อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    กินเองชงเอง เขาว่าเป็นคนมีกรรมครับคุณเอ๊ะ...:':)':)'(

    ต้องมีคนชงให้กิน ถือว่ามีบุญครับ...<a href="http://emoticon.ohozaa.com" target="_blank"><img src="http://emoticon.ohozaa.com/datas/emoticon/Onion/f529a952.gif" border="0" alt="f529a952.gif" /></a>

    เรื่องเดียวกันอ่ะเป่าครับ...<a href="http://emoticon.ohozaa.com" target="_blank"><img src="http://emoticon.ohozaa.com/datas/emoticon/Onion/onion_ha.gif" border="0" alt="onion_ha.gif" /></a>
     
  2. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    หลวงพ่อสิทธิชัย วัดทรายขาว

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ฮา ๆ ๆ
     
  4. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    ตากานต์ทราบแล้วเปลี่ยน
    ...[​IMG]
     
  5. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    สวัสดียามค่ำ อ.โญ คุณปู คุณเอ็ม คุณเอ๊ะ คุณโอ๊ต คุณกูล คุณบอย คุณเอ๋ คุณกานต์ คุณกันต์ คุณวุฒิ คุณพีพี2 คุณอ้วน คุณเหน่งและเพื่อนๆทุกๆท่าน
    วันนี้สนุกมากๆกับคุณปู อ.โญและเพื่อนๆทุกๆท่าน 2 ชม.กับการอ่านย้อนหลังครับ
     
  6. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 19 คน ( เป็นสมาชิก 10 คน และ บุคคลทั่วไป 9 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    MrCHAN, nitikoon29, jumbo_a44, jaya, ddd445, kravity+, kraisorn_pithsanulok, oatlovetong, เกตุลอย, วุฒิ สิงห์


    ;aa44 สวัสดีครับทุก ๆ ท่าน แหมซุ่มอ่านกันเงียบกริบเลยน๊าาาา....
     
  7. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    พี่ตี๋ถนอมสุขภาพสายตาไว้รอหน้า ๙๙๙ ด้วยนะครับ
    :cool::cool::cool:
     
  8. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,125
    คุณโญชี้ชัดๆแบบมีเหตุผลครับ...งั้นหาปิดตางามๆมาตัดกรรมสักองต์สององค์ดีหมัยครับ....
     
  9. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    พระรูปเหมือนพระอาจารย์ฟัก สนฺติธมฺโม

    [​IMG]

    จำนวนสร้าง เนื้อทองคำ ๓ องค์ เนื้อเงิน ๘๔ องค์ เนื้อทองแดง ๕๐๐ องค์

    [​IMG]

    นำเข้าพิธีต่าง ๆ และขอเมตตาจากครูบาอาจารย์
    ๑ พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๑๒ ก.ย.๕๓
    ๒ พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดประทีปปุญญาราม ๑๔ ก.ย.๕๓
    ๓ หลวงปู่เคน เขมาสโย ๘ ต.ค.๕๓
    ๔ หลวงปู่ลี กุสลธโร ๙ ต.ค.๕๔
    ๕ พระอาจารย์บุญช่วย ปุญญวนฺโต ๘ มิ.ย.๕๔
    ๖ พระอาจารย์อุทัย สิริธโร ๑๐ มิ.ย.๕๔
    ๗ พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม ๑๒ มิ.ย.๕๔
    ๘ พระอาจารย์สุธรรม สุธมฺโม ๑๓ มิ.ย.๕๔
    ๙ พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ๑๔ ก.ค.๕๔
    ๑๐ หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ๑๔ ก.ค.๕๔


    [​IMG]
     
  10. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    หลวงปู่พรหมมา วัดสวนหินผานางคอย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี

    พระเกจิอาจารย์แห่งแดนอีสาน บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ12 ปี

    จากนั้นได้ศึกษาวิชากับสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ นานถึง 6 พรรษา

    หลังจากที่สมเด็จลุนได้มรณภาพลง หลวงปู่พรหมมาก็ได้ร่วมเดินธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ

    และหลวงปู่พรหมา ยังได้ไปศึกษากรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ต่อจากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนยอดภูเขาควายนานถึง 45 พรรษา

    ต่อมาได้ธุดงค์ข้ามมายังฝั่งไทยเมื่อปีพ.ศ.2533

    หลวงปู่พรหมมาได้เห็นว่าถ้ำสวนหิน ภูกระเจียว ในวันเดือนหงายจะมีสัตว์ป่านานาชนิดวิ่งกันขวักไขว่

    จึงได้พักบำเพ็ญเพียรแต่นั้นมา ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยเสด็จฯมานมัสการหลวงปู่พรหมมาถึง 2 ครั้ง

    โดยก่อนจะมรณภาพหลวงปู่ได้ดูแลชาวบ้านดงนาและใกล้เคียงเพื่อพัฒนาในบางส่วนให้เรียบร้อยสวยงามโดยเน้นการรักษาป่าสงวน

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำสวนหินแก้ว ( ผานางคอย ) ภูกระเจียว บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี

    ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ วันที่ 23 ส.ค.2545 สิริอายุ105 ปี

     
  11. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    ภูมิใจเสนอ ปิดตาหลวงปู่อ่อนสาของพี่โญคร้าบ[​IMG][​IMG]
     
  12. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]


    หลวงปู่บุดดา ถาวโร มีนามเดิมว่า บุดดา นามสกุล มงคลทอง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2437 สถานที่เกิด หมู่บ้านหนองเต่า ต.พุคา อ.โคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ได้บรรพชาและอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ในปีพ.ศ. 2465 โดยมีพระครูธรรมขันธ์สุนทร(หม่อมราชวงศ์เอี่ยม)เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 12 มกราคม พ.ศ. 2537 สิริรวมอายุ 101 ปี 7 วัน 73 พรรษา ตรงกับวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ปีจอ


    ชีวิตฆราวาส

    หลวงปู่บุดดา มีโยมบิดาชื่อ นายน้อย มงคลทอง โยมมารดาชื่อ นางอึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในช่วงวัยเด็กท่านได้เกิดมีสัญญาความจำระลึกย้อนอดีตชาติได้ว่า บิดาของท่านในอดีตชาติเคยเป็นพี่ชายของท่าน

    พอเข้าสู่วัยฉกรรจ์อายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2458 ได้ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ทหารบกปืน 3 ในสมัยรัชกาลที่ 6 รับราชกาลทหารอยู่ 2 ปี ในกองทัพที่ 3 ลพบุรี สมัยเมื่อเป็นพลทหารหนุ่มรูปงาม มีผู้หญิงมาชอบ เข้ามาพูดจาทำนองเกี้ยว แต่ท่านพูดกลับไปว่า "กลับไปเสียเถิด ฉันเป็นทหารตัวเมีย ไม่ชอบผู้หญิง ถ้าไปเจอทหารตัวผู้คนอื่นเข้าก็จะลำบาก"

    ในปี พ.ศ. 2460 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทางการได้มีการรับสมัครคัดเลือกทหารอาสาไปราชการรบในสงคราม ณ ทวีปยุโรป หลวงปู่บุดดาได้เข้าสมัครอาสาด้วยเหมือนกัน แต่ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาจึงไม่รับโดยได้อธิบายเหตุผลว่า ในทวีปยุโรปนั้นอากาศหนาวเย็นมาก ทหารทุกคนจำเป็นต้องดื่มเหล้าเพื่อช่วยให้คลายหนาว ดังนั้นท่านจึงไม่ได้เข้าร่วมในสงครามคราวนั้น


    สู่ร่มกาสาวพัสตร์

    หลังรับราชการทหาร ท่านได้ช่วยโยมบิดามารดาทำงานเกษตรกรรมอยู่ 4 ปี โดยท่านมีความปรารถนาในใจเสมอมาว่า อยากจะได้บวชในร่มเงาพระพุทธศาสนา ด้วยจิตที่เบื่อหน่ายในทางโลกมาตั้งแต่เด็กแล้ว ดังนั้นเมื่อมีโอกาสจึงขออนุญาตต่อบิดามารดาบวช เมื่ออายุได้ 28 ปี ที่วัดเนินยาว โดยมี พระครูธรรมขันธ์สุนทร (ม.ร.ว.เอี่ยม อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเรือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการไพล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    โดยมีคณะสงฆ์ 25 รูป นั่งเป็นพระอันดับ ได้ฉายาว่า "ถาวโรภิกขุ"

    หลวงปู่บุดดา ท่านกล่าวเสมอว่า ท่านถือพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์ 25 รูป เป็นครูบาอาจารย์อุปัชฌาย์ทุกองค์ ท่านสอนปัญจกรรมฐานให้แล้วในวันอุปสมบท คือเกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยพิจารณาเรียงไปตามลำดับและย้อนกลับ จนเห็นชัดเจน




    แสวงโมกขธรรม

    หลังจากบวช เมื่อออกพรรษาแรกแล้วหลวงปู่บุดดาได้ออกจาริกแสวงหาสถานที่วิเวก เจริญสมณธรรมตามอัธยาศัยเพียงองค์เดียว หลวงปู่บุดดามุ่งปฏิบัติกรรมฐานพิจารณากายภายในอยู่เสมอ ข้อวัตรปฏิบัติเคยทำอย่างไรก็ยังคงทำมิได้ขาด ท่านทำความเพียรอยู่โดยตลอด บางครั้งบางคราว กิเลสราคะอันมักจะเกิดขึ้นมาให้รู้ได้ว่ายังมีอยู่ท่านก็ได้เพียรพยายามดับมันด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ

    หลวงปู่บุดดาท่านจาริกธุดงค์บำเพ็ญเพียรมาโดยตลอด จนถึงพรรษาที่ 4 ท่านได้ออกธุดงค์อยู่ในป่าแถบเทือกเขาภูพานนั้น ท่านได้พบกับพระธุดงค์องค์หนึ่งคือ พระสงฆ์ พรหมสโร ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน 10 ปี พรรษามากกว่า 1 ปี ทันทีที่ได้พบหน้าท่านระลึกชาติได้ว่าพระสงฆ์ พรหมสโร เคยเป็นบิดาในอดีตชาติ ท่านจึงเรียกพระสงฆ์ พรหมสโร ว่าคุณพ่อสงฆ์ หลวงปู่บุดดากับพระสงฆ์ พรหมสโร มีอัชฌาศัยตรงกัน

    หลังจากนั้นท่านได้ออกจาริกร่วมธุดงค์มาด้วยกัน จากอีสานมาสู่ภาคกลาง ผ่านตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี นครสวรรค์พบชัยภูมิคือ ภ้ำภูคา บนภูคา มีบรรยากาศสงบ ร่มเย็นและวิเวกยิ่ง สถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การเจริญกรรมฐานยิ่ง พอใกล้พรรษาทั้งสองจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าหนองคู พอออกพรรษาก็กลับมาที่ถ้ำภูคาอีกครั้ง

    ณ ที่ถ้ำภูคานี้เองที่หลวงปู่บุดดาในพรรษาที่ 4 และพระสงฆ์ พรหมสโร ในพรรษาที่ 5 ได้พำนักอาศัยบำเพ็ญเพียรจนได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรมทั้งสององค์




    สิ้นอาสวะ

    หลวงปู่บุดดาท่านได้เล่าเหตุการณ์ในวันที่บรรลุธรรมว่า คืนนั้นขณะที่ท่านทั้งสองกำลังนั่งคุยกันอยู่ โดยนั่งลืมตาคุยกันปกตินี่เอง แล้วหันหน้าเข้าสนทนากันอย่างออกรสชาติอยู่นั่นเอง จู่ ๆหลวงปู่บุดดาก็เงียบเสียงไปเฉย ๆ นั่งลืมตาค้างอยู่ พระสงฆ์ พรหมสโร ท่านก็นั่งเฝ้าอยู่อย่างนั้นมองดูอยู่ ปกติท่านเป็นพระขี้สงสัย ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ก็แปลกใจที่ทำไมหลวงปู่บุดดาจึงเงียบเสียงไปเฉย ๆ ก็ถามหลวงปู่บุดดาว่า "เอ๊ะ เป็นอะไรไป"

    หลวงปู่บุดดาท่านก็นิ่งเฉยไม่ตอบ นัยน์ตาคงเบิกโพลงอยู่อย่างนั้น เป็นอันว่าหลวงปู่บุดดาท่านได้จบกิจพระศาสนา ทำอาสวะให้สิ้นต่อหน้าพระสงฆ์ พรหมสโร นั่นเอง

    หลังจากนั้น 3 วัน ในตอนเช้าก่อนที่จะออกบิณฑบาต พระสงฆ์ พรหมสโร ก็มาบอกต่อหลวงปู่บุดดาว่า "ไม่มีคนไปนรก ไม่มีคนไปสวรรค์ เน้อ" หลวงปู่บุดดาจึงเสริมว่า "โอ๊ย มันจะมีนรก มีสวรรค์อย่างไร นั่นมันกิเลสต่างหากเล่า กิเลสหมด มันก็หมดนรก หมดสวรรค์ซิ" เป็นอันว่าพระสงฆ์ พรหมสโร ท่านได้จบกิจบรรลุธรรมในคืนก่อนนั่นเอง
     
  13. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    ใช่ครับตามที่พี่เสี่ยเอ๊ะบอกไว้จริงๆครับ เอิ๊กๆๆ
     
  14. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    คุณกันต์จะแจกพระปิดตาสมจินตนามาให้ผมตัดกรรมหร๊าาาา....
    :cool::cool::cool:
     
  15. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448


    พระปิดตาพระปิดตาเนื้อไม้ขนุนทอง .......... หลวงปู่บัว ถามโก วัดเกาะตะเคียน จ.ตราด (เนื่องในโอกาสฉลองอายุ 7 รอบ 84 ปี)


    *** ประวัติการจัดสร้างและที่มาของไม้ขนุนทองที่นำมาสร้างเป็นพระปิดตาพระปิดตาเนื้อไม้ขนุนทอง .......... หลวงปู่บัว ถามโก วัดเกาะตะเคียน จ.ตราด (เนื่องในโอกาสฉลองอายุ 7 รอบ 84 ปี) ***

    .......... เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้สั่งการให้ น.ท.ชนก สนทราพรพล ผบ.พัน.ร.ฉก.นย.ตราด ดำเนินการจัดหาไม้มงคล ที่มีประวัติดี ไม่ผ่านการโค่นต้นมาเพื่อทำแท่นวางรถสะเทินน้ำสะเทินบกจำลอง เพื่อจะนำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 28 มิถุนายน 2553

    .......... น.ท. ชนก จึงได้สั่งการไปยัง พ.จ.อ.มนัส วงศ์เจียก เพื่อดำเนินการจัดหาไม้มงคลดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมาก ๆ เนื่องจากแท่นวางรถสะเทินน้ำสะเทินบกที่จะใช้ต้องมีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ซึ่งประกอบด้วยไม้มงคล 9 ชนิด ที่มีขนาดใหญ่และต้องไม่ผ่านการโค่นต้นทั้งหมด แต่ด้วยพระบารมีของพระองค์ท่าน ทำให้สามารถหาไม้มงคลดังกล่าว ซึ่งเป็นไม้ขนุนทอง อายุประมาณ 500 - 600 ปี ได้ภายใน 1 วัน

    .......... ไม้ขนุนทองดังกล่าวเป็นของลุง สมนึก แสงเงิน อายุ 55 ปี มีอาชีพเป็นชาวประมง อยู่บ้านเลขที่ 144 หมู่ที่ 1 ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด ซึ่ง พ.จ.อ.มนัส ได้แจ้งความประสงค์กับลุงสมนึกว่าจะนำไม้ขนุนทองนี้ไปทำแท่นวางรถสะเทินน้ำสะเทินบกจำลองเพื่อนำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลุงสมนึกก็เต็มใจและยินดีที่จะถวายแด่พระองค์ท่าน ซึ่งก่อนหน้านี้มีคนมาขอซื้อไม้ขนุนทองท่อนนี้แต่ลุงสมนึกก็ไม่ขาย โดยลุงสมนึกเล่าว่าไม้ขนุนทองท่อนนี้ลุงได้มาจากการออกเรือทำการประมง โดยพบไม้ท่อนนี้ลอยน้ำทะเลมาติดอยู่ที่บริเวณโขดหินใหญ่ (แหลมหิน) เมื่อปี พ.ศ.2550 ซึ่งลุงสมนึกได้ใช้เชือกผูกเรือลาก ใช้เวลาถึง 2 วัน และนำมาไว้ที่บ้าน

    ………. และในวันต่อมาประมาณ 09.00 น. พ.จ.อ.มนัส ได้นำช่างเลื่อยยนต์พร้อมด้วยช่างทำแท่นเพื่อทำการผ่าไม้ขนุนทอง ซึ่งก่อนเริ่มทำการผ่าไม้มีฝนตกลงมาปรอย ๆ ตลอดเวลาในช่วงเช้า ซึ่งขณะทำการผ่าไม้อยู่นั้นฝนได้หยุดตก และเมื่อทำการผ่าไม้ที่ทำแท่นรถสะเทินน้ำสะเทินบกจำลองเสร็จเวลาประมาณ 12.00 น. ฝนได้ตกมาอย่างหนักซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์

    ………. หลังจากนั้นได้นำไม้ขนุนทองที่ผ่าเสร็จเรียบร้อยแล้วไปทำแท่นรถสะเทินน้ำสะเทินบกจำลอง ที่กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน นย.แล้วเสร็จในวันที่ 27 มิถุนายน 2553 และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน โดย พล.ร.ท.สุวิทย์ ธาระรูป ผบ.นย. และคณะได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ในวันที่28มิถุนายน 2553 เวลา 09.00น. ที่โรงพยาบาลศิริราช

    ………. โดยไม้ขนุนทองส่วนที่เหลือจาการทำแท่น พ.จ.อ.มนัส วงค์เจียก เห็นว่าเป็นไม้มงคลที่มีประวัติและความเป็นมาที่ดี จึงได้ว่าจ้างช่างแกะบล็อกปั้มเป็นพระปิดตารุ่นดังกล่าว

    .......... จำนวนการสร้างปิดตาเนื้อไม้ขนุนทอง หลวงปู่บัว ถามโก วัดเกะตะเคียน จ.ตราด จำนวนสร้างทั้งสิ้น 1,585 องค์ โดยแยกได้ดังนี้

    1. พระปิดตาเนื้อไม้ขนุนทองหน้าทองคำ จำนวน 29 องค์..........(ตอกโค๊ต บ. ด้านหลังองค์พระ 1 ตัว)
    2. พระปิดตาอุดผงสอดตะกรุดทองคำ จำนวน 54 องค์.......... (ตอกโค๊ต บ. 2ตัวหลังองค์พระและในตะกรุดทองคำยังตอก โค๊ต บ. อีก 1 ตัว)
    3. พระปิดตาอุดผง จำนวน 1,502 องค์..........(ตอกโค๊ต บ. ด้านหลัง 1 ตัว)

    .......... โดยทั้งหมดได้ถวายให้กับหลวงปู่บัว วัดเกาะตะเคียน ในวันที่ 17 ก.ค. 2553 ซึ่งหลวงปู่บัวท่านกรุณาอุดผงและเมตตาอธิฐานจิตปลุกเสกตลอด 1 ไตรมาสปี 2553 แล้วก็ยังปลุกเสกตลอดมาถึงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2554

    .......... เมื่อหลวงปู่บัวปลุกเสกเรียบร้อยแล้ว นายทหารชุดที่สร้างถวายได้นำพระปิดตาเนื้อไม้ขนุนทองกลับไปคือพิมพ์ที่เป็นหน้ากากทองคำจำนวน 19 องค์ ซึ่งที่เหลือ 10 องค์ได้แจกให้กับทางคณะกรรมวัดเกาะตะเคียน โดยมีหมอนะ (กรรมวัด) เป็นสักขีพยาน โดยพระปิดตาหน้ากากทองคำ 10 องค์ดังกล่าว หมอนะได้ทาสีขาวไว้ตรงกลางหลังองค์พระ ตรงยันต์เฑาะว์ไว้จำนวน 6 องค์ และอีก 4 องค์ไม่ได้ทาสีขาวไว้ (เนื่องจากได้แจกกรรมการไปก่อนแล้ว) และทางผู้สร้าง (ทหาร) ได้ขอพระปิดตาเนื้อไม้ขนุนทองอุดผงไว้จำนวน 200 องค์ เพื่อไปแจกทหาร โดยพระปิดตาส่วนที่เหลืออีก 1,366 องค์ได้ถวายให้หลวงปู่บัวทั้งหมด เพื่อออกให้บูชาในวันเกิดที่ 10 เมษายน 2554 ในราคาวัดองค์ละ 1,000 บาท ส่วนบล็อคแม่พิมพ์นั้นทางผู้สร้างได้ถวายให้กับหลวงปู่บัวที่วัดเกาะเคียนทั้งหมด และได้ทำลายบล๊อคแล้ว

    .......... พระปิดตาเนื้อไม้ขนุนทองอุดผงหมดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาครึ่งชั่วโมง


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    พระกริ่งปทุม ออกวัดโพธิ์พฤกษาราม กลางแม่น้ำมูลที่ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ สร้างปี 2538


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    ประวัติหลวงปู่ธรรมรังษี " ท่านเจ้าคุณสองแผ่นดิน "
    วัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
    “ ฉบับสมบูรณ์ ”

    หลวงปู่ธรรมรังษี “ พระมงคงรังษี ” มีนามเดิมว่า นายสุวัฒน์ เซ็ง เกิดเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๒ ณ ตำบลเกีย อำเภอโมงฤษี (อำเภอโมงรือแซ็ย ในปัจจุบัน) จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เมื่อปฐมวัยได้ศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ (เทียบเท่าชั้น ป.๔ ของไทย) เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ๑ พรรษา แล้วลาสิกขาออกมาช่วยบิดา-มารดา ทำงานจนอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๘๑ ณ วัดเวฬุวนาราม ตำบลเกีย อำเภอโมงรือแซ็ย จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดยมีพระสุวัณณเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุวัณณปัญโญเป็นพระกัมวาจาจารย์ พระจันทัตตเถระเป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาธรรมว่า “ ธรรมรังษี ” หลวง ปู่ธรรมรังษีเป็นพระที่มีใจใฝ่ปฏิบัติสมาธิภาวนา และกรรมฐาน ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับการศึกษาพระเวทวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ หลายรูปในประเทศกัมพูชาตลอด ๓๕ พรรษา จนมีวิชาแก่กล้าแตกฉานและเชี่ยวชาญหลายแขนงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงในประเทศกัมพูชาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นหลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ เป็น “ พระครูธรรมรังษี “ เป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ขณะที่สงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชาร้อนระอุถึงขั้นวิกฤตนั้น หลวงปู่ธรรมรังษีในฐานะทายาทผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาตกอยู่ในฝ่ายตรงข้าม เขมรแดง เนื่องจากวัดวาอารามในจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพระตะบอง ถูกทำลายเสียหายและถูกยึดเป็นค่ายทหาร พระสงฆ์องค์ใดไม่อ่อนน้อมยอมลาสิกขาเข้าเป็นพวกจะถูกทรมานถึงชีวิต ที่หนีรอดก็กระจัดกระจายไม่ทราบชะตากรรม

    คืนวันหนึ่ง ในขณะที่หลวงปู่ท่านนั่งเจริญสมาธิภาวนาในกลางดึกสงัด เกิดนิมิตทางหู ได้ยินเสียงประกาศกึกก้องมาแต่ไกล และใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามา ท่านยังคงนั่งนิ่งดำรงสติมั่น และเกิดภาพนิมิตเบื้องหน้าปรากฏชัดเจน คือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของชาวไทย เสด็จยืนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ มีข้าราชบริพารนั่งคุกเข่าเฝ้าถวายความเคารพอยู่เนืองแน่น หลวงปู่ท่านเพ่งมองภาพนั้นอยู่นานจนกระทั่งเลือนหายไป ภาพดังกล่าวยังคงติดตาหลวงปู่ธรรมรังษีมาโดยตลอด วันรุ่งขึ้นหลวงปู่ท่านได้เล่ามงคลนิมิตให้บรรดาญาติโยมและพระลูกวัดฟัง และเอ่ยบอกว่าประเทศไทยนี้ปลอดภัยที่สุด เพราะอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารพระบารมีองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะพาญาติโยมและพระลูกวัดทั้งหลายอพยพหนีร้อนมาพึ่งเย็น ข่าวนี้แพร่กระจายไปทั่วจากนั้นหลวงปู่จึงพาคณะและพระ ๔ รูป เดินทางเช้าตรู่ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๑๘ คล้อยหลังเพียงหนึ่งวันอำเภอโมงรือแซ็ย ได้ถูกเขมรแดงยึดไว้ได้ใน วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๑๘

    หลวงปู่ธรรมรังษีและคณะใช้เวลาเดินทางธุดงค์มา ๕ วัน จนถึงด่านปอยเปต อยู่ติดกับชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เข้าพำนักที่วัดป่าเลไลย์เพื่อขออนุญาตเข้าประเทศไทย ในที่สุดก็ได้รับการอนุญาตจากทางการไทย หลวงปู่ท่านโดยสารรถไฟจากสถานีอรัญประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เมื่อเช้า วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๘ หลังจากกรุงพนมเปญถูกเขมรแดงยึดได้เพียง ๑ วัน ระหว่างอยู่บนรถไฟหลวงปู่นั่งภาวนาขอพระบารมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่พึ่งตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก

    เมื่อถึงกรุงเทพมหานคร ได้เข้าพำนักอยู่กับพระอาจารย์วิโรจน์ เจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ซึ่งเป็นสหธรรมิกกันมาก่อน และด้วยความที่หลวงปู่ธรรมรังษีมุ่งมั่นและใฝ่ในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระอาจารย์วิโรจน์จึงได้พาหลวงปู่ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเพลงวิปัสนา กรุงเทพมหานคร หลวงปู่ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมเพิ่มเติมจากสำนักวัดเพลงวิปัสสนา และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ เพราะสมัยอยู่ที่ประเทศกัมพูชานั้น หลวงปู่ธรรมรังษีท่านมุ่งเน้นเรื่องด้านวิทยาคมเป็นหลัก ในพรรษาถัดมาหลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงได้ปรารภกับสหธรรมิกรูปหนึ่งที่วัดเพลงวิปัสสนา ว่าการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาอยู่ในเมืองหลวงนั้นก้าวหน้าไปได้ช้าเพราะยังไม่สงบสงัดเพียงพอ น่าจะมีสถานที่อื่นที่จะไปบำเพ็ญเพียรให้ประสบความสำเร็จได้ สหธรรมิกรูปนั้นจึงนำพาหลวงปู่ท่านจาริกสู่ชนบทบ้านเกิดที่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้พบกับ “ พระอาจารย์สิงห์ สุธัมโม ” (พระครูภาวนาประสุต) เจ้าอาวาสวัดบ้านขี้เหล็ก ตำบลหนองบัวทอง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วไปในละแวกนั้น เมื่อท่านได้พบอาจารย์สิงห์ก็รู้สึกต้องในอัธยาศัยไมตรี จึงได้พำนักอยู่ ณ วัดบ้านหนองเหล็ก ตามคำชักชวน ช่วงเวลาแห่งการได้อยู่จำพรรษา ณ วัดบ้านหนองเหล็กนี้เอง ทำให้หลวงปู่ธรรมรังษีได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์สายวิปัสสนาจากสำนักต่างๆ มากขึ้นได้เปิดตัวให้เป็นที่รู้จักเลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนและเป็นที่ยอมรับ ในหมู่พระสงฆ์ที่สนใจการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก

    พ. ศ. ๒๕๒๑ หลวงปู่ธรรมรังษี ท่านได้รู้จักกับพระครูปลัดขาว ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดบุญศรีมุนีกร กรุงเทพมหานคร พระครูปลัดขาวยอมรับและนับถือหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระนักปฏิบัติที่กอรปด้วยคุณธรรมเปลี่ยมล้น และมีอภิญญาญาณสูง จึงได้อารธนาให้หลวงปู่ธรรมรังษีร่วมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ในสำนักของท่านซึ่งรับฝึกปฏิบัติธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ผู้สนใจทั่วประเทศหลวงปู่ธรรมรังษีเห็นเป็นโอกาสที่จะได้เผยแพร่ แนวทางปฏิบัติให้กว้างขวางได้มากยิ่งขึ้น จึงได้รับปากไปปฏิบัติภารกิจในช่วงที่มีการฝึกอบรมที่สำนักวัดบุญศรีมุนีกร เป็นเวลา ๒ ปี จึงกลับมาจำพรรษาอยู่กับพระครูภาวนาประสุต อีกครั้ง

    พ.ศ. ๒๕๒๓ พระมหาพันธ์ สีลวิสุทโธ ( พระครูภาวนาวิสุทธิญาณ ) เจ้าอาวาสวัดนิรมิตวิปัสสนา รองเจ้าคณะอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมบ้านเกิดที่อำเภอรัตนบุรี โดยการแนะนำของพระครูภาวนาประสุต หลวงปู่ธรรมรังษีจึงได้มีโอกาสธุดงค์กัมมัฏฐาน ในป่าเขาที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยลำพังสมดั่งที่ตั้งใจไว้ ได้มีโอกาสเพิ่มพูนบารมีให้แกร่งกล้ายิ่งขึ้นเป็นเวลาเกือบ ๓ ปี
    พ.ศ. ๒๕๒๕ เจ้าคณะอำเภอคูเมือง ที่พยายามเสาะแสวงหาพระวิปัสสนาจารย์ที่มีอภิญญาญาณเพื่อไปอบรมเผยแผ่ธรรมให้กับคณะสงฆ์ในอำเภอคูเมือง จึงได้มาพบกับหลวงปู่ธรรมรังษี ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงได้อาราธนาให้ท่านมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ดังกล่าว นับเป็นโอกาสดี และประจวบเหมาะอย่างยิ่งท่านพิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติธรรมตามแนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน หากไม่มีการเผยแผ่ก็จะไม่สามารถสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรได้เลย เมื่อมีความคิดเห็นเช่นนี้หลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงรับคำอาราธนา ของท่านเจ้าคณะอำเภอคูเมือง โดยได้มาพำนักประจำที่สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานของอำเภอคูเมือง ณ วัดบ้านปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเวลาต่อมาทั้งคณะสงฆ์ และชาวบ้านต่างได้สัมผัสและรับปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่ธรรมรังษี เกิดความเลื่อมใสและศรัทธามาฝึกปฏิบัติกันไม่ขาดสาย

    พ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์ ปภัสสโร) เจ้าคณะอำเภอท่าตูมในสมัยนั้น ได้พบหลวงปู่ธรรมรังษี หลังจากรู้จักกันไม่นานท่านพระครูประภัศร์คณารักษ์จึง นิมนต์หลวงปู่ท่านไปดูสถานที่ป่าหนาทึบแห่งหนึ่งห่างจากอำเภอท่าตูมไม่ไกลนัก เมื่อหลวงปู่ธรรมรังษีได้เดินทางมาถึงดูสถานที่แห่งนี้ท่านเกิดความปิติ โสมนัสเป็นอย่างมาก หลวงปู่ได้เอ่ยว่า “ สถานที่แห่งนี้มีความคุ้นเคยกันมาก่อน “ แล้วท่านก็ยิ้มแล้วพูดอีกครั้งว่า “ ฤาษีธรรมรังษี อาตมาเป็นฤาษีพนมดิน “ หลวงปู่ธรรมรังษีจึงรับปากกับพระครูประภัศร์คณารักษ์ โดยไม่ลังเลแม้แต่น้อยที่จะบุกเบิกสร้างป่าหนาผืนนี้ให้เป็น วัดพระพุทธบาทพนมดิน สถานที่ปฏิบัติธรรมให้รุ่งเรือง หลวงปู่ธรรมรังษีจึงได้อำลาญาติโยมชาวคูเมืองท่ามกลางความอาลัยของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีขอให้ความสัมพันธ์ของพี่น้องชาวบ้านอำเภอคูเมืองกับพี่น้อง อำเภอท่าตูม จงอย่าได้ขาดจากกันหลวงปู่ท่านขอเป็นผู้เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของพี่น้องทั้งสองนี้ การจากมาของหลวงปู่ธรรมรังษีในครั้งนั้นมีภิกษุสามเณร แม่ชี พราหมณ์ และอุบาสกอุบาสิกาติดตามมาด้วยความผูกพันเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีกุฏิให้พักอาศัยเลยแม้สักหลัง จะมีก็เพียงผืนป่าที่มีงูและยุงมากมาย ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นเต็มใจอยู่ปรนนิบัติรับใช้ปฏิบัติธรรม ร่วมเป็นร่วมตายกันต่อไป แม้กุฏิหลวงปู่ธรรมรังษีเองท่านก็ไม่มี ในสมัยนั้นยามค่ำคืนวันหนึ่งมีสามีภรรยาวัยชราคู่หนึ่งอาศัยอยู่หมู่บ้านลุงปุง ได้เดินทางตามถนนหลัก ท่าตูม-สุรินทร์ สองข้างฝั่งเป็นป่าหนาทึบ ได้เกิดสีลำแสงสว่างจ้าสีฟ้าครามบนท้องฟ้าพุ่งลงมาสู่ป่าหนาทึบนั้น ทั้งสองจึงตัดสินใจเดินเข้าไปดูที่ลำแสงนั้นที่ส่องลงมา บริเวณตำแหน่งที่ลำแสงส่องลงมาจากท้องฟ้านั้นมีพระสงฆ์รูปหนึ่งนั่งสมาธิ อยู่บนแคร่ไม้ไผ่เล็กๆ อยู่ในท่ามกลางป่าหนาทึบ ไม่มีอะไรเลยนอกจากเครื่องอัฏฐะบริขารเพียงน้อยนิด จึงทราบภายหลังว่าพระสงฆ์รูปนั้นท่านมีชื่อว่า หลวงปู่ธรรมรังษี ด้วยบารมีธรรมอันแกร่งกล้า และด้วยเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของหลวงปู่ธรรมรังษี สามารถทำให้วัดพระพุทธบาทพนมดินได้สำเร็จดังเจตนารมณ์ของคณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนอำเภอท่าตูม ได้ดังที่หวังไว้หลวงปู่ธรรมรังษีท่านได้ตั้งใจอยู่พัฒนาบุกเบิกเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานสร้างศาลาการเปรียญ เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลวงปู่ท่านได้ปรับปรุงก่อสร้างกุฏิสงฆ์ โดยมีกุฏิสงฆ์และผู้มาปฏิบัติธรรมไม่น้อยกว่า ๕๐ หลัง หอสวดมนต์ พระอุโบสถ รั้วคอนกรีตรอบวัด ประตูวัด บูรณปฏิสังขรณ์อาคารต่างๆ ทั้งของวัดและของส่วนราชการอีกมากมาย บริเวณวัดสะอาดเป็นระเบียบและดูร่มรื่นและสวยงาม

    เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปในคนชาวสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อสงครามสงบทางการประเทศกัมพูชา ได้นิมนต์ขอให้หลวงปู่ธรรมรังษี กลับไปเป็นพระสังฆราช ประเทศกัมพูชา แต่ท่านได้ปฏิเสธไป เพราะหลวงปู่ท่านต้องการอยู่ที่ประเทศไทย และหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาของชาวอีสานใต้และภาคใกล้เคียง เป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงขอรับสมณศักดิ์ทางการประเทศกัมพูชา ในพระยศสมณะศักดิ์ชั้นธรรมเพียงเท่านั้น

    วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕ หลวงปู่ธรรมรังษี เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช พระสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี ที่ประเทศกัมพูชา รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “ พระธรรมวิริยาจารย์ กัมพูชา ”

    คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ โดยพระเดชพระคุณพระเทพปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ได้เกื้อกูลหลวงปู่ธรรมรังษีอันเป็นเนื้อนาบุญของจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง จึงได้มอบความไว้วางใจให้กับหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระฐานานุกรรมเจ้าคณะจังหวัด “ พระครูสังฆรักษ์ สุวัฒน์ จันทสุวัณโณ ”
    วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ เนื่องในวโรกาสอันเป็นวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราช ด้วยความเมตตาของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ หลวงปู่ธรรมรังษีได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ที่ “ พระครูมงคลธรรมวุฒิ ” โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน

    วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗ สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ขอพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ครุศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ถวายแด่ พระครูมงคลธรรมวุฒิ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖

    วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “ พระมงคลรังษี ” สร้างความปลาบปลื้มใจให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก

    วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ เวลา ๒๒.๔๘ น เป็นวันที่ทุกคนต้องเศร้าสลดในการจากไปของท่านก็มาถึง หลวงปู่ท่านละสังขารด้วยโรคชรา ที่ รพ.วิชัยยุทธ ขณะเข้ามารักษาอาการอาพาธ สิริอายุ ๘๗ ปี ๖๘ พรรษา สังขารของหลวงปู่ธรรมรังษี บรรจุโลงแก้ว ในปราสาทศิลปะเขมร ณ วัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สังขารหลวงปู่ท่านไม่เน่าเปื่อย แม้สังขารของท่านจะดับขันธ์ไปแล้วก็ตามแต่ “ พระมงคลรังษี ” ยังคงส่องแสงรังสีธรรมแห่งมงคลอยู่ในใจของญาติโยมศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศตลอดไป

    จริยาวัตร หลวงปู่ธรรมรังษีเป็นผู้มีจิตใจดี ใฝ่ร่ำเรียนอยากที่จะศึกษาเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติจิตอยู่เสมอ นอนน้อย ฉันน้อย เคร่งครัดในการปฏิบัติ ศึกษาพระธรรมวินัยสิกขาบทเจริญกรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ หลวงปู่ท่านจึงมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีท่านเป็นพระที่เปรียบได้ว่ามีเมตตาธรรมชั้นสูง ไม่เลือกชั้นวรรณะ คนรวย คนจน ต่ำหรือสูงศักดิ์ ให้ความเมตตาเท่าเทียมกัน หลวงปู่ธรรมรังษีท่านฉันเจ มาตลอดทั้งชีวิตของท่าน มีจริยาวัตรอันงดงาม ตลอดชีวิตหลวงปู่ท่านไม่เคยดุว่ากล่าวผู้ใดแม้ต่อหน้าหรือลับหลัง ไม่รับเงินไม่ถือเป็นของท่าน ปฏิบัติดั่งสายวัดป่าอย่างเคร่งครัด ชาวบ้านและเหล่าศิษยานุศิษย์ต่างทราบกันดี รวมถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน ท่านมีความเคารพและศรัทธาเลื่อมใสในหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นอย่างสูง เป็นพระสุปฏิปัณโณอย่างแท้จริง

    ข้าพเจ้า พระอุดมเวทย์ คัดลอกจากหนังสือ " ธรรมรังษีส่องสว่างกลางพนมดิน " ไว้เพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป
    ขอบคุณข้อมูลจาก ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พระอุดมเวทย์ - 1 : เว็บ-พระ.คอม
     
  17. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    ล๊อคเก็ตฉากสีเขียว หลังชานหมาก เกษา พลอยแดง ตะกรุดทองคำ
    หมายเลข ๒๒
    สร้างเพือเป็นที่ระลึกเนื่องในงานผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิตปี พ.ศ.๒๕๔๕
    จำนวนสร้าง ๙๙๙ องค์

    [​IMG]




    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  18. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,125
    ผมล่อเป้า...คุณกันต์ยิงเลยหรือครับ...HH
     
  19. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    หลวงปู่ทวด​

    รูปหล่อหลวงปู่ทวด วัดเมือง จ.ยะลา



    [​IMG]






    [​IMG]



    อธิษฐานจิตโดย

    - พ่อท่านมณฑล เจ้าคณะจังหวัดพัทลุง
    - พ่อท่านแดง เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
    - พ่อท่านนอง วัดทรายขาว
    - พ่อท่านสุข วัดตุยง
    - พ่อท่านนวล วัดนาประดู่
    - พ่อท่านทอง วัดสำเภาเชย
    - พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง จ.ยะลา
    - พ่อท่านสิงห์ วัดลำพะยา
    - พระอธิการสิทธัต วัดมะพร้าวเตี้ย

    จำนวนสร้าง ๒๕๓๙ องค์​
     
  20. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866

    [​IMG]
    ผมมีอยู่องค์เดียวครับ พ่อให้มาพร้อมจีวร [​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...