สิ่งใดๆในจักรวาลโลก ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่คือ ดิน ไฟ ลม น้ำ ใช่มั๊ยครับ?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NiNe, 16 พฤศจิกายน 2004.

  1. NiNe

    NiNe บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    คุณปาริสัชชา และคุณ ณฐมณฑ์ ที่นับถือ
    ผมขอถามกับคนอื่นเขาหน่อยนะคร๊าบ

    คุณคิดว่า/คุณรู้ว่า/คุณเห็นว่า/คุณพิสูจน์ได้ว่า สิ่งใดๆในจักรวาลโลก ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่คือ ดิน ไฟ ลม น้ำ ใช่มั๊ยครับ?

    คุณปาริสัชชา และคุณ ณฐมณฑ์
    กรุณาตอบให้ดีๆ นะครับ ....คำตอบคือคำว่า "ใช่" กับ "ไม่" แค่นี้ครับ ถ้าคุณตอบผิด ... ผมจะไม่นับถือคุณอีกต่อไป และสิ่งที่คุณกล่าวมาทั้งหมดในกระทู้นี้ผมจะไม่เข้ามาอ่าน และไม่สนใจด้วย ถ้าคุณตอบผิดคุณก็เหมือน "telwada" .....

    กรุณาตอบผมด้วยครับ ขอขอบพระคุณท่านผู้ทรงฌานทั้งสอง เพื่อพิสูจน์ความจริง? ผมจะรอคำตอบของคุณทั้งสองที่นี่

    ถ้าคุณตอบไม่ได้หรือไม่ตอบก็ไม่เป็นไรครับ ....ขอขอบคุณอีกครั้ง
     
  2. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    ใช่

    สิ่งใดๆในจักรวาลโลก ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่คือ ดิน ไฟ ลม น้ำ <br>
    เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่งในจักรวาล<br>

    <b>มหาภูต ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม</b> ดู มหาภูตรูป <br>
    มหาภูตรูป รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ดู ธาตุ ๔
    <br>

    <b>ธาตุ ๔ (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง คือมีอยู่โดยธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีผู้สร้าง
    ไม่มีอัตตา มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ - elements) ได้แก่ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ
    วาโยธาตุ คือ มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ นั่นเอง. ดู (๓๙) มหาภูต ๔ และ (๑๔๖) ธาตุกัมมัฏฐาน
    ๔ </b>
    <b><font color="#FF00FF">(๑๔๖) ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ (กรรมฐานคือธาตุ, กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์
    กำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เป็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่แต่ละอย่างไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา - meditation on the elements; meditation subject consisting
    of elements) </font></b><br>

    <b>๑. ปฐวีธาตุ (the earth-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง</b> ภายในตัวก็มี
    ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน
    ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด
    ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น
    อย่างเดียวกันนี้ <br>

    <b>๒. อาโปธาตุ (the water-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ </b>ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี
    กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่
    ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว
    ที่มีลักษณะเอิบอาบเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้. <br>

    <b>๓. เตโชธาตุ (the fire-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน</b> ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี
    กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่
    ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่ยังอาหารให้ย่อย
    หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะร้อนเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้ <br>

    <b>๔. วาโยธาตุ (the air-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง </b>ภายในตัวก็มี
    ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายในสำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน
    ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมซ่านไปตามตัว ลมหายใจ
    หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะพัดผันไปเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้ <br>
    ตัวอย่างธาตุที่แสดงข้างต้นนี้ ในปฐวีธาตุมี ๑๙ อย่าง ในอาโปธาตุมี ๑๒ อย่าง เติมมัตถลุงค์
    คือมันสมอง เข้าเป็นข้อสุดท้ายในปฐวีธาตุ รวมเป็น ๓๒ เรียกว่า อาการ ๓๒ หรือ ทวัตติงสาการ.
    <br>
    ธาตุกัมมัฏฐานนี้ เรียกอย่างอื่นว่า ธาตุมนสิการ (การพิจารณาธาตุ - contemplation on
    the elements) บ้าง จตุธาตุววัฏฐาน (การกำหนดธาตุสี่ - determining of the four elements)
    บ้าง เมื่อพิจารณากำหนดธาตุ ๔ ด้วยสติสัมปชัญญะ มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปในกาย
    ตระหนักว่ากายนี้ก็สักว่ากาย มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ดังนี้ จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานส่วนหนึ่ง
    (หมวดที่ ๕ คือ ธาตุมนสิการบรรพ). <br>

    D.II.244; M.I 185; M.III.240; Vism.347. ที.ม.๑๐/๒๗๘/๓๒๙; ม.มู.๑๒/๓๔๒/๓๕๐; ม.อ.๑๔/๖๘๔-๗/๔๓๗;
    วิสุทธิ.๒/๑๖๑.</p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 พฤศจิกายน 2004
  3. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    <font color="#FF00FF">(๑๔๗) ธาตุ ๖ (the six elements) ได้แก่ธาตุ ๔ หรือมหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ นั้น กับเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ </font>

    ๕. อากาสธาตุ (สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง - the space-element)

    ๖. วิญญาณธาตุ (สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์, ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต~ ฆาน~ ชิวหา~ กาย~ มโนวิญญาณธาตุ - element of consciousness; consciousness-element)


    ดู (๓๙) มหาภูต ๔ และ (๑๔๕) ธาตุ ๔.

    M.III.31; Vbh.82. ม.อุ.๑๔/๑๖๙/๑๒๕; อภิ.วิ.๓๕/๑๑๔/๑๐๑.

    (๑๔๘) ธาตุกัมมัฏฐาน ๖ ได้แก่ ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ นั้น และเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ

    ๕. อากาสธาตุ (the space-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นช่องว่าง ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์ เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องทวารหนัก ทวารเบา ช่องแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือที่อื่นใดที่มีลักษณะเป็นช่องว่างอย่างเดียวกันนี้

    ๖. วิญญาณธาตุ (the consciousness-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นเครื่องรู้แจ้งอารมณ์ กล่าวคือ วิญญาณธาตุ ๖.

    ดู (๑๔๖) ธาตุกัมมัฏฐาน ๔; (๑๔๗) ธาตุ ๖.

    M.III.240. ม.อุ.๑๔/๖๘๔-๙/๔๓๗-๔๔๐.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 พฤศจิกายน 2004
  4. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    :cool: (kiss) เก่งมากจ้ะ คนสวยดีมีปั__า(||) (||) (||)

    อ่านแล้วทึ่งจริงๆ
     
  5. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    003 โดยปรมัตถ์ ธาตุ ๔ ก็ไม่ควรยืดถือ

    http://www.84000.org/true/003.html

    ปั_หา การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงเรื่องธาตุ ๔ นั้น พระองค์ทรงเชื่อว่ามีธาตุ ๔ จริง ๆ หรือเพราะทรงเรียกตามโวหารโลกที่คนเข้าใจกันอยู่ในสมัยนั้น ? มีพระพุทธพจน์ตอนไหนบ้างที่แสดง ธาตุ ๔ เป็นแต่สิ่งสมมติ ?

    พุทธดำรัสตอบ
     
  6. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    สสาร - พลังงาน กับ รูป - นาม

    พระพุทธศาสนาเรียกสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ว่า
     
  7. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    วิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์ - เคมี)

    วิชาฟิสิกส์ คือ วิชาที่ว่าด้วยสสารและพลังงาน ส่วนวิชาเคมีว่าด้วยส่วนประกอบของสสารและความเปลี่ยนแปลงของสสาร เมื่อรวมกันหรือแยกกัน เช่น รวมกันในอัตรา ๒ ต่อ ๑ จะได้น้ำหรือแยกน้ำออกจะได้สสาร

    สสาร (matter) คือสิ่งของต่าง ๆ ที่เราสามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และมีมวล สสารดำรงอยู่ใน ๓ สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สสารมีความหนาแน่น มีความถ่วงจำเพาะ อาศัยความถ่วงจำเพาะทำให้เรารู้ว่า สสารนั้นเป็นอะไร ศึกษากันในด้านเคมี ประกอบขึ้นจากมวลคือ เนื้อของสสารซึ่งสามารถย่อยให้เล็กละเอียดลงไป ส่วนที่ย่อยลงไปนี้ ที่เล็กละเอียดลงไปโดยลำดับคือ อณู และปรมาณู คำว่า
     
  8. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    <strong>โครงสร้างของสสาร</strong> จากโครงสร้างของระบบสุริยะจะช่วยให้มองเห็นภาพโครงสร้างของสสารได้ง่ายขึ้น
    เพียงแต่เราจะเริ่มมองสิ่งเล็กลงไปเรื่อย ๆ เพื่อดูว่าโครงสร้างที่เล็กที่สุดเป็นเช่นไร
    ถ้าเราดูชอล์กที่เป็นแท่งทรงกระบอก และหักแท่งชอล์กบางส่วนออกมาบดเป็นผงละเอียด ผงชอล์กเล็ก
    ๆ เป็นองค์ประกอบของชอล์กทั้งแท่ง และเมื่อพิจารณาผงชอล์กที่เราเห็นว่าเล็กมากแล้ว
    ผงชอล์กหนึ่งเม็ดยังประกอบด้วย <strong>โมเลกุล (molecule)</strong> ของผงชอล์ก โมเลกุลนั่นเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่คงสมบัติของวัตถุนั้นรวมตัวกันเป็นผงชอล์ก
    และถ้าพิจารณาในรายละเอียดของโมเลกุลเล็กลงไปอีก จะพบว่าประกอบไปด้วยทรงกลมเล็ก ๆ ที่เกาะกันอยู่เป็นรูปแบบที่แน่นอนต่าง
    ๆ กัน เกาะกันสนิทแน่นบ้าง หลวม ๆ บ้าง ส่วนย่อยที่เป็นทรงกลมนี้เรียกว่า <strong>อะตอม
    (atom)</strong> ซึ่งแปลว่า แยกไม่ได้ อะตอมของธาตุทุกชนิดจะยังคงแสดงสมบัติเดิมของธาตุนั้นอยู่
    อะตอมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ ใน ๑๐๐ ล้านเซนติเมตร ในแต่ละอะตอมมีแกนกลางเรียกว่า
    <strong>นิวเคลียส (nucleus)</strong> และมี <strong>อิเล็กตรอน (electron)</strong>
    วิ่งวนอยู่รอบ อิเล็กตรอนหนักประมาณหนึ่งในสองพันของน้ำหนักนิวเคลียส<br>
    <br>
    <strong>๑. อะตอม</strong> <br>
    เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของสสารแต่ละชนิดในโลกนี้แล้วจะพบว่าสสารทุกชนิดประกอบด้วย
    อะตอม หรือกล่าวได้ว่า อะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งให้เล็กลงไปได้อีกโดยทางเคมี
    และอะตอมยังมีโครงสร้างที่แน่นอนอีกด้วย อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอนที่มีการจัดโครงสร้างคล้ายกับระบบสุริยะที่นักศึกษาเคยทราบมาแล้ว
    โดยที่นิวเคลียสอยู่ใจกลางอะตอมเหมือนดวงอาทิตย์ และอิเล็กตรอนโคจรรอบเหมือนดาวเคราะห์
    สสารแต่ละชนิดที่มีความแตกต่างกันหรือธาตุแต่ละชนิดที่มีความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนอนุภาคพื้นที่เป็นองค์ประกอบของอะตอมต่างกัน
    คือ จำนวนโปรตรอน (protron) และนิวตรอน (neutron) ที่อยู่ในนิวเคลียส และอิเล็กตรอน
    ที่มาร่วมกันเป็นอะตอมนั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เรารู้จักอะตอมกันมาแล้ว ๑๐๗ ชนิด<br>
    อะตอมของธาตุที่เบาที่สุด ได้แก่ อะตอมของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นอะตอมเพียง ๑ ตัว ส่วนอะตอมของธาตุคาร์บอนมีอิเล็กตรอน
    ๖ ตัววิ่งวนรอบ ๆ นิวเคลียส<br>
    <br>
    <strong>๒. อิเล็กตรอน</strong><br>
    อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคขนาดจิ๋วที่<em>มีพลังงานสูงและมีประจุไฟฟ้าลบ</em> เป็นอนุภาคพื้นฐานที่มีมวลและมีตัวตนแน่นอน
    จากการศึกษาอย่างลึกซึ้งนักวิทยาศาสตร์พบว่า อิเล็กตรอนแสดงลักษณะของคลื่นบางสภาวะ
    แต่สำหรับการศึกษาชั้นต้นนี้เราจะมองอิเล็กตรอนเป็นอนุภาคดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น และจะมีแรงผลักดันอิเล็กตรอนอื่น
    ถ้ามีอิเล็กตรอนอีกตัวผ่านเข้ามา<br>
    จำนวนอิเล็กตรอนที่วิงวนรอบ ๆ นิวเคลียสของอะตอมนั้นมีจำนวนสูงสุดเท่าที่ค้นพบได้เมื่อ
    พ.ศ. ๒๕๓๕ คือ ๑๐๗ อิเล็กตรอน ได้แก่อะตอมธาตุ <strong>อันนิลเซปเทียม (Unnilseptium
    : Uns)</strong> อิเล็กตรอนเหล่านี้มีรัศมีของวงวิ่งรอบนิวเคลียสไม่เท่ากัน นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติประการหนึ่งที่สามารถจัดให้อิเล็กตรอนวิ่งวนได้โดยไม่ชนกันเลย<br>
    <br>
    <strong>๓. นิวเคลียส</strong><br>
    นิวเคลียสเป็นศูนย์กลางของอะตอม <strong>ประกอบไปด้วยโปรตรอนและนิวตรอ</strong>น ซึ่งรวมเรียกว่า
    นิวคลีออน (Nucleon) นิวเคลียสของอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตรอนเท่ากัน และอะตอมของธาตุต่างชนิดกันจะมีจำนวนโปรตรอนต่างกัน
    ดังนั้น จำนวนโปรตรอนในนิวเคลียสเป็นตัวกำหนดว่าเป็นอะตอมของธาตุใดและเป็นตัวกำหนดจำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมนั้น
    ๆ บางนิวเคลียสอาจไม่มีนิวตรอนก็ได้ นอกจากนั้นนิวเคลียสของอะตอมของธาตุเดียวกัน อาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันก็ได้
    ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในเรื่องของนิวตรอน<br>
    &nbsp;<p><strong>โปรตรอน</strong> เราได้กล่าวมาแล้วว่าไม่ว่าอะตอมใด ๆ ก็ตามจะต้องมีนิวเคลียส
    สำหรับอะตอมไฮโดรเจนจะมีอิเล็กตรอนเพียง ๑ ตัว วิ่งวนอยู่รอบนิวเคลียสซึ่งมีโปรตรอน
    ๑ ตัวเหมือนกัน โปรตรอนนี้ก็เหมือน ๆ กันกับอิเล็กตรอน คือเป็นอนุภาคขนาดจิ๋วที่<em>มีพลังงานสูงแต่มีประจุไฟฟ้าตรงข้ามกับอิเล็กตรอน
    คือเป็นประจุไฟฟ้าบวก</em> มีมวลประมาณ ๑,๘๓๗ เท่าของอิเล็กตรอน เนื่องจากโปรตรอนมีประจุไฟฟ้าตรงข้ามกับอิเล็กตรอนนี้เองที่ทำให้
    อะตอมไฮโดรเจนเป็นกลางไม่แสดงอำนาจประจุไฟฟ้าเลย<br>
    <strong>นิวตรอน</strong> นิวตรอนเป็นอนุภาคในนิวเคลียสอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคั_มาก
    มีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตรอน แต่ไม่มีประจุไฟฟ้า <em>เพราะไม่มีประจุไฟฟ้านี้เองจึงได้ชื่อว่า
    นิวตรอน (neutron) แปลว่า เป็นกลาง</em> ซึ่งจะพบในนิวเคลียสของอะตอมรวมอยู่กับโปรตรอน
    แต่อาจมีรวมอยู่หรือไม่มีก็ได้ โดยปกติแล้วอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
    แต่อาจมีจำนวนต่างกันก็ได้ ซึ่งจะทำให้อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติต่างกัน<br>
    <br>
    อะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีจำนวนอนุภาคที่คงที่แน่นอนและจำนวนอนุภาคจะแตกต่างกันเมื่อเป็นธาตุต่างชนิดกัน
    เช่น สังกะสี (Zn) มีจำนวนอิเล็กตรอน ๓๐ ตัว มีจำนวนโปรตรอน ๓๐ ตัว และจำนวนนิวตรอน
    ๓๕ ตัว ในทางวิทยาศาสตร์เขียนสั_ลักษณ์ของสังกะสี เป็น <sub>30</sub>Zn<sup>65</sup>
    เพื่อสะดวกในการบอกจำนวนอนุภาคที่อยู่ในอะตอมของธาตุสังกะสี ตัวเลขด้านล่างของ Zn เรียกว่า
    <strong>เลขเชิงอะตอม (atomic number)</strong> เป็นตัวเลขบอกจำนวนโปรตรอนหรืออิเล็กตรอนของอะตอม
    โดยปกติแล้วจำนวนโปรตรอนและอิเล็กตรอนจะเท่ากันซึ่งอนุภาคทั้งสองชนิดนี้มีประจุไฟฟ้าประจำตัวอยู่
    และเป็นประจุชนิดตรงกันข้าม เมื่ออนุภาคทั้งสองนี้มีอยู่ในอะตอมเท่ากัน จึงทำให้อะตอมมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า
    <u>ตัวเลขที่อยู่ด้านบนขวามือของ Zn</u> เรียกว่า <strong>น้ำหนักเชิงอะตอม (atomic
    weight)</strong> เป็นตัวเลขที่บอกจำนวนโปรตรอนและนิวตรอนรวมกันอยู่ในนิวเคลียส <em>
    ดังนั้นจำนวนนิวตรอนของสังกะสีจึงหาได้จากน้ำหนักเชิงอะตอมลบด้วยเลขเชิงอะตอม</em>&nbsp;นั่นคือ
    ๖๕ - ๓๐ = ๕ เนื่องจากน้ำหนักของอะตอมส่วนให_่เป็นน้ำหนักของนิวเคลียส น้ำหนักเชิงอะตอมจึงเป็นตัวเลขที่บอกมวลของอะตอมนั้นด้วย<br>
    <br>
    </p>
     
  9. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    <strong>สถานะของสสาร</strong><br>
    สสาร หรือวัตถุประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดต่าง ๆ รวมกันเข้าเป็นโมเลกุลแล้ว โมเลกุลหลายโมเลกุลรวมกันเป็นสสารที่ขนาดให_่ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
    ต่อไปเราจะมองในแง่ของสถานะของสสารดูบ้าง สสารมี ๓ สถานะ คือ ก๊าซ ของเหลว และของแข็ง
    สสารบางอย่างแสดงสถานะทั้ง ๓ อย่างให้เราเห็นได้ง่าย เช่น น้ำ โดยปกติจะอยู่ในสถานะของเหลว
    และเมื่อนำน้ำไปแช่ในตู้เย็นในช่องทำน้ำแข็ง น้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง และถ้าเรานำน้ำไปต้มเมื่อน้ำเดือดจะกลายเป็นไอ
    หรือเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ แต่สสารทั่วไปเราพบเห็นเพียงสถานะเดียว เช่น เหล็กปกติที่พบเห็นอยู่ในสถานะของแข็ง
    เราจะทำให้เป็นไอต้องใช้ความร้อนถึงประมาณ ๓,๐๐๐ องศาเซลเซียส การที่สสารต่าง ๆ จะแสดงสถานะต่าง
    ๆ นั้นขึ้นอยู่กับการยึดเหนี่ยวของอะตอมของสสารในสถานะนั้น<br>
    <br>
    <strong>๑. ก๊าซ</strong><br>
    ในสถานะที่เป็นก๊าซนี้โมเลกุลเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูงมาก ถ้านำก๊าซนั้นมาบรรจุในขอบเขตหรือภาชนะที่มันถูกบังคับให้อยู่
    แล้วเราลดภาชนะที่บรรจุก๊าซให้เล็กลง โมเลกุลของก๊าซจำนวนเดิมนั้นก็ยังคงเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูงเช่นเดิม
    แต่มีการกระทบกัน ชนกันบ่อยครั้งขึ้น เพราะมันอยู่อย่างแออัดขึ้น และขณะเดียวกันก็จะวิ่งชนภาชนะที่บรรจุมันอยู่ด้วย
    เป็นการเหลือวิสัยที่จะวัดความเร็วว่าแต่ละโมเลกุลของก๊าซวิ่งเร็วเท่าไร หรือชนกับโมเลกุลใดกี่ครั้ง
    แต่เราก็หาทางคาดคะเนได้ว่า ก๊าซจำนวนนั้นจะแสดงผลอย่างไร โดยการคำนวณจากความดันอุณหภูมิ
    และปริมาณของก๊าซ โดยอาศัยวิชาสถิติช่วยได้ เรียกทฤษฎีที่ใช้คำนวณว่า <strong>ทฤษฎีจลศาสตร์ของก๊าซ
    (Kinetic Theory of Gases)</strong> โดยวิธีคำนวณดังกล่าวพบว่า โมเลกุลของก๊าซมีความเร็วถึง
    ๑,๖๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง<br>
    ความดันของก๊าซที่เราวัดได้นั้น เกิดขึ้นจากโมเลกุลของก๊าซวิ่งเข้าชนภาชนะอย่างนับครั้งไม่ถ้วน
    ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น พลังงานความร้อนจะถ่ายเทไปสู่โมเลกุลของก๊าซ จะทำให้โมเลกุลของก๊าซมีความเร็วเพิ่มขึ้น
    และชนภาชนะแรงขึ้นซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความดันของก๊าซในภาชนะนั้น ๆ ดังนั้นจึงพูดได้ว่า
    ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นความดันก๊าซเพิ่มขึ้นด้วย<br>
    &nbsp;<p>การเคลื่อนไหวของโมเลกุลก๊าซไม่มีทิศทางจำกัด เพราะโมเลกุลของมันอยู่ห่างกันเกินกว่าจะดึงดูดกันได้
    ดังนั้นการที่เราอัดก๊าซจึงเป็นการลดช่องว่างระหว่างโมเลกุลของมันลงได้ ซึ่งเราสามารถอัดก๊าซให้ปริมาณของมันลดลงได้มาก<br>
    นอกจากนั้นยังมีความสำคั_เกี่ยวกับก๊าซอีกอย่างหนึ่งที่น่ารู้ คือ ก๊าซใด ๆ ที่มีปริมาตร
    อุณหภูมิและความดันเท่ากันแล้ว จะมีจำนวนโมเลกุลเท่ากัน นี่คือ <strong>สมมติฐานของอาโวกาโดร
    (Avogadro's Hypothesis)</strong> จากการคำนวณโดยอาศัยวิชาสถิติดังที่กล่าวมาแล้ว พอพิสูจน์ได้ว่าก๊าซที่บรรจุในภาชนะ
    ๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร (ขนาดเล็กเท่ากับกล่องเล็ก ๆ ที่มีด้านกว้าง ยาว และสูงเท่ากับ
    ๑ เซนติเมตร) ที่ความดันปกติ เมื่ออยู่ที่ระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิประมาณ ๑๕ องศาเซลเซียส
    จะมีจำนวนโมเลกุลประมาณ ๒๗ x ๑๐ ๑๘ โมเลกุล (๒๗ ล้านล้านโมเลกุล) โมเลกุลแต่ละโมเลกุลจะชนภาชนะโดยเฉลี่ย
    ๕.๐๐๐ ล้านครั้งต่อวินาที<br>
    &nbsp;</p>
    <p>เนื่องจากบรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจนประมาณ ๗๖ %
    ออกซิเจนประมาณ ๒๓ % และก๊าซอื่น ๆ อีกประมาณ ๑ % ดังนั้นจึงเป็นไปตามกฎทั่วไปของก๊าซเช่นเดียวกัน
    โมเลกุลของก๊าซเหล่านี้วิ่งชนทุกสิ่งที่ขวางทางวิ่งของมันรวมทั้งสิ่งของและร่างกายคนด้วย
    การวิ่งชนในลักษณะนี้ ทำให้เกิดความดันก๊าซขึ้นเช่นเดียวกัน และนั่นก็คือความดันบรรยากาศซึ่งมีค่า
    ๑ ตารางเซนติเมตร แต่ที่ระดับสูงขึ้นจำนวนโมเลกุลของก๊าซน้อยลง ความดันบรรยากาศก็จะต่ำลงด้วย<br>
    &nbsp;</p>
    <p>เพื่อความเข้าใจในเรื่องความดันก๊าซให้ชัดเจนขึ้น เราอาจเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ธรรมดา
    ๆ ได้ดังนี้ ถ้าให้เด็กที่กำลังวิ่งเล่นที่สนามมาใกล้ตัวเราซึ่งยืนอยู่กับที่เป็นจุดกลับทิศวิ่ง
    คือ วิ่งมายังตัวเราเพื่อหยุดและเป็นจุดส่งตัวเพื่อวิ่งกลับไปทางเดิม ตัวเราจะรู้สึกว่าได้รับแรงผลักดันจากเด็กผู้นั้น
    คราวนี้ลองเทียบเด็กผู้นั้นกับโมเลกุลอากาศ และตัวเราเป็นโมเลกุลของภาชนะ เมื่อโมเลกุลอากาศมาวิ่งชนผนังภาชนะ
    ผนังภาชนะจะได้รับแรงดันจากโมเลกุลอากาศเหมือนตัวเราได้รับแรงผลักดันจากเด็กที่วิ่งมาใช้ตัวเราเป็นจุดกลับตัวเช่นเดียวกัน
    ยิ่งเด็กวิ่งเร็วเท่าใด แรงผลักดันจากเด็กก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ก็เหมือนกับโมเลกุลอากาศวิ่งชนภาชนะ
    ยิ่งอุณหภูมิโมเลกุลวิ่งเร็วขึ้น ความดันก็สูงตามไปด้วย เพราะแรงดันก็คือบ่อเกิดของความดันนั่นเอง
    สามารถคำนวณได้จากสมการที่ว่า<br>
    </p>
    <table cellSpacing="0" cellPadding="0" width="30%" align="center" border="0">
    <tr>
    <td align="right" rowSpan="3">ความดัน&nbsp;&nbsp;=&nbsp;&nbsp;</td>
    </tr>
    <tr>
    <td style="BORDER-BOTTOM: #000000 1px solid" align="middle">แรงดัน</td>
    </tr>
    <tr>
    <td align="middle">พื้นที่ที่แรงสัมผัส</td>
    </tr>
    </table>
    <br clear="all">
    สำหรับความดันบรรยากาศนั้นมีเครื่องวัดที่ใช้กันทั่วไปเรียกว่า บารอมิเตอร์ (Barometer)
    ส่วนความดันของก๊าซที่บรรจุในภาชนะใด ๆ นั้นจะมีเครื่องวัดความดันในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะกับการใช้งาน<br>
    <br>
    &nbsp;<p>&nbsp;</p>
    <p><strong>๒. ของเหลว</strong><br>
    ถ้าอุณหภูมิของก๊าซลดต่ำลง ก็จะถึงจุดที่ความเร็วของโมเลกุลต่ำลง และเข้าใจกันจนโมเลกุลทุกตัวต่างก็ดึงดูดซึ่งกันและกันได้
    แรงดึงดูดชนิดนี้ตางกับแรงที่ยึดเหนี่ยวอะตอมให้รวมกันเป็นโมเลกุล แม้ว่าจะเป็นแรงไฟฟ้าด้วยกันก็ตาม
    เพราะแรงดึงดูดชนิดนี้เกิดขึ้นจากแรงระหว่างนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนของอะตอมของโมเลกุลข้างเคียง
    เรียกแรงประเภทนี้ว่า <strong>แรงโมเลกุล (molecular force) หรือ แรงแวนเดอร์วาลส์
    (Vander Waals' force)</strong> <br>
    &nbsp;</p>
    <p>ณ จุดที่อุณหภูมิของก๊าซที่ต่ำลงจนเกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลขึ้นได้นี้ โมเลกุลของก๊าซจะใกล้ชิดกันมาก
    แต่ก็พอเคลื่อนไหวไปมาได้บ้างเช่นนี้ ก๊าซก็จะกลายเป็นของเหลวไป ในสภาวะนี้ของเหลวจึงยังคงสามารถเปลี่ยนรูปร่างไปตามภาชนะที่บรรจุได้<br>
    แม้ว่าโมเลกุลของของเหลวจะมีเสรีภาพในการเคลื่อนที่น้อยลงไปแล้วก็ตาม แต่โมเลกุลของของเหลวก็มีโอกาสเลื่อนมาเป็นจังหวะ
    และก็ยังชนกันไปชนกันมาด้วยความเร็วสูง ช่องว่างระหว่างโมเลกุลของของเหลวน้อยกว่าของว่างระหว่างโมเลกุลของก๊าซเป็นอันมาก
    ดังนั้นการอัดของเหลวให้มีปริมาตรเล็กลงจึงทำได้ยาก<br>
    &nbsp;</p>
    <p>การเคลื่อนที่ของโมเลกุลเหล่านี้ เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่อาจจะรู้ได้ว่ามีการเคลื่อนที่ไปมาเพราะถูกแรงผลักดันจากโมเลกุลเล็ก
    ๆ ที่มองไม่เห็นเหล่านั้น ผู้สังเกตปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นคนแรก คือ นักพฤกษศาสตร์ชื่อ
    <strong>บราวน์ (B. brown)</strong> จึงได้ตั้งชื่อปรากฏการณ์นี้ว่า <strong>การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน
    (Brownian movement)</strong> การเคลื่อนที่ของผงเล็ก ๆ นั้นมีทิศทางที่ไม่แน่นอน ก็เพราะโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วนั้นมีทิศทางเปะปะไม่แน่นอน
    นอกจากนั้นโมเลกุลของของเหลว ยังมีความเร็วไม่เท่ากันช้าบ้างเร็วบ้าง แต่ถ้าความเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของของเหลวในภาชนะสูงขึ้น
    อุณหภูมิของของเหลวในนั้นก็จะสูงขึ้นด้วย<br>
    &nbsp;</p>
    <p>โมเลกุลของของเหลวที่มีความเร็วสูงและอยู่ใกล้ผิวของของเหลวอาจพุ่งทะลักผิวเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลอื่น
    ๆ ของของเหลวออกไปได้ เมื่อพุ่งทะลักออกไปแล้ว ก็จะเป็นโมเลกุลอิสระล่องลอยในอากาศเป็นไอของของเหลวนั้น
    เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า การระเหย โมเลกุลที่มีความเร็วสูงมักจะมีโอกาสหลุดพ้นผิวของของเหลวได้ง่าย
    ส่วนที่เหลือจะเป็นโมเลกุลที่มีความเร็วต่ำ ถ้าการระเหยดำเนินไปอย่างช้า ๆ อุณหภูมิของของเหลวจะปรากฏมีค่าคงที่เท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม
    <strong>ถ้าการระเหยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจะพบว่าอุณหภูมิของของเหลวลดลงด้วย เพราะอุณหภูมิของของเหลวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเร็วของโมเลกุลของของเหลวนั้น</strong><br>
    &nbsp;</p>
    <p>โมเลกุลของของเหลวที่หลุดพ้นขอบเขตของของเหลวหลุดออกไปรวมอยู่ในอากาศโดยแทรกแซงเข้าไปอยู่กับโมเลกุลในอากาศนั้น
    จะไปเพิ่มจำนวนโมเลกุลและไปเพิ่มอัตราการชนของโมเลกุลของอากาศให้สูงขึ้น ย่อมหมายถึงไปเพิ่มความดันอากาศให้สูงขึ้นด้วย
    นอกจากนั้นการระเหยยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศและปริมาณของของเหลวที่มีอยู่มากน้อยเพียงใด
    ถ้าไอของของเหลวมีอยู่น้อยและอุณหภูมิสูงอัตราการระเหยก็จะสูงตามไปด้วย ความดันก๊าซส่วนที่เพิ่มขึ้นเพราะไอของของเหลวนี้เรียกว่า
    <strong>ความดันไอ</strong><br>
    &nbsp;</p>
    <p>เมื่อกล่าวถึงของเหลวแล้ว เราจะพบว่าของเหลวกับก๊าซมีความคล้ายคลึงกันที่ไม่มีรูปร่างแน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามรูปร่างของภาชนะที่บรรจุ
    สามารถแทรกซึมเข้าสู่หรือผ่านช่องเล็ก ๆ ได้เหมือนกัน จึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า ของไหล
    (fluids) ซึ่งหมายถึงของเหลวและก๊าซ<br>
    &nbsp;</p>
    <p>เรื่องของ ๆ เหลวที่เรานำมาใช้งานทางด้านกลศาสตร์ยังมีอยู่มากมายเป็นที่น่าสนใจใคร่รู้เป็นอย่างยิ่ง
    ดังเช่น การใช้น้ำมันบรรจุในท่อเล็ก ๆ ใช้ในการห้ามล้อรถยนต์ขนาดให_่ได้ หรือสมบัติของ
    ๆ เหลวในการพยุงเรือเหล็กให้ลอยในน้ำได้ เป็นต้น ทั้งนี้ไม่นับส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางเคมีหรือชีววิทยาที่ช่วยการดำรงชีพ
    นักศึกษาสามารถติดตามศึกษาได้ในตำราต่าง ๆ อีกมากมาย<br>
    &nbsp;</p>
    <p>สำหรับสมบัติหรือคุณภาพของ ๆ เหลวอาจบอกได้ด้วยความหนาแน่นของของเหลว และความหนืด
    (viscosity) ซึ่งเป็นสมบัติของของเหลวในการต้นทานการไหล<br>
    <br>
    &nbsp;</p>
    <p><strong>๓. ของแข็ง</strong><br>
    ถ้าอุณหภูมิของของเหลวลดลงมากพอ โมเลกุลของของเหลวจะเบียดตัวแน่นขึ้นอีก โดยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีอิทธิพลสูงขึ้นจนถึงจุดที่เรียกว่า
    จุดเยือกแข็ง โมเลกุลของธาตุจะแยกตัวออกเป็นอะตอมและเรียงตัวกันใหม่ในรูปแบบที่แน่นอน
    และยึดเหนี่ยวกันหนาแน่นโดยแรงไฟฟ้าที่เรียกว่า แรงอิเล็กโตรเวแลนต์ (electrovalent
    force) หรือแรงโคเวเลนต์ (covalent force) นั่นเองที่อุณหภูมิ ณ จุดนี้ ของเหลวก็ได้เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งโดยสมบูรณ์<br>
    &nbsp;</p>
    <p>ของแข็งเกือบทุกชนิดเป็นผลึก เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดที่เรียกว่า <strong>จุดหลอมเหลว</strong>
    เมื่อใดของแข็งทั่วทั่งก้อนจะแปรสภาพเป็นของเหลวทันที ที่อุณหภูมิเดียวกันนี้เรียกว่า
    <strong>จุดเยือกแข็ง</strong> ถ้าของเหลวแปรสภาพเป็นของแข็ง ผลึกของสสารเกิดจากการเรียงตัวของสสารนั้นอย่างเป็นระเบียบ
    การเรียงตัวของอะตอมในรูปแบบทรงเรขาคณิตที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดผลึกรูปร่างแตกต่างกันไป
    และโครงสร้างของผลึกที่แตกต่างกันนั้น ก็ทำให้สสารมีสมบัติแตกต่างกันไปด้วย เช่น คาร์บอน
    ถ้ามีการเรียงตัวของโครงสร้างผลึก แบบเพชรจะมีความแข็งแรงมากที่สุด มีจุดหลอมเหลวสูงและไม่นำไฟฟ้า
    แต่ถ้าคาร์บอนจับตัวกันเป็นผลึกอีกโครงสร้างหนึ่ง สารที่ได้จะเป็นแกรไฟต์ ซึ่งมีความแข็งแรงไม่มากและนำไฟฟ้าได้
    ส่วนของแข็งบางชนิดมีการเรียงตัวของอะตอมไม่เป็นระเบียบ เช่น แก้วหรือยางไม้ เป็นต้น
    ของแข็งประเภทนี้จัดเป็น อสัณฐาน (amorphous) ของแข็งแบบ อสันฐานไม่มีจุดหลอมเหลวที่แน่นอน
    เมื่อได้รับความร้อนก็จะนิ่มลงทีละน้อยจากผิวนอกเข้าไปจนกลายเป็นของเหลวโดยสิ้นเชิง<br>
    &nbsp;</p>
    <p>นอกจากของแข็งในรูปผลึกและไม่เป็นแบบผลึกดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโลหะผสม (alloys)
    ซึ่งเป็นการรวมกันเป็นเนื้อเดียวระหว่างโลหะ ๒ ชนิด เช่น บรอนซ์เป็นผลรวมระหว่างทองแดงกับดีบุก
    หรือทองเหลืองเป็นผลรวมระหว่างทองแดงกับสังกะสี เป็นต้น<br>
    &nbsp;</p>
    <p>สมบัติของของแข็งมักจะบอกกันด้วยความหนาแน่นของเนื้อวัตถุ และความยืดหยุ่นของมัน
    นอกเหนือไปจากจุดหลอมเหลวด้วย<br>
    สสารใน ๓ สถานะ ถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า สสารในสถานะก๊าซ โมเลกุลของสสารเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด
    และมีพลังงานยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลต่ำสุดอยู่ในสภาพฟุ้งกระจายอยู่เต็มภาชนะที่ใส่สสารนั้น
    ถ้าลดอุณหภูมิของก๊าซนั้นลงจนกระทั่งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของ ๆ เหลวนั้นมีแรงยึดเหนี่ยวกันมากขึ้นและรวมตัวกันอยู่กับภาชนะที่ใส่สสารนั้น
    แต่โมเลกุลยังสามารถเคลื่อนที่ไปมาในของเหลวได้ และถ้าลดอุณหภูมิของ ๆ เหลวลงไปอีก
    สสารนั้นจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง โมเลกุลของสสารจะจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ
    แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีสูงขึ้นกว่าของเหลว โมเลกุลเคลื่อนที่ไปมาไม่ได้แต่มีการสั่นได้อยู่กับอุณหภูมิที่ของแข็งนั้นได้รับ<br>
    &nbsp;</p>
    <p>การเปลี่ยนสถานะของสสารโดยปกติแล้วถ้าสถานะเดิมสสารเป็นของแข็ง เมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นของเหลว
    และเป็นไอหรือก๊าซตามลำดับ แต่การเปลี่ยนสถานะของสสารบางอย่างอาจเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นไอหรือก๊าซได้เลยโดยไม่ต้องเป็นของเหลวก่อน
    การเปลี่ยนสถานะแบบนี้เรียกว่า การระเหิด เช่น ระเหิดของลูกเหม็นและการบูร เป็นต้น<br>
    </p>
     
  10. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    <strong>สสาร - พลังงานตกอยู่ในไตรลักษณ์</strong><br>
    น้ำตามปกติเป็นของเหลว ลดอุณหภูมิลงจะกลายเป็นของแข็ง เพิ่มอุณหภูมิต่อไปจนถึงจุดเดือดจะกลายเป็นก๊าซ
    ก๊าซนี้เมื่อถูกความเย็นจะกลั่นตัวลงเป็นหยดน้ำ อากาศที่อยู่รอบตัวเรานี้ ในสภาพปกติเป็นก๊าซ
    แต่ทำให้เย็นจัด อากาศจะกลายเป็นอากาศเหลว เช่น อากาศในที่อออกซิเจนสำหรับคนไข้ในโรงพยาบาล
    ส่วนพลังงานก็เปลี่ยนสภาพได้เช่นเดียวกัน เรามีพลังงานไฟฟ้าอยู่ในบ้านโดยต่อมาจากสายเมน
    ถ้าเรานำเตารีดมาเสียบที่ปลั๊กไฟ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน นำวิทยุหรือโทรทัศน์มาเสียบปลั๊กไฟ
    พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานแสงเสียง เสียบปลั๊กพัดลม พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานกล
    นำเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาหมุน การหมุนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ได้ผลออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้า
    เปลี่ยนแปลงกันอยู่เรื่อยไปเช่นนี้ นี้คือพลังงานสสารไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไฟได้ เป็นอนิจจัง
    คือไม่อาจดำรงอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป อนัตตา ไม่เป็นตัวตนหรือไม่อยู่ในอำนาจที่ใจเราต้องการไม่ให้สู_หาย<br>
    ตามกฎของวิทยาศาสตร์ที่ว่า สสารไม่สู_หาย พลังงานไม่สู_หาย มองดูคล้ายกับจะส่งเสริมหลักอัตรา
    แต่ผลของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เราสามารถแยกหรือทำลายความเป็นตัวตนของสสารและพลังงานได้แล้ว<br>
    &nbsp;<p><strong>วิธีแยกปรมาณู</strong><br>
    วิธีแยกปรมาณูใช้เครื่องเร่งที่เรียกว่า ไซโคลตรอน ในไซโคลตรอนนี้มีแม่เหล็กซึ่งล่อนิวตรอนให้วิ่งไปเป็นวงรอบ
    ๆ เร่งเร็วขึ้นทุกทีโดยให้กระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งมีโวลเตชสูง ทำให้นิวตรอนวิ่งเร็วมากถึง
    ๒๕,๐๐๐ ไมล์ต่อวินาที แล้วปล่อยให้อนุภาคของนิวตรอนนี้ไปยิงถูกนิวเคลียสของธาตุต่าง
    ๆ คล้าย ๆ กับปืนกลยิงเร็ว นิวเคลียสของธาตุที่ถูกยิงจะแตก เมื่อนิวเคลียสแตกอะตอมนั้นจะแปรสภาพของสสารอื่นครบเป็นสารเดิมก็จะสลายไป
    การทำนิวเคลียสให้แตกได้นี้เป็นความก้าวหน้าอย่างสำคั_ในทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักของการทำระเบิดปรมาณูเพื่อทำลาย
    และเป็นกลักการนำพลังงานปรมาณูมาใช้ในทางสันติด้วย<br>
    <br>
    &nbsp;</p>
    <p><strong>สสาร - พลังงาน สับเปลี่ยนกันได้</strong><br>
    สสารเปลี่ยนสถานะ เช่นของเหลวเป็นของแข็งเป็นเรื่องธรรมดา พลังงานเปลี่ยนรูป เช่น พลังงานความร้อนเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
    เป็นต้น เป็นเรื่องปกติ การค้นพบใหม่สุดของ ไอน์สไตน์ ได้ค้นพบว่า สสารและพลังงานอาจเปลี่ยนแปลงรูปกันได้จนถึงกับวางสูตรไว้ว่า
    เมื่อสสารแปลงรูปเป็นพลังงานนั้น พลังงานที่ได้มีค่าเท่ากัน
     
  11. jumpman

    jumpman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +885
    กระอักตัวหนังสือแล้วครับคุณดวงดาว

    ผมจะบอกว่าบ่แม่น ผมว่ามี 5 ถ้านึกถึงทางวัตถุอย่างเดียว
    ก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และสุดท้ายคือ ที่ว่าง
    อ่านไม่ไหว เลื่อน scroll ลงมาโพสท์ดีกว่า
    (smile)
     
  12. NiNe

    NiNe บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ทฤษฎีล้วนๆ เลยครับ.... เก่งจริงๆ ครับคุณดวงดาว ... ขอนับถือเป็นอย่างยิ่ง
    แต่ผมขอถามอีกนิดหนึ่งว่า "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ" ที่มีอำนาจในการทำลายล้างและสร้างสรรค์ เราอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งหรือที่เราเรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่า "พลังจิต" (อาจชื่อเหมือนเว็ปนี้) ถือว่าเป็น "พลังงาน" หรือปล่าวครับ? ... หรือว่าเป็นอำนาจเฉพาะบุคคล?
     
  13. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    ไม่ใช่แต่ทฤษฏีล้วนๆค่ะ ที่กล่าวมาข้างต้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นและค้นคว้า คนในปัจจุบันกำลังศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

    "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ"
    ไม่มีอยู่ในหลักสูตรของคลื่น เป็นคำที่แต่งขึ้นกันเองค่ะ เพื่อบ่งบอกให้ทราบถึงแหล่งที่มาของคลื่นชนิดนี้ จากสิ่งมีชีวิต และที่ไม่ได้เกิดจากการเหนี่ยวนำของวัตถุให้เกิดคลื่น

    คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากเหนี่ยวนำ เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า



    พลังจิตจัดว่าเป็น "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า " เพราะไม่ได้อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่ผ่านทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางได้ ไปสวรรค์นรก อดีตและอนาคตได้ สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ และเป็นพลังงานขนาดมหาศาล

    1. ประเภทของคลื่น จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง

    1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

    1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

    2. ประเภทของคลื่น จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่

    2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง


    พลังจิตเป็นพลังงานเพราะสามารถทำให้เกิดงานได้ อาทิเช่น คนใช้พลังจิตเพ่งให้วัตถุเคลื่อนที่
    วัตถุที่เคลื่อนที่ได้นั้นต้องอาศัยพลังงานในการมากระทำจึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ พลังงานที่มากระทำนี้มาจากจิต


    พลังงาน (Energy)
    พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถของวัตถุที่ทำงานได้ แสดงว่าวัตถุนั้นมีพลังงาน
    พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน เมื่อเราเห็นคนคนหนึ่งสามารถทำงานได้จำนวนมาก เราจะกล่าวว่าคนนั้นมีพลังงานมาก หรือน้ำมันแก๊สโซลีนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งให้พลังงานออกมาเมื่อเผาไหม้ พลังงานสามารถทำงานได้ จึงทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่
    วัตถุใดๆ ก็ตามมีพลังงานอยู่ในตัว 2 รูปด้วยกันคือ
    พลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกว่า พลังงานจลน์ (kinetic energy) และ
    พลังงานที่มีสะสมอยู่ในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกว่า พลังงานศักย์ (potenxtial energy)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 พฤศจิกายน 2004
  14. Peet

    Peet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +324
    :cool:
    น้องดวงดาวเก่งจริงๆเลย
    (||)
    (y)
     
  15. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,017
    (||) (||) grrrrreeeeeeeeeeeeed น้องดวงดาว ตอบได้สุดยอดมาก
     
  16. NiNe

    NiNe บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    คุณดวงดาว ตอบว่าพลังจิตเป็นพลังงาน

    ผมก็เชื่อเช่นนั้นครับ ... เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

    แต่คุณดวงดาวบอกว่า ในจักรวาลโลก (ขอเน้นว่าในจักรวาลโลก[/u]) ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน ไฟ ลม น้ำ นั้นเป็นคำตอบที่ ผิด
    ครับพ๊ม

    ในจักรวาลโลก (ประกอบด้วยกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)
    ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ... ครับพ๊ม

    ประเดี๋ยวผมจะมาเฉลย.....
    ขออภัยผู้ทรงฌานทั้งหลายด้วยครับ

    แต่ก่อนอื่นผมขอให้ท่านผู้รู้
    ที่ ท่านคิดว่า/ท่านรู้ว่า/ท่านเห็นว่า/ท่านพิสูจน์ได้ว่า ......จุด..จุด..จุด.....สามารถติดต่อกับสวรรค์เบื้องบนมาตอบคำถามผมก่อนดีกว่า .... เพื่อให้เกียรติ์ท่านครับ ...

    (เนื่องจากกระทู้นี้ผมไม่ได้ตั้งขึ้นลอยๆ เป็นการขอคำถามจากอาจารย์ท่านทั้งสองในเรื่องการสอบถามเรื่อง ฌาน4 ของอาจารย์ท่านเขานะขอรับ ... ไม่รู้เป็นงัย..แยกออกมาอยู่ตรงนี้....ขอถาม หนุมาน กับ WebSnow ด้วยครับ.... ว่าทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้ละขอรับกระพ๊ม...ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง อีกครั้งครับพ๊ม)

    ถ้าผมเฉลยตรงนี้ ... มันก็ไม่หนุกซิครับ... ขออภัยด้วย
    ไม่คิดลบหลู่ ... ด้วยศรัทธาที่มั่นคง ....และขอเหตุผลด้วยครับ

    ผมเป็นพุทธศาสนิกชน (ตัวจริงเสียงจริง) และจะนับถือพระพูทธเจ้าเป็นบรมครูสูงสุด ... ด้วยอำนาจแห่งท่านพระจอมไตรฯ ... โปรดอภัยให้ลูกด้วย...สาธุ
     
  17. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +166
    :love: :love: :love: :love: :love:
     
  18. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    อืม ตอบมาครอบคลุมทั้งทางศาสนาและทางวิทยาศาสตร์เลยแฮะ
    ขอเสริมว่าตอนนี้เค้าค้นพบอนุภาคที่เล็กว่าอะตอมแล้วนะคับ เค้าตั้งชื่อกันว่า "คว๊ากซ์" คร้าบบบ (เค้าคงรู้กันหมดแล้วล่ะมั้ง เฮ้อ สอนหนังสือให้สังฆราชป่าวเนี่ย)
     
  19. NanoProbe (นาโนโพรบ)

    NanoProbe (นาโนโพรบ) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +261
    OK เยี่ยมมากครับ คุณดวงดาว (||) (||) (||)
    หมัดเด็ดจริงๆ

    ขอถามนิดนะครับ แหล่งข้อมูลจากที่ไหนครับ จะตามไปซื้ออ่าน
    ของชอบครับ
    แล้วตัวย่อพวกนี้
    D.II.244; M.I 185; M.III.240; Vism.347.
    จะไปค้นต่อได้ที่ไหนครับ
     
  20. Issara

    Issara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    505
    ค่าพลัง:
    +433
    ได้ความรู้มากเลย เยี่ยม (good)
     

แชร์หน้านี้

Loading...