คนตาบอด และ โคมไฟ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 17 มกราคม 2016.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,261
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,449
    12345-jpg.jpg








    ตรอกสายหนึ่งที่ทั้งมืดทั้งแคบ ทั้งยังไม่มีดวงไฟส่องทางให้ความสว่างแม้แต่น้อย ดังนั้นเมื่อถึงยามค่ำคืน การเดินทางในตรอกแห่งนี้จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

    คืนวันหนึ่ง พระรูปหนึ่งเดินผ่านเข้ามายังตรอกดังกล่าวเพื่อมุ่งหน้าไปยังอาราม ทว่าด้วยความที่ตรอกนี้มืดมิด กระทั่งนิ้วมือทั้งห้าของตนเองยังไม่อาจมองเห็นได้ เมื่อเดิน
    ไปเรื่อยๆ พระรูปนี้จึงทั้งเดินไปชนผู้อื่น และถูกผู้อื่นเดินมาชนไม่หยุดหย่อน สร้างความลำบากยิ่งนัก

    ตอนนั้นเอง คนผู้หนึ่งถือโคมไฟเดินเข้ามายังตรอกดังกล่าว พลันทำให้ในตรอกเกิดแสงสว่างขึ้นพอสมควร พระรูปนั้นได้ยินคนเดินผ่านทางกล่าวว่า "คนตาบอดผู้นั้นช่าง
    แปลกนัก ตนเองมองไม่เห็นแท้ๆ ใยต้องถือโคมไฟให้วุ่นวาย"

    เมื่อพระได้ยินก็รู้สึกแปลกใจ รอจนกระทั่งคนตาบอดถือโคมไฟคนนั้นเดินผ่านมา จึงเอ่ยถามขึ้นว่า "ขออภัย ท่านตาบอดจริงๆ หรือ?"

    คนผู้นั้นตอบว่า "ถูกแล้ว ข้าเกิดมาก็พิการ ตาสองข้างมองไม่เห็น สำหรับข้านั้นไม่ว่าจะยามเช้าสายบ่ายเย็นล้วนไม่ต่างกัน ทั้งยังไม่ทราบว่าแสงสว่างหน้าตาเป็นเช่นไร"

    พระได้ยินดังนั้นก็ยิ่งงุนงงมากขึ้น เอ่ยถามต่อไปว่า "เช่นนั้นท่านจะถือโคมไฟไปเพื่ออะไร?"

    คนตาบอดตอบว่า "เนื่องเพราะข้าเคยได้ยินคนพูดกันว่าในยามกลางคืนไร้แสงสว่าง คนตาดีทั้งหลายก็เป็นเช่นเดียวกับข้า คือมองไม่เห็นสิ่งใด เมื่อครู่ท่านเดินอย่างมืดมนในตรอกใช่โดนคนเดินสวนไปมาชนเอาหรือไม่ ท่านดูข้าเองนั้นแม้เป็นคนตาบอด
    แต่ข้าไม่โดนผู้อื่นเดินชนเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนข้าก็เป็นเช่นเดียวกับท่าน คือโดนคนเดินมาชนเอาบ่อยครั้ง
    แต่เมื่อข้าถือโคมไฟทุกอย่างก็เปลี่ยนไป...ที่ข้าจุดโคมไปไหนมาไหนด้วยนั้น ข้าจุดเพื่อให้แสงสว่างกับผู้อื่น และเพื่อให้ผู้อื่นมองเห็นตัวข้า


    ตั้งแต่นั้นมาข้าก็ไม่โดนผู้ใดเดินชนอีกเลย"

    พระได้ยินความดังนั้นก็บรรลุปัญญา...

    การช่วยเหลือผู้อื่น ประโยชน์สูงสุดล้วนกลับคืนมาสู่ผู้ให้
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,261
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,449
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา


    ๓. อานันทเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระอานันทเถระ
                 [๓๙๗] บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบส่อเสียด มักโกรธ
                              ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว
                              เป็นความลามก แต่บัณฑิตควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา
                              มีศีลน่ารัก มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการ
                              สมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว เชิญดูร่างกายอันมี
                              กระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็นใหญ่น้อยผูกขึ้นเป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรม
                              ตบแต่งให้วิจิตร มีแผลทั่วทุกแห่ง กระสับกระส่าย คนโง่เขลาพากัน
                              ดำริเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคตมโคตร
                              เป็นผู้ได้สดับมามาก มีถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า
                              ปลงภาระลงแล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน พระอานนทเถระสิ้นอาสวะ
                              แล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องเกาะเกี่ยวแล้ว ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง
                              แล้ว ดับสนิท ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด
                              ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้ว
                              ในบุคคลใด บุคคลนั้น คือ พระอานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่
                              ในมรรคเป็นทางไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจาก
                              พระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรม
                              เสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็นที่คล่องปากขึ้นใจ
                              ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชายมีการศึกษาเล่าเรียนมาน้อย ย่อม
                              แก่เปล่า เหมือนกับโคที่มีกำลังแต่เขาไม่ได้ใช้งาน ฉะนั้น เนื้อย่อม
                              เจริญแก่เขา ปัญญาไม่เจริญแก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้ที่
                              ศึกษาเล่าเรียนมาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติตามที่เล่าเรียนมา
                              ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอดถือดวงไฟไป ฉะนั้น บุคคลควร
                              เข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามามาก แต่ไม่ควรทำสุตะที่ตนได้มาให้พินาศ
                              เพราะสุตะที่ตนได้มานั้น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น
                              จึงควรเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย รู้อรรถ
                              แห่งภาษิต ฉลาดในนิรุติและบท ย่อมเล่าเรียนธรรมให้เป็นการเล่าเรียนดี
                              และพิจารณาเนื้อความ เป็นผู้กระทำความพอใจ ด้วยความอดทน
                              พยายามพิจารณา ตั้งความเพียรในเวลาพยายาม มีจิตตั้งมั่นด้วยดี
                              ในภายใน บุคคลควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็น
                              สาวกของพระพุทธเจ้า หวังการรู้แจ้ง ธรรมเช่นนั้นเถิด บุคคลผู้เป็น
                              พหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
                              แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น
                              เป็นผู้อันมหาชนควรบูชา ภิกษุมีธรรมเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรม
                              ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัทธรรม เมื่อกายและ
                              ชีวิตของตนเสื่อมไป ภิกษุผู้หนักในความตระหนี่กาย ติดอยู่ด้วยความ
                              สุขทางร่างกาย ไม่ขวานขวายบำเพ็ญเพียร ความผาสุกทางสมณะจักมี
                              แต่ที่ไหน ทิศทั้งหมดไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า
                              ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้เป็นกัลยาณมิตร นิพพานแล้ว โลกทั้งหมด
                              นี้ปรากฏเหมือนความมืดมน กายคตาสติย่อมนำมาซึ่งประโยชน์โดย
                              ส่วนเดียว ฉันใด กัลยาณมิตรเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีสหาย
                              ล่วงลับไปแล้ว มีพระศาสดานิพพานไปแล้ว ฉันนั้น มิตรเก่าพากัน
                              ล่วงลับไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคมด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะเพ่งฌาน
                              อยู่ผู้เดียว เหมือนกับนกที่อยู่ในรังในฤดูฝน ฉะนั้น.
                 พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
                              เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อ
                              ล่วงเวลาเทศนาเลย เพราะประชุมชนเหล่านั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม
                              จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะเห็นเรา.
                 พระอานนทเถระจึงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า
                              พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุมชนที่พากันมาแต่
                              ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเทศนา ไม่ทรงห้ามเมื่อเรายังเป็นพระเสข-
                              บุคคลอยู่ ๒๕ ปี กามสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี
                              เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทสสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดู
                              ความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตากายกรรม
                              เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปฐากพระผู้มีพระภาค
                              ด้วยเมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เรา
                              อุปฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตา มโนกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม
                              พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดินตาม
                              ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่
                              ฌานเกิดขึ้นแก่เรา เราเป็นผู้มีกิจที่จะต้องทำ ยังเป็นพระเสขะ ยังไม่
                              บรรลุอรหัต พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้ทรงอนุเคราะห์เรา พระศาสดา
                              พระองค์นั้น ได้เสด็จปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมา
                              สัมพุทธเจ้าผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง เสด็จปรินิพพาน
                              แล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียวและได้เกิดขนพองสยองเกล้า.
                 พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา ความว่า
                              พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมของ
                              พระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลก
                              ทั่วไป ปรินิพพานไปเสียแล้ว พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม
                              เป็นผู้รักษาคลังพระธรรม ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                              เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความมืดมนที่เป็นเหตุทำให้
                              ดังคนตาบอดได้แล้ว พระอานนทเถระเป็นผู้มีคติ มีสติและฐิติ เป็นผู้
                              แสวงคุณ เป็นผู้ทรงจำพระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.
                 พระอานนทเถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า
                              เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสด็จ
                              แล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.
    -----------------------------------------------------
                 พระเถระ ๓ รูปนี้ คือ พระปุสสเถระ ๑ พระสารีบุตรเถระ ๑ พระอานนทเถระ ๑
    ท่านนิพนธ์คาถาไว้ในติงสนิบาตนั้น รวม ๑๐๕ คาถา ฉะนั้นแล.
    จบ ติงสนิบาต
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,261
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,449
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12345.jpg
      12345.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.7 KB
      เปิดดู:
      147
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,261
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,449
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...