ตัดกิเลสจึงหมดความยึดมั่น หรือ เมื่อไม่ยึดมั่นจึงหมดกิเลส

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 1 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    มีคำถามน่าสนใจมาถามอีกแล้วครับ ^ ^

    เป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมคือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ทีนี้วิธีที่จะทำให้เข้าถึงภาวะที่จิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดนั้น ต้องทำอย่างไรครับ ระหว่าง

    มุ่งตัดกิเลส เมื่อไม่มีกิเลส ความยึดถือความยึดมั่นในสิ่งต่างๆก็จะหมดไปเอง

    หรือ

    ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่การตัดกิเลส แล้วเดี๋ยวกิเลสก็คงหมดไปเอง

    ไม่ทราบแบบไหนจึงถูกต้องครับ หรือว่าถูกต้องทั้งสองแบบแต่มีนัยยะที่แตกต่างกัน
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่การตัดกิเลส แล้วเดี๋ยวกิเลสก็คงหมดไปเอง

    ทางนี้ คือ ทางลัดสั้น ถึงจิตถึงใจ ซึ่งก็คือทางบน สติปัฏฐาน 4 ดูจิตนำหน้า

    มุ่งตัดกิเลส เมื่อไม่มีกิเลส ความยึดถือความยึดมั่นในสิ่งต่างๆก็จะหมดไปเอง

    ทางนี้ คือ ทางลัดสั้นถ้าตามรู้กิเลสด้วยสมาธินำ มีสติตาม และตรึกแต่เหตุ และผลของทุกข์
    ซึ่งก็คือทางบน สติปัฏฐาน 4 ดูธรรม และเวทนานำหน้า

    ขออนญาติลองเสริม

    มุ่งข่มกิเลส เมื่อกิเลสปรากฏไม่ได้ ความยึดถือความยึดมั่นในสิ่งต่างๆก็จะมากขึ้น แต่แล้วก็จะประจักษ์ในความไม่เที่ยง ทำให้ประหารกิเลสที่ต้นตอเลย คือ โมหะ

    ทางนี้ คือ ทางอ้อมๆสมาธินำ แล้วค่อยวิปัสสนาตามหลัง แต่ส่วนใหญ่มอง
    ไม่ทันตัวหลง เพราะเป็นของยากที่สุดที่จะเห็น ต้องใช้กำลังมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2008
  3. เทพบุตร

    เทพบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +114
    ผมขอตีความว่า การมุ่งตัดกิเลสในที่นี้ น่าจะตีความหมายเป็น "การปฏิบัติธรรมครับ" ส่วนไม่ยึดมั่นถึอมั่น น่าจะตีความหมายถึง "ผลของการปฏิบัติครับ" ตามทฤษฎีของหลักเหตุและผลที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้...สิ่งนี้จึงมีครับ โดยหลักแล้วปุถุชนคนทั่วไปอย่างเราแล้ว หากยังอยู่ในวงการสังคมอยู่นี้ ไม่สามารถละการยึดมั่นถือมั่นได้ เหมือนปลาปฏิเสธน้ำ จะสังเกตว่า พระผู้มีคุณธรรมสูง ท่านมักอยู่ป่า เพราะมันวุุ่นวายน้อย กิเลสก็เข้าน้อยครับ สรุปว่าต้องมุ่งตัดกิเลสก่อน แล้วจึงคลายความยึดมั่นถึอมั่นลงได้ ตามลำดับครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2008
  4. koymoo

    koymoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    2,067
    ค่าพลัง:
    +7,067
    คิดว่า ต้องตัดกิเลสจึงจะหมดความยึดมั่นนะคะ เพราะถ้าเราตัดความไม่ยึดมั่นอย่างเดียว แต่กิเลสด้านอื่นๆเรายังมี เราก็ยังตัดกิเลสไม่ได้ ... อืม มันไม่น่าจะงงนะ
     
  5. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอตอบคุณ wit ดังนี้ครับ​

    ถาม : "มุ่งตัดกิเลส เมื่อไม่มีกิเลส ความยึดถือความยึดมั่นในสิ่งต่างๆก็จะหมดไปเอง" หรือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่การตัดกิเลส แล้วเดี๋ยวกิเลสก็คงหมดไปเอง อย่างไหนถูกต้อง หรือถูกทั้งสองอย่าง แต่มีนัยยะที่แตกต่างกัน

    ตอบ : ทั้งสองแบบถูกต้องครับ และถ้ามองให้กว้างแล้วจะเห็นว่าทั้งสองแบบไม่ต่างกัน คือ นำไปสู่เป้าหมาย นำไปสู่จุดมุ่งหมายคือความสิ้นกิเลสได้เหมือนกัน


    แต่ทั้งนี้ในขั้นตอนการปฏิบัตินั้นมีแตกต่างกัน ละเลียดกว้างขวางไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าปฏิบัติโดยวิธีแรก คือ มุ่งตัดกิเลส สิ่งที่จะต้องปฏิบัติก็จะมีแคบกว่าวิธีที่สอง คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากว่า

    วิธีแรก "มุ่งตัดกิเลส" จะเป็นการบวนการที่สติเป็นประธาน เป็นตัวนำ ระลึกรู้เวลาที่กิเลสได้เกิดขึ้น กิเลสนั้นเป็น "สังขาร" ที่เกิดจากจิตได้ปรุงแต่งเวทนามาอีกที (เป็นอุปทาน) จากนั้นจึงใช้สัมปชัญญะ(หรือปัญญาในอีกนัยหนึ่ง) ตัดกิเลสด้วยวิธีการต่างๆ เช่น พิจารณาให้เห็นเป็นปฏิกูล, ข่มจิตใจ, เลิกทำ, ปล่อยวาง, หลีกหนี ฯลฯ ซึ่งตอนแรกอาจจะตัดไม่ได้ ทำได้เพียงแต่ละกิเลสเท่านั้น แบบหินทับหญ้า แต่ต่อมาเมื่อทำไปเรื่อยๆ สตินั้นจะคมขึ้น สัมปชัญญะนั้นจะกล้าแกร่งขึ้น จึงทำให้ระลึกรู้กิเลสได้ไวขึ้น ตัดกิเลสได้อย่างชำนาญมากขึ้น จนทำให้กิเลสดับไวข้น และเกิดได้ช้าลง สติและปัญญาจะได้รับการพัฒนาพร้อมกันไปอย่างนี้ ปัญญาจะกว้างขวางขึ้นจนมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดกิเลสว่ามีอะไรบ้าง และเห็นถึงสภาวะความไม่เที่ยงของกิเลส และความไม่เที่ยงของกระบวนการเกิดกิเลส และทำให้เห็นถึงสภาวะความเป็นทุกข์ของกิเลสทนอยู่ไม่ได้ของกิเลส และเห็นถึงความเป็นอนัตตาของกิเลสและกระบวนการเกิดขึ้นของปัจจัยต่างๆ ว่ากิเลสล้วนเกิดมาจากปัจจัยสัมพันธ์กันเป็นทอดๆ เมื่อสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด (จนกระทั่งเป็นกิเลสจึงเกิดได้) และเมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ (จนทำให้กิเลสดับได้) และจนกระทั่งทำให้เกิดมรรคในเวลาต่อมาว่า กิเลสนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยการกระทำ การพูด การคิดอย่างไร ฯลฯ จนกระทั่งในที่สุดกาย วาจา ใจก็จะดำเนินไปตามทางที่จะไม่ให้เกิดกิเลสนั้น เป็นการดำเนินไปตามทางแห่งอริยมรรคโดยอัตโนมัติ และหมดสิ้นความยึดมั่นถือมั่นได้ในที่สุดครับ

    (ต่อด้านล่าง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2008
  6. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    วิธีที่สอง "มุ่งไม่ยึดมั่น" วิธีนี้จะมุ่งใช้เจริญปัญญาเป็นหลัก ให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ในสิ่งต่างๆ ซึ่งก็จะต้องอาศัยสติเป็นตัวนำอีกเช่นนั้น โดยการปฏิบัติจะกว้างกว่าในวิธีแรก คือไม่ได้ระลึกรู้เฉพาะกิเลส แต่ระลึกรู้ในทุกอย่างๆ ซึ่งอาจจะแยกเป็นสอง ก็คือ รูป-นาม หรือแยกเป็นสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าปฏิบัติง่ายๆ แต่ครอบคลุมก็คือ ใช้สติระลึกรู้ว่าอะไรที่จิตกำลังรับรู้อยู่ ณ ปัจจุบัน ต่อจากนั้นก็ให้ไม่ยึดมั่นถืดมั่นในสิ่งนั้น ซึ่งการจะไม่ให้ยึดถือมั่นในสิ่งนั้นก็คือ การที่จะต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อเห็นอย่างนี้จึงจะเกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ก็จะคล้ายกับวิธีแรกตรงที่สภาวะของความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่ปรากฏในช่วงแรกจะไม่ใช่ความยึดมั่นถือมั่นอย่างแท้จริง จะเป็นเพียงแค่ขั้นละก่อน จะสังเกตเห็นได้คือจิตนั้นจะไม่ไปเกาะเกี่ยวกับสิ่งที่พิจารณาอยู่นั้น จิตจะเป็นเพียงแต่สักว่ารู้ ไม่ปรุงแต่งเป็นความชอบใจ-ไม่ชอบใจในสิ่งนั้น หรือถ้าจิตได้ปรุงแต่งเป็นความชอบใจ-ไม่ชอบใจในสิ่งนั้นอยู่ (อาจจะเป็นว่าเกิดกิเลสอยู่) ก็จะละความชอบใจ-ไม่ชอบใจ(หรือกิเลส)นั้นได้ เข้าไปเกาะเกี่ยวกับสิ่งนั้นเท่าที่จำเป็น เข้าไปยุ่งอย่างเป็นเพียงชั่วคราว เมื่อทำไปอย่างนี้บ่อยๆ ก็ย่อมจะเป็นการทำให้เกิดปัญญารู้เท่าทันความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ อยู่เนื่องๆ และจะทำให้เกิดความหน่ายว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเกิดขึ้น และมีดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรที่จะเป็นสุข มีแต่เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน มีแต่ประกอบขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยสืบทอดกันเป็นทอดๆ เมื่อมีอย่างนี้เกิด อย่างนี้จึงเกิด เมื่อมีสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ จะเห็นว่าไม่มีสิ่งใดๆ เลยทีจะถือเอาเป็นของเรา เป็นเรา เป็นอัตตาของเราได้ มีแต่เพียงสมมุติเท่านั้น เห็นอย่างนี้ จึงเกิดความหน่าย เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดก็ย่อมหลุดพ้นได้ การกระทำ การพูด การคิดของเขาก็จะเป็นไปเพียงสักแต่ว่าเท่านั้น เป็นไปในทางที่เป็นกิริยา ไม่ประกอบไปด้วยอุปทาน หมดสิ้นกิเลสในที่สุดครับ

    ผมขอกล่าวแต่โดยย่อๆ เท่านี้ คงจะเห็นถึงความเหมือนกัน และต่างกันของทั้งสองวิธีนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2008
  7. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขอขอบคุณความเห็นของทุกท่านด้วยครับ ผมขอแสดงความเห็นบ้าง คือความยึดมั่นถือมั่นนั้นมีเหตุมาจากกิเลส ดังนั้นถ้าตัดกิเลสได้ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆก็จะหมดไปด้วย ส่วนวิธีการละกิเลสนั้นก็แล้วแต่ว่าแต่ละท่านจะใช้วิธีใด อินทรีย์แก่กล้าแค่ไหน ทำยังไงก็ได้ให้กิเลสหมดไป (บางท่านก็ตัดกิเลสได้เร็ว บางท่านก็อาจต้องใช้เวลาหน่อย)
     
  8. sharingidea

    sharingidea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,348
    ค่าพลัง:
    +274
    อนุโมทนาครับ........
     
  9. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    ในวัฏจักรของปฏิจสมุปบาท จะว่าไปกิเลสก็เป็นเหตุให้เกิดอุปาทานครับ แต่ว่าวัฏจักรของปฏิจฯนั้นก็สวนทางกลับกันได้ ดังนั้นอุปาทานก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดกิเลสได้เช่นเดียวกันครับ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอย่างไหน ก็จะตัดกิเลสหมดความยึดมั่นได้ทั้งคู่ครับ

    เหมือนกับจะถามว่า เพราะอิ่มอยู่ จึงไม่หิว หรือที่ไม่หิว ก็เพราะอิ่มอยู่

    สาระสำคัญของ "ความหิว" กับ "ความอิ่ม" อยู่ตรงที่การ "กิน" ครับ ซึ่งก็คือการปฏิบัติกระทำลงไป ดังนั้น สาระสำคัญของการ "ตัดกิเลส" และ "หมดความยึดมั่น" ก็คือการ "ภาวนา" ครับ ซึ่งก็คือการปฏิบัติกระทำลงไปเช่นเดียวกัน

    ป.ล. จริงๆแล้ว "กิเลส" ไม่มีในวงจรปฏิจฯ แต่เนื่องจาก ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน และตัณหาประกอบไปด้วยความพอใจ ความไม่พอใจ และความยึด (ภวตัณหา) และรากเหง้าของความพอใจไม่พอใจและความยึดนั้นมาจากความโลภโกรธหลงนั่นเอง (เพราะพอใจมาก ก็โลภ พอใจน้อย ก็คือไม่พอใจ ก็โกรธ พอยึดเข้าไป ก็หลง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2008
  10. โลกสมมติ

    โลกสมมติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +42
    ให้เห็นการเข้าไปเชื่อ ว่านี่คือกิเลส นี่คือความยึดมั่น ครับ

    สิ่งต่างๆ ที่รับรู้ได้ผ่านทางอายตนต่างๆ มันเป็นการปรุงแต่งไปหมดแล้ว ที่เรียกชื่อได้มันก็เกิดจาก เชื่อว่าสิ่งนั้นมีอยู่ จึงเรียกชื่อมันเพื่อสื่อความหมาย แต่การเชื่อว่า ไม่มี ก็เป็นการเชื่อในฝั่งตรงข้าม จึงต้องรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ไม่ว่ามันจะเป็นบุญ/บาป นรก/สวรรค์ มี/ไม่มี นิพพาน/สังสารวัฏ ฯลฯ

    ประเด็นมันจึงอยู่ที่ รู้หรือเปล่าว่ารู้สึกว่าสิ่งนั้นมี / ไม่มีอยู่จริงๆ (มีความเชื่อเกิดขึ้นแล้ว) แล้วจึงมีอะไรๆ ต่างๆ ตามมา แล้วมาลงที่ ชอบ/ไม่ชอบ หรือเฉยๆ แต่ไม่ต้องไปจ้องดูมันอย่างจดจ่อว่ามีความเชื่อเกิดขึ้นหรือยัง เพราะนั่นคือ ความพยายามที่จะหาเพราะเชื่อว่ามีสิ่งนั้นอยู่
     
  11. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,984
    จะตัดได้ และไม่ยึดมั่นได้

    ก็เมื่อรู้ความจริง คือวิปัสสนาก่อน..
     
  12. ฟ้าทะลายโจร

    ฟ้าทะลายโจร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +36
    จิตเดิมประภัสสร แต่เศร้าหมองไป เพราะกิเลสที่จรมา
     
  13. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ++

    ผมว่าคำถามนี้อาจเป็นบทสรุปของสายวิปัสนากับสายสมถะ

    1.ตัดกิเลสก่อนจึงหมดความยึดมั่น
    วิธีนี้คือเริ่อต้นจากการเผา เผาเลยครับ เผากิเลสโดยใช้สมถะ ใช้ฌานข่มเลย เมื่อเผาได้ที่แล้วกิเลสหมดแล้วก็พิจารณาอีกที ก็จะหมดกิเลส วิธีนี้ได้ทั้ง หมดกิเลสและประกอบด้วยอภิญญา
    2.ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จึงหมดกิเลส
    วิธีนี้ เป็นวิปัสนาล้วน ไม่เข้าฌาน เข้าถึงชั้นอุปจาระ ก็พินิจพิเคราะห์ธรรมะ เทียบเคียงจากพระไตรปิฎก ก็จะหมดกิเลสได้ แต่จะไม่ประกอบด้วยอภิญญา..
     
  14. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    จริงๆ มันไม่มีใครไปตัดกิเลสได้หรอก
    แต่มันเป็นสำนวนพูดกันว่า "ตัดกิเลส"

    ความเป็นจริงมีแต่การที่จิตได้เรียนรู้ความเป็นจริงของขันธ์ ๕
    จนจิตเห็นความเป็นจริง ยอมรับความจริงในขันธ์ ๕
    อัตตาก็จะค่อยๆขาด หรือพ้นเป็นลำดับไป ( สังโยชน์ ๑๐)

    เมื่อจิตเรียนรู้มากพอแล้ว จิตก็เกิดปัญญา ( ไม่ใช่เราเกิดปัญญา )
    จิตเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดในขันธ์ ๕
    ไม่หลงในสิ่งที่อวิชชาปรุงแต่งมาหลอกดังเช่นอดีต
    ก็จะเรียกว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องนั้นๆ
    หรือ กิเลสนั้นๆถูกตัดไปแล้ว ก็สภาวะเดียวกัน
     
  15. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    เอาเรื่องโสฬสญาณหรือญาณ 16 ที่เป็นลำดับขั้นของญาณปัญญาที่จะเกิดของผู้ที่เจริญวิปัสสนา มาให้อ่านดูเพื่อเปรียบเทียบกับสภาวะธรรมที่ตนปฏิบัติกันนะครับ(หวังว่าคงเกิดประโยชน์และได้แนวทางที่ถูกต้องเป็นแบบแผนสำหรับดำเนินตามครับ)



    [345] ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...