ชีวิตบริการหลังความตาย 2 พัน - 1 ล้านบาท

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย chaokhun, 14 เมษายน 2015.

  1. chaokhun

    chaokhun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +5,701
    ไม่มีใครรู้ว่าชีวิตหลังความตายจะเป็นอย่างไร แต่คนตายสามารถเลือกที่จะอยู่หลังความตายได้ หรือถ้าไม่ได้เลือกเองลูกหลานก็จะเป็นคนเลือกให้

    ชีวิตลิขิตได้จริงหรือไม่ไม่มีใครรู้ แต่ชีวิตหลังความตาย คนตายและลูกหลานคนตายสามารถลิขิตได้ว่าต้องการแบบไหนอย่างไร ทั้งการวางแผนจัดรูปแบบงานศพ จนถึงการจัดเก็บอัฐิและบริการหลังความตาย

    แม้ชีวิตหลังความตายไม่มีผู้ใดรู้ หรือพิสูจน์ให้คนทั่วไปเห็นได้ว่า บรรดาวิญญาณเหล่านั้นได้เดินทางไป ณ ที่แห่งใด คงจะมีแต่ความเชื่อเท่านั้นที่เรานำมาอธิบายถึงที่ที่คิดว่าวิญญาณจะเดินทางไป บ้างก็เชื่อเรื่องของนรกสวรรค์ บ้างเชื่อเรื่องพระเจ้า หรือบางคนก็ยังคงเชื่อว่าวิญญาณนั้นยังคงวนเวียนคอยดูแลคนในครอบครัวอยู่

    สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงเป็นความเชื่อที่ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ ยังคงเป็นแค่ชุดความเชื่อชุดหนึ่งที่แล้วแต่คนจะเชื่อ แต่สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่จากร่างกายของผู้เสียชีวิตไว้ให้คนข้างหลังได้ระลึกถึงนอกจากคุณงามความดีของผู้ตายที่ได้กระทำไว้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ยังจับต้องได้นั้นก็คือ เถ้ากระดูกที่ไฟนั้นมิอาจเผาไหม้ให้เป็นผงธุลี

    เมื่อคราวมีชีวิตอยู่คนเราต้องมีที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งที่อยู่อาศัยก็จัดเป็นสิ่งจำเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ แต่เมื่อเราเสียชีวิตไปใครจะนึกว่าผู้ตายก็จำเป็นต้องมีที่อยู่เช่นกัน หลังเสร็จจากพิธีการเผาศพ ญาติของผู้ตายจะนำเอากระดูกของผู้ตายไปลอยอังคารและส่วนหนึ่งเก็บเป็นที่ระลึกถึง และเมื่อถึงวันสำคัญต่างๆ ญาติก็จะนำเถ้ากระดูกเหล่านี้มาทำบุญประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งการหาสถานที่จัดเก็บกระดูกนั้นทางความเชื่อของคนไทยมีหลายสถานที่หลายรูปแบบในการจัดเก็บ และแต่ละสถานที่ที่นำกระดูกผู้ตายไปจัดเก็บนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความสะดวกสบายของญาติอีกเช่นกัน

    จากคำบอกเล่าของ สงคราม ทิมสดิตย์ ไวยาวัจกรของวัดเสมียนนารีกล่าวว่า “ในอดีตญาติมักนำอัฐิจัดเก็บไว้ที่บ้าน และนิยมสร้างเจดีย์เพื่อจัดเก็บ เนื่องจากบ้านของคนสมัยก่อนมีพื้นที่มากพอที่จะแบ่งมาสร้างเจดีย์ที่ต้องใช้เนื้อที่อย่างมาก ประกอบกับความเชื่อของคนสมัยก่อนที่เชื่อกันว่าบรรพบุรุษผู้ล่วงลับจะคอยปกป้องรักษาคนในบ้าน”

    ขณะที่นายวิจิตร นาคาเขียว สัปเหร่อวัดหลัก 4 กล่าวว่า ปัจจุบัน ความเชื่อที่ญาตินำอัฐิของผู้ตายเก็บไว้บ้านได้เปลี่ยนแปลงไป ส่วนใหญ่นิยมนำเอาอัฐิมาเก็บไว้ที่วัด เนื่องจากขนาดของครอบครัวคนไทยที่ลดลง จากครอบครัวใหญ่ก็กลายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว ขนาดของพื้นที่ของบ้านลดลง การที่จะสร้างเจดีย์เพื่อเก็บอัฐิไว้ที่บ้านเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่ และบางครอบครัวมีความกลัวในเรื่องของวิญญาณ จึงนิยมนำเอาอัฐิมาเก็บไว้ที่วัด ซึ่งวัดต่างๆ ก็มีการจัดเตรียมที่เก็บอัฐิไว้ตามความต้องการของญาติเช่นกัน การเดินทางมาวัดนั้นก็สะดวกสบายที่บรรดาญาติจะมาทำบุญอัฐิให้ผู้ตาย

    มื่อความนิยมของญาติได้เปลี่ยนมาเป็นการจัดเก็บอัฐิไว้ที่วัด วัดก็มีการรองรับความต้องการของเหล่าญาติเช่นกัน จากการลงพื้นที่สำรวจวัดต่างๆ ใน กทม. พบว่ามีการจัดสถานที่จัดเก็บอัฐิไว้ 4 รูปแบบด้วยกัน คือ

    1) ช่องจัดเก็บอัฐิตามกำแพงวัด ซึ่งรูปแบบช่องเก็บอัฐินี้เราสามารถเห็นได้ทั่วไปตามกำแพงของทุกวัด และญาติจะนิยมนำอัฐิมาเก็บไว้ตามช่องมากที่สุด

    2) จัดเก็บอัฐิตามเสาโคมไฟของวัด ในรูปแบบนี้เราจะพบเห็นได้เพียงบางวัดเท่านั้น โดยจะมีช่องจัดเก็บอัฐิตามเสาโคมไฟสวยงามที่ทางวัดจัดสร้างขึ้น

    3) จัดเก็บอัฐิตามอาคาร ศาลา หรือกุฏิ ซึ่งจะจัดเตรียมช่องจัดเก็บอัฐิไว้บนขื่อหรือหน้าประตูตามความเหมาะสมของสถานที่

    4. ห้องไว้สำหรับจัดเก็บอัฐิโดยเฉพาะ ซึ่งสถานที่นี้จะเป็นที่จัดเก็บอัฐิอย่างเป็นสัดส่วนที่ทางวัดจัดเตรียมสถานที่ไว้ให้ จะมีช่องที่แบ่งซอยเป็นทีละชั้นทีละช่อง โดยให้ทางญาตินำอัฐิมาเก็บ ซึ่งจะมีเพียงบางวัดเท่านั้นที่มีห้องเก็บอัฐินี้

    แต่ละรูปแบบก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไปตามขนาดของพื้นที่ช่อง และตามราคาที่ทางวัดกำหนด ถ้าญาติสนใจที่จะนำอัฐิมาบรรจุไว้ที่วัด ทางวัดทั้งหลายก็จะมีป้ายหินอ่อนติดหน้าช่องบรรจุอัฐิ มีรูปพร้อมสลักชื่อ นามสกุล วันเกิด วันเสียชีวิต ไว้ให้ ราคาก็จะเริ่มตั้งแต่ 2,000 ไปจนถึง 1,000,000 บาท ตามกำลังทรัพย์ของทางญาติเอง

    ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจสถานที่จัดเก็บอัฐิของวัดธรรมมงคล ซึ่งมีการจัดเตรียมสถานที่อย่างเป็นสัดส่วน สถานที่นั้นก็มีความเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้ตาย และมีการจัดทำพิธีการในการจัดเก็บอัฐิไว้บริการกับญาติที่สนใจนำอัฐิมาเก็บไว้ที่วัดแห่งนี้

    วัดธรรมมงคล ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมืองของถนนสุขุมวิท ซอย 101 เขตพระโขนง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 32 ไร่ ซึ่งได้รับการบริจาคมาจากผู้มีจิตศรัทธา วัดธรรมมงคลแห่งนี้มีพระพุทธรูปที่แกะสลักมาจากหยกสีเขียวที่มีสภาพดีที่สุดจากประเทศแคนนาดา เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากองค์หนึ่งในประเทศไทย ตามความเชื่อของชาวจีนที่ว่าหยกเป็นอัญมณีที่ล้ำค่า เป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ครอบครอง สามารถป้องกันคุณไสย และราชวงศ์จีนจะนำหยกก้อนใหญ่ๆ ไปตั้งไว้ข้างศพเพราะมีความเชื่อว่าหยกจะปกปักรักษาผู้เสียชีวิต

    ด้วยเหตุนี้ ทางวัดจึงจัดตั้งสถานที่สำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธา ได้นำอัฐิของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับมาจัดเก็บไว้ที่วัด เพื่อจะได้ให้เถ้ากระดูกเหล่านั้นได้ถูกบรรจุใกล้พระหยก จะได้เป็นสิริมงคลแก่ผู้ล่วงลับและบรรดาลูกหลาน ทางวัดเรียกห้องบรรจุอัฐินี้ว่า “ห้องกิจกรรมนำสันติสุข” จะตั้งอยู่ชั้นที่สองของสองของตึก มีด้วยกัน 7 ห้อง อยู่ใต้รัศมีของพระพุทธมงคล (พระหยกใหญ่) ทั้งแวดล้อมไปด้วยดอกไม้ต่างๆ มีสระน้ำใหญ่ที่ทำให้เกิดความเยือกเย็นไปทั่วพื้นห้องโดยทางวัดจะมีการสวดอภิธรรมบังสุกุลทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนและนั่งสมาธิแผ่เมตตาจิตแด่ผู้ล่วงลับเวลา 16:00 น. มีการสวดพระบังสุกุล ก่อนวันเช็งเม้งอภิธรรม 7 วัน และนั่งสมาธิแผ่เมตตาจิตแด่ผู้ล่วงลับ เวลา 8.00 –11.00 น. และ 13.00 – 16.00 น. และทุกวันจะมีเจ้าหน้าที่เปิดเทปสวดพระอภิธรรมตลอดวัน ดวงวิญญาณจะได้สงบสุขตลอดไป

    ในส่วนของการติดต่อที่จะนำเอาอัฐิมาบรรจุไว้ที่วัด ทางวัดจะมีรูปแบบของที่เก็บอัฐิให้เลือกด้วยกันอยู่ 4 รูปแบบคือ

    แบบที่ 1 ด้านหน้ากล่องเป็นหินอ่อน มี 9 ชั้น แต่ละกล่องกว้าง 20 ซม. สูง 20 ซม. ชั้นที่ 1-4 ราคา 10,000 บาท ชั้นที่ 5-8 ราคา 12,000 บาท ชั้นที่ 9 ราคา 15,000 บาท
    แบบที่ 2 เป็นช่องบรรจุมี 3 ชั้น มีกระจกปิดเปิดสำหรับจารึกชื่อล็อคกุญแจได้ ภายในช่องแบ่งเป็น 3 ตอน กว้าง 20 ซม. สูง 60 ซม. ลึก 35 ซม. ชั้นที่ 1 ราคา 30,000 บาท ชั้นที่ 2 ราคา 40,000 บาท ชั้นที่ 3 ราคา 50,000 บาท

    แบบที่ 3 ด้านหน้ากล่องเป็นหินอ่อนสำหรับจารึกชื่อ มีชั้น 3 ชั้น ราคาแยกตามแต่ละชั้นเท่ากับแบบที่ 2

    แบบที่ 4 ห้องสำหรับจัดเก็บอัฐิมีประตูปิดเปิดสำหรับล็อค มีโต๊ะสำหรับวางอัฐิ วางรูป ราคา 900,000 – 1,000,000 บาท ปัจจุบันมีผู้สนใจจำนวนหนึ่งที่นำอัฐิมาบรรจุไว้ที่ห้องกิจกรรมนำสันติสุขแห่งนี้
    สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการลงพื้นที่ครั้งนี้ เราเห็นถึงช่วงชีวิตหลังความตายของผู้ตาย ที่แม้แต่วิญญาณจะออกจากร่าง ร่างถูกเผาไหม้ แต่เศษกระดูกที่เรียกว่าอัฐินั้นก็ยังคงต้องการที่อยู่ที่อาศัย และเราก็ได้เห็นถึงช่วงชีวิตของบรรดาญาติผู้อยู่ข้างหลัง ที่จะต้องจัดเตรียมสถานที่สุดท้ายของบรรพบุรุษ หรือคนในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้วให้ไปอยู่ในที่ที่ดีที่สุด ให้มีสิริมงคลมากที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนการซื้อบ้านหลังสุดท้ายให้แก่ผู้ตายเหล่านั้นได้พักผ่อนชั่วกาลอันเป็นนิรันดร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Superwoman1

    Superwoman1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +244
    แพงจัง...ส่วนตัวนะ ถ้าอยากจะเก็บ เก็บแค่รูปภาพก็น่าจะพอ พอหมดรุ่น generation ที่สาม ไปถึงรุ่นเหลน ลื่อ ก็ไม่มีใครจำได้แล้ว
     
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    วัด ชาวบ้านก็สร้าง. ที่ดินวัดชาวบ้านก็บริจาค พระสงฆ์ก็มาอาศัยวัด (ไม่ได้ออกเงินสร้างเพราะพระไม่มีปัจจัย) ไม่ว่าโบชน์ ศาลา กุฏิที่พระอยู่ เมรุ แม้แต่กำแพงที่กั้นอาณาเขตวัด อื่นๆที่มีอยู่ในวัดหรือศาสนสถานล้วนเป็นเงินบริจาคของชาวบ้านทั้งนั้น แต่พอชาวบ้านจะขอใช้สถานที่นั้น กลับต้องเสียเงินให้วัดอีก. ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องเสียเงินทั้งนั้น. แม้แต่ที่วางอัฐิตนที่ตายแล้วแค่กำแพงวัดเท่านั้นทั้งๆวัดนี้เค้าก็ร่วมบริจาคเงินสร้างด้วย ยังเสียเงินให้วัดเลย ท่านว่าจริงใหมครับ. สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2015
  4. Tanya R

    Tanya R เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    389
    ค่าพลัง:
    +876
    ที่วัดธรรมรังษีในเมลเบิร์นเพิ่งจะเปิดพิธีช่องวางอัฐแห่งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายนนี้เองค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าทางวัดคิดค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. nuttawat_chin

    nuttawat_chin เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2013
    โพสต์:
    3,819
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +550
    ขอบคุณครับ สำหรับเรื่องราว

    :cool:
     
  6. chaokhun

    chaokhun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +5,701
    ผมสร้างที่บรรจุอัฐิของพ่อผม และรูปปั้นไว้ที่บ้านเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...