หลวงพ่อแล วัดพระทรง พระเกจิลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คนไม่พิเศษ, 23 มีนาคม 2008.

  1. คนไม่พิเศษ

    คนไม่พิเศษ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +32
    http://matichon.co.th/khaosod/view_...ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB5TXc9PQ==


    หลวงพ่อแล วัดพระทรง พระเกจิลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

    มงคลข่าวสด




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมืองเพชรบุรีมีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยเป็นถิ่นกำเนิดพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมมากมาย อาทิ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง อ.ท่ายาง, หลวงพ่อตัด วัดชายนา อ.ท่ายาง, หลวงพ่อย้อน วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ, หลวงพ่อหวล วัดนิคมวชิราราม อ.ชะอำ, หลวงพ่อเฮง วัดห้วยทรายใต้ อ.ชะอำ และพระคณาจารย์อีกมากมาย

    อีกหนึ่งรูปที่โด่งดังไม่แพ้กัน คือ "หลวงพ่อแล ทิตัพโพ" วัดพระทรง จ.เพชรบุรี ศิษย์สายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง และหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง

    หลวงพ่อแลถือได้ว่าเป็นสุดยอดพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะเครื่องรางของขลังและพระเครื่องวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณ เป็นสุดยอดปรารถนาของชาวพุทธทั่วไป รวมไปถึงวิชาสักยันต์และสรรพวิชาด้านอื่นๆ ที่ได้ศึกษามาจากพระอาจารย์ต้นตำรับจนแตกฉาน กลายเป็นตำนานสืบสายพุทธาคมมายาวนานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

    อัตโนประวัติ มีสายเลือดชาวเพชรบุรี เกิดในสกุล วาดวงศ์ เมื่อวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2459 ที่บ้านไร่สัตว์ ต.ไร่มะขาม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอยู่ และนางทอง วาดวงศ์ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 7 คน

    ในช่วงวัยเยาว์มีอุปนิสัยอ่อนโยน รักวิชาศิลปะและการดนตรีปี่พาทย์ไทย ครั้นอายุ 14 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านเกิด

    กระทั่งอายุครบ 20 ปีได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดหนองไม้เหลือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2497 โดยมีหลวงพ่อใหม่ วัดเขาทะโมน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อยอด วัดหนองไม้เหลือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า "ทิตัพโพ"

    จากนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองไม้เหลือง ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่วัดพระทรง เมื่อ พ.ศ.2498 จนถึงปัจจุบัน

    หลวงพ่อแลเพียรปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และมีความสนใจร่ำเรียนสรรพวิชาความรู้ ด้วยตระหนักอยู่เสมอว่าวิชาความรู้ยิ่งเรียนมากยิ่งมีคุณประโยชน์ และไม่มีวันสูญสลาย โดยศึกษากับครูบาอาจารย์เฉพาะในเพชรบุรีเพียงจังหวัดเดียวถึง 7 ท่าน

    เริ่มจากหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง อ.เมือง เรียนวิชาถอนพิษแมลงต่างๆ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง อ.ท่ายาง ร่ำเรียนวิชาสักยันต์ครู ซึ่งเป็นยันต์สูงสุดของการสัก เป็นยันต์แรกที่เรียกว่า "หัวใจพระราม" มีหน้าที่ควบคุมยันต์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นลิงลม, หนุมาน, พญาหงส์เงิน-หงส์ทอง เป็นต้น

    ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อชิต วัดมหาธาตุวรวิหาร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ วิชานี้เชื่อกันว่าทำให้หลวงพ่อแลได้สัมผัสที่ 6 สามารถทราบเหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าได้

    นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิชาพระขรรค์ จากหลวงพ่อโสก วัดปากคลอง อ.บ้านแหลม พร้อมทั้งวิชาตะกรุดโทน ตะกรุดแฝด จากหลวงพ่อผัน วัดมหาธาตุวรวิหาร ได้เรียนสักตัวมหาเมฆ จากคุณพ่อต่อ และคุณพ่อจันทร์ ศิษย์พระครูสันต์ แห่งวัดเขาวัง จ.เพชรบุรี พระเถราจารย์สมัยรัชกาลที่ 5 สำหรับการสักตัวมหาเมฆนี้ในประเทศไทยมีหลวงพ่อแลเพียงรูปเดียวที่สามารถสักได้

    ในปี พ.ศ.2489 เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน ผลักดันชีวิตของท่านให้ต้องแปรเปลี่ยน เมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ได้เกิดเหตุร้ายแรงกับครอบครัวและญาติโยมของท่าน เมื่อมีโจรเข้าปล้นเงินทอง ทำร้ายโยมมารดาและพี่น้องทุกคนเสียชีวิต (โยมบิดาเป็นอัมพาตและได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว) ท่านต้องนำเงินจากการขายทองคำหนัก 6 บาท ที่พวกโจรรีบร้อนทำตกไว้ เพื่อนำไปจัดงานศพครอบครัว

    จากเหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจออกเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่า เพื่อปฏิบัติธรรมและแสวงหาความรู้ มาช่วยคนรุ่นหลังที่ต้องถูกทำร้ายโดยไม่มีทางสู้ โดยออกเดินทางจาก จ.เพชรบุรี มุ่งสู่ จ.นครปฐม เรียนวิชากะลาตาเดียว ราหูอมจันทร์ และเสริมดวงกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง อ.เมือง เรียนวิชาลงนะหน้าทองกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม และวิชาผงยาจินดามณี ที่ทำมาจากเบี้ยแก้ กับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว อ.เมือง

    จากนั้นจึงเดินทางสู่ จ.สมุทรสาคร เรียนวิชาชูชกกับหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน อ.เมือง และเรียนวิชาตะกรุดไม้ไผ่ จากหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ อ.กระทุ่มแบน ก่อนเข้าสู่กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เรียนวิชาเบี้ยแก้ กับหลวงปู่รอด วัดนายโรง ตลิ่งชัน แล้วมุ่งไปเมืองอยุธยา เรียนวิชาตะกรุดพวง และยันต์หัวใจ ปลาตะเพียนมหาลาภจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร

    ก่อนเดินทางขึ้นเหนือถึง จ.นครสวรรค์ เรียนวิชาศาสตรามีดหมอจากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี และสุดท้ายย้อนมาทางภาคตะวันออก เป็นลูกศิษย์หลวงปู่อี๋ วัดสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เรียนวิชาคุณปลัด

    นอกจากเป็นพระเกจิอาจารย์สุดยอดด้านสักยันต์ มีลูกศิษย์ลูกหามากมายแล้ว ด้านวัตถุมงคลที่เลื่องลือของหลวงพ่อแล คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแลรุ่นแรก ที่โด่งดังในด้านคงกระพัน อาวุธต่างๆ ไม่สามารถย้ำกรายได้หากมีเหรียญหลวงพ่อและรุ่นนี้ไว้กับตัว หลวงพ่อแลยังได้สร้างรุ่น 2 และรุ่น 3 อีกทั้งมีตะกรุด เหรียญพระพิฆเนศวร หนุมาน พญาหงส์ เป็นต้น

    หลวงพ่อแลได้ปฏิบัติงานศาสนกิจด้วยดี ได้อบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุ สามเณรและศิษย์วัดในการปกครอง อบรมสั่งสอนศีลธรรมจริยธรรมแก่พุทธบริษัทอย่างสม่ำเสมอ บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และบูรณะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาทางพระพุทธศาสนา

    พ.ศ.2538 หลวงพ่อแลเกิดอาพาธอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารทะลุเกือบใช้การไม่ได้ พ.ศ.2544 อาการอาพาธหนักขึ้นถึงกับต้องเจาะคอ ทรมานมาก

    พ.ศ.2548 ปอดติดเชื้ออย่างแรง ก่อนอาการหนักต้องเข้าห้องไอซียูนับครั้งไม่ถ้วน ต้องย้ายเปลี่ยนโรงพยาบาลถึง 4 แห่ง เข้าพักรักษาตัวอยู่นานถึง 16 เดือน กระทั่งวันที่ 1 ธันวาคม 2549 หลวงพ่อแลมีอาการดีขึ้น และคณะแพทย์อนุญาตให้กลับวัดได้ หลังจากพักฟื้นได้ระยะหนึ่งท่านจึงสร้างวัตถุมงคลพระพิฆเนศวร รุ่น "สมปรารถนา" เพื่อแจกลูกศิษย์ลูกหาที่มาร่วมทอดผ้าป่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะมณฑปวัดพระทรง

    ต้นปี พ.ศ.2551 ท่านได้จัดสร้างพระพิฆเนศ เนื้อผง รุ่น "แก้วมหามงคล" ด้านหน้ารูปพระพิฆเนศ 4 กรถือลูกแก้ว ด้านหลังรูปหนุมานเชิญธงขี่สิงห์ โดยอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว มอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่ศิษยานุศิษย์

    วัตถุมงคลดังกล่าวถือเป็นรุ่นสุดท้ายที่หลวงพ่อแลจัดสร้าง เพราะหลังจากนั้นหลวงพ่อแลได้อาพาธติดเชื้อทางกระแสโลหิตอีกครั้ง และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพชรรัชต์ แต่ปรากฏว่าอาการไม่ดีขึ้น มีการทรงตัวตลอด

    กระทั่งช่วงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม 2551 หลวงพ่อแลได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 92 ปี พรรษา 54

    ยังความอาลัยให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างยิ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...