รอย "พราหมณ์" เมืองคอน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 8 มกราคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>โบราณสถาน "เขาคา" ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ตามความเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลบนโลกมนุษย์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>บรรดาผู้ร่วมสัญจร "จากประตูสู่ภาคใต้ ถึงเมืองลิกอร์" กำลังมุ่งหน้าเดินขึ้นเขาศรีวิชัย ศาสนสถานอีกแห่งในศาสนาพราหมณ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ร่องรอยของโบราณสถานเขาศรีวิชัยหรือเขาพระนารายณ์ อดีตสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณขนาดใหญ่</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ลักษณะการก่ออิฐเรียงโค้งขึ้นไป เชื่อว่าเป็นเพราะได้รับอิทธิพลตามแบบอินเดีย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โบราณวัตถุจากโบราณสถานรอบเขาคา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพถ่ายเก่าของหอพระอิศวรและโบสถ์พราหมณ์ ปัจจุบันพุพังและถูกรื้อถอนไปแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อีกมุมหนึ่งของโบราณสถานเขาศรีวิชัย </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ฐานรูปเคารพ พบบริเวณที่ราบด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขาศรีวิชัย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>รูปเคารพในหอพระนารายณ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เสาชิงช้าใช้ในพิธีโล้ชิงช้า ตั้งอยู่ด้านหน้าของหอพระอิศวร </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> นครศรีธรรมราชเป็นชุมชนโบราณที่มีหลักฐานปรากฏการตั้งถิ่นฐานมานานนับพันปี ภาชนะ เครื่องใช้ในการดำรงชีวิตที่ค้นพบ เช่น เครื่องมือหินใช้ในการดำรงชีวิต สะท้อนพัฒนาการอันต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวอักษรขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร

    นครศรีธรรมราชในสมัยประวัติศาสตร์ถือเป็นชุมชนค้าขายทางทะเลที่สำคัญ ซึ่งผลจากการติดต่อค้าขายทำให้อิทธิพลทางศาสนาและวิทยาการจากอินเดีย จนกลายเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ดังปรากฏว่ามีการค้นพบหลักฐานต่างๆทั้งที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น เทวสถาน พระพุทธรูป เทวรูปพระนารายณ์ ศิวลึงค์ พระพิฆเนศ ปรากฏทั่วในนครศรีธรรมราช

    อาจกล่าวได้ว่าความเชื่อในศาสนาพราหมณ์เจริญควบคู่การตั้งถิ่นฐานของเมืองนครศรีธรรมราช และการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์ทำให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็น "ศูนย์กลางวัฒนธรรมอินเดียในคาบสมุทรภาคใต้"

    *กำเนิดพราหมณ์

    ศาสนาพราหมณ์มีกำเนิดในประเทศอินเดีย ยุคพระเวท (ประมาณ 1,500-900 ปีก่อนคริสตกาล) แพร่เข้ามาทางภาคใต้ของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 10 โดยอาศัยพราหมณ์(ฮินดู) ส่วนหนึ่งเดินทางโดยเรือข้ามมหาสมุทรอินเดียมาขึ้นฝั่งทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก แล้วเดินบกข้ามเขามายังนครศรีธรรมราช ส่วนหนึ่งข้ามช่องแคบมะละกาสู่อ่าวไทย มาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน

    สันนิษฐานว่า พราหมณ์รุ่นแรกที่เข้ามาน่าจะเป็น "ไศวนิกาย" นับถือพระศิวะ(พระอิศวร)เป็นเทพสูงสุด ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12 พบหลักฐานสัมพันธ์ลัทธิไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณุ(พระนารายณ์)เป็นเทพสูงสุดเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามา

    สมัยก่อนพราหมณ์ได้รับการยอมรับจากเจ้าผู้ครองนคร ในฐานะผู้รู้พระเวทและพิธีกรรม รวมทั้งภาษาสันสกฤตและอักษรปัลลวะที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นจึงอยู่ในฐานะนักวิชาการที่สำคัญของเมือง กระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 18 พุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ได้แผ่เข้ามาทำให้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ลดลง จนปัจจุบันแทบไม่มีศาสนิกของพราหมณ์อยู่ในเมือง

    *"เขาคา" ศูนย์กลางจักรวาลแบบย่อส่วน

    โบราณสถานเขาคา ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็ก บริเวณตำบลสำเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นแนวเทือกเขาเรียกว่าเขานครศรีธรรมราช และยังเป็นต้นน้ำของคลองหลายสาย ตอนกลางเป็นที่ราบมีการทับถมของตะกอนแม่น้ำเหมาะกับการก่อตั้งชุมชน ทำการเกษตรกรรมและใช้น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม ดังนั้นสันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะมีการตั้งถิ่นฐานอาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ จนเข้าสู่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ซึ่งเริ่มติดต่อค้าขายกับชาวอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา

    การติดต่อค้าขายทางทะเลกับชาวอินเดียทำให้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อทางศาสนาจากพ่อค้าและนักบวช(พราหมณ์) ชาวอินเดีย ราวพุทธศตวรรษ 12-14 เป็นยุคเฟื่องฟูของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย มีการตั้งเทวาลัยจำนวนมากทั้งพื้นราบและบนเนินเขา ขณะที่ศาสนาสถานแบบพุทธนิยมก่อตั้งบนพื้นราบ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่าบริเวณพื้นที่เขตอำเภอสิชลปรากฏการตั้งเทวสถานในศาสนาพราหมณ์หนาแน่นมากกว่า 40 แห่ง โดยมี "โบราณสถานเขาคา" เป็นศูนย์กลางจักรวาลบนโลกมนุษย์ ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์

    เขาคาประกอบด้วยยอดเขา 2 ยอด โดยมีศาสนสถานก่อตั้งตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ตั้งเรียงรายตามสันเขา เปรียบเขาคาดั่งเขาพระสุเมรุที่ประทับของเทพเจ้าสูงสุด เสมือนเทวาลัยแห่งพระศิวบนยอดเขา ประดิษฐานศิวลึงค์ตามคัมภีร์ศิวปุราณะ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระผู้เป็นเจ้าอันยิ่งใหญ่ โดยมีลำน้ำหรือคลองท่าทนไหลผ่านเขาคาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ สมมติเป็นแม่น้ำคงคาตามความเชื่อทางศาสนา

    นอกจากปรากฏหลักฐานมีความสัมพันธ์กับลัทธิไวษณพนิกาย เช่น พระวิษณุศิลากลุ่มศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา และเป็นที่พำนักของพราหมณ์ผู้ประกอบพิธี

    ล่วงมานับพันปี วันนี้ความรุ่งเรืองดังกล่าวเหลือเพียงซากปรักหักพัง

    พงศ์ธันว์ สำเภาเงิน นักโบราณคดี สำนักงานศิลปากร 14 นครศรีธรรมราช กล่าวว่า โบราณสถานเขาคาแห่งนี้ปรากฏร่องรอยศาสนาพราหมณ์ชัดเจน ค้นพบศาสนสถานใกล้ๆกันหลายหลัง กำหนดอายุได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษ 12 เป็นต้นมา โดยชื่อที่มาของ "เขาคา" มีการสันนิษฐานหลากหลาย บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากเขาของข้า บ้างก็ว่าสมัยก่อนบริเวณนี้มีหญ้าคาขึ้นอยู่ทั่วไป

    จากการขุดแต่งและบูรณะโดยหน่วยศิลปากรที่ 8 นครศรีธรรมราช ปี 2530 พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เช่น ธรณีประตู กรอบประตู ฐานเสา นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุ ได้แก่ รูปเคารพ ฐานโยนิ ศิวลึงค์

    แต่เดิม เส้นทางขึ้นเขาคาอยู่ทางทิศตะวันตกใกล้กับคลองท่าทน ปัจจุบันทางขึ้นตั้งอยู่ทางทิศใต้ ถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นขั้นบันไดค่อยๆลาดชันขึ้นไปสู่โบราณสถาน เริ่มจาก โบราณสถานหมายเลข 1 เป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐเรียงตัวสูงจากพื้นดิน ภายในมีฐานโยนิตั้งอยู่ พร้อมกับชิ้นส่วนของหินธรณีประตู และฐานเสากระจัดกระจาย

    เดินต่อไปได้ไม่นาน พบแอ่งขนาดใหญ่รกด้วยต้นหญ้าและพรรณไม้ปกคลุม เจ้าหน้าที่โบราณคดีอธิบายว่าเป็นสระน้ำสร้างขึ้นโดยการปรับสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำระหว่างเนินเขา มีการนำก้อนหินขนาดต่างๆมากั้นเป็นผนังขอบสระป้องกันการพังทลายของดิน ใช้บริโภคและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

    หยาดฝนโปรยปรายเริ่มขาดเม็ด พร้อมกับการเดินทางมาถึงโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารหลังใหญ่สุดและถือเป็นอาคารหลักสำคัญที่สุดในบรรดาเทวาลัยบนเขาคา สันนิษฐานว่าเป็นเทวาลัยประธาน วิมานที่ประทับของพระศิวเทพเจ้า

    ลักษณะอาคารเป็นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส รายรอบด้วยกำแพงแก้ว ลานประทักษิณ ตัวอาคารมีฐานบันไดเพียงไม่กี่ขั้น ก็ก้าวถึงธรณีประตูเข้าขึ้นไปยืนภายในศาสนสถานอันว่างเปล่า มีเพียงชิ้นส่วนแตกหักของกรอบ
    ประตู ตรงกลางศาสนสถานตั้งฐานโยนีลักษณะคล้ายฐานบัว มีฐานเขียง ลวดบัว ส่วนท้องไม้แกะเป็นช่องคล้ายฐานเสาประดับอาคาร ส่วนบนของฐานโยนีเจาะเป็นรูรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตรงกลาง ด้านหน้ามีรางยื่นออกมา นอกจากนี้ยังค้นพบโบราณวัตถุรายรอบศาสนถานได้แก่ ฐานเสามีลักษณะเป็นแผ่นหินกลมมน เจาะรูตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยม บางแผ่นมีลักษณะเป็นวงกลมซ้อนกัน 2 ชั้น ตรงกลางเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสำหรับสวมเสาไม้ ฐานเสา รางน้ำลักษณะเป็นแท่งหินปูนเซาะร่องตรงกลางสำหรับทางน้ำไหลผ่านได้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรางระบายน้ำจากพื้นอาคารลงสู่ไหล่เขา

    จากโบราณสถานหมายเลข 2 ระหว่างทางเดินไปยังโบราณสถานลำดับต่อไปผ่านต้นไม้สูงชะลูด เจ้าหน้าที่โบราณคดีชี้ชวนให้ดูทางลาดลงจากเขา ปรากฏต้นไม้เล็กๆขึ้นเต็มไปหมด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น "ทางเดิน" ขึ้น-ลง ศาสนสถานในสมัยโบราณ

    ปลายสุดของยอดเขาทางทิศใต้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานหมายเลข 4 ท่ามกลางต้นไม้หนาตา ดอกไม้ป่าสีสันสดใส มีอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะการก่อสร้างนำเศษหินมาก่อเรียงยกพื้น ภายในปรากฏก้อนหินขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายลึงค์ สันนิษฐานว่าอาจหมายถึง สวยัมภูลึงค์ หรือ ศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเอง

    ศิวลึงค์ของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราชรุ่นแรกๆมักติดกับฐานโยนี เวลาทำพิธีกรรมกระทำโดยการรดน้ำลงไปบนโบราณวัตถุดังกล่าว ซึ่งตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ถือว่า น้ำที่ไหลลงมานั้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ นิยมนำมาดื่มและอาบ ศิวลึงค์รุ่นต่อๆมา ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนมักไม่เท่ากัน

    ศิวลึงค์แบบสมบูรณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หมายถึง พรหมภาค คือ ภาคของพระพรหม ส่วนกลางออกแบบเป็นแปดเหลี่ยมเรียกว่า วิษณุภาค คือ ภาคของพระวิษณุ และส่วนยอดบนสุดมีลักษณะทรงกลมมน เรียกว่า รุทรภาค คือภาคของพระอิศวร ทั้ง 3 ภาครวมเป็นภาคเดียวกันเรียกว่า ตรีมูรติ

    *ศาสนสถาน "พราหมณ์" ในเมือง

    ในบริเวณตัวเมืองเก่านครศรีธรรมราชก็มีศาสนสถานพราหมณ์หลายแห่ง เป็นต้นว่า อาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาไม้มุงกระเบื้องดินเผา ด้านหน้าเป็นรูปจั่ว เป็นศาสนสถานในศาสนพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย บูชาพระนารายณ์ ตั้งอยู่ในตัวเมืองนครฯ เรียกว่า "หอพระนารายณ์" เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและประดิษฐานเทวรูป พระนารายณ์ ภายในประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ ทำด้วยหินทรายสีเทา สวมหมวกทรงกระบอกปลายสอบ พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ ปัจจุบันยังคงเปิดให้ประชาชนเข้าไปกราบไหว้บูชา

    ตรงกันข้ามเป็นที่ตั้งของ "หอพระอิศวร" โบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย บูชาพระอิศวรหรือพระศิวะ สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานศิวลึงค์ สัญลักษณ์ขององค์พระอิศวร นอกจากนี้ภายในยังประดิษฐานเทวรูปสำริดอื่นๆ เช่น พระอุมา พระคเณศ ทว่าปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

    พิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ในนครศรีธรรมราชโบราณ คือ พิธีตรียัมปวายและตรีปวาย พิธีตรียัมปวายเป็นพิธีรับพระศิวะ(หรือพระอิศวร) ในช่วงปีใหม่ (คือวันขึ้น 7 ค่ำถึงแรมค่ำเดือนอ้าย)ด้วยการโล้ชิงช้า ส่วนพิธีตรีปวายเป็นพิธีรับพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ช่วงปีใหม่ต่อจากพิธีรับพระศิวะ(คือวันแรมค่ำถึงวันแรมห้าค่ำเดือนอ้าย) ปัจจุบันพิธีโล้ชิงช้า(ในพิธีตรียัมปวาย)ถูกยกเลิกไปเมื่อพ.ศ.2468 (ที่ยังพอมีอยู่บ้างเป็นบางปี คือพิธีแห่นางกระดาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีโล้ชิงช้า)

    แม้ว่าร่องรอยความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ปรากฏเพียงซากปรักหักพังของศาสนสถาน และโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบและทำการสืบสาวประวัติความเป็นมาอันยาวนาน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังคงหลงเหลือกลิ่นอายความเชื่อและพิธีกรรมที่มีความสัมพันธ์กับศาสนาพราหมณ์

    "เดี๋ยวนี้ยังมีคนนับถือพราหมณ์เข้าไปกราบไหว้ศิวลึงค์ในฐานพระสยม เทวสถานศาสนาพราหมณ์ในตัวเมืองนครฯ" พงศ์ธันว์แสดงความเห็นทิ้งท้าย

    เป็นวัตถุทรงกลม มีตัวอักษร กล่าวกันว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามเช่นเดียวกับ "หัวนะโม" เครื่องรางของขลังคู่เมืองนครศรีธรรมราช ลักษณะคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม เพื่อเอาไปฝังหว่านรอบเมืองนครศรีธรรมราช ป้องกันโรคห่าระบาด ปัจจุบันยังคงเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนในท้องถิ่นและคนต่างถิ่นที่มาเยือน

    ****************

    รอยพราหมณ์ที่ "เขาศรีวิชัย"

    จากเนินทางขึ้นไม่ค่อยลาดชันมากนัก เดินทางมาถึง เนินโบราณสถาน "เขาศรีวิชัย" เรียกตามชื่อวัดเขาศรีวิชัย บ้างก็ว่าเดิมชื่อวัดหัวเขาบน ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดเขาศรีวิชัย หรือเรียกอีกชื่อว่า "เขาพระนารายณ์" ตามการค้นพบเทวรูปพระนารายณ์บนยอดเขาถึง 4 องค์ด้วยกัน ตั้งอยู่ตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณขนาดใหญ่ อายุตั้งแต่พุทธศตวรรษ 12-13

    พงศ์ธันว์ อธิบายว่าเนินโบราณสถานมีทั้งหมด 8 แห่ง โดยลักษณะเนินโบราณสถานหมายเลข 1 เป็นอาคารอิฐ ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในเป็นดินทรายบดอัดเป็นแกนข้างใน ทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศเหนือ พบฐานเสาสลักจากหินสำหรับรองรับเสาไม้ สันนิษฐานว่าตัวอาคารอาจเป็นเครื่องไม้ยกพื้นสูง มีหลังคากระเบื้องดินเผาหรือแฝกปกคลุม ผนังข้างนอกเป็นอิฐไม่ก่อเต็ม นอกจากนี้พบว่า มีการก่ออิฐรอบล้อมศาสนสถานจากการขุดแต่งสันนิษฐานว่าซากอาคารก่ออิฐฐานสูงน่าจะเป็นเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปพระวิษณุ

    ลักษณะของสถาปัตยกรรมโบราณในเขาพระนารายณ์หลงเหลือหลักฐานเพียงเล็กน้อย "เริ่มขุดแต่งมาตั้งแต่ปี 2542 สภาพหลังขุดแต่งเหลือหลักฐานค่อนข้างน้อย จึงไม่สามารถทราบรูปทรงรูปแบบอาคารได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าเป็นอาคารเครื่องไม้ มีอายุราวพุทธศตวรรษ 12-13 พอจะบอกได้ว่าเป็นกลุ่มศาสนสถานหลายหลัง แต่หลังใดเป็นองค์ประธานยังกำหนดไม่ได้"

    ลักษณะของสถาปัตยกรรมในโบราณสถานหมายเลข 2 ,4,5 มีลักษณะคล้ายกับหมายเลข 1 อย่างไรก็ตามลักษณะของหมายเลข 4-5 เป็นอาคารหลังใหญ่ ส่วนอาคารหมายเลข 6 เป็นอาคารก่ออิฐ ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมเป็นกากบาท หน้ากระดานลวดบัว แสดงถึงการรับอิทธิพลจากอินเดีย เช่นเดียวกับอาคาร 8 มีรูปแบบคล้ายอาคารในศาสนสถานในอินเดีย ที่อาคารหมายเลข 4 พบเทวรูปพระนารายณ์ ปัจจุบันนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร

    "การเรียงอิฐพบได้ทั่วไปในอินเดีย ลักษณะการก่อสร้างทับซ้อนแสดงถึงการใช้งานอย่างต่อเนื่อง"

    ผลการตกแต่งพบโบราณวัตถุที่มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาและพราหมณ์ เช่น เทวรูปพระนารายณ์จำนวน 4 องค์ โดยองค์สำคัญจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระนคร ฐานเคารพ ศิวลึงค์ พระพิมพ์เม็ดกระดุม ชิ้นส่วนธรรมจักร นอกจากนี้ยังค้นพบลูกปัดแก้วสีต่างๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวบ้านลักลอบเข้ามาขุดหาลูกปัดกันจนผิวดินเป็นหลุมเป็นบ่อ กระทั่งปัจจุบันยังมีโอกาสได้พบเป็นหลุมที่ชาวบ้านมาขุดหาลูกปัดเป็นรูทิ้งไว้

    "บางช่วงเป็นศาสนาพราหมณ์ แต่ก็ค้นพบชิ้นส่วนธรรมจักร พระพุทธรูป ดังนั้นบางช่วงพุทธศาสนาน่าจะมีส่วนสำคัญ วัยรุ่น เด็กนักเรียนเข้ามาขุดหาลูกปัด ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเฝ้า มีเพียงชาวบ้านช่วยเป็นหูเป็นตา"

    *************************

    เรื่อง
     
  2. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    เห็นโบราณสถานแล้วอยากไปถ่ายรูปอ่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...