มีด้วยหรือสวดปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Sirius Galaxy, 20 สิงหาคม 2014.

  1. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ๔. ความเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ข้อที่ว่าความเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ กาลใดที่มีผู้ดำริว่า จะประโยชน์อันใดด้วยผ้ากาสาวพัสตร์อันผูกพันในมือและที่คอแล้วนำผ้ากาสวพัสตร์ทิ้งไป กาลนั้นสมณะเพศก็ได้ชื่อว่าเสื่อมสูญสิ้น
     
  2. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ๕. ความเสื่อมสูญแห่งธาตุ
    ข้อที่ว่าความเสื่อมสูญแห่งธาตุ หมายเอาพระบรมธาตุเจ้านิพพาน นิพพานในที่นี้มีสามประการคือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน และธาตุปรินิพพาน พระบรมสารีริกธาตุ อันประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ นั้น ครั้นเมื่อมิได้เครื่องสรรพปูชนียภัณฑ์แล้วก็เสด็จไปสู่ที่ อันประกอบด้วยเครื่องสักการบูชา ถ้ามีบุคคลบูชาอยู่ในประเทศใดแล้ว ก็เสด็จไปสู่ประเทศนั้น ด้วยกำลังอธิษฐานแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นกาลล่วงไปที่ทั้งหลาย ทั้งปวงปราศจากเครื่องสักการบูชาแล้ว พระบรมธาตุก็จะมาสโมสรสันนิบาตเข้ากัน แล้วจะเสด็จไปสู่พระมหาเจดีย์อันใหญ่ในลังกาทวีป แล้วเสด็จไปสู่ราชายตนเจดีย์นาคทวีป แล้วเสด็จไปสู่โพธิบัลลังก์ พระบรมธาตุ ครั้นประชุมพร้อมกัน กระทำอาการเป็นพระพุทธรูปปรากฏเหมือนดังองค์พระสุคต อันเสด็จประดิษฐานเหนือรัตนบัลลังก์ใต้ควงไม้พระมหาโพธิ์ จะกระทำพระปาฎิหาริย์ มีอาการดุจดังยมกปาฎิหาริย์ ฝูงเทพทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาสโมสรสันนิบาตพร้อมเพรียงกัน ในลำดับนั้นเดโชธาตุก็ดั้งขึ้น แต่พระสรีรธาตุเผาผลาญพุงพ้นขึ้นไปถึงพรหมโลก พระบรมธาตุแสดงซึ่งเตโชพลอานุภาพแล้วก็แสดงนิพพาน เมื่อพระบรมสารีริกธาตุอันตรธานหมด ก็เป็นอันสูญสิ้นพระพุทธศาสนา
     
  3. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    การที่มีสำนักใดสำนักหนึ่ง หรือวัดใด วัดหนึ่ง มีข้อวัตรปฏิบัติ หรือขนบธรรมเนียมประเพณี ผิดแผกแปลกออกไปจากวัดอื่น ๆ ที่สวดปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ โดยสวดสืบทอดกันมานานนับเป็นพัน ๆ ปี อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่มีส่วนทำให้พระพุทธศาสนาไม่มั่นคง ทำให้สงฆ์เกิดความแตกแยก รวมไปพุทธศาสนิกชนที่มีความเชื่อเลื่อมใสในครูบาอาจารย์ที่ตนนับถือ มีผลทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความแตกแยกในอุดมการณ์ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา อาจทำให้เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมอันตรธาน

    ความเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ข้อที่ว่าความเสื่อมสูญระหว่างการปฏิบัติมีอธิบายว่า เมื่อพระภิกษุทั้งหลายไม่สามารถยังฌาน และวิปัสนา และมรรคผลให้เกิดขึ้นได้ ก็รักษาอยู่แต่พระจตุปาริสุทธิศีลสิ่งเดียว นานไปก็เบื่อหน่ายด้วยดำริว่า เราทั้งหลายจะประกอบกิจสักเท่าใดก็ไม่อาจสำเร็จมรรคผลได้ ก็คลายจากความเพียร ก็ย่ำยีล่วงเกินของอาบัติเล็กน้อย ต่อมาก็มิได้อาลัย ล่วงอาบัติอันใหญ่ คืออาบัติปาจิตตีย์ อาบัติถุลลัจจัย ต่อนานไปก็สำรวมรักษาไว้แต่ครุอาบัติ คือ สังฆาทิเสสและปาราชิก กาลใดหาภิกษุซึ่งจะสำรวมรักษาปาราชิกสิกขาบทไม่ได้แล้ว กาลนั้นจัดได้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมอันตรธาน
     
  4. beerdekpee

    beerdekpee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +61
  5. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ
    รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ

    เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ อันตรายในเรื่องนี้เหล่านั้น คือ

    ๑. พระราชาเสด็จมา
    ๒. โจรมาปล้น
    ๓. ไฟไหม้
    ๔. น้ำหลากมา
    ๕. คนมามาก
    ๖. ผีเข้าภิกษุ
    ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา
    ๘. งูร้ายเลื่อยเข้ามา
    ๙. ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต
    ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไห้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตรายเห็นปานนี้ เมื่อไม่มีอันตราย ให้สวดโดยพิสดาร
     
  6. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=K6g_nIFbs4I]ตอบคำถามเรื่อง พระปาฏิโมกข์ จะสวดให้เหลือ 150 ข้อ ได้หรือไม่ - YouTube[/ame]
     
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ขึ้นชื่อสงฆ์ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า วินัยท่านให้มา ไม่ควรไปทอนลงเอง
    ใครทอนลงเองนั่นรู้มาก อย่างนั้นไม่ต้องเป็นสาวก ไม่ต้องเป็นสงฆ์ ของศาสนาพุทธ
    ตั้งลัทธิใหม่โล้ด
     
  8. attasade

    attasade เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    342
    ค่าพลัง:
    +2,554
    ตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะให้ความเชื่อความศัทธาแตกออกเป็นสอง ก็ต้องไปตามทาง
     
  9. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ดูแล้วพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ท่านก็เจตนาดี ยึดมั่นในพุทธวจนะของพระพุทธเจ้าก็จัดเป็นเรื่องดีนะครับ แต่ว่าการเข้าใจผิดหรือศึกษาโดยยังไม่ละเอียดทั่วถึง อาจนำมาสู่การแสดงออกที่ผิดหรือไม่ตรงตามความจริงก็ได้ครับ
    เรื่องการสวดพระปาฏิโมกข์ 150 ข้อ หรือ 220 หรือมากกว่านั้น ลอง Search ค้นหาดูจากลิงค์นี้นะคับ
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=8905&Z=8955&pagebreak=0
    จะได้หายสงสัย ในคำภีร์ ปริวาร มีเรื่องเกี่ยวกับ ตอนที่ พระอุบาลีมหาเถระ กับ พระพุทธเจ้า ถามตอบปัญหากันอยู่นะคับ
    เรื่อง พุทธวจนะ เป็นสิ่งที่ดีนะคับผมสนับสนุน
    พระไตรปิฎกทั้งหมดล้วนอาสัยพระเถระทั้งหลาย จดจำและบันทึกไว้สืบทอดกันต่อๆมา ในคำภร์ปริวารก็มีพุทธวจนะเช่นกัน ไม่ว่าจะอยู่ในคำภีร์อะไร ถ้าหากมีพุทธวจนะของพระพุทธเจ้า ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเคยตรัสไว้ ไม่ควรมองข้าม ถ้าหากเราปฏิเสธคำภีร์ที่มีพระพุทธวจนะในนั้น ก็เท่ากับเราปฏิเสธพุทธวจนะไปด้วยเช่นกัน พระวินัยแต่ละข้อทรงบัญญัติไว้ ต่างเวลาและต่างสถานที่ และทรงบัญญัติตามเหตุ คือเมื่อมีเหตุจึงทรงบัญญัติ และเหตุก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ พระองค์ก็ทรงบัญญัติขึ้นเรื่อยๆตามเหตุที่เกิดนั้น และพระอุบาลีมหาเถระก็เคยเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับพระวินัย ลองดูตามลิงค์นี้คับ
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=8789&Z=8904&pagebreak=0
    --------------------------------------------------------------------------
    คาถาสังคณิกะ
    ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ท่านห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือดูเหมือน
    มีความมุ่ง มา ณ สถานที่นี้ เพื่อประสงค์อะไร?

    ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า สิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง ย่อมมาสู่
    อุเทศทุกวันอุโบสถ สิกขาบทเหล่านั้น มีเท่าไร? ทรงบัญญัติไว้ ณ พระนครกี่แห่ง?

    พระพุทธเจ้า. ปัญญาของท่านดี ท่านสอบถามโดยแยบคาย เพราะฉะนั้นเราจักบอกแก่ท่าน
    ตามที่ท่านเป็นผู้ฉลาดถาม.
    สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง ย่อมมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถสิกขาบทเหล่านั้น
    มี ๓๕๐ สิกขาบท ตถาคตบัญญัติไว้ ณ พระนคร ๗ แห่ง.

    ท่านพระอุบาลี. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ณ พระนคร ๗ แห่งๆ ไหนบ้าง? ของพระองค์ได้โปรด
    แจ้งพระนคร ๗ แห่งนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าๆ ได้ฟังทางแห่งพระดำรัสของพระองค์แล้ว จะปฏิบัติ
    ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อความเกื้อกูลแก่พวกข้าพระพุทธเจ้า.

    พระพุทธเจ้า. สิกขาบทเหล่านั้น บัญญัติไว้ ณ พระนครเวสาลี ๑ พระนครราชคฤห์ ๑
    พระนครสาวัตถี ๑ พระนครอาฬวี ๑ พระนครโกสัมพี ๑ สักกชนบท ๑ ภัคคชนบท ๑......ฯลฯ......

    จำนวนสิกขาบทของภิกษุเป็นต้น

    พระพุทธเจ้า. สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณี
    มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๓๐๔ สิกขาบท.
    สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท.
    สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
    สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไปรวม ๑๗๖ สิกขาบท
    สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ สิกขาบท.
    ประเภทสิกขาบทของภิกษุ

    พระพุทธเจ้า. สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่าน
    จงฟังสิกขาบทเหล่านั้นดังจะกล่าวต่อไป. ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓
    อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕
    สิกขาบท ของภิกษุรวม ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.

    ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี

    พระพุทธเจ้า. สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ
    ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้นดังจะกล่าวต่อไป. ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗
    นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท
    ของภิกษุณีรวม ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.....ฯลฯ.....

    -----------------------------------------------------------------------------

    ส่วนพระวินัย 227 ข้อนั้นที่เพิ่มขึ้นมาอีก 7 ข้อ จาก 220 ข้อ เป็น 227 ข้อนั้น อาจจะบัญญัติเพิ่มในตอนหลัง อีก 7 ข้อนั้นคือ อธิกรณสมถะ 7
    หรือหากท่านใดมีข้อมูลก็ขอให้แสดงไว้เป็นธรรมทานด้วยนะคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2014
  10. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    โดยส่วนตัวแล้วศรัทธาในการจำแนกแจกแจงธรรมและวิเคราะห์เหตุผลของท่านเจ้าคุณ ป.อ.ประยุทธโต มากครับ เคยได้ศึกษาประวัติและปฎิปทาของท่านแล้วไม่ธรรมดาจริงๆ จริตท่านไม่เพ่งโทษและหักหาญวาทะใคร ทั้งที่สามารถ! แต่จะจำแนกเหตุผลอ้างอิงพระไตรปิฎก ตัวบุคคลผู้ทรงความรู้ นำมาเชื่อมโยงถึงต้นสายปลายเหตุ แล้วสรุปให้ผู้ฟังเกิดปัญญาด้วยตนเอง

    ฟังแล้วได้รับความกระจ่างมากขึ้นจริงๆครับ...

    ที่แท้สาเหตุมาจากการอ้างอิงพระไตรปิฎกที่ยังมีข้อผิดพลาดอยู่(มิได้อ้างอิงฉบับบาลี ดั้งเดิม) และการตีความหมายที่ผิดพลาด!
     
  11. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ในปัจจุบันมีบางท่านกล่าวว่า “สิกขาบทมี ๑๕๐ ข้อถ้วน” แต่ความจริงแล้วต้องแปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ” จึงจะถูกตามหลักภาษาและพระวินัย
    กล่าวคือ ข้อความที่กล่าวว่า “สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ” พบใน พระสูตร ๔ สูตร คือ
    ๑. วัชชิปุตตสูตร (องฺ.ติก. ๒๐/๘๕/๒๒๔) ตรัสไว้ในขณะประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
    ๒. สิกขาสูตรที่ ๑ (องฺ.ติก. ๒๐/๘๗/๒๒๕) ไม่ปรากฏสถานที่ตรัสพระสูตรนี้
    ๓. สิกขาสูตรที่ ๒ (องฺ.ติก. ๒๐/๘๘/๒๒๖) ไม่ปรากฏสถานที่ตรัสพระสูตรนี้
    ๔. สิกขาสูตรที่ ๓ (องฺ.ติก. ๒๐/๘๙/๒๒๘) ไม่ปรากฏสถานที่ตรัสพระสูตรนี้
    ดังข้อความว่า
    สาธิกมิทํ ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ.
    “สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อนี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน”
    ในวัชชิปุตตสูตรมีคำว่า ภนฺเต (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ) อยู่ท้าย สาธิกมิทํ เพราะเป็นข้อความที่ภิกษุกราบทูลพระพุทธเจ้า ส่วนในสิกขาสูตรทั้ง ๓ สูตรมีคำว่า ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย) อยู่ท้าย สาธิกมิทํ เพราะเป็นข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสด้วยพระองค์เอง และสันนิษฐานว่าพระสูตรทั้ง ๔ สูตรนี้คงตรัสไว้ในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะมีจำนวนสิกขาบทเท่ากัน

    พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร)
    ธรรมาจริยะ (ปริยัติธรรมสูงสุดจากประเทศพม่า)
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     
  12. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    มีบางท่านกล่าวว่า “คำว่า สาธิกมิทํ ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ข้อถ้วน แล้วถือว่าสิกขาบทมีเพียง ๑๕๐ ข้อ โดยเห็นว่าสิกขาบท ๒๒๗ ข้อนั้นไม่ถูกต้อง เพราะไม่สอดคล้องกับพระสูตรดังกล่าว เพราะน่าจะมีสิกขาบทเพิ่มเติมมาภายหลัง ๗๗ ข้อ คือ อนิยต ๒ ข้อ เสขิยวัตร ๗๕ ข้อ”

    ในเรื่องนี้ขอชี้แจงว่าความเห็นดังกล่าวไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลเหล่านี้ คือ
    คำว่า สาธิก แปลว่า “กว่า” มาจาก สห ศัพท์ (พร้อมทั้ง, กับ) + อธิก ศัพท์ (เกิน) เมื่อแปลง สห เป็น ส เพื่อย่อคำ จึงได้รูปว่า สาธิก มีรูปวิเคราะห์ (คำจำกัดความ) ว่า อธิเกน สห วตฺตเตติ สาธิกํ (สิกขาบทที่เป็นไปกับส่วนเกิน ชื่อว่า สาธิกะ) คำนี้เป็นไตรลิงค์ตามเนื้อความที่กล่าวถึง จึงอาจมีรูปว่า สาธิโก, สาธิกา, สาธิกํ แต่ในที่นี้มีรูปเป็นนปุงสกลิงค์ว่า สาธิกํ ตาม สิกฺขาปทํ ที่กล่าวถึงในเรื่องนี้
    คำนี้แปลตามศัพท์ว่า “พร้อมทั้งส่วนเกิน, กับส่วนเกิน” หมายความว่า มากกว่าจำนวนที่กล่าวไว้ ๑๕๐
    จึงหมายถึงจำนวน ๑๕๐ กว่า ดังคำว่า
    - สาธิกนวุติ (๙๐ กว่า)
    - สาธิกโปริส (ช่วงบุรุษกว่า)
    - สาธิกวีสติโยชน (๒๐ โยชน์กว่า)
    - สาธิกานิ ตีณิ อฏฺฐสตานิ (กระดูก ๓๐๐ ท่อนกว่า)
    - สาธิกานิ ปญฺญาสวสฺสานิ (๕๐ ปีกว่า)

    คำว่า สาธิก นี้เป็นคำไวพจน์ของ สาติเรก (สห + อติเรก แปลง สห เป็น ส) ดังข้อความว่า
    สาธิกนวุตีติ อติเรกนวุติ. (สํ.ม.อ. ๓/๑๐๐๖/๓๖๓)
    “คำว่า สาธิกนวุติ แปลว่า ๙๐ กว่า”
    มีตัวอย่างของ สาติเรก ศัพท์ในพระไตรปิฎกว่า
    - สาติเรกานิ ปญฺจสตานิ (๕๐๐ กว่า)
    - สาติเรกานิ ฉ อมฺพณานิ (๖ อัมพณะกว่า)
    - สาติเรกานิ วีสติโยชนานิ (๒๐ โยชน์กว่า)
    - สาติเรกานิ จตุวีสติสตสหสฺสานิ (๒,๔๐๐,๐๐๐ กว่าคน)

    ส่วนคำว่า สาธิก ที่แปลว่า "ถ้วน" ไม่มีใช้ในภาษาบาลี เพราะมีรากศัพท์มาจากคำดังกล่าว นอกจากนั้น ในพระไตรปิฎกไทยบางฉบับแปลคำนี้ว่า “ที่สำเร็จประโยชน์” ถือว่าไม่ถูกตามความหมาย เพราะไม่มีความหมายอะไรในเรื่องนี้ และไม่ถูกตามหลักภาษา เพราะความหมายเช่นนั้นต้องมีรูปเป็นอิตถีลิงค์ว่า สาธิกา โดยมาจาก สาธ ธาตุ (สาธเน = สำเร็จ) + เณ การิตปัจจัย + ณฺวุ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ + อา อิตถีปัจจัย

    พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร)
    ธรรมาจริยะ (ปริยัติธรรมสูงสุดจากประเทศพม่า)
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     
  13. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ในอรรถกถาของวัชชิปุตตกสูตร (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๙๓) กล่าวว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ ที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ หมายถึงสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในเวลานั้น แต่ยังมีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในเวลาอื่นอีกด้วย เพราะพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทเรื่อยมาตามเหตุการณ์ที่ภิกษุล่วงละเมิดเรื่องราวนั้นๆ

    ความเห็นที่กล่าวว่าสิกขาบทมี ๑๕๐ ถ้วน ถือว่าสิกขาบท ๗๗ ข้อเป็นสิ่งที่แต่งในภายหลัง ได้แก่ อนิยต ๒ ข้อ และเสขิยวัตร ๗๕ ข้อ แต่ความจริงแล้ว อนิยตและเสขิยวัตรดังกล่าวเป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นก่อนปาราชิก ๔ ข้อ และสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ ทั้งนี้เพราะในปฐมโพธิกาลระหว่าง ๒๐ พรรษาพระพุทธองค์ยังมิได้ทรงบัญญัติปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส ๑๓ แม้จะไม่อาจระบุว่าสิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อนั้นมีปาราชิกและสังฆาทิเสสอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทราบเวลาบัญญัติสิกขาบทเหล่านั้นแน่นอน แต่ก็อนุมานรู้ได้ว่า ถ้ามีอาบัติทั้งสองดังกล่าว ก็ต้องมีอนิยตและเสขิยวัตรแน่นอน แต่ถ้ายังมิได้ทรงบัญญัติปาราชิกและสังฆาทิเสส อนิยตและเสขิยวัตรก็มีไม่ได้ตามความเห็นนั้น ทำให้ไม่อาจนับสิกขาบท ๑๕๐ ข้อนั้นได้
    ดังข้อความในอรรถกถาพระวินัยว่า “อถ ภควา อชฺฌาจารํ อปสฺสนฺโต ปาราชิกํ วา สํฆาทิเสสํ วา น ปญฺญเปสิ. ตสฺมึ ตสฺมึ ปน วตฺถุสฺมึ อวเสเส ปญฺจ ขุทฺทกาปตฺติกฺขนฺเธ เอว ปญฺญเปสิ. เตน วุตฺตํ อปฺปญฺตฺเต สิกฺขาปเทติ. (วิ.มหา.อ. ๑/๓๕/๒๒๑)
    “ครั้งนั้น[ระหว่าง ๒๐ พรรษา] พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเห็นการล่วงละเมิด จึงไม่ทรงบัญญัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส แต่ทรงบัญญัติกองอาบัติเล็กน้อย ๕ หมวดที่เหลือ [คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต] ในเพราะเรื่องนั้นๆ ฉะนั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อปฺปญฺญตฺเต สิกฺขาปเท ([ไม่เห็นโทษ]ในสิกขาบทที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้”

    พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร)
    ธรรมาจริยะ (ปริยัติธรรมสูงสุดจากประเทศพม่า)
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     
  14. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    การที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสสในระหว่าง ๒๐ พรรษา ก็เพราะว่าในสมัยนั้นมีกุลบุตรที่ออกบวชได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลจำนวนมาก ท่านเหล่านั้นจึงไม่ทำความผิดที่ร้ายแรงถึงขั้นเสพเมถุนหรือลักขโมยเป็นต้น แต่อาจทำความผิดเล็กน้อยบางอย่างด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในกกจูปมสูตรว่า
    “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากทำให้เรามีจิตยินดี เรากล่าวกับภิกษุ ณ ที่นั้นว่า เราฉันอาหารมื้อเดียว เมื่อเราฉันอาหารมื้อเดียวย่อมรู้สึกว่าไม่มีอาพาธ ไร้ทุกข์ เบากายมีกำลัง และอยู่สบาย มาเถิด ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารมื้อเดียว เธอฉันอาหารมื้อเดียวอยู่จักรู้สึกว่าไม่มีอาพาธ ไร้ทุกข์ เบากาย มีกำลัง และอยู่สบาย เราไม่ต้องสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นอีก เพียงแต่เตือนสติเท่านั้น” (ม.มู. ๑๒/๒๒๕/๑๗๙)
    ดังคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาพระวินัยว่า
    อปฺปญฺญตฺเต สิกฺขาปเทติ ปฐมปาราชิกสิกฺขาปเท อฏฺฐปิเต. ภควโต กิร ปฐมโพธิยํ วีสติวสฺสานิ ภิกฺขู จิตฺตํ อาราธยึสุ, น เอวรูปํ อชฺฌาจารมกํสุ. ตํ สนฺธาเยว อิทํ สุตฺตมาห “อาราธยึสุ วต เม ภิกฺขเว ภิกฺขู เอกํ สมยํ จิตฺตนฺ”ติ. (วิ.ม.อ. ๑/๓๕/๒๒๑)
    “คำว่า อปฺปญฺญตฺเต สิกฺขาปเท (ในสิกขาบทที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้) หมายความว่า ในปาราชิกสิกขาบทข้อแรกที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ได้ยินมาว่า ภิกษุทั้งหลายทำจิตของพระผู้มีพระภาคให้พอพระทัยตลอด ๒๐ พรรษาในปฐมโพธิกาล ไม่ทำการล่วงละเมิดเช่นนี้ [คือการเสพเมถุน] พระพุทธองค์จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ‘สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากทำให้เรามีจิตยินดี’ โดยหมายความถึงเรื่องนั้น (การทำจิตของพระผู้มีพระภาคให้พอพระทัย)”
    อาบัติทุกกฏที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ เสขิยวัตร ๗๕ ข้อที่มาในพระปาติโมกข์ และวัตรอื่นๆ ที่พบในคัมภีร์มหาวรรคและจูฬวรรค เพราะในปทภาชนีย์ของเสขิยวัตรทั้งหมดตั้งแต่ข้อ ๕๗๖ หน้า ๓๘๐ เป็นต้นไป มีข้อความว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส (ต้องอาบัติทุกกฏ) แม้ในคัมภีร์กังขาวิตรณีก็กล่าวว่า
    ปทภาชเน ปน“อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺสา”ติ วุตฺตตฺตา สพฺพตฺถ อนาทริยกรเณ ทุกฺกฏํ เวทิตพฺพํ. (กงฺขา. หน้า ๓๒๑)
    “แต่พึงทราบอาบัติทุกกฏเพราะไม่ทำความเอื้อเฟื้อในสิกขาบททั้งหมด เนื่องจากตรัสว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ไว้ในปทภาชนีย์”

    พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร)
    ธรรมาจริยะ (ปริยัติธรรมสูงสุดจากประเทศพม่า)
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     
  15. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่า เสขิยวัตรมีบัญญัติไว้ก่อนอาบัติปาราชิก ถ้าพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการครองอันตรวาสกในเสขิยวัตร ก็คงไม่มีข้อความที่กล่าวว่าท่านพระสุทินปฏิบัติวินัยข้อนี้ ดังนั้น จึงเป็นหลักฐานว่าเสขิยวัตรเป็นวินัยที่บัญญัติไว้ก่อนอาบัติปาราชิกข้อ ๑ แน่นอน กล่าวคือ ในปฐมปาราชิกมีข้อความที่พระสุทินครองอันตรวาสก (ผ้านุ่ง, สบง) ในเวลานั้นว่า
    อถ โข อายสฺมา สุทินฺโน เต สฏฺฐิมตฺเต ถาลิปาเก ภิกฺขูนํ วิสฺสชฺเชตฺวา ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย กลนฺทคามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิ. (วิ.ม. ๓๐/๑๙)
    “ลำดับนั้น ท่านพระสุทินสละอาหาร ๖๐ หม้อถวายภิกษุทั้งหลายแล้วครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านกลันทคาม ในตอนเช้า เที่ยวบิณฑบาตไปในหมู่บ้านกลันทคามตามลำดับเรือน”
    การครองผ้าอันตรวาสกนี้ ก็คือการนุ่งสบงให้เป็นปริมณฑล โดยปิดบริเวณสะดือ บริเวณหน้าแข็ง ไม่ปล่อยให้สบงห้อยข้างหน้าหรือข้างหลัง ตามที่กล่าวไว้ในเสขิยวัตร ข้อ ๑ ว่า
    “ปริมณฺฑลํ นิวาเสสฺสามี’ติ สิกฺขา กรณียา. (วิ.ม. ๑/๕๗๖/๓๘๐)
    “พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย”
    จะเห็นได้ว่า ในคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาของพระวินัยระบุถึงการครองผ้าอันตรวาสกว่าเป็นการนุ่งตามเสขิยวัตร ดังข้อความว่า
    นิวาเสตฺวาติ คามปฺปเวสนนีหาเรน นิวาสนํ นิวาเสตฺวา กายพนฺธนํ พนฺธิตฺวา. (ที.ม.อ. ๒/๑๕๓/๑๔๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๖/๓๘๕)
    “คำว่า นิวาเสตฺวา (ครอง) หมายความว่า ครองผ้านุ่งตามทำนองที่เข้าไปในบ้านแล้วรัดประคตเอว”

    ตามปกติพระสูตรเป็นข้อความที่ตรัสตามบุคคลและโอกาส ดังนั้น การนับสิกขาบทว่ามี ๑๕๐ ถ้วนโดยอ้างพระสูตรจึงไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกับข้อความในพระวินัยปิฎก กล่าวคือ ในคัมภีร์ปริวาร กล่าวถึงสิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ ข้อ นับรวมอธิกรณสมถะ ๗ ข้อเป็น ๒๒๗ ข้อ (อธิกรณสมถะเป็นวิธีระงับอธิกรณ์ คือ เรื่องวิวาทในสงฆ์ จึงไม่นับเป็นสิกขาบท แต่มาสู่อุเทศในการสวดพระปาติโมกข์เช่นเดียวกัน) และสิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ ข้อ นับรวมอธิกรณสมถะ ๗ ข้อเป็น ๓๑๑ ข้อ ดังข้อความว่า
    วีสํ เทฺวสตานิ จิเม โหนฺติ ภิกฺขูนํ สิกฺขาปทานิ อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ อุโปสเถสุ. ตีณิ สตานิ จตฺตาริ ภิกฺขุนีนํ สิกฺขาปทานิ อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ อุโปสเถสุ. (วิ.ป. ๘/๓๓๘/๓๑๐)
    “สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ (ยกขึ้นสวดทุกวันอุโบสถ) รวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ รวม ๓๐๔ สิกขาบท”
    สรุปความว่า การกล่าวว่าสิกขาบทของภิกษุที่นำขึ้นสวดพระปาติโมกข์มีเพียง ๑๕๐ ข้อถ้วน ไม่ถูกต้องตามเหตุผลที่กล่าวมานี้

    พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร)
    ธรรมาจริยะ (ปริยัติธรรมสูงสุดจากประเทศพม่า)
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     
  16. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ขอกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาโดยย่อ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญของคัมภีร์นี้ กล่าวคือ ในพระไตรปิฎกมีเนื้อความอธิบายเป็นภาษาบาลีชื่อว่า มหาอรรถกถา คือ อรรถาธิบายอันประเสริฐ หรือมูลัฏฐกถา คือ อรรถาธิบายดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วย ๒ ส่วนสำคัญ คือ
    ๑. ปกิณกเทศนา เทศนาทั่วไปที่พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายไว้ด้วยพระองค์เองเมื่อมีผู้ทูลถาม หรือเพื่อให้คนรุ่นหลังเข้าใจ

    ๒. สาวกภาษิต ถ้อยคำของพระสาวกมีพระสารีบุตร พระอานันท์ พระมหากัจจายนะ เป็นต้น ที่กล่าวอธิบายหรือประมวลพระพุทธพจน์ไว้ จะเห็นได้ว่า มีตัวอย่างในพระสูตรบางสูตร เช่น

    ๒.๑ พระสารีบุตร กล่าวแนวทางในการสังคายนาไว้โดยย่อในสังคีติสูตร และทสุตตรสูตร

    ๒.๒ พระอานนท์ แสดงอุเทศและวิภังค์ของภัทเทกรัตตสูตรไว้ในอานันทภัทเทกรัตตสูตร

    ๒.๓ พระมหากัจจายนะ อธิบายภัทเทกรัตตสูตรไว้ในมหากัจจายนภัทเทกรัตตสูตร

    คัมภีร์มหาอรรถกถาที่จารึกปกิณกเทศนาและสาวกภาษิต ได้รับสังคายนาในปฐมสังคายนาและสังคายนาครั้งอื่นๆ ต่อมาพระมหินทเถระได้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในลังกาทวีปหลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ โดยได้นำพระไตรปิฎกและมหาอรรถกถาไปด้วย ท่านและพระสิงหลได้ร่วมกันแปลพระไตรปิฎกและมหาอรรถกถาเป็นภาษาสิงหล เพื่อให้กุลบุตรชาวสิงหลสามารถศึกษาได้โดยสะดวก ซึ่งต่อมาภายหลังคัมภีร์มหาอรรถกถาฉบับบาลีเดิมได้สาบสูญไป เพราะภัยสงครามที่เกิดขึ้นหลายครั้ง

    เมื่อพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปลังกาทวีปในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม (พ.ศ. ๙๕๓-๙๗๕) ได้ปริวรรตคัมภีร์มหาอรรถกถามาเป็นภาษาบาลี เพื่อให้กุลบุตรผู้รู้ภาษาบาลีในประเทศต่างๆ ใช้เป็นคู่มือในการศึกษาพระไตรปิฎก ต่อมาพระอรรถกถาจารย์รูปอื่นๆ ก็ดำเนินรอยตามโดยปริวรรตคัมภีร์จากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี ปัจจุบันคัมภีร์อรรถกถาที่ปริวรรตจากภาษาสิงหลจึงมีอยู่อย่างครบถ้วน

    คัมภีร์อรรถกถาของพระพุทธโฆสาจารย์และพระอรรถกถาจารย์ท่านอื่นๆ ได้เอื้อประโยชน์ให้อนุชนเข้าใจหลักภาษาได้ชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะภาษาบาลีเป็นภาษาตายที่ไม่นิยมพูดกันในปัจจุบัน

    ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธนิกายเถรวาทจึงไม่ถือว่าคัมภีร์อรรถกถาเป็นหลักฐานรุ่นหลังอย่างที่พูดกันในสมัยปัจจุบันว่า “คัมภีร์ชั้นอรรถกถา” แต่มีความสำคัญเทียบเท่าพระไตรปิฎก เพราะหากปราศจากคำอธิบายจากคัมภีร์อรรถกถาแล้วก็ไม่อาจจะเข้าใจพระพุทธพจน์ได้อย่างชัดเจน เพราะผู้ที่เข้าใจพุทธาธิบายได้คงมีเพียงพระพุทธเจ้าและสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้น

    ข้อความข้างต้นกล่าวไว้ในคาถาเริ่มต้นของคัมภีร์อรรถกถาทุกฉบับ แม้คัมภีร์มหาวงศ์ก็กล่าวว่า
    สีหฬฏฺฐกถา สุทฺธา มหินฺเทน มตีมตา
    สงฺคีติตฺตย’มารุฬฺหํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ.
    สาริปุตฺตาทิคีตํ จ กถามคฺคํ สเมกฺขิย
    กตา สีหฬภาสาย สีหเฬสุ ปวตฺตติ.
    (มหาวํส ปริจเฉทที่ ๓๗ คาถา ๒๒๘-๒๒๙)
    “อรรถกถาสิงหลอันหมดจดที่ประมวลคำอธิบายอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้และคำกล่าวของพระสารีบุตร เป็นต้น อันยกขึ้นสู่สังคายนาทั้งสามครั้ง ซึ่งพระมหินทเถระผู้มีปัญญาได้แปลไว้ด้วยภาษาสิงหลย่อมปรากฏแก่ชาวสิงหล”

    คัมภีร์ฎีกาพระวินัยชื่อสารัตถทีปนีกล่าวถึงเรื่องปกิณกเทศนาว่า
    น หิ ภควตา อพฺยากตํ นาม ตนฺติปทํ อตฺถิ สพฺเพสํเยว อตฺโถ กถิโต, ตสฺมา สมฺมาสมฺพุทฺเธเนว ติณฺณํ ปิฏกานํ อตฺถวณฺณนากฺกโมปิ ภาสิโตติ ทฏฺฐพฺพํ. ตตฺถ ตตฺถ ภควตา ปวตฺติตา ปกิณฺณกเทสนาเยว หิ อฏฺฐกถา. (สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๖-๒๗)
    “บทบาลีที่พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงไว้หามีไม่ ทรงแสดงเนื้อความของทุกบท ดังนั้น โปรดทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสลำดับคำอธิบายเนื้อความของพระไตรปิฎกไว้ โดยแท้จริงแล้ว ปกิณกเทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในที่นั้นๆ ชื่อว่า อรรถกถา (คัมภีร์อธิบายความ)”

    อนึ่ง ในคัมภีร์อรรถกถาบางแห่งมีการอธิบายหลักภาษา เช่น การตัดบท การอธิบายศัพท์หรือความหมาย การประกอบรูปศัพท์ และการแสดงรูปวิเคราะห์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายของพระอรรถกถาจารย์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังที่เรียนบาลีเป็นภาษาที่สองได้เข้าใจบทพยัญชนะได้ชัดเจน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้เข้าใจความหมายเป็นอย่างดี

    หวังว่าบทความนี้จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้อ่านเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง อันเป็นไปเพื่อการธำรงรักษ์พระพุทธศาสนาต่อไป.

    พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร)
    ธรรมาจริยะ (ปริยัติธรรมสูงสุดจากประเทศพม่า)
    เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     
  17. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ได้เข้าไปอ่าน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
    อ่านดูแล้ว เห็นเป็นเรื่องของการปกครอง เรื่องตำแหน่ง เรื่องอำนาจหน้าที่ การลงโทษ(นิคหกรรม) และบทลงโทษ และเรื่องทรัพย์สินของวัด แต่ไม่เห็นมีเรื่อง ข้อกำหนดลักษณะของวัด
    เช่น วัด มีลักษณะอย่างไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    หรือ สำนักสงฆ์ มีลักษณะอย่างไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    หรืออย่างไรที่เรียกว่า “วัด” และอย่างไรที่เรียกว่า “สำนักสงฆ์”

    และควรมีข้อกำหนด ข้อบังคับวิธีสร้างโบสถ์ ให้ถูกต้องตามพุทธประเพณี
    เช่น มีกำหนดเขตอุโบสถ ผูกพัทธสีมา หรือใบเสมาเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกอาณาเขตสังฆกรรม
    สังฆกรรม เช่น การอุปสมบท การสวดปาฏิโมกข์ เป็นต้น

    ควรกำหนดให้มีการทำวัตร เช้า-เย็น ทุกวัน
    และกำหนดให้มีการสวดปาฏิโมกข์ ทุกกึ่งเดือน โดยเป็นปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ ไม่ใช่ ๑๕๐ ข้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2014
  18. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    สิ่งที่พระอาจารย์คึกฤิทธิ์ เผยแพร่ พุทธวจนะ ถือเป็นเรื่องดีต่อชาวพุทธมากคับ แต่มาติดตรงเรื่องพระวินัย ซึ่งพระวินัย จัดเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา และเรื่องพระวินัยนี้ท่านพระอาจารย์ยังค้นหาไม่ครบถ้วน แล้วอาจจะด่วนตัดสินใจเร็วไป ว่ามี 150 ข้อถ้วน ทั้งๆที่ข้อมูลในที่ต่างๆยังมีอยู่อีกมาก ว่าเกินกว่า 150 ข้อ พระดีๆ เจตนาดีๆ ความตั้งใจที่ดี แต่กลับทำให้พระพุทธศาสนาสั่นคลอนโดยไม่รู้ตัว ถึงจะสั่นคลอนไม่มาก แต่ก็ทำให้ผู้ที่ไม่รู้มีความเห็นไปตาม อาจเกิดการติเตียนหรือเพ่งโทษต่อหมู่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกและตรงได้ แต่ยังไงก็ตามก็ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไรคับ ผมคิดว่าคงอีกไม่นานไม่น่าจะเกิน 20 ปีข้างหน้าพระพุทธศาสนาคงจะเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก คงอาจจะมีอะไรดีๆให้เราได้เห็นกัน คิดเหมือนผมมั้ยคับ แต่ก็เป็นแค่ความคิดเห็นนะคับ อาจจะไม่จริงก็ได้
     
  19. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    สาธุครับ
    อุปไมย เหมือนต้นบัญญัติ
    เพราะเหตุอย่างนี้ จึงมีวิธีป้องกันอย่างนี้

    เท่าที่ผมจำได้ พระภิกษุที่เป็นต้นบัญญัติ ส่วนใหญ่ บรรลุธรรม
    ไม่รู้ใช่หรือเปล่า ไม่แน่ใจ
     
  20. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=TR1-M5a8geM]สวดปาฎิโมกข์ - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...