'เกาะซาโมซีร์' แดนนี้มีมนุษย์กินคน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 16 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>'เกาะซาโมซีร์' แดนนี้มีมนุษย์กินคน
    Travel - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>15 กุมภาพันธ์ 2553 17:17 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย :มะเมี้ยะ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หมู่บ้านอัมบาริต้าบนเกาะซาโมซีร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เคยได้ยินตำนานมนุษย์กินคนแห่งหมู่เกาะโซโลมอน เกาะที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นหมู่เกาะที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชื่อว่าไข่มุกแห่งแปซิฟิค ฉันก็ยังเฉยๆ เพราะคิดว่าคงหาโอกาสไปที่นั้นได้ยากยิ่ง คงไม่มีวาสนาจะได้ไปยลโฉมเหล่ามนุษย์กินคนยังดินแดนแห่งนั้น

    แต่ไม่นึกไม่ฝันว่ามาวันหนึ่งจะได้มายืนอยู่บน "เกาะซาโมซีร์" ( Samosir ) เกาะกลางทะเลสาบโทบา แห่งเมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซีย เกาะที่มีประวัติศาสตร์เลื่องลือเรื่องมนุษย์กินคน แถมยังอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภูมิภาคเดียวกับเราเสียด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บ้านเก่าแก่ที่หมู่บ้านโดกัน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ฉันขอบอกเล่าเก้าสิบสักนิดว่า ชาวเกาะซาโมซีร์เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีชื่อเรียกขานว่า "บาตัก" (Batak) ซึ่งในหมู่ชาวบาตักนั้นยังแยกย่อยลงมาได้อีกเป็น 5 กลุ่มใหญ่และอีกหลายกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ก็คือ โทบา (Toba) ปัก ปัก (Pak Pak) สิมาลุงกัน (Simalungun) คาโร (Karo) และ เมนดาลิง (Mandailing) ซึ่งจะมีอาณาเขตที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน ในแต่ละกลุ่มจะมีราชาหรือผู้นำเผ่าของตน ชาวบาตักนั้นมีความเชื่อที่เข้มแข็งในเรื่องเวทมนต์ ภูตผี ปีศาจ คาถา แม่มด หมอผี วิญญาณ รวมไปถึงการกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>คุณยายชาวบาตักเก็บผักไปเป็นอาหารที่หมู่บ้านโดกัน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จวบจนกระทั่งชาวดัทซ์ล่าอาณานิคมมาจนถึงที่นี่ มิชชันนารีจึงได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทำให้หลังจากนั้นชาวบาตัก จึงได้เปลี่ยนความเชื่อมานับถือศาสนาคริสต์ รับมาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมและเลิกกินมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันอาชีพที่ชาวบาตักยึดเป็นอาชีพหลักคือ การประมง งานหัตถกรรมที่มีฝีมือดีเยี่ยมไม่เป็นสองรองใคร และเมื่อเกาะซาโมซีร์เริ่มมีชื่อเสียงเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็มีชาวบาตักจำนวนไม่น้อยที่หันมาทำอาชีพค้าขายกับนักท่องเที่ยว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>คุณป้าคุณลุงชาวบาตักเจ้าของบ้านเก่าแก่ที่หมู่บ้านโดกัน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อันนี้จริงแล้วตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเกาะ ฉันก็ได้แวะไปชิมลางสัมผัสวิถีแห่งมนุษย์กินคนมาบ้าง ที่เมือง "บราสตากี้" (Berastagi) เมื่อเดินทางไปที่หมู่บ้าน "โดกัน" (Dokan) ซึ่งเป็นบ้านเมืองของชนเผ่า "บาตัก คาโร" (Batak Karo) อีกหนึ่งเผ่าอดีตมนุษย์กินคนมาก่อน

    กล่าวกันว่าบรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ที่นี่มานานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในหมู่บ้านมีบ้านโบราณอายุ 200 ปีอยู่ 7 หลัง ลักษณะพิเศษอันโดดเด่น คือ หลังคารูปทรงคล้ายเรือที่จะพบเห็นได้ทั่วไป ทั้งที่นี่และที่เกาะซาโมซีร์ ในบ้านหนึ่งหลังอาศัยกันอยู่เป็นแบบครอบครัวใหญ่ หลายสิบคน ในบ้านแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งห้องครัวและห้องนอน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>วังกษัตริย์ที่ลองเฮ้าส์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากนี้ยังแวะไปเที่ยวที่ "บ้านลองเฮ้าท์" (Simalangun Batak Long House) ที่อยู่ห่างออกไป อันเป็นที่อยู่ของชาว "บาตัก สิมาลุงกัน" (Batak Simalungun) ที่นี่มีวังเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สืบทอดแบบรุ่นสู่รุ่น ปกครองผ่านกระแสกาลเวลาด้วยกษัตริย์ 14 องค์ที่สืบทอดกันมา จนกระทั่งกษัตริย์องค์สุดท้ายถูกชาวบ้านสังหารเพราะฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ลักษณะบ้านเป็นเรือนไม้ทรงหลังคาสูงรูปร่างคล้ายเรือจั่วแหลมๆ อีกเช่นกัน บ้านรูปทรงแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาวบาตักที่เห็นได้ทั่วไปนั่นก็คือ การออกแบบหลังคามีลักษณะสูง มีสีดั้งเดิมจะเป็นสีแดง ดำ ขาว ในการสร้างลวดลายแก่บ้าน

    ในวัง (ที่ฉันอยากจะเรียกว่ากระท่อมหลังใหญ่เสียมากกว่า) ประกอบด้วย ที่นอน ห้องโถงใหญ่ที่ใช้ทำครัวและเลี้ยงลูก บัลลังก์กษัตริย์หรือที่เรียกว่า Pattangan Raja ตั้งติดอยู่กับห้องประชุมขุนนาง มีห้องแยกต่างหากให้บรรดาสนมท้าวนาง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ท่าเรือที่จะพาไปยังเกาะซาโมซีร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แต่มันก็ไม่ระทึกใจเท่ากับ การที่ได้มาเจอบรรดาลูกหลานของมนุษย์กินคนบนเกาะซาโมซีร์ สำหรับเผ่าที่อยู่บนเกาะซาโมซีร์ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เรียกชื่อตามชื่อของทะเลสาบว่า "บาตัก โทบา" (Batak Toba)

    บนเกาะซาโมซีร์ เกาะที่อยากจะย้ำอีกสักครั้งว่าใหญ่กว่าประเทศสิงคโปร์ ฉันแวะขึ้นเยี่ยมชมที่ที่หมู่บ้าน "อัมบาริต้า" (Ambarita) หรือ "อาณาจักรไวลากัน" ในอดีต และเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบโทบา ชื่อหมู่บ้านนี้แปลว่า ความมีชื่อเสียง ฉันมาที่นี่เพื่อมาดู Stone Chairs ที่มีเรื่องราวเล่าว่าเป็นโต๊ะสำหรับใช้ในการกินคน โดยจะมีโต๊ะหินทั้งหมด 2 ชุด คนที่นั่งกินที่โต๊ะจะเป็นหัวหน้าเผ่าและบรรดาบุคคลสำคัญในเผ่า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เกาะซาโมซีร์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในทะเลสาบโทบา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แล้วเอาคนจากไหนมากินล่ะ...

    สมัยก่อนบนเกาะเองก็มีการรบพุ่งกันระหว่างเผ่าอยู่เนืองๆ ดังนั้น จึงมีเชลยศึกหรือบรรดานักโทษถูกนำตัวมาให้เป็นอาการอันโอชะอยู่เสมอ ที่ Stone Chairs จะมีการสาธิตวิธีการฆ่า (ฆ่าปลอมไม่ได้ฆ่าจริง) ให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ลีลาซุกซนของเด็กๆ ชาวบาตัก โทบา บนเกาะซาโมซีร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> โดยจะมัดผู้ถูกสำเร็จโทษแล้ววางไว้บนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง พร้อมทั้งปิดตาใช้มีดปัดแขนขานักโทษเพื่อดูดพลังชีวิตให้ออกจากร่างกายไป จากนั้นพาไปผ่าท้องเพื่อเอาเครื่องในไปให้คนในหมู่บ้านกินกันสดๆ ตัดหัวเพื่อเอาเลือดไปให้กษัตริย์ดื่มกิน คนเป็นกษัตริย์จะถือไม้เท้าอาญาสิทธิ์เป็นสัญลักษณ์ ส่วนหัวที่ถูกตัดจะนำไปแช่ในทะเลสาบ 7 วัน ไม่รู้กี่ชีวิตที่ต้องสังเวย คิดแล้วฉันอดขนลุกไม่ได้

    หมู่บ้านนี้อยู่ภายใต้การปกครองของตระกูล Sailagan บ้านของกษัตริย์ชายมี "หน้าต่างบานเล็ก" อยู่หน้าบ้าน ส่วนบ้านเจ้าหญิงมี "นม" อยู่หน้าบ้านหลายเต้าเชียว "นม" คือค่านิยมเฉพาะของที่นี่ จะเกี่ยวข้องต่อการเลือกผู้หญิงมาเป็นภรรยาหรือลูกสะใภ้ เพราะเชื่อว่าต้องดูนมเป็นหลัก ยิ่งใหญ่ยิ่งดีเนื่องจากสมัยโบราณจะต้องใช้นมเลี้ยงลูกหลายคน จึงเป็นที่มาของความนิยมหญิงที่หน้าอกใหญ่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จิ้กจกและนมสัญลักษณ์ของซาโมซีร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนคุกและที่ทรมานนักโทษอยู่ใต้ถุนบ้าน ตรงกลางหมู่บ้านเป็นที่ตั้งของศาลตัดสินคดีความ ถัดไปเป็นลานประหารและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่หมู่บ้านอัมบาริต้านี้เหมาะสำหรับคนชอบซื้อของที่ระลึก โดยเฉพาะของที่ผลิตกับมือ เช่น ตุ๊กตาสลักจากไม้ พิณไม้ รองเท้าสาน ราคาถูกฝีมือดี

    อ้อ...บนเกาะซาโมซีร์มีสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปด้วย คือ "จิ้งจก" ไม่ได้มีไว้ธรรมดา แต่มีความหมายด้วย หมายถึง การปรับตัวและมิตรภาพของชาวเกาะ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ที่พักสไตล์บ้านบาตักบนเกาะซาโมซีร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บนเกาะเดียวกันฉันมุ่งหน้าต่อเพื่อไปหมู่บ้าน "โตโม๊ะ" (Tomok) ชื่อหมู่บ้านแปลว่า หมู่บ้านคนอ้วน เพื่อชมสุสาน "กษัตริย์ซีดาบุตรา" (Raja Sidabutar) สุสานเก่าแก่ 200 กว่าปี สุสานแห่งตระกูลราชาจอมขมังเวทย์ ที่กล่าวกันว่าสามารถเรียกลมเรียกฝนได้ มีคาถาแกร่งกล้า

    หมู่บ้านนี้ดูใหญ่และเจริญตา มีสินค้าของที่ระลึกเรียงรายเต็มตลอดสองข้างทาง ตัวหมู่บ้านมีอายุกว่า 460 ปี ส่วนตัวสุสานที่ฉันเดินทางมาเยี่ยมชมนั้น ก่อนเข้าชมต้องเข้าซุ้มรับผ้าสไบจากผู้ดูแลสุสานมาพาดบ่า แล้วเดินขึ้นบันไดไปบนเนินเล็กๆ การรับผ้ามาพาดบ่านี้เป็นธรรมเนียมที่ผู้มาสุสานนี้ต้องปฏิบัติตามทุกคน เพราะหมายถึงการเข้าเฝ้าฯ ต่อหน้ากษัตริย์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>การสาธิตวิธีฆ่าคนก่อนกิน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในสุสานมีโลงศพหินเรียงรายตั้งอยู่หลายขนาด แต่โลงที่สำคัญคือโลงของกษัตริย์สามองค์ คือ 1.Oppu Ratu Sidabutar 2.Oppu Solompuan Sidabutar องค์ที่สองนี้มีคู่หมั้นที่งดงามเป็นที่หมายปองของผู้นำชนเผ่าอื่นชื่อ อันติงมาไลลา (Anting Malela By Sinaga) คงเพราะความงามเป็นเหตุทำให้ถูกเวทย์มนต์จนเป็นบ้า หนีหายเข้าป่าไปตามหาไม่เจอ เมื่อกษัตริย์องค์ที่สองสิ้น จึงปั้นรูปนางไว้บนฝาโลงศพ รูปปั้นของกษัตริย์องค์ที่สองนี้มักจะมีผู้คนไปอธิษฐานขอพรอยู่เสมอ ส่วนวิธีอธิษฐานนั้นก็ให้กระซิบริมหูของรูปปั้นกษัตริย์ ส่วนองค์ที่สาม Ompu Sor: Buntu Sidabutar เป็นกษัตริย์ที่เปลี่ยนการนับถือภูต ผี มานับถือศาสนาคริสต์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สุสานตระกูลซีดาบุตรา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากสองหมู่บ้านนี้แล้ว บนเกาะซาโมซีร์ยังมีที่พักมากมายไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อน ที่พักส่วนใหญ่จะอยู่ที่หมู่บ้าน "ตุ๊ก ตุ๊ก" (Tuk Tuk) คาดคะเนด้วยสายตา ฉันยังคิดว่าที่พักที่นี่ดูจะมากกว่าคนมาเที่ยวเสียด้วยซ้ำ ที่เป็นแบบนี้คงเพราะเหตุการณ์ภายในของอินโดนีเซีย ทั้งเรื่องการเมืองและภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้นักท่องเที่ยวค่อยๆ ห่างหายไปเรื่อยๆ ทั้งที่เมื่อราว 10 กว่าปีก่อนที่นี่เคยขึ้นชื่อเรื่อง Full Moon Party กว่าที่บ้านเราเสียอีก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>งานหัตถกรรมที่ชาวบาตักทำไว้ขายนักท่องเที่ยว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นักท่องเที่ยวที่มีเวลามากหน่อย โดยมากแล้วจะนิยมพักที่ ตุ๊ก ตุ๊ก ก่อนจะเช่าจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ขี่วนรอบเกาะ บนถนนที่ตัดเรียบไปตามทะเลสาบ ก่อนที่จะแวะไปหมู่บ้านอัมบาริต้าและหมู่บ้านโตโม๊ะ ส่วนฉันเป็นพวกเวลาน้อยได้มารู้มาเห็น เหยียบแดนมุนุษย์กินคนก็แสนจะคุ้มค่าเกินพอ

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    "เกาะซาโมซีร์" ตั้งอยู่ในทะเลสาบโทบา ในเมืองเมดานบนเกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งล่าสุดสายการบินไทยแอร์เอเชีย ได้เปิดบินตรงจากภูเก็ตสู่เมดาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ในวันอาทิตย์/พุธ/ศุกร์ ใช้เวลาบินจากภูเก็ตประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2515-999 หรือที่ Welcome to AirAsia.com, The World's Best Low-Cost Airline
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...