คาถา ปราบอสูรอย่างเลว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นะโม12, 20 กันยายน 2011.

  1. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐</CENTER> [๒๐] ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึง ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม สะดุ้งต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งปวง แล้วไม่พึง ฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา ผู้นั้น ย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อ ตน ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข ด้วย อาชญา ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า ท่านอย่าได้ กล่าวคำหยาบกะใครๆ ผู้ที่ท่านกล่าวแล้วพึงกล่าวตอบท่าน เพราะว่าถ้อยคำแข็งดีให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องท่าน ถ้าท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาลถูกขจัดแล้ว ท่านนี้ จะเป็นผู้ถึงนิพพาน ความแข็งดีย่อมไม่มีแก่ท่าน นายโคบาล ย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน ด้วยท่อนไม้ฉันใด ความแก่ และความตายย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น คน พาลผู้ไร้ปัญญาทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก ภายหลัง ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเอง เหมือนบุคคลถูกไฟ ไหม้ ฉะนั้น ผู้ใดย่อมประทุษร้ายในพระขีณาสพผู้ไม่มี อาชญา ผู้ไม่ประทุษร้าย ด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเหตุ แห่งทุกข์ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ เวทนาหยาบช้า ความเสื่อมทรัพย์ ความแตกแห่งสรีระ อาพาธหนัก ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความขัดข้องแต่พระราชา การกล่าวตู่อันร้ายแรง ความสิ้นญาติ ความย่อยยับแห่งโภคะ ทั้งหลาย หรือไฟย่อมไหม้เรือนของเขา เมื่อตายไป เขาผู้ ไร้ปัญญาย่อมเข้าถึงนรก ความประพฤติเปลือย การทรงชฎา การนอนที่เปือกตม การไม่กินข้าว หรือการนอนเหนือแผ่น ดิน ความคลุกคลีด้วยธุลี ความเพียรอันปรารภด้วยความเป็น คนกระโหย่ง ยังสัตว์มีความสงสัยอันข้ามไม่ได้แล้วให้หมด จดไม่ได้ ถ้าแม้บุคคลผู้ประดับแล้ว เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงแล้ว เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ วางอาชญาใน สัตว์ทุกจำพวก แล้วพึงประพฤติสม่ำเสมอไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นสมณะ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ บุรุษผู้เกียดกันอกุศลวิตกด้วยหิริ มีอยู่ใน โลกน้อยคน บุรุษผู้บรรเทาความหลับตื่นอยู่ ดุจม้าที่เจริญ หลบแส้ หาได้ยาก ม้าที่เจริญถูกนายสารถีเฆี่ยนด้วยแส้ ย่อมทำความเพียร ฉันใด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเพียร มีความสังเวช ฉันนั้นเถิด เธอทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ และการวินิจฉัยธรรม เป็นผู้มี วิชชาและจรณะอันสมบูรณ์ เป็นผู้มีสติ จักละทุกข์มีประมาณ ไม่น้อยนี้เสียได้ ก็พวกใช้น้ำย่อมไขน้ำไป พวกช่างศรย่อม ดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ ผู้มีวัตรอันงามย่อม ฝึกตน ฯ<CENTER>จบทัณฑวรรคที่ ๑๐</CENTER></PRE>
     
  2. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๘ / ๑๑.
    <CENTER> ๘. เรื่องภิกษุมีภัณฑะมาก [๑๑๔]
    ข้อความเบื้องต้น </CENTER> พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้มีภัณฑะมาก<SUP>๑-</SUP> ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น นคฺคจริยา" เป็นต้น.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> สั่งสมสิ่งของ. <CENTER>
    กุฎุมพีเตรียมเครื่องใช้ก่อนบวช </CENTER> ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง มีภรรยาทำกาละแล้ว จึงบวช. เขาเมื่อจะบวช ให้สร้างบริเวณเรือนไฟและห้องเก็บภัณฑะเพื่อตน บรรจุห้องเก็บภัณฑะแม้ทั้งหมดให้เต็มด้วยวัตถุทั้งหลาย มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแล้ว จึงบวช.
    ก็แล ครั้นบวชแล้วให้เรียกพวกทาสของตน มาหุงต้มอาหารตามที่ตนชอบใจ แล้วบริโภค. ได้เป็นผู้มีภัณฑะมาก และมีบริขารมาก. ผ้านุ่งผ้าห่มในราตรีมีชุดหนึ่ง กลางวันมีอีกชุดหนึ่ง อยู่ในวิหารหลังสุดท้าย. <CENTER>
    ถูกพวกภิกษุต่อว่าแล้วนำตัวไปเฝ้าพระศาสดา </CENTER> วันหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้น ตากจีวรและผ้าปูที่นอนอยู่. ภิกษุทั้งหลายเดินเที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ<SUP>๑-</SUP> เห็นแล้ว จึงถามว่า "ผู้มีอายุ จีวรและผ้าปูที่นอนเหล่านี้ของใคร?"
    เมื่อเขาตอบว่า "ของผมขอรับ" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
    "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวร (เพียง) ๓ ผืน, ก็ท่านบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีความปรารถนาน้อย<SUP>๒-</SUP> อย่างนี้ (ทำไม) จึงเป็นผู้มีบริขาร<WBR>มาก<WBR>อย่าง<WBR>นี้" ดังนี้แล้ว ได้นำภิกษุนั้นไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้เป็นผู้มีภัณฑะมากเหลือเกิน."
    พระศาสดาตรัสถาม (ภิกษุนั้น) ว่า "ได้ยินว่า เป็นอย่างนั้น จริงหรือ? ภิกษุ" เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า "จริง พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า "ภิกษุ ก็เหตุไร เธอ เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแล้ว จึงกลับเป็นผู้มีภัณฑะมากอย่างนี้เล่า?"
    ภิกษุนั้นโกรธแล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นแล คิดว่า "บัดนี้ เราจักเที่ยวไป โดยทำนองนี้" ดังนี้แล้ว ทิ้ง (เปลื้อง) ผ้าห่ม มีจีวรตัวเดียว<SUP>๓-</SUP> ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺตา.
    <SUP>๒-</SUP> มังคลัตถทีปนี ทุติยภาค หน้า ๒๗๑ แก้ศัพท์นี้ว่า ไม่มีความปรารถนา.
    <SUP>๓-</SUP> คือ เหลือสบงตัวเดียว เพราะ ติจีวรํ ย่อมหมายถึงผ้า ๓ ผืน. <CENTER>
    พระศาสดาให้เธอกลับมีหิริและโอตตัปปะ </CENTER> ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงอุปถัมภ์ภิกษุรูปนั้น จึงตรัสว่า "ภิกษุ ในกาลก่อน เธอแสวงหาหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลเป็นรากษสน้ำ ก็แสวงหาหิริโอตตัปปะอยู่ (ถึง) ๑๒ ปี มิใช่หรือ? (แต่) บัดนี้ เธอบวชในพระพุทธศาสนาที่เคารพอย่างนี้<WBR>แล้ว เปลื้อง<WBR>ผ้า<WBR>ห่ม ละหิริและ<WBR>โอตตัปปะ ยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ เพราะเหตุไร?"
    ภิกษุนั้นฟังพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กลับตั้งหิริและโอตตัปปะขึ้นได้ ห่มจีวรนั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.
    ภิกษุทั้งหลายทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ทรงประกาศเนื้อความนั้น.
    ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า :- <CENTER>
    บุรพกรรมของภิกษุนั้น </CENTER> "ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. ในวันขนานพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น ชนทั้งหลายขนานพระนามของพระองค์ว่า "มหิสสาสกุมาร"<SUP>๑-</SUP> พระกนิษฐภาดา<SUP>๒-</SUP> ของพระองค์ได้มีพระนามว่าจันทกุมาร. เมื่อพระชนนีของพระราชกุมารทั้งสองนั้น สิ้นพระชนม์แล้ว พระราชาก็ทรงสถาปนาสตรีอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี.
    พระนางแม้นั้นประสูติพระราชโอรส (พระองค์หนึ่ง). ชนทั้งหลายขนานพระนามของพระโอรสนั้นว่า "สุริยกุมาร." พระราชาทอดพระเนตรเห็นสุริยกุมารนั้นแล้ว ก็ทรงพอพระทัย ตรัส (พระราชทานพร) ว่า "เราให้พรแก่บุตรของเธอ." ฝ่ายพระเทวีนั้นแลกราบทูลว่า "หม่อมฉันจักรับเอา ในเวลาที่ต้องการ" ดังนี้แล้ว ในกาลที่พระราชโอรสเจริญวัยแล้ว จึงทูลพระราชาว่า "ขอเดชะสมมติเทพ พระองค์ได้พระราชทานพรไว้แล้ว ในเวลาบุตรของหม่อมฉันประสูติ ขอพระองค์โปรดพระราชทานราชสมบัติแก่บุตรของหม่อมฉันเถิด."
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> แปลว่า กุมารผู้ซัดไปซึ่งลูกศรใหญ่ ฉบับยุโรปและสิงหลว่า มหิงฺสกกุมาโร.
    <SUP>๒-</SUP> แปลว่า น้องชาย. <CENTER>
    พระโพธิสัตว์ต้องเดินไพร </CENTER> พระราชาแม้ทรงห้ามว่า "บุตรทั้งสองของเรากำลังรุ่งเรืองดุจกองไฟ เที่ยวไป, เราไม่อาจให้ราชสมบัติแก่สุริยกุมารนั้นได้ (แต่) ทรงเห็นพระนางยังขืนอ้อนวอนอยู่บ่อยๆ จึงทรงดำริว่า "นางนี้จะพึงทำแม้ความฉิบหายแก่บุตรของเรา" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสทั้งสองมา ตรัสว่า "พ่อทั้งสอง พ่อได้ให้พรไว้ในเวลาสุริยกุมารประสูติ, บัดนี้ มารดาของเขาทูลขอราชสมบัติ พ่อไม่อยากจะให้แก่เขาเลย. มารดาของเขาจะพึงทำแม้ความฉิบหายแก่เจ้าทั้งสอง เจ้าจงไปอยู่ในป่าแล้ว ค่อยกลับมารับราชสมบัติโดยกาลที่พ่อล่วงไป" ดังนี้แล้ว ทรงส่งไป.
    สุริยกุมารเล่นอยู่ที่พระลานหลวง เห็นพระราชกุมารทั้งสองนั้น ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจากปราสาท ทราบเหตุนั้นแล้ว จึงออกไปกับพระราชกุมารเหล่านั้นด้วย. <CENTER>
    พระราชกุมารทั้งสองถูกรากษสจับไว้ </CENTER> ในกาลที่พระราชกุมารเหล่านั้น เข้าไปสู่หิมวันตประเทศ พระโพธิสัตว์เสด็จแยกออกจากทาง นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง แล้วตรัสกะสุริยกุมารว่า "แน่ะพ่อ เจ้าจงไปสู่สระนั่น อาบน้ำและดื่มน้ำแล้ว จงเอาใบบัวนำน้ำมาเพื่อพี่ทั้งสองบ้าง." ก็สระนั้น เป็นสระที่รากษส<SUP>๑-</SUP> น้ำตนหนึ่งได้จากสำนักแห่งท้าวเวสวัณ.
    ก็ท้าวเวสวัณรับสั่งกะรากษสน้ำนั้นว่า "เว้นชนผู้รู้เทวธรรมเท่านั้น ชนเหล่าอื่นลงสู่สระนี้, เจ้าย่อมได้เพื่อเคี้ยว กินชนเหล่านั้น." ตั้งแต่นั้นมา รากษสน้ำนั้นถามเทว<WBR>ธรรม<WBR>กะ<WBR>คนผู้ลงแล้วๆ สู่สระนั้น ย่อมเคี้ยวกินคนผู้ไม่รู้อยู่.
    ฝ่ายสุริยกุมารมิทันพิจารณาสระนั้น ลงไป และถูก<WBR>รากษส<WBR>นั้นถามว่า "ท่านรู้เทวธรรมหรือ?" ก็ตอบว่า "พระจันทร์และพระอาทิตย์ชื่อว่าเทวธรรม." ลำดับนั้น รากษส<WBR>กล่าว<WBR>กะ<WBR>สุริยกุมารนั้นว่า "ท่านไม่รู้เทวธรรม" แล้วก็ฉุดลงน้ำไปพักไว้ในภพของตน.
    ส่วนพระโพธิสัตว์เห็นสุริยกุมารนั้นช้าอยู่ จึงส่งจันทกุมารไป แม้จันทกุมารนั้นถูกรากษสนั้นถามว่า "ท่านรู้เทวธรรมหรือ?" ก็ตอบว่า "ทิศ ๔ ชื่อว่า เทวธรรม" รากษสน้ำก็ฉุดแม้จันทกุมารนั้นลงน้ำ ไปพักไว้อย่างนั้นเหมือนกัน.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ปทานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๔๗๐ ว่า รากษส (รากสด) ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ เป็นชื่อพวกอสูรอย่างเลว มีนิสัยดุร้าย ชอบเที่ยวตามป่า ทำลายพิธีและกินคน. <CENTER>
    พระโพธิสัตว์แสดงเทวธรรมแก่รากษส </CENTER> พระโพธิสัตว์ แม้เมื่อจันทกุมารนั้นเช้าอยู่ จึงคิดว่า "อันตรายจะพึงมี" ดังนี้แล้ว จึงไปเอง เห็นรอย (เท้า) ลงแห่งกุมารแม้ทั้งสองแล้ว ก็ทราบว่า "สระนี้มีรากษสรักษา" จึงสอดพระขรรค์ไว้ ถือธนูได้ยืนแล้ว. รากษสเห็นพระโพธิสัตว์นั้นไม่ลง (สู่สระ) จึงแปลงเพศเป็นชายชาวป่า มากล่าวปราศรัยว่า "ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเดินทางอ่อนเพลีย ทำไม จึงไม่ลงสู่สระนี้ อาบน้ำ ดื่มน้ำ เคี้ยวกินเหง้าบัว ประดับดอกไม้แล้ว จึงไปเล่า?"
    พระโพธิสัตว์พอเห็นบุรุษนั้นก็ทราบได้ว่า "ผู้นี้เป็นยักษ์" จึงกล่าวว่า "ท่านจับเอาน้องชายทั้งสองของข้าพเจ้าไว้หรือ?"
    ยักษ์. เออ ข้าพเจ้าจับไว้.
    โพธิสัตว์. จับไว้ทำไม ?
    ยักษ์. ข้าพเจ้าย่อมได้ (เพื่อกิน) ผู้ลงสู่สระนี้.
    โพธิสัตว์. ก็ท่านย่อมได้ทุกคนเทียวหรือ?
    ยักษ์. เว้นผู้รู้เทวธรรม คนที่เหลือ ข้าพเจ้าย่อมได้.
    โพธิสัตว์. ก็ท่านมีความต้องการด้วยเทวธรรมหรือ?
    ยักษ์. ข้าพเจ้ามีความต้องการ.
    โพธิสัตว์. ข้าพเจ้าจักกล่าว (ให้ท่านฟัง).
    ยักษ์. ถ้ากระนั้น ขอท่านจงกล่าวเถิด.
    โพธิสัตว์. ข้าพเจ้ามีตัวสกปรก ไม่อาจกล่าวได้.
    ยักษ์ให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำอันควรดื่ม ตบแต่งแล้ว เชิญขึ้นสู่บัลลังก์ ในท่ามกลางมณฑปอันแต่งไว้ ตัวเองหมอบอยู่แทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์นั้น.
    ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์บอกกะยักษ์นั้นว่า "ท่านจงฟังโดยเคารพ" ดังนี้แล้ว
    จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    นักปราชญ์ เรียกคนผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
    ตั้งมั่นดีแล้วในธรรมขาว เป็นผู้สงบ เป็นสัตบุรุษใน
    โลกว่า ‘ผู้ทรงเทวธรรม.

    ยักษ์ฟังธรรมเทศนานี้แล้วเลื่อมใส กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า "ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านแล้ว จะให้น้องชายคนหนึ่ง จะนำคนไหนมา?"
    โพธิสัตว์. จงนำน้องชายคนเล็กมา.
    ยักษ์. ท่านบัณฑิต ท่านรู้เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น, แต่ท่านไม่ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น.
    โพธิสัตว์. เพราะเหตุไร?
    ยักษ์. เพราะท่านให้นำน้องชายคนเล็กมา เว้นคนโตเสีย ย่อมไม่ชื่อว่าทำอปจายิกกรรม<SUP>๑-</SUP> ต่อผู้เจริญ.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> กรรมคือการทำความอ่อนน้อม. <CENTER>
    พระโพธิสัตว์ทั้งรู้ทั้งประพฤติเทวธรรม </CENTER> พระโพธิสัตว์ตรัสว่า "ยักษ์ เรารู้ทั้งเทวธรรม ทั้งประพฤติในเทวธรรมนั้น เพราะเราอาศัยน้องชายคนเล็กนั่น พวกเราจึงต้องเข้าป่านี้ เหตุว่า มารดาของน้องชายนั่น ทูลขอราชสมบัติกะพระราชบิดาของเราทั้งสอง เพื่อประโยชน์แก่น้องชายนั้น ก็พระบิดาของเราไม่พระราชทานพรนั้น ทรงอนุญาตการอยู่ป่า เพื่อประโยชน์แก่การตามรักษาเราทั้งสอง กุมารนั้นไม่กลับ มากับพวกเรา แม้เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวว่า ‘ยักษ์ตนหนึ่งในป่าเคี้ยวกินน้องชายคนเล็กนั้น’ ดังนี้ ใครๆ ก็จักไม่เชื่อ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าผู้กลัวต่อภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชายคนเล็กนั้นผู้เดียวมาให้."
    ยักษ์เลื่อมใสต่อพระโพธิสัตว์ สรรเสริญว่า "สาธุ ท่านบัณฑิต ท่านผู้เดียวทั้งรู้เทวธรรม ทั้งประพฤติในเทวธรรม" ดังนี้แล้ว จึงได้นำเอาน้องชายแม้ทั้งสองคนมาให้. <CENTER>
    พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติ </CENTER> ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสพรรณนาโทษในความเป็นยักษ์แล้ว ให้ยักษ์นั้นดำรงอยู่ในศีล ๕. พระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้มีความรักษาอันยักษ์นั้นจัดทำด้วยดีแล้ว อยู่ในป่านั้น ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พายักษ์ไปยังกรุงพาราณสี ครอบครองราชสมบัติแล้ว พระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่จันทกุมาร พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่สุริยกุมาร โปรดให้สร้างที่อยู่ในรัมณียสถานแก่ยักษ์. (และ) ได้ทรงทำโดยประการที่ยักษ์นั้นจะถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ. <CENTER>
    พระศาสดาทรงย่อชาดก </CENTER> พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
    ทรงประชุมชาดกว่า
    รากษสน้ำนั้นในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มีภัณฑะมาก,
    สุริยกุมาร เป็นพระอานนท์,
    จันทกุมาร เป็นพระสารีบุตร,
    มหิสสาสกุมาร ได้เป็นเรานี่เอง.
    พระศาสดา ครั้นตรัสชาดกอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุ ในกาลก่อน เธอแสวงหาเทวธรรม ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะเที่ยวไปอย่างนั้น. บัดนี้ เธอยืนอยู่โดยทำนองนี้ ในท่ามกลางแห่งบริษัท ๔ กล่าวอยู่ต่อหน้าเราว่า "ฉันมีความปรารถนาน้อย" ดังนี้ ชื่อว่าได้ทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว เพราะว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ ด้วยเหตุสักว่า ห้ามผ้าสาฎกเป็นต้น ก็หามิได้" ดังนี้แล้ว
    เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> <TD> ๘. <TD>น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา <TD> <TR vAlign=top><TD> <TD> <TD>นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา <TR vAlign=top><TD> <TD> <TD>รโชชลฺลํ อุกฺกุฏิกปฺปธานํ <TR vAlign=top><TD> <TD> <TD>โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ. <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=3>การประพฤติเป็นคนเปลือย ก็ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ไม่ได้, <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=3>การเกล้าชฎาก็ไม่ได้, การนอนเหนือเปือกตมก็ไม่ได้, <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=3>การไม่กินข้าวก็ดี การนอนบนแผ่นดินก็ดี ความเป็นผู้มี <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=3>กายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี ความเพียรด้วยการนั่งกระหย่ง <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=3>ก็ดี (แต่ละอย่าง) หาทำสัตว์ผู้ยังไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=3>ได้ไม่.</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER>
    แก้อรรถ </CENTER> บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานาสกา ตัดบทเป็น น อนาสกา. ความว่า การห้ามภัต.
    การนอนบนแผ่นดิน ชื่อว่า ตณฺฑิลสายิกา
    ธุลีที่หมักหมมอยู่ในสรีระ โดยอาการคือดังฉาบทาด้วยเปือกตม ชื่อว่า รโชชลฺลํ,
    ความเพียรที่ปรารภแล้ว ด้วยความเป็นผู้นั่งกระหย่ง ชื่อว่า อุกฺกุฏิกปฺปธานํ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายคำนี้ว่า
    "ก็สัตว์ใดเข้าใจว่า เราจักบรรลุความบริสุทธิ์ กล่าวคือการออกจากโลก ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้’ ดังนี้แล้ว พึงสมาทานประพฤติวัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวัตรมีการประพฤติเป็นคน<WBR>เปลือย<WBR>เป็น<WBR>ต้นเหล่านี้, สัตว์นั้นพึงชื่อว่าเจริญความเห็นผิด และพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากโดยส่วนเดียว. ด้วยว่า วัตรเหล่านั้นที่สัตว์สมาทานดีแล้ว ย่อมยังสัตว์ที่ชื่อว่าผู้ยังไม่ล่วงความสงสัยอันมีวัตถุ ๕ อันตนยังไม่ก้าวล่วงแล้วให้หมดจดไม่ได้."
    ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. <CENTER>
    เรื่องภิกษุผู้มีภัณฑะมาก จบ. </CENTER>
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
  4. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    โอ้โฮ..แหย่เล่นนิดเดียว ด่าเป็นอสูรเลยเน๊าะ เอ้า เป็นก็ได้ไม่ว่ากัน ผมมันเลวอยู่แล้ว..!
     
  5. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245

    [​IMG]


    หง่ะ
    ควายงงอีกแล้ว ใครไปชมพี่เกิดครับ บอกผมซิ
    ท่าจะกิน บี12 ไม่เขย่าขวดแน่ๆเลย
    เอ้า รีบเขย่าบัดเดี๋ยวนี้ ^^
     
  6. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    งั้นส่งมา 2 ขวดโหล จะแบ่งให้ คนปราบเอกวีร์ 2 ขวด จะได้เข้มแข็งและมีเกียรติ์:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...