ถนนสายวัฒนธรรมขอม ความโบราณอันทรงคุณค่า

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย PyDE, 6 มกราคม 2006.

  1. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    บนแผ่นดินอีสานตอนล่างหรือที่ราบสูงโคราช ระหว่างแม่น้ำมูลกับทิวเขาดงรัก ที่กั้นเขตแดนไทย กัมพูชานั้น มีมนุษย์อยู่อาศัยมากว่า 2,000 ปีแล้ว ในอดีตมีคำเรียกขานบริเวณนี้ว่า เขมรสูง มีแนวเขาดงรักกั้นดินแดนระหว่างเขมรสูงกับเขมรต่ำ (หรือกัมพูชาในปัจจุบัน) ผู้คนในสองดินแดนนี้ติดต่อกันด้วยเส้นทางผ่านช่องเขา ร่องรอยแห่งความสัมพันธ์ของผู้คนสองฟากเขา ตั้งแต่ครั้งอดีตปรากฏให้เห็นด้วยปราสาทหินน้อยใหญ่ ที่เรียงรายจากเมืองพิมายนครใหญ่ ไปถึงเมืองพระนครของขอม แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดของผู้คน ที่มีชีวิตและวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เรามาย้อนรอยถนนสายโบราณ สัมผัสและชื่นชมความงดงามในมรดกอันยิ่งใหญ่ และร่วมกันรักษาโบราณสถานอันทรงคุณค่านี้ไว้ตลอดไป

    กำเนิดุการสร้างปราสาทหิน

    กษัตริย์ขอมทรงสร้างเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า ตามลัทธิเทวราชา ที่เชื่อว่ากษัตริย์เป็นอวตารภาคหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม และเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์ จะทรงไปหลอมรวมกับเทพเจ้าสูงสุด ซึ่งสัญลักษณ์คือศิวลึงค์ นอกจากนี้ยังมีลัทธิอื่น เช่นพุทธมหายานปรากฏในวัฒนธรรมขอมเช่นเดียวกัน โดยมีรูปลักษณ์ของการสร้างแบบเดียวกับปราสาทหินในคติฮินดู แต่ต่างกันที่รูปเคารพจะเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

    ในประเทศไทย มีการสร้างปราสาทหินมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 แล้ว การสร้างนี้ก็เปรียบเสมือนกับการสร้างเมือง ที่ต้องมีศูนย์รวมแห่งศรัทธาของผู้คนหลายกลุ่มหลากชาติพันธุ์

    ลักษณะและประเภทของโบราณสถานขอม
    ปราสาทประธาน เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ
    ห้องมณฑป เป็นปราสาทขนาดรองลงมาจากปราสาทประธาน
    บรรณาลัย เป็นที่เก็บคัมภีร์
    ระเบียงคด ล้อมรอบองค์ปราสาทและบรรณาลัยไว้ เป็นแนวกำแพงที่มีผนังสองชั้น ก่อเป็นห้องยาว
    โคปุระ ซุ้มตรงกึ่งกลางของระเบียงคดแต่ละด้าน
    อโรคยศาลหรือกุฏิฤาษี เป็นสุขศาลาหรือที่รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในชุมชน

    [​IMG]
    คลิกที่นี่เพื่อดูส่วนประกอบปราสาทหิน

    สิ่งที่ควรชมในการเที่ยวปราสาทหิน

    • ลวดลายจำหลักบนเนื้อหินหรือลายปูนปั้น ที่บอกให้เรารู้ว่าปราสาทนี้สร้างในลัทธิศาสนาใด ดูจากหน้าบันหรือทับหลังของห้องปราสาทประธาน เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง ทับหลังชั้นในสุดเป็นภาพเกี่ยวกับพระอิศวร จึงเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูไศวนิกาย หรือที่ปราสาทหินพิมาย ทับหลังของห้องชั้นในทั้งสี่ด้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้าในคติมหายาน จึงเป็นพุทธสถาน เป็นต้น
    • ภาพจำหลักตามหน้าบัน ทับหลัง นอกจากจะแฝงคติความเชื่อแล้ว เรายังได้เห็นลักษณะของผู้คนในอดีต เช่นการแต่งกาย ลักษณะการยกทัพ ปราสาทราชวัง เครื่องดนตรี มักเป็นภาพเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น
    [​IMG]
    ภาพเทพเจ้า ได้แก่ ศิวนาฏราช การร่ายรำ 108 ท่าของพระอิศวร หมายถึงการทำลาย และการสร้างโลกและมนุษย์ นารายณ์บรรทมสินธุ์ พระนารายณ์บรรทมเหนือพญาอนันตนาคราชในมหาสมุทร หมายถึงการสร้างโลกใหม่ ​
    [​IMG]
    ภาพทั่วไป คือ ภาพที่เป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับผู้สร้างปราสาท หรือภาพวิถีชีวิต เช่นภาพฤาษีอ่านตำรา และภาพองค์นเรนทราทิตย์ที่พนมรุ้ง เป็นต้น​

    [​IMG]
    ภาพจากมหากาพย์รามายณะ และมหาภารตะ เป็นเรื่องราวการสู้รบเป็นหลัก ตอนที่นิยมนำมาแกะสลักได้แก่ ตอนทัพพระรามและพระลักษมณ์รบกับทศกัณฐ์ และตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา เป็นต้น​
    ข้อแนะนำในการเที่ยวชมปราสาทหิน
    • ศึกษาหาข้อมูลของโบราณสถานที่จะไป หรือนำเอกสารข้อมูลติดตัวไปด้วย
    • เตรียมอุปกรณ์เสริมในการเที่ยวชม อาจเสก็ตช์ภาพ วาดภาพ ถ่ายภาพ จดบันทึก เพื่อข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
    • ควรเดินชมตามเส้นทางที่กำหนด ไม่ปีนป่าย เหยียบ สัมผัส หรือขูดขีดตัวปราสาท หรือลวดลายใดๆ เพราะวัสดุต่างๆ มีความเก่าแก่ ชำรุดได้ง่าย รวมทั้งไม่หยิบฉวย หรืองัดแงะชิ้นส่วน กลับไปเด็ดขาด
    • ควรเข้าชมและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในพิพิธภัณฑ์ใกล้เคียง เพราะโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบหลังการบูรณะเกือบทั้งหมด จะนำมาจัดแสดงที่นี่
    • ขอแนะนำให้เริ่มจากทางเข้าหลักของปราสาท เนื่องจากเป็นด้านสำคัญ ที่จะมีการจำหลักภาพสำคัญที่จะบ่งบอกว่าปราสาทแห่งนี้สัมพันธ์กับลัทธิใด
    • หากมีกล้องส่องทางไกลจะช่วยให้เห็นลวดลายบนตัวปราสาทหินได้ชัดเจนขึ้น
    [​IMG]
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    interesting ~
     

แชร์หน้านี้

Loading...