setsan2110
ความเคลื่อนไหวล่าสุด:
19 สิงหาคม 2010
วันที่สมัครสมาชิก:
24 กรกฎาคม 2008
โพสต์:
29
พลัง:
15

โพสต์เรตติ้ง

ได้รับ: ให้:
ถูกใจ 15 0
อนุโมทนา 0 0
รักเลย 0 0
ฮ่าๆ 0 0
ว้าว 0 0
เศร้า 0 0
โกรธ 0 0
ไม่เห็นด้วย 0 0

แชร์หน้านี้

setsan2110

สมาชิก

setsan2110 เห็นครั้งสุดท้าย:
19 สิงหาคม 2010
    1. satan
      satan
      หวัดดีครับท่าน เห็นท่านออนไลน์อยุ่ เลยแวะมาทักทายครับ

      ด้วยความเคารพอย่างสูง
      โหน่ง
    2. satan
      satan
      สวัสดดีครับผม...ผมเห้นท่านออนไลน์อยู่ในกระทู้ จึงแวะมาทักทายท่านขอรับกระผ้ม ^^

      ด้วยความเคารพอย่างสูง
      โหน่ง

      จิตตานุปัสสนา จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / โดยคุณ ไชย ณ พล

      เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตภายในเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีราคะ หรือเมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรายิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีขอบเขต หรือเมื่อจิตไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไร้ขอบเขต

      - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตภายนอก


      -------------------------------------------
      เห็นจิตในจิตภายนอก (ตน)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาบุคคลอื่นอยู่ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตทั้งภายนอกและภายนอก

      ------------------------------


      เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)และภายนอก (ตน)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้พิจารณาอยู่ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตยิ่งใหญ่ เมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตมีขอบเขต เมื่อจิตไม่มีขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีขอบเขต

      - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

      -------------------------------------------------------------
      ภูมิแห่งฤทธิ์ มีมูล16 ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / คุณ ไชย ณ พล

      1.จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
      2.จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุจธัจจะ
      3.จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ
      4.จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะพยาบาท
      5.จิตอันความคิดเห็นไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความคิดเห็น
      6.จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ ฉันทะราคะ
      7.จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ
      8.จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส
      9.จิตปราสจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะถูกกิเลสครอบงำ
      10.เอกัคคตาจิต ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ
      11.จิตที่กำหนดด้วยศัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่ศรัทธา
      12.จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
      13.จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
      14.จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ อุจธัจจะ
      15.จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมมไหวั่นไหวเพราะอวิชชา
      16.จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมมไหวั่นไหวเพราะความมืดอวิชชา
  • Loading...
  • Loading...
Loading...