ยิดัม 4 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 19 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffff00>
    ยิดัม เหวัชระ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    เหวัชระยิดัมองค์สำคัญในการปฏิบัติพุทธตันตระ พระองค์มีรูปกายสีน้ำเงินเข้ม
    มุมมองในผู้ศึกษาพุทธธรรมได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าอนัตตาและอารมณ์ฝ่ายดีเป็นอริยะชนผู้มีคุณความดี เป็นผู้มีธรรมะผู้สัมพันธ์ด้วยจึงเป็นอริยะชนด้วย แต่ในด้านตรงข้าม อัตตาและอารมณ์ฝ่ายร้ายเป็นความชั่วร้ายเป็นทุรชนที่จะต้องทำลายทิ้งหรือเก็บกดคุมขัง เพื่อมิให้ผู้ที่สัมพันธ์ด้วยกลายเป็นผู้ชั่วร้าย ความขัดแย้ง การต่อสู้ จึงบังเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เจตนารมณ์ในพุทธรรมมุ่งเน้นในสันติวิธีมากกว่าการต่อสู้และความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นภายในตัวผู้ศึกษาธรรม ยิ่งไม่ควรบังเกิดขึ้น ด้วยว่าการต่อสู้กันนั้นในที่สุดตัวเราโดยองค์รวมจะเป็นผู้ถูกทำลายเอง ในมุมมองของพุทธตันตระ จึงมุ่งสู่ศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้อยู่เองโดดๆเป็นสภาวะที่สัมพันธ์ แอบอิงกัน เป็นสภาวะแห่งการมองอัตตา อนัตตา อารมณ์ดี อารมณ์ร้ายตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ที่ต้องสัมพันธ์กัน เปิดโล่ง โปร่งใส เมื่อดวงตาแห่งธรรมเปิด มองเห็นศูนยตาสภาวะ พุทธภาวะก็บังเกิด ผู้เปิดดวงตาแห่งธรรมก็คือองค์ยิดัม แท้จริงแล้วองค์ยิดัมก็คือ รากฐานแห่งพลัง อัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง ดังนั้นเมื่อพลังแห่งอัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งมวล สัมพันธ์กันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา พุทธภาวะก็บังเกิด ยิดัมก็คือวัชรธรรมกาย หรือพุทธภาวะนั่นเอง

     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    ยิดัม จักรสัมวารา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์ [​IMG]โอม.ฮรี.ฮา.ฮา.โฮุม.โฮุม.เพด./
    [​IMG]

    จักรสัมวารา ธิเบตเรียก เด.โชค.เฮ.รยา.คา./ จีนเรียก เซ่งลักกิมกัง จักรสัมวาราเป็นยิดัมองค์สำคัญ ปฏิบัติกันในนิกายณยิงมายุดใหม่หรือที่เรียกว่าซามา และนิกายคากิว โดยเฉพราะหลักปฏิบัติของคากิวต้องปฏิบัติให้ได้ในองค์จักรสัมวารา จึงจะปฏิบัติมหามุทราได้ องค์จักรสัมวาราเป็นหลักในการปฏิบัตอนุตระโยคะตันตระหมวดตันตระแม่
    องค์จักรสัมวารามีทั้งปาง สองหน้าสี่แขนและสี่หน้าสิบสองแขนในปางยับยัม ศักติชื่อวัชรวาราฮี(โดเจภักโม)ปางยับยัมเป็นสัญลักษณ์ซึ่งแสดงถึงปัญญาและพลัง ปัญญาในรูปสตรีคือความว่างดั้งเดิม พลังในรูปบุรุษคือความกระจ่างใส ในแง่ยินหยาง ปัญญาคือยิน พลังคือหยาง หรือปัญญาคือสัมปชัญญะ พลังคือสติ ดังนั้นการรวมกันของปัญญาดั้งเดิมกับพลังหรือมรรควิธีให้ผลคือการบรรลุพระโพธิญาน จักรสัมวาราท่านเป็นยิดัมขององค์พระอักโษภยพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในตระกูลวัชระ ในภาพทังกาด้านบนตรงกลางจะเป็นองค์พระอักโษภยพุทธเจ้ามุมทั้งสี่จะเป็นฑากินีวัชรโยคินี ตรงกลางล่างเป็นองค์มหากาลาสี่แขน องค์จักรสัมวาราในภาพองค์ท่านสีน้ำเงิน มีสามตาบนเศียรของท่านยอดบนสุดเป็นธรรมจักรซึ่งทำจากกระดูกประดับด้วยจินดามณี พระจันทร์เสี้ยว นุ่งห่มหนังเสือ องค์วัชรวาราฮีวรกายสีแดงมีสามตา ไม่สวมอาภรณ์ บนเศียรมีหัวหมูประดับอยู่ผมห้อยลงทั้งสององค์สวมมงกุฎกระโหลกห้าหัว สวมสร้อยคอกระโหลกห้าสิบหัว ขาซ้ายเหยียดตรงเหยียบบนอัตตา ขาขวางอเล็กน้อย มงกุฎกระโหลกห้าหัวเปรียบดังปัญญาทั้งห้า พระจันทร์เสี้ยวสัญลักษณ์แห่งความสุขอันนิรันดร์ หัวหมูบนเศียรวัชรวาราฮี เปรียบดังปัญญาซึ่งขจัดความหลง ดวงตาทั้งสามคือปัญญามองทะลุกาลทั้งสาม มีเขี้ยวสัญลักษณ์แห่งการแสดงธรรมด้วยความลื่นไหลปราศจากข้อควรกังขา หนังเสือเปรียบเสมือนการไม่หวาดกลัวในการหลุดพ้น มือถือกระดิ่งและวัชระ เปรียบดังปัญญาและพลัง สร้อยกระโหลกขององค์จักรสัมวาราเป็นกระโหลเปียกเปรียบดังการบรรลุสัมโภคกาย สร้อยกระโหลกขององค์วัชรวาราฮีเป็นกระโหลกแห้งเปรียบดังธรรมกายดั้งเดิม ขาขวาเหยียดด้วยความหมายว่าบรรลุสู่ความไม่เกิดไม่ดับ ขาซ้ายงอด้วยความหมายว่าถึงบรรลุก็ไม่เข้านิพพานเพื่ออยู่ช่วยสรรพสัตว์ เหยียบบนมารผู้ขัดขวางการบรรลุ แท่นบัวเปรียบดังปัญญา เมตตาและความหลุดพ้น
    อานิสงฆ์ในการปฏิบัติจักรสัมวาราคือความหลุดพ้น
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffff00>
    ยิดัม กาลจักร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์ [​IMG]โอม.ฮา.ชา.มา.ลา.วา.รา.โยุม.โซ.ฮา./
    [​IMG]

    กาลจักรธิเบตเรียก ดุส.คอร์.โด.เจ จีนเรียก สี่ลุ้นกิมกัง องค์กาลจักรเป็นยิดัมองค์สำคัญในการปฏิบัติพุทธตันตระ พระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมวงล้อแห่งเวลา วงล้อเวลาที่หมุนไปทำให้
    กงล้อแห่งชีวิตดำเนินตามไปด้วย ซึ่งประกอบขึ้นด้วยห่วงโซ่แห่งปฏิจจสมุปบาท อวิชชา ความไม่รู้จริง ตัวการทำให้เกิดการปรุงแต่งหรือ สังขาร ตัวปรุงแต่งได้ประดิษฐ์ประดอยแต่งแต้มจนเกิดวิญญาน หรือธาตุรู้ ธาตุรู้อันซุกซนไม่ยอมหยุดนิ่งหาเรื่องมาทำอยู่เรื่อยๆก็ไปสร้าง รูป ซึ่งเป็นแหล่งรวมของกายและจิต ทำให้ดำรงสภาพความเป็นบุคคล เมื่อเป็นรูปร่างเป็นตัวตน อารมณ์ประสาทสัมผัส หรือ ผัสสะก็เริ่มทำงาน การทำงานของประสาทสัมผัสทำให้เกิดความรู้สึก คือเวทนา เวทนาทำให้เกิดความทะยานอยาก หรือตัณหา ตัณหาที่เกิดจากความรู้สึก เมื่อปล่อยให้มันโลดแล่นไปตามขบวนการของมันเองก็ทำให้เกิดอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น ความถือมั่นในตัวตนว่ามีอยู่จริง ทำให้เกิดภพ เกิดชาติ สุดท้ายก็ต้องเดินทางสู่ความตาย แต่ในขณะที่กำลังเดินทางไปสู่ความตาย อวิชชาก็ได้ก่อตัวขึ้นอีกและนั่นก็คือกงล้อแห่งชีวิตที่กักขังทุกสรรพสัตว์ไว้ ความทุกข์ได้บังเกิดขึ้นตลอดเวลาที่วงล้อแห่งชีวิตหมุนไปตามกาลเวลา ด้วยมหาเมตตาพระศากยะมุนีพุทธเจ้าที่ต้องการให้สรรพสัตว์หลุดพ้นจากกงล้อแห่งวัฏฏพระองค์จึงได้สอนบทปฏิบัติกาลจักร ซึ่งมีทั้งหมดหนึ่งหมื่นสองพันประโยค ได้สอนแก่กษัตรย์ชังปาลา ผู้ครองแคว้นหนึ่งบริเวณอินเดียตอนเหนือ และได้มีการถ่ายทอดต่อมาเรื่อยจนแพร่หลายไปทั่วอินเดียและเข้าสู่ธิเบตพร้อมพุทธตันตระยาน
    ในภาพทังกา พระศากยะมุนีพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง ด้านขวาบนพระโพธิสัตว์ดาราขาว ซ้ายบนพระโพธิสัตว์ดาราเขียว ด้านล่างขวาองค์ไวซามานา ด้านล่างซ้ายองค์จัมบาลา องค์กาลจักรอยู่ใน
    ปางยับยัม
    ประทับยืนบนดอกบัว ประกอบรัศมีอาทิตย์พระจันทร์และดาว ขาทั้งสองเหยียบบนอัตตา องค์กาลจักรมีสี่หน้า ยี่สิบสี่แขน หน้าหลักสีน้ำเงิน หน้าขวาสีแดง หน้าซ้ายสีขาว หน้าหลังสีเหลืองทุกหน้ามีสามตา แปดแขนบนสีขาว แปดแขนตรงกลางสีแดง แปดแขนล่างสีน้ำเงิน บนพระเศียรประกอบด้วยวัชร ทรงอาภรณ์สัมโภคกาย นุ่งหนังเสือ มือทุกมือถือศัตราวุธ องค์ศักติมีสี่หน้า ทุกหน้ามีสามตา
    อนิสงฆ์การปฏิบัติกาลจักร ให้ผลพ้นจากภัยแห่งสงคราม พ้นจากภัยธรรมชาต ิลมฝนมาตามฤดูกาล ประเทศสุขสงบ

     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffff00>
    ยิดัม ยามานตกะะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.ฮรี.ศาติ.วี.กรี.ตา.นา.นา.โฮุม.เพด./
    [​IMG]

    ยิดัมยามานตกะเป็นชื่อสันสกฤต ธิเบตเรียก จิคเจดโดเจ จีนเรียก ได้อุยเต็กกิมกัง ยามานตกะเป็นวัชรธรรมกายของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์
    ยามานตกะทรงเป็นยิดัมองค์สำคัญในการปฏิบัติอนุตระตันตระ ทุกนิกายในธิเบตได้ปฏิบัติบทยิดัมยามานตกะโดยเฉพาะนิกายเกลูให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ตำนานในธิเบตได้กล่าวไว้ว่ายมบาลได้แปรงร่างเป็นฤษีบำเพ็ญตนในถ้ำ วันหนึ่งได้มีโจรขโมยโคชาวบ้านมาฆ่าในถ้ำขณะที่ตัดคอโคขาดแล้วนั้นได้เห็นฤษีเข้ากลัวฤษี นำความไปบอกแก่ผู้อื่นจึงได้ ตัดคอฤษีนั้นด้วยมิใยที่ฤษีท่านได้ร้องขอชีวิต ฤษีหลังจากถูกตัดคอแล้วก็กลับร่างเป็นยมบาลคอขาดก็ได้นำหัวโคมาต่อและได้ฆ่าโจรทั้งสอง และได้นำหัวกระโหลกมารองเลือดดื่มกิน หลังจากนั้นยมบาลหัวโคก็บ้าเลือดเที่ยวเข่นฆ่าผู้คนไม่หยุดหย่อน ชาวบ้านจึงอ้อนวอนพระมัญชูศรีโพธิสัตว์ให้ช่วย พระมัญชูศรีโพธิสัตว์จึงได้อวตารร่างมาเป็นยามานตกะ(ยามานตกะแปลว่าผู้ปราบยมบาล) ปราบยมบาลหัวโคจนพ่ายแพ้และรับหน้าที่เป็นธรรมบาลปกป้องพุทธศาสนา ปางนี้ถือเป็นยิดัมปางที่หน้ากลัวที่สุดวรกายสีน้ำเงินเข้มเก้าหน้าสามสิบสี่มือสิบหกขา ขาขวาทั้งหมดงอ ขาซ้ายเหยียดลิ้นม้วน เขี้ยวงอก ผมชี้ตรงสีแดง คิ้วเป็นเปลวเพลิง สวมมงกุฎ สวมสร้อยหัวกระโหลกสดห้าสิบหัว มีงูสีดำคล้องคอ เครื่องทรงทั้งหมดเป็นกระดูก ไม่สวมอาภรณ์ หน้าตรงเป็นหัวโคสีดำ ดุร้ายมากมีสองเขาอันแหลมคม หน้าตรงถัดขึ้นไปเป็นสีแดง มีหยดเลือดออกจากปาก หน้าตรงถัดขึ้นไปอีกเป็นหน้าพระมัญชูศรีโพธิสัตว์สีเหลืองมีแววดุเป็นหน้าในวัยเด็ก บนเศียรมีจุก หน้าด้านขวาสีฟ้า ถัดขึ้นไปสีแดง ถัดขึ้นไปอีกสีเหลือง ด้านซ้ายสีขาว ถัดขึ้นไปสีเทา ถัดขึ้นไปอีกสีดำ ทุกหน้ามีสามตาดุร้ายน่ากลัว ในปางยับยัม มือทั้งหมดอยู่ในท่ามุทรา และถือศัตราวุธ ยืนบนแท่นบัวเหยียบบนสรรพสัตว์ทุกภพภูมิ องค์ศักติสีฟ้าหนึ่งหน้าสองกร มือถืออาวุธ
    หน้าทั้งเก้าเปรียบดังพระสูตรมหายานเก้าพระสูตร เขาทั้งสองเปรียบดังสัจจะธรรม2ประเภท มือสามสิบสี่และกายวาจาใจเปรียบดังโพธิปักขิยธรรม37 ขาสิบหกขาเปรียบดังความว่างสิบหกประการ ปางยับยัมเปรียบดังความสุขอันนิรันดร์ ขาขวาทั้งแปดที่เหยียบเปรียบดังสิทธิแปดอย่าง ขาซ้ายคือความบริสุทธิ์แปดอย่าง การไม่สวมอาภรณ์คือความไม่ปิดบังซ่อนเร้น ไม่ปรุงแต่ง เส้นผมที่พุ่งตรงขึ้นไปเปรียบดังผลแห่งปัญญานิพพาน ความหมายโดยรวมคือสามารถรู้ซึ้งในโพธิปักขิยธรรม สามารถเข้าสู่ศูนยตาทั้งสิบหกไม่มีความแตกต่างระหว่าง ตัวเราและจักรวาล บรรลุสู่สิทธิ2ประการคือ ขจัดอุปสรรคทั้งปวง และเข้าสู่นิพพาน
    พลังแห่งองค์ยามานตกะยิ่งใหญ่มาก สยบสัตว์พิษทั่วหล้า พิชิตยมบาล ภูตผีปีศาจทั้งปวง เป็นหนึ่งในยิดัมแห่งการปฏิบัติอนุตระตันตระพ่อ
     
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    กูเฮี้ยซามัชชา





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.อา.เบญจา.บรี.คา.โฮุม.โฮุม./
    [​IMG]



    ซังดุสโดเจ จีนเรียกมิกจิบกิมกังสันสกฤตเรียกกูเฮี้ยสมัชชา(อยู่ในหมวดโยคะตันตระ) องค์ยิดัมในการปฏิบัติอนุตระตันตระในหมวดตันตระพ่อซึ่งเป็นหนึ่งในห้าขององค์ยิดัม อันมีเหวัชระ กาลจักรจักรสัมวารายามานตกะและชื่อจีนไต้เอาฮ่วยกิมกัง สีวรกายเปลี่ยนไปตามปางที่ปรากฎสีแดงบ้างสีน้ำเงินเข้มบ้างเป็นต้น
    ในภาพทังกาบนสุดตรงกลางเป็นคุรุนาครชุนโพธิสัตว์ ด้านล่างเป็นมหากาลดำ ซังดุสโดเจมีสามหัวหกแขนสามตาหน้ากลางสีน้ำเงินเข้ม หน้าขวาขาวหน้าซ้าย แดงเปรียบดังตรีกายหรือกาลทั้งสาม สองมือด้านหน้าขวาถือวัชระ ซ้ายถือกระดิ่ง ในปางยับยัม สี่มือ ด้านบนจากขวาถือธรรมจักรมือ ที่สองถือดอกบัว มือ ที่สามถือกระบี ่มือที่สี่ถือจินดามณี กระดิ่งและวัชระเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลวัชระ ธรรมจักรตระกูลพุทธ ดอกบัวตระกูลปัทม กระบี่ ตระกูลกรรมะ จินดามณีตระกูลรัตนะ ทั้งห้าสิ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธ5ตระกูล(โหงวฮึงฮุก ) องค์ศักติถือ สิ่งของเช่นเดียวกัน ทั้งสององค์สวมมงกุฎรูปพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ สวมอาภรณ์สัมโภคกาย นั่งในลักษณะวัชรอาสน์บนแท่นบัว วัชระและกระดิ่งเปรียบดังพระปัญญาอันกระจ่างใส แข็งแกร่งเฉียบคมขององค์อักโษภยพุทธเจ้า ธรรมจักรเปรียบดังพระปัญญาอันมั่นคงไพศาล สงบหนักแน่นของพระไวโรจนพุทธเจ้า ดอกบัวเปรียบดังพระปัญญาธรรมชาติอันบริสุทธิ์เบิกบาน มุ่งมั่นสู่การบรรลุของพระอมิตาภะพุทธเจ้า กระบี่เปรียบดังพระปัญญาแห่งการกระทำอันสมบูรณ์ พร้อมการบรรลุความสำเร็จตามธรรมชาติแห่งการกระทำของพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า จินดามณี เปรียบดังพระปัญญาซึ่งเป็นสิ่งมีค่าทั้งมวลความร่ำรวย มั่งคั่ง ความแผ่ขยายออกสู่พื้นที่ว่างเปล่า และอุเบกขาฌานของพระรัตนสัมภวะพุทธเจ้า
    อานิงส์แห่งการปฏิบัติตันตระซังดุสโดเจเพื่อ การแปรเปลี่ยนธาตุพิษทั้งห้าให้กลายเป็นปัญญาฌานทั้งห้า พิษทั้งห้าประกอบไปด้วย 1 โทสะ ลุ่มหลงทนงตนจนกลายเป็นความคับแคบ 2 อวิชชาทั้งมวล ความมั่นคงสงบอันชาด้าน 3 ตัณหาความทะยานอยาก การล่อลวง 4 ความริษยา ความเดือดเนื้อร้อนใจ การเปรียบเทียบ 5 การโอ้อวด การเบ่งพองจนไม่สามารถควบคุมได้ พระปัญญาทั้งห้าเกิดได้จากการปฏิบัติโดยไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่ และไม่เลือกสถานะ
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    ยิดัม ฮายากีวะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์
    [​IMG]
    โอม.ฮรี.เปดมา.ตา.ครี.ตา.ฮา.ยา.กรี.วา.ฮรี.โฮุม.เพด./

    [​IMG]


    ฮายากีวะ ธิเบตเรียกตาธิน จีนเรียกเบ๊ท้าวเม่งอ๊วง
    ในพุทธศาสนาวัชรยานได้แบ่งกายแห่งธรรมออกเป็นสามกาย คือกายดั้งเดิมก็คือพุทธะ กายแห่งธรรมะคือโพธิสัตว์ กายแห่งพลังคือยิดัมพิชิตมาร ปางแห่งปัญญาดั้งเดิมก็คือปางพุทธเจ้า ปางแห่งการโปรดสัตว์ก็มาในลักษณะอ่อนโยนปางพระโพธิสัตว์ ถ้ามาโปรดสัตว์ก้าวร้าว ดุร้าย ก็จะมาในปางพิชิตมาร ดังนั้นยิดัมพิชิตมารก็คือองค์พุทธเจ้าที่มาโปรดสัตว์ดุร้ายแข้งกร้าวโปรดยากนั่นเอง ถ้ามองในสภาพภายนอกก็จะเห็นว่าท่านดุร้ายน่ากลัว แต่สภาพที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นจากจิตที่เมตตาของพระพุทธเจ้า ที่ต้องการโปรดสัตว์ดุร้าย ท่านเป็นสัญลักษณ์แสงแห่งปัญญที่มาขจัดอุปสรรคความชั่วร้ายซึ่งใช้ภาพมารเป็นสัญลักษณ์
    องค์ฮายากีวะอยู่ในตระกูลปัทมหรือก็คือปางอวตารของพระอมิตาภพุทธเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งก็คืออวตารกายของพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร มีหลายพุทธลักษณ์ เช่น สามเศียรหกกร สามเศียรสี่กร หนึ่งหน้าสองแขน วรกายสีแดง หรือสีน้ำเงินเข้มก็มี ในภาพทังกานี้มีเศียรเดียวสองแขน ดวงตากลมโตสามตา มีเขี้ยวโง้ว เส้นผมสีส้มพุ่งตรงขึ้น บนเศียรมีหัวม้าสีเขียวอยู่ มือขวาถือไม้เท้ากระโหลก มือซ้ายถือเชือกขอ สวมมงกุฎกระโหลกห้าหัว สวมสร้อยกระโหลกห้าสิบหัว สวมอาภรณ์หนังมนุษย์ หนังช้าง นุ่งหนังเสือ ประดับงู ขาด้านขวางอ ด้านซ้ายเหยียดตรง เหยียบมารชายหญิง ยืนบนแท่นบัววงพระอาทิตย์ ล้อมรอบด้วยเปลวเพลิงแห่งปัญญาอันโชติช่วงเผาผลาญอวิชชาทั้งมวล บนเศียรจะมีหัวม้าหนึ่งหัวหรือสามหัวก็ได้ ด้วยความหมายว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมท่านมีความกล้าหาญที่จะไปกินอกุศลกรรมทั้งมวลและอวิชชาของสรรพสัตว์
    พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์เมื่อย่างเข้ามาในวัฏฏสงสารประดุจดังม้าที่หิวกระหาย จึงไม่รั้งรอ รีบเร่งกินน้ำกินหญ้า โดยไม่สนใจสิ่งอื่น น้ำและหญ้าเปรียบดังอวิชชาและอกุศลกรรมของสรรพสัตว์ ท่านมีชื่อเรียกอีกชื่อว่ายิดัมผู้กล้ากิน
    อานิสงฆ์ในการปฏิบัติตันตระองค์ฮายากีวะ คือปลอดจากมารทั้งหลาย ได้รับการกำจัดอกุศลกรรมและอวิชชา หายโรคร้าย คุณไสยไม่สามารถกล้ำกลาย พิธีกรรมในการปรุงยารักษาโรคติดเชื้อในธิเบตจะอัญเชิญองค์ฮายากีวะมาเป็นประธานในการปรุงยา พลังพุทธคุณในพิธีกรรมจะมีพลังอันแข็งแกร่งมากเมื่อมีองค์ท่านเข้าร่วมในพิธีกรรม



     

แชร์หน้านี้

Loading...