หัวใจ คาถาชินบัญชร ปะทะ คาถา ชินบัญชร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 11 มกราคม 2011.

  1. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอสอบถาม ค่ะ ----------ท่อง คาถา ชินบัญชร เเบบ เต็ม กับ ท่อง เฉพาะ หัว ใจ-------ชิน นะ ปัญ ชะระๆๆๆๆๆๆๆ ให้ ผล ต่าง กัน ยังไง ค่ะ ------ถ้าผล เหมือน กัน งั้น จํา เฉพาะ หัว ใจ ก็ พอ ---------ไหมค่ะ สงสัย มาก เลย ค่ะ --รบกวน ผู้ รู้ ชี้เเจง ให้ ที ค่ะ:cool:
     
  2. aoyleo

    aoyleo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    212
    ค่าพลัง:
    +99
    ขอโมทนาค่ะ ในความคิดของดิฉันการที่เราจะท่องแบบลัดหรือเต็มรูปแบบก็ไม่ต่างสักเท่าไรอยู่ที่เราศรัทธา แต่ดิฉันชอบท่องแบบเต็มรูปแบบมากกว่าเพราะเราได้รู้ทุกอย่างในตัวพระคาถาและเป็นการฝึกความอดทน มีสติ ทำให้เรามีจิตสงบมากในขณะที่เราภาวนาพระคาถาเพราะทุกอักขระที่ท่านหลวงพ่อโตได้จารึกใว้นั้นมีความหมายทุกอักขระ ทุกบทในพระคาถาเมื่อคุณเจริญภาวนา ท่านว่าเทวดาจะมาร่วมโมทนาบุญกับท่านด้วย บางท่านก็ว่าก่อนที่จะภาวนาพระคาถาต้องบอกกล่าวเจ้าที่ สัมพเวสี ดวงวิญญานทั้งหลาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นั้นให้ได้รับรู้ก่อนเพราะอาจจะเป็นการขับไล่พวกเค้าทั้งหลายทำให้บางท่านทรมาน เช่นสัมพเวสีที่มีฤทธิ์ไม่มาก ให้คุณก่อนภาวนาก็ให้กล่าวขมาลาโทษและบอกให้พวกเค้าเหล่านั้นร่วมโมทนาในบุญที่เกิดนั้นกับท่านด้วย พระคาถาชินบัญชรเป็นพระคาถาที่อัญเชิญพระพุทธเจ้า พระสาวก และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาสถิตรักษาและคุ้มครองท่านผู้ที่เจริญนั้น
    ขอให้ท่านที่หมั่นปฏิบัติวิปัสนา ขอให้พาได้พบสุขทุกวิถี
    ประสบพบนิพพานของญาณมุณี ในชาตินี้มีมรรคผลทุกคนเทอญ
     
  3. e20ehq

    e20ehq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +770
    การสวดมนต์ นั้นก็เพื่อรำลึกถึง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ บทสวดแต่ละบทนั้น ขอให้ศึกษา เพื่อทราบถึงคำแปล ทราบถึงความหมาย นั่นแหละจึงจะเป็นประโยชน์ หากสวดเป็นนกแก้วนกขุนทองก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

    คำแปล บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ
    บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

    อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
    อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
    วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
    สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
    อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
    สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
    พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

    บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
    สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
    อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
    เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด )
    โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

    บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
    อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
    ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
    สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
    ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
    จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
    อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
    ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
    ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
    อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
    อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

    ปล. ไม่เชื่อลองดูสิครับ จะสวดบทเต็ม หรือจะสวดบทย่อ ที่เป็น "หัวใจ" แล้วลองเอา ปืนยิงศรีษะดูสิครับ ถ้าอันไหน ท่องแล้วสวดแล้ว ยิงไม่เข้า บทนั้นเจ๋งครับ
     
  4. ฑ

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +257
    ถ้าอยากฝึกความอดทน+สมาธิจากการสวดมนต์
    แนะนำให้สวดบทเต็ม
     
  5. goddance

    goddance Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +85
    ขอตอบตามความเข้าใจของตัวเอง

    แบบเต็ม หรือหัวใจ อันไหนดีกว่า ก็ต้องตอบว่า แบบไหนทำให้ใจเป็นสมาธิ และถูกจริต ถูกใจมากกว่าก็แบบนั้นแหละ

    มีเวลาก็สวดแบบเต็มเป็นประจำทุกวัน ยามไหว้พระประจำวันนั่นละ รู้คำแปลด้วยก็ดี (จะได้รู้ว่าคาถาบทนี้ที่เค้าว่าดีจริง ๆ มันดียังไง)

    เวลาปกติ ทำอะไรก็ตาม ถ้าสวดแบบเต็มและทำอะไรไปด้วยไม่ไหว ก็ให้หัดจับลมหายใจ แล้วภาวนาหัวใจคาถาซะ

    คนที่สวดแบบเต็มและทำอะไรไปด้วยได้มีนะครับ ตัวอย่างก็คุณ สรพงษ์ ชาตรี นั่นไง สวดแบบเต็มวันละเป็นพัน

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A3.254297/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2011
  6. goddance

    goddance Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +85
    ปกติ หัวใจคาถาต่างๆ มักจะถูกย่อมาเพื่อใช้สวดให้จิตสงบเป็นสมาธิ แล้วน้อมนำจิตไปใช้ตามคาถาที่ได้ภาวนาไว้

    ถ้าจิตดีๆ ยังไงก็ได้ละครับ อธิษฐานให้ดีละกัน ดั่งเรื่องตัวอย่าง

    ==========================================

    เรื่องของคาถาถึงผิดถ้าใจเราเชื่อมั่นก็มีผลตามนั้น "นะโมพุทธายะ" กลายเป็น "นะโมพุทธาเเยะ" เขายังเสกหินมากินได้เลย เคยได้ยินเรื่องนี้ไหมล่ะ ?

    หลวงตาออกธุดงค์กลางป่า อาจารย์ก็สอนให้ภาวนานะโมพุทธายะ หลวงตาก็หนังสือหนังหาไม่เคยเรียนมาใช่ไหม ? พออยู่ป่าเผลอกลายเป็น "นะโมพุทธาแยะ" แต่ท่านแยะไปแยะมากำลังใจท่านมั่นคงนี่ เมื่ออภิญญาเกิด ท่านก็จับหินขึ้นมาอธิษฐาน ให้กลายเป็นอาหารก็เป็นอาหาร ให้กลายเป็นขนมก็กลายเป็นขนม กินได้สบายเลย

    ทีนี้ไปเจอพระนักเรียนเข้าไปธุดงค์เหมือนกัน ไปถึงก็อยู่สบายฉันสบาย อยากฉันอะไรหลวงตาก็ทำให้ อยู่ไปอยู่มาสงสัยก็ถาม "อาจารย์ครับ..อาจารย์ใช้คาถาอะไรถึงเสกหินเป็นอาหารกินได้ ?" หลวงตาท่านก็บอก...ใช้ "นะโมพุทธาแยะ"...

    พระนักเรียนเขาก็รู้ว่าผิด บอกว่า "ไม่ใช่ครับหลวงตา..ต้อง "นะโมพุทธายะ" ถึงจะถูก ผมเรียนมา ผมรู้.. "นะโมพุทธาแยะ" นี่ไม่ใช่แน่.." เล่นเอาหลวงตาหมดกำลังใจ เสกหินเมื่อไรก็กลายเป็นหินเหมือนเดิม..อดทั้งคู่..! ต้องตะกายกลับวัดมา มาถามอุปัชฌาย์ใหม่

    อุปัชฌาย์ก็บอก "คุณ..นะโมพุทธาแยะนั่นตัวเมียใช้ได้อยู่ แต่ถ้าจะให้ดีใช้ตัวผู้ นะโมพุทธายะ ดีกว่าเยอะเลย" ก็เกิดความมั่นใจขึ้นมาอีก คราวนี้แยะก็ได้ยะก็ได้

    ถ้าไม่ได้อาจารย์เก่งนี่เจ๊งเลยใช่ไหม ? เขาหมดความมั่นใจไปแล้ว ถ้าคุณมั่นใจถึงคาถาผิดก็ใช้ได้ผล แต่ถ้าหากว่าคุณขาดความมั่นใจมัวแต่ไปสงสัยอยู่ผลก็จะน้อย เพราะฉะนั้น..คุณก็เปลี่ยนเอาตัวที่เรามั่นใจ

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
    http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1880
     
  7. ๒ อัฐ

    ๒ อัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    333
    ค่าพลัง:
    +140
    ถ้าต้องการสวดให้จิตมีสมาธิก็สวดแบบเต็ม แต่ถ้าสวดแบบย่อนั้น สวดตอนที่เราทำอิริยาบทอื่นๆกครับ เพื่อให้จิตไม่ฟุ้งครับ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  8. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    ให้ผลเท่ากัน หากสวดด้วยจิตที่เป็นกุศล
    ไม่มีมากมีน้อยต่างกันเลย
    บทยาวก็ภาวนาต้องใช้ความจำหน่อย
    บทสั้นก็สวดหลายๆรอบ
    หากสวดโดยจิตจดจ่อต่อคำสวดไม่วอกแวก ไม่มีอคติ ไม่มีอกุศล ได้บุญเท่ากัน
     
  9. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอบพระคุณ มากมาย ก่าย กอง

    ขอบคุน ค่ะ -------------------------:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...