จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. somchai_12

    somchai_12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +800
    การบริกรรมภาวนานี้มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่า สติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใด ๆ ทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่าง ๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไป ๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว

    อนุโมทนา นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง





     
  2. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การภาวนา คือการที่เรามีสติ อยู่กับตัว รู้สึกตัว ว่าขณะนี้เราทําอะไรอยู่ ก็ดูจิตว่าเรามีความรู้สึกอยู่ในสิ่งที่เราทําอยู่ การมีสติอยู่กับจิต เราจะทําอะไรก็จะออกมาดี คือ ความผิดพลาดจะน้อย เพราะเรามีสติ ถ้าสติอยู่ห่างใจ เราจะหลงๆลืมๆ หรือทําการงานก็ผิดพลาดได้ การภาวนาจึงมีความสําคัญมาก ต่อผู้ปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติก็คือ การดูจิตตน และยอมรับความเป็นจริง ของทุกๆสิ่ง ที่เกิดขึ้นมา แล้วก็จะต้องดับไป ตอนแรกๆ ผู้ภาวนา ก็จะดูอารมณ์ของตนเอง..ที่ก่อความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และความคิดปรุงใดๆ ก็สักแต่เกิด แล้วดับเท่านนั้น..จนเห็นเป็นของธรรมดา และจนชิน แล้วเข้าใจนั้นแหละ ผู้ภาวนาจึงได้รู้ และเข้าใจว่า ทุกข์ สุข คือ ของไม่เที่ยง แล้วจิตก็จะเป็นผู้ปล่อยเอง..เพราะเห็นเอง..สาธุค่ะ
     
  3. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ทุกข์อริยสัจจึงเป็นทุกข์ชนิดที่ต้องเกิดขึ้นอย่างจริงแท้เป็นที่สุดเป็นธรรมดาแก่ทุกรูปนาม ไม่ละเว้นอะไรๆแก่ใครๆทั้งสิ้น อันมี "ความเกิด ๑ ความแก่ ๑ ความเจ็บ ๑ ความตาย ๑ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้น ๑ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๑ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ๑ เหล่านี้เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เหล่านี้คือทุกขอริยสัจที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เนืองๆเป็นอเนก หมั่นพิจารณาว่าเรากำลังในทุกข์ในข้อใด มีสติพิจารณามากขึ้นๆ ความรู้แจ้งเห็นจริงจะบังเกิดกับนักปฏิบัติ ดังนี้
    ธรรมะพระอาจารย์ พระอ๊อด วัดสันติวงศาราม Uk
    ได้ท่านเมตตาสั่งสอนธรรมญาติโยมตามรอยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ขอน้อมกราบนมัสการค่ะ และขออนุโมทนาในธรรมทานของท่านค่ะ..สาธุค่ะ
     
  4. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การเปลี่ยนแปลงของสัพสัตว์ ทุกๆอย่างไม่มีกาลไม่มีสมัย เพราะคําตรัสของพระพุทธเจ้า ท่านก็กล่าวไว้ดีแล้วว่า"ทุกๆสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาล" เพราะโลกก็คือ ความหมุนเวียนเปลี่ยนไป หาสิ่งที่จะมาเป็นสาระหรือแก่นสารนั้นได้อยาก..

    แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย สิ่งนั้นก็คือความจริงที่มีมาโดยทุกๆคนก็ไม่สามารถจะปฏิเสธได้เลยนั้น คือการที่เราเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ และจะต้องตายไปในที่สุด.. นั้นคือทุกๆคนได้มาเท่ากัน และก็ต้องเสียไปเท่ากันในยามเวลาที่มาถึง..
    ขอให้ท่านทั้งหลายได้เป็นผู้มีใจอันประเสริฐ และได้ปฏิบัติธรรมเพื่อรับความจริงอันจะมาถึงทุกๆคนในเวลาที่ใกล้..ขอท่านทั้งหลายจงเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ...สาธุค่ะ
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]

    สวัสดีผู้เจริญทั้งหลาย
    กราบขอโทษที่เข้ากระทู้ไม่ได้
    sign inไม่ได้ ก็เลยได้แค่อ่านอย่างเดียว
    เพิ่งจะแก้คอมฯเสร็จ แล้วทดลองส่งธรรมะ
    คลิกส่งไปแล้ว แต่ปรากฎว่าหายอีก
    แก้ปัญหาโดยการพิมพ์ที่อีเมล์แล้วก็ก๊อปมาลง
    อุตส่าห์เขียนธรรมะตั้งเยอะ หายหมดเลย
    หายไปพร้อมสัญญา เห่อๆ
    อยู่แต่เฉพาะธรรมปัจจุบันจนเคยชิน​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2014
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]

    รู ป เ อ๋ ย น า ม เ อ๋ ย
    ก า ย เ อ๋ ย ใ จ เ อ๋ ย


    โดยเฉพาะ นามสองตัวสุดท้าย คือ..
    สั ง ข า ร ขั น ธ์ เ อ๋ ย วิ ญ ญ า ณ ขั น ธ์ เ อ๋ ย

    ต่อไปนี้ ข้าฯไม่มีวันเชื่อเจ้าทั้งสองอีกต่อไปแล้ว
    เพราะตอนนี้ข้า ก็คือ ตัวผู้ดู (รู้ วาง เฉย)
    ต่อไปนี้ จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวอะไรด้วยแล้ว
    โดยเฉพาะ จิตสังขาร เช่น คิด+ปรุงแต่ง
    ไม่เอาแล้ว เลิกแล้ว จบกันเพียงเท่านี้ เดี๋ยวนี้
    เมื่อก่อน ข้าหลง ข้าคิดว่า..ข้าคือกาย ข้าคือจิต-ใจ
    แท้ที่จริง หรือความจริงแล้ว...
    กายนี้..ไม่ใช่ข้า ไม่ใช่ของๆข้า
    จิตนี้..ไม่ใช่ข้า ไม่ใช่ของๆข้า

    เพราะสุดท้าย ข้าเป็นผู้ที่ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่จริง
    ตรงกับคำว่า อนัตตา
    อนัตตา มิใช่ แปลว่าความว่างอย่างเดียว
    แต่จะแปลว่า..ดับไม่เหลือ ไม่มีตัวไม่มีตน บังคับบัญชาให้เป็นไปดั่งใจไม่ได้

    เมื่อก่อนยอมรับว่าโง่ คิดว่า..
    กายนี้เป็นข้า เป็นของข้า
    จิตนี้เป็นข้า เป็นของข้า

    อันความรู้สึกนี้มาแต่ไหน แต่ไรมานานมาแล้ว นับอสงไขยไม่ถ้วน
    ขี้เกียจนับ ที่แน่ๆ ภพนี้ ชาตินี้ ข้าขอโง่เป็นภพชาติสุดท้ายฯ
    ตอนนี้ไม่ต่างจากคนออกจากคุกเลย..คือ คุ ก ก า ย -ใ จ ต น เ อ ง

    ภูทยานฌาน
     
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976

    กราบสวัสดีเช่นกันค่ะ อาจารย์ภูท่านไม่ได้เขียนในกระทู้นาน เพราะการมีปัญหาของเครื่องที่มันล็อคเอาไว้..
    แต่ปัญหาทางใจที่จะปลดล็อคออกมาได้ต้องเอาปัญญา ที่ได้จากการภาวนามาใช้ปลดล็อคทางใจ..อย่างอื่นไม่สามารถปลดล็อคทางใจได้..

    เพราะปัญหาทุกๆอย่างมีใจเท่านั้นที่เป็นผู้ก่อขึ้น และจะปลดออกได้ต้องใช้ใจเท่านั้นเองเพราะทั้งอดีตอนาคตจะหมดไปโดยที่เราต้องมาปฏิบัติเพื่อปลดสิ่งที่ไม่มีไม่งามออกจากใจของเราๆท่านๆนั้นด้วยปัญญา..ของท่านเองค่ะ..สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2014
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]

    สายน้ำไม่เคยไหลย้อนกลับ ฉันใดก็ฉันนั้น ลมหายใจของเราก็เช่นกัน
    เพราะฉะนั้น อย่าหายใจทิ้งขว้าง
    ให้กำหนดรู้ลมกำลังเข้าหรือออก หากเรารู้อย่างนี้แล้ว
    ถือว่าเรากำลังทำบุญภายใน บุญกรรมฐาน​


    บุญกรรมฐาน

    ก็คือ..บุญภายใน^^ บุญที่พวกเราภาวนา^^

    ให้พากันทำบุญภายในตนให้มากๆเข้าไว้
    เพราะบุญภายในนี้ หากเจริญให้มากๆแล้ว
    ก็เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ก็คือ
    ๑.หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายของตนเองที่มีอยู่ทุกวันนี้
    ๒.พ้นจากการกลับมาเวียนว่ายตายเกิดของตนเอง มิใช่ของใคร

    ส่วนบุญภายนอกจิตตนนั้น มิใช่ไม่สำคัญนะ สำคัญเหมือนกัน
    เพราะบุญภายนอกจิตที่ตนทำในวันนี้ หรือปัจจุบันนี้
    จะส่งผลหรือหนุนนำให้เรา อยากที่จะปฎิบัติธรรม
    เพื่อความหลุดพ้นในภายภาคหน้า

    เพราะบุญมีอยู่หลายระดับชั้น ที่เรียกว่า บันได้บุญ
    อันได้แก่...
    ๑.บุญจากการให้ทาน ไม่ว่าจะเป็นทานสิ่งของ เงินหรือแรงกาย
    ๒.บุญจากการสวดมนต์ หรือฟังเทศน์ฟังธรรม อันนี้จะเป็นบุญขนาดกลาง
    บุญตรงนี้ เป็นสิ่งเริ่มต้นนั่นก็คือ การทำให้จิตตนสงบลงไปได้บ้าง ได้ชี่วขณะ
    แต่จิตตนจะเข้าสู่ความสงบสุขหรือจิตเป็นบุญได้นั้น จะต้องอาศัยเสียงสวดมนต์ช่วย
    หรือฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าเข้าช่วย จิตตนจึงจะสงบได้ทีนึง
    หรือได้เป็นบางครั้ง หรือจิตจะไปตั้งอยู่เฉพาะบุญได้เพียงชั่วครูชั่วคราวเท่านั้น
    แต่ก็ยังดีกว่า จิตไม่สงบสุขเลย ไม่ตั้งอยู่คำว่าบุญกุศลเลย
    ๓.บุญจากจากการเจริญกรรมฐาน ถือว่าเป็นบุญภายใน
    ถือว่าเป็นบุญอันใหญ่หลวงของตน
    หากผู้ที่มีกำลังใจถึงกรรมฐานหรือภาวนากันตรงนี้
    แต่จะเป็นบุญหรือได้บุญไม่เท่ากัน
    ทำไม จึงกล่าวเช่นนั้น เหตุผลเพราะว่าอะไร มีปัจจัยอะไรมาสนับสนุน
    คำตอบก็คือ..
    (ธรรมจุดตรงนี้เฉพาะผู้ที่มีกำลังใจกรรมฐานหรือภาวนาแล้ว)
    คำว่า บุญภายในนั้น ส่วนใครจะได้บุญมากหรือบุญน้อยนั้น
    ก็มีปัจจัยเดียวเลย นั่นก็คือ...
    จิตของผู้นั้น ทรงสมาธิจิตหรือจิตสงบสงัดหรือนิ่งนานแค่ไหน

    เพราะฉะนั้น ชาวพุทธควรแยกแยะบุญกันให้ออกนะ
    ว่าบุญภายนอกก็คือ บุญภายนอก
    บุญภายในก็คือ บุญภายใน
    ไม่เกี่ยวกันนะ หากผู้ที่มีสติปัญญามากย่อมแยกออกได้อย่่างชัดเจน
    บุญอันใดไปสวรรค์ บุญอันใดมุ่งหลุดพ้น เช่น พ้นทุกข์ พ้นวัฏฏสงสาร
    เพราะฉะนั้น ผู้เจริญทั้งหลาย ส่วนผู้ใดจะบ้าบุญอะไรก็ไม่ว่ากัน ว่าไปตามกำลังใจตนเป็นหลัก
    ธรรมอันนี้ มิได้ว่ากัน หรือตำหนิกันนะ แต่จะแจกแจงเรื่องบุญให้กันฟัง
    เพราะเห็นนักปฎิบัติมากมาย ทั้งฆราวาส ทั้ง(ไม่ใช่)ฆราวาส ต่างก็พากันทำบุญภายนอกจิตกัน เยอะแยะ

    อย่าลืมนะ...
    บุญกรรมฐานหรือบุญภาวนาหรือบุญภายในเท่านั้น ที่จะพาจิตตนหลุดพ้นได้
    นอกนั้น บุญไปกามาวจร คือ เกิดบนชั้นเทวดา
    แต่หากบุญกรรมฐาน หรือภาวนานั้น อย่างน้อยที่สุดก็หลุดพ้นจากทุกข์ของตนเองได้
    แต่อาจจะไม่ได้หลุดพ้นเหมือนพระอรหันต์ซะทีเดียว
    แต่ทุกข์นั้น อาจมีไม่มากหากเปรียเทียบกับเมื่อก่อน คือก่อนปฎิบัติธรรม
    หรือทุกข์อาจมีน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยลงมือปฎิบัติธรรมเลย
    ส่วนผู้ที่มีกำลังใจถึงภาวนาหรือกรรมฐานหรือปฎิบัติธรรมแล้ว
    หมายถึง ได้แค่สมถะหรือสมาธิจิต แต่ยังไม่ไปถึงคำว่า วิปัสสนาหรือวิปัสสนาญาณก็ตาม
    อานิสงส์แรกสุด ก็จะพบเจอกับปิติสุขได้เกิดขึ้นแล้ว ภายในจิตตน
    และคำว่า บุญกุศลของตนก็จะเกิด ณ จุดตรงนี้เป็นต้นไป
    บุญกุศลจะเกิดมากน้อย หรือเกิดนานหรือแป๊บเดียว ตอบว่า..ก็อยู่กับจิตของคนนั้นเอง
    ว่าทรงสมาธิจิตได้นานแค่ไหน..เข้าใจนะ หากมาถึงกันตรงนี้แล้ว

    คำว่าปิติสุขนี้ นักภาวนาทุกคนจะต้องเดินผ่าน
    แม้นกระทั่ง พระอรหันต์ทุกองค์ หรือก่อนจะเข้าสู่คำว่าวิมุตติหรือพระนิพพาน
    ต่างก็ต้องผ่านจุดนี้ก่อน และจะเป็นไปตามคำว่า มรรคผลหรือพระนิพพาน เป็นต้น

    ขอให้ทุกๆท่าน เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ..สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กรกฎาคม 2014
  9. somchai_12

    somchai_12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +800
    สังโยชน์๑๐

    ariyasuj4.gif


    สังโยชน์แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฏฏะมี๑๐อย่างด้วยกันคือ
    . สักกายทิฏฐิเห็นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเราเรามีในร่างกายและร่างกายคือเรา(คำว่าร่างกายในที่นี้หมายถึงขันธ์๕)
    . วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัยโดยคิดว่าอาจช่วยให้บรรลุผลไม่ได้จริง
    . สีลัพพตปรามาสรักษาศีลแบบลูบๆคลำๆคือไม่รักษาศีลจริงจังเคร่งครัดตามสมควร
    . กามฉันทะมีจิตมั่วสุมหมกมุ่นใคร่อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ
    . พยาบาทมีอารมณ์ผูกโกรธจองล้างจองผลาญเป็นปกติ
    . รูปราคะยึดถือมั่นในรูปฌานโดยคิดว่ารูปฌานเป็นคุณธรรมพิเศษสูงสุดที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ
    . อรูปราคะยึดมั่นในอรูปฌานโดยคิดว่าอรูปฌานเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ
    . มานะมีอารมณ์ถือตัวถือตนถือชั้นวรรณะเกินพอดี
    . อุทธัจจะมีอารมณ์ฟุ้งซ่านครุ่นคิดอยู่ในอกุศลมีอกุศลวิตกเป็นอารมณ์
    ๑๐. อวิชชามีความคิดเห็นว่าโลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงไม่สลายตัว
    กิเลสทั้ง๑๐ประการนี้ท่านเรียกว่าสังโยชน์เพราะเป็นกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจของสัตว์ผู้ข้องให้จมอยู่ในวัฏฏะนักเจริญวิปัสสนาญาณต้องรู้ไว้และพยายามกำจัดกิเลสทั้ง๑๐ประการนี้ให้เด็ดขาดไปเป็นขั้นๆตามกำลังของสมาธิและวิปัสสนาญาณผู้ใดกำจัดกิเลสนี้ได้ตั้งแต่ข้อ๑ถึงข้อ๓ท่านว่าท่านผู้นั้นได้บรรลุพระโสดาและพระสกิทาคาถ้าตัดกิเลสได้๕ข้อคือข้อ๑ถึงข้อ๕ท่านว่าท่านผู้นั้นได้บรรลุพระอนาคามีถ้าตัดกิเลสได้เด็ดขาดหมดทั้ง๑๐ข้อท่านผู้นั้นได้บรรลุพระอรหัตตผลการกำหนดรู้จุดหมายปลายทางเป็นระยะอย่างนี้เป็นเหตุให้การปฏิบัติไม่หนักจนเกินไปและหวังผลสำเร็จได้แน่นอนดีกว่าการกระทำแบบเดาสุ่มไม่รู้จุดหมายปลายทางทำแบบคลุมตาเดินทำไปตามความคิดเห็นและความเข้าใจโดยไม่ทราบจุดหมายคิดเอาแต่เพียงว่าจะไปพระนิพพานเท่านั้นเองพระนิพพานเป็นอย่างไรก็ไม่รู้กิเลสที่จะละมีอะไรบ้างก็ไม่ทราบทำไปตามเขาว่าแล้วจะเอาจุดจบได้อย่างไรความบรรลุและการปฏิบัติเพื่อพระนิพพานหรือฌานโลกีย์ในพระพุทธศาสนาท่านมีกำหนดจุดหมายปลายทางตามที่กล่าวมาแล้วนั้น
    เมื่อท่านเตรียมพร้อมในการเจริญวิปัสสนาญาณศึกษาบารมี๑๐และมีจิตใจทรงบารมี๑๐ได้อย่างปกติไม่ขาดตกบกพร่องแล้วต่อไปก็ศึกษาอุปกิเลส๑๐ประการให้เข้าใจระมัดระวังใจไม่ให้หลงผิดคิดว่าอารมณ์ในอุปกิเลส๑๐เป็นมรรคผลต่อแต่นั้นไปก็เริ่มเจริญวิปัสสนาญาณโดยในระยะแรกท่านให้ชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้วเข้าสมาธิดำรงฌานถ้าเข้าถึงฌาน๔ได้ก็เข้าฌาน๔ถ้ามีสมาธิไม่ถึงฌาน๔ก็เข้าสมาธิตามกำลังที่ได้เข้าสมาธิจนอารมณ์สงบดีแล้วก็ถอยสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารสมาธิแล้วพิจารณาขันธ์๕ด้วยวิปัสสนาญาณเริ่มพิจารณาตามลำดับที่๑ก่อนจนมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์มีอารมณ์เป็นตามองค์วิปัสสนาญาณนั้นโดยที่จิตจะไม่ฟั่นเฟือนแล้วจึงค่อยๆเลื่อนอารมณ์มาพิจารณาในญาณที่๒, , , , , , ๘และถอยหลังเป็นอนุโลมปฏิโลมที่ท่านเรียกว่าสัจจานุโลมิกญาณเมื่อขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้นถ้าเห็นว่าอารมณ์จะฟุ้งซ่านท่านให้หยุดพิจารณาในวิปัสสนาญาณเสียเข้าฌานตามกำลังสมาธิใหม่พอให้จิตใจตั้งอยู่ในสมาธิเป็นอุเบกขารมณ์แล้วจึงค่อยๆคลายสมาธิหยุดอยู่ที่อุปจารฌานแล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณใหม่ทำอย่างนี้เป็นปกติการพิจารณาวิปัสสนาญาณก็อย่าเร่งรัดรีบร้อนถ้าพิจารณาข้อใดจิตใจยังปลงข้อนั้นไม่ตกจนเป็นเอกัคคตารมณ์คือเกิดความคิดเห็นเป็นเช่นนั้นจริงจังจนเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์๕แล้วก็อย่าย้ายไปพิจารณาข้อต่อไปเป็นเด็ดขาดถ้าพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงข้อเดียวข้อต่อไปก็ไม่มีอะไรเสียเวลาพอเริ่มพิจารณาก็มีอารมณ์รู้แจ้งเห็นจริงทันทีการพิจารณาอย่างนี้เสียเวลาไม่นานก็จะเข้าถึงโคตรภูญาณแล้วได้มรรคผลตามที่ตนตั้งใจปรารถนาไว้

    http://www.luangporruesi.com/410.html
     
  10. somchai_12

    somchai_12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +800
    ก. ภาวนาและพิจารณา
    จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน


    ariyasuj4.gif


    ภาวนา หมายถึง ภาวนาตามแบบที่ครูบาอาจารย์สอน ภาวนาเพื่อให้อารมณ์หยุดจาก อารมณ์ภายนอก ให้จิตจดจ่ออยู่ที่คำภาวนา เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ คำว่าจิตเป็นสมาธินั้น หมายถึงจิต ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่จิตหยุดโดยไม่รับอารมณ์ใดเลยทั้งสิ้น นักปฏิบัติใหม่ หรือท่านที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิเลยมักเข้าใจอย่างนั้น ความจริงการเข้าใจอย่างนั้นเป็นการเข้าใจที่ไม่ ตรงต่อความเป็นจริงธรรมดาของนักปฏิบัติใหม่จิตที่ว่างจากอารมณ์ โดยไม่รับรู้อารมณ์เลย สำหรับ การปฏิบัติเบื้องต้นไม่มีอาการอย่างนั้นเป็นอาการของสัญญาเวทยิตนิโรธ พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ หรือ พระอนาคามีระดับปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้นที่จะเข้าได้ พระอริยะนอกนั้น แม้จะเป็นพระอรหันต์ ระดับเตวิชโช หรือฉฬภิญโญก็ไม่สามารถทำได้ ปกติของจิตเป็นอย่างนี้ เมื่อทราบแล้วว่าจิตไม่ว่าง จากอารมณ์ เพื่อฝึกฝนจิตให้มีกำลังที่ควรแก่การเจริญวิปัสสนาญาณในขั้นต่อไปท่านจึงสอนให้ภาวนา เพื่อโยงจิตให้อยู่ในอารมณ์ภาวนา คือ หาทางให้จิตนึกคิด แต่นึกคิดในขอบเขตที่มอบหมายให้ ไม่ใช่ จะนึกคิดเพ่นพ่านไป การภาวนาคาถาบทใดบทหนึ่งนี้ เป็นการระงับการฟุ้งซ่านของจิต แต่ทว่าในกาล บางคราว การภาวนาอยู่อย่างนี้จิตเกิดมีอารมณ์ฟุ้งซ่านเกิดที่จะภาวนาได้ ทั้งนี้จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม เมื่ออารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่านห้ามปรามไม่ไหว นักปฏิบัติมักจะเกิดความกลัดกลุ้มใจ เพราะบังคับใจไม่อยู่ เมื่อเห็นว่าจิตจะบังคับให้อยู่ในวงแคบ คือ คิดเฉพาะคำภาวนาไม่อยู่แล้ว ท่านให้หาทางพิจารณาแทน เพราะการพิจารณาก็เป็นอารมณ์คิดเหมือนกันแต่ว่าคิดในทางละทางปลง จะพิจารณาตามกรรมฐาน กองใดก็ได้ เช่น พิจารณาว่า เราต้องตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยง กฎธรรมดานี้ไปได้ หรือ จะพิจารณาตามอสุภกรรมฐานให้เห็นว่าอะไรๆ ก็ไม่มีความสวยสดงดงามคง สภาพตามที่กล่าวไว้ในอสุภ ๑๐ ประการ หรือจะพิจารณากายตามในกายคตานุสสติก็ได้ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณามีมากมาย ท่านสนใจก็อ่านต่อไปตอนท้ายเล่มหนังสือนี้จะพบ แล้วเลือกเอากรรมฐานประเภทพิจารณามาพิจารณา แก้อารมณ์ซ่านกรรมฐานที่เป็นบทภาวนา มีกำลังเป็นสมาธิ ส่วนใหญ่ เป็นฌานกรรมฐานประเภทพิจารณา มีกำลังในขั้นอุปจารฌานได้ผลเหมือนกัน กรรมฐานภาวนา สร้าง จิตให้มีกำลังเข้มแข็ง กรรมฐานพิจารณา ทำจิตให้เกิดความฉลาดรู้ตามความเป็นจริง เป็นผลให้เกิด นิพพิทาญาณเป็นเหตุให้ได้มรรคผลรวดเร็วต่างฝ่ายก็ดีด้วยกัน เราไม่ได้อย่างโน้นก็ได้อย่างนี้ ดีกว่า ปล่อยให้จิตใจกลัดกลุ้ม

    http://www.luangporruesi.com/391.html
     
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
     
  12. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การทีบุคคลใดก็ตาม ถ้าได้เจอธรรมะของพระพุทธเจ้า บุคคลนั้นจะเชื่อเรื่องบาปบุญ นรก สวรรค์ เพราะมันมีจริง เพราะบาป หรือบุญจริงๆนั้นแล้วอยู่ที่ใจ เพราะใจเป็นผู้รับผล เพราะใจเป็นผู้สั่งสมจะดีหรือชั่ว ใจเป็นผู้รู้ผู้ก่อ ท่านจงกล่าวไว้ว่า "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" เป็นคําที่จริงแท้แน่นอน เพราะการปฏิบัติธรรมก็คือ การมาปฏิบัติขัดเกลาจิตใจ ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงออกจากใจ เพราะสามอย่างนี้แหละ ทําให้คนต้องมาเที่ยวเกิด เที่ยวตายผู้ทํากรรมลงไปแล้ว ด้วยความไม่รู้จึงต้องมารับผลกรรม เหมือนเราปลูกพีชไว้เช่นใด เราก็จะได้รับผลมันเช่นนั้น..เหมือนการหมุนของล้อ ธรรมจักร ก็คือการกระทํา และผลของการกระทํา และก็ตามเรามาจนได้รับผลตอบแทนนั้นเอง..คํานี้จริงแท้อย่างแน่นอน..สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2014
  13. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    วันอาสาฬหบูชา

    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
    วันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม 2557


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=uITpMH_gWes"]???????????????????? - YouTube[/ame]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2014
  14. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    วันเข้าพรรษา​


    แรม 1 ค่ำ เดือน 8
    วันเสาร์ ที่ 12 เดือน กรกฎาคม 2557


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=_AVQjcOXEQE"]??????????????????? - YouTube[/ame]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2014
  15. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]


    โยนิโสมนสิการ

    เวลากราบพระพุทธ กราบที่ไหนก็ตาม
    ให้โยนิโสมนสิการ...
    น้อมใจลงกราบใกล้ฝ่าพระบาทพระพุทธเจ้า
    เสมือนกับท่านมายืนหรือประัทับนั่งอยู่ใกล้ๆ เรา
    เป็นพ่อติดตามดูแลเราทุกเวลา

    กราบพระธรรม พระธรรมเหมือนแม่
    คุ้มครองดูแลเราตลอดเวลา

    กราบพระอริยสงฆ์ พระสงฆ์เป็นพระพี่เลี้ยง
    นำเราให้คิดดี พูดดี ปฏิบัติดี ด้วยกาย วาจา ใจในทุกสถานที่
    คุณพระรัตนตรัยนี้
    จะทำให้เราประสบความสุขความเจริญในชีวิตยิ่งๆ ขึ้นไป

    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล

    ที่มา FB ตามหลวงพ่อ ไปนิพพาน​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2014
  16. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]
     
  17. Nooboonsawan

    Nooboonsawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +189
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    การปฏิบัติธรรม เพื่อให้สำเร็จ สมความปรารถนา
    ตามกำลังใจที่ตั้งไว้นั้น
    จะต้องเป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ
    ในการพิจารณาธรรมทั้งปวง ภายในจิต ในใจของตน กิเลสใดเรายังมีอย่างหนาแน่น
    กิเลสใดเบาบางลงแล้ว
    กิเลสใดละได้แล้ว
    ขอให้ใช้ความละเอียดรอบคอบ ในการปฏิบัติให้มาก
    อย่าปฏิบัติอย่างเลื่อนลอย จะไม่เป็นผลดี
    จะเป็นการเสียเวลา และจะพาลให้หมดกำลังใจ
    ในการปฏิบัติไปในที่สุด

    ลูกขอน้อมจิต กราบสาธุธรรม สมเด็จพ่อองค์ปฐม ไว้เหนือเศียรเกล้า
    17 กรกฎาคม 2557
     
  18. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ปุจฉา & วิสัชฉนา
    ปุจฉา : ขอความกรุณาจากท่านพืภูช่วยขยายความในมรรคมีองค์๘ แต่ละองค์ว่าเราต้องเดินกันอย่างไร เดินทีละองค์มรรค หรือ ว่าอาจจะเดินควบคู่กันไปได้ค่ะ และแต่ละองค์มรรคเอื้ออำนวยซึ่งกันและกันอย่างไร ขอความกรุณาท่านพื่ภูได้ให้ความกระจ่างกับผู้ที่ปัญญายังไม่สามารถพิจารณาให้ชัดแจ้งในแต่ละองค์มรรคอย่างข้าพเจ้าด้วยเถิดค่ะ สาธุ

    วิสัชชนา : ตอบคุณ Lady Lamb
    เรื่องมรรคมีองค์๘
    (ศีล สมาธิ ปัญญา) หรือ (ทาน ศีล ภาวนา)

    คำว่า มรรคมีองค์๘ แปลว่า หนทางถึงความดับทุกข์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอริยสัจ ๔
    อริยสัจ แปลว่า หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์
    หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)
    ก็คือ งดเว้นข้อปฎิบัติเอียงสุด ๒ ประการคือ
    ๑.แสวงหาความสุขด้วยกามสุข สำหรับปุถุชนหรือคนทั่วๆไป
    ๒.แสวงหาความสุขด้วยการทรมานตน เช่น บำเพ็ญทุกกิริยา(ทรมานร่างกาย)
    ทั้งสองประการนี้ ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่อาจทำให้บรรลุธรรมได้
    ดั่งพระพุทธเจ้าก็เคยลองผิดลองถูกมาแล้ว แต่ชาวพุทธรุ่นหลังโชคดี
    เพราะไม่ต้องมาลองผิดลองถูกอีกต่อไปแล้ว แค่เดินตามรอยอริยมรรคนี้เท่านั้น
    มรรคมีองค์๘ นอกจากจะดับทุกข์ได้ ยังก้าวพ้นวัฏฏสงสารได้อีก หากมีกำลังใจมากพอ
    มรรค ข้อ๑ ๒ ว่าด้วยเรื่ิองปัญญา ข้อที่ ๓ ๔ ๕ ว่าด้วยเรื่องศีล ข้อที่ ๖ ๗ ๘ ว่าด้วยเรื่องสมาธิ

    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ว่าไปตามหลักทฤษฏีหรือปริยัติหรือตำรา

    ต่อไปนี้ จะว่าด้วยหลักปฎิบัติ คือนำจิตมาเดินตามรอยอริยมรรค

    ๑.ก่อนจะลงมือปฎิบัติธรรม คือต้องรักษาศีลหยาบ(ศีล๕)ให้ครบบริบูรณ์
    โดยการวัดที่ตัวเจตนาเป็นหลักก่อน หมายถึง หากมิได้ตั้งใจแสดงว่า..ไม่ผิดศีล
    ในขณะปฎิบัติธรรมใหม่ๆ อย่ากังวลาเรื่องศีล เรื่องกรรม โดยเฉพาะกรรมไม่ดีในอดีต
    สำหรับเรื่องศีลของผู้ปฎิบัติใหม่ คงจะยังไม่ละเอียด เพราะศีลธรรมจะละเอียดตามจิต
    หมายความว่า หากจิตผู้ปฎิบัติละเอียด ศีลก็จะละเอียดตาม หรือศีลจะรักษาผู้ปฎิบัติธรรมเอง

    ๒.ในระหว่างเดินมรรคหรือปฎิบัติธรรมนั้น เรื่องสติเป็นเรื่องสำคัญมากๆ
    การปฎิบัติธรรม ว่าด้วยการเจริญสติภาวนา จากกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองนั้น
    เลือกมาหนึ่งกองเพื่อปฎิบัติ การปฎิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกสติ
    ฝึกสติเพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
    เมื่อสมาธิจิตเกิดขึ้น จิตปัญญาก็จะเกิดขึ้นตามไปด้วย
    เมื่อปัญญาเกิดขึ้นที่จิต การปล่อยวางก็เริ่มต้นขึ้น ณ จุดตรงนี้
    จิตปัญญาปล่อยวางแค่กิเลสหยาบเท่านั้น เช่น รูป เป็นต้น
    จิตปัญญาญาณเท่านั้น จึงจะปล่อยวางได้หมดจด เช่น รูปและนาม

    ผู้ปฎิบัติจะต้องแยกให้ออก ระหว่างธรรมอันใดคือปริยัติ ธรรมอันใดคือปฎิบัติ
    เพราะฉะนั้น อ่านหรือฟัง เฉยๆ แค่รู้ อย่างมากแค่เข้าใจ ปล่อยวางทันทีทันใดไม่ได้
    หากต้องการหลุดพ้น เช่น หลุดพ้นทุกข์หรือหลุดพ้นวัฏฏะ ก็ต้องลงมือปฎิบัติธรรมเอง
    หากลงมือปฎิบัติใหม่ๆ ยังไม่พ้นทุกข์ซะทีเดียว หรือปล่อยวางไม่ได้หมดจด
    คำว่า พ้นทุกข์หรือปล่อยวาง เป็นหน้าที่ของจิตโดยตรง
    แต่จะพ้นทุกข์หรือปล่อยวางได้มากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับจิตของผู้นั้น
    หากจิตมีปัญญามากก็ปล่อยวางได้มาก ทุกข์ก็จะเหลือไม่มาก
    เพราะฉะนั้น การเดินมรรคก็เดินตามลำดับดังที่กล่าวข้างต้นไปแล้ว


    Cr. FB Phu_Bodin
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2014
  19. โฮลี่แมน

    โฮลี่แมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +332
    การเดินทางไปแสวงบุญ สวดมนต์ไหว้พระเจริญสมาธิภาวนา ประทักษิณาวัตร สังเวชณียสถาน ทั้ง 4 แห่ง คือสถานที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และที่แสดงปฐมเทศนาธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร ณ ประเทศ อินเดีย - เนปาล

    การเดินทางไปในแต่ละสถานที่ซึ่งห่างไกลกันมาก จึงไม่สะดวกนักเพราะการคมนาคม ถนนหนทางยังไม่ค่อยเจริญ ผู้คนก็มาก ส่วนใหญ่จะอยู่ตามถิ่นทุรกันดาร ผู้เดินทางจึงต้องมีความอดทนมาก ในสภาพต่างๆ ทั้งอาหารการกินที่แตกต่าง ที่อยู่อาศัย คนขอทานก็มาก เรียกว่าได้พบเจอสภาพคนจน คนรวย ที่มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมากมาย เรียกว่าเหมือนนรกกับสวรรค์ก็ว่าได้

    คนชาวพุทธเมื่อได้ไปถึงสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ย่อมมีความปีติเบิกบานใจ ที่ได้มาพบเจอกราบไหว้สถานที่พระพุทธองค์ พระอริยสาวก ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ได้เคยอยู่อาศัย บำเพ็ญบุญบารมี สำเร็จมรรค ผล พ้นทุกข์ภัยในโลกสงสาร

    กล่าวถึงการฉันภัตตาหารของนักบวชที่เดินทางนั้น บางวันอาจมีความคลาดเคลื่อนบ้าง เรียกว่าอาจเลยเวลาฉันเพลก็มี เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยสถานที่ การเดินทางไม่อำนวย .. บางท่านก็ฉัน บางท่านก็ไม่ฉัน .. บางท่านก็คิดว่า ฉันเป็นยาปรมัตถ์ พอให้รักษาสภาพร่างกายให้มีกำลัง เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลต่อไปได้ บางท่านรักษาวินัยเคร่งครัดดี ก็ยอมอดฉันบ้างก็มี...

    หลวงปู่สังวาลย์ ให้คติธรรม เตือนสติเกี่ยวกับการฉันเป็นยา ปรมัตถ์ - มัด ไว้ว่า... " อะไรๆ ก็เป็นปรมัตถ์ได้ทั้งนั้น ถ้าใจเราเข้าถึงปรมัตถ์ ถ้าใจยังอยาก ยังชอบ ยังติดสมมุติ มันก็เป็นสมมุติ ต้องเอาศีลเป็นเครื่องวัด แต่คำว่าปรมัตถ์ ใช้พร่ำเพรื่อ .. ไม่ดี "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. โฮลี่แมน

    โฮลี่แมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +332
    ธรรมะพระอาจารย์ โชติโก

    พระพุทธองค์ อุบัติ ขึ้นท่ามกลางโลกใบนี้ ท่านก็มิได้ แก้ไข หรือพัฒนา ให้ ภพต่างๆ หมดไป นรก สวรรค์ พรหมโลก โลกมนุษย์ ยังคงเป็นอยู่ อย่างนั้น แต่ท่านเริ่มจาก ค้นหาต้นตอของการเกิดในภพต่างๆ แล้ว แก้ไข ดัดแปลง จิตใจขององค์ท่านจน ไม่มีความยึดถือในภพใดๆ....แล้วมีน้ำพระทัยเมตตาสัตว์ที่มืดบอด หลงวนเวียนเกิดตาย....จากนั้น จึงทรงชี้ บอก สอนสั่ง สัตว์ว่า สิ่งต่างๆเหล่านี้มีอยู่ แต่ถ้าไม่อยากทุกข์วนเวียนอีก ก็ให้พากัน สละ ละวาง ปล่อย ส่งคืนความเป็นเจ้าของเสียอย่างเย็นๆ อย่าได้หวนคืนกลับมายึดถือในภพนั้น ภพอีก ให้พากันหายหวง ในสิ่งต่างๆเสีย ทั้งตัวตน แล ความคิดนึก ความจำ ความรู้ ฌาน ญาณ ต่างๆ ล้วนเป็นสรรพสิ่ง ที่เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง มีเกิดมีดับ ให้พากัน สละความเป็นเจ้าของเสีย จาได้ไม่ต้องทุกข์ วนเวียนอีก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...