ความหมายและที่มาของบทสวด นมัสการพระพุทธเจ้า บทนะโม ตัสสะฯ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 6 กรกฎาคม 2025 at 18:09.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    24,518
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,245
    ค่าพลัง:
    +70,771
    ความหมายและที่มาของบทสวด นมัสการพระพุทธเจ้า บทนะโม ตัสสะฯ

    *********************************

    เคยสังเกตไหมว่า เวลาสวดมนต์บทอะไรก็ตาม มักจะมีการสวดขึ้นต้นว่า นะโมตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 รอบ แล้วบทสวดนี้คืออะไร มีที่มาอย่างไร


    บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
    "ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น"

    อะระหะโต
    "ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส"

    สัมมาสัมพุทธัสสะ
    "ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง"

    (3 รอบ)



    ความเป็นมาและความสำคัญ ของบทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า
    ในการสวดมนต์บทนมัสการพระพุทธเจ้า หรือบทนะโมตัสสะ มักจะถูกยกขึ้นเป็นปฐมพจน์ของการสวดมนต์ เรียกว่า เป็นคำแรกที่เราจะกล่าวถึงพระพุทธเจ้าก่อนคำใด ๆ

    โดยมีการอ้างถึงหลากหลายที่มา ดังนี้


    ที่มาแรก

    ในหนังสือฎีกานะโม

    อ้างว่า เทพเจ้า ๕ องค์ คือ สาตาคิรียักษ์ อสุรินทร์ราหู ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะ ท้าวมหาพรหม เป็นผู้กล่าว นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา โดย

    - สาตาคิรียักษ์ เป็นผู้กล่าวคำว่า นะโม
    - อสุรินทร์ราหู เป็นผู้กล่าวคำว่า ตัสส
    - ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้กล่าวคำว่า ภะคะวะโต (กล่าวพร้อมกันทั้ง ๔ องค์)
    - ท้าวสักกะจอมเทพ คือ พระอินทร์เป็นผู้กล่าวคำว่า อะระหะโต
    - ท้าวมหาพรหม ผู้เป็นใหญ่ในพรหมโลกเป็นผู้กล่าวคำว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ

    เหตุที่กล่าวก็เพื่อแสดงความนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



    ที่มาที่สอง

    พระเทพวิสุทธิเวที วัดมหาพฤฒาราม ให้ข้อสังเกตในหนังสือนโมเทศนาและชัยมงคลเทศนาว่า ตามที่ฎีกานะโม ระบุว่าเทพ ๕ องค์เป็นผู้กล่าวนะโมเป็นคนแรกนั้น ไม่ได้ระบุหลักฐานว่านำมาจากคัมภีร์หรือพระสูตรอะไร และกล่าวที่ไหน เมื่อไร จึงเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อถือ และสันนิษฐานว่า


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า น่าจะเป็นผู้ทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง โดยทรงบัญญัติบทว่า นะโม นี้ พร้อมกับบท ไตรสรณคมน์ (พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯเปฯ) ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ในคราวทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกเป็นอุปัชฌาย์ในครั้งแรก เพื่อให้ทำการบวชกุลบุตรเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ ด้วยอุปสมบทวิธี คือ ติสรณคมนูปสัมปทา ในคราวเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก



    ที่มาที่สาม

    หนังสือธรรมะในพระพุทธมนต์ โดย พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) พระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย


    มีเหตุการณ์การใช้คำว่า นะโม ดังนี้

    - พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กล่าวธรรมเจติยปริยาย แสดงความเลื่อมใสแล้วเปล่งอุทานว่า นะโม

    - พรหมายุพราหมณ์อยู่ ณ เมืองตักศิลา ฟังคำสรรเสริญพระพุทธคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ส่งอุตตรมาณพศิษย์ผู้ใหญ่ให้ไปสืบดูให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าทรงคุณธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงดังคำร่ำลือหรือไม่ เมื่ออุตตรมาณพสืบได้ความจริง แล้วกลับมาเล่าให้ฟัง พรหมยุพราหมณ์ก็เกิดความเลื่อมใส ทันใดนั้นลุกจากอาสนะทำผ้าห่มเฉวียงบ่าประนมมือหันไปสู่ทิศที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เปล่งวาจาว่า นะโม
    - นางธนัญชานีพราหมณ์ผู้เป็นโสดาบัน ในวันที่เลี้ยงพราหมณ์ พราหมณ์ผู้สามีขอให้งดกล่าวคำว่า นะโม นั้นเสีย นางยกภาชนะใส่ข้าวก้าวเท้าพลาดล้มลงและตกใจอุท่านว่า นะโม



    shutterstock_465729593.jpg
    ภาพ : Shutter Stock

    อานิสงส์การสวดบทนมัสการพระพุทธเจ้า
    1. น้อมใจจนให้เกิดความกตัญญูกตเวที รู้อุปการคุณที่พระพุทธเจ้ามีต่อตน ให้รู้สึกว่าตนได้ดิบได้ดี อยู่เย็นเป็นสุข ไกลทุกข์เดือดร้อน ก็เพราะมีพระพุทธเจ้าสอนไว้ ให้มีใจปฏิบัติตาม
    2. ให้รู้สึกว่าได้คบหาสมาคมกับพระพุทธเจ้าด้วยใจ มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของใจ นึกถึงพระพุทธเจ้าครั้งใด พระพุทธเจ้าก็ปรากฏที่ใจทุกครั้ง
    3. ให้การปฏิบัตินั้นสำเร็จเป็นปฏิบัติตามพระพุทธองค์ ย่อมได้เป็นผู้เบิกบาน หายงมงาย ชนเหล่าใดระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดมบรมศาสดา ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ



    แหล่งข้อมูล
    หนังสือธรรมะในพระพุทธมนต์ โดย พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) พระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย

    ที่มาของบทสวด นะโม 3 จบ สืบค้นจาก https://guru.sanook.com/8686/ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 61


    --------------------

    ที่มา https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/65723-dhart-
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...