พระประจำพระชนมวารของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 21 พฤศจิกายน 2008.

  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    พระประจำพระชนมวารของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริ

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร หมายถึง พระประจำวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นตามประเพณีนิยมของพุทธศาสนิกชน สำหรับถวายสักการบูชาเพื่อสิริมงคล ซึ่งหมายถึงพระประจำวันเกิดนั่นเอง
    คติความเชื่อของการกำหนดพระพุทธรูปแต่ละปางให้ตรงกับทั้ง๗ วันในสัปดาห์นี้ มีมาแต่สมัยใด ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สมัยโบราณได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ มาบ้างแล้ว เพื่อเป็นพุทธานุสติน้อมนำใจให้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามพุทธประวัติมาสร้างเพิ่มเติมขึ้น เมื่อนับรวมกับแบบเดิมก็ได้ทั้งสิ้น ๔๐ ปาง
    ส่วนคติการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆให้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดแต่ละวันนั้น เป็นโบราณอุบายของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจให้แก่ตนและลูกหลาน และถือว่าการบูชาพระประจำวันเกิด เป็นมงคลอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง โดยบางคนก็บูชาเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือปัดเป่าให้รอดพ้นภัยพิบัติ พระพุทธรูปประจำวันเกิดนี้ ส่วนใหญ่จะมี ๗ ปางตาม ๗ วันในสัปดาห์ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ แต่บางแห่งก็จะเพิ่มปางวันพุธกลางคืน ที่เรียกว่าวันราหู เข้าไปด้วย
    พระพุทธรูปประจำพระชนมวารของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือพระพุทธรูปปางถวายเนตรซึ่งสร้างตามวันประสูติคือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖พฤษภาคมพ.ศ. ๒๔๖๖ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    ลักษณะพระพุทธรูปปางถวายเนตร นี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตรดูต้นศรีโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขาวทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร
    พระพุทธรูปปางถวายเนตรสร้างขึ้นตามตอนหนึ่งของพุทธประวัติที่ว่า ครั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จจากร่มพระศรีมหาโพธิ์ไปยืนกลางแจ้ง ทางทิศอีสานของต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้น ๗ วัน สถานที่ยืนทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์นั้นเป็นนิมิตมหามงคล ปรากฏชื่อว่า อนิมิสสเจดีย์ พระพุทธจริยาที่ทรงเพิ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้ทรงกะพริบ พระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า ปางถวายเนตร
    ตามคติโบราณกำหนดให้มีคาถาบูชาพระพุทธรูปปางถวายเนตรนี้เป็นคาถาพระยานกยูงทอง ที่มีมาในชาดก นอกเหนือจากทศชาติชาดก มีข้อความดังนี้
    "ค อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณนัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ"
    อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางฯมีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่๘ พระบรมราชสมภพ วันอาทิตย์ ตรงกับขึ้น๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๘๗ รัตนโกสินทรศก๑๔๔ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘
    โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ให้กรมศิลปากรดำเนินการปั้นหุ่นและหล่อโดยมีนายพิมาน มูลประมุขเป็นปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อวันที่๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ณ ศาลาวรสภาภิรมย์ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานคู่กับพระบรมอัฐิบนพระที่นั่งจักรีมหาประสาท
    ส่วนพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตรรัชกาลที่ ๙ มีพระบรมราชสมภพ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ตรงกับขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้ายปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทรศก ๑๔๖ เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสมภังค์ แสดงปางห้ามญาติหรืออภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ขวาเพียงข้างเดียว
    พุทธลักษณะที่สำคัญคือ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระวรกาย พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปแบบสุโขทัยโดยมีพระพักตร์เป็นวงรี พระนลาฏค่อนข้างแคบพระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม และมีพระกรรณยาว พระเศียรประดับด้วยขมวดพระเกศาเป็นก้นหอยมีเกตุมาลาและรัศมีรูปเปลวไฟอยู่เบื้องบน องค์พระพุทธรูปมีพระอังสาใหญ่บั้นพระองค์เล็กโดยครองอุตราสงค์เรียบห่มคลุมพระอังสา ปล่อยชายอุตราสงค์ให้ห้อยตกลงมาเป็นเส้นอ่อนโค้งด้านข้างพระวรกายทั้งสองข้าง อันตรวาสกที่ทรงเรียบเช่นเดียวกับอุตราสงค์คงปรากฏขอบสองชั้นที่บั้นพระองค์และจีบทบห้อยลงมาเบื้องหน้ายาวเกือบจรดข้อพระบาท
    อย่างไรก็ตามในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการฉลองสมโภชพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ในวันที่๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเสร็จการแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ประดิษฐานไว้กับพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลณ หอพระสุลาลัยพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร
    -->[​IMG]


    พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร หมายถึง พระประจำวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นตามประเพณีนิยมของพุทธศาสนิกชน สำหรับถวายสักการบูชาเพื่อสิริมงคล ซึ่งหมายถึงพระประจำวันเกิดนั่นเอง

    คติความเชื่อของการกำหนดพระพุทธรูปแต่ละปางให้ตรงกับทั้ง๗ วันในสัปดาห์นี้ มีมาแต่สมัยใด ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สมัยโบราณได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ มาบ้างแล้ว เพื่อเป็นพุทธานุสติน้อมนำใจให้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามพุทธประวัติมาสร้างเพิ่มเติมขึ้น เมื่อนับรวมกับแบบเดิมก็ได้ทั้งสิ้น ๔๐ ปาง

    ส่วนคติการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆให้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดแต่ละวันนั้น เป็นโบราณอุบายของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจให้แก่ตนและลูกหลาน และถือว่าการบูชาพระประจำวันเกิด เป็นมงคลอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง โดยบางคนก็บูชาเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือปัดเป่าให้รอดพ้นภัยพิบัติ พระพุทธรูปประจำวันเกิดนี้ ส่วนใหญ่จะมี ๗ ปางตาม ๗ วันในสัปดาห์ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ แต่บางแห่งก็จะเพิ่มปางวันพุธกลางคืน ที่เรียกว่าวันราหู เข้าไปด้วย

    [​IMG]

    พระพุทธรูปประจำพระชนมวารของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือพระพุทธรูปปางถวายเนตรซึ่งสร้างตามวันประสูติคือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖พฤษภาคมพ.ศ. ๒๔๖๖ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

    ลักษณะพระพุทธรูปปางถวายเนตร นี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตรดูต้นศรีโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขาวทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร

    พระพุทธรูปปางถวายเนตรสร้างขึ้นตามตอนหนึ่งของพุทธประวัติที่ว่า ครั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จจากร่มพระศรีมหาโพธิ์ไปยืนกลางแจ้ง ทางทิศอีสานของต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้น ๗ วัน สถานที่ยืนทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์นั้นเป็นนิมิตมหามงคล ปรากฏชื่อว่า อนิมิสสเจดีย์ พระพุทธจริยาที่ทรงเพิ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้ทรงกะพริบ พระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า ปางถวายเนตร

    [​IMG]


    ตามคติโบราณกำหนดให้มีคาถาบูชาพระพุทธรูปปางถวายเนตรนี้เป็นคาถาพระยานกยูงทอง ที่มีมาในชาดก นอกเหนือจากทศชาติชาดก มีข้อความดังนี้

    " อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณนัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ"

    อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางฯมีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่๘ พระบรมราชสมภพ วันอาทิตย์ ตรงกับขึ้น๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๘๗ รัตนโกสินทรศก๑๔๔ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘

    โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ให้กรมศิลปากรดำเนินการปั้นหุ่นและหล่อโดยมีนายพิมาน มูลประมุขเป็นปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อวันที่๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ณ ศาลาวรสภาภิรมย์ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานคู่กับพระบรมอัฐิบนพระที่นั่งจักรีมหาประสาท

    ส่วนพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตรรัชกาลที่ ๙ มีพระบรมราชสมภพ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ตรงกับขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้ายปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทรศก ๑๔๖ เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสมภังค์ แสดงปางห้ามญาติหรืออภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ขวาเพียงข้างเดียว

    พุทธลักษณะที่สำคัญคือ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระวรกาย พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปแบบสุโขทัยโดยมีพระพักตร์เป็นวงรี พระนลาฏค่อนข้างแคบพระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม และมีพระกรรณยาว พระเศียรประดับด้วยขมวดพระเกศาเป็นก้นหอยมีเกตุมาลาและรัศมีรูปเปลวไฟอยู่เบื้องบน องค์พระพุทธรูปมีพระอังสาใหญ่บั้นพระองค์เล็กโดยครองอุตราสงค์เรียบห่มคลุมพระอังสา ปล่อยชายอุตราสงค์ให้ห้อยตกลงมาเป็นเส้นอ่อนโค้งด้านข้างพระวรกายทั้งสองข้าง อันตรวาสกที่ทรงเรียบเช่นเดียวกับอุตราสงค์คงปรากฏขอบสองชั้นที่บั้นพระองค์และจีบทบห้อยลงมาเบื้องหน้ายาวเกือบจรดข้อพระบาท

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=534549858&Ntype=40
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2008
  2. ราชอริยะ

    ราชอริยะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +25
    มโนปุพฺพํคมา ธมฺมา
    มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสนฺเนน
    ภาสติ วา กโรติวา
    ตโต นํ สุขมาเนวติ
    ฉายาว อนุปายินีฯ

    ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
    ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง)
    สรรพสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ
    ถ้าพูดหริอทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์
    ความสุขย่อมติดตามเขา
    เหมือนเงาติดตามตน

    Mind foreruns all mental condditiones,
    Mind is chief,mind - made are they;
    If one speak or acts with a pure mind;
    Then happiness follows him
    Even as the shadow that naver leaves.
    จาก วัดมาบจันทร์(สาขาวัดหนองป่าพงที่ ๗๓)
    ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง
     
  3. chodchoi

    chodchoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,288
    ค่าพลัง:
    +148
    ขอกราบอนุโมทนาด้วยครับ สาธุ
    กราบขอขมาและอโหสิกรรมด้วยครับ สาธุ
     
  4. คุณจ๋า

    คุณจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +166
    งามจังค่ะ
     
  5. Kotchaporn_p

    Kotchaporn_p Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +50
    ขออนุโมทนาสาธุการด้วยคนค่ะ และขออนุโมทนากับบทความดีๆ ด้วยคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...