พระนักเทศน์แห่งดินแดนที่ราบสูง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย DevilBitch, 22 มิถุนายน 2005.

  1. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    เจ้าคุณวัดบึงฯ... พระธรรมฐิติญาณ



    [​IMG] เมื่อพูดถึงพระนักเทศน์ คนส่วนใหญ่จะนึกถึง พระนักเทศน์ที่อยู่ภาคกลาง เช่น พระราชธรรมนิเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม พระพยอม กัลยาโณ พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสวนแก้ว พระราชวิจิตรปฏิภาณ พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่รู้จักกันในนาม เจ้าคุณพิพิธฯ รวมทั้ง พระราชญาณวิสิฐ หรือที่รู้จักกันในนามของ หลวงป๋า พระนักเทศน์แห่งวัดหลวงพ่อสดธรรมยาการาม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    แต่ถ้าพูดถึง พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ชื่อนี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูของคนภาคกลางเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นคนในภาคอีสาน ชื่อนี้กลับกลายเป็นที่คุ้นหูเป็นอย่างดี ในฐานะ พระนักเทศน์แห่งดินแดนที่ราบสูง หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "เจ้าคุณวัดบึง" ส่วนท่านจะเทศน์เก่งเพียงใดนั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ "คม ชัด ลึก"

    * ท่านเจ้าคุณฯ เรียนและฝึกเทศน์มาจากใครครับ ?

    -จากครูบาอาจารย์ครึ่งหนึ่ง โดยเรียนจากพระอาจารย์พิมพ์ ซึ่งเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ได้มรณภาพไปแล้ว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเรียนมาจากการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง

    * ขึ้นธรรมาสครั้งแรกเมื่อไรครับ ?

    -ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นสามเณร ช่วงแรกไปเทศน์ ๒ ธรรมาสกับอาจารย์ก่อน โดยเทศน์ในลักษณะปุจฉาวิสัชนา จากนั้นก็ได้รับกิจนิมนต์เรื่อยมา แต่พระบางองค์ไม่อยากเทศน์กับเณร ซึ่งมองได้ ๒ ด้าน คือ เกรงว่าจะเทศน์ตอบปัญหาเณรไม่ได้ กลัวว่าจะเสียหน้า ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นพระ

    * ประเด็นไหนที่เทศน์บ่อยครับ ?

    -ชาวพุทธยุคใหม่ ประกอบด้วย มือทอง ซึ่งหมายถึง ทำงานเก่ง ฝีมือดี ปากทอง หมายถึง พูดเก่ง พูดแล้วฟังสบายหู สบายใจ พูดแล้วเกิด "ช ๓" คือ ชอบ เชื่อ ช่วย คนคล้อยตามนำไปปฏิบัติ สมองเพชร คือ คิดเก่ง คิดสร้างสรรค์พัฒนาและคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ กลเม็ดครองโลก คือ มีทีเด็ด มีศิลปะ มีเคล็ดลับในการครองใจคน

    ปกติแล้วอาตมาจะเป็นผู้กำหนดแนวทางไปว่า เราจะให้อะไรกับผู้ฟัง และผู้ฟังจะได้อะไรจากเรา บางครั้งผู้นิมนต์ก็ตั้งประเด็นมา จะให้เทศน์แบบไหนก็ได้ ถ้าจะเปรียบไปแล้ว พระนักเทศน์ก็เปรียบเหมือนแม่ครัวนั่นแหละ คือ ทำอาหารตามใจแม่ครัว จะถูกปากหรือไม่ถูกปากคนก็ต้องกิน ส่วนอีกแบบหนึ่งก็เหมือนอาหารตามสั่ง ซึ่งคนสั่งต้องอยากกิน แน่นอนที่สุดว่า ก็ต้องถูกใจมากกว่าแบบแรก

    * เป็นเจ้าคุณแล้วลำบากใจที่ต้องเทศน์เรียกเสียงฮาหรือเปล่าครับ ?

    -เราก็ต้องให้ไม่ตลกมาก เพียงแต่ต้องไม่ทำให้ผู้ฟังหลับเท่านั้น ส่วนรูปแบบการเทศน์นั้น หลายๆ รูปแบบผสมผสานกัน มันขึ้นอยู่กับผู้ฟัง เช่น ถ้าเทศน์ให้นักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ใส่ธรรมล้วนๆ จะใส่มุกตลกโปกฮาคงไม่เหมาะ ถ้าเป็นประชาชนทั่วๆ ไป ใส่มุกได้เต็มที่ แต่ก็ไม่เคยผิดพระวินัย

    * คิวเทศน์ยาวไปถึงไหนครับ ?

    -ต้องจองล่วงหน้าหลายเดือน นี่เพิ่งผ่านสงกรานต์คนก็จองให้ไปเทศน์งานกฐินแล้ว หลังจากออกพรรษาถึงลอยกระทง ซึ่งรวมแล้วประมาณ ๓๐ วัน คิวเทศน์เต็มเกือบหมดแล้ว ทุกวันนี้คิวเทศน์ประมาณ ๓-๔ งานต่อวัน ทุกจังหวัดทั่วภาคอีสาน กรุงเทพฯ มีบ้าง แต่ไม่บ่อย ส่วนทางเหนือและทางใต้ไม่เคยไป ซึ่งน่าจะเป็นเพราะรูปแบบการเทศน์มากกว่า

    * เคยรับงานสูงสุดเท่าไรครับ ?

    -สูงสุดเคยรับกิจนิมนต์ไปเทศถึง ๗ งานต่อวัน เราแบ่งเป็นเช้า ๒ งาน บ่าย ๓ งาน และช่วงกลางคืนอีก ๒ งาน ส่วนเวลาการเทศน์นั้น ถ้าคิวน้อยก็อาจจะเพิ่มเป็น ๒-๓ ชั่วโมง ถ้าเป็นการอบรมบรรยายตลอดทั้งวันก็เคยมี

    * แล้วมีคนติดกัณฑ์เทศน์สูงสุดเท่าไรครับ ?

    -พระนักเทศน์ไม่มีค่าตัว เพราะการเทศน์อบรมสั่งสอนญาติโยมเป็นหน้าที่ของพระอยู่แล้ว สูงสุดเคยได้ถึง ๑ หมื่นบาท ถ้าทั่วไปก็อยู่ในเกณฑ์ ๑ หมื่น ถึง ๒ หมื่นบาท ซึ่งตลอดเวลาที่อาตมาออกเทศน์ใครจะถวายเท่าใด หรือไม่ถวายเลย ก็ไม่เป็นไร ปัจจัยที่ได้มาก็นำมาสร้างศาสนสถาน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณร

    * มีคนบอกว่านิมนต์ยากหรือเปล่าครับ ?

    -อาตมาก็บอกเขาไปตามตรง ถ้าว่างและเดินทางไปทันเวลาก็จะไปให้ทุกงาน ในขณะที่เป็นงานราชพิธี หรือรัฐพิธี ก็จะทำหนังสือแจ้งไปว่าไปได้หรือไม่

    * ระหว่างเทศน์เคยเข้าตาจนหรือเปล่าครับ ?

    -พระนักเทศน์ พระนักพูดต้องไม่ประมาท ต้องเตรียมตัวอยู่เสมอ เพราะอาตมาอ่านหนังสือไม่ต่ำกว่า ๓ หมื่นเล่ม เรียกว่าหนังสือในห้องสมุดประจำจังหวัดร้อยเอ็ดอ่านมาหมดแล้วทุกเล่ม ทั้งหนังสือทางธรรมและทางโลก นอกจากนี้แล้วยังต้องอ่านหนังสือของศาสนาอื่นๆ ด้วย เพื่อให้รู้เขารู้เรา

    * ท่านรักษาเสียงอย่างไรครับ ?

    -ทุกครั้งที่เทศน์เราจะถือไมโครโฟนเอง เพราะจะได้ใช้พลังเสียงน้อย ก่อนหน้านี้สมัยหนุ่มก็จะเทศน์แหล่ แต่เดียวนี้จะเทศน์เสียงเป็นหลัก ส่วนการรักษาสุขภาพโดยทั่วๆ ไปนั้น ก็เดินจงกรมบ้าง เดินตรวจตราภายในบริเวณวัดบ้าง

    * แล้วท่านได้ฝึกพระนักเทศน์ไปบ้างหรือเปล่าครับ ?

    -ฝึกไปหลายรุ่นแล้ว ที่จะขึ้นมาแทนก็มีหลายรูป บางทีก็เหมือนก๊อบปี้มาจากอาจารย์เลย อาจจะพูดได้ว่า มีลูกศิษย์ที่เป็นพระนักเทศน์อยู่ทุกจังหวัด มีพระลูกศิษย์บางรูปบอกว่าจะเทศน์ให้ดีกว่าหรือเหนือกว่า อาตมาว่าเป็นไปได้อยาก เพราะเราเป็นต้นแบบ เป็นคนคิดหัวข้อประเด็นเทศน์จะมาสู้กันได้อย่างไร

    * ท่านมองพระก่อม็อบอย่างไรครับ ?

    -พระต้องยึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก เพราะพระธรรมวินัยคือองค์พระศาสดา ถ้าเราเคารพพระศาสดา เราต้องเคารพพระธรรมวินัย อะไรที่ผิดพระธรรมวินัยก็ไม่ควร แต่ถ้าไม่ผิดพระธรรมวินัยก็ควร

    * ในภาวะปัจจุบันนี้ ธรรมะข้อใดสำคัญที่สุดครับ ?

    -ความสันโดษ ซึ่งหมายถึง พอ คนเราต้องรู้จักคำว่าพอ พอตัวเดียวจะทำให้เกิดความสุข ถ้าไม่รู้จักคำว่าพอ อย่างไรก็ไม่มีความสุข ซึ่งตรงกับหลักธรรมเรื่องวความสันโดด คือ พอใจในสิ่งที่เรามี ยินดีในสิ่งที่เราได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้พอใจอยู่แค่นี้ ต้องพัฒนาไปเรื่อย ได้เท่าไรสำเร็จเพียงใดก็พอใจเท่านั้น ใครคิดและทำได้ก็ย่อมมีความสุข

    ที่คนเราเป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้ คือ ไม่รู้จักพอ ชอบวิ่งไปตามกิเลสตัณหา วิ่งเท่าไรก็ไม่ทัน ก่อนนี้มีจักรยานเราก็ว่าสบายดีแล้ว จากนั้นก็มีมอเตอร์ไซค์ มีรถปิกอัพ มีรถเก๋ง เปลี่ยนยี่ฮ้อโน้นทียี่ฮ้อนั้นที เพราะคนเราไม่รู้จักพอ

    อย่าใช้อารมณ์แก้ไขปัญหา ให้ปัญญาไตร่ตรอง อยู่อย่างมีปัญญา ปัญหาไม่มี อยู่ให้ดีต้องมี "ย ๗" คือ "อยู่อย่างมีปัญญา ยอมอย่างมีเหตุผล อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ใหญ่อย่างมีประโยชน์"

    "อย่าหยิ่ง ยิ้มแย้ม เยือกเย็น ยืดหยุ่น เยี่ยมเยียน หยิบยื่น ยกย่อง" ถ้าใครทำได้ก็จะกลายเป็นผู้ "ยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่" แต่ถ้าใครขาด ย ๗ ก็จะกลายเป็น "ยุ่งยากและย่ำแย่"

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ff9933 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffcc99>

    ชาติภูมิเจ้าคุณวัดบึงฯ

    พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต) อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๙ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ค.บ., ศน.ด. (กิตติมศักดิ์) วัดบึงพระลานชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ชื่อและสกุลเดิม คือ ศรีจันทร์ ลาวะลี เกิดปีฉลู วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๘๐ บิดาชื่อ สุวรรณ มารดาชื่อ ไกร ณ บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ ๕ (ปัจจุบันหมู่ ๙) บ้านหนองหน่อง ต.อีง่อง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด

    บรรพชา
    วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๙๕ ณ วัดสว่างอารมณ์ ต.อีง่อง โดยมีเจ้าอธิการอำ (พระครูจันทรังษีสุกิจ) วัดสระทอง เป็นพระอุปัชฌาย์

    อุปสมบท
    เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ณ วัดบึงพระลานชัย พระครูคุณสารพินิจ (แก้ว อุปติสฺโส ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศีลคุณวิสุทธิ์) วัดบึงพระลานชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดผาด อุตฺตโม (พระครูวิจิตรคุณาธาร) วัดบึงพระลานชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาชารี อาภารโณ วัดบึงพระลานชัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การศึกษา
    • พ.ศ.๒๔๙๙ สอบไล่ได้ น.ธ.เอก และ ว.ก. สำนักเรียนวัดบึงพระลานชัย พ.ศ.๒๔๙๙ สำเร็จวุฒิบัตรภาษาอังกฤษ โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด
      พ.ศ.๒๕๐๐ สำเร็จวุฒิบัตรวาทศิลป์ โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๕๐๑ สำเร็จ วุฒิบัตรสารบรรณ โรงเรียนอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๕๐๓ สำเร็จวิชา ครู
    • พ.ศ.๒๕๐๕ สำเร็จวุฒิบัตร โรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุตชั้นเจ้าคณะอำเภอ
    • พ.ศ.๒๕๐๙ สำเร็จครูพิเศษ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย กทม.

    การศึกษาพิเศษ

    ภาษาต่างประเทศ หลักการบริหาร วาทศิลป์ และมนุษยสัมพันธ์

    ความชำนาญการ

    ชำนาญด้านการปกครอง การศึกษา การเผยแพร่ การสาธารณูปการ, ธรรมกถึก, การก่อสร้าง และ มนุษยสัมพันธ์

    สมณศักดิ์
    • พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งพระครูฐานานุกรมของพระศีลวิสุทธาจารย์ (จั่น เขโม) วัดเหนือ ที่ พระวินัยธร ศรีจันทร์ ปุญญรโต
    • พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนาม พระครูสิริธรรมโสภิต
    • พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร จอ.ชท. ในราชทินนามเดิม
    • พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร จจ.ชพ. ในราชทินนามเดิม
    • พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนาม ที่ พระศีลวิสุทธาจารย์
    • พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนาม ที่ พระราชสารสุธี
    • พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนาม ที่ พระเทพบัณฑิต
    • พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนาม ที่ พระธรรมฐิติญาณ

    ตำแหน่งหน้าที่การงาน
    ๑.เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธรรมยุต)
    ๒.เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง
    ๓.เจ้าสำนักเรียนธรรม - บาลี ตัวอย่างกรมการศาสนา
    ๔.เจ้าสำนักเรียนธรรม - บาลี ดีเด่นกรมการศาสนา
    ๕.เจ้าสำนักเรียนธรรม - บาลี ระดับ จ.ร้อยเอ็ด
    ๖.ประธานกรรมการบริหารศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศ.ธ.ภ.)
    ๗.กรรมการคณะธรรมยุตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ๘.กรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
    ๙.ผู้อำนวยการศูนย์อบรมจังหวัดร้อยเอ็ด
    ๑๐.วิทยาการประจำเขตการศึกษา ๑๐
    ๑๑.ผู้จัดการโรงเรียนเทพบัณฑิตวิทยาลัย (พระปริยัติธรรม แผนกสามัญฯ) ๑๒.ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบึงพระลานชัย
    ๑๓.อาจารย์พิเศษประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
    ๑๔.อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    เกียรติประวัติที่ได้รับการยกย่อง
    • พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับเกียรติบัตรจากนายกยุวพุทธิกสมาคมร้อยเอ็ด ในด้านเผยแผ่ธรรมดีเด่น จ.ร้อยเอ็ด
    • พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับพัดพัฒนาจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ในด้านการพัฒนาวัด
    • พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเสมาทองคำจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การเผยแผ่ธรรมะในประเทศ ได้รับประทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในด้าน การส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
    • พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ในด้าน การเผยแผ่ธรรมดีมาก
    • พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตในด้าน การสาธารณูปการดีมาก
    • พ.ศ.๒๕๓๖ -ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ในด้าน การศึกษาดีมาก
      -ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ในด้าน ช่วยเหลือการศึกษา
      -ได้รับคัดเลือกประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือการศึกษาดีเด่นจังหวัดร้อยเอ็ด จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
      -จัดการศึกษาแผนกบาลี ผลการสอบ ได้อันดับที่ ๑ ของ จ.ร้อยเอ็ด (ธรรมยุต-มหานิกาย)
      -จัดการศึกษาแผนกบาลี ผลการสอบ ได้อันดับที่ ๑ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เฉพาะธรรมยุต) และ อันดับที่ ๓ ของประเทศ
    • พ.ศ.๒๕๓๗ คุรุสภาจังหวัดมหาสารคาม ถวายประกาศเกียรติคุณบัตรเชิดชูเกียรติคุณ "ครูดีของสังคม"
    • พ.ศ.๒๕๓๘ -ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการศึกษา จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
      -ได้รับ ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมการบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
    • พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก ในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    • พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก ในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    • พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการศึกษา จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    • พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    • พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    • พ.ศ.๒๕๔๔ ได้รับเกียรติบัตริ ปฏิบัติศาสนกิจดีเด่นในด้านการบริหารการคณะสงฆ์ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
      -ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากศูนย์เนติไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) ผู้สนับสนุนโครงการเฉลิมพระเกียรติ ญสส.๘๘
    • พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตร สนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย จากจังหวัดร้อยเอ็ด
    • พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับ ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กทม.
    "อยู่อย่างมีปัญญา ยอมอย่างมีเหตุผล อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ใหญ่อย่างมีประโยชน์ อย่าหยิ่ง ยิ้มแย้ม เยือกเย็น ยืดหยุ่น เยี่ยมเยียน หยิบยื่น ยกย่อง ใครทำได้ย่อม ยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    0 เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0
     

แชร์หน้านี้

Loading...