แค่อยากเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อยเรื่องพระสมเด็จวัดระฆังซักหน่อย

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย ลูกพระป่า, 13 มิถุนายน 2014.

  1. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    พี่หนุ่ม ผมถามหน่อยครับ ในฐานะอาจารย์ ท่านจะให้เขาเข้าใจโจทย์อย่างใร เมื่อสถานะการ์ณไม่เป้นไปตามเห็ตุที่ตรรกะเห็น
    ดังเช่นปัญหาชีวิตปรกติที่เราท่านเจอกัน สิ่งที่อาจารย์ต้องการสื่อสารนั้นผมว่าตรงไประเด็นมากแล้ว แต่นักศึกษากลับตีความผิดไปเอง
    เหมือนหลักธรรมของพระพุทธองค์ที่ลุ่มลึก แต่มนุษย์ขี้เหม็นชอบยกมากล่าวอ้าง ทั้งที่ไม่ได้เข้าใจไปเลยว่าสิ่งที่ท่านต้องการชี้แนะนั้นคืออะไร สาระสำคัญอยุ่ที่ไหน
    นักเรียนถ้ามีสติจะเก็ทแต่ต้น แต้ถ้าไม่มีสติ ทั้งโลภะ โทษะ โมหะ นำพา แถมโดนลมปากเป่าหูไปอีก ความเข้าใจที่เรียกว่าความเห็นชอบ คงห่างไปมาก
    คงไม่ต้องอธิบายเรื่องทิฐิที่ผสมไปอีก คงไปอีกไกลดุจเรือต้องลมให้มหาสมุทไร้ฝั่ง


     
  2. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ผมลืมบอกไปว่าเรื่องไอน์สไตนเรื่องนี้ ในห้องเรียนนั้น ตั้งชื่อชั่วโมงนั้นว่า

    กับดักทางความคิด

    “กับดักความคิด” (Conceptual block) ที่นักวิชาการทั้งหลายถือว่าเป็นกำแพงในจิตใจ
    ซึ่งปิดกั้นการรับรู้ ละการไตร่ตรอง เพื่อหาทางออกที่สร้างสรรค์ให้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้น

    เมื่อเราติดกับดักความคิดแล้ว ไม่ต้องหวังว่าเราจะคิดอย่างรอบคอบ รอบด้าน และสร้างสรรค์ได้ ความคิดเราก็จะวนเวียนอยู่ในกับดักนั่นเอง และกับดักนั้นมักจะเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่ เคยชินอยู่ เชื่ออยู่ อาทิ กับดักของทรรศนะ (Perceptual block) หรือการรับรู้ซึ่งบางครั้งเกิดเพราะคนอื่นสร้างกับดักขึ้น แล้วเราไปคิดตามเขา
     
  3. utumporn89

    utumporn89 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2009
    โพสต์:
    924
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,981
    ความจริงในโลกนี้มันบกพร่องอยู่ตลอดเวลา มันไม่สมอยากหรอก
    มีแต่ความไม่สมอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา
    อยากอย่างนี้มันไม่ได้ อยากอย่างนี้ไม่ได้ มันได้แป๊ปเดียว
    เดี๋ยวก็หายไปอยากอย่างอื่นอีกละ
    ในโลกนี้บกพร่องอยู่ตลอดเวลานะ ไม่เคยเต็ม ไม่เคยอิ่ม..
     
  4. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    เห้นด้วยครับ สัจธรรมเลยมีขึ้นจากจุดที่พระพุทธเจ้าท่านได้บัญญัติมีขึ้นในศาสนาที่เรียกว่าพุทธ

    จูฬสัจจกสูตร
    สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก


    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ศาลาเรือนยอดในป่าใหญ่ ใกล้กรุงเวสาลี ( แคว้นวัชชี )
    ในสมัยนั้นสัจจกนิครนถ์ก็อาศัยอยู่ในกรุงเวลาลี เป็นผู้ชอบโต้เถียง ยกตนว่าฉลาด ชนหมู่ใหญ่ยกย่องว่าดี. สัจจนิครนถ์พูดในที่ประชุมชนกรุงเวสาลีว่า ไม่เห็นใครแม้ที่จะปฏิญญาตนว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ที่ตนโต้ตอบด้วยแล้วจะไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้ตนจะโต้ตอบกับต้นเสา ต้นเสาก็ยังหวั่นไหว.
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๒. สัจจกนิครนถ์พบพระอัสสชิเถระ เช้าวันหนึ่ง จึงเข้าไปหาปราศรัยแล้วถามว่า พระสมณโคดมและนำสาวกอย่างไร คำสอนส่วนใหญ่คืออะไร
    พระอัสสชิตอบว่า ทรงสอนว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน.
    สัจจกนิครนถ์ก็กล่าวว่า ท่านฟังมาไม่ดีแล้ว ที่ได้ฟังพระสมณโคดมผู้มีวาทะอย่างนี้ ตนพบพระสมณโคดมคราวใดคราวหนึ่งก็จะถ่ายถอนเสียจากความเห็นอันชั่วนี้ให้ได้ สัจจกนิครนถ์จึงเข้าไปยังที่ประชุมชนของเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ เล่าความที่โต้ตอบกับพระอัสสชิให้ฟัง และอวดอ้างว่าจะฟัดฟาดพระสมณโคดมเสียด้วยวาทะเหมือนดึงขนแกะเล่น เป็นต้น.
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๓. สัจจกนิครนถ์จึงพร้อมด้วยเจ้าลิจฉวี ๕๐๐ ไปยังศาลาเรือนยอดป่ามหาวัน เมื่อพบพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวขอโอกาสเพื่อให้ตอบปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ถามได้ ก็ถามว่า
    ทรงแนะนำสาวกอย่างไร คำสอนส่วนใหญ่คืออะไร
    ตรัสตอบอย่างที่พระอัสสชิเถระตอบ.
    สัจจกนิครนถ์แย้งว่า พืชพันธุ์ไม้และคนสัตว์อาศัยแผ่นดินฉันใด คนเราก็อาศัยรูปเวทนา เป็นต้น ได้ประสบบุญและมิใช่บุญ ( เท่ากับว่า ถ้าปฏิเสธขันธ์ ๕ ว่าเป็นอัตตาเสียแล้ว ก็คล้ายกับไม่มีมูลฐาน เหมือนคน สัตว์ ต้นไม้ เมื่อไม่ดินก็ไม่มีที่ตั้ง ).
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๔. ตรัสย้อนถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า ขันธ์ ๕ เป็นตนของท่านใช่ไหม.
    สัจจกนิครนถ์ตอบว่า ใช่ ประชุมชนใหญ่นี้ก็ว่าอย่างนั้น.
    ตรัสตอบว่า ประชุมชนใหญ่นี้จะทำอะไร ท่านจงแก้วาทะของตนเองเถิด
    สัจจกนิครนถ์ จึงยืนยันว่า ข้าพเจ้ากล่าวว่า ขันธ์ ๕ เป็นตนของข้าพเจ้า.
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๕. ตรัสถามว่า กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก มีอำนาจต่าง ๆ ในแว่นแคว้นของพระองค์ เช่น การฆ่า การริบทรัพย์ การเนรเทศใช่หรือไม่
    ทูลรับว่า ใช่.
    ตรัสถามว่า ท่านกล่าวว่า รูป ( ส่วนหนึ่งใน ๕ ส่วนของขันธ์ ๕ ) เป็นตัวตนของท่าน ท่านจะมีอานาจในรูปนั้นว่า จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าเป็นอย่างนั้นเลยได้หรือไม่.
    สัจจกนิครนถ์นิ่ง ตรัสถามย้ำถึง ๓ ครั้งก็นิ่ง ในที่สุดก็ยอมรับว่าไม่มีอำนาจให้รูปเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. จึงตรัสถามไปทีละข้อจนถึงวิญญาณ ซึ่งสัจจกนิครนถ์ก็ยอมรับว่าไม่มีอำนาจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เช่นเดียวกันทุกข้อ.
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๖. ตรัสถามว่า ขันธ์ ๕ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
    ตอบว่า ไม่เที่ยง.
    ตรัสถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุข.
    ตอบว่า เป็นทุกข์.
    ตรัสถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาควรหรือที่จะตามเห็นว่า นั้นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา
    ตอบว่า ไม่ควร.
    ตรัสถามว่า ผู้ใดติดทุกข์ ยึดทุกข์ ตามเห็นว่า ทุกข์นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ หรือทุกข์ให้สิ้นไปหรือไม่.
    ตอบว่า ไม่ได้.
    ตรัสถามว่า ท่านติดทุกข์ ยึดทุกข์ ตามเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นของเรา เป็นตนใช่หรือไม่
    สัจจกนิครนถ์ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น.
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๗. ตรัสเปรียบว่า คนที่ต้องการแก่นไม้ แต่ไปตัดต้นกล้วย จึงไม่ได้แม้แต้กระพี้ไม้ จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงแก่น ตัวท่านที่อวดตนในเรื่องการโต้ตอบว่า ผู้ที่พูดกับท่านจะต้องหวั่นไหว เหงื่อแตก แม้แต่เสาก็หวั่นไหว บัดนี้เหงื่อของท่านไหลเอง ตถาคตไม่มีเหงื่อไหลเลย สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเก้อเขิน.
    บุตรเจ้าลิจฉวีชื่อทุมมุขะ ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงสัจจกนิครนถ์ว่าเหมือนปูถูกหักก้าม สัจจกนิครนถ์ก็ว่าบุตรเจ้าลิจฉวีว่าเป็นเรื่องของการสนทนาระหว่างพระสนณโคดมกับตน ( คนอื่นไม่ควรเกี่ยว).
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๘. แล้วสัจจกนิครนถ์จึงทูลถามว่า สาวกของพระองค์จะข้ามความสงสัย ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น ( ในเรื่องความเชื่อ ) ด้วยเหตุเพียงเท่าไร.
    ตรัสตอบว่า สาวกนั้นเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ทุกชนิด ไม่เป็นของเรา เราไม่เป็นนั้น นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา.
    ทูลถามว่า ภิกษุจะเป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยเหตุเพียงเท่าไร ก็ตรัสตอบอย่างเดียวกับตอนแรก คือไม่ยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นของเรา เป็นต้น แล้วตรัสสรุปว่า
    ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมประกอบด้วยอนุตตริยะ ( สิ่งยอดเยี่ยม ) ๓ ประการ คือ
    ทัสสนานุตตริยะ ( ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม )
    ปฏิปทานุตตริยะ ( ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม )
    วิมุตตานุตตริยะ ( ความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม )
    ย่อมเคารพบูชาตถาคตว่า ตรัสรู้ , ฝึกพระองค์, ข้ามพ้น, ดับเย็น ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้อื่นเป็นเช่นนั้น.
    [/FONT]
    [FONT=Browallia New, BrowalliaUPC] ๙. สัจจกนิครนถ์กราบทูลยอมรับว่าตนผิด และนิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหาร ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ทรงรับนิมนต์และเสด็จไปฉัน ณ อารามของนิครนถ์นั้นในวันรุ่งขึ้น[/FONT].

    <TABLE width=518 border=0><TBODY><TR><TD>

    ภาราหะเว ปัญจักขันธา : ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนักเน้อ
    ภาราหะโร จะ ปุคคโล : บุคคลแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
    ภารา ธานัง ทุกขังโลเก : การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก
    ภารานิกเขปะนังสุขัง : การสลัดทิ้งของหนักลงเสียเป็นความสุข
    นิกขิปิตะวา คะรุง ภารัง : พระอริยะเจ้า สลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

     
  5. utumporn89

    utumporn89 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2009
    โพสต์:
    924
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,981
    ผมขอเพ้อเจ้อ..สักหน่อยครับ..สงสัย.จริงๆ.ว่า.๒ตานี้คือใคร..และภาพอีกขุดนึงมีส่วนคล้ายกันหรือปล่าวครับ.เพราะ..ภาพถ่าย..สมเด็จโต.เหมิือนภาพกลางแจ้ง.เหมือนทำพิธีบรวงสรวง.อะไรสักอย่าง...เพีราะเห็นเหมือนกิ่งไผ่.ที่ ร.๕ ท่านอีกภาพ ๑ รู้สึกขุ้นๆครับ...ท่านใดทราบ..ช่วยวิจารย์กันทีครับ..ส่วนภาพนี้ตอนท่านทรงผนวชครับ..เจอที่นี่ครับ..เป็นกรอบไม้สักทองเก่า...และยังมีอีกหลายภาพครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กันยายน 2014
  6. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ผมดูแล้วไม่น่าไช่คนเดียวกันครับ
     
  7. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804

    ภาพถ่ายสมเด็จโตเป็นงานที่บ้านขุนนางท่านนึงจำชื่อไม่ได้แล้วครับ ส่วนคนโบราณภาพเล็กมองยาก แต่ผมว่าคนรุ่นเก่า มองยังไงก็ดูคล้ายกันไปหมดละครับ เพราะคุณภาพของภาพ ที่ไม่มีรายละเอียดมาก (ปัจจุบัน ที่เค้าเรียกว่า พิกเซล น้อยครับ)
    ส่วนพระบรม ฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 5 ก็เป็นภาพโปสเตอร์ที่ทำออกมาภายหลัง น่าจะหลังจากปี 2500 มาแล้วครับ ของจริงอยู่ที่มีอยู่ที่วัดเบจญมพิตรครับ

    [​IMG]


    ตัวอย่างภาพโปสเตอร์ครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2014
  8. ลูกพระป่า

    ลูกพระป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +801
    ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เรียกว่าConceptual block นั้นเมื่อแปลเป็นไทยแล้วจะหมายถึงกับดักทางความคิดรึปล่าว แต่ในที่นี้ผมจะถือว่ามันหมายความอย่างที่ว่าละกัน

    สำหรับผมเรื่องที่นักเรียนหรือใครก็ตามจะถูกชักจูงให้คิดตาม เดินตามหรือทำตามใครซักคนนั้น ไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เค้าคิด หรือถ้าคนเหล่านั้นจะคิดตามจนติดกับดักก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากสิ่งอื่นก่อนหน้านี้ต่างหาก....ซึ่งผมขอบังอาจนิยามเอาว่ามันคือกับดักทางความเชื่อ ถามว่าทำไมผมจึงพูดแบบนี้หรือ...เพราะถ้าเราลองมองกลับไปที่เรื่องไอนสไตน์...แล้วเราลองเปลี่ยนตัวคนตั้งคำถามไม่ให้เป็นไอนสไตน์....ไม่ให้เป็นอาจารย์...ไม่ให้เป็นคนที่สองคนนั้นรู้จักเลย....เปลี่ยนเป็นใครก็ได้ซักคนที่ low profile มากๆเป็นคนถามคำถาม เป็นคนพูดชักนำไปทางซ้ายทีขวาที...คำถามคือพี่ๆคิดว่าจะมีใครในสองคนนั้นที่จะหลงไปติดกับดักทางความคิดที่ว่านั้นมั้ยครับ เผลอๆแค่จะฟังคำถามให้จบยังไม่ฟังเลย

    ดังนั้นถ้าเราคนฟังคนเรียนรู้มีสติพอที่จะไม่ผูกความเชื่อของเราไว้ที่ผู้พูดแต่มีสติอยู่ที่เรื่องราวที่ถูกบอกกล่าวอย่างน้อยๆก็ต้องมีหนึ่งในสองคนที่ไม่ถูกชักนำให้หลงคิดหลงเชื่อไปตามทางที่ถูกขุดไว้แน่ครับ
     
  9. ลูกพระป่า

    ลูกพระป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +801
    พิมพ์พระสมเด็จนั้นสำคัญแค่ไหนนะ และเดี๋ยวนี้ความสำคัญของพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังยังเหมือนเดิมรึป่าว? และนี่คือเรื่องที่เริ่มอยากจะเพ้อเจ้อในตอนนี้เพราะเพิ่มจะท่องเว็บไปเจอพระสมเด็จวัดระฆังที่มันดูแล้วน่าจะขัดกับการที่ว่า พิมพ์ต้องมาก่อนเสมอ...แต่ตอนนี้ขอตัวไปเรียบเรียงเรื่องราวก่อนครับ :)
     
  10. ลูกพระป่า

    ลูกพระป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +801
    รูปพระสมเด็จที่จะลงต่อไปนี้เอามาจากร้านดังร้านหนึ่งในเว็บๆหนึ่งนะครับ ทุกองค์ที่เอามาทางร้านได้ขายออกไปหมดแล้วครับ และพระทั้งหมดนี้ผมก็มองว่าแท้นะครับแต่ที่อยากให้ลองดูกันคือพิมพ์ของพระสมเด็จเหล่านี้ครับว่าเป๊ะหรือไม่เป๊ะตามตำรายังไง
    [​IMG]
    องค์แรกจากรูปพอจะเห็นเส้นแซมเหนือฐานชั้นบนสุด เป็นพิมพ์เดียวกันกับองค์เสี่ยดมนั่นเองครับ ที่นี้เรามาดูกันที่เส้นบังคับพิมพ์ด้านซ้ายองค์พระนะครับว่ามีไปจรดกับเส้นซุ้มตรงแถวๆข้อศอกซ้ายหรือไม่ ซึ่งในรูปขององค์เสี่ยดมที่ก็ไม่ปรากฏว่าเส้นบังคับพิมพ์ด้านซ้ายองค์พระวิ่งไปจรดเส้นซุ้มแถวๆข้อศอกซ้ายเหมือนกัน(เดี๋ยวจะนำรูปมาลงให้ดูอีกที)

    [​IMG]

    รูปที่สองนั้นเส้นซุ้มโย้อย่างชัดเจน ถ้าคิดเอาตามหลักการสากลแล้วก็มองได้ว่าผิดพิมพ์แต่ว่าที่จริงแล้วไม่ได้ผิดพิมพ์ น่าจะเกิดจากตอนแกะออกจากแม่พิมพ์มากกว่า...แต่จุดนี้ก็ทำให้น่าคิดว่าถ้าเป็นไปตามที่คนส่วนใหญ่บอกกว่าพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์นั้นสมเด็จฯโตท่านเป็นผู้ลงมือทำด้วยตัวท่านเองทุกขั้นตอนและเวลาทำก็ไม่ได้รีบเร่งทำ...แล้วทำไม่เราจึงเห็นพระสมเด็จวัดระฆังหลายๆองค์มีลักษณะคล้ายๆแบบนี้...

    [​IMG]
    องค์ที่สามนี้หน้าพระสึกไปมากกว่าครึ่งจนแทบจะมองไม่เห็นองค์พระแล้ว...แต่ทำไม่พระองค์นี้ถึงดูเป็นพระแท้ได้...นั่นก็เพราะพิมพ์พระที่ว่าสำคัญเป็นอันดับแรกมันไม่ได้สำคัญที่สุดนั่นเอง...แต่เป็นเนื้อกับธรรมชาติความเก่าที่สำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จต่างหาก...บางท่านคงเคยมีประสบการณ์ที่มีคนดูพระสมเด็จแล้วบอกว่า"เนื้อได้อายุได้...แต่พิมพ์ไม่ได้"มาบ้าง...เพราะพิมพ์พระสามารถนำมาสวดหรือกดราคาพระได้ดึกว่าเนื้อและอายุพระ

    [​IMG]
    รูปที่สี่จะช่วยยืนยันให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าพิมพ์พระนั้นแทบไม่มีน้ำหนักอะไรเท่าไหร่เลย ในการพิจารณาว่าพระสมเด็จองค์นี้แท้ และย้ำถึงความไม่ปราณีตพิถีพิถันในการทำพระสมเด็จบางองค์...ทำไมการตัดขอบบางองค์ตัดพอดีบางองค์ตัดเกินออกมา...นั่นเป็นสิ่งที่ผมตั้งคำถามกับตัวเองและคิดทำความเข้าใจ แต่ก็อาจจะเป็นการคิดมากไปเองของผมคนเดียวก็ได้ :)
     
  11. farohnuvo

    farohnuvo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +85
    ขอคั่นรายการนิดนึง
    ถ้ามิติอย่างนี้ผมชอบนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF0936.JPG
      DSCF0936.JPG
      ขนาดไฟล์:
      307.9 KB
      เปิดดู:
      268
  12. ลูกพระป่า

    ลูกพระป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +801
    มิติในส่วนองค์พระนั้นไม่สำคัญเท่ามิติในส่วนของเส้นซุ้มครับในความคิดเห็นของผม เส้นซุ้มในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์นิยมนั้นแม้ดูเรียบง่ายแต่กลับทำเลียนแบบให้เหมือนไม่ได้ สำหรับองค์ที่พี่ถ่ายรูปมาให้ดูผมว่าในส่วนของเส้นซุ้มยังดูไม่ค่อยดีนะครับ ถ้าได้รูปถ่ายหน้าพระเต็มๆก็คงดูได้ชัดเจนขึ้นครับ
     
  13. ลูกพระป่า

    ลูกพระป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +801
    ต่อกันที่เรื่องเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังกันดีกว่า ในส่วนของเนื้อพระสมเด็จนั้นจากตำราที่มีออกมาหลายๆเล่มนั้นจะบอกว่าตรงกันหมดก็ไม่ได้หรือไม่ตรงกันหมดก็ไม่ได้ จุดไหนที่ไม่ตรงไม่เหมือนกันผมก็จะข้ามไป ยกตัวอย่างเช่นเรื่องเนื้อมวลสารหลักที่นำมาทำเป็นส่วนผสมหลักในพระสมเด็จวัดระฆังอันนี้จะข้ามไปไม่กล่าวถึง...

    แต่จะเพ้อเจ้อในเรื่องมวลสารวิเศษและผงพุทธคุณแทนเพราะทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังที่สมเด็จฯโตท่านสร้างนั้นนอกจากทรงพิมพ์แล้วก็คือมวลสารวิเศษที่สมเด็จฯท่านนำมาปลุกเสกและผสมลงไปนั่นเอง..แต่ตอนนี้ได้เวลาดูหนังพอดีเดี๋ยวจะเข้ามาเพ้อเจ้อใหม่ตอนเย็นๆ :)
     
  14. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ยอดเขาเอเวอร์เรส จากอดีตถึงปัจจุบัน มีคนขึ้นไปมากมายหลายแสนคน แต่ถึงยอดจริงๆเพียงกี่คนนั้น นับได้ และมีการจารึกไว้จริงๆ บางคนขึ้นไปได้แค่เบสแคมป์ก็ร้องไห้ขี้มูกโป่ง ร้องหาแม่จะกลับบ้าน บางคนป่านนี้ยังไม่ได้กลับ วิญญาณวนเวียนอยู่ในซอกในหลืบเขาชั่วนกัปชั่วกัลป์ บางคนถอยกลับเพราะไปต่อไม่ไหว สุดแล้วแต่ความสามารถ จะมีสักกี่คนที่ขึ้นไปถึง คนที่ขึ้นไปปักธงบนยอดสุด กลับมาเล่าเรื่องอะไรให้ใครฟัง จะโม้เพิ่มเติมเสริมแต่งหรือจริงล้วนๆใครก็เชื่อ เพราะไปถึงมาแล้ว แต่ที่ีอยู่บ้านดูจากเนชั่นแนลโอกราฟิก หรือไปขึ้นภูกระดึง ภูทับเบิก ก็เอามาอ้างอิงกับข้อเท็จจริงกับยอดเขาเอเวอร์เรสไม่ได้แม้กระผีกริ้นคนเก่งๆหลายคนไปนับสิบรอบก็ยังไปไม่ถึง ก่อนไปไม่ใช่จะเก็บของใส่กระเป่าแล้วขึ้นไปได้เลย ก่อนไปต้องเตรียมตัวหลายปี ผ่านหลักสูตรต่างๆจนชำนัญ และได้รับการรับรองว่า สามารถผ่านเกณฑ์สากลได้ และยินยอมว่าหากข้าพเจ้าเสียชีวิตลง จะไม่โทษใครใดๆทั้งสิ้น สุดท้ายคุณจะไปถึงไหนก็สุดแต่วาสนาชะตากำหนด และรวมถึงประสพการณ์ที่สั่งสมยาวนาน ความพร้อมในทุกๆด้าน สวรรรค์เลือกคนที่จะเข้าใกล้เอาไว้แล้ว เพียงแต่คนๆนั้นจะขึ้นไปถึงหรือไม่ ไม่มีใครบอกได้
     
  15. Zapp!

    Zapp! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    2,004
    ค่าพลัง:
    +3,195
    บรรยายตามภาพครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107 KB
      เปิดดู:
      372
  16. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804

    เรื่องภาพพึ่งระวังนะครับ แต่ดูไปดูมารูปพระก็คล้ายกับภาพนี้นะครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    เพราะอย่างรูป ที่ว่า สมเด็จโต สอน รัชกาลที่ 5 สมัยทรงพระเยาว์ ตามที่ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงกล่าวว่าภาพนั้นไม่ใช่นะครับ



    ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    "พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

    ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

    แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

    หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

    แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



    นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

    อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

    นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

    ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

    อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

    .......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2014
  18. ลูกพระป่า

    ลูกพระป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +801
    มวลสารวิเศษที่จะไม่กล่าวถึงเป็นอันดับแรกเลยไม่ได้คือ มวลสารที่เรียกว่า ผงพุทธคุณ อันสมเด็จฯโตท่านลงมือทำด้วยตนเองตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนสำเร็จได้มาเป็น ผงพุทธคุณ(ซึ่งสมเด็จฯโตท่านอาจจะไม่ได้เรียกสิ่งที่ท่านทำว่าผงพุทธคุณก็ได้) ส่วนรายละเอียดขั้นตอนวิธีการทำขอข้ามไปเลยครับ

    ในส่วนของลักษณะผงพุทธคุณที่ปรากฏอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังนั้นจากตำราและคนรุ่นเก่าระบุไว้ว่า มีลักษณะเป็นเม็ดออกกลมมน ไม่เป็นก้อนเหลี่ยม มีสีขาวใสเหมือนฟันน้ำนม(ที่จริงตำราบอกแค่สีเหมือนสีของฟัน แต่ผมเพิ่มเป็นฟันน้ำนมเองเพราะฟันแท้นานๆไปมันก็ไม่ขาวใสนะครับ)

    ผงพุทธคุณนี้ทุกสำนักกล่าวว่าได้มาจากการนำดินสอพองมาปั้นเป็นแท่งแล้วนำไปเขียนอักขระคาถาวิเศษลงบนกระดานชนวน เขียนจบก็ลบแล้วเขียนใหม่แล้วก็ลบ ทำซ้ำไปซ้ำมาจนได้มาเป็นผงพุทธคุณ.....

    ด้วยเหตุที่ดินสอพองนั้นมีลักษณะเป็นสีขาว ผมเลยเพ้อเจ้อคาดเดาไปเองว่าเป็นเหตุผลที่ในตำราและคนรุ่นเก่าระบุไว้ให้เป็นแบบนี้....แต่ในความเพ้อเจ้อของผมกลับคิดว่าในขั้นตอนกระบวนการและกรรมวิธีทำผงพุทธคุณนี้ต้องมีการเขียนแล้วลบ ทำซ้ำๆกันไปมาหลายๆครั้ง จะเป็นไปได้สักเท่าไหร่ที่ดินสอพองที่ใช้เหล่านั้นจะคงสภาพความขาวเอาไว้ได้ สิ่งนี้ยังไม่รวมถึงการผ่านระยะเวลาในการเก็บรักษากว่าที่สมเด็จฯโตท่านจะได้นำเอามาผสมทำพระสมเด็จวัดระฆังเลยนะครับ....ก็เพ้อไปได้นะนายหนุ่มทะเล :) จบดีกว่านะ

    สรุปมวลสารวิเศษอันดับแรกที่ต้องมีในสมเด็จวัดระฆังคือผงพุทธคุณ มีลักษณะเป็นก้อนมนสีขาวใส เล็กบ้างละเอียดบ้าง แต่จะปรากฏบนผิวพระมากน้อยเท่าไหร่ไม่ทราบได้ครับ :)
     
  19. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    งานผีสร้างครับ รบกวนท่านที่มีประวัติหลวงวิจารณ์ช่วยขยายความว่าลูกหลานท่านตอนนี้ใช้นามสกุลอะไรด้วยครับ ผมหาที่หอสมุทแห่งชาติแล้ว ไม่เคยเจอชื่อช่างท่านนี้ในสำนักช่างทองหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย

     
  20. พระพันตา

    พระพันตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    323
    ค่าพลัง:
    +331
    แค่สมเด็จบางขุนพรหมยังตากลับกัน(หลักฐานขึ้นกรุปี2500ถามจริงว่าตอนนั้นเซียนอายุเท่าไรและเคยเห็นผ่านตาสักกี่องค์)แล้วสมเด็จวัดระฆังคงไม่ต้องพูดถึง(ผมว่าดูยากมากกว่าสมเด็จบางขุนพรหมเยอะ) ระวังผีเก่าก็มีผีใหม่ก็สร้างมาสมทบด้วย ด้วยเหตุนี้แลพวกเซียนถึงได้อู้ฟู้กัน สุดท้ายต้องพึ่งประสบการณ์ตัวเองและตาตัวเองเป็นดีที่สุดเพียงแต่คนเรานั้นขาดความมั่นใจและดูถูกตัวเองพวกเซียนเลยย่ามใจปั่นวงการนี้จนสับสนอลหม่านจนตราบเท่าทุกวันนี้และต่อๆไปตราบใดเมื่อความจริงยังไม่มีใครรู้เบื้องหลังว่าพระแท้ๆจริงๆหน้าตาและผิวพรรณเป็นเช่นไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...