ร่วมทำบุญบูชา ตะกรุดพ่อสมหวังบรรจุธาตุพระปัจเจก(ขอทรัพย์พระปัจเจก) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. ออนเนอร์

    ออนเนอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +258
    โครงการแก้มลิง

    ความเป็นมาของโครงการแก้มลิง

    โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้

    ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้

    แนวคิดของโครงการแก้มลิง

    แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง



    ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

    ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)


    ประเภทของโครงการแก้มลิง

    โครงการแก้มลิงมี ๓ ขนาด คือ

    ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น

    ๒. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น

    ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง

    ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า "แก้มลิงเอกชน" ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า "แก้มลิงสาธารณะ"



    การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง

    การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำนั้น ต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำคัญคือต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ ปัจจุบันมีแก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำนวนมาก และระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา

    ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

    ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

    นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย ๓ โครงการในระบบคือ




    ๑.โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
    ๒.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
    ๓.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"


    ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ
     
  2. sereenon

    sereenon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,725
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +7,931
    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
    ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
    ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
    ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
    ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

    โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
    ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
    ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


    ยกตัวอย่างครัวเรือนที่ไปเห็นมานะคะ
    บ้านของเขาอยู่กันสองสามีภรรยา ส่วนลูก ๆ โตทำงานหมดแล้ว
    ในพื้นที่ของเขาจะขุดสระน้ำไว้ใช้สำหรับพืชผักในไร่ และเลี้ยงปลานิลในบ่อด้วย บางส่วนของพื้นที่ก็เลี้ยงไก่ไข่ไว้กินไข่ รอบ ๆ พื้นที่ปลูกชะอม พื้นที่ที่เหลือปลูกแตงกวาไว้ขาย ขยะที่รีไซเคิลได้ เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม ก็เก็บไว้แล้วนำไปขาย นำเงินมาเป็นค่าน้ำมันพืชใช้ทำกับข้าวในบ้าน ข้าวก็ปลูกไว้กินเอง เหลือก็ขาย

    จากเมื่อก่อนนี้ที่มีรายจ่ายเดือนละ 15,000 บาท แต่เดี๋ยวนี้มีรายจ่ายเพียงเดือนละ 3,000 บาท รายจ่ายที่จ่ายจริงในปัจจุบันก็มีค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าน้ำมันรถเท่านั้น นอกนั้นถ้าอยากจะกินอะไรก็สามารถหาได้ในสวนของเขา เป็นตัวอย่างที่ดีอีกครัวเรือนนึงที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงทำได้จริง

    หากมีโอกาสในวันข้างหน้าก็อยากจะลองทำแบบเขาบ้าง แบ่งพื้นที่ขุดสระไว้ เลี้ยงปลา ปลูกข้าวบ้าง ปลูกผักบ้าง เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ดบ้าง ชีวิตเรียบง่าย สงบ ๆ คงจะดีไม่น้อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2016
  3. ratchaplee

    ratchaplee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +712
    โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร
    เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

    การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ, "สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

    ขั้นตอนการทำฝนหลวง แก้ไข

    ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อให้กวน" แก้ไข
    เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้มุ่งใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ (มีค่า critical relative humidity ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

    ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน" แก้ไข
    เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ เพราะจะต้องเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์การทำฝนควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

    ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี" แก้ไข
    เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน

    เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง แก้ไข

    เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพอากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
    เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
    เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่าง ๆ
    เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
    เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
    เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถังและกรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
    เครื่องมือสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรมไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น
    เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ
    สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น เรดาร์ดอปเปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต เครื่องมือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ สถานที่ตั้งเรดาร์ดอปเปลอร์นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
     
  4. TheEnd

    TheEnd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +819
    เมื่อพี่กรขอมาน้องกะจัดหัยครับ ^^"
    โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ

    เมื่อทราบชื่อโครงการตามพระราชดำริว่า "โครงการชั่งหัวมัน" หลายท่านก็คงจะสงสัยโครงการตาม พระราชดำรินี้ เป็นโครงการเกี่ยวกับอะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร ต่างตีความกันไปต่าง ๆ นานาจึงน่าจะมาทำความเข้าใจโครงการนี้ ว่ามีที่มาอย่างไร ให้เข้าใจแจ่มชัดด้วย ที่พระองค์ท่านได้ ทรงกระทำให้แก่ชาติบ้านเมืองของเราอีกโครงการหนึ่ง จากจำนวนทั้งหมด ๔,๐๐๐ กว่า โครงการเป็นโครงการตามพระราชดำริล่าสุด
    ประวัติความเป็นมา
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสือ ประมาณ ๑๒๐ ไร่ และต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก ๑๓๐ ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕๐ ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่า ยาง จ.เพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้นมา และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้อง ทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่อโครงการว่า“โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ”
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี
    2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
    3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์
    การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบด้วย
    - การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน
    - การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ
    - การสาธิตการปลูกสบู่ดำ
    - การปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
    - แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง
    - แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
    - การทำปุ๋ยหมัก
    - การปลูกไม้ผล พืชไร่ ประกอบด้วย แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะละกอ มะนาว ฟักทอง กล้วย อ้อย มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวห้าว ฯลฯ
    - การปลูกพืชผัก ประกอบด้วย มันเทศ กระเพรา โหระพา พริกพันธุ์ซูปเปอร์ฮอต
    มะเขือเทศราชินี กระเจี๊ยบเขียว วอเตอร์เครส มะระขี้นก ผักหวานบ้าน ฯลฯ

    "ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งน้ำหนักมันเทศ
    พื้นที่ที่ตั้งของโครงการนี้อยู่ที่ บ้านหนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี คุณดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ได้กรุณาให้ข้อมูลถึงที่มาของโครงการชั่งหัวมันว่าครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้ นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่า มันเทศที่วางบนตัวชั่ง มีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หา พื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ
    เป้าหมายของโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
    โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ. ท่ายาง เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด คุณดิสธร บอกว่า โครงการชั่วหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยคาดว่าอนาคตจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม
    หวังว่าทุกๆท่านคงได้รับความรู้จากการอ่านเรื่องโครงการชั่งหัวมัน ในพระราชดำริ กันนะครับ ^^
     
  5. mass_physics

    mass_physics เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +246
    ร่วมเล่นเกมค่ะ
    กังหันน้ำชัยพัฒนา คือ เครื่องกลเติมอากาศที่เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอยซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม และน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและการเกษตร

    ทั้งนี้แนวทางของการพัฒนามาจากสภาพเน่าเสียของแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่าจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องกลเติมอากาศ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบฯ ศึกษาและวิจัยร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องต้นแบบขึ้นในปี 2532 จากนั้นก็มีการพัฒนามาอีกหลายรุ่น และในปี 2536 กังหันน้ำชัยพัฒนาก็ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย กังหันบำบัดน้ำเสีย “สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน ด้วยการหมุนปั่นเพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

    ทั้งนี้ การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่าง ๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสียเพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

    ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มากจุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดีและบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำสำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด

    กังหัน น้ำชัยพัฒนา คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถและพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งสร้างเครื่องต้นแบบได้ครั้งแรกในปี 2532 การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับ เคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบที่ติดตั้งอยู่กับที่และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ของกังหัน
     
  6. paramajan_t

    paramajan_t Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +112
    ร่วมเล่นเกมครับ

    โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
    โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา เริ่มต้นขึ้นเนื่องมาจากอัตราการเกิดมลภาวะทางน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไข ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดรอบนอก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตระหนักถึงเรื่องนี้และทรงมีความเป็นห่วงในคุณภาพชีวิตพสกนิกรของท่าน จึงได้มีพระราชดำริเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียขึ้นมาเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 โดยดำริให้สร้างเครื่องกลเพื่อช่วยเติมอากาศ โดยใช้รูปแบบที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียสูงในนาม “กังหันน้ำชัยพัฒนา”

    กังหันน้ำชัยพัฒนา เริ่มต้นใช้งานครั้งแรกในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพ.ศ. 2532 เพื่อทดสอบ ศึกษา วิจัยและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระยะเวลา 4 – 5 ปี

    กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร

    หลักการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา

    โครงกังหันน้ำ 12 เหลี่ยมๆ ละ 6 ซอง โดยแต่ละซองที่พื้นจะมีรูพรุนเพื่อที่จะได้วิดน้ำขึ้นไปสัมผัสกับอากาศและตกลงมากระทบกับผิวน้ำ ก็จะเกิดฟองอากาศขึ้นมา ทำให้มีออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละซองสามารถวิดน้ำได้ลึก 0.50 เมตรและวิดน้ำขึ้นไปแตกกระจายในอากาศได้ถึง 1 เมตรและในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น

    กังหันน้ำชัยพัฒนาได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกในการใช้งานประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่ายตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

    การบำบัดมลพิษในน้ำด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ '''กังหันน้ำชัยพัฒนา''' ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย และสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวลสารต่างๆ ให้ลดต่ำลง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

    เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ '''กังหันน้ำชัยพัฒนา''' ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น '''สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก'''

    นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง

    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นห่วงสภาพแวดล้อม ทำให้ผมปลาบปลื้มใจ และตั้งใจว่า จะพยายามรักษาสภาพแวดล้อม ไม่มักง่ายจนทำให้เกิดมลพิษทางน้ำครับ
     
  7. ปฏิภาณ บดส

    ปฏิภาณ บดส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +132
    ศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    ความเป็นมา

    - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. 2523และยังไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการมาก่อน
    - ดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่มีพระราชดำริใหม่เพิ่มเติม พ.ศ. 2528
    - ทรงมีพระราชดำริ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) กับนายพิศิษฐ์ วรอุไร ตำแหน่งอาจารย์และ หัวหน้าศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ คนแรก สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ พระราชทานพระราชดำริ บ้านโรงวัว ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2527
    โดยสรุปประเด็นสำคัญดังนี้ “’งานนี้เป็นประโยชน์ถึงประชาชนอย่างแท้จริงให้ขยายงานไปให้มากและหาคนให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น” พระราชกระแสรับสั่งนี้ พระราชทานหลังจากที่ได้เริ่มงานครั้งแรกโดยรับพระราชทาน พระราชทานทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่อทดลองขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และได้เริ่มทำแปลงสาธิตในหมู่บ้าน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นโครงการชื่อโครงการว่า “โครงการศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ”
    ที่ตั้งโครงการ

    โครงการนี้ดำเนินงานกับกลุ่มชาวบ้านเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร เพื่อพัฒนาอาชีพด้านไม้ดอกไม้ผล และทำงานวิจัยและพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล ในพื้นที่ต่างๆ
    1 สถานีวิจัยและฝึกอบรมหลัก ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 33 ไร่
    2 สถานีวิจัยและฝึกอบรมย่อย ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านใหม่ดอนชัย หมู่ที่ 8 ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 90 ไร่
    3 สำนักงานประสานงาน และงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    4 งานพัฒนาอาชีพเกษตรด้านไม้ดอกไม้ผล ดำเนินงานในพื้นที่ 6 จังหวัด
    วัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. เพื่อให้มีไม้ดอกไม้ผลพันธุ์ดีกระจายอยูตามหมู่บ้านในชนบท หากมีความต้องการหรือความจำเป็นก็สามารถขยายพันธุ์ออกปลูกเป็นจำนวนมากได้
    2. เพื่อช่วยให้ราษฎรมีความสามารถในการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และอาจผลิตพันธุ์ไม้จำหน่ายเป็นอาชีพรองได้
    3. เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ดอกของไทย
    4. เพื่อพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย
    5. เพื่อให้มีงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์ การขยายพันธุ์ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ผล
    เป้าหมายโครงการ

    1. การพัฒนาการผลิตไม้ดอกไม้ผล
    2. การพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล
    3. การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และวิธีมาตรฐาน
    4. พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้ดีขึ้น
    5. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
    6. อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางชีวภาพของประเทศ
    ระยะเวลาดำเนินการ

    จนกว่าจะหมดความจำเป็นด้านการพัฒนาอาชีพ และฝึกเทคโนโลยีแก่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร และพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลให้เป็นของประเทศเอง
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ประโยชน์ทางสังคม
    1. ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการผลิตไม้ดอกไม้ผลของกลุ่มชาวบ้านเดิมให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น
    2. กลุ่มชาวบ้าน(เดิม) ในโครงการสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
    3. รู้จักการทำงานแบบรวมกลุ่ม ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย การทำบัญชี และการพึ่งตนเองในที่สุด
    4. ประเทศมีพันธุ์ที่พัฒนาใหม่ และวิธีการผลิตที่เป็นของประเทศเอง
    ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
    1. สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
    2. การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    3. ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์มากขึ้น
    ประโยชน์ทางด้านจิตวิทยา
    1. ราษฎรมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น
    2. เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ
    งบประมาณ

    งบปกติ จำนวน 5,758,360 บาท
    ผลการดำเนินงาน

    1. แผนงานพัฒนาอาชีพเกษตร (โครงการต่อเนื่อง)
    ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยงานร่วมดำเนินการได้ติดตามผลการผลิตไม้ดอกไม้ผลของกลุ่มชาวบ้านภายใต้การดำเนินงานของโครงการฯ พร้อมทั้งแนะนำการแก้ไขปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตไม้ดอกไม้ผล แก่กลุ่มราษฎร จำนวน 40 กลุ่มในพื้นที่ 6 จังหวัด รวม 5,031 ไร่ มีรายได้ซึ่งกลุ่มชาววบ้านได้ดำเนินการจำหน่ายเองรวม 19,115,550 บาท (ข้อมูลถึงเดือน สิงหาคม 2547 ผลผลิตของหลายกลุ่มไม้ผลเพิ่งเริ่มเก็บเกี่ยวได้) ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
    2. แผนพัฒนาพันธุ์ไม้ดอก
    นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของศูนย์ ได้ทำการพัฒนาพันธุ์พืชเป้าหมาย คือ แกลดิโอลัส พืชกลุ่มกระเจียว และไม้ดอกเมืองร้อนอื่น ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบพันธุ์ใหม่
    3. แผนงานวิจัย และพัฒนาขยายพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกและพืชพื้นเมือง
    นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของศูนย์ ได้ทำการวิจัย และพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอก
    และพืชพื้นเมือง ทำให้สามารถขยายพันธุ์แกลโอดิลัส พันธุ์ขยายยากได้ 6 พันธุ์ และได้วิธีเบื้องต้นสำหรับการขยายพันธุ์พืชพื้นเมือง 2 ชนิด
    นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ดินเอื้องใบหมาก และการผลิตปทุมมาในน้ำยา
    4. แผนงานอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์
    สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ดิน ซึ่งขยายพันธุ์ยากได้ 2 ชนิด ในปีงบประมาณนี้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักวิชาการศูนย์ฯ และกองทัพภาคที่ 3 ได้อนุรักษ์พันธุ์รองเท้านารีอินทนนท์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุ์รองเท้านารี อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง และได้ริเริ่มส่งเสริมให้ราษฎรปลูก จำนวน 3 ราย
    ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

    พื้นที่กลุ่มชาวบ้านบางกลุ่มประสบปัญหาน้ำไม่พอใช้ และบางกลุ่มมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
     
  8. ธัญญ์นิธิ

    ธัญญ์นิธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,794
    ค่าพลัง:
    +6,030
    ขออนุญาต ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    น้ำคือชีวิต ถ้าไม่มีน้ำคือไม่มีชีวิต พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และสร้างประโยชน์อย่างใหญ่หลวงไว้ให้กับผืนแผ่นดินไทยมากมายนัก ที่เรายังมีน้ำกินน้ำใช้กันได้ในทุกวันนี้ แม้จะประสบปัญหาภัยแล้ง แต่ก็ยังพอมีน้ำอุปโภคบริโภค กันอย่างพอเพียง สิ่งเหล่านี้คืออัจฉริยะภาพของพระองค์ท่าน ทางด้านทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการทำฝนหลวง การปลูกป่าต้นน้ำ การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเขื่อน และอีกมากมาย ผมขอยกตัวอย่างโครงการนึงที่คิดว่าเราทุกคนต้องรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อเขื่อนนี้ครับ

    เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ว่า
    “… ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้จะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ และหมู่นี้ก็พูดกันอย่างเสียขวัญเสียว่าอีกหน่อยต้องปันส่วนน้ำหรือต้องตัดน้ำประปา อันนี้สำหรับกรุงเทพฯ ดังนั้น ต้องหาแนวทางแก้ไขซึ่งปัญหานี้ต้องวางแผนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติในวันนี้ เราก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำโครงการโดยเฉพาะนั้นก็มี และโครงการนั้นได้ยืนยันมาเมื่อเดือนกว่าแล้วที่นราธิวาส ได้วางโครงการและแม้เป็นโครงการที่ไม่ได้แก้ปีนี้ หรือปีหน้า แต่ถ้าทำอย่างไรดีประมาณ ๕ หรือ ๖ ปี ปัญหาน้ำขาดแคลนในกรุงเทพฯ จะหมดไปโดยสิ้นเชิง อาจจะนึกว่า ๕-๖ ปี นั้นนาน ความจริงไม่นานและระหว่างนี้เราก็พยายามแก้ไขเฉพาะหน้าไปเรื่อย แต่ถ้ามีความหวังว่า ๕-๖ ปี ปัญหานี้คงหมดไปก็คงมีกำลังใจที่จะฟันฝ่าชีวิตต่อไป
    ที่ว่า ๕-๖ ปีนี้ ความจริงได้เริ่มโครงการนี้มากกว่า ๕-๖ ปี โครงการที่คิดจะทำนี้บอกได้ ไม่กล้าพูดมาหลายปีแล้วเพราะเดี๋ยวจะมีการคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญจากผู้ที่ต่อต้านการทำโครงการ แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้าเราก็สบาย แต่ถ้าไม่ทำในอีก ๕-๖ ปีข้างหน้าราคาค่าสร้างค่าดำเนินการก็จะขึ้นไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไปไม่ได้ทำ เราก็ต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราก็จะอพยพไปที่ไหนไม่ได้ โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือแม่น้ำป่าสัก อีกแห่งคือ แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียงสำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้ สำหรับการใช้น้ำนั้นต้องทราบว่าแต่ละคนใช้อยู่อย่างสบายพอสมควร โดยเฉลี่ยวันหนึ่งใช้คนละ ๒๐๐ ลิตร ถ้าคำนวณดูว่าวันละ ๒๐๐ ลิตรนี้ ๕ คน ก็ใช้ ๑,๐๐๐ ลิตร คือหนึ่งลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถ้าปีหนึ่งคูณ ๓๖๕ ก็หมายความว่า ๕ คนใช้ในหนึ่งปี ๓๖๕ ลูกบาศก์เมตร ในกรุงเทพฯ และในบริเวณใกล้เคียงนี้เรานับเอาคร่าวๆ ว่ามี ๑๐ ล้านคน ๑๐ ล้านคนก็คูณเข้าไปก็เป็น ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นเราเก็บกัก ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตรในเขื่อนเราก็สามารถที่จะบริการคนในละแวกนี้ คนในภาคกลางใกล้กรุงเทพฯ นี้ได้ตลอดไป แล้วก็ไม่มีความขาดแคลน เขื่อนป่าสักที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑,๓๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ให้ไว้นี้แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียวก็พอสำหรับการบริโภคแน่นอน ไม่แห้ง ถ้าเติมอีกโครงการที่นครนายกจะได้อีก ๒๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ก็เกินพอ... ”
    เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และตำบลพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พื้นที่ของโครงการมีทั้งสิ้น ๑๐๕,๓๐๐ ไร่ ซึ่งมีรายละเอียดังนี้
    • จังหวัดลพบุรี มีทั้งสิ้น ๙๖,๖๕๘ ไร่ ครอบคลุม ๓ อำเภอได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล
    • จัหวัดสระบุรี มีทั้งสิ้น ๘,๖๔๒ ไร่ คือ อำเภอวังม่วง
    เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินชนิดมีแกนดินเหนียวยาว ๔,๘๖๐ เมตร สูง ๓๑.๕๐ เมตร ระดับน้ำกักเก็บสูงสุด +๔๓.๐๐ ม.รทก. เก็บน้ำได้ ๙๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร
    งบประมาณการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น ๑๙,๒๓๐.๗๙๐๐ ล้านบาท



    ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สามารถแยกออกได้ดังนี้
    ทางด้านประชากร ต้องมีประชากรจาก ๒ จังหวัดรวม ๔ อำเภอ คือ จังหวัดลพบุรีได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดสระบุรี ได้แก่ อำเภอม่วง
    ทางด้านสิ่งปลูกสร้างสารธารณะ มีถนนถูกน้ำท่วม ๒ สาย คือ อำเภอชัยบาดาล-อำเภอสนธิ และอำเภอชัยบาดาล – อำเภอด่านขุนทด ส่วนเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถานีแก่งเสือเต้น-สถานีสุรนารายณ์ และ สายแก่งคอย-บัวใหญ่ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียน วัด ส่วนราชการ และธุรกิจเอกชน
    ทางด้านสิ่งแวดล้อม มีแหล่งโบราณคดี ๓๓ แห่ง และวัฒนธรรมชุมชนไทยเบิ้ง รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้แต่เป็นไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
    จากผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หน่วยงานราชการและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันให้ความร่วมมือให้ความช่วยเหลือราษฏรในเขต ๒ จังหวัด ทั้งทางด้านสาธารณูปโภค ด้านไฟฟ้า ถนน น้ำประปา ตลอดจนได้สร้างวัด โรงเรียน และสถานีอนามัย สถานีตำรวจ ทดแทนของเดิมให้กับพื้นที่ชุมชนใหม่ พร้อมทั้งจัดการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ทั้งการเกษตร การประมง การปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น สอนการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร การทำดอกไม้จันทน์และดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด และการทอผ้าด้วยกี่กระตุก
    ประโยชน์จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • เป็นแหล่งสำหรับอุปโภค บริโภคของประชาชนในเขตลพบุรีและสระบุรี
    • เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตลพบุรีและสระบุรี
    • เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเขตลพบุรีและสระบุรี
    • เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิม
    • เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และแหล่งเพาะพันธ์ปลา
    • ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง และการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
    • ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีขยายตัวมากขึ้น
    • ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีรวมทั้งในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    • เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
    • เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก web
    www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com/content/index.php?page=content&type=view&cat=17&id=195
     
  9. พลานุภาพ

    พลานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +248
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    พลังงานทดแทน...
    ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวของโรงสีข้าวตัวอย่างจากสวนจิตรลดา มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง จึงมีการจัดสร้างโรงบดแกลบขึ้นภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา การดำเนินงานในขั้นแรกเป็นการนำแกลบผสมปูนมาร์ลและปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการปรับปรุงดิน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจัดซื้อเครื่องอัดแกลบให้เป็นแท่ง เพื่อนใช้แทนเชื้อเพลิงชนิดอื่น รวมทั้งจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโครงการแกลบอัดแท่งยังคงมีการทดลองและพัฒนาขั้นตอนการผลิตตามพระราชดำริอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชดำริให้ทดลองอัดแกลบผสมผักตบชวา เพื่อทดลองนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชตามแหล่งน้ำมาทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง
     
  10. วัตรธรรม

    วัตรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    364
    ค่าพลัง:
    +448
    ร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์ครับ

    โครงการในพระราชดำริ "การปลูกหญ้าแฝก"

    เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีรากที่ยาว แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผง และง่ายต่อการรักษา

    พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกมีใจความสรุปได้ว่า

    ๑. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาทดลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง

    ๒. การดำเนินการทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้

    ก. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
    ข. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ราบ ให้ดำเนินการในลักษณะดังนี้
    - ปลูกโดยรอบแปลง
    - ปลูกลงในแปลง แปลงละ ๑ หรือ ๒ แนว
    - สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
    ค. การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขินอันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนืออ่าง และช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำทวีความสมบูรณ์ขี้นอย่างรวดเร็ว
    ง. การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำทั้งนี้ให้บันทึกภาพก่อนดำเนินการและหลังการดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน


    ข้อมูลจาก : http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj4.html
    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    การนำมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ที่บ้านผมขุดสระน้ำเลี้ยงปลาและใช้ในการเกษตร ย้อนไปในสมัยก่อนยังไม่มีโครงการในพราชดำริ "การปลูกหญ้าแฝก" เวลาฝนตกมาหนักๆๆดินที่บริเวณขอบสระถูกชะล้างลงในสระน้ำ ทำให้ดินตื้นเขิน ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการขุดลอกสระน้ำทุกปี แต่ในปัจจุบันนี้ได้แก้ปัญหาดินตลิ่งพังทรุดตัวด้วยการปลูกหญ้าแฝก ตามแนวพระราชดำริพ่อหลวงของเรา ทำให้ครอบครัวผมลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
  11. อโศกาชน

    อโศกาชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +447
    โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา


    เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน ๒๖๔ ไร่ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรที่ดินดังกล่าว และทรงมีพระราชดำริกับอำเภอ จังหวัด และหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมปศุสัตว์ ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดทำเป็นศูนย์ศึกษาตัวอย่าง สาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เพื่อเป็นแหล่งให้เกษตรกรตลอดจนผู้สนใจได้เข้าชมศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติมได้
    http://web.ku.ac.th/king72/2526/sont_2.jpghttp://web.ku.ac.th/king72/2526/sont_3.jpg
    จากพระราชดำริข้างต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคเอกชนได้ประชุมปรึกษาหารือกันมอบหมายให้ กรมพัฒนาที่ดินเป็นเจ้าของเรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" คณะกรรมการบริหารฯ ได้ทำหนังสือในนามของ กรมพัฒนาที่ดิน กส. ๐๘๐๑/๑๐๙๔ ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ ถึงสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชทานชื่อของศูนย์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การดำเนินโครงการสนองพระราชดำริสืบไป และทางสำนักราชเลขาธิการได้แจ้งให้ทราบตามหนังสือ ที่ รล.๐๐๐๒/๓๐๔๑ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา"
    เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้แต่งตั้งเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคณะกรรมการบริหารของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนใหม่เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน" ประกอบด้วยหม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรีเป็นองค์ประธาน และหน่วยงานต่าง ๆ หลายกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งภาคเอกชนเป็นกรรมการและเลขานุการ และทำหน้าที่เป็นแกนกลางประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ จังหวัดฉะเชิงเทรารับผิดชอบต่อพื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ ดูแลให้ความปลอดภัยแก่บุคคลและสนับสนุนการดำเนินงานที่ร่วมดำเนินการอยู่ โดยคณะกรรมการบริหารฯ ได้พิจารณาจำแนกพื้นที่ภายในศูนย์ศึกษาฯ ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่รับผิดชอบและเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
    http://web.ku.ac.th/king72/2526/sont_4.jpg
    http://web.ku.ac.th/king72/2526/sont_5.jpg
    นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินที่ราษฎรอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี น้อมเกล้าฯ ถวายให้เป็นที่ดินส่วนพระองค์ เนื้อที่ ๘๖ ไร่ และกรมพัฒนาที่ดินได้รับแจ้งจากสำนักราชเลขาธิการ ตามหนังสือ ที่ รล.๐๐๐๗/๙๙๓๗ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๔ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สถานที่ดังกล่าวจัดตั้งเป็นสาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมประมงฯ ร่วมกันพิจารณาดำเนินการ
    ดังนั้น นับแต่เริ่มตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ได้มีราษฎรที่มีจิตศรัทธาน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินเพิ่มเติมอีก ๔๙๗ ไร่ ผนวกกับที่ดินบริเวณสวนรุกขชาติและสวนพฤกษศาสตร์ รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมดของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ๑,๒๒๗ ไร่เศษ นอกจากนี้ราษฎรตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินรวม ๓ แปลง จำนวน ๑๔๕ ไร่ ดำเนินการจัดทำในลักษณะ "ศูนย์บริการพัฒนาฯ" คือ ทำทั้งการสาธิตเพื่อเป็นตัวอย่าง และให้บริการพัฒนาแก่ราษฎรด้วย โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์บริการพัฒนาบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี" ซึ่งอยู่ในข่ายความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อีกประการหนึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพื้นที่ส่วนที่ติดกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนประมาณ ๖๔๒ ไร่ ให้เป็นพื้นที่ทำการศึกษาวิจัยและทดสอบการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนขึ้น เป็นการสนับสนุนศูนย์ศึกษาฯ อีกด้านหนึ่งด้วย
    คณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ได้กำหนดนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชดำริที่ได้รับพระราชทานแนวทางการพัฒนาไว้ และได้แบ่งพื้นที่หลักเป็นจำนวน ๔ พื้นที่ กล่าวคือ
    ๑) พื้นที่แห่งแรก คือพื้นที่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประมาณ ๑,๒๒๗ ไร่เศษ ผนวกกับพื้นที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ประมาณ ๖๔๒ ไร่ ให้เป็นพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัย และทดสอบการพัฒนาด้านการเกษตรกรรม รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๘๖๙ ไร่
    ๒) พื้นที่แห่งที่สอง คือ ที่ตำบลบ้านซ่องและตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ ๘๔ ไร่
    ๓) พื้นที่แห่งที่สาม คือ พื้นที่ราษฎรรอบนอกศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำโจนเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับศูนย์โครงการฯ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ในเขตตำบลเขาหินซ้อนและตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ ๕๖,๐๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านบริวาร
    ๔) พื้นที่แห่งที่สี่ คือ ที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ประมาณ ๑๔๕ ไร่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการพัฒนาในเขตจังหวัดปราจีนบุรี เป็นศูนย์บริวารของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
    นอกจากนี้ พื้นที่หลักดังกล่าวแล้ว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนยังทำหน้าที่ในการถ่ายทอดวิชาการแผนใหม่ทั้งด้านการเพาะปลูกพืช การปศุสัตว์ การประมง การพัฒนาที่ดิน รวมทั้งด้านศิลปาชีพ ให้แก่เกษตรกร หรือประชาชนที่สนใจ ทั้งในจังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้งจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกและภาคกลางด้วย
     
  12. PeacE123

    PeacE123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,179
    ค่าพลัง:
    +2,485
    โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย

    [​IMG][​IMG]

    หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง (Dilution) ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ"น้ำดีไล่น้ำเสีย" โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)
    การใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย หรือที่เรียกกันว่า "น้ำดีไล่น้ำเสีย" นั้น ได้แก่ การใช้น้ำที่มีคุณ ภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไป และช่วยให้น้ำเน่าเสีย มีสภาพเจือจางลง ทั้งนี้โดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือจากแหล่ง น้ำภายนอก ส่งเข้าไปตามคลองต่าง ๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ หรือคลองบางลำภฯลฯ เป็นต้น ซึ่งกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไป ตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำ เจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นเมื่อ การกำหนดวงรอบ เกี่ยวกับการไหลของน้ำไปตามคลองต่าง ๆ นับแต่ปากคลอง ที่น้ำไหลเข้าจนถึง ปลายคลองที่น้ำไหลออกได้อย่างเหมาะสม โดยที่น้ำสามารถไหลเวียนไปตามลำคลอง ได้ตลอด แล้ว ย่อมสามารถเจือจางน้ำเน่าเสียและชักพาสิ่งโสโครกไปได้มาก ซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสียในคลอง ต่าง ๆ ตอนช่วงฤดูแล้งได้อย่างดี จากแนวพระราชดำริดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงบังเกิดกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย ๒ ระการ ตามแนวพระราชดำริ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" คือ วิธีที่หนึ่ง ให้เปิดประตูอาคารควบคุมน้ำรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะ น้ำขึ้นและระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนระยะน้ำลง ซึ่งมีผลทำให้น้ำ ตามลำคลองมีโอกาสไหลถ่ายเทกันไปมามากขึ้นกว่าเดิม เกิดมีการหมุนเวียนของน้ำที่มีสภาพเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น วิธีที่สอง ให้ขุดลอกคลองเปรมประชากรพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อให้เป็นคลอง สายหลักในการผันน้ำคุณภาพดีไปช่วยบรรเทาให้น้ำเสียเจือจางลงและให้คลองเปรมประชากรตอนล่างเป็นคลองที่สามารถรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปช่วยบรรเทาน้ำเสียโดยส่งกระจายไปตามคลองต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร ส่วนคลองเปรมประชากรตอนบนนั้น ให้หาวิธีรับน้ำเข้าคลองเป็นปริมาณมากอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นจะได้สามารถกระจายน้ำเข้าสู่ทุ่งบางไทร-บางปะอินเพื่อการเพาะปลูก และเพื่อให้คลองเปรมประชากรตอนบน มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ผลักดันน้ำเน่าเสียในคลองเปรมประชากรตอนล่างต่อไปได้
    แนวพระราชดำริสองประการนี้ แสดงถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวว่าทรงเชี่ยวชาญ ในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง และเป็นวิธีการ บำบัดน้ำเสียอย่างง่าย ประหยัดพลังงาน และสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถอันสูงยิ่งในพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเทเพื่อความสุขของปวงชน ทั้งหลาย



    ที่มา : Index of /0drem/web_children/c495000
     
  13. naiburit

    naiburit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    740
    ค่าพลัง:
    +578
    โครงการพระราชดำริฝนหลวง


    ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
    ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง


    [​IMG]"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
    ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
    โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี [​IMG]
    ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
    ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้ การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ.2512กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล [​IMG]เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
     
  14. pom1967

    pom1967 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +317
    ขอร่วมเล่นเกมส์
    โครงการเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    อยากกินผักอะไร ปลูกผักนั้น เหลือกินเอาไปขาย ไม่ต้องลงทุนมาก ปลอดยาฆ่าแมลงใช้ปุ๋ยขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ ปุ๋ยหมัก ไร้ยาฟอมารีนที่แม่ค้าในตลาดผสมน้ำรดผักเพื่อกันเน่า อายุยืน เพราะคนเป็นสัตว์กินพืช ดูจากโครงสร้างของร่างกาย เช่น ฟัน ความยาวของลำไส้
    เลี้ยงไก่ออแกรนิค โดยเลี้ยงปลอดยาปฏิชีวนะ ใช้ น้ำ em ผสมน้ำให้กิน ใช้ข้าวเปลือก เศษอาหาร รำ ไม่มีหัวอาหารที่มีถั่วเหลืองหรือข้าวโพด GOMที่มีงานวิจัยทำให้เกิดมะเร็งและซีด
    ต่างจากระบบทุนนิยม(มือใครยาวสาวได้สาวเอา)ซึ่งปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่นปลูกอ้อนก็ปลูกชนิดเดียวทั้งหมด เวลาราคาปกติก็พอมีกำไร เวลาราคาตกก็เจ็งต้องเป็นหนี้เป็นสิน ซึ่งระบบทุนนิยมก็จะล่มสลายเนื่องจากความไม่สมดุล คนรวยมีอยู่ไม่กี่ตระกูล แต่ร้อยละ 90ขึ้นเป็นคนจนยิ่งจน จนเกิดการปฏิวัติเศรษฐกิจขึ้น ลางบอกเหตุ เช่น วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐ เป็นต้น จนอเมริกาต้องศึกษาระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ เช่น ระบบเศรษฐกิจของมุสลิม ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์(ที่ล้มสลายแล้ว) ระบบแบบเศรษฐกิจแบบพุทธ(สาธารณโภคี)ซึ่งใช้นสังคมสันติอโศก เขตบึงกุ่ม ซึ่งเหมือนกับเศรษฐกิจพอเพียงบวกคอมมิวนิสต์คือคือทำเกษตรพอเพียงปลอดสารพิษเหลือกินเก็บหรือขายเข้าส่วนร่วม เมือสมาชิกจะใช้เพื่อปัจจัยสี่ที่ประหยัดก็เบิกจากส่วนกลางมาใช้และปฏิบัติธรรมคือ พยายามอุเบกขา(วางเฉย)ให้ได้ตลอดเวลาคือ ทำเกษตรก็ดูใจตัวเองไปด้วยว่ามีความโลภ มีความโกรธในใจหรือไม่ หากมีก็พยายามกำจัดออก คือ เมื่อโลภในใจก็ใช้ธรรมะแก้คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ไม่อาจยึดเป็นของเราได้แม้แต่ร่างกายของเราเองซึ่งประกอบด้วยธาตุสี่ เมื่อมีความโกรธขึ้นมาเวลาใดไม่ว่าจะทำอะไร ให้พิจารณาว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นฃเกิดจากเหตุจากปัจจัยเราจะโง่ไปอุปทานยึดว่า จะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ จะต้องไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องไม่เป็นอย่างนี้ ไม่ได้ดังใจก็อึดอัดขัดเคืองโกรธ ต้องมีสติรู้เท่าทัน เข้าใจ เข้าลึกถึงจิตใจสำนึกอุเบกขาได้ ทำได้ตลอดเวลา เกิดสภาพอุเบกขาตลอดเวลา กลายเป็นอรหันต์ในที่สุด
     
  15. chukit1967

    chukit1967 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +218
    ร่วมเล่นเกมส์
    ในหลวงมีโครงการช่วยเหลือประชาชนหลายพันโครงการ เช่น โครงการกังหันชัยพัฒนา โครงการช่างหัวมัน โครงการพระดาบส โครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ทำให้ประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนชาวไทยควรมีความกตัญญู ไม่ล้มเจ้าเพื่อความมั่นคงทางการเมืองของนักการเมือง เพื่อการโกงกินอย่างยั่งยืนของนักการเมืองโดยไม่มีสถาบันกษัติรย์คอยขัดขวาง เราต้องรู้ทันนักการเมือง สถาบันกษัตริย์ ทหาร ศาล การเมืองจะถ่วงดุล คานอำนาจตรวจสอบซึ่งกันและกัน ผมจะกตัญญู รู้คุณในหลวง ไม่จาบจ้วงดูหมิ่นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2016
  16. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,100
    ค่าพลัง:
    +16,525
    เล่นเกมหนนี้ มีหลายๆคนบอกว่าเราเล่นยากไป ผมว่ามันก็ไม่ยากนะ แต่เข้าใจหลายๆคนว่าล๊อคอินไว้ในโทรศัพท์ จะพิมพ์โครงการในพระราชดำริยาวๆแบบนี้ทางโทรศัพท์มันยาก นอกจากก้อปปี้แล้วมาวางซึ่งต้องเข้าเครื่องคอม ผมก็รับทราบปัญหาตามที่ทุกท่านแจ้งมาว่าไม่ได้อยู่หน้าคอมบ้าง ยังติดงานไม่สามารถเล่นทางโทรศัพท์ได้แบบเกมส์ทุกๆครั้งบ้าง เพราะเป็นโครงการของในหลวงจึงกลัวจะพิมพ์ผิดพิมพ์พลาดไป ก็จะรับข้อคิดเห็นที่หลายๆคนแสดงมาไว้ปรับปรุงเวลาเล่นเกมส์กันครั้งต่อไป อันนี้ยอมรับผิดจริงๆคือลืมคิดถึงหลายๆคนที่ทำงาน จะต่อเน็ตอ่านได้เต็มที่แค่ในโทรศัพท์ ไว้งวดต่อไปจะคิดเกมส์หรืออะไรให้มันง่ายและสะดวกกว่านี้
     
  17. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,954
    ค่าพลัง:
    +5,658
    เขื่อนขุนด่านปราการชล
    ชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนคลองท่าด่าน เป็นเขื่อนคอนกรีตอัดบดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก[ต้องการอ้างอิง] ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และควบคุมไม่ให้เกิด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม
    ความสำคัญ
    ที่ราบลุ่มนครนายกมีระดับน้ำใต้ดินมีการลดระดับหรือพื้นที่ลาดเทค่อนข้างมาก ทำให้น้ำไหลบ่ารุนแรงในช่วงฤดูฝน ส่วนบริเวณพื้นที่ชลประทานนครนายก เป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมีระดับน้ำใต้ดินต่ำจึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งส่วนในฤดูฝนกลับเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่มีความลาดเอียงน้อยทำให้น้ำระบายออกยากน้ำจึงท่วมขังเป็นเวลานาน การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำนครนายกตอนบนจึงเป็นการชะลอกระแสน้ำไม่ให้ไหลอย่างรุนแรงในช่วงฤดูฝนโดยจะกักเก็บน้ำไว้ และในทางกลับกัน จะสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งได้แทนที่จะต้องเผชิญกับภัยแล้ง

    โครงสร้างและลักษณะ
    ตัวเขื่อนขุนด่านปราการชลประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็น เขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง (สูงสุด) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำ มีความจุ 224 ล้าน ลบ.ม. โดยทำให้มีน้ำในการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และบรรเทาอุทกภัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของนครนายก นักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน จะเห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน ในอนาคตมีโครงการจะสร้างแก่งเทียมเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา และเป็นสนามสลาลอมนานาชาติ ซึ่งจะเป็นแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ หากก่อสร้างแก่งเทียมแล้วเสร็จ จะสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายกเพิ่มขึ้น
    การนำมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน คือ อย่ายอมรับชะตากรรม ต้องหาวิธีแก้ไขปรับปรุง
    และอาจได้ผลตอบแทนมากกว่าที่คิด
     
  18. QueenB

    QueenB สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +4
    ร่วมเล่นเกมส์
    โครงการหญ้าแฝก

    “....ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม...”

    ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผิวหน้าดินถูกกัดเซาะจากฝนที่ตกลงมาและน้ำที่ไหลบ่าหน้าดิน ซึ่งทำให้สูญเสียดินที่อุดมสมบูรณ์ไป บางครั้งยังเกิดปัญหาดินพังทลายก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร ส่งผลให้พื้นที่ซึ่งเดิมเคยให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมสูงกลับให้ผลผลิตลดลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักถึงปัญหาเกิดขึ้นและทรงตระหนักถึงศักยภาพของหญ้าแฝก ซึ่งหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดินได้ จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกขึ้นโดย

    1. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดปัญหาดินพังทลายลงมา โดยปลูกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
    2. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
    3. การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้ โดยปลูกไว้ล้อมรอบต้นกล้าของไม้ผล เมื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมพื้นที่ หญ้าแฝกที่ปลูกจะตายและกลายเป็นอินทรียวัตถุในดิน
    4. การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน ไม่ให้แร่ธาตุหน้าดินถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ

    เป็นการใช้ธรรมชาติแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติที่ประหยัดและชาญฉลาดมากจริงๆ
     
  19. PALA 5

    PALA 5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +822
    โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริผานาง-ผาเกิ้ง
    บ้านผานาง ตำบลผาอินทร์แปลง กิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

    พระราชดำริ :
    เนื่องด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยราษฏรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและต้องประสบกับวิกฤตต่างๆ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศ ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยกันมาก จึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ พันเอก เรวัต บุญทับ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ร่วมกับจังหวัดเลย จัดพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการฯ สำหรับช่วยเหลือราษฎรยากจน และไม่มีที่ทำกิน เพื่อลดการทำลายป่าอีกทางหนึ่ง กองพลทหารราบที่ ๓ ได้ดำเนินการตามพระราชเสาวนีย์ และได้เลือกพื้นที่บริเวณ ผานาง - ผาเกิ้ง บ้านผานาง หมู่ที่ ๕ ตำบลผาอินทร์แปลง กิ่ง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย จำนวน ๑๓๕ ไร่ ในพื้นที่จำนวน ๓๕๐ ไร่ อยู่ติดกับภูเขาซึ่งเป็นป่าธรรมชาติ ในปัจจุบันขยายเป็น ๕๐๐ ไร่ มีลำธารไหลผ่านเหมาะสมกับการทำไร่นาสวนผสมและสวนป่าตามโครงการป่ารักน้ำ จึงจัดตั้งเป็นโครงการฯขึ้นในปีที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนพรรษา ครบ ๖๐ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีวัตถุประสงค์หลักรักษาสภาพป่าที่สมบูรณ์มิให้ถูกทำลาย พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น โดยส่งเสริมอาชีพและจัดสรรที่ทำกินให้เป็นหลักแหล่ง, ฟื้นฟูสภาพป่า ให้กลับคืนสู่สภาพความสมบูรณ์ให้เป็นป่าธรรมชาติ ป่าใช้สอย และป่าเศรษฐกิจ

    สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโครงการฯ 5 ครั้ง
    - ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ธันวาคม 2535
    - ครั้งที่ 2 วันที่ 1 ธันวาคม 2537
    - ครั้งที่ 3 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2538
    - ครั้งที่ 4 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539
    - ครั้งที่ 5 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2546

    วัตถุประสงค์ :
    1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในโครงการให้ดีขึ้น ให้มีอาชีพและที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่เงสริมงานศิลปาชีพและอาชีพเสริมอื่นๆ เพื่อให้ราษฎรมีรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้
    2. รักษาสภาพป่าที่สมบูรณ์มิให้ถูกทำลาย อนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้มีทั้งป่ะรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอยโดยใช้พื้นที่แต่น้อยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
    3. งานตามพระราชเสาวนีย์ ติดตามผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์



    ประเภทของโครงการ :
    โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ผานาง - ผาเกิ้ง จัดอยู่ในประเภทโครงการด้านสิ่งแวดล้อม, ด้านส่งเสริมอาชีพและโครงการสำคัญอื่น ๆ ( โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ )

    ที่ตั้งโครงการ :
    บ้านผานาง หมู่ที่ ๕ ตำบลผาอินทร์แปลง กิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

    พื้นที่ดำเนินการ :
    จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ตำบลผาอินทร์แปลง กิ่ง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย และในจำนวน ๕ หมู่บ้าน ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดหนองบัวลำภู

    ลักษณะโครงการ :
    แบ่งเป็น 6 กลุ่มงาน ดังนี้
    1. งานตามพระราชเสาวนีย์ ได้แก่
    1.1 การรักษาสภาพป่ามิให้ถูกทำลายจากไฟป่าและคน โดยให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ โดยพื้นที่ 1,500 ไร่ ที่ได้รับมอบหมายจากกรมป่าไม้จัดเป็นป่าอนุรักษ์ สำหรับพื้นที่ของงโครงการฯ จำนวน 497 ไร่ จัดเป็นป่าเศรษฐกิจ และป่าใช้สอย โดยปลูกยางพาราในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ประมาณ 300 ไร่
    1.2 พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรพักอาศัยในโครงการฯ จำนวน 50 ครอบครัว 161 คน (ชาย 81 คน หญิง 80 คน) โดยสร้างบ้านพักอาศัยเนื้อที่ 2-3 งาน และจัดที่ทำกินให้ครอบครัวละ 2 – 5 ไร่
    1.3 ติดตามงานตามพระราชเสาวนีย์ เช่น ผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ จำนวน 27 ราย
    1.4 ปลูกพืชพรรณไม้ป่าเสริมบริเวณพื้นที่ภูผาผีถอนและภายในพื้นที่โครงการฯ เช่น สัก พยุง ชิงชัน ประดู่ หว้า เป็นต้น
    2. งานส่งเสริมศิลปาชีพ
    เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ได้แก่ การทอผ้าไหม การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การตีเหล็ก
    และการจักสาน
    3. งานพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้
    แยกเป็นกิจกรรมกลุ่มอาชีพและกิจกรรมสาธิตเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ได้แก่
    3.1 กิจกรรมกลุ่มอาชีพ
    - การหัตถกรรมจากไม้ขนาดเล็ก สมาชิก 15 คน ดำเนินการผลิตสินค้า เช่น ทัพพี ไม้เกาหลัง ตะหลิว ตะเกียบ ไม้พาย เป็นต้น การจำหน่ายนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายทั้งในและนอกพื้นที่ เช่น ตามงานเทศกาลของจังหวัดต่าง ๆ และงานนิทรรศการของภาครัฐ
    - การแปรรูปสมุนไพร สมาชิก 4 คน ทำการแปรรูปสมุนไพรรูปแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นชนิดชงดื่ม
    - การเลี้ยงโค สมาชิก 16 คน เลี้ยงโคพระราชทานไถ่ชิวิตที่ได้รับมอบเมื่อ 14 มี.ค. 2543 ปัจจุบันมีโค
    จำนวน 24 ตัว
    - การปลูกยางพารา สมาชิก 30 คน ยาพาราจำนวน 300 ไร่ เริ่มกรีดยางพาราตั้งแต่ ปี 2548 และให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 228 ไร่ ส่วนที่ยังไม่ให้ผลผลิตเนื่องจากทยอยปลูกเพิ่มเติมภายหลังและปลูกซ่อมแซมส่วนที่ตายนำไปฝากจำหน่ายตามร้านค้าสถานที่ต่าง ๆ และทำจำหน่ายตามลูกค้าสั่ง
    - การทำดอกไม้ประดิษฐ์ สมาชิก 16 คน ทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทยเป็นดอกไม้หลากหลายชนิด นำออกจำหน่ายตามงานเทศกาล งานจำหน่ายและแสดงสินค้าที่ทางราชการจัดขึ้น จำหน่ายที่ที่ทำการกลุ่มฯ และทำตามสั่งที่ลูกค้าสั่ง
    3.2 กิจกรรมสาธิตเพื่อการเรียนรู้ ดังนี้
    - การเลี้ยงปลา –กบ การเพาะเห็ด การขยายพันธุ์ไม้ และโรงสีข้าว นอกจากนั้นยังมีสวนไม้ผลสาธิตเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
    4. งานพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
    4.1 จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ปัจจุบันมีเด็ก 68 คน ผู้ดูแลเด็ก 3 คน สนับสนุนงบประมาณ
    โดย เทศบาลตำบลผาอินทร์แปลง และพัฒนาชุมชน อ.เอราวัณ จ.เลย
    4.2 จัดตั้งศูนย์พัฒนาการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มีการฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่ประชาชนผู้สนใจ ตั้งแต่ปี 45 เป็นต้นมา
    4.3 ดำเนินการดูแลรักษาป่าในพื้นที่โครงการ ฯ อย่างต่อเนื่องและปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันมีหญ้าแฝกปลูกรวม 60 ไร่
    5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
    5.1 จัดวิทยากรกระบวนการฝึกอบรมให้กลุ่มสนใจต่าง ๆ ณ โครงการฯ เช่น หลักสูตรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หลักสูตรผู้นำ ค่าเยาวชน อาสาป้องกันและแก้ไขยาเสพติด และอื่นๆ
    5.2 จัดให้มีศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสมาขิก ณ โครงการฯ หรือให้ตัวแทนนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายนอกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
    6. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    กิจกรรมที่ดำเนินการคือ ที่พักรวม 100 ที่นอน บ้านพักรับรอง จักรยาน จักรยานน้ำ ตกปลา และเต็นท์ให้เช่า


    สรุปผลการดำเนินงาน :
    การดำเนินงานได้แบ่งออกเป็นกลุ่มงาน ดังนี้
    1. กลุ่มงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
    1.1 งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    - ดูแลรักษาหญ้าแฝกในพื้นที่โครงการฯ เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำตั้งแต่ ปี 2542 และปลูกเพิ่มเติมปัจจุบันมีหญ้าแฝก รวม 60 ไร่ พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกโครงการฯ ราษฎรทั่วไปและผู้เข้าเยี่ยมชนทัศนศึกษาดูงานทราบถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกพร้อมแนะนำให้ไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง
    - จัดตั้งศูนย์การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ ปี 2543 โดย ชป.โครงการฯ ทดลองใช้กับการปลูกพืชทุกชนิด การเลี้ยงสัตว์ และการบำบัดน้ำเสียในโครงการฯ ได้ผลเป็นอย่างดี พร้อมกับประชาสัมพันธ์และจัดการฝึกอบรมโครงการเกษตรธรรมชาติให้กับราษฎรหมู่บ้านบริเวณและราษฎรนอกพื้นที่ตามภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ณ โครงการฯ เน้นการลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติและแนวทางการประกอบอาชีพจำเป็นในการดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    1.2 ทรัพยากรธรรมชาติ
    - ดูแลรักษาป่าธรรมชาติบริเวณภูผาผีถอน จำนวน 1,500 ไร่ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา รวมทั้งปลูกป่าเพิ่มเติมรอบภูเขา เช่น ไม้สัก ประดู่ สะเดา เป็นต้น ปัจจุบันป่าฝืนนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สังเกตจากมีสัตว์ป่าหลายชนิดเข้ามาอยู่อาศัย เช่น ลิง นก กระรอก กระแต ไก่ป่า ฯลฯ
    - ปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการฯ ให้สมาชิกโครงการฯ ดูแลรักษาคือการปลูกยางพารา จำนวน 300 ไร่ สมาชิกดูแล 33 คน ขณะนี้สามารถกรีดยางได้แล้ว และปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ เช่น มะขาม มะม่วง ลำไย จำนวน 30 ไร่ ขณะนี้ไม้ผลทุกชนิดได้ให้ผลผลิตแล้ว
    - ปลูกไม้ใช้สอยในพื้นที่โครงการฯ บริเวณริมถนนภายในโครงการฯ และรอบ ๆ ภูเขา จำนวน 35 ไร่ ขณะนี้พันธุ์ไม้มีอายุ 5 – 14 ปี สามารถนำกิ่งที่ตายมาเป็นฟืนและนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นคุ้มค่ามากที่สุด
    2. กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ดำเนินงานในกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนี้
    - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน โดยอนุมัติให้เทศบาลตำบลผาอินทร์แปลง และพัฒนาชุมชน อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ใช้พื้นที่ในโครงการฯ จำนวน 2 ไร่ ก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 2 หลัง ใช้งบประมาณ 930,800 บาท ทดแทนหลังเก่า เมื่อปี 2548 เสร็จเรียบร้อย ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของโครงการฯ เริ่มก่อตั้งเมื่อ ปี 2540 การดำเนินงานจัดเจ้าหน้าที่โครงการฯ กำกับดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด และเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองเด็ก ปัจจุบันผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน และเด็กเล็ก จำนวน 64 คน
    - ส่งเสริมให้สมาชิกโครงการฯ และราษฎรรอบพื้นที่โครงการฯ ประกอบอาชีพโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก เน้นเรื่องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการประกอบอาชีพเสริมต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น หัตถกรรมจากเศษไม้ขนาดเล็ก การเลี้ยงจิ้งหรีด การแปรรูปสมุนไพร การทำขนม และการเลี้ยงโค เป็นต้น ได้ผลเป็นอย่างดี ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น รายได้ตั้งแต่ปี 2535 สมาชิกมีรายได้ 8,000 บาท/คน/ปี ปี 2551 สมาชิกมีรายได้ 39,000 บาท/คน/ปี และสมาชิกให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการฯ เป็นอย่างดี เช่นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการฯ การทำบุญตามประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น
    - การดำเนินกิจกรรมสาธิต เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน ได้แก่ การเพาะเห็ดในถุงชนิดต่างๆ เรือเพาะชำ การเลี้ยงกบ – ปลา เป็นต้น มีภาครัฐและเอกชนรวมทั้งราษฎรที่สนใจเข้าฝึกอบรมขอคำแนะนำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับอาชีพของตนเองที่บ้าน
    3. กลุ่มงานส่งเสริมศิลปาชีพ ดำเนินงานในกลุ่มงานส่งเสริมศิลปาชีพ ดังนี้
    - การทอผ้าไหมและการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สมาชิก จำนวน 128 คน ดำเนินการผลิตผ้าไหมทั้ง 2 ตระกอ และ 3 ตระกอ เป็นผ้าไหมพื้นเรียบ มัดหมี่ และหมี่ข้อหมี่ตา ส่งจำหน่ายให้กับ กรส. และจำหน่ายตามสั่งของลูกค้าบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการกลุ่ม เงินที่ได้จากการจำหน่ายผ้าไหมหักร้อยละ 3 เข้ากองทุนกลุ่มเพื่อใช้บริหารงาน ปัจจุบันยอดเงิน 149,800 บาท การเลี้ยงไหมดำเนินการเลี้ยงเป็นครั้งคราวเพื่อสาธิต เป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว
    - การตีเหล็ก สมาชิกมีจำนวน 4 คน ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตรจำหน่าย ณ โครงการฯ และพื้นที่นอกโครงการฯ หรือทำตามสั่งของลูกค้า เช่น มีด จอบ เสียม และมีดโบว์วี่ เป็นต้น
    - การจักสาน สมาชิก 21 คน บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการกลุ่ม สมาชิกส่วนใหญ่มีอายุมากผลิตเครื่องมือจับปลา และเครื่องใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์จำหน่ายให้กับผู้สนใจทั่วไปในหมู่บ้านและตามสั่งของลูกค้า

    หน่วยงานที่รับผิดชอบ :
    กรมทหารพรานที่ ๒๑ (โทร. ๐๔๒-๓๙๑๐๐๑)

    สมาชิกในโครงการ :
    ราษฎรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าพักอาศัยในโครงการฯ ๔๗ ครอบครัว ๑๙๒ คน บ้านพัก ๕๐ หลัง
    แบ่งที่ดินให้ครอบครัวละ ๒ - ๕ ไร่ มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น ๑๘๗ คน

    กิจกรรมที่ดำเนินการ :
    ทอผ้าไหม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตีเหล็ก เลี้ยงโค หัตถกรรมเครื่องใช้ ดอกไม้ประดิษฐ์ แปรรูปสมุนไพร
    ปลูกยางพารา เพาะเห็ด เลี้ยงกบ-ปลา เลี้ยงสัตว์ปีก
     
  20. mokku

    mokku Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +70
    การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา


    การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่างๆ เพื่อทำเป็นแหล่งบำบัดน้ำเสีย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration)
    โครงการบึงมักกะสัน บึงมักกะสัน เป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร รวมพื้นที่บึงประมาณ ๙๒ ไร่ เป็นแหล่งน้ำอยู่ในเขตโรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขุดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสัน ทำให้บึงมักกะสันตื้นเขิน จากการตกตะกอนของสารแขวนลอย กอปรกับรอบบึงมักกะสันมีชุมชนแออัด ๓ ชุมชน รวม ๗๒๙ ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็ถ่ายสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่บึงมักกะสัน จนเกิดปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและน้ำเน่าเสียกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภาวะมลพิษนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน และวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันปรับปรุงบึงมักกะสันเพื่อใช้เป็นสถานที่กักเก็บน้ำ ช่วยในการระบายน้ำในหน้าฝนและบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน โดยพระราชทานคำแนะนำ ให้ใช้ผักตบชวากรองน้ำเสีย เพราะผักตบชวามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ซึ่งเรียกว่า เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่มีอยู่มาก มาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครก และสารพิษจากแหล่งน้ำเน่าเสีย และในเวลาเดียวกัน ก็ต้องหมั่นนำผักตบชวาออกจากบึงทุกๆ ๑๐ สัปดาห์ เพื่อไม่ให้ผักตบชวามีการเจริญพันธุ์จนบดบังแสงแดดที่จะส่องลงไปในบึง
    แต่หลังจากที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีการก่อสร้างทางด่วนมหานครขั้น ๒ ระยะที่ ๑ โดยมีแนวผ่านบึงมักกะสันและมีตอม่อโครงสร้างอยู่กลางบึง ทำให้น้ำในบึงไม่ถูกแสงแดด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้ เครื่องพ่นอากาศเข้าช่วย เมื่อมูลนิธิชัยพัฒนาและกรุงเทพมหานครรับสนองพระราชดำริ ทำให้บึงมักกะสัน สามารถฟอกน้ำในคลองสามเสนให้สะอาดขึ้น วันละ ๒๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ด้วยการใช้เครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอยผสมกับการใช้ผักตบชวา สามารถบำบัดน้ำเสียได้เพิ่มจากเดิม ๑๐ เท่า โดยมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้จัดหา และติดตั้งเครื่องเติมอากาศ ขนาด ๑๑ KW จำนวน ๑๐ เครื่อง และกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการขุดลอกบึง พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำและปลูกผักตบชวา สำหรับน้ำที่ใสสะอาดขึ้นนี้ให้ระบายออกสู่คลองธรรมชาติตามเดิม แล้วรับน้ำเสียจำนวนใหม่มาดำเนินการผ่านกรรมวิธีเป็นวงจรเช่นนี้ตลอดไปในอนาคต
    เมื่อการกำจัดน้ำเน่าเสียด้วยผักตบชวาในบึงมักกะสันแห่งนี้ได้ผลดี ก็จะได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำ หรือลำคลองอื่นต่อไป ซึ่งในขณะนี้กรุงเทพมหานครและการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นหน่วยงานหลักในการใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาบึงแห่งนี้ให้คงมีสภาพที่ดีสืบไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบว่า "บึงมักกะสัน" เป็นเสมือนดั่ง "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน สำหรับผักตบชวาและพืชน้ำอื่นๆ ก็จะกลายเป็นผลพลอยได้ที่นำมาทำเป็นปุ๋ย เชื้อเพลิง และสิ่งของเครื่องใช้ที่สานจากผักตบชวา อีกทั้งยังมีพืชน้ำบางชนิดที่นำมาเป็นอาหารได้ เช่น ผักบุ้ง รวมถึงสามารถเลี้ยงปลาในบึงเพื่อให้เป็นอาหารของประชาชนที่พักอาศัยอยู่โดยรอบได้อีกทางหนึ่งด้วย ผักตบชวาสามารถช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยการทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ ทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นกรองออก นอกจากนั้น ระบบรากที่มีจำนวนมากจะช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียด และจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก จะช่วยดูดสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบชวาจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำ ทำให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียจึงถูกกำจัดไป
    อย่างไรก็ตามไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทางเคมี เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และไนเตรทไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ทั้ง ๓ ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่นๆ คือ ประมาณ ๙๕ % ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจน จะเป็นประมาณ ๘๐ % และ ๗๗ % ตามลำดับ
    สถานที่แรกในประเทศไทยที่ใช้การบำบัดด้วยวิธีนี้คือ "บึงมักกะสัน" ซึ่งเป็นโครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้หลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา

    โครงการนี้เห็นอยู่บ่อยๆ ที่มหาลัยแถวบ้าน ท่าน้ำ มีการนำผักตบชวามากรองน้ำเสีย ซึ่งเป็นโครงการที่เห็นผลมาตลอด ปัจจุบันน้ำเสียมากเหลือเกิน ถ้าอยากจะทำก็โครงการนี้ละค่ะ ประชาชน คนในหมู่บ้าน จะได้มีน้ำดีๆ ทำการเกษตร ใช้สอย เพิ่มคุณภาพชีวิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...