พุทธภูมิที่ลาแล้วไม่ควรมีความติดใจในความสงบ อุเบกขา ย่อมไม่ถึงพระโสดาบัน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย lotte, 4 สิงหาคม 2005.

  1. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +4,545
    ความติดใจในความสงบ อุเบกขา ย่อมไม่ถึงพระโสดาบัน
    (bb-flower

    เพราะเป็นวิปัสสนูปกิเลส 10 อย่าง ซึ่งพระโสดาบันสามารถละวิปัสสนูปกิเลสได้หมด ไม่ติดใจอารมณ์ใดๆทั้งสิ้นมาเป็นของตัวเรา

    วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้องเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า

    ๒๔. โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกโข จ ปคฺคโห สุขํ ญาณนุปฏฺฐาน มุเปกฺขา จ นิกนฺติ จ ฯ

    โอภาส ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข ปัคคหะ สุข ญาณ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ

    มีความหมายว่า เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา ที่ชื่อว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมีจำนวน ๑๐ ประการ ได้แก่

    ๑. โอภาส มีแสงสว่างรุ่งโรจน์แรงกล้า สว่างกว่าแต่กาลก่อน

    ๒. ปีติ อิ่มใจเป็นอย่างยิ่งกว่าที่ได้เคยพบเห็นมา

    ๓. ปัสสัทธิ จิตสงบเยือกเย็นมาก

    ๔. อธิโมกข น้อมใจเชื่อ อย่างเลื่อมใสเด็ดขาด ปัญญาก็เกิดได้ยาก

    ๕. ปัคคหะ พากเพียรอย่างแรงกล้า

    ๖. สุข มีความสุขสบายเหลือเกิน ชวนให้ติดสุขเสีย

    ๗. ญาณ มีปัญญามากไป จะทำให้เสียปัจจุบัน

    ๘. อุปัฏฐาน ตั้งมั่นในอารมณ์รูปนามจนเกินไป ทำให้ปรากฏนิมิตต่าง ๆ

    ๙. อุเบกขา วางเฉยมาก เป็นเหตุให้หย่อนความเพียร

    ๑๐. นิกันติ ชอบใจติดใจในกิเลส ๙ อย่างข้างบนนั้น

    วิปัสสนูปกิเลส ๙ ประการ ตั้งแต่ โอภาส ถึง อุเบกขานั้น แม้ว่าจะเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว ถ้านิกันติยังไม่เข้าร่วมด้วย คือ ไม่ชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินไปด้วย ก็ไม่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา ต่อเมื่อใด

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ โอภาส ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปีติ ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปัสสัทธิ ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อธิโมกข ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปัคคหะ ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ สุข ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ญาณ ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อุปัฏฐาน ก็ดี

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อุเบกขา ก็ดี

    เมื่อนั้นจึงนับว่าองค์ประกอบทั้ง ๙ นี้เป็น วิปัสสนูปกิเลส ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ยินดีพอใจอยู่เพียงแค่นี้ โดยเข้าใจเสียว่าตนเองสำเร็จมัคคผลแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส เป็นที่อาศัยแห่งคาหธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ และเป็นช่องให้อกุสลธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาองค์ประกอบของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๙ และองค์วิปัสสนูปกิเลสแท้ ๆ อีก ๑ คือ นิกันติว่าสักแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนี้แล้ว วิปัสสนาก็ไม่เศร้าหมอง แต่จะเจริญขึ้นตามลำดับ

    ๒๕. อิจฺเจวํ ทสุปเกฺลสา ปริปนฺถ ปริคฺคหา อมคฺคา ว อิเมธมฺมา ธมฺมสฺส ปริปนฺติกา ฯ

    อุปกิเลส ๑๐ ประการ ดังบรรยายมาฉะนี้ กำหนดถือว่า เป็นอันตราย ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายแห่งวิปัสสนาธรรม เป็นอมัคค มิใช่ทางเลย

    มีความหมายว่า วิปัสสนูปกิเลส ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอันตรายของวิปัสสนาโดยแท้ แต่จะบังคับบัญชามิให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ เมื่อเจริญถึงตรุณอุทยัพพยญาณ วิปัสสนูปกิเลสย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติคู่กับวิปัสสนา จะเรียกว่าเป็นสหายของวิปัสสนาก็ได้ แต่ว่า วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จำพวก คือ

    ๑. พระอริยบุคคล เพราะได้เคยดำเนินในทางที่ถูกแล้ว

    ๒. ผู้ปฏิบัติผิดจากทางวิปัสสนา

    ๓. ผู้มีความเพียรอ่อน เพราะความเพียรที่แรงกล้าเท่านั้นจึงจะเป็น วิปัสสนูปกิเลส

    เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น พระโยคีผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสปาย ๗ (โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึง กัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้อุปถัมภ์) แล้ว ก็ยากที่จะล่วงพ้นไปได้ เพราะชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินในวิปัสสนูปกิเลสนี้เสีย อุปมาเหมือนการเดินทางไกลและกันดาร เมื่อเดินไปพบศาลาพักร้อนข้างทาง ก็แวะเข้าไปพักผ่อนหลับนอนเสีย ไม่เดินทางต่อไป ก็ไม่บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ด้วยเหตุนี้วิปัสสนูปกิเลสจึงเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นอันตราย เป็นอมัคค คือ มิใช่ทางแห่งวิปัสสนา ส่วนทางของวิปัสสนานั้นคือ การเห็นแจ้งในรูปธรรมกับนามธรรมโดยลักษณะทั้ง ๓ คือ ไตรลักษณ์ เห็นแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปในอุทยัพพยญาณนั้น จึงจะพ้นอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส

    ๒๖. สมฺมวีถิ ปฏิปนฺนํ ตตโต ญาณทสฺสนํ มคฺโค ธมฺมา ธิกมาย มคฺคามคฺค วินิจฺฉยํ ฯ

    ความรู้ความเห็นโดยปัญญาอันกว้างขวาง ดำเนินขึ้นสู่วิถีโดยชอบเป็นทางเพื่อบรรลุธรรม ชื่อว่าการวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทาง (คือมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ)

    มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเกิดญาณแก่กล้า เป็นพลววิปัสสนาในอุทยัพพยญาณแล้ว พ้นจากอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส ไม่ติดไม่ข้องอยู่เลย เพราะมาวินิจฉัยดูว่ามิใช่ทางเลย เป็นสังขารธรรมที่เกิดขึ้น แทรกแซงให้วิปัสสนาเศร้าหมองเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เป็นอันว่าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิในข้อที่รู้ว่าทางหรือมิใช่ทาง อุปมาเหมือนผู้เดินทางมาถึงทาง ๒ แพร่ง วินิจฉัยแล้วรู้ว่า ทางนี้เป็นทางที่ถูก ปลอดภัย ควรเดิน ทางนั้นเป็นทางที่ผิด มีอันตราย ไม่ควรเดิน จึงมุ่งหน้าไปตามทางที่ถูกต้อง คือ พิจารณาไตรลักษณ์แห่งรูปนาม โดยการกำหนดเพ่งความเกิดดับด้วยความพาก เพียรต่อไป

    สรุป ในอุทยัพพยญาณนี้ คงได้ความว่า จำแนกอุทยัพพยญาณได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ และพลวอุทยัพพยญาณ ตรุณอุทยัพพยญาณนี้แหละที่วิปัสสนูปกิเลสเกิด ตรุณอุทยัพพยญาณที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนอยู่ด้วยนั้น เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ กำลังอยู่ในระหว่างวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทางกันแน่ กล่าวอย่างสามัญก็ว่ายังอยู่ในระหว่างลูกผีลูกคน ต่อเมื่อวินิจฉัยได้เด็ดขาดแล้วว่า วิปัสสนูปกิเลสเป็น อมัคค หาใช่ทางไม่ ก็เจริญอุทยัพพยญาณต่อไป อุทยัพพยญาณที่ไม่มีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนด้วยนั้น ชื่อว่า พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่พ้นจากอำนาจแห่งวิปัสสนูปกิเลสแล้วเช่นนี้ จึงเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

    ตรุณอุทยัพพยญาณ บ้างก็เรียกว่า มัคคามัคคววัตถานญาณ นี้สามารถละ อมัคเคมัคคสัญญา สัญญาที่เข้าใจผิดนั้นได้

    พลวอุทยัพพยญาณ บ้างก็เรียกว่า อุทยญาณ คือ ญาณที่เจริญขึ้น ญาณนี้สามารถละ อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นผิดว่าตายแล้วสูญนั้นเสียได้

    ๒. พิจารณารูปนาม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย อัทธาสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรู้รูปนาม
    ที่เกิดขึ้นในภพก่อนว่า รูปนามที่เคยเกิดในภพก่อนนั้น เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้ว ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รูปนามที่กำลังเกิดอยู่ในภพนี้ ก็ไม่ไปเกิดในภพหน้า ย่อมดับไปในภพนี้เท่านั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รูปนามที่จะเกิดในภพหน้า ก็ย่อมดับอยู่ในภพหน้านั้น ไม่ได้ติดตามไปในภพต่อ ๆ ไปอีก ล้วนแต่เป็นอนิจจัง
    ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกันทั้งสิ้น
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน อัทธาสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ละเอียดกว่าแบบ กลาปสัมมสนนัย
    ๓. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย สันตติสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรูปนาม
    ที่เกิดติดต่อกันเป็นระยะ ๆ เช่น
    รูปที่เกิดอยู่ในขณะนอน เมื่อลุกขึ้นนั่ง รูปเหล่านั้นก็หาได้ติดตามมาด้วยไม่ ย่อมดับไปในขณะที่นอนนั้นเอง
    รูปที่เกิดอยู่ในขณะนั่ง เมื่อยืนขึ้นแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะนั่งนั้นเอง
    รูปที่เกิดอยู่ในขณะยืน เมื่อเดินแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะยืนนั่นเอง ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง
    ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น
    ฝ่ายเวทนา ในขณะที่กำลังสบายอยู่ แล้วความไม่สบายเกิดขึ้น ความรู้สึกสบายนั้นก็ดับไป ไม่ได้ตามมา เมื่อมีความรู้สึกว่าไม่สบายอยู่ ครั้นเปลี่ยนเป็นสบายขึ้นมาอีก ความรู้สึกไม่สบายก็ดับไปในขณะนั้นเอง ไม่ได้
    ตามมาล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ เป็นต้น
    ฝ่ายสัญญา ความจำในขณะที่เห็นรูปารมณ์อยู่ ครั้นได้ยินเกิดขึ้น ก็มาจำในเสียงนั้น ความจำในรูปารมณ์
    ก็ดับไป และเมื่อมีการได้กลิ่นเกิดขึ้น ความจำในสัททารมณ์ก็ดับไป มาจำกลิ่นนั้นเสีย ล้วนแต่เป็นอนิจจัง
    ทุกขัง อนัตตา
    ฝ่ายสังขาร ในขณะที่พอใจชอบใจอยู่ เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น ความชอบใจพอใจนั้นก็ดับไป หรือกำลังมี
    ความไม่ชอบใจอยู่ กลับมีความเมตตากรุณาขึ้น ความไม่ชอบใจนั้นก็ดับไป ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ฝ่ายวิญญาณ ในขณะที่รู้รูปารมณ์อยู่ มีความรู้ในสัททารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในรูปารมณ์นั้นก็ดับไป และขณะ
    ที่รู้สัททารมณ์อยู่นั้น หากว่ามีความรู้ในคันธารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในสัททารมณ์นั้นก็ดับไป ล้วนแต่เป็น อนิจจัง
    ทุกขัง อนัตตา
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน สันตติสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดกว่า อัทธาสัมมสนนัยขึ้นไปอีก


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๒

    ๔. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย ขณะสัมมสนนัย เป็นการพิจารณาความ
    เกิดขึ้นและดับไปของรูปหนึ่งต่ออีกรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นและดับไปของจิตดวงหนึ่งต่อจิตอีกดวงหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน ขณะสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ เช่นเดียวกัน การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดที่สุดแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียวเท่านั้น จึงสามารถ
    พิจารณาได้
    การเห็นไตรลักษณ์นั้น ย่อมประจักษ์ในขณะที่ รูปนามดับ เพราะว่าดับไป จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ถ้า
    เที่ยงอยู่ก็ไม่ดับ เพราะว่าดับไปจึงเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ไม่ดับ และเพราะว่าดับไปจึงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาให้คงอยู่ก็ไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาได้ ก็ไม่ให้ดับไปได้ แต่ว่า สัมมสนญาณนี้ เห็นความเกิดของรูปนามที่
    เกิดใหม่ ขึ้นมาแทนแล้ว จึงได้รู้ว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว เป็นการรู้ได้โดยอนุโลมด้วยอาศัยจินตามยปัญญา
    เข้ามาช่วย ไม่ได้ประจักษ์ในขณะที่ดับ ดังนั้นจึงกล่าวว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณ ที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
    สัมมสนญาณนี้ สามารถละ สมูหัคคาหะ การยึดเรายึดเขาเสียได้
    ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่ ๑ ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่ ๒, จนถึงสัมมสนญาณ ญาณที่ ๓, นี้ ล้วนแต่ยังเป็นญาณที่ ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้าช่วยอยู่ทั้ง ๓ ญาณ และนับแต่ อุทยัพพยญาณ เป็นต่อไป
    ไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้ามาช่วยอีกเลย


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๓

    เมื่อพระโยคี กำหนดพิจารณาจนถึง สัมมสนญาณ ที่สงเคราะห์ใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็น
    วิสุทธิมัคคลำดับที่ ๕ แล้ว และตั้งมั่นในการพิจารณาเห็นรูปนามที่เกิดใหม่ ซึ่งทำให้เกิดปัญญา รู้เห็นว่ารูปนามเก่า
    นั้นดับไปแล้ว ที่เรียกว่า สันตติยังไม่ขาด นั้นต่อไปโดยไม่ท้อถอยด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละก็จะเป็นปัจจัย
    ให้เห็นชัดขึ้น จนเห็นใน ขณะที่ดับ โดยรูปนามใหม่ยังไม่ทันเกิดขึ้นมาแทน และเห็นใน ขณะที่เกิด ของรูปนาม
    ใหม่นั้นด้วย อันเป็นการเห็นทั้งความดับของรูปนามเก่า และเห็นความเกิดของรูปนามใหม่ จึงเรียกว่า เห็นทั้ง
    ความเกิดและความดับ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นอย่าง สันตติขาด ได้ชื่อว่าเป็น อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่
    ประจักษ์แจ้งไตรลักษณ์โดยชัดเจน
    อุทยัพพยญาณ ญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นทั้งการเกิดการดับนั้น ยังจำแนกได้เป็น ๒ มีชื่อว่า
    ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณ ที่ยังอ่อนอยู่ และ พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่แก่กล้า มีสติระลึกรู้เฉพาะรูปธรรมนามธรรม ไม่เลยถึงบัญญัติ รู้แต่ปรมัตถล้วน ๆ อุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ นี่แหละที่
    ถึงคราวที่บังเกิด วิปัสสนูปกิเลส
    วิปัสสนูปกิเลส

    วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้อง
    เกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง
    ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า


    ๒๔. โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกโข จ ปคฺคโห
    สุขํ ญาณนุปฏฺฐาน มุเปกฺขา จ นิกนฺติ จ ฯ


    โอภาส ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข ปัคคหะ สุข ญาณ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ
    มีความหมายว่า เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา ที่ชื่อว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมีจำนวน ๑๐ ประการ ได้แก่
    ๑. โอภาส มีแสงสว่างรุ่งโรจน์แรงกล้า สว่างกว่าแต่กาลก่อน
    ๒. ปีติ อิ่มใจเป็นอย่างยิ่งกว่าที่ได้เคยพบเห็นมา
    ๓. ปัสสัทธิ จิตสงบเยือกเย็นมาก
    ๔. อธิโมกข น้อมใจเชื่อ อย่างเลื่อมใสเด็ดขาด ปัญญาก็เกิดได้ยาก


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๔

    ๕. ปัคคหะ พากเพียรอย่างแรงกล้า
    ๖. สุข มีความสุขสบายเหลือเกิน ชวนให้ติดสุขเสีย
    ๗. ญาณ มีปัญญามากไป จะทำให้เสียปัจจุบัน
    ๘. อุปัฏฐาน ตั้งมั่นในอารมณ์รูปนามจนเกินไป ทำให้ปรากฏนิมิตต่าง ๆ
    ๙. อุเบกขา วางเฉยมาก เป็นเหตุให้หย่อนความเพียร
    ๑๐. นิกันติ ชอบใจติดใจในกิเลส ๙ อย่างข้างบนนั้น
    วิปัสสนูปกิเลส ๙ ประการ ตั้งแต่ โอภาส ถึง อุเบกขานั้น แม้ว่าจะเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว ถ้านิกันติยัง
    ไม่เข้าร่วมด้วย คือ ไม่ชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินไปด้วย ก็ไม่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา ต่อเมื่อใด
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ โอภาส ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปีติ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปัสสัทธิ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อธิโมกข ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปัคคหะ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ สุข ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ญาณ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อุปัฏฐาน ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อุเบกขา ก็ดี
    เมื่อนั้นจึงนับว่าองค์ประกอบทั้ง ๙ นี้เป็น วิปัสสนูปกิเลส ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ยินดีพอใจอยู่เพียงแค่นี้ โดยเข้าใจเสียว่าตนเองสำเร็จมัคคผลแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส เป็นที่อาศัยแห่งคาหธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ และเป็นช่องให้อกุสลธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาองค์ประกอบของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๙ และองค์วิปัสสนูปกิเลสแท้ ๆ อีก ๑ คือ นิกันติว่าสักแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนี้แล้ว วิปัสสนาก็ไม่เศร้าหมอง แต่จะเจริญขึ้นตามลำดับ


    ๒๕. อิจฺเจวํ ทสุปเกฺลสา ปริปนฺถ ปริคฺคหา
    อมคฺคา ว อิเมธมฺมา ธมฺมสฺส ปริปนฺติกา ฯ


    อุปกิเลส ๑๐ ประการ ดังบรรยายมาฉะนี้ กำหนดถือว่า เป็นอันตราย ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายแห่ง
    วิปัสสนาธรรม เป็นอมัคค มิใช่ทางเลย


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๕

    มีความหมายว่า วิปัสสนูปกิเลส ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอันตรายของวิปัสสนาโดยแท้ แต่จะบังคับบัญชามิให้
    เกิดขึ้นก็ไม่ได้ เมื่อเจริญถึงตรุณอุทยัพพยญาณ วิปัสสนูปกิเลสย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติคู่กับวิปัสสนา จะเรียกว่าเป็นสหายของวิปัสสนาก็ได้ แต่ว่า วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จำพวก คือ
    ๑. พระอริยบุคคล เพราะได้เคยดำเนินในทางที่ถูกแล้ว
    ๒. ผู้ปฏิบัติผิดจากทางวิปัสสนา
    ๓. ผู้มีความเพียรอ่อน เพราะความเพียรที่แรงกล้าเท่านั้นจึงจะเป็น วิปัสสนูปกิเลส
    เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น พระโยคีผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสปาย ๗ (โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึง กัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้อุปถัมภ์) แล้ว ก็ยากที่จะล่วงพ้นไปได้ เพราะชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินในวิปัสสนูปกิเลสนี้เสีย อุปมาเหมือนการเดินทางไกลและกันดาร เมื่อเดินไปพบศาลาพักร้อนข้างทาง ก็แวะเข้าไปพักผ่อนหลับนอนเสีย
    ไม่เดินทางต่อไป ก็ไม่บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ด้วยเหตุนี้วิปัสสนูปกิเลสจึงเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นอันตราย
    เป็นอมัคค คือ มิใช่ทางแห่งวิปัสสนา ส่วนทางของวิปัสสนานั้นคือ การเห็นแจ้งในรูปธรรมกับนามธรรมโดย
    ลักษณะทั้ง ๓ คือ ไตรลักษณ์ เห็นแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปในอุทยัพพยญาณนั้น จึงจะพ้นอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส


    ๒๖. สมฺมวีถิ ปฏิปนฺนํ ตตโต ญาณทสฺสนํ
    มคฺโค ธมฺมา ธิกมาย มคฺคามคฺค วินิจฺฉยํ ฯ


    ความรู้ความเห็นโดยปัญญาอันกว้างขวาง ดำเนินขึ้นสู่วิถีโดยชอบเป็นทางเพื่อบรรลุธรรม ชื่อว่าการ
    วินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทาง (คือมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ)
    มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเกิดญาณแก่กล้า เป็นพลววิปัสสนาใน
    อุทยัพพยญาณแล้ว พ้นจากอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส ไม่ติดไม่ข้องอยู่เลย เพราะมาวินิจฉัยดูว่ามิใช่ทางเลย เป็นสังขารธรรมที่เกิดขึ้น แทรกแซงให้วิปัสสนาเศร้าหมองเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เป็น
    อันว่าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิในข้อที่รู้ว่าทางหรือมิใช่ทาง อุปมาเหมือนผู้เดินทาง
    มาถึงทาง ๒ แพร่ง วินิจฉัยแล้วรู้ว่า ทางนี้เป็นทางที่ถูก ปลอดภัย ควรเดิน ทางนั้นเป็นทางที่ผิด มีอันตราย
    ไม่ควรเดิน จึงมุ่งหน้าไปตามทางที่ถูกต้อง คือ พิจารณาไตรลักษณ์แห่งรูปนาม โดยการกำหนดเพ่งความเกิด
    ดับด้วยความพาก เพียรต่อไป


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๖

    สรุป ในอุทยัพพยญาณนี้ คงได้ความว่า จำแนกอุทยัพพยญาณได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ และ
    พลวอุทยัพพยญาณ ตรุณอุทยัพพยญาณนี้แหละที่วิปัสสนูปกิเลสเกิด ตรุณอุทยัพพยญาณ ที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลส
    เกิดปะปนอยู่ด้วยนั้น เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ กำลังอยู่ในระหว่างวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทาง
    กันแน่ กล่าวอย่างสามัญก็ว่ายังอยู่ในระหว่างลูกผีลูกคน ต่อเมื่อวินิจฉัยได้เด็ดขาดแล้วว่า วิปัสสนูปกิเลสเป็น อมัคค
    หาใช่ทางไม่ ก็เจริญอุทยัพพยญาณต่อไป อุทยัพพยญาณที่ไม่มีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนด้วยนั้น ชื่อว่า
    พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่พ้นจากอำนาจแห่งวิปัสสนูปกิเลสแล้วเช่นนี้ จึงเป็น
    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
    ตรุณอุทยัพพยญาณ บ้างก็เรียกว่า มัคคามัคคววัตถานญาณ นี้สามารถละ อมัคเคมัคคสัญญา สัญญาที่
    เข้าใจผิดนั้นได้
    พลวอุทยัพพยญาณ บ้างก็เรียกว่า อุทยญาณ คือ ญาณที่เจริญขึ้น ญาณนี้สามารถละ อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นผิดว่าตายแล้วสูญนั้นเสียได้
    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๖ ซึ่งตรงกับโสฬสญาณถึง ๙ ญาณ คือตั้งแต่
    พลวอุทยัพพยญาณ ที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลสรบกวนแล้ว ไปจนถึง อนุโลมญาณ มีคาถาที่ ๒๗ แสดงว่า


    ๒๗. ปริปนฺถ วิมุตฺโต ว อุทยพฺพยญาณโต
    ปฏฺฐาย ยาวานุโลมา นวญาณานิ ภาวิย
    ฐิโต ปฏิปทาญาณ ทสฺสนสฺมิ วิสุทฺธิยํ ฯ


    การกะบุคคล พ้นแล้วจากอันตราย เจริญวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จำเดิมแต่อุทยัพพยญาณไปตลอดถึงอนุโลมญาณ ชื่อว่าตั้งอยู่แล้วใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    มีความหมายว่า บุคคลผู้กระทำความเพียรเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยไม่ท้อถอย ไม่ยึดถือนิมิตต่าง ๆ พ้นแล้วจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และปราศจากวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการ อันเป็นอันตรายของวิปัสสนานั้นมารบกวน เมื่อนั้นวิปัสสนาญาณ ก็จะเจริญแก่กล้าขึ้นในวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ อันได้แก่ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ
    อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเบกขาญาณ และอนุโลมญาณ ตามลำดับ
    ซึ่งญาณทั้ง ๙ นี้ เมื่อกล่าวโดยวิสุทธิทั้ง ๗ แล้ว เรียกว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๖ เป็นความบริสุทธิหมดจดโดยมีปัญญารู้ว่า การปฏิบัติดังนี้เป็นทางที่จะดำเนินไปให้บรรลุถึง ญาณทัสสน วิสุทธิแล้ว ความหมายของแต่ละญาณแห่งวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ นั้น มีดังนี้


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๗

    อุทยัพพยญาณ

    อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ ๔ แห่งโสฬสญาณ และเมื่อนับว่า วิปัสสนาญาณ มี ๙ ตามนัยแห่งคาถาที่ ๒๗
    ข้างบนนี้แล้ว ก็เป็นญาณที่ ๑ แห่งวิปัสสนาญาณ ๙ อันเป็นญาณที่แจ้งไตรลักษณ์ ด้วยการพิจารณาจนเห็นความ
    เกิดดับของรูปนาม
    เมื่อเห็นอนิจจัง เพราะรูปนามนี้ดับไป ๆ สันตติก็ไม่สามารถที่จะปิดบังไว้ให้คงเห็นเป็นนิจจังไปได้ ดังนั้นจึงประหาณมานะเสียได้
    เมื่อเห็นทุกขัง เพราะรูปนามนี้ดับไป ๆ อิริยาบถก็ไม่สามารถที่จะปิดบังไว้ให้คงเห็นเป็นสุขไปได้ ดังนั้นจึงประหาณตัณหาเสียได้
    เมื่อเห็นอนัตตา เพราะรูปนามนี้ดับไป ๆ ฆนสัญญาก็ไม่สามารถที่จะปิดบังไว้ให้คงเห็นเป็นอัตตาไปได้ ดังนั้นจึงประหาณทิฏฐิเสียได้
    อุทยัพพยญาณ นี้เท่ากับอารมณ์ ๓ ญาณข้างต้นรวมกันมาเป็นปัจจัย ให้เกิด อุทยัพพยญาณ กล่าวคือ
    นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่ให้เกิดปัญญาเห็นรูปและนาม ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน
    ปัจจยปริคคหญาณ เป็นญาณที่ให้เกิดปัญญาเห็นปัจจัยที่ให้เกิดรูปและเกิดนาม
    สัมมสนญาณ เป็นญาณที่เห็นการเกิดของรูปนาม จึงได้เกิดปัญญารู้ขึ้นมาว่ารูปนามก่อนนี้นั้นได้ดับไปแล้ว
    ครั้นถึง อุทยัพพยญาณนี้ จึงทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งทั้งความเกิดและความดับ ของรูปนาม
    และต่อไปก็จะเป็นภังคญาณ เป็นญาณที่เห็นแต่ความดับของรูปนามแต่ถ่าย เดียว


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๘

    ภังคญาณ

    ภังคญาณ เป็นญาณที่ ๕ แห่งโสฬสญาณ เป็นญาณที่ ๒ แห่งวิปัสสนาญาณ ๙ และเป็น
    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๖ ในวิสุทธิทั้ง ๗
    ภังคญาณนี้เห็นแต่ความดับถ่ายเดียว ความดับแห่งรูปนาม เป็นที่น่าหวาดกลัวและสะเทือนใจซึ่งผิด
    กับความเกิด เพราะความเกิดนั้นนอกจากไม่เป็นที่น่าหวาดกลัวแล้ว ยังก่อให้เกิดกิเลส เช่น ตัณหา เป็นต้น
    ด้วยซ้ำไป
    การเห็น ก็เห็นความดับของรูปธรรมนามธรรม ทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอกด้วยกล่าวคือ รูปที่เป็น
    อารมณ์ซึ่งเป็นธรรมภายนอกนั้นก็ดับไป ๆ รูปที่รับอารมณ์ที่มากระทบ มีจักขุปสาท เป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมภายใน
    นั้นก็ดับไป ๆ นามคือ จิตเจตสิกที่ธรรมภายในอันเป็นตัวรู้ก็ดับไป ๆ เช่นเดียวกัน ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง
    อนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น
    ความดับเป็นสิ่งสะเทือนใจ จึงทำให้จิตใจจดจ่อเห็นแต่ความดับชัดขึ้นเด่นขึ้นทุกที จนเกิดปัญญารู้เห็น
    ว่ารูปนามนี้ไม่เป็นแก่นสาร หาสาระมิได้ ทำให้คลายความกำหนัด คลายความยึดมั่น ดังที่ในวิสุทธิมัคค
    ได้แสดงอานิสงส์แห่งภังคญาณนี้ไว้ถึง ๘ ประการ คือ
    ๑. ภวทิฏฺฐิปฺปหานํ สละละเสียได้ซึ่งสัสสตทิฏฐิ คลายความใคร่ในภพ คือ ขันธ์
    ๒. ชีวิตนิกนฺติปริจฺจาโค สละละเสียได้ซึ่งความยินดีในชีวิต คลายความใคร่ในชีวิต
    ๓. สทา ยุตตฺปยุตฺตตา มีความเพียรบำเพ็ญกัมมัฏฐาน สิ้นกาลเป็นนิจ
    ๔. วิสุทฺธาชีวิตา ประพฤติเลี้ยงชีวิตด้วยความบริสุทธิ ปราศจากโทษ
    ๕. อุสฺสุกฺกปฺปหานํ สละละเสียซึ่งความขวนขวายในการแสวงหาเครื่อง อุปโภค บริโภค และ
    บริขารต่าง ๆ โดยตั้งอยู่ในความมักน้อย
    ๖. วิคตภยตา ปราศจากความหวาดกลัว บมิได้สะดุ้งตกใจกลัวต่อภยันตรายต่าง ๆ
    ๗. ขนฺติโสรจฺจปฏิลาโภ มีความอดทน อดกลั้น และว่าง่ายสอนง่าย บมิได้กระด้างกระเดื่อง
    ๘. อรติรติสหนตา อดกลั้นได้ซึ่งความกระสันและความยินดี บมิได้ลุอำนาจแห่งความกระสันและ
    ความยินดี
    ภังคญาณ ที่เห็นแต่ความดับของรูปนามนี้ สามารถละ สัสสตทิฏฐิ ที่มีความเห็นผิดว่า สัตว์บุคคล
    ทั้งหลาย มีความเที่ยงไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่นเลย
    ภยตูปัฏฐานญาณ

    ภยตูปัฏฐานญาณ นี้มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า ภยญาณ เป็นญาณที่ ๖ แห่งโสฬสญาณ เป็นญาณที่ ๓ แห่ง
    วิปัสสนาญาณ ๙ และเป็นวิสุทธิมัคค ลำดับที่ ๖ ที่ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ แห่งวิสุทธิทั้ง ๗


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑0๙

    ภยญาณ เป็นญาณที่ได้รับอารมณ์ สืบเนื่องมาจากภังคญาณ ที่เห็นรูปนามดับไป ๆ ไม่เป็นแก่นสาร หาสาระ
    มิได้ ก็เลยเกิดมีความรู้สึกขึ้นมาว่า สังขารรูปนามนี้เป็นภัยอย่างแน่นอน เพราะสิ่งใดที่น่ากลัว น่าหวาดเสียว สิ่งนั้นย่อมเป็นอันตราย เป็นทุกข์ เป็นภัย เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้จับจิตจับใจโดยอำนาจแห่งภาวนา ก็ทำให้มองเห็นภัย
    ในความเกิดขึ้นของสังขารร่างกาย อันมีรูปมีนามนี้ ที่เป็นไปในกำเนิด ๔, ในคติ ๕, ในวิญญาณฐีติ ๗ และในสัตตาวาส ๙ เหล่านั้นว่าล้วนแต่น่ากลัว น่าหวาดเสียว เต็มไปด้วยอันตรายและภัยพิบัติ สังขารทั้งหลายที่เป็นมาแล้วในอดีต ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้แต่ที่จะเป็นไปในอนาคต ก็ต้องมีความย่อยยับดับไปอย่างนี้เหมือนกัน ที่รู้ดังนี้เป็นการรู้
    ตามความเป็นจริงแห่งสภาวธรรม ด้วยภาวนามยปัญญา ขณะที่รู้ดังนี้อยู่ตราบใด ตัณหา คือตัว สมุทัย ก็จะเกิดร่วม
    ด้วยไม่ได้ เป็นการทำให้ตัณหานั้นหยุดชะงักอยู่ ไม่กำเริบขึ้นมาได้ตราบนั้น แต่ว่าความยินร้าย ความกลัว คือ โทสะ อาจอาศัยแอบแฝงเกิดขึ้นได้
    ภยญาณ หรือภยตูปัฏฐานญาณ ซึ่งเป็นญาณที่เห็นว่ารูปนามนี้เป็นภัย จึงละ สภเยอภยสัญญา สัญญาที่ไม่
    แจ้งในภัยนั้นได้
    อาทีนวญาณ

    อาทีนวญาณ เป็นญาณที่ ๗ แห่งโสฬสญาณ เป็นญาณที่ ๔ แห่งวิปัสสนาญาณ ๙ และอยู่ ใน
    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๖ แห่ง วิสุทธิ ๗
    ญาณนี้ได้อารมณ์ต่อเนื่องมาจาก ภยญาณ ที่เห็นรูปนามเป็นภัย จึงเกิดปัญญาเห็นว่า รูปนาม คือ
    สังขารนี้เป็นโทษ ซึ่งสิ่งใดที่เป็นภัยสิ่งนั้นย่อมเป็นโทษ นี่เป็นไปอย่างธรรมดาตามธรรมชาติ การเห็นโทษใน
    ที่นี้เห็นถึง ๕ ประการ คือ
    ๑. เห็นความเกิดขึ้นของสังขารที่ตนปฏิสนธิมา ว่าเป็นโทษ
    ๒. เห็นความเป็นไปของสังขารในระหว่างที่ตั้งอยู่ในภพ และคติที่ตนได้นั้น ว่าล้วนแต่เป็นโทษ
    ๓. เห็นกรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นมานั้นเป็นโทษ มิใช่คุณ
    ๔. เห็นความเสื่อมความสิ้นไปของสังขาร ว่าเป็นโทษ
    ๕. เห็นว่าการที่จะต้องไปเกิดอีกนั้น เป็นโทษ


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๑๑0

    ด้วยอำนาจของปัญญาที่ค่อย ๆ แก่กล้าขึ้นมาเป็นลำดับ จึงทำให้เห็นว่า รูปนามสังขารนี้เป็นโทษ เป็นสิ่งที่
    ร้ายที่ชั่ว ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีเลย แม้แต่ สติ และปัญญา ที่ทำให้เห็นเช่นว่านี้ ก็ยังถือว่า ญาณคือปัญญา ก็เพียงสักแต่ว่ารู้ สติที่ระลึกก็เพียงแต่อาศัยระลึก ไม่อิงอาศัย ตัณหา ความอยาก ไม่อิงอาศัย ทิฏฐิ ความเห็นผิด มาปรุงแต่งให้เกิดความยินดีในสติปัญญาที่ทำให้รู้แจ้งถึงปานนี้ ไม่ถือว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสังขารนี้เป็นคุณเลย ล้วนแต่
    เป็นโทษทั้งนั้น
    เมื่อเห็นโทษของสังขาร ก็ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาว่า ถ้าไม่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ
    ไม่มีรูปนาม ไม่มีสังขารเลย ก็จะปลอดภัย ไม่มีโทษ ปัญญาที่คิดจะให้พ้นจากทุกข์โทษภัยทั้งหลายนี้แหละ คือ
    อาทีนวญาณ เป็นปัญญาที่ริเริ่มจะให้พ้นทุกข์ บ่ายหน้าไปหาสันติสุข น้อมใจไปสู่พระนิพพาน ซึ่งจะไม่ต้องกลับ
    มาวนเวียนในสังสารวัฏฏอีก
    อารมณ์ของอาทีนวญาณนี้ จึงแยกได้เป็น ๒ นัย นัยหนึ่งเห็นโทษของสังขาร อันเป็นธรรมในสังสารวัฏฏ อีกนัยหนึ่งเห็นคุณของพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่พ้นจากสังสารวัฏฏ อารมณ์ทั้ง ๒ นี้จะว่าต่างกันเป็นข้าศึกกันก็ได้ เพราะเมื่อเห็นโทษของสังขารมากเท่าใด ก็พอใจในการที่จะพ้นโทษมากเท่านั้น หรือเห็นคุณในการพ้นโทษมากเท่าใด ก็ยิ่งมีความอยากที่จะจากสังขารที่มีโทษมากเท่านั้น แต่จะว่าอารมณ์ทั้ง ๒ นี้เหมือนกันและช่วยอุปการะแก่กันก็ได้ เพราะความมุ่งหมายของอารมณ์ทั้ง ๒ นี้ มุ่งไปสู่ความพ้นจากสังสารวัฏฏเหมือนกัน และต่างก็เป็นปัจจัยอุปการะ
    ให้เกิดปัญญาแก่กล้า จนนำออกจากสังสารวัฏฏได้เช่นเดียวกัน
    ที่คิดจะพ้นทุกข์ ก็เพราะเห็นทุกข์เห็นโทษของสังขาร ถ้าหากว่ายังเห็นสังขารรูปนามทั้งหลายเป็นของดี เป็น
    ของสวยงาม เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตนอยู่ ก็จะติดอยู่ในตัณหา ติดอยู่ในกองทุกข์ ซึ่งจะนำไปสู่สังสารทุกข์
    อีกไม่มีที่สิ้นสุด จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อใช้ปัญญาพิจารณาทุกข์ให้เห็นทุกข์ แล้วอาศัยทุกข์นั้นแหละไต่ไปตามความทุกข์ ไม่ใช่เพ่งสุข อาศัยสุข ดำเนินไปตามทางที่สุขสบาย ซึ่งกลับจะติดแน่นอยู่ในสุข ไม่มีวันที่จะพ้นทุกข์ไปได้เลย
    อาทีนวญาณ ปัญญาที่เห็นว่ารูปนามนี้ล้วนแต่เป็นโทษนั้น สามารถละ อัสสาทสัญญา สัญญาที่ชื่นชมยินดีนั้นได้


    --------------------------------------------------------------------------------
     
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    กล่าวโดยย่อ ผู้ที่มีวาสนาบารมี ไม่หลงติดในวิปัสสนูกิเลสในอุทยัพพยญาณ เพราะรู้เท่าทันแล้ว ญาณย่อมเจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ..........

    ย่อมรู้ชัดว่า นามรูปไม่ใช่เรา ย่อมรู้ชัดว่า นามรูปไม่ใช่ของเรา ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีเราในนามรูป ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีอะไรอื่นอีกนอกไปจากนามรูป ที่ประกอบเป็น "เรา"

    ย่อมเห็นชัดความเป็นไตรลักษณ์ของนามรูป

    ย่อมเห็นโทษภัยในนามรูป

    ย่อมเบื่อหน่าย วางเฉย ในนามรูป

    ย่อมมองหา และมองเห็น ทางพ้นไปจากนามรูป (จะเกิดญาณรู้เอง)

    ย่อมเข้าถึงความดับแห่งนามรูป

    ย่อมรู้แจ้งด้วยตนของตนเองว่า นี้ทุกข์อันเรากำหนดรู้ได้แล้ว
    ย่อมรู้แจ้งด้วยตนของตนเองว่า นี้เหตุแห่งทุกข์อันเราละแล้ว
    ย่อมรู้แจ้งด้วยตนของตนเองว่า นี้ทางแห่งความดับทุกข์ อันเราดำเนินไปด้วยดีแล้ว
    ย่อมรู้แจ้งด้วยตนของตนเองว่า ทุกข์นั้นๆ ดับไปแล้วและจะไม่กำเริบขึ้นอีก

    ย่อมเชื่อมั่นอย่างไม่ลังเลสงสัยอีกต่อไปเลยว่า นี้แหละคือทางแห่งความบริสุทธิ์ หมดจด อันตัณหา มานะ และ ทิฐิ ไม่เข้าอาศัย
     

แชร์หน้านี้

Loading...