การปฏิบัติพระกรรมฐาน 4 แบบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย lotte, 6 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +4,545
    การปฏิบัติพระกรรมฐาน 4 แบบ ก่อนอื่นท่านควรทราบจุดประสงค์ หรือคุณประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน


    1. ต้องการให้อารมณ์สงัด เยือกเย็น ไม่มีวุ่นวาย จิตเป็นสุข ร่างกายแข็งแรง โรคภัยไข้เจ็บหาย ไม่แก่ง่าย มีคนรัก ไม่ตายด้วยอุบัติเหตุ

    2. ต้องการพ้นอบายภูมิ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน อย่างต่ำก็เกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคประสาท

    3. ต้องการพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ไปเสวยสุขที่ถาวรแดนทิพย์พระนิพพาน ถ้าบุญวาสนาไม่ถึงนิพพาน ก็เป็นเทพเทวดา นางฟ้า พรหม มีความสุขกว่าเป็นคนมาก ไม่มีแก่ เจ็บ มีความปรารถนาสมหวัง ปฏิบัติธรรมต่อบนสวรรค์ ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ต่อไปก็นิพพานได้ไม่ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์อีก

    4. เพื่อยกระดับจิตของปุถุชนเป็นอริยบุคคล อย่างน้อยพระโสดาบัน อย่างสูงพระอรหันต์ คือ คนที่เดินทางเข้าอริยะธรรม เพื่อจิตสะอาด บริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมอง กำจัดโลภ โกรธ หลง ความไม่รู้จริง (อวิชชา) ตัณหา อุปาทาน คิดว่ากายทรัพย์สินเป็นของเรา ให้สูญสิ้นไปจากจิต
    การจะเป็นพระอรหันต์ เข้าพระนิพพาน มีหลายพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ครบแบบปฏิบัติ พระกรรมฐานมี 4 แบบ แล้วแต่ความต้องการ เพื่อบรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี จนสูงสุดเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้หญิง ผู้ชาย คนแก่ พระ จะมีความรู้ฐานะอย่างไหน ถ้าทำจริงก็เป็นพระอริยเจ้าได้ ทุกแบบแล้วแต่อุปนิสัย ชอบแบบไหน ทั้ง 4 รูปแบบก็มีจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน

    1. แบบสุขวิปัสสโก
    มีสมาธิเล็กน้อย อย่างมากต้องถึงปฐมฌาน รักษาศีลให้บริสุทธิ์ เจริญวิปัสสนาญาณ ดูร่างกายเราเป็นของสกปรก เป็นเพียงธาตุ 4 เป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นภาระหนักน่าเบื่อหน่าย เป็นพระอรหันต์ หมดกิเลส แต่ไม่มีความรู้พิเศษ ทางเป็นทิพย์ ไม่เห็นพระนิพพาน แต่มีความเข้าใจนิพพานถูกต้องว่าไม่สูญสลาย มีสวรรค์ มีพรหม มีนรก ไม่เห็นผี ไม่เห็นเทวดา ไม่เห็นพระพุทธเจ้า

    2. แบบเตวิชโช
    ท่านเจริญสมาธิจนถึงฌาน 4 พร้อมกับเจริญวิปัสสนาญาณ หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ พร้อมความรู้พิเศษ 3 อย่าง คือ

    1) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติที่แล้ว ๆ มาได้
    2) จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วและเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหนก่อนเกิดมาจากไหน
    3) อาสวักขยญาณ รู้จักทำลายกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา ความโง่ ให้หมดไปเป็นพระ ขีณาสพ
    กรรมฐานแบบมโนมยิทธิ ก็อยู่ในเตวิชโชควบกับฉฬภิญโญ การปฏิบัติก็รักษาศีล ฝึกสมาธิ ทางด้านอภิญญา เพ่งไฟ(เตโชกสิณ) เพ่งแสงสว่าง(อาโลกสิณ) เพ่งสีขาว(โอทากสิณ) ทำให้จิตเป็นทิพย์ สามารถรู้ในสิ่งที่ตามองไม่เห็น เช่น ระลึกชาติได้ รู้คนสัตว์เกิดตายจากไหน จะได้ไม่สงสัยว่า ตายแล้วสูญหรือไม่ ุ

    3. แบบฉฬภิญโญ
    เป็นนิสัยของผู้ชอบฤทธิ์ชอบเดช ฝึกฝนตนเองให้ได้เพื่อความรู้พิเศษ นอกจากชำระกิเลสให้หมดไป ท่านให้ฝึกในกสิณ 8 อย่าง ให้ชำนาญจนถึงฌาน 4 ให้คล่องแคล่ว
    1) เพ่งธาตุดิน (ปฐวีกสิณ)
    2) เพ่งธาตุน้ำ (อาโปกสิณ)
    3) เพ่งไฟ (เตโชกสิณ)
    4) เพ่งลม (วาโยกสิณ)
    5) เพ่งสีเหลือง (ปีตกสิณ)
    6) เพ่งสีเขียว (นีลกสิณ)
    7) เพ่งสีแดง (โลหิตกสิณ)
    8) เพ่งสีขาว (โอทากสิน)

    คุณสมบัติที่ได้ คือ
    1) อิทธิฤทธิ์แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
    2) ทิพยโสต มีหูทิพย์ ฟังเสียงไกลหรือเสียงทิพย์
    3) จุตูปปาตญาณ รู้การเกิด การตายของสัตว์ ตายแล้วไปไหน ไปเกิดที่ไหน
    4) เจโตปริยญาณ รู้ความนึกคิดของคนและสัตว์
    5) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
    6) อาสวักขยญาณ ทำอาสวะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา ให้หมดไปเป็นพระอรหันต์

    4. แบบปฏิสัมภิทัปปัตโต
    ท่านผู้ฝึกแบบนี้เป็นผู้ฉลาดรอบรู้ ยิ่งกว่าท่านผู้ทรงอภิญญา 6 มีคุณธรรมพิเศษกว่าพระอรหันต์เตวิชโช และพระอรหันต์ฉฬภิญโญ หลายประการคือ

    1) มีความสามารถทรงความรู้พร้อมในหัวข้อธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนได้ครบถ้วน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยศึกษามาก่อน ทรงพระไตรปิฎก
    2) มีความฉลาดในการขยายความในธรรมภาษิตที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อ ให้พิสดารได้อย่างถูกต้อง ย่อความพิสดารให้สั้นเข้าโดยไม่เสียความ

    เหมือนคน3) สามารถเข้าใจคำพูดภาษาต่าง ๆ ในโลกได้ทุกภาษา ไม่ว่าภาษาคน หรือภาษาสัตว์


    ท่านชำนาญในกสิณจนถึงฌาน 4 แล้วท่านยังเจริญในอรูปฌานอีก 4 คือ
    1. อากาสานัญจายตนะ เพ่งอากาศเป็นอารมณ์จนฌาน 4 เห็นรูปนามเป็นอากาศ ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ต้องการร่างกายอีกต่อไป พิจารณาให้เห็นว่าร่างกายมีสภาพว่างเหมือนอากาศ

    2. วิญญาณัญจายตนะ เข้าฌาน 4 แล้วเพ่งอากาศ ไม่ต้องการมีรูปอีกต่อไป ต้องการแต่วิญญาณในขันธ์ 5 (ประสาททั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(อารมณ์จิต) ) อย่างเดียว เพราะรูปกายเป็นทุกข์ วิญญาณต้องรับทุกข์แสนสาหัส เพราะมีรูปกาย ถ้ารูปกายไม่มี มีแต่วิญญาณ ก็หมดทุกข์ทรมาน จนกำหนดวิญญาณเป็นฌาน 4 มีประโยชน์ในการตรวจสอบจิตวิญญาณ ของตนเองและผู้อื่นได้ชัดเจน

    3. อากิญจัญญายตนะ ท่านเข้าสมาธิถึงฌาน 4 พิจารณาว่าไม่มีอะไรเลย ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น แม้แต่อากาศและวิญญาณในขันธ์ 5 (ประสาททั้ง 6) เพราะแม้รูปไม่มี แต่วิญญาณก็ยังรับสุข ทุกข์ ทางด้านอารมณ์กำหนดจิตให้ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น จิตตั้งอยู่ในญาณ 4 เป็นปกติ

    4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทรงอารมณ์ฌาน 4 แล้วกำหนดจิตคิดว่าเป็นคนไม่มีสัญญาในขันธ์ 5 (ประสาททั้ง 6) คือไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งหมด ใครจะชมนินทา หนาวร้อน หิวกระหาย เจ็บปวด ไม่ต้องการรับรู้ทุกข์สุขใด ๆ ทำเฉยไม่มีความจำ


    การเจริญพระกรรมฐาน: สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
    1. สมถภานา
    สมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แท้ที่จริงอยู่ควบคู่กันไป จะแยกทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านสอนแยกตามความหมายตามตัวอักษรเพื่อความเข้าใจเท่านั้น ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปด้วยกัน ถ้าเอาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ไม่สำเร็จมรรคผล แม้ผู้ที่คิดว่าเจริญวิปัสสนาญาณอย่างเดียวนั้น ท่านที่เจริญวิปัสสนาญาณได้ ก็ต้องมีจิตเป็นสมาธิเสียก่อน จึงพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ เห็นทุกข์โทษของขันธ์ 5 ได้ ถ้าไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถคิดวิปัสสนาตามความต้องการได้ เพราะจิตคิดฟุ้งซ่าน ไปเรื่องทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ชอบใจ หรือวิตกกังวล ตามประสาปุถุชน
    สมถะพระกรรมฐานมี 40 กอง ทุกกองทำเป็นวิปัสสนาได้ทุกรูปแบบ ถ้าฉลาดทำเป็นไตรลักษณ์ เป็นอุบายเพื่อรักษากำลังใจให้สงบจากอารมณ์ชั่วคือนิวรณ์ นิวรณ์มี 5 ประการดัง

    1) มัวเมาในสมบัติโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส พอใจในคน สิ่งของที่หลงรัก
    2) ความโกรธ ความไม่พอใจ รำคาญ พยาบาท
    3) ความง่วงเหงา หาวนอน ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา
    4) จิตความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล ก็ระงับโดยตั้งอารมณ์จิตไว้เฉพาะลมหายใจเข้าออกหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เป็นอารมณ์เดียว
    5) สงสัยในผลของการปฏิบัติ สมาธิ ภาวนา ว่าจะมีผลดี หรือไม่มีผล เป็นวิจิกิจฉาลังเลใจอยู่ในสังโยชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดในข้อ 2 ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ไม่มีที่จบสิ้น

    2. วิปัสสนาภาวนา
    คือการค้นคว้าหาความจริงของร่างกาย ว่าการเกิดเป็นคนนั้น เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เกิดมาแล้ว แก่ ทรุดโทรม ต้องเหนื่อยยากลำบากกายใจ หาเลี้ยงชีวิตครอบครัว มีป่วยไข้ ไม่สบาย ต้องต่อสู้กับอารมณ์ของคน ภัยธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พอจะสบายหน่อยก็หูตาฝ้าฟาง ฟันร่วง กระดูกกรอบ เจ็บป่วย ตายในที่สุด ถ้าร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ก็ดูคนป่วยคนตาย เราจะหนีไม่พ้นภาวะแบบนี้

    วิปัสสนาพระท่านสอนไว้มี 3 แบบ คือ

    1. พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ 9 ตามหนังสือวิสุทธิมรรคที่ท่านพระ พุทธโฆษาจารย์แปลไว้จากพระไตรปิฎก คือ

    1.1 อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ดับไป ตายไปของขันธ์ 5 ร่างกาย ความคิด ความเจ็บปวด เกิด ๆ ตาย ๆ ตลอดเวลา

    1.2 ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความสูญสลาย ดับไปของร่างกาย ความคิด ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ความรัก ความเจ็บปวด (วิญญาณ) ความรู้สึกประสาททั้ง 6 เป็นของร่างกาย ไม่ใช่จิตดับ เป็นเพียงวิญญาณระบบประสาทตาย

    1.3 ภยตูปัฏฐานญาณ สังเกตวิจัยรูป กายเขากายเรา เป็นของน่ากลัว มีภัย อันตรายรอบด้าน ให้จิตต้องแก้ไขตลอดเวลา เป็นปัญหา เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัวตั้งแต่เกิดจนแก่ เป็นภาระหนัก

    1.4 อาทีนวานุปัสสนาญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ สังเกต วิจัย หรือเฝ้าดูว่าร่างกาย รูป นาม ความคิด ความรู้สึก ความจำ ประสาท ความรู้สึกทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของยุ่งยาก เป็นโทษ เป็นทุกข์ มีภาระปรับปรุง ต้องแก้ไขตลอดเวลา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมิได้หยุดยั้ง ต้องเหน็ดเหนื่อย คอยเอาใจใส่ดูแลใจใส่ดูแลให้ดี

    1.5 นิพพิทานุปัสสนาญาณ คิดพิจารณาดูว่าร่างกาย ( รูป นาม ) หรือขันธ์ 5 เป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นภาระ เป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นของหน้ากลัวมีแต่สลายตัว ทำให้เจ็บปวดกายปวดใจตลอดเวลา ที่ยังไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเพราะเรามัวแต่วิ่งเอาความสุขทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มาปกปิดไว้ จึงมองไม่เห็น เรียกว่า อวิชชา ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงของรูปร่างกาย เป็นความหลง หรือ มีอุปาทาน คิดว่าเกิดเป็นคนมีความสุข

    1.6 มุญจิตุกามยตาญาณ คิดพิจารณาเพื่อให้จิตที่อาศัยอยู่ชั่วคราวในขันธ์ 5 (รูป นาม) นี้ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเสีย โดยตั้งใจจะทำความด้วย ศีล สมาธิ วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้มีปัญญา กำจัดอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ให้หมดไปในชาตินี้ (ภพ นาม รูป วิญญาณ สังขาร)

    1.7 ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คิดพิจารณาปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากสังขารคือ ขันธ์ 5 (รูป นาม)นี้ โดยเดินทางสายกลาง มรรค 8 ตามพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน เพื่ออริยมรรคผลมีพระนิพพานเป็นที่อยู่เป็นสุข

    1.8 สังขารุเปกขาญาณ คิดพิจารณาใคร่ครวญ เห็นว่าควรจะทำให้จิตวางเฉยในความทุกข์ ความสุขของร่างกาย (รูป นาม ขันธ์ 5 ) ตลอดจนทรัพย์สมบัติที่เสียไปก็ปลงใจตัดได้ว่าเป็นธรรมดาของโลกจะต้องสูญสลายไปแบบนี้ มีจิตสบายไม่มีความหวั่นไหว เสียใจน้อยใจเกิดขึ้น ร่างกายเจ็บป่วยตาย ก็เป็นเรื่องของร่างกาย รู้แล้วว่าจิตไม่ตายตามร่างกาย จิตเป็นคนละส่วนกับกาย จิตเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่สูญสลาย กายขันธ์ 5 เป็นธรรมชาติของโลกมีสูญสลายเป็นปกติ เป็นของโลก เป็นของหลอกลวง

    1.9 สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาใคร่ครวญ ย้อนไปย้อนมา ให้เห็นความจริงของชีวิตว่า ร่างกายเป็นแดนของความทุกข์ทั้งปวง เพราะร่างกายเป็นสมบัติของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ถ้าเอาจิตไปยึดติดกับร่างกาย ก็มีแต่ปัญหา วุ่นวายใจ ไม่จบสิ้น
    จุดที่จะดับความทุกข์ให้หมดสิ้นไป ก็เดินตามสายกลาง ไม่ง่ายไม่ยาก ไม่ขี้เกียจ ไม่ขยัน ไม่เคร่งเครียดเกินไป ในทางปฏิบัติ มรรค 8 ย่อลงมาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะมีศีล 5 ครบ จึงมีสมาธิ เป็น(ฌาน คือความชิน เมื่อมีสมาธิเป็นความชิน ก็มีปัญญาความฉลาด หรือ วิชชา รู้เท่าทันสภาวะ ความเป็นจริงของชีวิตของโลก หมดความมัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ได้ชื่อว่ามีความเห็นจริง ในอริยสัจ 4 ทำให้คล่องแคล่วจนจิตหมดความโลภ ความโกรธ ความหลง มัวเมาในชีวิต จนหมดกิเลสในสังโยชน์ 10 ประการ


    2. วิปัสสนาโดยการตั้งจิตให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร
    วิปัสสนา โดยการตั้งสติให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา แปลว่า ทางนี้เป็นทางเอก เป็นทางของบุคคลคือเราผู้เดียวเท่านั้นที่รับ สุข รับทุกข์ เราผู้เดียวเท่านั้นปฏิบัติตนพ้นทุกข์ ถึงระนิพพานได้ ไม่มีใครมาช่วยเราได้ นอกจากเราผู้เดียว พิจารณาตนเองเป็นเพียงธาตุ 4 ดินน้ำ ลม ไฟ ประกอบกันชั่วคราว แล้วสลายตัว เปื่อยเน่า เมื่อยังไม่ตาย ก็มีแต่โรคภัยรบกวน เร่าร้อน ทุกข์สาระพัด ต้องดูแลร่างกาย เพื่อความสะอาดของจิต ให้มีสติ รู้ตัวพิจารณา

    1) กาย คือ กายในที่อาศัยกายเนื้ออยู่ ดูลมหายใจ ดูความน่าเกลียด ดูเหมือนศพเน่า

    2) เวทนา พิจารณาอารมณ์เป็นสุข ทุกข์ เฉย ของตนเองอยู่เสมอว่าว่า ไม่คง

    3) จิต สติพิจารณาจิต มีนิวรณ์5 รบกวน พิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นปัญญาช่วยให้ตรัสรู้ คือ หนึ่ง สติ สองธัมมวิจยะ สามวิริยะ มีความเพียร สี่ปิติ อิ่มใจ สี่วิปัสสัทธิ ความสงบใจ หกสมาธิ ความตั้งใจมั่น เจ็ดอุเบกขา การวางเฉย

    4) ธรรม คือ การพิจารณาให้เห็นว่ารูป ร่างกาย นาม คือ ความรู้สึก ความจำ ความคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นทุกข์ แปรปรวน และเสื่อมสลายตลอดเวลา มีวิญญาณคือประสาททั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของจิต ไม่ควรเอาจิตสนใจกับอายตนะทั้ง 6 นั้น ถ้าจิตไปสนใจกายหรือวิญญาณ (อายตนะทั้ง 6) ก็มีแต่ความทุกข์ใจ ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด
    วิปัสสนาแบบในพระไตรปิฏก ที่มีมาในขันธวรรค
    พิจารณาขันธ์ 5 คือร่างกาย ความคิด ความจำ เวทนา ความรู้สึกทุกข์หรือเฉย ๆ วิญญาณในขันธ์ 5 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่ใช่จิตใจตามแบบที่คนทั่วไปคิด วิญญาณไม่ใช่จิต คนละอย่างกัน จิตคือผู้รู้ ผู้มีความนึกคิด จิตเป็นนาย จิตเป็นนายของวิญญาณ คือความรู้หนาวรู้ร้อนหิว กระหาย เผ็ดเปรี้ยว นุ่มนิ่ม แข็งกระด้างเป็นวิญญาณ ใจคืออารมณ์ พระองค์สอนว่าทั้ง 5 อย่างนี้ ไม่ใช่ตัวเราเป็นของปลอม เป็นสมบัติของโลก ของธรรมชาติ เกิดขึ้นจากพ่อแม่ อาหาร ธาตุดินน้ำลมไฟ ประชุมกันชั่วคราว ตัวเราจริงๆคือจิตแรกเริ่มประภัสสร สะอาด แต่มามัวหมอง สกปรก เพราะมีความอยาก ความรัก ความหลง ความโกรธ ความไม่รู้ความจริงของโลก มาครอบงำจิต จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป นึกว่าจิตกับขันธ์ 5 เป็นอันเดียวกันแบบนี้ เป็นการเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ต้องเดินหลงทางผิด ก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ให้ดูร่างกายว่าไม่ใช่ของเรา จิตไม่ควรไปยึดถือจริงจังกับขันธ์ 5 อาศัยร่างกาย ทำความดี เพื่อจิตจะได้สะอาด ปราศจากกิเลส ไปอยู่พระนิพพาน หรือยังไม่ตาย จิตก็เป็นสุขยิ่งคือพระนิพพาน
    จิตมาอาศัยขันธ์ 5 อยู่ชั่วคราว ขันธ์ 5 ตาย ร่างกายตายพร้อมกับวิญญาณ ความรู้สึกประสาท สมอง ความคิดดีชั่ว ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ตายร่วมกับร่างกาย จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อยู่อาศัยใหม่ ตามบุญ บาป ผลกรรมส่งจิตไปที่สุข ที่ทุกข์ แล้วแต่ความดี ทำดีก็ไปสวรรค์ ทำชั่วก็ไปนรก ไปเกิดเป็นสัตว์หรือเป็นคนที่มีทุกข์ต่อไป จิตสะอาดไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย รูป นาม ขันธ์ 5 ก็ไปเสวยสุขแดนอมตะนิพพาน ไม่ต้องเกิดตายเป็นทุกข์อีก เคล็ดลับจริงของการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์คือจิตเราไม่อาลัย ยินดี ติดอยู่ในร่างกายเรา ร่างกายบุคคลอื่น โดยมีจิตฉลาด จิตรู้ จิตมีวิชชา รู้ความจริงของร่างกาย(ขันธ์ 5) ว่าเป็นสาเหตุแห่งการทุกข์ยากลำบากกายใจ เพราะร่างกายคือของชำรุดทรุดโทรม ต้องดูแลชำระล้าง ต้องหาอาหารเติมให้ร่างกายวันละ 3 มื้อ เป็นของที่ดองไว้ด้วยกิเลสร้อยแปดประการ เป็นของว่างเปล่า สูญสลาย เป็นอนัตตาในที่สุด ก่อนตายจิตก็จะต้องเจ็บปวด ทรมานกับกายจนทนไม่ไหว ร้องครวญคราง ร่างกายตาย จิตก็แสวงหาที่อยู่ใหม่ จิตฉลาดก็ไม่ต้องการกาย หมดตัณหามุ่งพระนิพพาน

    3. วิปัสสนาแบบที่ 3 คือ พิจารณาตามแบบอริยสัจ 4
    อริยสัจคือความจริงทำให้บุคคลเข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าหรือความจริงที่ทำให้ใจเราสะอาดบริสุทธิ์ กายก็ยังสกปรกเช่นเดิม เราปฏิบัติทางจิต ทางกายไม่ใช่ของเรา เป็นของเน่าเหม็นของโลก

    3.1 ทุกข์ ความทุกข์มีจริงตลอดเวลา แต่คนเห็นทุกข์ไม่ค่อยมี ข้าวคำเดียวจะใส่ในปากก็มาจากหยาดเหงื่อแรงงานเรา ทำงานหาเงิน ไปตลาด ทำอาหารหุงต้มจึงจะได้กิน เป็นไปโดยความเหนื่อยยาก ไม่ได้มาง่าย ๆ ต้องใช้สติปัญญาต่อสู้เพื่อหาวิชชา หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว อยู่คนเดียวก็หนัก ดูแลตัวเราเอง มีครอบครัว ก็ดูแลร่างกายหลายคน หนักเพิ่มขึ้น ความเจ็บป่วยกายมีตลอด คือ ความหิวต้องหาอาหาร เติมไว้ในกระเพาะ ไม่มีอาหารก็หิวทุกข์ทรมาน พระพุทธองค์ตรัสว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง ความทุกข์ จริง ๆ มันอยู่ที่ใจ เข้าไปยึดมั่นในร่างกายว่าเป็นตัวตน ตัวเขาตัวเรา ถ้าทำจิตแยกจากกายได้ ตอนที่ได้มโนมยิทธิแยกจิตออกจากกาย ไปอยู่บนพระนิพพานหรือว่าเข้าฌาน 4 ขณะนั้น จิตแยกจากกายเด็ดขาด จิตจะไม่ยอมรับรู้เรื่องประสาท ความทุกข์ของร่างกาย จิตจะเป็นสุขอย่างยิ่ง แสดงว่าร่างกายมันไม่รู้เรื่องจริง ๆ มันไม่ทุกข์ด้วย แต่อาการที่ทุกข์ คือเอาจิตไปจับไว้ในร่างกาย จึงทุกข์ทรมานเวลาเจ็บป่วย ไม่สบายกาย ทำจิตเฉยไว้ ปล่อยให้กายเจ็บ จิตไม่เจ็บด้วย ถ้าทำสมาธิถึงฌาน 4 ไม่ได้ ก็ใช้จิตดูความเจ็บปวดของร่างกายไว้ ใจจะไม่เป็นทุกข์ ปวดตามกาย

    3.2 สมุทัย คือ สาเหตุของความทุกข์ หรือเหตุให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตัณหา ความทะเยอทะยานอยากหรือความดิ้นรนอยากได้ตามความต้องการ ทำให้กระวนกระวาย เดือดร้อนใจ มีกาม ตัณหา ความใคร่ อยากได้ทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกินพอดี ความจำเป็นของร่างกายมีอยู่เป็นธรรมดา เช่น หิวก็ต้องหาอาหารกิน พระท่านไม่เรียกว่าตัณหา การแสวงหาทรัพย์สินมาได้โดยชอบธรรม ท่านเรียกว่า สัมมาอาชีวะ พระองค์สนับสนุนให้มีความขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน เลี้ยงชีวิต เพื่อความเจริญทางโลก เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ผู้ยากจน คำว่า ตัณหานี้ คืออยากได้เกินพอดี อยากลักขโมยเขา อยากโกงเขา เป็นคนจนทำมาหากินจนรวยท่านไม่เรียกว่าตัณหา เป็นสัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพถูกต้องไม่ผิดศีล
    ภวตัณหา มีอยู่แล้วอยากให้ทรงตัวอยู่ เช่น อยากหนุ่มสาว อยากแข็งแรงตลอดไป เป็นการฝืนธรรมชาติ ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    วิภวตัณหา มีอยู่แล้วเช่นคนรักจะต้องแตกสลายตายไป ก็หาทางทุกอย่าง ปกป้องกันไม่ให้มันพัง คือ พวกที่ทำผ่าตัดตกแต่งความแก่เฒ่าให้ดูอ่อนวัย ผลที่สุดก็คือฝืนธรรมชาติไม่ได้
    พระพุทธองค์สอนว่า ให้เอาจิต ยอมรับนับถือกฎธรรมดาของร่างเราเอง อะไรจะเกิดขึ้น เจ็บป่วยใกล้ตายก็ยิ้มรับเพราะรู้แล้วว่า เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น แต่ความจริงนั้นร่างกายตายแต่ตัวนอก ตัวในคือ กายในกาย พระท่านเรียกว่า อทิสมานกาย อทิสมานากาย คือ กายที่มองไม่เห็นโดยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยจิตที่สะอาด ปราศจากกิเลส เศร้าหมอง กายนอกคือขันธ์ 5 พระท่านสอนไว้ว่าอย่าสนใจกายนอก คือ กายเนื้อ กระดูก เลือด ที่เหม็นสกปรกทุกวัน เหมือนซากศพเคลื่อนที่ พระท่านว่าอย่าสนใจกายเนื้อ สนใจกับมันมากก็ทุกข์ใจมาก สิ่งที่ท่านให้เราสนใจพิจารณาดูมาก ๆ คือ กายในกาย เรียกว่า อทิสมานกาย หรือจิตอันเดียวกันนั้นจริง ๆ เราก็คือจิตหรืออาทิสมานกายมาอาศัยอยู่ในขันธ์ 5 หรือกายเนื้อชั่วคราว เพื่อ

    1. รับผลบุญ ผลบาป ผลกรรมจากอดีตชาติ

    2. เพื่อตอบแทนท่านผู้มีพระคุณที่เลี้ยงเรามา ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่

    3. เพื่อปฏิบัติ จิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พ้นจากวงกลมเวียนว่ายตายเกิด ไปเสวยสุขแดนทิพย์ อมตะ นิพพาน ตราบใดที่จิตยังไม่เข้าถึงแดนทิพย์นิพพาน จิตก็แสวงหาที่เกิดใหม่ เป็นเทพเทวดา นางฟ้า เป็นคน เป็นสัตว์นรก เป็นผีสลับกันไป เนื่องจากผลกรรมดี กรรมชั่ว เราเองเป็นผู้สร้าง
    ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ก็ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่มีจิตเป็นทิพย์ มีสมาธิสูง มีความรู้พิเศษ คือ ทิพจักขุญาณ มีญาณความรู้วิเศษจากผลของสมถะ มีประโยชน์มากในวิปัสสนาญาณ เป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในการเกิด รู้ใจผู้อื่น อารมณ์ดี จิตดีหรือชั่ว จะเห็นกายในกายของตนเองและผู้อื่นได้ดี เป็นเจโตปริยญาณ จะช่วยแก้ไขตัดกิเลสได้ง่าย

    กายในกาย(อทิสมานกาย เรียก สั้น ๆ ว่า จิต) แบ่งเป็น ๕ ขั้น

    1. กายอบายภูมิ รูปกายในกายซูบซีด ไม่ผ่องใส เศร้าหมอง อิดโรย ได้แก่ กายของผู้ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่นสัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน

    2. กายมนุษย์ เป็นคนแตกต่าง สวยสดงดงามไม่เท่ากัน ร่างกายเป็นมนุษย์ชัดเจนเต็มตัว

    3. กายทิพย์ กายในกาย ผ่องใส ละเอียดอ่อน เป็นเทพ รุกขเทวดา อากาศเทวดา มีเครื่องประดับมงกุฏแพรวพราว ได้แก่กายของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์

    4. กายพรหม ลักษณะกายในกายคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่าใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ได้แก่ กายของพรหม ท่านมีฌานอย่างต่ำปฐมฌานสูงถึงฌาน 4 สมาบัติ 8 มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ

    5. กายแก้วหรือกายธรรมหรือพระธรรมกาย แบบที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านสอนไว้ กายในกายของท่านที่เป็นมนุษย์แต่จิตสะอาด ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หมดอวิชชา ฉลาดสว่างไสว เป็นกายของพระอรหันต์จะเป็นกายในกายของท่าน เป็นประกายพรึก ใสสะอาด สว่างยิ่งกว่ากายพรหมเป็นแก้วใส
    การรู้อารมณ์จิตตนเองมีประโยชน์มาก ในการคอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้าย กิเลสและอุปกิเลสของเราไม่ให้มาพัวพันกับจิต ยิ่งฌานสูง จิตก็ยิ่งสะอาดสามารถตัดกิเลสได้ง่าย อย่าคิดว่าสมถะไม่สำคัญ แม้พระพุทธองค์เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็เป็นผู้เลิศด้วยอานาปานุสสติ เพื่อระงับทุกข์ของร่างกาย เพื่อความเป็นอยู่สุข แม้ท่านปรินิพพาน พระพุทธองค์ก็เข้าฌาน 4 และจิตออกจากกายด้วยฌาน 4 เคลื่อนจิตบริสุทธิ์ของพระองค์ท่านเสวยสุข อมตะ พระนิพพาน ผู้ที่มีสมาธิจิตถึงฌาน 4 ก็สามารถสัมผัสถึงพระองค์ได้ ปัจจุบันนี้ท่านไม่สูญสลายหายไปไหน แม้ปรินิพพาน นาน 2542 ปีล่วงมาแล้ว พระองค์ยังส่งกระแสจิตที่เป็นอภิญญาช่วยโลกตลอดเวลาด้วยพระเมตตาคุณ หาที่สุดมิได้ กลับมาคุยเรื่อง อริยสัจ 4 ต่อ ข้อ 3 ด้วย
    3. นิโรธ คือการดับทุกข์ จะกำจัดทุกข์ออกไปจากจิตก็ต้องดับ หรือ กำจัดเหตุ ที่ทำให้เกิดทุกข์ คือร่างกาย ขันธ์ 5 นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ร่างกายขันธ์ 5 นี้เป็นสาเหตุที่มาของตัณหา กิเลส อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรมต่าง ๆ การดับทุกข์ก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยาก คือจิตเราไม่สนใจ อาลัยใยดีร่างกายขันธ์ 5 อีกต่อไป เลิกคบ ไม่เอา แต่จิตก็ต้องดูแลร่างกายตามหน้าที่ให้กายกินนอนอยู่สบาย แต่จิตไม่ยึดมั่น คิดว่าร่างกายขันธ์ เป็นของเราอีก ต่อไปคิดเพียงว่าเราคือ จิต กายในกาย หรือ อาทิสมานกาย มาอาศัยบ้านเช่าที่แสนสกปรก เหม็นเบื่อนี้ชั่วคราว ร่างกายนี้แตกทำลายเมื่อไร เราจิตเราจะดีใจมาก เราจะทำความดีเพื่อไปเสวยสุขแดนที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางให้ไป คืออมตะนิพพาน

    4. มรรค คือทางเดินเข้าสู่ความบริสุทธิ์ สะอาดสว่างของจิตอาทิสมานกาย กายภายใน มรรค 8 ประการนี้ พระองค์ทรงชี้ทางปฏิบัติ แบบสบาย ๆ สายกลาง ไม่ขี้เกียจจนเกินไป ไม่ขยันจนเกินไป ไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป คือ

    1) สัมมาวาจา พูดจริง พูดไพเราะ พูดเป็นประโยชน์

    2) สัมมาวาชีโว ทำงานหาเลี้ยงชีวิตที่สุจริต

    3) สัมมากัมมันตะ ทำงานที่ดี คือ งานกำหนดลมหายใจเข้าออก ดูว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ เช่น ลมหายใจมันเป็นของมันโดยอัตโนมัติ ห้ามไม่ให้หัวใจหยุดเต้นไม่ได้ต้องตายตามเวลา
    (ปฏิบัติในขั้นสมาธิ มี 3)

    4) สัมมาวายาโม ความเพียรที่จะกำจัดกิเลสตัณหา ให้หมดไปจากจิตให้ได้

    5) สัมมาสติ ระลึกถึงความดี เห็นว่าร่างกายเป็นเพียงของปลอม ไม่ใช่ของเรา เป็นที่อาศัยชั่วคราว ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมคือทุกอย่างในโลกเป็นไตรลักษณะ ไม่ทนทาน เป็นปัญหายุ่งยากเมื่อสลายไป และอนัตตา ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ไม่มีใครควบคุมให้อยู่ตลอดไปได้

    6) สัมมาสมาธิ มีจิตตั้งมั่นอยู่ในที่ระลึกถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ทำได้ตลอด จิตไม่วุ่นวาย ผู้ที่มีสติระลึกได้ในความดีของจิต สะอาด ปราศจากความโกรธ ความโลภ ความหลง เรียกว่า ผู้ทรงฌาน คือ ผู้มีสมาธิ ตั้งแต่ ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 จนถึงฌาน 4 จะมีความฉลาดเฉลียว ทั้งทางโลกทางธรรมิ
    (ปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    7) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกาย โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นสุขจริง ความเห็นว่า มีการเกิด การตาย มีชีวิตอยู่เพราะกรรม จะหมดกรรมได้ต้องหมดกิเลส ความเห็นว่าตายแล้วไม่สูญดังที่คิด บาป กรรม บุญ มีจริง สิ่งที่สูญจริง คือขันธ์ จิตที่สะอาดแจ่มใสไปสุคติ จิตที่ชั่ว มัวหมอง ผิดศีลธรรม ไปทางนรก สัตว์ เปรต อสุรกาย มีความเห็นตรงตามพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน

    8) สัมมาสังกัปปะ ระลึกถึงพระนิพพาน พระรัตนตรัย ระลึกไม่ยึดติดในขันธ์ 5 ร่างกายเป็นทุกข์ โทษ ระลึกว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ ไม่น่ารักใคร่ ยินดี จิตไม่อาลัยทุกสิ่งในโลก

    อภิธรรมปริเฉท 9
    บทที่ 9 นี้พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง กรรมฐาน 40 และวิปัสสนา 10 ซึ่งเป็นของเลิศประเสริฐสุด ที่ท่านใดก็ตามไม่ว่าชาติ ศาสนาใดปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระพุทธชินวรในกรรมฐานอันใดอันหนึ่งในกรรมฐาน 40 นี้ พร้อมกับวิปัสสนาญาณ 10 นี้ มีความอุตสาหะวิริยะไม่เกียจคร้าน ตั้งใจไว้จริงก็จะมีบารมีแก่กล้า จะได้บรรลุธัมมาพิศมัย คือ เป็นพระอริยเจ้าขั้นอรหัตตผลถ้าบารมียังอ่อนก็จะเป็นอุปนิสัยสำเร็จมรรคผลพระนิพพานในชาติต่อไป ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกที่เต็มไปด้วยภัยอันตรายวุ่นวายทำมาหากิน มีสวรรค์ พรหม เป็นที่ไปและไปบำเพ็ญบารมีต่อ บนสวรรค์ พรหมเลื่อนระดับจิตเข้าเสวยวิมุติสุขยอดเยี่ยมตลอดกาลแดนบรมทิพย์พระนิพพาน
    กรรม คือ การกระทำสมาธิภาวนา ฐาน คือ รากฐานหรือพื้นฐานแห่งบุญบารมีเพื่อยกระดับจิตให้สะอาด
    กรรมฐาน แปลว่าพื้นฐานของการทำจิตใจให้มั่นคงมีสมาธิ ทำให้จิตที่ฟุ้งซ่าน รวมเป็นจิตที่นิ่งเฉย เพื่อรวบรวมพลังจิตที่ฟุ้งซ่านรวมเป็นจิตที่นิ่งเฉย หรือรวบรวมพลังจิตไว้ต่อสู้ฆ่ากิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชาให้หมดไปจากจิต เพื่อจิตจะได้เป็นอิสระเสรีจาก ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ จิตเป็นอิสระเสรีจากการเวียนว่ายตายเกิดพ้นจากกฎแห่งกรรม จิตสะอาดฉลาดได้เสวยสุขยอดเยี่ยมแดนทิพย์อมตะนิพพานที่องค์สมเด็จพระชินศรีศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชี้ทางกรรมฐาน 40 อย่างวิปัสสนาญาณ10 ให้เราเจริญรอยตามพระพุทธองค์ท่าน

    7. ในสมถกรรมฐาน 40 อย่างมีอะไรบ้าง
    สมถกรรมฐาน 40 อย่าง คือการฝึกจิตให้ตั้งมั่น จิตไม่วอกแวกสอดส่ายนิ่งกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดใน 40 อย่างนี้ เลือกตามใจชอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือชอบใจทุกอย่างก็ทำได้ทุกอย่างเพื่อยกระดับจิตปุถุชนเป็นจิตของอริยบุคคลในพระพุทธศาสนามีพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตตามอัธยาศัยของพุทธบริษัท มีดังนี้คือ
    กสิณ 10 อย่าง ได้แก่ 1. ปฐวีกสิณ(ดิน) 2. อาโปกสิณ(น้ำ) 3. เตโชกสิณ(ไฟ) 4. วาโยกสิณ(ลม) 5. นิลกสิณ(สีเขียว) 6. ปีตกกสิณ(สีเหลือง) 7. โลหิตกสิณ(สีแดง) 8. โอทากสิณ(สีขาว) 9. อากาสกสิณ(ลม) 10. อาโลกสิณ(แสงสว่าง)
    อนุสสติ 10 อย่าง ได้แก่ จิตที่ตามระลึกนึกถึงคุณความดี 10 อย่างทำให้จิตสะอาดเป็นจิตพระอริยได้ง่าย ๆ เป็นกรรมฐานที่เข้าถึงความเป็นอริยบุคคลได้ง่ายรวดเร็วว่องไวเป็นจิตของผู้มีศรัทธาในพระพุทธองค์

    11. พุทธานุสสติกรรมฐาน คิดถึงพระคุณความดีของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    12. ธัมมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนคือ ศีล สมาธิ พระนิพพานเป็นปัญญาพระธรรมมีมากแบ่งออกเป็นโลกียธรรมและโลกุตตรธรรม

    13. สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระคุณความดีนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาสอนพวกเราและพระอริยสงฆ์ทั้งหลายทั่วทั้งโลกมนุษย์ เทวโลก พรหมโลก ท่านมีพระคุณความดี เรานึกถึงท่านด้วยความเคารพ

    14. สีลานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจตั้งจิตไว้ว่าเราไม่ทำความชั่วโดยละเมิดศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 ข้อ ศีลเป็นรากฐานของผู้มีจิตฉลาดไม่ยอมทำบาปทั้งกายใจ

    15. จาคานุสสติกรรมฐาน นึกถึงการทำบุญให้ทานที่ทำแล้วและตั้งใจทำเพื่อสละละกิเลสออกจากจิตใจเป็นการตัดความโลภโดยง่าย

    16. เทวตานุสสติกรรมฐาน นึกถึงหิริ โอตัปปะความละอายต่อบาปมีผลให้เป็นเทวดาเป็นความดีงานของเทวดาไม่ยอมทำบาปทั้งที่ลับและที่แจ้ง

    17. มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความทรุดโทรมความเสื่อมสลายความตายของทุกอย่างในโลกเกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น ไม่ว่าตนสัตว์วัตถุสิ่งของ

    18. อุปสมานุสสติกรรมฐาน การระลึกนึกถึงคุณความดีของพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นโลกุตตรธรรมอยู่เหนือโลกเหนือบาปเหนือบุญ เหนือการเวียนว่ายตายเกิด เป็นธรรมชาติอมตะสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีธาตุ 4 ขันธ์ 5 มีจิตของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์มากมายหลานพันล้าน พระนิพพานกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีขอบเขตพรหมแดน ผู้ที่เข้าแดนทิพย์นิพพานมีอิสระเสรี จะมาโลกนี้จะไปนรกสวรรค์พรหมไม่มีใครมาห้ามได้ แต่ไม่ต้องไปเกิดอีกท่านมาด้วยจิต หรืออยู่ที่นิพพานจะดูโลกนี้ก็เห็นได้โดยง่าย โดยไม่ต้องมาเห็นได้ทั่วอนัตตจักรวาลเพราะมีตาทิพย์หูทิพย์ การระลึกถึงพระนิพพานจึงทำให้จิตสะอาด เป็นกรรมฐานของท่านผู้ฉลาดเป็นพุทธจริต ทำความดีทุกอย่างเพื่อพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดมีพระนิพพานเป็นที่ไปของจิต ขันธ์ 5 ก็แตกสลายเป็นอนัตตา จิตเป็นอมตะไปเสวยสุขอย่างยิ่งตลอดกาลไปอยู่กับองค์พระพิชิตมารศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    19. อานาปานุสสติกรรมฐาน นึกถึงลมหายใจเข้าออก กรรมฐานนี้เป็นสติสัมปะชัญญะละเอียดทำให้จิตเป็นฌาน ฌาน1-ฌาน 4 มีปัญญาสามารถตัดขันธ์ 5 ได้ง่าย ๆ ทำให้อนุสติทั้งหมดทรงตัว ทำให้กสิณคือ สิ่งที่เพ่งเป็นจิตมีพลังเป็นฌานถึงฌาน 4 ที่ พระโบราณาจารย์ที่ท่านปฏิบัติได้ผลมาแล้ว คือพระอรหัตตผล
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วท่านไม่ได้ทิ้งอานาปานุสสติ แม้ท่านจะละขันธ์ 5 เข้าพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เข้าฌาน1-2-3-4-5-6-7-8 เพื่อระงับทุกขเวทนาทางกาย จิตสบาย จิตพระองค์ท่านเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในฌาน 4 การทรงฌานทำให้เกิดปัญญาเฉียบแหลมทั้งทางโลกทางธรรม ตื่นเป็นสุขหลับสบาย วิปัสสนาญาณก็แจ่มใสเพราะปัญญาฉลาดมาก การที่จะมีอภิญญาสมาบัติก็เริ่มต้นด้วยการรู้ลมหายใจเข้าออกจนจิตชินละเอียดเป็นฌาน 1-2-3-4-5-6-7-8 ก็ฌาน 5-6-7-8 ก็คือ ฌาน 4 แต่จิตเพ่งอยู่ในสิ่งที่ไม่มีรูป คือ อากาศและวิญญาณ สัญญา เป็นต้น
    20. กายคตานุสสติกรรมฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ในพระไตรปิฎกว่า ให้พิจารณาร่างกายเป็นของมีทุกข์มีโทษแปรปรวนเจ็บป่วย หิวหนาวร้อน แถมสกปรกเหม็นเน่าตลอดเวลา ท่านให้จิตเราพิจารณาตามความเป็นจริงของขันธ์ 5 รูป+นาม คือ ร่างกายที่จิตเราได้อาศัยแท้ที่จริง ร่างกายเป็นเพียงหุ่นที่จิตเรามาอาศัยอยู่ชั่วครู่ชั่วคราว ถ้าร่างกายตาย จิตเรามีจุดหมายปลายทาง คือ พระนิพพาน ที่พระโไตรโลกนาถศาสดาชี้ให้เราเดินทางสายกลาง คือ มรรค 8 มีทาน ศีล ภาวนาเป็นผลบุญหนุนนำส่งเมืองแก้วเมืองทิพย์พระนิพพานเป็นของจริง ส่วนร่างกายเป็นของปลอมเป็นของสกปรกแตกสลายตายง่ายไม่ควรยึดติดของสมมุติเป็นของปลอมของสูญเปล่า ขณะที่ร่างกายยังไม่ตาย ดูลมหายใจจนจิตเป็นสมาธิแล้วเปลี่ยนมาดูวิจัยร่างกายเราตามความเป็นจริง จิตเราจะละทิ้งเลิกรักหลงใน ร่างกายได้ง่าย เพราะมีปัญญาดี เห็นเหตุของทุกข์ เห็นผลคือ ไม่สนใจร่างกาย ผลคือ จิตเป็นสุขจิตสะอาดท่านเรียกว่า จิตพระอริยเจ้า การพิจารณาร่างกายนี้เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณคือ เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของจิต จิตกับกายแยกกันคนละส่วน เป็นการตัดสักกายทิฏฐิและเป็นมหาสติปัฏฐานสูตร
    ข้อแรกคือ ดูกายดูแล้วเลิกละยึดติดในกาย เพราะกายเป็นของปลอมเป็นอนัตตา จิตเป็นอมตะเป็นของจริงเป็นของสะอาดบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่จะเสวยสุขยอดเยี่ยมแดนทิพย์อมตะนิพพานได้
    อสุภกรรมฐาน10
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ให้พิจารณาร่างกายเป็นซากศพ 10 รูปแบบตั้งแต่ตายวันที่ 1 จนถึงซากศพวันที่ 10 สำหรับผู้ที่มีราคะจริตรักสวยรักงามของร่างกาย ถ้าพิจารณาร่างกายเป็นซากศพจนเป็น เอกัคคตารมณ์อารมณ์นิ่งอารมณ์เดียวเป็นปกติ ก็เป็นปัจจัยเข้าถึงพระอนาคามีโดยง่ายดาย
    ให้ดูคนหรือสัตว์ตายเพราะสกปรกเหมือนกัน ตายวันที่หนึ่ง สิ้นลมปราณตัวแข็ง ธาตุไฟหมด ตัวเย็นชืด ธาตุลมหมด เหลือแต่ ธาตุน้ำกับธาตุดิน
    ตายวันที่ 2 เริ่มมีน้ำไหลออกจากรูทวารทุกรูจากร่างกายน้ำเหม็นเน่าท้องเริ่มเขียว
    ตายวันที่ 3 ซากศพบวม อ้วนพี มีกลิ่นเหม็นซากศพเหม็นตุ ๆ
    ตายวันที่ 4 - 5 น้ำอืด น้ำเหลือง มีมันจุกเนื้อหนังปริขึ้นอืดเต็มที่ สิ่งสกปรกในร่างกายไหลออกมา เพราะธาตุน้ำแยกออกจากธาตุดินในซากศพส่งกลิ่นเหม็นไปไกล
    วันที่ 6-7 ซากศพเริ่มแตกแยกเละเทะเหม็นไปทั่วทิศเหม็นเน่า
    วันที่ 7-8 มีหมู่หนอนเกิดขึ้นชอนไชกินซากศพเป็นอาหาร แมลงวันตอม
    วันที่ 8-9-10 ซากศพกระจัดกระจายเละเทะกระดูกอยู่ที่เนื้อเน่าเละเทะไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีหน้าตาเหลืออยู่แล้ว แขนขากระจาย เป็นเหยื่อของหนอนแมลง
    ท่านให้มองดูซากศพแล้วย้อนมองดูร่างกายตัวเราก็เป็นแบบนั้น ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ใหลหลง จิตจะหลุดพ้นจากความหลงในกายเรา กายเขาได้ง่าย เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณ ตอนแรกก็ใช้สัญญาความจำ ต่อไปก็ใช้ปัญญามองความเป็นจริงของชีวิตร่างกาย ก็คือ ซากศพเดินได้ พูดได้ ตายทุกวัน ตายจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่เข้าวัยชรา จากวัยชราก็วัยตายไม่เหลือหลอ
    กรรมฐานทั้ง 40 มีกสิณ 10 กับอนุสติ 10 กับอสุภกรรมฐาน 10 รวมเป็น 30 กรรมฐาน
    อีก10 กรรมฐานคือ
    พรหมวิหาร 4 กรรมฐาน

    31. เมตตา ต่อคนสัตว์ทั้งโลกมีความรักสงสารสัตว์โลกที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
    32. กรุณา หาทางช่วยตามความสามารถเท่าที่ช่วยได้

    33. มุทิตา พลอยยินดีกับผู้ได้ดี ไม่ริษยาโมทนาสาธุกับผู้ที่มีความดี ความสุข

    34. อุเบกขา จิตวางเฉยถ้าช่วยเขาไม่ได้ ถ้าวางเฉยในความสุข ทุกข์ของขันธ์ 5 เป็นจิตของพระอรหันต์
    อรูปฌาน 4 กรรมฐาน คือ มีสมาธิทรงฌานทางไม่มีรูปอีก 4 อย่าง ได้แก่

    35. อากาสานัญจายตนะ ท่านที่ภาวนาจิตถึงฌาน 4 แล้วเป็นรูปฌาน จิตจับภาพกสิณใดกสิณหนึ่ง จะเป็นรูปพระพุทธรูป เป็นกสิณก็ได้ ถ้าพระพุทธรูปเป็นแก้วใสเรียก อาโลกสิณในพุทธานุสสติกรรมฐาน ควบกัน 2 กรรมฐาน จนจิตเข้าถึงฌาน 4 เป็นรูปฌาน ท่านจะเข้าอรูปฌานก็ให้ภาพกสิณหายไปไม่สนใจแล้วจิตจับอรูปเข้าแทน คือ พิจารณาอากาศไม่มีรูป เวิ้ง ว้าง ว่างเปล่า ไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตเราก็เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น จิตพิจารณาอากาศแบบนี้ในฌาน 4 ท่านถือว่าเป็นอรูปฌานที่ 5 เป็นกรรมฐานไม่ต้องการรูป เพราะมีรูปถึงมีทุกข์ ร่างกายเรามีรูปจึงมีทุกข์เวทนาท่านก็จับพิจารณาร่างกายให้หายไปเหลือแต่อากาศ

    36. วิญญาณัญจายตนะ จากฌานที่ 5 ในอากาศท่านให้ทิ้งอากาศออกไปจากจิต พิจารณาวิญญาณในขันธ์ 5 แทนอากาศ จิตยังคงไว้ฌาน 4 แล้วจิตมาดูวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้ร่างกายตายเป็นผียังมีความรู้สึกทางวิญญาณ สุข ๆทุกข์ ๆ เพราะมีประสาทวิญญาณรับสัมผัสและถ้าจิตยังติดอยู่ในวิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส ทางกาย อารมณ์ ใจที่ชอบไม่ชอบนั้นมีสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่สิ้นสุดเพียงใด เวิ้งว้างว่างเปล่าเหมือนวิญญาณ หาจุดเริ่มต้นจุดที่สิ้นสุดไม่ได้ จิตเราก็เวียนว่ายตายเกิดตามวิญญาณของคนของสัตว์เป็นผี เป็นผีเทวดา เป็นผีพรหม ถึงแม้จะเป็นกายพรหม กายเทพ เป็นวิญญาณมีความสุขมากแต่ก็ไม่ถาวรตลอดกาล คิดแบบนี้ท่านว่าได้ อรูปฌาน 6
    ถ้าเป็นพระอริยเจ้าได้อรูปฌาน 6 ท่านเรียกว่าได้ สมาบัติ 6 ถ้าเป็นฌานโลกีย์ ยังไม่เป็นอริยบุคคลท่านเรียกว่า โลกีย์ฌาน 6 ตายแล้วก็ไปเกิดในอรูปพรหม แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้าได้สมาบัติ ก็เข้าพระนิพพานได้ง่าย เพราะมีปัญญาเข้าใจแล้วว่าอรูปพรหมไม่ใช่แดนทิพย์ถาวรและไม่ใช่สุขยอดเยี่ยมเช่นพระนิพพาน

    37. อากิญจัญญายตนะ ท่านเปลี่ยนจากการพิจารณาวิญญาณยังไม่สิ้นสุดของความทุกข์ มาเป็นพิจารณาเห็นว่าโลกนี้ทั่วอนันตจักรวาลสูญสลายตายหมดเป็นอนัตตาแตกสลายพังทั้งสิ้นไม่ว่า คน สัตว์ วัตถุ ไม่มีอะไรเหลือสูญสลายหมด มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเหลือแต่ว่างเปล่า ถึงแม้มีคน สัตว์ วัตถุ ก็มีเพียงชั่วครู่ชั่วคราวมิช้ามินานก็สูญสลายตายกันหมด เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณจิตทรงฌาน 4 อยู่แบบนี้มองไปในโลกมีแต่ความว่างเปล่าไม่มีอะไรเหลือ เรียกว่า ท่านทรงอรูปฌานที่ 7 คือ อากิญจัญญายตนะ จิตเป็นสุขแต่ยังไม่จบกิจทางพระพุทธศาสนา

    38. เนวสัญญานาสัญญายตนะ จิตยังคงทรงฌาน 4 หรือ อรูปฌานที่ 7 แล้วเปลี่ยนจากการพิจารณาความไม่มีอะไรเหลือแม้แต่น้อยนิด แต่อารมณ์ยังไม่หมดทุกข์เพราะมีความจำได้หมายรู้ จำชื่อ จำคนรัก จำทรัพย์สมบัติ จิตยังหนักอยู่ ท่านจึงพยายามตัดสัญญาความจำออกไปโดยการที่จิตทำเฉย ๆ ทำเหมือนไม่มีความจำ ทำให้ลืมจากขันธ์ 5 เขาขันธ์ 5 เรา ไม่มีตัวไม่มีตน จิตแบบนี้คล้ายจิตของพระอรหันต์เพราะเป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนาญาณ จิตมีความสุขมาก พระพุทธองค์ท่านสอนไม่ให้ติดความสุขในฌานสมาบัติ 5-6-7-8 เป็นเพียงบันไดของจิตเพื่อให้มีปัญญาชาญฉลาดเข้าถึงพระอรหัตตผล ด้วย สมาธิวิมุตติ สายปฏิสัมภิทาญาณ ไม่สนใจตัวเราตัวเขา ทำจิตทรงในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะ ถ้ายังมีความจำได้หมายรู้ ก็ยังมีการยึดมั่นถือมั่น จิตยังไม่เบาจริง ยังหนักด้วยการจำ ท่านทรงฌาน ทำเป็นไม่จำไม่สนใจ คือ ฌานในอรูป 8 สมาบัติ 8 ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    39. อาหารเรปฏิกูลสัญญากรรมฐาน
    พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาอาหารที่คนเราติดในรสอร่อยของอาหารทำให้อยากเกิดมากินอาหารอร่อย ๆ ถูกใจจิตก็ยึดติดในรูปรสกลิ่นเสียง ทำให้ตกอยู่ในทะเลทุกข์เป็นคนสัตว์เวียนไปเวียนมา เพราะติดใจในรสอาหาร พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาอาหาร ก่อนฉันก่อนกินว่ามาจากซากศพสัตว์สกปรก ซากพืชก็เน่าเหม็นสกปรก ร่างกายอยู่ได้ด้วยของสกปรกร่างกายก็ยิ่งสกปรกมากเป็นกรรมฐานเหมาะสำหรับผู้ฉลาดเป็นพุทธจริต ชอบคิด ชอบรู้ พระองค์ท่านก็ให้รู้ของจริง คือ อาหารไม่น่าติดใจหลงใหล เพราะเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ไม่ถึงพระนิพพาน เพียงแต่กินระงับความหิว รู้ว่าอร่อยแต่ไม่ถือว่าเป็นของที่ทำให้จิตเป็นสุข ถ้าติดในรสจิตก็ติดในโลกไม่มีทางพ้นทุกข์ได้ การกินอาหารเจไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์ แต่ต้องกินแบบไม่ติดในรสอาหาร ให้พิจารณาเป็นของสกปรกบำรุงร่างกายสกปรก จิตจึงจะสลัดละความหลงติดในรสอาหารได้ ถ้าไม่หลงกาย ก็ไม่หลงในรสอาหาร อร่อยกินเพื่อระงับ
    ความหิว

    40. จตุธาตุววัฏฐาน 4
    กรรมฐานบทนี้เหมาะสำหรับคนฉลาด นิสัยชอบค้นคว้า อยากรู้อยากเห็นคนมาจากไหน ตายแล้วไปไหนเป็นพุทธจริต เป็นกรรมฐานพิจารณาค้นคว้า วิจัยคนสัตว์ตามความเป็นจริง คือ ร่างกายคนมี ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลมหรืออากาศมีแก๊สออกซิเจน ไนโตรเจร คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนประกอบกันเป็นนิวเครียสเซลล์เนื้อหนังมังส่ กระดูกของแข็งเป็นธาตุดิน น้ำ ก็มาจากธาตุโฮโดรเจนกับออกซิเจนผสมกัน ธาตุไฟคือ ความอบอุ่นในร่างกายเกิดจาก การเผาผลาญอาหารที่เรากิน เป็นพลังงานกับความอบอุ่น ทำให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ ถ้าเราไม่เติมอากาศออกซิเจน ไม่เติมน้ำ อาหารให้ร่างกายตลอดวัน ร่างกายก็ตายทันที
    ดังนั้นร่างกายนี้เป็นภาระอันหนักจิตเราผู้อาศัยต้องหาน้ำ อาหาร อากาศเติมให้ร่างตลอดเวลา สกปรกเหม็นเน่าต้องชำระล้างไม่ได้หยุด พิจารณาไปจนเห็นว่า กายเป็นของธรรมชาติเป็นของโลกอยู่ใต้กฎของธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น แล้วก็สลายตัวทุกสิ่งทุกอย่าง จิตเราไม่สลายตามร่างกายจึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปหลงรักรูปที่เป็นเพียงภาพมายา เป็นของปลอมของชั่วคราว จิตเราควรก้าวไปหาของจริงคือ พระนิพพาน เป็นของจริงไม่สูญสลาย ตามที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เราหาทางพ้นทุกข์ คือ อย่าติดในของปลอม คือร่างกายเพราะทำให้ผิดหวัง
    ในกรรมฐานทั้ง 40 แบบนี้ แบบที่ยากที่สุดเพราะละเอียดที่สุดคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่คลุมกรรมฐานทั้ง 40 แบบ เวลาปฏิบัติท่านให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบทุกกรรมฐานทั้ง 40 แบบ คือ การภาวนา ถ้าธัมมานุสสติก็จับภาพพระธรรมเป็นดอกมะลิแก้วใสแพรวพราวไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์พระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สำหรับอุปสมานุสสติกรรมฐาน คือ จับภาพพระนิพพาน ผู้ที่ฝึกมโนมยิทธิจิตจะเห็นภาพพระนิพพาน ภาพพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเบื้องบนพระนิพพาน ยกจิตไปฝากไว้กับองค์พระพิชิตมารไว้ตลอดเวลาจิตเบามีความสุขเป็นจิตนิพพานไม่มีกิเลสเกาะรบกวน
    ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกมโนมยิทธิ ท่านก็ให้เอาจิตจับภาพพระพุทธรูปแทนก็ได้ ท่านที่เข้าถึงพระนิพพานองค์แรก คือ พระพุทธเจ้า ก็จับภาพพระพุทธรูปแล้วภาวนาว่า นิพพานสุขัง จนจิตเป็นฌาน 4 จะมีปัญญาตัดกิเลสได้ทั้งหมด ได้กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 ร่วมกับวิปัสสนาญาณ คือ ทุกคนในโลกนี้ ไม่มีใครเป็นสุขจริง มีแต่ความแปรปรวน ทุกอย่างสูญสลายไม่ว่านรกโลก เทวโลก พรหมโลก ก็เป็นพระอรหันต์จบกิจในพระพุทธศาสนาได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องฝึกทั้ง 40 กรรมฐาน
    การฝึกให้จิตมั่นคงในคำภาวนาจะพุทโธ สัมมา อรหัง นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ เป็นการนึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าดีทุกอย่าง ทำให้เราเป็นผู้ชนะทุกอย่าง เพราะพลังบุญบารมีเป็นมหากุศล มีพลังจิตบวกกับพลังพระพุทธานุภาพเพื่อเอาชนะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
    คุณประโยชน์ของการฝึกกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 นั้นมีมากมายมหาศาล คือ มีความสุขกายสุขใจ ซึ่งแม้จะร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีก็ไม่มีความสุขเท่า การมีจิตมั่นคงในการภาวนา ร่างกายไม่มีโรคภัยเบียดเบียน มีสติปัญญาชาญฉลาดทั้งทางโลกทางธรรม มีคนเคารพนับถือ มีคนเมตตา มีจิตใจร่าเริงเบิกบานเพราะไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจใดๆ รบกวนจิตใจของท่านที่มีสมถะภาวนา เป็นการตัดภพตัดชาติ ตัดการเวียนว่ายตายเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง หลุดหายไปด้วย เจโตวิมุติ หลุดพ้นทุกข์ด้วยสมาธิภาวนา จิตเข้าถึงอริยมรรคอริยผลได้รวดเร็ว มีความร่ำรวยทางธรรมมีความร่ำรวยทางโลก มีลาภ ยศ สรรเสริญ เจริญสุข มีพระนิพพานในจิตใจ ความทุกข์จากการเกิดแก่เจ็บตายไม่รบกวนจิตใจ ตายจากความเป็นคน จิตท่านที่เจริญพระกรรมฐานก็เข้าเสวยสุขเบื้องบนพระนิพพานตลอดกาลนาน

    วิสุทธิ 7 ประการ
    วิสุทธิ 7 ประการ คือ จิตจะถึงความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมมี 7 อย่าง คือ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพได้ด้วยความบริสุทธิ์ 7 ประการ

    1. สีลวิสุทธิ คือ ไม่ละเมิดศีล 5 ศีล 8 หรือ ศีล 227 ข้อ ตามกำลังของท่าน

    2. จิตตวิสุทธิ จิตจะสะอาดได้ก็กำจัดกิเลสร้ายคือ นิวรณ์ 5 ได้เด็ดขาด

    3. ทิฏฐิวิสุทธิ คือ มีจิตเข้าใจมีความคิดเห็นตรง ไม่ขัดแย้งกับพระธรรมคำสอน

    ของพระพุทธเจ้า ความเห็นที่ว่าตายแล้วจิตสูญตามขันธ์ 5 หรือพระนิพพานเป็นอนัตตา เป็นความเห็นผิดไม่ตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระองค์ว่า นิพพานนังปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าจิตสูญสลายตามขันธ์ 5 นิพพานเป็นอนัตตาแล้วไซร้ จะเอาอะไรไปเป็นสุขอย่างยิ่งเล่า โลกนี้เป็นทุกข์เพราะ เป็นอนัตตา พระนิพพานเป็นสุข เพราะพระนิพพานไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่ตัวตน คือ อมตะธรรมชาติที่วิเศษยิ่ง ไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีขันธ์ทิพย์แห่งกายเทพกายพรหม ไม่มีอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปบุญกรรม ตามไม่ถึงอิสระเสรีตลอดกาล

    4. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ จิตจะบริสุทธิ์ ผุดผ่องสะอาดได้ด้วยหมดความสงสัยกังขาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์สวัสดิโสภาคย์ ที่พระองค์ท่านมีเมตตาต่อปวงชน สั่งสอนเทวดา พรหม คน สัตว์ ชี้แนะแนวทางแสงสว่างของชีวิตคือ พระนิพพาน ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระพุทธรูป (องค์แทนพระพุทธเจ้า) ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเข้าใจในพระธรรม คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ผู้นั้นเห็นองค์พระตถาคต ผู้ใดเห็นพระตถาคตผู้นั้นเห็นเข้าใจพระนิพพาน อยู่ในจิตในใจของทุกท่านเอง คือ จิตหลุดพ้นจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน อกุศลกรรมทำชั่วไม่มี

    5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นไปของจิต คือ ถ้าจิตใจยังผูกพันในอวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของชีวิต มีกิเลส โลภ โกรธ หลง มีตัณหาความอยาก มีบาปกรรมชั่ว ติดในรสอาหาร ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน ผีเปรต คน เทวดา พรหม เวียนเกิดเวียนตายไม่มีวันหยุดยั้งจนกว่าจะจบกิจ มีจิตสะอาดเข้าพระนิพพานได้

    6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ จิตสะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน ได้ด้วยการรู้ฉลาดเข้าใจตามความเป็นจริงของโลก ของร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษ เพราะแปรปรวนเสื่อมสลาย มีแต่ของสกปรก น่ารังเกียจเป็นของสมมุติ เป็นของปลอม เป็นภาพมายา หลอกหลอนให้จิตหลงตลอดเวลา เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความวางเฉยเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลก ของขันธ์ 5 ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ยินดียินร้ายกับขันธ์ 5 คือ มี วิปัสสนาญาณ 10 อย่างนั่นเอง เป็นหนทางที่จะทำให้จิตสะอาดเป็นพระอรหัตตผลขีณาสพเจ้ามีจิตพระนิพพานพ้นจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้ยังไม่ตายจิตก็เป็นสุขเลิศล้ำ ทั้ง ๆ ที่ร่างกายยังเจ็บป่วยทุกข์ทรมานตามธรรมชาติของโลก จิตท่านไม่เกาะเกี่ยวกับความทุกข์ในขันธ์ 5 อีกต่อไป

    7. ญาณทัสสนวิสุทธิ จิตสะอาดบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากพลังของญาณของสมาธิภาวนา พ้นจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชาด้วยปัญญาที่เข้าฌาน 1-2-3-4 เป็นอัปปนาสมาธิกำลังแก่กล้า สำเร็จกิจตัดกิเลส อย่างอยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเป็นพระอรหันต์ พระอริยบุคคลที่สูงสุดในพระศาสนาเรียกว่า สมาธิวิมุตติ สำเร็จกิจด้วยกำลังของฌานสมาบัติเป็นปัญญารู้รอบวิปัสสนาญาณ ตามความเป็นจริง
    หัวใจของการเจริญพระกรรมฐาน

    1. จุดประสงค์ขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ สอนพระกรรมฐานเพื่อให้พุทธบริษัทมีจิตเข้าถึงอริยมรรค คือ พระโสดาปฏิมรรค เป็นอย่างน้อยและถึงอริยผลคือพระอรหัตผลพ้นจากความทุกเวียนว่ายตายเกิด

    2. เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาดด้วยการกำจัดนิวรณ์ 5 ตัวที่ทำให้จิตสกปรกมี
    กามราคะ หลงรักรูปสวยงาม เสียงกลิ่นรสสัมผัสนึกว่าเป็นของดี ที่จริงของสกปรกของอนัตตาทั้งสิ้น
    ปฏิฆะ ความไม่พอใจไม่ชอบใจ ทำให้จิตเป็นทุกข์ไม่แจ่มใส เพราะความโกรธ ความพยาบาท น้อยใจหรืองอนก็คือความโกรธ
    ความง่วงเหงาหาวนอน เวลาปฏิบัติธรรมทำความดี กิเลส ขี้เกียจ เข้ามาขวางทางให้ไปนอนอ้างไปทำอย่างอื่นหรือดูทีวีบ้าง
    อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ จิตซ่านไปทั่วจิตใจ ไม่ยอมอยู่นิ่งๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสังขารมารหรือ ขันธ์ 5 มาร จิตฟุ้งซ่านนอกเรื่อง พระองค์ให้ปราบจิตพยศฟุ้งซ่านด้วยให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสีย ให้จิตตามลมหายใจเข้าออกนับ1-10 ดูลมกระทบจมูก-กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ คือ กระบังลม ยกปอดขึ้น ยกปอดลง ถ้าจิตยอมอยู่กับลมหายใจได้เล็กน้อย 5-10 นาที โดยไม่คิดเรื่องอื่น ท่านเรียกว่า จิตอยู่ในฌานมีอารมณ์ดิ่งมั่นคงดีชนะกิเลสฟุ้งซ่าน
    นิวรณ์กิเลสที่กวนใจไม่ให้เข้าถึงความดี ตัวที่ 5 คือ วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจในพระธรรม คำสั่งสอนของพระภูมิพระภาคเจ้า ไม่มั่นใจในการปฏิบัติของตนว่า จะได้ผลตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนหรือไม่ ตัดความสงสัยด้วยการพิจารณาโลกนี้ เป็นทุกข์ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนหรือไม่ ถ้าร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษสกปรกจริง บาปบุญมีจริงตายแล้วไม่สูญหายยังมีนรก สวรรค์ พรหม พระนิพพาน มีผลไปตามบุญตามบาปจริง เราศรัทธาในพระปัญญาในพระเมตตาคุณ ในพระวิสุทธิคุณว่าพระพุทธองค์บริสุทธิ์จริง เรารักเคารพศรัทธา พระพุทธองค์ผู้ล้ำเลิศประเสริฐจริง เราก็เลิกหายสงสัย ผู้ที่มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยไม่คลอนแคลน คือ คุณสมบัติของพระโสดาบัน นอกจากมีศีล 5 ครบ เคารพพระรัตนตรัยด้วยใจจริงแท้ และมีพระนิพพานเป็นยอดปรารถนาของการเกิดเป็นคนก็เป็นผู้ครบพร้อมด้วยลักษณะของพระโสดาบัน เห็นความตายไม่กลัวตายเพราะจิตมีพระนิพพานเป็นที่ไป เป็นของง่ายไม่ต้องนั่งหลับตา อยู่ที่จิตตั้งมั่นเป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนาญาณ

    3. หัวใจหรืออุบายที่จะเข้าถึงมรรคผล คือ ไม่เคร่ง ไม่หย่อนขี้เกียจหรือขยัน จนเกินไป ทั้งเวลาทำสมาธิพิจารณาวิปัสสนาญาณ อย่าทรมานร่างกาย จิตใจจนเกินไป กายอยากนอน อยากกิน อยากหลับ ก็ปล่อยไปตามความสบายของร่างกาย จิตใจอยากคิกก็ให้มันคิดในด้านความเป็นจริง ใจอยากนิ่ง ๆ ไม่อยากคิดก็ให้ดูลมหายใจ ที่ถูกต้องทำจิตทำใจให้วางเฉยต่อความทุกข์ความสุขในโลก จิตใจปลอดโปร่งสบาย เป็นทางสายกลาง การที่จิตเราไม่ไปยุ่งวุ่นวาย
    อภิธรรมหมวดที่ 7 คือโพธิปักขิยะสังคหะ
    พระอภิธรรมอย่างย่อทั้ง 9 บท มี 9 อย่างคือ
    คือต้นเหตุ 4 อย่างที่นำจิตให้ไปเกิดภพที่เป็นความทุกข์ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และคนมีวิบากกรรมสาหัส เหตุทั้ง 4 คือ (1) อวิชชา (2) กิเลสสังโยชน์ 10 อย่าง (3) ตัณหาความอยาก (4) อุปาทาน
    ทำให้ทำบาปกรรมผิดศีล 5 ข้อ เป็นเหตุให้ไปเกิดในแดนนรก มีความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
    โพธิปักขิยะสังคหะ คือ ธรรมะที่เป็นกุศล ปฎิบัติตามแล้วยกระดับจิตให้สะอาดสดใสเบิกบานเป็นอริยบุคคลมีพระนิพพานเป็นจุดหมายเป็นปรมัตถธรรมหรือโลกุตตรธรรม
    โพธิปักขิยะ 37 อย่างเป็นธรรมะที่ยกระดับจิตเป็นพระอริยเจ้าเข้าถึงพระนิพพาน คือ ความสุขยอดเยี่ยมตลอดกาลแบ่งเป็น 7 ข้อ คือ


    (1)มหาสติปัฏฐาน 4 คือ
    (1.1) กายานุปัสสนา จิตดูร่างกายสกปรกมีภาระหนักต้องดูแลรักษาแล้ว กายก็เจ็บทรมานตายเป็นอสุภะซากศพ มีจิตรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกเพื่อทำจิตให้มั่นคงเป็นสมาธิเพื่อเอาชนะกิเลส เอาจิตไม่สนใจร่างกายมีความฉลาดรอบรู้ว่ากายไม่ดีไม่น่าหลงใหล ร่างกายเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง

    (1.2) เวทนานุปัสสนา จิตพิจารณาดูความรู้สึกของกายของอารมณ์สุขหรือทุกข์ดูแล้วก็ละทิ้งเวทนาเพราะไม่แน่ไม่นอนไม่ใช่ของจริง

    (1.3) จิตตานุปัสสนา เอาจิตเรานี่ดูอารมณ์ใจในขันธ์ 5 ตนเองว่า อารมณ์ใจคิดดี คิดชั่ว คิดฉลาดหรือไม่ ฉลาดคือ คิดตามความเป็นจริงว่า ทุกอย่างในโลกสูญสลายไม่ยืนยงตายหมด ถ้าจิตคิดชั่ว ก็ตัดออกไปเลิกคิด ทำจิตให้หลุดพ้นจากขันธ์ทั้ง 5 อารมณ์ใจในขันธ์ 5 นั้นไม่ใช่อันเดียวกับจิต ไม่ควรยึดถือเอาเป็นของเรา ใจอันนี้เป็นส่วนหนึ่งของอายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ควรปล่อยวางไม่ให้มาวุ่นวายกับจิต

    (1.4) ธัมมานุปัสสนา จิตพิจารณาธรรม เพื่อ
    - ป้องกันมิให้นิวรณ์มารบกวนจิต
    - พิจารณาขันธ์ 5 ไม่ใช่ของจิต
    - อายตนะ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่ของจิตเป็นเพียงวิญญาณอายตนะ 6

    (2) โพชฌงค์ 7 ทำจิตให้มีโพชฌงค์ 7 อยู่ประจำใจเพื่อช่วยยกระดับจิตเป็นจิตพุทธะ คือ มีสติระลึกไว้ ธัมมวิจยะเลือกไตร่ตรองธรรมะที่ชอบที่ถูก วิริยะ เพียรพยายามระงับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ ปิติอิ่มเอมใจในการทำความดี ปัสสาธิ จิตสงบจากกิเลสตัณหาอุปาทานจิต ไม่วุ่นวายกับขันธ์ 5
    สมาธิ จิตตั้งมั่นในอารมณ์ที่เป็นกุศลฉลาด มีสมาธิในกรรมฐาน 40 หรือมหาสติปัฏฐานสูตร
    อุเบกขา มีจิตวางเฉยในความทุกข์สุขทางโลกเห็นเป็นของธรรมดาหมดความยึดติดในสามโลก

    (3) อริยมรรค 8 อย่าง คือ ทางเดินของจิตเป็นทางเดินเข้าพระนิพพานที่ทำให้เป็นจิตอริยเจ้า พระอริยสาวกมี 8 ขั้น คือ
    1. พระโสดาบันปัตติมรรค
    2. พระโสดาบันปัตติผล
    3. พระสกิทาคามีมรรค
    4. พระสกิทาคามีผล
    5. พระอนาคามีมรรค
    6. พระอนาคามีผล
    7. พระอรหัตตมรรค
    8. พระอรหัตตผล

    ปัญญา = สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกะปะ มีความคิดเห็นถูกต้องในพระนิพพานกับจิต
    ศีล = สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีโว พูดดีทำดี เลี้ยงชีพดี
    สมาธิ = สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตพยายามตั้งใจมั่นในความดีในกรรมฐาน 40 ในมหาสติปัฏฐานสูตรอย่างใดอย่างหนึ่งดีทั้งนั้น
    (4) พละ 5 มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง 5 นี้เป็นพลังที่จะทำให้จิตสะอาดเข้าถึงอริยธรรมได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อความหลุดพ้นคือ พระนิพพาน
    (5) อินทรีย์ 5 อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ที่จะทำให้จิตบรรลุเป็นจิตพระอริยเจ้า มี 5 อย่างดังนี้ ศรัทธาอินทรีย์ วิริยอินทรีย์ สติอินทรีย์ สมาธิอินทรีย์ ปัญญาอินทรีย์
    (6) อิทธิบาท 4 คือ ทางปฏิบัติที่จะทำให้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าเข้าพระนิพพานได้ง่าย ๆ รวดเร็ว ปรารถนาอะไรก็ประสบความสำเร็จรวดเร็วได้ง่าย ทั้งทางโลกทางธรรม ทั้งอิทธิฤทธิ์ก็ได้ทุกอย่าง มี 4 อย่างคือ
    ฉันทะ มีความพอใจที่จะประพฤติธรรม
    วิริยะ มีความเพียรไม่ท้อถอยที่จะเอาชนะสังโยชน์ 10
    จิตตะ มีจิตมุ่งมั่นไม่วางวายที่จะสลัดละทิ้งขันธ์ 5 ออกจากจิตเพื่อจิตจะได้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด
    วิมังสา ใช้ปัญญาไตร่ตรองว่าทำถูกหรือไม่ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    อิทธิบาท นี้ถ้าทำได้ครบจะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะสำเร็จอภิญญา 6 ก็ได้ จะอธิษฐานอยู่นาน ๆ กี่ปีก็ได้

    (7) สัมมัปปธาน คือมีความขยันหมั่นเพียรที่จะเอาชนะกิเลสมี 4 ประการ คือ (1) เพียรละบาปอกุศลความชั่วในจิต (2) ความเพียรไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น (3) ความเพียรให้มีกุศลธรรมตั้งไว้ในจิต (4) ความเพียรเอากุศลธรรมในจิตที่มีแล้วให้มีมาก ๆ นาน ๆ ตลอดเวลา


    ธรรมะข้อปฏิจจสมุปบาทนั้นทำอย่างไรจะเข้าใจได้ง่าย ๆ
    ธรรมะข้อปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงถึงสาเหตุของการเกิดคือ ความอยากเกิดอยากมี อยากได้ มีความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนดี คิดว่าโลกน่าอยู่ สวรรค์ พรหม หน้าอยู่ เป็นสุขดี มีผล คือ ความทุกข์จากการเกิดมีขันธ์ 5 ก็มี แก่ เจ็บ ความผิดหวัง เศร้าโศก เจ็บปวดทรมาน แล้วก็ตาย แล้วก็เวียนไปเวียนมาไม่รู้จักจบจักสิ้น เปรียบเหมือนร่องรอยของยางรถยนต์ที่หมุนไปมาหาที่เกิดหาที่หยุดไม่ได้ แรกเริ่มก็มีจิตที่ประภัสสรสะอาดสดใสมาก่อน แต่ไม่ค่อยจะฉลาดนัก ผ่านมาเห็นโลกก็เข้าใจผิดคิดว่าโลกนี้น่าอยู่ ความเข้าใจผิดคิดว่า โลกนี้น่าอยู่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านเรียกว่า อวิชชา
    จิตที่มีอวิชชานั้นก็มีความคิดดีคิดชั่วคิดผิด ๆ ถูก ๆ เรียกว่า สังขาร อารมณ์ความคิดผิด ๆ ถูก ๆ สังขารมี จึงเกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ต่าง ๆนานา เรียกว่าจิตนั้นมีปฏิสนธิวิญญาณทำให้เข้ามาอยู่ในวงกลมวัฏฏสงสาร หรือจิตเข้าไปเกิดเป็นตัวคนสัตว์
    ปฏิสนธิวิญญาณของจิตทำให้เกิด เป็นคนหรือสัตว์ตามบุญตามบาปมีรูปร่างกายและนาม คือ มีขันธ์ 5 คือ
    กาย เวทนา(ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (ความรู้สึกทางระบบประสาท)
    พอมีขันธ์ 5 ทั้งรูปกายที่มองเห็นและนามอีก 4 อย่างคือ ความคิดปรุงแต่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ ความจำและวิญญาณ ระบบประสาททางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมองไม่เห็นแต่ซ่อนอยู่ในกายคนสัตว์ทุกคน นามทั้ง 4 อย่างนี้ชาวพุทธทุกท่านโปรดเข้าใจว่าเป็นส่วนเดียวกับร่างกาย ไม่ใช่ของจิตพุทธะแรกเริ่มก่อนเกิดไม่เอาไปปนกันกับขันธ์ 5 ที่เป็นของชั่วคราว ของสมมุติ ของอนัตตาบังคับไว้ไม่ให้ตายไม่ได้ ถ้าเอาไปปนกันแล้วยุ่ง ทำให้เข้าใจผิดไม่เข้าใจอภิธรรมกันมากก็เพราะ เอาจิตไปปนกับวิญญาณในขันธ์ 5 คิดว่าเป็นตัวเดียวกัน
    จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่ตาย วิญญาณคือ ระบบประสาททุกส่วนในร่างกายคน สัตว์ มีตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น ตายไปกับร่างกายเป็นอนัตตา
    พอมีรูปกาย ก็มีอายตนะ คือ ตา หู จมูก สิ้น สัมผัส ประสาทกาย ใจ คือ ความรู้สึกทางกายทั้งหมด ใจอันนี้เป็นอารมณ์ใจของขันธ์ 5 ไม่ใช่จิตแรกเริ่มที่ประภัสสรสะอาดมาแต่ก่อน แต่มามัวหมองเพราะความเข้าใจผิดคิดว่าโลกนี้น่าอยู่ ความเข้าใจผิดนี้คือ อวิชชา ก็วกกลับมาถึงสาเหตุแรกเริ่มของการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวงกลมอย่างนี้ วงกลมเกิด ๆ ตาย ๆสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่มีวันจบสิ้น องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ชื่อว่า ปฏิจสมุปบาท

    พระอริยบุคคล
    1. พระโสดาบันปฏิมรรค ตัดกิเลส 3 ตัวแรกในสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้ คือ

    (1) ตัดสักกายทิฏฐิได้เบา ๆ คือ ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น ชอบในการทำบุญทำทาน ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง แต่ไม่ลืมนึกถึงความตาย ไม่ประมาทในชีวิต

    (2) ตัดกิเลสวิจิกิจฉา ความสงสัยในพระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีจิตมั่นคงในพระนิพพาน ไม่ต้องการเกิดอีก

    (3) ตัดกิเลสสีลัพพัตตปรามาส ไม่ลูบคลำศีล คือมีความจริงใจไม่ทำลายศีล ไม่นิยมหลงใหลไปกับพิธีรีตองตามชาวโลก เพราะท่านมีปัญญา

    2. เป็นพระโสดาบันปฏิผล ได้เพราะมีคุณธรรมทั้ง 3 นี้มั่นคงถ้าจะเกิดเป็นคนอย่างมาก 7 ชาติ อย่างน้อย 1 ชาติไปนิพพาน

    3. พระสกิทาคามีมรรค

    4. พระสกิทาคามีผล ท่านมีคุณธรรม 3 ประการเหมือนพระโสดาบัน แต่มี

    จิตละเอียดขึ้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง น้อยลง
    พระสกิทาคามี มีกรรมบท 10 ครบถ้วน คือ ไม่ละเมิดกรรมบท 10 อย่าง รวมกับมีศีล 5 บริสุทธิ์ครบถ้วน กรรมบถ 10 เป็นทางป้องกันการเกิดในอบายภูมิ คือ

    (1) ทางกาย คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มของมึนเมา

    (2) ทางวาจา คือ ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

    (3) ทางใจ คือ ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินสมบัติใด ๆของผู้อื่น ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่เห็นผิดจากคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นถูกตามความเป็นจริงว่า พระนิพพานมีจริง ไม่สูญ มีความสุขยอดเยี่ยมตลอดกาล 5. พระอนาคามีมรรค

    6.พระอนาคามีผล ท่านมีปัญญาชาญฉลาดสามารถตัดกิเลส 5 ข้อแรกในสังโยชน์ 10 ได้ คือ มีคุณสมบัติ 3 ข้อเหมือนพระโสดาบัน พระสกิทาคามี เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ

    (1) สามารถละกามราคะ กิเลสกามในความรักหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย สุขทางกายได้

    (2) สามารถละความไม่พอใจ ปฏิฆะ ความโกรธ ได้ มีจิตเมตตาปราณี ชาวบ้านที่มีจิตเข้าถึงอนาคามีผล ยังอยู่ทำงาน ทำหน้าที่พ่อบ้าน แม่เรือนครบ แต่จิตไม่หมกมุ่นในกามราคะ มีสมาธิจิตทรงในฌาน 4 มีปัญญาเห็นโทษทุกข์ของร่างกาย ถ้าตาย ตอนจิตเป็นพระอนาคามีผลก็เข้าถึงพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ไม่มาเกิดเป็นคน บำเพ็ญจิตในชั้นพรหมเข้าพระนิพพาน จิตเป็นสุขยอดเยี่ยมไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกทั้ง 3 อีกต่อไป

    7. พระอรหัตตมรรค

    8.พระอรหันตผล ท่านมีจิตฉลาดสะอาดสามารถกำจัดอวิชชา ตัณหา กิเลสสังโยชน์ 10 ได้ทั้งหมด อุปาทานในขันธ์ 5 ไม่มี เพิ่มจากคุณลักษณะของพระอนาคามี พระอรหันต์สามรถกำจัดกิเลสละเอียดอีก 5 ตัวในสังโยชน์ 10 ข้อ สุดท้ายได้ดังนี้

    (1) รูปฌาน ท่านเข้าฌาน 1 ถึงฌาน 4 ได้ แต่มีจิตฉลาดไม่ติดในฌาน ไม่คิดว่าฌาน1 ถึงฌาน 4 เป็นของเลิศประเสริฐเป็นแต่เพียงให้จิตสงบตั้งมั่นมีกำลังแก่กล้า

    (2) อรูปฌาน จิตละเอียดฌานละเอียดตัดนามในขันธ์ 5 ได้ คือ กำจัด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณประสาทตาหูจมูกสิ้น กาย อารมณ์ใจออกจากจิตทั้งหมด เห็นว่าอรูปฌานยังไม่ใช่ของเลิศเป็นเพียงบันไดไต่ขึ้นเข้าใจมีปัญญาเพื่อพระนิพพาน ถ้ายังติดในอรูปฌานก็ต้องไปเกิดในอรูปพรหม ยังไม่พ้นทุกข์จริง

    (3) มานะ พระอรหันต์ตัดกิเลสที่เห็นว่าตัวเราดีกว่าเขา ด้อยกว่าเขา เสมอเขา ท่านมีความฉลาดรอบรู้ว่าตราบใดที่ยังมีขันธ์ 5 ร่างกาย รูป-นามอยู่นี้ไม่มีใครดีกว่าใคร ยังจมอยู่ในทะเลทุกข์ หรือวัฏฏสงสารกันทั้งนั้น ท่านเห็นว่าขันธ์ 5 เป็นของปลอม ของสมมุติ ของชั่วคราว ไม่ถือเขาถือเราเห็นคนสัตว์เป็นเพื่อนทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตายเท่านั้น

    (4) อุทัจจะกุกุกจะ พระอรหันต์ท่านไม่มีอารมณ์คิดวุ่นวายฟุ้งซ่านไร้สาระ มีความคิดอย่างเดียว ต้องการให้คนพ้นทุกข์ ทำอย่างไรคนจะเข้าใจในธรรมะ ในทุกข์ของโลก ทำอย่างไรคนจะเข้าใจพระนิพพานถูกต้อง พระนิพพานเป็นของจริง ไม่ใช่ของสมมุติชั่วคราวเหมือนโลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม

    (5) อวิชชา พระอรหันต์ไม่มีความเข้าใจผิดในนรกโลก มนุษย์โลก เทวโลก เห็นว่า 3 โลกนี้ไม่มีทางไหนเป็นสุขจริง เป็นสุขชั่วคราว ท่านรู้เข้าใจพระนิพพานมีจริง ไม่สูญสลาย พระนิพพานไม่ใช่อนัตตา พระนิพพานเป็นแดนทิพย์วิเศษยอดเยี่ยม จิตของผู้พ้นจากกิเลสสังโยชน์ 10 อย่างเท่านั้น ถึงจะเข้าถึงพระนิพพาน ท่านสัมผัสพระนิพพานได้ทางจิตถึงแม้จะไม่เห็น แต่จิตมีปัญญาทราบแน่ชัดว่าพระนิพพานมีแดนทิพย์จริง เพราะจิตท่านเข้าถึงวิมุติสุข
     
  2. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    ถึงคุณ lotte

    ทฤษฏี เป็นสิ่งที่ดีมากๆ แต่ถ้าจะให้ดียิ่งๆขึ้น กรุณาช่วยเล่าประสบการณ์ตรงเพื่อเป็นความรู้ให้ เพื่อนๆ และ ทายาท ทางธรรมทั้งหลาย ให้ได้รับรู้จะดีมากนะ ไม่ต้องแจ้งหมดทุกอย่างก็ได้ แต่ขอให้ผู้ที่อ่านแล้ว มีศรัทธาต่อศาสนามากขึ้น และมีความปรารถนาจะบรรลุธรรมเช่นผู้ที่ดวงตาเห็นธรรม ก็จะเป็นกุศลยิ่ง

    ขอขอบคุณล่วงหน้า และด้วยความเคารพ[​IMG]
     
  3. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +4,545
    ขอโทษทีครับที่ตอบช้าไปหน่อย ตัวผมทำโปรเจคให้รัฐหลายโครงการสำเร็จหลายโครงการ แต่ที่อยากทำตอนนี้คือ หาวิธีทางช่วยเหลือคนไม่ให้ตกนรก โดยเฉพาะหลังปีห้าพัน จะมีพระอลัชชีตกนรกมาก เพราะพระเสื่อมศีลธรรม ผู้คนก็เสื่อมศรัทธา ผมเลยมีนโยบายให้อนุศาสนาจารย์ทุกเรือนจำไทย และจีน ให้อนุสาสนาจารย์สอนนักโทษโดยให้พญายมราชเป็นพยานบุญของท่านในครั้งๆนั้นๆด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องดิ่งตกนรกอเวจี แต่ได้พิจารณาคดีก่อน ซึ่งจะมีโครงการบอกวัดทั่วประเทศทั้งไทยและจีนด้วยในเรื่องนี้ให้พระเขาสอนในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งการที่พระอลัชชีหลังปี 5000 อย่างกรณีคบชู้ เสพกาม กินเหล้า อาจต้องอยู่ทัณฑสถานสักห้าปี เพื่ออบรมนิสัย นั่งสมาธิ วิปัสสนา ให้ได้บุญมากกว่าบาปแล้วอธิษฐานจิตให้พญายมราชเป็นพยานในการทำบุญด้วย ถ้าท่านคนใดสนใจอยากช่วยนักโทษและพระอลัชชีหลังปี5000 ไปให้พิมพ์ภาษาอังกฤษส่งข้อความไปยังกระทรวงวัฒนธรรม ของประเทศทุกประเทศ โดยพิมพ์เข้า google แล้วพิมพ์ministry of culture in china taiwan ฯลฯ ก็ส่งข้อความผ่านทางอีเมลได้เลยครับ
     
  4. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    ทฤษฎีแน่นปึ้กครับ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...