพี่ปู
     
  16. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]
     
  17. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    มีเหรียญหล่อติดอยู่ที่บาตรด้วยน๊าา บาตรน้ำมนต์นี้หล่อด้วยเนื้อลงหินแบบโบราณหนาพอสมควรเลย
     
  18. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    "เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช" รุ่น "มหาเดช"


    [​IMG]

    วัดทองทั่วอยู่ในจ.จันทบุรีเป็นวัดเก่าแก่
    ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าตากสินมหาราชโดยตรง
    ณ วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระเจ้าตาก
    ซึ่งมีหลักฐานเป็นใบโพธิ์ทองคำจารึกไว้เพียงแต่ได้ถูกขโมยไป
    วัดนี้เป็นวัดมหานิกาย แต่หลวงปู่ฟัก เมตตาวัดนี้มาก
    แม้แต่การมังคลาภิเษกเหรียญพระเจ้าตากรุ่นมหาเดช
    หลวงปู่ฟักก็เมตตามาร่วมพิธี
    นับเป็นมรดกขลังชิ้นสุดท้ายที่หลวงปู่ฟักเหลือทิ้งไว้และยังพอหาได้

    [​IMG]

    ด้วยความจำเป็นหลายประการ
    ทำให้ทางวัดทองทั่วต้องสร้างศาลาขึ้นมาเพื่อประกอบศาสนกิจ
    ทางคณะศิษย์ยุคเก่าของหลวงปู่ฟักนำโดยเจ็กก้วง
    จึงได้นำเหรียญพระเจ้าตากซึ่งหลวงปู่ฟักได้เมตตามาทำพิธีมังคลาภิเษกเหรียญรุ่นนี้
    ซึ่งตามปรกติหลวงปู่ฟักจะไม่รับนิมนต์พุทธาภิเษกเลย
    ออกมาแจกผู้ร่วมบุญทอดผ้าป่าสร้างศาลาวัดทองทั่วนี้
    นี้จึงนับเป็นโอกาศอันดีที่จะได้มงคลวัตถุที่หลวงปู่ฟักเมตตาอธิษฐานจิต
    แบบไม่ต้องกังวลใจว่าพระหลวงปู่ฟักจริงหรือเปล่า

    [​IMG]


    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ประวัติวัดทองทั่ว

    เมื่อ พ.ศ. 2310ได้มีการตั้งวัดทองทั่ว และเมื่อ พ.ศ. 2318 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เพื่อรับรองว่าวัดทองทั่ว เป็นวัดสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 โดยกรมศาสนา

    ปัจจุบันวัดทองทั่วอยู่ใกล้โบราณสถานเมืองเพนียด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอารยธรรมขอมโบราณ โดยมีหลักฐาน จากโบราณวัตถุที่ค้นพบ และมี "วัดเพนียด" ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อยู่ห่างจากวัดทองทั่วทางทิศใต้ไปประมาณ 400 เมตร ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งใหม่ คือวัดทองทั่วในปัจจุบัน วัดทองทั่วตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 4-5 กิโลเมตร

    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มารวบรวมกำลังไพร่พลเพื่อกู้อิสรภาพที่เมืองจันทบุรี เมื่อทรงกู้อิสรภาพได้สำเร็จ ก็คงจะมีความผูกพันกับวัดทองทั่ว พระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดทองทั่ว และอาจจะสถาปนาวัดทองทั่วขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพราะวัดทองทั่วมีใบสีมารอบพระอุโบสถหลังเก่าของวัดทั้ง 8 ทิศเป็นใบสีมาคู่ ซึ่งมีแต่พระอารามหลวงเท่านั้นจึงจะตั้งใบสีมาคู่ได้ และหลักฐานอีกชิ้นที่ได้ระบุความเป็นมาของวัดทองทั่ว คือเอกสารที่เก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นเอกสารในรัชกาลที่ 5 ศ.12/25 รายงานถึงมณฑลจันทบุรี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2443) โดยพระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ซึ่งต่อมาได้เป็นพระวชิรญาณวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) โปรดเกล้าให้มาจัดการศึกษาในเมืองจันทบุรี เมื่อร.ศ. 116 (พ.ศ. 2441) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการการศึกษามณฑลจันทบุรี

    พระอุโบสถ (หลังเก่า) โครงสร้างศิลปะเดิมอยู่ในสมัยอยุธยา แต่ในปัจจุบันได้มีการต่อเติมเปลี่ยนแปลง และตามประวัติของวัดเจ้าอาวาสทุกรูปที่เคยปกครองวัด ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถ (หลังเก่า) ทำให้ศิลปะเดิมเลือนหายไปและศิลปะใหม่ก็ถูกสร้างแทนที่ไปตามสมัยนิยมนั้นๆ

    พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ คู่มากับพระอุโบสถ (หลังเก่า) ตามหลักฐานการสร้างวัด และในปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ (หลังเก่า)


    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/W29YRB9prnI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  19. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    แหมๆ... ผมก็จองแค่พี่ปูกับพี่โญแหละครับ ^^
     
  20. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,554
    ค่าพลัง:
    +53,107

    พระรอด วัดชัยพระเกียรติ ปี พ.ศ.2497 พิธีเสาร์๕ ก้นจารเปียก เลข๕ สีพิกุลคราบเขียว เนื้อแห้งแก่มวลสาร
    พระ รอดวัดชัยพระเกียรติ หรือมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพระรอด เสาร์ 5 สร้างในปีถัดมาจากวัดพระสิงห์ คือปี พ.ศ.2497 ที่วัดชัยพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ จุดสังเกตุการแยกระหว่างพระรอดวัดพระสิงห์และพระรอดชัยพระเกียรติอย่างง่ายๆ คือพระรอดวัดชัยพระเกียรติ ใต้ฐานองค์พระจะมีการจารเลข 5 ไทย ส่วนพระรอดวัดพระสิงห์จะมีฐานเรียบ ไม่มีรอยจารหรืออักขระใดๆ

    พระ รอด วัดชัยพระเกียรติ ปี พ.ศ.2497 พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ ไม่แพ้ พิธีของพระรอด วัดพระสิงห์เลย แต่พิมพ์ทรงมีความงดงาม

    พระรอดชุดนี้สร้างโดยมี หลวงพ่อพลี วัดสวนพลู เป็นประธาน ร่วมกับเกจิอาจารย์สายครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่และลำพูน ร่วมปลุกเสกในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ.2497 มี 4 สี คือ สีแดง พิกุล เขียว และเหลือง

    วัตถุประสงค์การสร้าง เพื่อหารายได้ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ของวัดชัยพระเกียรติ

    พิธีพุทธาภิเษก พระเกจิ 108 รูป คณาจารย์ที่ร่วมกันปลุกเสกมีมากมายหลายท่าน ประกอบด้วย
    เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์
    เจ้าคุณศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง
    หลวงปุ่นาค วัดระฆัง
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    ครูบาวัง วัดบ้านเด่น
    พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์
    หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อภักดิ์ วัดบึงทองหลาง
    หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน
    หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
    หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
    หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    และยังมีส่วนผสมของมวลสารเก่าพระรอด วัดมหาวัน อีกด้วย


    ตกลงน้องโอ๊ต จอง เลย ใช่ใหม ไม่ เตาะ ก่อนเหรอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...