มีด้วยหรือสวดปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Sirius Galaxy, 20 สิงหาคม 2014.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เรื่องนี้จบไปแล้วนิครับ สวด ๒๒๗ ข้อ คณะสงฆ์ประกาศแล้ว มีหลักฐานในพระวินัยปิฏก
     
  2. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    ผมมีประเด็นคำถามให้พิจารณา
    ในอดีตที่ล่วงมา ไม่ต้องไกลมาก แค่ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา

    คำถามคือ ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาประเทศไทย มีผู้ที่ทรงศึกษาและมีความแตกฉานในพระไตรปิฏกหรือไม่

    คำตอบคือ ที่ผ่านมามีหลายท่าน ทั้งพระ ฆราวาส ที่เป็นที่ยอมรับนับถือ เป็นอาจารย์ถ่ายทอดสืบต่อๆกันมา มีทั้งปุถุชน และอริยบุคคล
    แน่นอน บุคคลท่านทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนได้ศึกษาพระไตรปิฏกมาอย่างละเอียดและมีความแตกฉาน

    คำถามต่อมา ท่านทั้งหลายเหล่านั้นย่อมได้อ่านพระสูตร ที่มีข้อความบ่งบอกว่า สิกขาบทมี ๑๕๐ ข้อ หรือไม่

    คำถามต่อมา เมื่อท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้อ่านพระสูตร ที่มีข้อความบ่งบอกว่า สิกขาบทมี ๑๕๐ ข้อ แล้วเหตุไฉน ท่านเหล่านั้นถึงไม่ประกาศว่า ปาฏิโมกข์มีเพียง ๑๕๐ ข้อ
    ยิ่งกว่านั้น ยังมีพระอริยสงฆ์อีกมากมาย ที่เคยได้อ่านพระสูตร ที่มีข้อความบ่งบอกว่า สิกขาบทมี ๑๕๐ ข้อ แล้วเหตุไฉน พระอริยสงฆ์เหล่านั้นถึงไม่ประกาศว่า ปาฏิโมกข์มีเพียง ๑๕๐ ข้อ

    ก็เพราะว่า
    ๑.บาลีไม่ได้แปลว่า ๑๕๐ ข้อถ้วน แต่แปลว่า ๑๕๐ กว่า

    ๒.พระสูตรป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแกบุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง (ส่วนใหญ่พระอานนท์เป็นผู้จดจำ และกล่าวถวายพระมหากัสสป โดยมีการถามตอบ และสอบทาน ระหว่างพระอรหันต์ทั้งหลายในคราวทำสังคายนาครั้งแรก)

    ๓.พระวินัยเป็นเรื่องสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี (ส่วนใหญ่พระอุบาลีเป็นผู้จดจำ และกล่าวถวายพระมหากัสสป โดยมีการถามตอบ และสอบทาน ระหว่างพระอรหันต์ทั้งหลายในคราวทำสังคายนาครั้งแรก)

    ดังนั้น เหตุการณ์ที่พระองค์ตรัสเรื่องอภิสมาจาร หรือ เสขิยวัตร ในบางเรื่อง บางตอน หรือบางสิกขาบท จึงไม่มีอยู่ในพระสูตร เพราะเรื่องสิกขาบทต่างๆ โดยเฉพาะอภิสมาจาร หรือ เสขิยวัตรนั้น พระอุบาลี จะเป็นผู้จดจำ และบันทึกไว้ในพระวินัยปิฏก ในคราวทำสังคายนาครั้งแรก โดยมีการถามตอบ และสอบทาน ระหว่างพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ดังนั้น การศึกษาพระสูตรอย่างเดียว และถือเอาพระสูตรเป็นใหญ่ ถ้าไม่มีปรากฏอยู่ในพระสูตร หรือพระสูตรไม่ได้ว่าไว้ ให้ถือเอาตามพระสูตรที่มีอยู่ โดยปฏิเสธพระวินัย เช่นนี้ย่อมไม่ใช่นักศึกษาพระไตรปิฏก

    คำถาม ท่านไม่สงสัยบ้างหรือว่า เรื่องราวเหตุการณ์การเผยแผ่พระศาสนาของพระพุทธองค์นั้น มีมากน้อยเพียงใด พระองค์เสด็จไปยังแว่นแคว้นประเทศใดบ้าง
    คำตอบ เรื่องราวเหตุการณ์การเผยแผ่พระศาสนาของพระพุทธองค์นั้น มีมากมายนานัปการ พระองค์เสด็จไปยังแว่นแคว้นประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศ พม่า ลาว ไทย แต่เหตุฉไหนจึงไม่มีเรื่องราวอยู่ในพระสูตรทั้งหมด

    คำตอบ เพราะพระอรหันต์ในคราวทำสังคายนาครั้งแรก ท่านพิจารณาแล้ว อุปมาอุปไมย ดังนี้ คือ เรื่องราวทั้งหลายจึงเปรียบเหมือนใบไม้ทั้งหมดในป่า พระสูตรต่างๆที่พระอรหันต์ในคราวทำสังคายนาครั้งแรกได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว จึงเปรียบเหมือนเป็นเพียงแค่ใบไม้ในกำมือ

    เพราะเหตุนี้เอง จึงมีคณะสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ยอมรับการทำสังคายนาในครั้งนั้น และแยกออกไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2014
  3. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    หลังจากผมโพสข้อความแรกข้างบนประมาณ ๒ ชั่วโมง
    ได้เกิดความคิด พุ่งขึ้นในสมอง(จิต)
    ประเด็นสำคัญที่คณะสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับการทำสังคายนาในครั้งแรก ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระสูตรที่ไม่ได้บันทึกเรื่องราวของพระพุทธองค์ไว้ทั้งหมด แต่ประเด็นที่สำคัญ คือ เป็นเรื่องของพระวินัย เพราะมีความเห็นไม่ตรงกัน

    คณะสงฆ์กลุ่มนั้น ต้องการให้ผ่อนปรน หรือลด หรือตัดทอนวินัยบางข้อ บางสิกขาบท ออกไปบ้าง เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ไม่เคร่ง และเกร็งเกินไป

    เมื่อจิตมาคิดถึงเรื่องนี้ ทำให้นึกขำ เหมาะสมแล้วที่มีพระมหากัสสปเถระผู้ใหญ่ ผู้ที่ได้รับการยกย่อง ให้เป็นเลิศทางด้านธุดงควัตร ได้มาทำหน้าที่เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนา

    ถ้าคิดถึงพระมหากัสสป ผู้เป็นเลิศทางด้านธุดงค์อย่างไรแล้ว ก็ให้คิดถึงบรมครูหลวงปู่มั่นอาจารย์ใหญ่ทางด้านธุดงค์ในยุคนี้

    แน่นอนพระธุดงค์ ท่านต้องสำรวม ระวัง เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอภิสมาจาร หรือเสขิยวัตรแล้ว ย่อมอยู่ในสายเลือดพระธุดงค์ทุกท่าน

    พระมหากัสสป จึงเป็นพระเถระที่มีความเหมาะสมและลงตัวอย่างยิ่ง จึงไม่แปลกใจที่ท่านจะคงไว้ ซึ่ง อภิสมาจาร หรือเสขิยวัตร

    และจิตก็คิดไปอีก เมื่อพระมหากัสสปไม่ยอมตัดทอน หรือลดวินัยบางข้อลง จึงเป็นเหตุทำให้คณะสงฆ์กลุ่มนั้นไม่พอใจ จึงขอแยกตัวออกไป

    และจิตก็คิดไปอีก จึงไม่แปลกใจ ที่มีพระในทิเบต ในจีน เวียตนาม ญี่ปุ่น ซึ่งก็ไม่ค่อยได้เห็นข่าว อัฐิเป็นพระธาตุ เหมือนพระในบ้านเรา

    ทำให้จิตนึกน้อมไปถึงคุณของพระมหากัสสป ที่ช่วยรักษาพระวินัย นึกน้อมไปถึงพระสายพระธุดงค์ย่อมได้รับความอนุเคราะห์จากพระมหากัสสป

    นึกน้อมไปถึงพระศรีอาร์ย ที่จะต้องปลงพระศพพระมหากัสสปบนฝ่ามือ
     
  4. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    ศาสนาพุทธเผยแผ่ไปทางจีน หลังพุทธกาลไปราวๆ พันปีนะครับ

    มีพระบารมีสูงท่านหนึ่ง ท่านระลึกได้ว่าท่านเคยเกิดในตระกูลกัสสปะในสมัยพุทธกาล
    ซึ่งเหลือท่านคนเดียวที่ยังไม่ได้บรรลุ และต่อจากนั้นได้มาเกิดเป็นพระจักรพรรดิ์จีนนำพระพุทธศาสนาเข้าจีน
    ก่อนยุคพระถังซันจั๋งอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2014
  5. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    เห็นพูดแต่เรื่องสวด สวดได้ แล้วรักษาได้หรือไม่ ทุกวันนี้ พระก็ยังทำผิดวินัย หลายข้อ ที่ตัวเองท่องอยู่ จริงๆแล้ว ศีลที่ ภิกษุต้องรักษา มีมากกว่า 2400 กว่าข้อ ถ้าอยากรู้ ไปหา ดูในพระไตรปิฎก ได้ทุกสำนัก ไม่ว่าจะเป็น ของมหามกุฏฯ หรือ ของมหาจุฬาฯ เพราะ สำนักเหล่านี้ ก็ไปแปลมาจาก พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ หรือ คัดลอกมาจาก พระไตรปิฏกฉบับหลวง แล้วความจริงก็จะปรากฏ แต่ขอให้ไปศึกษาแต่เฉพาะคำที่ออกจากพุทธโอษฐ์ อย่าไปสนในคำแต่งใหม่ของสาวกที่อธิบายเพิ่ม หรือที่เรียกว่าอรรถกถา เท่านั้นล่ะ
     
  6. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    จะว่าไปแล้วนะคับ ส่วนมากพระที่บวชเข้าไปจะเข้าใจว่าศีลของพระมี 227 ข้อ มีน้อยมากที่จะรู้ว่ามีมากกว่านั้นเป็น 2,400 กว่าข้อ และน้อยที่สุดที่จะอ่านหรือศึกษาให้รู้ว่าศีล 227 ข้อนั้นมีอะไรบ้างแปลว่าอะไร นี้ก็เป็นเหตุแห่งความเสื่อมแล้วครับ
    แล้วถ้าให้สวดเพียง 150 ข้อ จะเกิดอะไรขึ้น จะทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมเร็วกว่าเดิม เพราะกุลบุตรที่บวชเข้าไปจะคิดว่าพระมีศีลเพียง 150 ข้อ แทบจะไม่มีใครมานั่งบอกสอน เรื่องพระวินัยเลยคับ ว่ามีอะไรบ้าง ถึงมีก็น้อยที่สุด
    พระที่บวชเข้ามาแทบจะทั้งหมดถ้าจะศึกษา จะศึกษาเพียงในเฉพาะศีลพระปาฏิโมกข์ ถ้าหาก 227 ข้อ ก็ดีไป ยังพอมี เสขิยวัตรบ้าง ยังพอให้เกิดความสำรวมในสมณะสารูปบ้าง แต่ถ้า 150 ข้อ แล้ว ความสำรวมก็จะหายไปด้วย หมดกันคับ เสื่อมอย่างรวดเร็วแน่นอน ลองวิเคราะห์ดูครับ
    จริงอยู่คับว่า สวด 150 ข้อ แต่ในทางปฏิบัตินั้น ให้ถือปฏิบัติ 2,400 กว่าข้อ แต่ใครจะไปนั่งบอกละคับ ในความเป็นจริงที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
    และที่เป็นอยู่ทุกวันนี้คือ พระส่วนมากถึง 80% ถือปฏิบัติเอาตามที่ยกขึ้นแสดงในพระปาฏิโมกข์ การยกขึ้นแสดง หรือยกขึ้นสวดในพระปาฏิโมกข์นั้น ก็คือ การยกขึ้นประกาศ การยกขึ้นแสดงทำให้เด่นชัดทำให้รู้กันทั่ว และจะทำให้พระภิกษุสำคัญว่ามีเพียง 150 ข้อ หรือ ศีลข้อสำคัญที่ต้องรักษามี 150 ก็คิดเอานะคับว่าจะเกิดอะไรขึ้น ลองมองให้ไกลๆดูคับ ว่าในอนาคตข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น พระวินัย เป็นรากแก้วของศาสนา ถ้ารากแก้วถูกทำลายต้นไม้จะอยู่ได้มั้ย
    ผมเคยใช่ชีวิตในเพศนักบวช ทั้งเป็นพระ และเณรอยู่ถึง 13 ปีกว่า ไปมาทุกภาค เข้าไปศึกษาทั้งในวัด มหานิกายและธรรมยุต เห็นมามากมายคับ
    ตอนผมบวชเณรสายธรรมยุตได้ 2 ปี อายุ 16 ปี ผมก็อ่านพระไตรปิฎกเกินครึ่งตู้แล้ว ทั้งเรียนปริยัติและเที่ยวธุดงค์ และที่สำคัญ ในอีกไม่กี่ปี ผมก็จะออกบวชตลอดชีวิตแล้ว
    ที่คณะสงฆ์ หรือมหาเถรสมาคมออกประกาศนั้น
    ทางมหาเถรสมาคมดูแล้วต้องการจะให้เรื่องสงบยุติลง แต่ผมเข้าไปดูใน youtube พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ ดูเหมือนจะยังไม่หยุดนะคับ

    เรื่องสวด 150 หรือ 227 ข้อนั้น
    ผมจะขอยกข้อเปรียบเทียบสัก ๒ ข้อนะคับ ว่าอันไหนมีความเป็นไปได้มากที่สุด
    ๑. ในพระสูตร วัชชีปุตตสูตร กล่าวว่า มี 150 ข้อถ้วน ซึ่งมีทั้งผู้ที่ค้นพบข้อมูลว่า 150 ถ้วน และ 150 กว่าข้อ แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นช่วงกลางระหว่างพุทธจิกพรรษาที่ 1 ถึงพรรษาที่ 45 ของพระพุทธเจ้า คือ ประมาณ พรรษาที่ 5 บางที่ก็ว่า พรรษาที่ 25 และ ที่สำคัญที่สุดคือ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ 11 ในพรรษาที่ 37 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=18604&Z=18734
    จะเห็นได้ว่าช่วงก่อนหน้านั้น หรือย้อนไปที่พรรษาที่ 25 พระวินัยข้อ สังฆาทิเสส คงมีไม่เกิน 10 ข้อแน่นอน เพราะฉะนั้น ถ้ารวมพระวินัยในช่วง ที่เกิดเรื่อง วัชชีปุตตสูตรแล้ว ที่ว่า 150 ข้อถ้วนนั้น คงไม่ครบแน่นอน เพราะตอนนั้นอย่างมากก็มี สังฆาทิเสส ไม่เกิน 10 ข้อ ขาดไป 3 ข้อ เพราะ ใน 150 ข้อนั้น มี ปาราชิก 4
    สังฆาทิเสส 13
    นิสสัคคี 30
    ปาจิตตี 92
    ปฏิเทสสนิยะ 4
    อธิกรณสมถะ 7
    รวมเป็น 150

    ประเด็นสำคัญ คือ ตอนนั้น สังฆาทิเสส มีไม่เกิน 10 ข้อ จากปัจจุบันมี 13 ข้อ ก้เท่ากับไม่ครบ 150 ข้อ ตอนนั้นจะเหลือแค่ 147 ข้อ แล้วตอนนั้น รวมเอาสิกขาบทไหนเข้ามารวมอยู่ด้วยคับ อันนี้เป็นประเด็น
    แล้ว เราคิดว่า จะเป็น 150 ข้อถ้วนจริงหรือ เพราะว่าเราก้เห็นชัดอยู่แล้วว่า พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นเรื้อยๆ
    ตามที่มีผู้กระทำความผิด และตลอดเวลา 20 ปีต่อมา จะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทใดเลยหรือ และจะไม่มีใครกระทำความผิดอะไรเลยหรือ
    และที่สำคัญ คือ ไม่มีพระสูตรไหน ที่พระองค์ ตรัสว่า นับจากวันนี้เราจะหยุดบัญญัติพระวินัย จะไม่บัญญัติ พระวินัยเพิ่มอีก
    ซึ่งตราบใดที่พระองค์ยังทรงพระชนชีพอยู่ เมื่อมีผู้กระทำผิด พระองค์ก็คงยังทรงบัญญัติ พระวินัยเพิ่มตามความผิดนั้นๆ ลองวิเคราะห์ดูนะครับ

    ๒. ทำไมถึงมีพระวินัย 227 ข้อ ที่มานะคับ เอาตามพระพุทธเจ้าเลยนะครับ คือ พระองค์ ทรงสั่งไว้คับจะมีคำว่า
    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ "
    นี่คือทรงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกขึ้นแสดงในพระปาฏิโมกข์ ทุกกรึ่งเดือน เรียกว่า สิกขาบทที่มาใน อุเทส ครับ
    แล้วพระสงฆ์ทั้งหลาย ที่ทำสังคายนา มีพระ มหากัสสปะ พระอุบาลี พระอานนท์ และพระอรหันต์ ที่สำเร็จอภิญญา 6 อีก 497 องค์ ก็ได้พยายามค้นหาสอบทวนถามกันจนทั้งหมด ค้นหาได้ 227 ข้อ หมดแล้วไม่มีอีก สิ่งที่พระพุทธเจ้ารับสั่งให้ทรงยกขึ้นแสดงในวันอุโบสถ มี 227 ข้อ เหล่าพระอรหันต์เฉพาะผู้สำเร็จอภิญญา 6 ได้กระทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งแล้ว และได้ยกขึ้นแสดงตามพุทธประสงค์ ทุกๆกรึ่งเดือน ถือว่าได้กระทำถุกต้องดีแล้ว ลองวิเคราะห์ดูนะคับว่า มีความเป็นไปได้มากมั้ยที่ 227 ข้อที่สวดกันในปัจจุบันนี้ว่าถูกต้อง หรือ 150 ข้อถ้วน ถูกต้อง และอันไหนจะทำให้พระศาสนาเสื่อมเร็วกว่ากันคับ และตลอดมาจะไม่มีพระสงฆ์ท่านใดสงสัยเลยหรือ ถ้า 150 ข้อถ้วนจริงๆ เพราะผู้ที่ท่างศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉานมากกว่าเราก็ต้องมีเยอะแยะอยู่แล้ว ทำไมท่านไม่แก้ไข นี่ก้เป็นประเด็นสำคัญ
    จริงอยู้พระศาสนาจะอยู่จนครบ 5,000 ปีแน่นอนคับ แต่การเสื่อมนี้คือ เมื่อพระศาสนาเริ่มเจริญขึ้นก็จะเสื่อมโดยไว ภายในช่วงก่อนจะถึง 5,000ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2016
  7. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    พระวินัย ข้อ

    อนิยต 2 ปรับอาบัติตามที่กระทำผิด คือ ปรับได้ ตั้งแต่ ปาราชิก สังฆาทิเสส และปาจิตตีย์
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=19219&Z=19394

    ส่วน เสขิยวัตร ปรับโดย ข้อที่ว่า ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อ แล้วกระทำผิดในเสขิยวัตร ต้องอาบัติ ทุกกฏ
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=15168&Z=15317

    ส่วน ภิกษุที่ถูก อุปสัมบัน คือ ภิกษุ ภิกษุณี ตักเตือนแล้วไม่ฟัง ต้อง ปาจิตตีย์ แต่ถ้า อนุปสัมบัน คือ สามเณร หรือ ฆราวาส ตักเตือนแล้วไม่ฟัง ต้องอาบัติ ทุกกฏ
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=12096&Z=12147
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2014
  8. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
    คำนิคม
    [๘๘๑]

    ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
    ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.

    สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์ นับเนื่องในพระ ปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.
    พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระ- *ปาติโมกข์นั้น เทอญ.


    มหาวิภังค์ จบ.พระวินัยปิฎกเล่ม ๒ จบ.
     
  9. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก และ พุทธวจนะ ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ ล้วนมาจากพระเถระ เป็นผู้แต่ง

    ถ้าเราปฏิเสธไม่เอาที่พระเถระแต่ง ก็เหมือนปฏิเสธพระไตรปิฎกทั้งตู้ และปฏิเสธพุทธวจนะด้วย
    พุทธวจนะนั้น ก็พระเถระนั้นแลเป็นผู้แต่ง คือจดจำและบันทึกไว้ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของพระไตรปิฎก แม้กระทั่งในหนังสือต่างๆ หรือแม้แต่ในแผ่นกระดาษก็ตาม ถ้านั่นเป็นพุทธวจนะแล้วละก็ ไม่ควรมองข้าม พุทธวจนะทั้งหมด ที่เราศึษาอยู่นี้ ก็อาศัยพระเถระ เป็นผู้จดจำและบันทึกไว้ จริงอยู่ตลอด 2,500 กว่าปีมา ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะมีเพิ่มมาหรือขาดหายไปหรือป่าว
    แต่ที่สำคัญถ้าหากมี พุทธวจนะ กล่าวไว้ ณ ที่ใดใน
    พระวินัย พระสูตร หรือ พระอภิธรรม ถึงจะเป็นพระเถระแต่งก็ตาม นั่นก็เพราะท่านจดจำมาได้ยินได้ฟังมา หรืออาจจะได้ฟังต่อหน้าพระพุทธเจ้าก็เป็นได้ ถ้าปฏิเสธเสียแล้วแล้วถ้ามันเป็นเรื่องจริงละ เท่ากับว่าปฏิเสธซึ่งความจริง
    เป็นเรื่องน่าเสียดาย สำหรับผู้ไฝ่หาความจริง หรือ ยึดหลักความจริง ผู้ที่ยึดหลักความจริง จะไม่ทิ้งข้อมูลแม้เพียงเล็กน้อยเป็นอันขาด เพราะเขาอาจพลาดจากความจริงไปได้

    อันที่จริงตัวผมเองก็ไม่อยากไปยุ่งกับเรื่องนี้นะครับ แต่ที่เขียนไว้เผื่อว่า ถ้าหากมีผู้สนใจ หรือต้องการหาข้อมูล ก็จะได้เข้ามาศึกษาเพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าอะไรมีความเป็นได้มากที่สุด ก่อนที่จะเชื่อในอะไรๆ หรือสิ่งนั้นครับ



    เรื่องพระวินัย
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,456
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068


    ...ตรงที่เป็นสีแดงและขีดเส้นใต้

    ที่คุณไม่เคยเห็น เพราะ ไม่ได้คลุกคลีในวงการ หรือ ปัญหาเรื่องการสื่อสารในต่างถิ่นต่างแดนหรือเปล่าครับ

    ผู้ที่สามารถเชิญพระบรมสารีริกธาตุได้ ก็สามารถอธิษฐานเชิญพระธาตุพระสาวก และ พระโพธิสัตว์ต่างๆได้ ซึ่งอาจเป็นพระธาตุเทพนิมิต รวมอยู่ด้วย


    บางอย่าง เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังของญาณทัศนะของเราไม่ถึง ไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ



    ...เรื่องอื่นๆ ไม่มีอะไรกล่าวตอนนี้ ขอบคุณท่านที่ได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อรักษาพระศาสนา และป้องกันการพากัน
    ทำสังฆเภท โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2014
  11. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    เสื่อมช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับพุทธบริษัท 4
    ถ้าจะทำให้เสื่อมเร็ว ต้องทำให้ความเชื่อ 150 ข้อ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
    เมื่อทำสำเร็จ เมื่อนั้นปาฏิโมกข์ จะเหลือ 150
    กาลนั้นจะไม่รู้จัก เสขิยวัตร และ อนิยต ในตำราจะถูกลบ
    เมื่อนั้น การปฏิบัติย่อมเสื่อม

    เหตุที่ยังไม่เสื่อมเร็ว เพราะปัจจุบันยังมีผู้ที่มีความเห็น 227 มากกว่า 150

    อีก 500 ปี หรือ 1000 ปี ข้างหน้า ถ้า 150 มาเป็นประเด็นอีก มหาพรหมราชา ท่านอย่าลืมมาเกิด
    แล้วพุทธภูมิท่านอื่นไม่พูดบ้างหรือ เป็นหน้าที่ของพุทธภูมิไม่ใช่หรือ

    ไม่มีพระอรหันต์ท่านใดพูดบ้างหรือ หรือพระอรหันต์ไม่อยากยุ่ง เพราะเป็นไตรลักษณ์

    ถ้าใน 1000 หรือ 2000 ปี ข้างหน้า พูดไปก็คงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะความเชื่อ 150 มากกว่า 227
     
  12. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    พูดแบบนี้ ไม่ออกเสียงคงไม่ได้แระ

    ถ้าเช่นนั้น เราก็ควรทำข้อวินิจฉัยทิ้งไว้สำหรับอีก 500 หรือ 1000 ปีข้างหน้า
    เพื่อว่าหากมีคนไปเจอในคัมภีร์ตรงวรรคเดิม (และอุตริอยากลดจำนวนศีล เพื่อความอยากดัง)
    และอ้างว่า เชื่อคำพูดของพระพุทธเจ้าดีกว่า มาเชื่อคำสาวกรุ่นหลังเป็นต้น
    จะได้รู้ว่ามีการวินิจฉัยกันเรียบร้อยแล้ว โดยคนปี 2500 งัย .. ดีมั้ยครับ

    (จารึกชื่อไว้ด้วย เผื่อตอนนั้นกลับมาเกิดใหม่จะได้เห็นชื่อตัวเอง .. อิอิ)
     
  13. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8260 ข่าวสดรายวัน
    แก้ปัญหาข้างหน้า เสียแต่วันนี้

    พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
    ดูเรื่องสิกขาบท "150 ถ้วน"
    ใน การเขียนหนังสือ พุทธธรรม นั้น ตามปกติ เวลาอ้างความจากพระไตรปิฎก เพื่อความสะดวก ก็คัดคำแปลจากพระไตรปิฎกภาษาไทย อนุสรณ์งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งเป็นฉบับแปลที่มีในสมัยนั้น เมื่อดูว่าราบรื่น ก็ผ่านไป แต่ถ้าเป็นความสำคัญเกี่ยวกับสาระที่กำลังอธิบาย ถ้าคำแปลไม่ชัดหรือมีเหตุน่าสงสัย ก็ตรวจสอบกับพระไตรปิฎกบาลี

    ข้อความจากพระไตรปิฎก ตอนที่ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลพระพุทธเจ้า ที่ว่า "สิกขาบท 150 ถ้วนนี้" ในพุทธธรรม ที่พิมพ์ครั้งก่อนๆ ก็คัดจาก พระไตรปิฎกภาษาไทย อนุสรณ์งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่กรมการศาสนารักษาไว้ และถือว่าเป็นฉบับหลวงนั้น เมื่อตอนที่คัดมาครั้งนั้น ไม่ได้สังเกตและไม่ได้เฉลียวใจ จึงมิได้ตรวจสอบกับพระบาลีเดิม

    ทีนี้ เมื่อมีเหตุการณ์อย่างที่ได้รับคำถามนี้ จะทำอย่างไรก็ต้องเอะใจ และตรวจสอบข้อความที่เป็นคำแปลนี้ กับพระไตรปิฎกบาลี

    เมื่อ ตรวจสอบคำแปลนี้ ก็จะพบว่า คำบาลีเป็น "สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ" เมื่อพบแล้ว ก็พิจารณาไปตามลำดับว่า ทำไมจึงว่า ที่แปลเป็น "สิกขาบท 150 ถ้วนนี้" นั้นผิด ผิดอย่างไร ก็แปลกันดู ซึ่งก็ไม่ยาก ว่า

    ภนฺเต – ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ - สิกขาบท 150

    สาธิกมิทํ - "ถ้วนนี้"

    จับ ได้แล้วว่า "ถ้วนนี้" แปลจาก สาธิก มิทํ จะแปลผิดหรือแปลถูก ก็อยู่ตรงนี้แหละ คือที่ "สาธิกมิทํ" ถ้าแปลว่า "ถ้วนนี้" ผิด ต้องบอกได้ว่าผิดอย่างไร และที่ถูก แปลว่าอย่างไร

    "สาธิกมิทํ" นี้ หลักภาษาบาลีบอกชัดอยู่แล้วว่า แยกเป็น สาธิกํ+อิทํ

    "อิทํ" แปลว่า "นี้" ชัดอยู่แล้ว ตัดไปได้

    เหลืออยู่คำเดียวที่เป็นปัญหา คือ สาธิกํ นี้แปลว่า "ถ้วน" ผิดแน่หรือ และที่ถูกแปลว่าอย่างไร พิสูจน์ได้อย่างไร

    ก่อนจะพิสูจน์ พักเสียนิดหนึ่ง ลองสำรวจดูว่า พระไตรปิฎกแปลภาษาไทยต่างฉบับ แปลคำนี้ ในข้อความนี้ ว่าอย่างไร

    ปรากฏว่า พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย แปลคำนี้ ข้อความนี้ ตรงนี้ ต่างๆ กันไป แม้แต่ในฉบับเดียวกัน ก็ยังแปลต่างกันไปไกล

    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับอนุสรณ์งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ แปลว่า 150 "ถ้วน" นี้ ดังที่กล่าวแล้ว

    พระ ไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็แปลตรงนี้เหมือนกัน ฉบับอนุสรณ์งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษว่า สิกขาบท 150 "ถ้วน" นี้ แต่ทำเชิงอรรถโดยอ้างคำอธิบายของอรรถกถาว่า สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มีเพียง 150 ข้อ"



    พระไตรปิฎกแปลภาษา ไทย อีกฉบับหนึ่ง (พระไตรปิฎก และอรรถกถา แปล ของ มมร.) แปลตรงนี้ว่า สิกขาบท "ที่สำคัญ" 150 นี้ และพอดีว่าพระบาลีเดียวกันตรงนี้ มีการนำไปอ้างอีกแห่งหนึ่ง คือเป็นข้อความเดียวกัน ตรงกันทุกตัวอักษร (อ้างใน อรรถกถาแห่งมหาหัตถิปโทปมสูตร) แต่ตรงนั้นคงเป็นผู้แปลต่างท่านกัน แปลว่า 150 สิกขาบท "ที่สำเร็จประโยชน์" นี้

    จะเห็นว่า คำบาลีคำเดียวกันนี้ "สาธิกํ" ทั้งที่อยู่ในข้อความเดียวกัน ที่เดียวกัน ท่านผู้แปลได้แปลกันไปต่างๆ ไม่เพียงต่างสำนวนเท่านั้น แต่ต่างความหมาย ต่างเนื้อความกันไปเลย

    ในเรื่องนี้ ก็พึงเห็นใจว่า คำความมากมาย ถ้าไม่สะดุด ไม่เฉลียวใจ บางทีก็ว่าไปตามกัน หรือไม่ทันได้ตรวจสอบ ก็แปลผ่านๆ ไป แต่เมื่อมีหรือถึงโอกาส ก็ควรทำให้ชัดเจน

    เมื่อสำรวจเสร็จแล้ว ก็ตรวจสอบ ตอนนี้ ต้องอาศัยความรู้ภาษาบาลี ผู้รู้บาลีก็ บอกต่อไปว่า "สาธิกํ" นี้ แยกศัพท์เป็น "สห+อธิก" จึงแปลว่า พร้อมด้วยส่วนที่เกิน หรือมีเศษโดยทั่วไปสังเกตได้ง่ายว่า จะมีคำจำพวกสังขยา คือจำนวนเลขตามมา

    ใน พระไตรปิฎก ที่อื่นก็มี เช่น ในพุทธพจน์ว่า "สาธิกนวุติ อานนฺท ญาติเก อุปาสกา กาลกตา..." (ดูกรอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านญาติกะ เกินกว่า 90 คน ถึงแก่กรรมแล้ว, สํ.ม.19/1478/450; อรรถกถาคงประสงค์ให้ชัดยิ่งขึ้น ยังอธิบายคำนี้ด้วยว่า "สาธิกนวุตีติ อติเรกนวุติ", สํ.อ.3/363) ที่นี่ พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย ทั้ง 3 ฉบับ แปลได้ความตรงกัน

    ขอยก ตัวอย่างจากพระไตรปิฎกมาดูอีกแห่งหนึ่ง เป็นความในคาถาว่า "สาธิกาวีสติ โยชนานิ อาภา รตฺติมฺปิ จ ยถา ทิวํ กโรติ" (มีรัศมีแผ่ไปเกินกว่า 20 โยชน์ และทำแม้กลางคืน ให้เป็นดุจกลางวัน, ขุ.วิ.26/53/94) ที่นี่ พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย ทั้ง 3 ฉบับ ก็แปลได้ความตรงกัน
    คำว่า "สาธิก" นั้นเคยมีคนไปเรียนถามหลวงปู่ ประยุตโต ได้ความว่า คำนี้มาจากคำว่า สห + อธิก

    คำว่า สห แปลว่า "รวมเข้ากัน" เช่นคำว่า "สหศึกษา" หมายถึง โรงเรียนรวมทั้งหญิงและชาย

    คำว่า อธิก แปลว่า "ส่วนเกิน" เช่นคำว่า "อธิกมาส" หมายถึง ปีที่มีเดือนเกิน (มีเดือนแปดสองหน)

    ดังนั้นคำว่า "สาธิก" หรือ "สาธิกํ" นั้น จึงแปลได้ว่า "รวมเข้ากับส่วนเกิน(ที่จะมีในอนาคต)"

    ดังนั้นการอ้าง(แปล)ว่า "การสวดสิกขาบท 150 ถ้วน(เท่านั้น)" จึงเป็นการกล่าวที่ผิดโดยชัดเจนครับ

    .“สาธิกํ” นี้ แยกศัพท์เป็น “สห+อธิก” จึงแปลว่า พร้อมด้วยส่วนที่เกิน หรือมีเศษ โดยทั่วไปสังเกตได้ง่ายว่า จะมีคำจำพวกสังขยา คือจำนวนเลขตามมา
    “สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ”
    ภนฺเต = ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ = สิกขาบท ๑๕๐
    สาธิกมิทํ” : สาธิกํ + อิทํ = สห+อธิก+ อิทํ ; “อิทํ” แปลว่า “นี้”
    พึงแปลพระบาลีประโยคนี้ว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้”
    ที่มา:พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2554)

    สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ...
    แปลโดยพยัญชนะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่า ร้อยแห่งสิกขาบทที่สองด้วยทั้งกึ่ง (๑๕๐) อันเป็นไปกับด้วยสิกขาบทอันเกินนี้ ...
    แปลโดยอรรถว่า ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ พร้อมกับสิกขาบทที่เกินกว่านี้ (หรือจะแปลว่า สิกขาบท เกิน ๑๕๐ นี้, อธิก แปลว่า เกิน, กว่า, เกินกว่า)

    ถ้าทำความเข้าใจ สาธิก และ สาติเรก (จะทำให้เราเข้าใจความหมายได้ดียิ่งขึ้น ดูใน ชนวสภสูตร หรือ คิญชกาวสถสูตร) เฉพาะ สาธิก นั้น มาจาก สห + อธิก

     
  14. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑


    ปาติโมกขุเทศ ๕

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

    พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ปาติโมกขุเทศนี้มี ๕ คือ

    ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น
    ปาติโมกขุเทศที่ ๑.

    สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติ
    โมกขุเทศที่ ๒.



    สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้วพึงสวดอุเทศที่เหลือด้วย
    สุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๓.


    สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๔.


    สวดโดยพิสดารหมด เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๕.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ ๕ นี้แล.


    ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4440&Z=4480https://www.google.co.th/?gws_rd=ssl

    ธรรมดาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้สวดพระปาฏิโมกข์ ย่อ ได้ต่อเมื่อ มีเหตุจำเป็น 10 ประการ ถ้าสวด ย่อ โดยไม่มีเหตุจำเป็น 10 ประการ ปรับอาบัติ ทุกกฏ

    สวดย่อ คือ อะไรบ้าง คือ ข้อ ๑ ถึง ข้อ ๔

    ส่วนข้อที่ ๕ เป็นการสวดโดยปกติ หรือ สวดทั้งหมด


    แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ข้อ ๔ คือ สวดโดย ย่อ ในข้อ ๔ มี ข้อ อนิยต ๒ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ด้วย

    สำคัญอย่างไรมาดูกันนะคับ ในที่ว่า สวด 150 ข้อถ้วน นั้น มีข้อไหนบ้าง คือ มี

    ปาราชิก ๔
    สังฆษทิเสส ๑๓
    นิตสัคคีย์ ๓๐
    ปาจิตตีย์ ๙๒
    ปฏิเทสนิยะ ๔
    อธิกรณสมถะ ๗

    รวมกันจะได้ ๑๕๐ พอดี แล้ว ในตามที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ แม้กระทั่ง ในที่

    ที่ทรงบัญญัติ ให้สวด ย่อ ได้ ก็ยังมี ข้อ อนิยต ๒ ซึ่งมันขัดกัน กับ การสวด ๑๕๐ ข้อ

    ถ้วน ซึ่งไม่มี ข้อ อนิยต ๒ เลย และถ้าหาก รวม ข้อ อนิยต ๒ เข้าด้วย ก็จะกลายเป็น

    ๑๕๒ ข้อ ซึ่งก็เกิน ๑๕๐ อีก

    ประเด็นนี้สำคัญอีกอย่าง ถ้าหากรวม อนิยต ๒ เข้า คำว่า

    สาธิกมิทํ ก็จะแปลว่า เกินกว่า แต่ถ้า แปลว่า ถ้วน คือ ๑๕๐ ถ้วน

    ก็เท่ากับตัด อนิยต ๒ ออก ซึ่ง จะตัดออกไม่ได้เป็นอันขาด เพราะ พระพุทธเจ้าทรง

    บัญญัติไว้แล้ว แม้จะเป็นการ สวดแบบ ย่อ ก็ต้อง สวด อนิยต ๒ ด้วย แล้วจะเอาข้อ

    อนิยต ๒ ไว้ที่ไหนดี ในเมื่อ เอาเข้าก็จะเกิน ๑๕๐ ถ้วน ถ้าจะตัดออกก็ไม่ได้ เพราะทรง

    บัญญัติให้สวดด้วย

    ทางออกที่มีความเป็นไปได้ที่สุดก็คือ แปล ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ สาธิกมิทํ แปลว่า

    สิกขาบท ๑๕๐ กว่า ก็จะ สามารถรวมเอา อนิยต ๒ เข้าได้ด้วย ซึ่งไม่ผิดตามพุทธะ

    ประสงค์

    แล้ว ถ้าแปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่า นี้ ถือเป็นการแปลถูกหรือผิด

    ในพระไตรปิฎกฉบับ สยามรัฐ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน และ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนั้น ก็แปล

    มาจากต้นฉบับ คือ พระไตรปิฏกฉบับบาลี แล้วที่แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน นั้นจะถูก

    ตาม หลักการแปล บาลีไวยากรณ์หรือไม่ มาดูกันคับ

    ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ = สิกขาบท ๑๕๐

    สาธิกมิทํ” : สาธิกํ + อิทํ = สห+อธิก+ อิทํ

    สห แปลว่า รวมเข้าด้วยกัน

    อธิก แปลว่า ส่วนเกิน

    อิทํ แปลว่า นี้

    สาธิกมิทํ แปลว่า รวมเข้ากับส่วนเกินนี้


    หรือจะแปลพระบาลีประโยคนี้ว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้”

    ที่มา:พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2554)

    พอแปลออกมาแล้ว กลายเป็น แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ แสดงว่า

    พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แปล ผิด แล้ว ประเด็นสำคัญอีก แล้วทำไมถึงแปลผิด เรา

    ต้องไปดูว่าใครเป็นผู้แปล

    แน่นอนครับ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้แปล มีใครบ้าง สักคนมั้ยที่กล้ายืนยันว่า ทั้ง 48,000

    พระธรรมขันธ์ หรือที่แปลทั้งตู้นั้น แปลถูกต้องหมด ไม่มีผิดเลย ครบถ้วนบริบูรณ์ทุกๆ

    คำ ไม่มีผิดพลาดเลยแม้แต่นิดเดียว ถูกต้อง 100% มีมั้ยครับ มีใครกล้ายืนยันมั้ย และที่สำคัญมีกี่

    ท่านที่ร่วมกันทำทั้งแปล ทั้งจดบันทึก ทั้งพิมพ์ มีความเป็นไปได้มั้ยที่อาจจะมีการผิด

    พลาดบ้าง ลองคิดดูนะครับ




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2014
  15. SpencerLee

    SpencerLee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +2
    จริงๆ 150 กว่า เเต่ ฉบับ สยามรัฐ เเปลผิด เป็น ถ้วน เลยมีดราม่า 150 == '
     
  16. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..มันเหมือนกับบุคคลหรือนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ จู่ๆ มาวันหนึ่งเกิดหนึ่งสงสัยขึ้นมาว่า "ตำราความรู้ที่เราเรียนอยู่นี้มันถูกต้องดีจริงไหมหนอ? มันใช่ไหมหนอ? เชื่อถือได้ไหม? ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนเราทำถูกต้องดีไหมน่าเคารพเลื่อมใสดีไหมหนอ?"..

    ทั้งๆที่ก้อมีบุคคลรุ่นพี่ที่เรียนจบออกไป นำวิชาความรู้ที่เรียนมาไปเลี้ยงชีพ ทำประโยชน์ได้มากมาย ไม่มีผิดพลาดเป็นโทษเป็นทุกข์กับผู้ใดและตนเอง เป็นตัวอย่างพิสูจน์ผลของการปฎิบัติตาม
     
  17. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฎิบัติจนเห็นผลเป็นประจักษ์พยานตัวอย่างที่ดีมีให้ดูไม่ดู กลับมาจ้องจับผิดตำราครูบาอาจารย์ ว่าไม่ถูกขาดตกบกพร่อง..

    ..แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านปฎิบัติจนสำเร็จเห็นผล ท่านเคยตำหนิตำราไหมว่าเขียนผิด แต่งเติมต่อเติมขึ้นภายหลัง สังคายนามาหลายรอบแล้วต้องมีผิดพลาด ท่านไม่เคยแตะต้องเลยมีแต่เคารพเทิดทูนพระธรรมพระวินัย..
     
  18. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว หรือ หลวงปู่ชาและอีกมากมาย ท่านไม่เคยตำหนิพระวินัยเลยว่ามีมากไป ตรงนั้นผิดนะตรงนี้ผิดนะ อันไหนไม่ใช่อันนี้ไม่ใช่แต่งเติม ท่านทั้งหลายต่างเคารพพระวินัยแม้ข้อเล็กข้อน้อยปฎิบัติตาม..

    ..อรรถกถาจารย์ท่านป้องปรามไว้ ไม่ได้มีเจตนาห้ามบังคับไม่ให้ทำ แต่เพื่อต้องการดับไฟแต่ต้นลมเห็นเหตุเพียงเล็กน้อยก้อเป็นเพลิงไฟเผาผลาญได้ จึงกำหนดบัญญัติสิกขาไว้เพื่อให้มีสติระลึกป้องกันตนเองจากกิเลส ทั้งยังฝึกให้เรียบร้อยดูดีต่อสาธารณะภายนอกอีกด้วย..
     
  19. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..เส้นตรงที่ขีดด้วยไม้บรรทัดนั้น คือ แบบอย่างที่ดีที่ต้องพยายามปฎิบัติตามให้ได้มากที่สุด..

    ..พวกเราๆ ไม่ได้มีไม้บรรทัดพกติดตัวสะสมมามากมายเหมือนองค์บรมครู จะลากเส้นให้ตรงเปี๊ยบบ!!! เลยเหมือนตัวอย่างก้อคงจะเป็นไปไม่ได้ ต่างก้อฝึกหัดลากเส้นด้วยมือเปล่า ตรงบ้างไม่ตรงบ้าง คดเคี้ยวเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาออกนอกเส้นทางบ้าง ตามสติกำลังตั้งใจที่พยายามทำมีผิดพลาดก้อดึงตัวเองให้กลับมาอยู่ในแนวเส้นตรง..

    ไม่ใช่จะมาตำหนิว่าเส้นตรงตัวอย่างที่วางไว้ มันดีเกิน มันตรงเกินไป รับไม่ได้รับไม่ไหว อันนี้จะพาฉิบหาย!!!

    ไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นคนดีได้ในทันใด ต่างก้อต้องฝึกหัดบำรุงจิตใจตนเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เส้นที่มันคดๆงอๆ ก้อจับถ่างออกทำให้ตรงดีดูสวยงามเสีย นิสัยจิตใจก้อเช่นกัน ฝึกเข้าหัดเข้าบำรุงเข้า จะคลายออกจากความทุกข์เห็นถูกต้อง จะละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปมีความสุขใจ ^^"
     
  20. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อรักษาพระศาสนาโดยการป้องกันการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...