จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา

    สัพเพ ธัมมา อนัตตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
    คำว่า ธรรม ในที่นี้หมายถึง รูปธรรม นามธรรม และกฎเกณฑ์ธรรมชาติทุกอย่าง
    คำว่า อนัตตา หมายความว่า ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่ใช่เราหรือของของเรา

    คำว่า ไม่มีตัวตนที่แท้จริง หมายความว่า บรรดาสภาวะต่างๆ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ
    ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม ซึ่งปรากฏให้รู้เห็นได้นี้
    ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
    ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง และสิ่งที่เป็นสังขตธรรมนี้ในเมื่อแยกแยะส่วนต่างๆ
    ออกไปแล้ว ก็จะพบว่า ไม่มีตัวตนของมันที่แท้จริง
    ในคัมภีร์มักจะใช้คำอุปมาว่าเปรียบเหมือนรถซึ่งในเมื่อแยกส่วนต่างๆ ออกไปแล้ว
    เราจะหาสิ่งที่เรียกว่า “รถ” ไม่มี กลายเป็นสิ่งอื่นต่อไป
    แม้ส่วนที่แยกออกไปนั้น เช่นไม้หรือเหล็ก สิ่งเหล่านี้ก็ยังแยกต่อไปได้อีก
    ซึ่งในเมื่อแยกออกไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า เหล็ก ก็ไม่มี
    สิ่งที่เรียกว่า ไม้ ก็ไม่มีอย่างนี้เป็นต้น

    เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    สิ่งเหล่านี้โดยปกติเรายึดถือว่าเป็นตัวของเราหรือของของเรา
    แต่ในเมื่อแยกส่วนต่างๆ ออกพิจารณาแล้ว ก็จะพบว่าสิ่งที่เป็นตัวเราแท้ๆ
    ในสิ่งเหล่านี้ไม่มีอีกเหมือนกัน ในเรื่องนี้มีข้อคิดอยู่อย่างหนึ่งที่จะให้เข้าใจเรื่องอนัตตาชัด

    กล่าวคือ “สิ่งใดในเมื่อดับได้ สูญสิ้นได้ หมดไปได้ หายไปได้ เปลี่ยนแปลงได้
    สิ่งนั้นย่อมไม่มีตัวตนของมันที่แท้จริง”


    จุดหมายของการพิจารณาในเรื่อง อนัตตา ก็เพื่อต้องการให้เกิดการ “ปล่อยวาง”
    ซึ่งในเมื่อจิตปล่อยวางได้แล้ว จิตก็จะเป็นอิสระ ไม่ติดอยู่ในสิ่งใดๆ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้
    ก็จะทำให้เกิดความรู้แจ้งในสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง
    และพร้อมกันนั้น ก็จะได้พบกับความสงบอันสูงสุด
    ซึ่งเป็นความสงบที่สามารถทำลายกิเลสได้หมดสิ้นไม่มีเหลือ
    และภาวะอันนี้จะเข้าถึงได้ก็ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่หลังจากตาย

    การยึดมั่นถือมั่นหรือการเกาะเกี่ยวอยู่ในสิ่งใดๆ ก็ตาม
    ย่อมทำให้เกิดความหลงผิด ทำให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ
    และมีอยู่วิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เกิดความปล่อยวางในสิ่งทั้งปวงได้
    คือการพิจารณาให้เห็นแจ้งว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวเราแท้ๆ นั้นไม่มี
    มีแต่ตัวตนที่เป็นวิบากของกรรม
    แต่ตัวตนอันนี้ถึงแม้จะยั่งยืนสืบต่อได้นานนับเป็นกัป ๆ
    แต่มันก็เป็นสิ่งที่ดับได้สูญสิ้นได้ หมดไปได้ เปลี่ยนแปลงได้

    การอธิบายให้เข้าใจเรื่องอนัตตาเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก
    แต่การที่จะปล่อยวางได้จริงๆ นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุด
    เพราะการปล่อยวางไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจเพียงอย่างเดียว
    แต่ขึ้นอยู่กับพื้นของการเสียสละ และต้องเป็นการเสียสละด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ด้วย และทั้งต้องเคยฝึกหัดมามาก
    เคยเสียสละแม้กระทั่งชีวิตเพื่อผู้อื่นมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน
    คนที่มีนิสัยเสียสละอย่างลึกซึ้งเท่านั้น จึงจะสามารถปล่อยวางในเรื่องตัวตนได้โดยเด็ดขาด
    แต่ถ้าพื้นการเสียสละมีน้อย การปล่อยวางก็มีน้อย
    เพราะฉะนั้นคนที่จะปล่อยวางได้จริงๆ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง
    คือเข้าถึง “อนัตตา” ได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องฝึกหัดการเสียสละมามาก
    ซึ่งเริ่มต้นจากสิ่งที่เราพอจะทำได้ไปก่อน
    รวมทั้งเราจะต้องฝึกหัดให้รู้จักฟังความคิดเห็นของคนอื่น
    ไม่ถือแต่ความเห็นของตนเองฝ่ายเดียว รู้จักประนีประนอม รู้จักแพ้ รู้จักชนะ
    เหมือนกับนักกีฬาที่ดี และต้องพยายามหัดให้มีความยุติธรรมให้มีความกล้าหาญอดทน
    รวมความว่าการอบรมตนเองให้มีคุณธรรมทุกอย่างจนกว่าจะมีคุณธรรมอย่างเพียบพร้อม
    นั่นแหละจึงจะสามารถปล่อยวางในเรื่องตัวตนได้จริงๆ

    ผู้ที่ชอบถกเถียงกันในเรื่อง “อนัตตา” ชอบศึกษาในเรื่องนี้
    แต่ชีวิตจริงๆ ไม่มีการปฏิบัติเพื่อการเสียสละ ไม่พยายามฝึกหัดให้มีคุณธรรมต่างๆ
    ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการปล่อยวางเกิดขึ้น
    ขอได้โปรดจำไว้ว่า...

    “ความรู้อย่างเดียวช่วยให้เกิดการปล่อยวางไม่ได้”

    โดย ปราชญ์ขยะ

     
  2. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ::: พระธรรมที่แท้ :::

    "...เมื่อธรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว
    เราจะพบกับความอัศจรรย์
    เหมือนอยู่ในโลกอีกโลกใบนึง
    มันจะมีแต่ความสว่างมีแต่ความสงบ
    แล้วทรงอารมณ์ได้อยู่อย่างนั้น
    นั่นแหละคือ "พระธรรม" เกิดขึ้น
    ในจิตเราแล้ว


    ...ยิ่งกว่าคนที่กล่าวว่า
    ธัมมังสรณัง คัจฉามิ ตั้งร้อยปี
    มีหัวตั้งร้อยหัว มีปากตั้งร้อยปาก
    ในปากนึงมีลิ้นตั้งร้อยลิ้นพรรณาถึง
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

    ... ยังไม่ถึงขั้นที่เราได้
    แค่เพียงเสี้ยวหนึ่งหรือชั่วรั้ดนิ้วมือ
    ช้างกระดิกหู-งูแลบลิ้น ความสงบ
    อันนั้นแหละ "เป็นพระธรรม"
    สามารถอาจนำตัว ข้ามภพ ข้ามโลก
    ข้ามสงสารได้...โดยไม่ยาก

    ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
     
  3. หนุ่มยาดอง

    หนุ่มยาดอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +680
    คือผมงงอ่ะคับ.:eek::eek::eek::eek::eek::eek:
     
  4. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    บุญภาวนา ทำได้ตลอดเวลา อย่า อ้างว่า ไม่มีเวลา...


    ผู้ถาม - "หลวงพ่อคะ หนูไม่ค่อยจะมีเวลาทำสมาธิค่ะ...?"
    หลวงพ่อ - คนที่ไม่มีเวลาไม่มี นอกจากขี้เกียจ
    ผู้ถาม - "ถ้ากลางวันทำงานและกลางคืนก็ติดธุระ บางทีจะนั่งสมาธิลูกก็กวน"
    หลวงพ่อ - จะไปนั่งทำไมสมาธิทำทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน เขาไม่ได้ห้ามต้องนั่งเสมอไปใช่ไหม จริงๆแล้วถ้าเรามีสมาธิก่อนหลับสัก ๒ นาทีก็พอใจแล้วสมาธิไม่ต้องการมาก

    "สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร บุคคลใดมีจิตว่างจากกิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง เราขอกล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาณ"

    ตอนนอนนั่นแหละ หัวถึงหมอนปั๊บนึกถึง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต นึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ และภาวนา "พุทโธ" หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" หายใจ ๒ ฟื้ดหลับไปเลยใช้ได้ อย่าลืมนะตอนที่ภาวนาหลับเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีนะ ถ้าจิตไม่ถึงฌานนี่มันจะไม่หลับ "ถ้าจิตถึงฌานปั๊บมันตัดหลับทันที ทีนี้ว่าถ้าภาวนาหอยู่ถ้ามันหลับเวลานั้นมันจิตถึงฌาน ขณะที่หลับอยู่กี่ชั่วโมงเขาถือว่าทรงฌานนั้นอยู่ระหว่างหลับ" ถ้าตายระหว่างนั้นจะไปตามกำลังของฌานทันที เห็นไหม ที่ว่าไม่มีเวลาคนขี้เกียจนะ เวลามันมีใช่ไหม ถ้าให้ดีเวลาตื่นนอนเอาอีกนิด ไม่ต้องลุก พอตื่นปั๊บจับลมหายใจ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ๒ - ๓ ครั้งก็พอแล้ว จิตไม่นึกถึงใคร แค่นี้ใช้ได้ทุกวัน ขอยืนยันว่าลงนรกไม่ได้ ถ้าจะไปนิพพานต้องใช้วิปัสสนาญาณช่วย ก่อนนอนปั๊บนึกว่าเกิดนี่มันเป็นทุกข์ งานทุกอย่างนี่มันเหนื่อย มันเป็นทุกข์ ไอ้การเกิดมีร่างกายมีทุกข์อย่างนี้เราไม่ต้องการอีกขอไปนิพพานชาตินี้ แล้วภาวนาว่า "พุทธโธ" นี่ง่ายนิดเดียว ถ้าเวลาป่วย ป่วยมากๆ อาการเครียดจะตาย ถึงจะยังไม่ตายก็ตาม แต่ทำท่าจะตาย อารมณ์นี้ทั้งหมดมันจะรวมตัว และจิตจะเป็น "สังขารุเปกขาญาณ" จะวางเฉย
    ถ้าถึงวาระมันวางหมด ไม่ต้องเอาอะไรไปบังคับมันหรอก มันจะเฉยหมด คนก็เฉย สัตว์ก็เฉย วัตถุธาตุสมบัติเฉยหมด ก็คิดว่าแม้ร่างกายมันจะตายจะสนใจอะไร มันเฉย มันเฉยจริงๆ ไม่ต้องมาก แค่นี้พอ ดีกว่าคนไปนั่งเป๋งนานๆ
     
  5. NRK

    NRK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +98
    ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับพี่ๆทุกท่าน ผมเป็นน้องที่ทำงานของพี่ therd2499 ครับพี่ท่านแนะนำมาครับ ปกติก็จะแค่ไหว้พระสวดมนต์ทำบุญเป็นประจำครับ แต่ไม่ได้ปฏิบัติภายในเลยครับ เริ่มศึกษาและปฏิบัติหลังจากที่อ่านกระทู้ ได้ 3 วันละครับ แต่ยังรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติอ่ะครับความรู้สึกเหมือนมันเกร็งๆแน่นๆอ่ะครับ รบกวนพี่ๆชี้ทาง แนะนำให้หน่อยครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2014
  6. Kim_UoonSo

    Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937
    ...ยินดีต้อนรับค่ะ
    สำหรับผู้มาใหม่ อ่านกระทู้นี้แค่ ๒๐ หน้าแรกก็พอรู้หลักคร่าวๆ นะคะ
    ไม่ต้องอ่านครบทั้งกระทู้ก็ได้
    และคงคาดว่าน่าจะเข้าไปในเพจจิตเกาะพระ
    และกลุ่มสมาคมจิตเกาะพระกันแล้ว ในนั้นก็มีหลักคร่าวๆ ไว้แล้วค่ะ

    สำหรับครูที่ประคองจิตนั้น เดี๋ยวจะจัดหาให้นะจ้ะ
    แต่ตอนนี้รับน้ำเย็นๆ ไปดื่มให้ชื่นใจก่อนจ้า



    [​IMG]
     
  7. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    เอ้า...ไม่เข้ากระทู้มาตั้งหลายวัน จู่ๆ มาเข้าวันนี้ก็มาเจอเลยน่ะ เอ้า...ลองดูอีกสักตั้งซิ ส่งเมล์มาเลยจ้า ที่ jaideejang_55@hotmail.com

    โมทนาสาธุ

    ครูเกษ
     
  8. therd2499

    therd2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +3,209
    ลองดูสักตั้งครับพลังด้านบวกดึงหากันเชื่อเลยจริงๆ เข้ามาหาผมเอง ไม่มีใครรู้

    ว่าผมปฏิบัติสักคนในที่ทำงาน เพื่อนในเฟสที่ไม่ได้ปฏิบัติผมดีดทิ้งหมด พึ่งแอตเป็นเพื่อนกะน้องเขาเมื่อวานนี้เองในเฟส

    ก็เลยแนะนำคร่าวๆและอานิสงส์ของการฝึก ว่ามากมายขนาดไหน

    อยู่แผนกเดียวกัน หน่วยงานเดียวกัน แต่คนละกะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2014
  9. NRK

    NRK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +98
    บุญนำพามาจริงๆครับเหลือเชื่อมากๆ ขอบพระคุณพี่ๆทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ
     
  10. NRK

    NRK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +98
    ผมส่งเมลไปแล้วครับครูเกษ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่รับผมเป็นศิษย์ /\
     
  11. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ก า ร ดู จิ ต

    เป็นอาชีพหลักของเหล่านักภาวนาหรือนักปฎิบัติธรรม ทั้งหลายฯ

    หากเป็นนักภาวนาหรือนักปฎิบัติธรรม ไม่เฝ้าดูจิต ไม่สนใจจิตตนเอง
    แล้วเราจะไปดูอะไรกันเล่า !!!
    หากไปสนใจดูสิ่งอื่นแทนจิตตน จิตเราก็ไม่เป็นธรรมกันสักที หรือ
    ไม่ได้รู้เห็นตามความเป็นจริงกันสักที
    หากไม่ยอมลงมือปฎิบัติธรรม แล้วเมื่อไหร่ จะได้สัมผัสหรือชิมรสแห่งพระธรรมกันสักที
    คนที่ไม่ยอมลงมือปฎิบัติธรรม ก็เหมือนดูคนอื่นเขากิน เราอิ่มไหม๊
    หรือได้แต่ฟังผู้อื่นเขาพูดว่า ไปเที่ยวที่นู้นที่นี่มา เราเอาแต่นั่งฟัง เฉยๆ
    เพราะไม่เคยไปกับเขาสักที เป็นต้น

    พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นั้น ผู้ปฎิบัติเท่านั้นจึงพอจะรับรู้ได้
    จะมานั่งเทียนเอาไม่ได้ หากผู้ใดทำอย่างนั้น แสดงว่า..ไม่รักเคารพพระพุทธเจ้าเลย
    เพราะอะไร ขอให้พวกเราที่มีทะเบียนบ้านเป็นชาวพุทธทั้งหลายทราบว่า..
    ก่อนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น พระพุทธองค์ มิได้ไปนั่งคิดเออออเอาเองนะ
    แต่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรตบะบารมีด้วยตนเอง โดยนั่งใต้ร่มโพธิ์นั้นมาแรมปี
    พระพุทธองค์ทรงลำบากพระวรกาย เพื่ออะไร
    ก็เพื่อให้ได้น้ำใสสะอาดให้ลูกหลานได้ดื่มกินจนถึงทุกวันนี้
    พูดอย่างนี้ พอทำให้พุทธบริษัทมองเห็น คุณแห่ง พ ร ะ รั ต น ต รั ย กันไหม
    โดยเฉพาะ พ ร ะ พุ ท ธ คุ ณ
    คือคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า นั่นเอง
    หากผู้ใดมองเห็นแล้ว และคิดจะตอบแทนอะไรพระพุทธองค์กันไหม๊
    พระพุทธองค์ มิได้ให้มาตอบแทนอะไรกันมากนักหรอก
    แต่พระพุทธองค์ทรงให้ชาวพุทธแค่ละบาป ทำความดี (ภาวนายิ่งดีใหญ่)
    และหมั่นทำจิตใจตนให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา
    ปรกติจิตใจของคนเราจะผ่องใสได้ไหม ไม่ได้หรอก ไม่มีทาง
    ถึงผ่องใสก็ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จะขุ่นอีก เพราะว่า หากจิตของคนๆนั้นเต็มไปด้วย กิ เ ล ส ต่างๆ
    นี่ยังไงเล่า ถึงอยากพากันทำอาสวกิเลสให้สิ้นไปจากจิตกัน
    แล้วทำยังไงเล่า คำว่า กิเลสจึงจะสิ้นไป จริงๆแล้วกิเลสมิได้หายไปไหน
    เพียงแต่ผู้เจริญทั้งหลาย เจริญรอยตามอริยมรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา)
    หรือ ทาน ศีล ปัญญา นั่นยังไงเล่า ที่จะทำให้จิตใจเรามันปราศจากกิเลสทั้งปวงได้

    ก า ร ดู จิ ต...ก็คือดูธรรมารมณ์ หรืออารมณ์จิตในขณะธรรมปัจจุบัน เท่านั้น
    ก า ร ดู จิ ต...คือให้ดูจิตตนเองเป็นหลัก ดูสภาวะจิตของตนเอง และดูด้วยใจเป็นกลางด้วย


    ดูด้วยใจเป็นกลาง หมายถึง ดูเฉยๆ อย่าเอาอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งของตนไปร่วม
    ไปแก้ไข ไปบงการ หรือเป็นผู้จัดการใดๆ ทั้งสิ้น

    นี่แหล่ะ! จึงจะเรียกว่า..ก า ร ดู จิ ต...
    นี่แหล่ะ! ภารกิจหลักของนักภาวนา ทุกคน ในระหว่างภาวนา หรือเดินมรรค


    ปล. ปัญญาที่จะมาวิปัสสนาญาณ หรือพิจารณาธรรม หรือปล่อยวางต่างๆนั้น
    จะต้องเป็นปัญญาที่มาจากการภาวนา เท่านั้น คือ ภ า ว น า ม ย ปั ญ ญ า
    มิใช่แค่ให้เราคิดเอาเอง เฉยๆ เพราะการปฎิบัติธรรม พยายามอย่านำเอาสมองมาใช้
    พยายามทำสมองให้กลวง ทำสมองหรือใจให้ว่างเปล่า
    แต่อยู่ดีๆ จิตจะว่างเองไม่ได้นะ
    และสติตนเองเท่านั้น ที่ต้องทำให้จิตนิ่งได้ จิตว่างได้ เป็นต้น
    ถึงจะเป็นภาวะว่างชั่วคราว แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้จักคำว่า ว่าง เลย
    แต่ความว่างที่กล่าวมานั้น ความว่างเกิดจากการภาวนา หรือเจริญสติ
    จิตเราจึงจะเป็นสมาธิ หรือจิตใจของเราจึงนิ่งได้
    ในขณะที่จิตนิ่ง หากนิ่งนาน หรือนิ่งอย่างต่อเนื่อง
    คอยสังเกตให้ดีๆว่า..สภาวะจิตในขณะนั้น เราจะรู้ขึ้นมาเองข้างใน
    นั่นแหล่ะ เรียกว่า ปัญญา
    ปัญญาเปรียบเสมือน..แสงสว่าง ตามที่พระว่ามา จริงๆ
    หากแสงหรือปัญญาของเรามีมาก เราก็จะรู้ธรรมมาก เห็นธรรมมาก เป็นต้น
    หากปัญญาของนักนักภาวนา หรือนักปฎิบัติธรรม ปัญญาเกิดแบบ ติดๆดับๆ
    หากผู้ใดยังมองไม่เห็น ก็ให้นึกถึงหลอดไฟที่บ้านมันติดๆดับๆ
    หากปัญญาของมันเกิดแบบ ติดๆ ดับๆนี้...เราก็จะรู้บ้าง ไม่รู้บ้างนั่นเอง
    หากวันใด จิตมีปัญญามาก เราก็จะรู้มาก
    ในทางกลับกัน หากวันใด จิตไม่มีปัญญาเลย

    สรุปแล้วให้เราลองถามใจตนว่า..ปัญญาของเราทุกวันนี้ เป็นเกิดแบบไหน
    หากเกิด ติดๆ ดับๆ เหมือนหลอดไฟที่กล่าวมานั้น แล้วจิตเราจะวิปัสสนายังไง
    ไม่มีทางวิปัสสนาญาณ หรือพิจารณาธรรมใดๆ ให้ขาดสิ้นลงไปได้เลย
    หากจิตเราไม่มีวิปัสสนาญาณแล้ว จิตของเราก็ไม่รู้จริงเห็นจริงตามที่ปากเราพร่ำไปนั่น
    แสดงว่าหรือเท่ากับ จิตเรายังไม่ปล่อยวาง เป็นต้น

    เหมือนคนที่กินข้าวยังไม่อิ่ม ก็นั่งกินไป เห่อ กินจนกว่าจะอิ่มถึงจะเลิกกิน เป็นต้น
    จิตของนักปฎิบัติธรรมก็เช่นกัน หากจิตเราวันนี้ยังไม่มีปัญญา หรือ
    ยังไม่รู้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง ตามที่ทุกคนเข้าใจนั้น
    มันยังไม่ใช่เป็นความรู้ ความเห็นธรรม ดั่งพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าหรือพระอรหันต์

    เพราะฉะนั้น นักภาวนาหรือนักปฎิบัติทั้งหลาย ลองนำไปพิจารณากันดู..สาธุ

    ภู-ทยานฌาน

    18.06.14
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2014
  12. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    สุขใดก็สู้สุขที่บ้านไม่ได้ แว้บมาทักทายคุณครูทุกท่าน พี่น้องทุกท่านค่ะ เจอธรรมะของครูแนทด้วย โดนใจเหมือนเดิม บางทีเราก็ลืมของใกล้ตัวที่สุด ลืมดูจิตตัวเอง แต่พอได้สติ จิตรู้ก็ขยันขันแข็งเจริญสติทันที ขอเป็นกองเชียร์ครูเกษและน้องใหม่นะคะ
    ด้วยความเคารพคุณครูทุกท่านและคิดถึงพี่น้องเสมอค่ะ
     
  13. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    กายนี้ไม่ใช่ของเราเป็นเพียงเครื่องมือมาอาศัยใช้ในเมืองมนุษย์


    ถอดถอนอุปาทานขันธ์
    ปล่อย ละ วาง สักกายทิษฐิ...


    กายนี้เวลาเกิดมาก็ไม่ได้เอามาเวลาตายไปก็ไม่ได้เอาไป

    เป็นดินน้ำไฟลมของโลกมาประกอบเพื่ออาศัยใช้ชั่วคราว

    ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าไม่มีตัวเราของเราเป็นเพียงธาตุของโลก

    เมื่อจิตวิญญาณมาเกิดในโลกมนุษย์ย่อมนำธาตุของโลกมาประกอบ

    จิตวิญญาณมาอาศัยเพื่อเป็นเครื่องมือใช้งานในโลกมนุษย์

    เมื่อใดที่หมดเวลาในโลกมนุษย์ก็ทิ้งร่างกายซึ่งเป็นเครื่องมือไว้

    ย่อมสมมุติกันว่าตาย แท้จริงไม่มีใครตายเป็นเพียงทิ้งเครื่องมือไว้

    เมื่อบุคคลกินข้าวย่อมหยิบเอาช้อนมาใช้งานเมื่อเลิกกินก็ทิ้งช้อนเอาไว้

    ช้อนเป็นเครื่องมือสำหรับใช้งานเมื่อเลิกใช้งานก็ทิ้งเอาไว้ตรงนั้น

    เช่นเดียวกับจิตวิญญาณที่ทิ้งกายเอาไว้แล้วไปเกิดในภพภูมิอื่น

    เมื่อบุคคลกินข้าวเสร็จทิ้งช้อนเอาไว้เราจะร้องไห้กับช้อนหรือไม่

    กายนี้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อใช้งานในเมืองมนุษย์เมื่อหมดเวลาก็ทิ้งไป

    กายนี้เป็นธาตุของโลกไม่มีตัวเราของเราไม่มีคนสัตว์หญิงชาย

    ผู้มีวิปัสสนาปัญญาย่อมถอนอุปาทานความยึดมั่นออกจากกาย

    กายนี้ไม่ใช่ของเราเป็นเพียงเครื่องมือมาอาศัยใช้ในเมืองมนุษย์

    เมื่อจิตวิญญาณหมดเวลาที่จะเสวยภพภูมิของมนุษย์ก็ทอดทิ้งร่างกายไว้

    ธาตุสี่ดินน้ำไฟลมย่อมสลายคืนไปสู่โลก

    ไม่ได้เอามา ไม่ได้เอาไป ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

    จงพิจารณาให้เห็นซึ้งถึงความจริงอย่าหลงมัวเมาอยู่

    จงถอนความยึดมั่นถือมั่นออกจากกายให้ได้

    จะนำจิตไปสู่วิมุตติหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

    พลปญฺโญธรรม
     
  14. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สวัสดีค่ะ พี่อ้อ ขอบคุณค่ะ สำหรับเสียงเชียร์ ขอบอกว่า น้องใหม่ท่านนี้มาแรงอีกคนแล้วค่ะ ก็ไม่รุ้จะแซงทางโค้งรึเปล่า ก็ต้องดูและลุ้นกันต่อไปว่า จะมีกรรมตัวไหนมาตัดรอนรึเปล่า ก็ภาวนาว่าอย่าขอให้มีเลย สาธุ :cool:
     
  15. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    เสียงแผ่วจากแม่ย่านาง
    มองภายนอกกาย ไม่มีอะไรคงทนเอาซะเลย เช้านี้ ทุกคนต้องออกจากบ้านเช้ากว่าปกติเพราะสามีต้องไปร่วมงานพิธีมอบปริญญาบัตรให้นักโทษในเรือนจำที่อุตสาหะเรียนทางไกลจนจบปริญญาตรี แต่รถเกิดสตาร์ทไม่ติดทั้งๆที่แม่ย่านางทั้งอึดและทนมาตลอดจากการพาขึ้นเขาลงห้วย พาทำบุญ บุกป่าฝ่าดงสารพัดแบบ แว้บแรกที่ได้ยินเสียงสตาร์ททั้งแผ่วทั้งเบาที่แม่ย่านางคงจะบอกว่าวันนี้ขอนอนอยู่บ้านซักวัน ลูกชายสติพร้อม โทรเรียกรถแท็กซี ไม่มีอารมณ์หงิดหงิดใดๆ จิตเราแอบยิ้มเล็กๆ รู้ ละ เห็นความว่างในอีกมุมหนึ่งของสมมุติโลก จิตบอก ‘ก็เท่านั้นเอง โลกภายนอกกาย โลกที่เป็นอนิจจัง’ จิตพร้อมตั้งรับกับสมมุติอื่นๆของชีวิตต่อไป
     
  16. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    ตัวชี้วัดว่า“ตื่นรู้” มากแค่ไหน
    (Key Behavior Indicator)



    ๑) สดใสขึ้น ใจว่างๆ โล่งๆ (ใจดี หรือ ดีใจ ไม่เหมือน ใจโล่งๆ นะ) ไม่อมทุกข์ ไม่หน้าบึ้ง

    ๒) ยิ้มง่ายขึ้น ยิ้มให้คนอื่นก่อน ไม่ต้องรอให้คนอื่นยิ้มให้ก่อน

    ๓) ไหว้คนอื่นได้ก่อน ไม่มีข้อแม้ว่า ใครต้องไหว้ใครก่อน

    ๔) ถ่อมตน ไม่เจ้ายศ ไม่เจ้าอย่าง ง่ายๆ ติดดิน

    ๕) รับผิดชอบงานมากขึ้น ไม่อ้าง ไม่หนี อดทน ยอม

    ๖) มีเมตตามากขึ้น ใช้เมตตาธรรมนำหน้าเหตุผล

    ๗) ดู สังเกต มากกว่าที่จะ ด่วนวิจารณ์ ด่วนออกอาการ ด่วนออกอารมณ์ แม้นจะโดนด่า โดนเข้าใจผิด ก็ยัง อดทน ควบคุมตนเองได้ ง่ายๆ ปล่อยๆ ไม่เอาเรื่อง ไม่เอาก็ได้

    ๘) เปิดโอกาสผู้อื่นพูดมากขึ้น ฟังมากขึ้น ไม่ด่วน “สวนกลับ” ไม่ด่วน “หักคอ” ไม่ด่วนสรุป ไม่ด่วนฟันธง ไม่แทรกแซงขณะคนอื่นกำลังพูด อัตราการเต้นของหัวใจปกติ ไม่ตูมตาม เมื่อโดนคนอื่นด่า

    ๙) ยอมรับ เปิดใจ ยอมรับ ความคิดเห็นที่แตกต่างได้ รับฟังอีกมุมมองได้

    ๑๐) ขยันๆ และ ”กล้า” ลงมือทำ ในเรื่องที่ดี เป็นกุศล ต่างๆ ทันที โดยไม่มีข้อแม้ ไม่เอาเรื่องในอดีตมาทำให้สะดุดในการที่จะทำ ไม่เอาเรื่องในอนาคตมาหยุดตนเอง ทำตามเป้าหมายได้ ไม่วอกแวก รู้จัก focus

    ๑๑) กตัญญู พ่อแม่ ไปหา ไปดูแล ไปคุย กับผู้มีพระคุณมากขึ้น ครูเก่า เจ้านายที่เคยช่วยสอน ผู้มีอุปการะคุณ ฯลฯ

    ๑๒) สัตว์เลี้ยงต่างๆ จะเดินเข้ามาหา เพราะคนที่ใจสงบ ตื่นรู้ บรรดาสัตว์ในธรรมชาติ เขาจะ รับรู้

    ๑๓) ไม่เมาบุญ ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร

    ๑๔) "ให้" บริจาค จิตอาสา ทำเพื่อส่วนรวม มากขึ้น

    ๑๕) รู้สึกว่าตนเอง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ รู้สึกว่า ผู้คนกับตัวเอง เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่รู้จะทำลายกันไปทำไม

    ๑๖) คบ บัณฑิต หลวงปู่ หลวงพ่อ ที่ดีๆ มากขึ้น ไปหา ไปฟังธรรมจากท่าน ตามโอกาส

    ๑๗) ห่างไกลคนพาล อบายมุข

    ๑๘) รักษาศีล๕มากๆ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ขโมย ไม่ผิดกาม ไม่โกหกหลอกลวง ไม่ทานของมึนเมา

    ๑๙) ชื่นชม (Appreciation) ผู้คน ยินดีที่คนอื่นได้ดี หรือ มี มุทิตา นั่นเอง

    ๒๐) ไม่นินทาใคร ไม่ทำให้ใครแตกแยก ชวนให้คนสามัคคีกัน

    ๒๑) ไม่กังวล หลับสบาย หลับง่าย

    ๒๒) ไม่ค่อยฝันร้าย เช่น ในฝันไม่รู้สึกวิ่งยากลำบาก ก้าวขาไม่ออกอีกต่อไป ไม่ฟันว่าฟันหัก ไม่ฝันว่า กลับไปเป็นเด็กแล้วเครียดก่อนสอบ อีก

    ๒๓) ฝันดีบ่อย เช่น เจอพระ เจอคนดีๆ ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น มีความสุข

    ๒๔) นึกอะไร อยากได้อะไรที่ดีๆ เป็นกุศล ไม่นานก็จะได้ หรือ มีคนเอามาให้

    ๒๕) ยอมคน เช่น ยอมให้แซงคิว ยอมให้เอาเปรียบ ยอมให้ต่อว่า ฯลฯ แต่คิดเตือนอย่่างนุ่มนวล

    ๒๖) ไม่ด่วน ”ประเมิน” ตัดสิน ตัดเกรด แบ่งแยก พิพากษา (judgement) ผู้คน ห้อยแขวน (suspend) เอาไว้ก่อน ดูมากขึ้น เผื่อคาดไม่ถึงบ้าง

    ๒๗) รักผู้คนแบบไม่มีเงื่อนไข (Unconditional love) ไม่หวังผล ให้ก็คือให้ ไม่มีข้อแม้ ไม่อิจฉา ไม่ริษยา

    ๒๘) รู้จักสติที่ฐานกาย ใช้ “กายรู้กาย” ได้มากขึ้น นานขึ้น ต่อเนื่องมากขึ้น รู้ๆทุกก้าว ทุกอิริยาบท

    ๒๙) ”จับ” ความรู้สึก ที่ “ใจ” ของตนเองได้ รู้ว่าใจกุศล อกุศล

    ๓๐) “แยกแยะ” จิต กับ ความคิด ได้ รู้จักความคิดจร ( ความคิดนอกแผน ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด ความคิดที่ชวนไปเละเทะ ฟุ้งซ่าน ออกนอกทาง ฯลฯ) เป็น นีโอ ที่ สามารถจับกระสุนความคิด ที่ กิเลสยิงใส่มาได้

    ๓๑) กลับไปอ่าน หนังสือธรรมะ แล้ว เข้าที่ “ใจ”มากขึ้น ร้อง “อ๋อ” มากขึ้น

    ๓๒) ไม่กลัวตาย สิ้นข้อสงสัย และ ไม่งมงายในศีลภายนอก

    ขอให้ทุกท่านมีความสุข
    ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ


    Cr. Jangsasi Sasijang

    Fb.. Nooboonsawan
     
  17. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    Hello !! ...Nice to see you here again ...boonnippan;aa35

    "ไม่มีอารมณ์หงิดหงิดใดๆ จิตเราแอบยิ้มเล็กๆ รู้ ละ เห็นความว่างในอีกมุมหนึ่งของสมมุติโลก จิตบอก ‘ก็เท่านั้นเอง โลกภายนอกกาย โลกที่เป็นอนิจจัง’
    จิตพร้อมตั้งรับกับสมมุติอื่นๆของชีวิตต่อไป"

    ยังคงความสม่ำเสมอ ในการปฏิบัติธรรมตลอดเวลานะคะ โมทนาสาธุค่ะ ...
    ตามดู ตามรู้ จิต ด้วยใจเป็นกลาง... นี่แหละ ผู้ปฏิบัติที่จิตเข้าถึงธรรมแล้ว
    ย่อมมองเห็นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ทุกสิ่งที่เข้ามากระทบจิต เป็นธรรม ไปหมด... ปล่อย ละ วาง ออกจากจิตให้มากที่สุด พื้นที่ในจิต จะยิ่งว่าง สะอาด โล่ง โปร่ง เพราะ เราไม่เอาขยะใดๆมาสุมไว้อีกแล้ว หลังจากผ่านการทำความสะอาดครั้งยิ่งใหญ่ไปแล้ว ...

    โมทนาสาธุอีกครั้งนะคะ
    ...สำหรับ ธรรมะ แม่ย่านางผู้เหนื่อยล้า...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2014
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การปฏิบัติธรรมถึงจุดหนึ่ง ที่เรียกว่าการรู้และเข้าใจทุกๆอย่างแล้ว ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป คือเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ธรรมะคือ การเข้าถึงจิตตน ว่าเราเป็นคนที่มีความเป็นปกติ คือ เราได้ทําหน้าที่ของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ไหม?

    เพราะคนที่ปฏิบัติธรรม จะรู้และเป็นคนที่มีความรอบคอบ และจะเข้าใจทุกๆสิ่ง โดยการมองแบบมุม ที่เห็นความแตกต่างของคนเป็นเรื่องธรรมดา เห็นว่า คนเราทุกๆคนเกิดมาก็มีความเป็นไปตามบุญ ตามกรรม ตามนิสัย วาสนา ที่เราทุกๆคนเกิดมาแล้วต้องเจอแน่

    การปฏิบัติ ก็คือ การเข้าถึงพร้อมในการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ทุกๆขณะ เข้าใจว่าไม่มีอะไรยั้งยืนถาวร แม้แต่ตัวของเราก็เช่นกัน จะต้องแตกสลายไปในที่สุดเป็นของแท้ ผู้ทําใจย่อมรับความจริงได้ นั้นแหละคือ ผู้เห็นความจริง หรือเห็น สัจจธรรมนั้นเอง..สาธุค่ะ
     
  19. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ผู้เขียนได้ห่างหายไปนานพอสมควร เพราะต้องไปทําหน้าที่ ทางโลก แต่จริงๆแล้ว ทางจิตก็ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา เพราะจิตยังต้องดําเนินต่อไปเพราะจิตไม่มีวันตาย แต่การไปทําหน้าที่ทางโลกทุกๆคน ที่เกิดมาก็ต้องทํา แม้แต่ทางธรรมอย่างเช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวก ถึงท่านจะอยู่ในทางธรรม แต่ท่านก็ต้องเดินทางจาริก เพื่อไปสั่งสอนหรือเผยแผ่ พระธรรมคําสั่งสอนเพราะท่านได้เห็นความเป็นจริง ก็อยากให้คนอื่นเห็นตามรู้ตามนั้นเอง..

    แต่การสั่งสอนของท่าน จะเป็นการสอนตามภูมิของแต่ละคนจะเห็นได้ ท่านไม่สอนเกินภูมิปัญญาของผู้รับ เพราะไม่มีประโยชน์อะไร เหมือนเราเอานํ้าไปเติมลงในแก้ว ที่เต็มอยู่แล้ว ก็มีแต่จะทําให้นํ้าที่เราเติมลงไปล้นออก หรือไหลทิ้งไปเท่านั้น ผู้จะรับธรรมของพระพุทธเจ้า คือผู้ต้องการที่จะพ้นจากทุกข์ คือเห็นทุกข์จริงๆ แล้วก็จะหันมาค้นหา เหตุแห่งการดับทุกข์ แล้วเหมือนได้ศึกษาแล้ว รู้แล้ว ก็ต้องทดลองดูโดยการลงมือ ปฏิบัติตาม ที่ท่านชี้บอกจึงจะเห็นได้ รู้ได้ด้วยตนเองนั้นเอง..

    ธรรมะจึงเป็นปัจจังตัง โดยผู้อื่นไม่สามารถจะทําแทนได้ แต่ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง สามารถบอกได้ ชี้ทางได้ อย่างเช่นพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกนั้นเอง..สาธุค่ะ
     
  20. Nooboonsawan

    Nooboonsawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +189
    ****การฝึกหัดจิตให้มีสติทุกเมื่อ****

    วันนี้จะเทศนาเรื่อง การฝึกหัดจิต จิตของคนเราต้องฝึกหัด เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้ จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริง ๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต
    การฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่ จะต่อสู้ดิ้นรนมาก เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย จนซูบซีดผอมลงไป ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้ หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้ เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์

    การฝึกหัดจิตก็คล้าย ๆ กันนั่นแหละ แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี จิตเป็นของไม่มีตัว จะขับขี่ก็ไม่ได้ จะตีก็ไม่ได้ แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้ แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา ต้องฝึกฝนอบรม

    ที่ว่าคล้ายกันคือ ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มันมักน้อยที่สุด เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มันเนื่องถึงจิต เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อย ๆ จนกระทั่งพอดีพองาม ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวัน ๆหนึ่ง อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ มันกำเริบเฟิบฟาย มันไม่อยู่ในอำนาจของตน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป แต่สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณ พอบำรุงร่างกาย เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น แล้วก็ไม่สะสม การสะสมเป็นเรื่องของกิเลส ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่ ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่น ๆ อาปัจจุบัน แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องพัวพันบ้างก็ตาม หากลงปัจจุบันในขณะนั้นก็ไม่มีอะไร เอาปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดอดีต อนาคต มันถึงจะเป็นไปได้ การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน

    นอกจากอบรมทางกายแล้ว ยังต้องอบรมวาจาด้วย พูดให้น้อย พูดด้วยความสำรวมระวัง การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้ แต่หากว่าให้มีสติควบคุมอยู่ พูดก็รู้เรื่องว่าพูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา จะพูดอะไรก็พูดเถอะ การทำอะไรก็ทำเถอะ แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา

    ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉย ๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอ ๆ จนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา

    การบริกรรมภาวนานี้มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่า สติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใด ๆ ทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่าง ๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไป ๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว

    ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่น ตาได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมาใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก บริกรรม คือ สัมมาอรหัง พุทโธ อานาปานสติ อะไรต่าง ๆ ก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น มันเป็นไปตามความชำนาญของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้ ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว เพื่อตั้งสติให้มั่นคง จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับการฝึกหัดจิต คำบริกรรมเปรียบเหมือนกับเครื่องล่อจิต เหมือนกับเด็กเล็ก ๆ ที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน มันก็หยุดร้อง จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ยังรักษาตัวเองไม่ได้ ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก คนเฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้ ในพุทธศาสนา ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา โดยธรรมแล้ว ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่ องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้ ก็เรียกว่าเป็นเถระ การรักษาจิตควบคุมจิตจึงต้องมีเครื่องอยู่ ได้แก่ การบริกรรม

    จิตเป็นของสูง ๆ ตํ่า ๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริง ๆ จัง ๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด

    ในพุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้ง ๆ เผลอ ๆ ก็ว่า ไม่มีสติ นี่ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร พูดไปเฉย ๆ อย่างนั้นแหละ มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี เหตุนี้จึงว่า คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมดมาลงที่สติอันเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ท่ามกลาง ที่สุดก็สอนสติ เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้

    เราเกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้ แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้ อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว เรียกว่าจวนเต็มที จวนจะหมดสิ้น จวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้ อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของความหลงมัวเมา ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า เปล่าจากประโยชน์

    อย่าให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ สติเป็นตัวระมัดระวัง อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า ตัวของเราจึงเป็นทาสของกิเลส เหตุนั้นจึงควรที่จะพากันรู้สึกตัว ตื่นตัวเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน

    การอบรมกัมมัฏฐานนั้น ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ก็เรียกว่าถึงศาสนา ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา เอาละวันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
    จากหนังสือ เทสกานุสรณ์ หน้า ๑๗๑ ดูเพิ่มเติม


    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...