ถ้ามีคนคิดว่าการสนใจธรรมมะปฏิบัติธรรมเป็นการงมงายและดูทำอะไรลมๆแล้งๆ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย แพททท2415, 14 พฤษภาคม 2016.

  1. แพททท2415

    แพททท2415 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +56
    สวัสดีคะ ขอถามหน่อยได้มั้ยคะว่า หากมีคนว่าว่าคนที่สนใจธรรมมะ สนใจการปฏิบัติธรรมนั้น งมงาย เป็นอะไรที่ลมๆแล้งๆ และ เป็นการหาทางออกให้ตัวเองเพราะทำอะไรไม่ได้นั้น. เพราะคนอื่นอาจยังไม่เห็นจริง เราจะทำอย่างไรดี



    ทุกคนมีความเห็นว่าอย่างไรค่ะ


    ไม่มีเจตนาใดไม่ดีนะคะ เพียงแต่ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
     
  2. suekong

    suekong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +638
    ไม่ต้องไปสนใจคำคน ตั้งใจทำของเราไปอย่างเดียว
     
  3. พงษ์สนั่น

    พงษ์สนั่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +336
    ตอนมีคนมาชมคุณแล้วคุณดีใจ นั้นเป็นธรรมอันหนึ่ง
    ตอนมีคนมากล่าวร้ายกับคุณแล้วคุณเสียใจน้อยใจ นั้นเป็นธรรมอันหนึ่ง
    ตอนคุณเห็นคนมาชมคุณและคนมากล่าวร้ายกับคุณ
    คุณเห็นกริยาดีใจและเสียใจน้อยใจ นั้นเพราะคุณเอาธรรมมาเป็นตัวตนคุณ
    การดูการฟังไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้เป็นเจ้าของ หากธรรมได้เป็นเจ้าของจาก
    ร่างกาย งั้นคนเราพออุจจาระ/ปัสสาวะ ธรรมนี้คงตกหล่นไปจากตัว
    เด็กอัจฉริยะนี้หากไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ความเป็นอัจฉริยะนี้คงค่อยๆหลุดลอยไป
    หากเราไปเคยดูเรื่อง Lucy พอแปลเป็นไทย กลายเป็น สวยพิฆาต ซะอย่างนั้นอะนะ
    ตอนเขาเข้าถึงข้อมูลขั้นสุดยอดตอนจบ ธาตุ4 ในตัวกระจายไปผสมพันธุ์กลมกลืน
    กับทุกสิ่ง หากเราหลุดพ้นแบบนี้หละก็คงได้นอกแนวพระรัตนตรัยแน่ๆ
    หากเราน้อมใจมาดู พระอรหันต์ ท่านต่างๆอย่างเช่น หลวงปู่เทศน์ หลวงตามหาบัว
    หลวงปู่หล้า ฯลฯ ตอนพระท่านหลุดพ้นนี้อะไรท่านหลุดพ้น จริงๆผมก็ไม่รู้หรอกนะ
    ว่าอะไรท่านหลุดพ้น 555 เพราะภูมิธรรมผมนี้ยังไม่ถึง
    แต่จากที่สังเกตเนี๊ย ท่านไม่ได้เอาร่างกายท่านไปด้วย *-*
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,463
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    ไม่ต้องไปสนใจครับ หากเรารู้ว่าสิ่งที่เราทํานั้นดีแล้ว เราก็ไม่ต้องสนคําพูดของคนอื่นแล้วครับ จงตั้งมั่นในสิ่งที่เราทําก็พอครับ ขอฝากหนังสือชีวิตเป็นอย่างนี้ ที่อยู่ใต้ comment ของผมให้คุณแพททท2415 ลอง download ไปอ่านดูครับ หนังสือเล่มนั้นมีคําตอบที่คุณอยากรู้แล้วในนั้น ยังไงลองสละเวลาอ่านดูครับ ขอฝาก clip ธรรมะข้างล่างนี้ให้คุณแพททท2415 ดูครับ ดูแล้วจะเข้าใจเองครับ อนุโมทนาครับ

    <iframe width="420" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/mFAm04vlAAk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2016
  5. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    การอยู่รวมกันกับคนในสังคมตัวความเชื่อเองไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อ ถ้าคนมีความเชื่ออย่างหนึ่งแล้วเบียดเบียนคนอื่น สร้างปัญหาให้คนอื่น เราถึงควรจะจัดการกับความเชื่อนั้น สุดท้ายแล้วทุกคนก็ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุข ไม่สำคัญว่าความเชื่อนั้นจะเป็นอย่างไร ลองให้เขาเลือกสิว่าถ้าทุกคนเชื่อเรื่องโกหก 100% แต่เราอยู่กันอย่างมีความสุขเหมือนสวรรค์ กับเชื่อสิ่งที่เป็นความจริงแต่อยู่ในกลียุค คนเจอหน้าก็ฆ่าฟันกันเหมือนผักปลาจะเลือกแบบไหน คนที่มีความเชื่อไม่เหมือนกันจะสนใจทำไมว่าเขาเชื่อต่างจากเราในเมื่อเขาไม่ได้สร้างปัญหาให้เรา ความเชื่อในลักษณะที่ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องผลของกรรมต่างหากที่ทำให้คนเราเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เห็นใจซึ่งกันและกัน กลับกันหากมีคนนึงเชื่อเรื่องกรรมและไม่เอาเปรียบคนอื่น ทำดีกับทุกคนจะเป็นปัญหากับใครขึ้นมา
    ศรัทธา 4 (ความเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล - faith; belief; confidence)
    1. กัมมสัทธา (เชื่อกรรม, เชื่อกฎแห่งกรรม, เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่าและเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น - belief in Karma; confidence in accordance with the law of action)
    2. วิปากสัทธา (เชื่อวิบาก, เชื่อผลของกรรม, เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว - belief in the consequences of actions)
    3. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน - belief in the individual ownership of action)
    4. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง - confidence in the Enlightenment of the Buddha)
     
  6. Nimmanoradee

    Nimmanoradee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +68
    อย่าสนใจในจริยาผู้อื่นครับ นั่นเป็นกรรมของเขา เขาอยากปิดมรรคผลของเขาก็แล้วแต่เขา เราก็อย่าไปใส่ใจเขา เดี๋ยวมรรคผลเราจะไม่ได้ตามเขาไปด้วย
     
  7. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    เป็นการตอบของคนที่ไม่รู้ หรือ รุ้ไม่จริง รู้แค่เปลือกนอก จะว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิก้ได้ โดยปกติธรรมะพระพุทธองค์ ที่นำไปสู่ การคิดดี พูดดี ทำดีนั้น บางครั้ง ต้องนำไปปฏิบัติเองถึงจะรู้ซึ้ง ต้องแยกให้ออกว่าอะไรคืองมงาย อะไรคือธรรมะ อะไรคือทางแห่งปัญญา ถ้าแยกได้ก้คงไม่ต้องสนใจใครจะว่าเรานั้นงมงาย!
     

แชร์หน้านี้

Loading...